หลักศรัทธาของชีอะฮ์

จาก wikishia

หลักศรัทธาของชีอะฮ์ (ภาษาอาหรับ: أصول المذهب الشيعي) ซึ่งมีความศรัทธาหลัก ดังต่อไปนี้ เตาฮีด (หลักความเป็นเอกะของพระเจ้า), นะบูวัต (สภาวะความเป็นศาสนทูต),มะอาด (วันแห่งการฟื้นคืนชีพ) ,อัดล์ (ความยุติธรรมของพระเจ้า) และ อิมามัต (ความเป็นอิมาม"ผู้นำ") ตามความเชื่อของชีอะฮ์ การปฏิเสธสามหลักการแรก (เตาฮีด นะบูวัตและมะอาด) ถือเป็น รากฐานของศาสนา จะเป็นเหตุให้เป็นผู้ที่ปฏิเสธศรัทธา แต่ทว่าการไม่มีความเชื่อในทั้งสองหลักการ กล่าวคือ อัดล์และอิมามัต จะไม่เป็นสาเหตุให้ออกจากการเป็น ชีอะฮ์ และความเป็นอิสลาม ขณะที่การนำเอาหลักอิมามัตเป็นส่วนหนึ่งของหลักศรัทธา เพื่อที่จะต้องการแยกแยะระหว่างชีอะฮ์และมัสฮับอื่นๆของอิสลาม ด้วยเหตุนี้เอง จึงเรียกพวกเขาว่า ชาว อิมามียะฮ์ และเช่นเดียวกัน ความเชื่อในหลักอัดล์นั้น เป็นหลักการของพวก มุอ์ตะซิละฮ์ ที่ต้องการแยกออกจากพวก อัชอะรี ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกทั้งชีอะฮ์และมุอ์ตะซิละฮ์ว่า อัดลียะฮ์

สถานภาพ

หลักศรัทธาของชีอะฮ์ จึงมีห้าหลักด้วยกัน (เตาฮีด, นะบูวัต, มะอาด, อิมามัต และ อัดล์)(1)ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานของมัสฮับชีอะฮ์(2) การมีความศรัทธาต่อหลักการทั้งหมดนี้ จะถือว่าบุคคลนั้นเป็นชีอะฮ์ และการไม่ศรัทธาต่อหลักการใดก็ตาม จะไม่ทำให้เขาออกจาก มัสฮับชีอะฮ์ แต่หลักการทั้งสามประกอบด้วย เตาฮีด นะบูวัตและมะอาด เป็น รากฐานของศาสนา และผู้ใดก็ตามที่ไม่ศรัทธาหนึ่งในหลักการเหล่านี้ จะถือว่าเขาเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาและออกจากศาสนาด้วยเช่นกัน(3)

สองหลักการอันจำเพาะ

อิมามัต(4)และอัดล์(5) เป็นสองหลักการที่เฉพาะกับมัสฮับชีอะฮ์

อิมามัต

อิมามัต ( ผู้นำ ผู้ปกครองสังคมอิสลามและเป็นตัวแทนของ ศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) เป็นตำแหน่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงแต่งตั้ง(6)โดยพระองค์ทรงแต่งตั้งบรรดาผู้นำทั้งสิบสอง ท่าน ให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งอนี้(7)รายชื่อของพวกเขา เรียงลำดับดังต่อไปนี้ : อิมามอะลี (อ.),อิมามฮะซัน (อ.),อิมามฮุเซน (อ.),อิมามซัจญาด (อ.),อิมามบากิร (อ.),อิมามศอดิก (อ.),อิมามกาซิม(อ.), อิมามริฎอ (อ.), อิมามญะวาด (อ.), อิมามฮาดี (อ.), อิมามอัสกะรี (อ.) และ อิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.)(8)

เพราะสาเหตุใด อิมามัตจึงเป็นส่วนหนึ่งของหลักศรัทธา

มุฮัมมัด ฮุเซน กาชิฟุลฆิฏออ์ เขียนไว้ในหนังสือ อุศูลุชชีอะฮ์วะอุศูลุฮา ว่า อิมามัต เป็นหลักการที่แยกชีอะฮ์ออกจากมัสฮับอื่นๆของอิสลาม(9) ด้วยเหตุนี้เอง ผู้ที่เชื่อใน อิมามัตของบรรดาอิมามสิบสอง ถูกเรียกว่า อิมามียะฮ์(10) และอิมามัต เป็นส่วนหนึ่งของหลักการมัสฮับชีอะฮ์(11)และผู้ใดก็ตามที่ไม่ยอมรับหลักการดังกล่าว เขาจะออกจากการเป็นชีอะฮ์(12)

อัดล์

ความเชื่อที่ว่า อัลลอฮ์ พระผู้เป็นเจ้า ทรงปฏิบัติในระบอบการสร้างสรรค์(ตักวีนีย์)และระบอบการกำหนดกฏศาสนบัญญัติ(ตัชรีอีย์)ด้วยความชอบธรรมและไม่มีความกดขี่(13)อัดลียะฮ์ (ชีอะฮ์และ มุอ์ตะซิละฮ์)ต่างเชื่อกันว่า ความดีและความชั่ว เป็นหลักการทางสติปัญญาและเชื่อด้วยว่า อัลลอฮ์ทรงมีความยุติธรรม หมายความว่า พระองค์ทรงปฏิบัติบนหลักของความดีงามของสรรพสิ่งและไม่กระทำการกดขี่ เนื่องจากความชั่วร้ายของมัน(14)และในทางตรงกันข้ามกับกลุ่ม อะชาอิเราะฮ์ ที่เชื่อว่า มาตรฐานความยุติธรรมของการกระทำนั้นขึ้นอยู่การกระทำของอัลลอฮ์ ไม่ว่าพระองค์จะกระทำการงานใด ถือว่า เป็นการกระทำที่ดีและมีความยุติธรรม แม้ว่า มนุษย์จะมองว่าเป็นการกดขี่ก็ตาม(15)

เพราะสาเหตุใด อัดล์ จึงเป็นส่วนหนึ่งของหลักศรัทธา

มิศบาฮ์ ยัซดี นักปรัชญาชาวชีอะฮ์ (1313-1399) กล่าวว่า อัดล์ ถือว่า เป็นหลักการของมัสฮับชีอะฮ์และ มุอ์ตะซิละฮ์ เนื่องจากการให้ความสำคัญในวิชากะลาม (เทววิทยา)(16)และเช่นกัน มุรตะฎอ มุเฏาะฮะรี นักคิดชาวชีอะฮ์(1298-1358) กล่าวว่า เหตุผลที่ถือว่าอัดล์ เป็นส่วนหนึ่งของหลักศรัทธาของมัสฮับชีอะฮ์ เนื่องจากการเกิดขึ้นของความเชื่อที่ว่า มนุษย์นั้นไม่มีอิสระเสรีและการเลือกสรรในการกระทำของเขาในหมู่ชาวมุสลิมและการลงโทษมนุษย์ที่ถูกบังคับนั้นขัดแย้งกับความยุติธรรมของพระเจ้าทั้งสิ้น(17)ชีอะฮ์และมุอ์ตะซิละฮ์ จึงถือว่า การถูกบังคับของมนุษย์ตรงกับข้ามกับความยุติธรรมของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้เอง จึงเรียกพวกเขาว่า อัดลียะฮ์(18)

หลักการที่มีควมเชื่อร่วมกัน

  • เตาฮีด : ความเชื่อที่ว่า พระผู้เป็นเจ้านั้น มีอยู่จริง และมีพระองค์เดียว(เอกะ)และไม่มีการตั้งภาคีใดๆต่อพระองค์(19)
  • นะบูวัต : ความเชื่อที่ว่า อัลลอฮ์ได้ทรงแต่งตั้ง ศาสดา เพื่อชี้นำมวลมนุษยชาติ(20)ขณะที่ ศาสดาอาดัม (อ.) คือ ศาสดาองค์แรก(21)และ ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) คือ ศาสดาองค์สุดท้าย(22)
  • มะอาด : ความเชื่อที่ว่า มนุษย์หลังความตาย จะมีชีวิตใหม่อีกครั้งและจะถูกคิดบัญชีการกระทำที่ดีงามและความชั่วร้ายของเขา(23)[1]

เชิงอรรถ

  1. มนุษย์หลังความตาย

บรรณานุกรม