อิมามฮุเซน (อ.)

จาก wikishia
้ เฎาะรีฮ์ของอิมามฮุเซน (อ)

ฮุเซน บิน อะลี บิน อะบีฏอลิบ (อ.) (ภาษาอาหรับ : الإمام الحسين بن علي بن أبي طالب ) (4-61 ฮ.ศ.) อิมาม คนที่สามของ ชีอะฮ์ ในหมู่บรรดาชีอะฮ์ เรียกเขาว่า อะบาอับดิลลาฮ์ และ ซัยยิดุชชุฮะดาอ์ เขาได้เป็น ชะฮีด ใน เหตุการณ์กัรบะลาอ์

อิมามฮุเซน เป็นบุตรคนที่สองของ อิมามอะลี และ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ และเป็นหลานชายของ ศาสดามุฮัมมัด เขาได้ปฏิบัติหน้าที่การเป็นอิมาม หลังจากพี่ชายของเขา อิมามฮะซัน ประมาณ 11 ปี ด้วยกัน

ตามรายงานทางประวัติศาสตร์ของ ชีอะฮ์ และ อะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) ได้แจ้งข่าวถึงการถือกำเนิดของเขา จนถึงการเป็นชะฮีดของเขา และได้ตั้งชื่อ ฮุเซน ให้กับเขา ศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) มีความรักต่ออิมามฮะซันและอิมามฮุเซนเป็นอย่างมากและได้สั่งให้ทั้งหมดทุกคนมีความรักต่อเขาด้วยเช่นกัน

อิมามฮุเซน (อ.) คือ หนึ่งใน อัศฮาบุลกิซาอ์ และเขาร่วมอยู่ในเหตุการณ์มุบาฮะละฮ์ และเป็นหนึ่งใน อะฮ์ลุลบัยต์ แห่งนบูวัต ที่โองการตัฏฮีร ถูกประทานลงมาให้แก่พวกเขา

ยังมีริวายะฮ์ต่างๆมากมายที่ได้รายงานมาจาก ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)ที่เกี่ยวกับความประเสริฐของอิมามฮุเซน (อ.) เช่น ฮะซันและฮุเซน เป็นหัวหน้าของชายหนุ่มในสรวง สวรรค์ และฮุเซน เป็นดวงประทีบแห่งทางนำและนาวาแห่งความปลอดภัย

และมีรายงานเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของอิมามคนที่สามของชีอะฮ์ในช่วงสามทศวรรษ หลังจากการวะฟาตของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)

ในยุคการปกครองของบิดาของเขา เขาอยู่เคียงข้างบิดาของเขา อิมามอะลี (อ.) และเขาได้เข้าร่วมในสงครามต่างๆในสมัยนั้น

และในสมัยอิมามัตของอิมามฮะซัน เขาก็ปฏิบัติตามและให้การสนับสนุนพี่ชายของเขา และยอมรับในกระบวนการสันติภาพกับมุอาวิยะฮ์ หลังจากการเป็นชะฮีดของอิมามฮะซัน ตราบที่มุอาวิยะฮ์ ยังมีชีวิตอยู่ เขาก็ยังรักษาพันธสัญญานั้นอยู่ และเขาได้ตอบจดหมายของชาวชีอะฮ์เมืองกูฟะฮ์ที่ยอมรับความเป็นผู้นำของเขาและเรียกร้องให้เตรียมพร้อมสำหรับการต่อสู้กับ บะนีอุมัยยะฮ์ แต่อิมามฮุเซน (อ.) ได้สั่งให้อดทนจนกว่ามุอาวิยะฮ์จะเสียชีวิตลง

ในยุคสมัยของการเป็นอิมามะฮ์ของฮุเซน บิน อะลี (อ.) เป็นช่วงเวลาเดียวกับการปกครองของมุอาวิยะฮ์ บิน อะบีซุฟยาน ตามรายงานในประวัติศาสตร์ ระบุว่า อิมามฮุเซน (อ.) ได้คัดค้านการกระทำของมุอาวิยะฮ์ในบางกรณี ตัวอย่างเช่น หลังจากการถูกสังหารของ ฮุญร์ บิน อะดี เขาเขียนจดหมายตำหนิมุอาวิยะฮ์ และในกรณีของการเป็นมกุฏราชกุมารของ ยะซีด เขาก็ปฏิเสธที่จะยอมรับคำสัตยาบัน และในการกล่าวคำปราศรัยต่อหน้า มุอาวิยะฮ์ และคนอื่นๆ ด้วยการประณามการกระทำของมุอาวิยะฮ์ และถือว่ายะซีด เป็นคนที่ไม่คู่ควรต่อคำตำแหน่งคอลีฟะฮ์และตัวเขาเองนั้นเหมาะสมมากกว่า อิมามฮุเซนได้กล่าวเทศนาธรรมในทุ่งมินา โดยถือว่าเป็นการแสดงจุดยืนทางการเมืองที่มีต่อพวกบะนีอุมัยยะฮ์ด้วยเช่นกัน ในขณะเดียวกัน มีรายงานว่า มุอาวิยะฮ์ เช่นเดียวกับเหล่ากาหลิบทั้งสาม ที่โดยภายนอกให้ความเคารพฮุเซน บิน อะลี (อ.) หลังจากการเสียชีวิตของมุอาวิยะฮ์ อิมามฮุเซน (อ.) ไม่ถือว่า การให้สัตยาบันกับยะซีดมีความชอบธรรม และด้วยคำสั่งของยะซีดที่ให้สังหารเขา หากเขาปฏิเสธที่จะให้สัตยาบัน เขาจึงเดินทางออกจากเมืองมะดีนะฮ์ไปยังมักกะฮ์ในวันที่ 28 รอญับ ปี 60 ฮ.ศ. ในช่วงสี่เดือนที่เขาพำนักอยู่ในเมืองมักกะฮ์ เขาได้รับจดหมายอย่างมากมายจากชาวกูฟะฮ์ โดยยอมรับในการเป็นผู้นำของเขา และหลังจากที่มุสลิม บิน อะกีล ทูตของเขาได้ยืนยันความเห็นอกเห็นใจของชาวกูฟะฮ์ ในวันที่ 8 ซุลฮิจญะห์ ก่อนที่เขาจะได้รับข่าวเกี่ยวกับการไม่รักษาสัญญาของชาวกูฟะฮ์และการถูกทำชะฮาดัตของมุสลิม เขาก็เดินทางไปยังเมืองกูฟะฮ์แล้ว

เมื่อ อิบนุซิยาด ผู้ปกครองเมืองกูฟะฮ์ ได้รับข่าวเกี่ยวกับการเดินทางของ ฮุเซน (อ.) มายังเมืองกูฟะฮ์ เขาก็ได้ส่งกองทัพไปยังอิมามฮุเซน และหลังจากที่กองทหารของฮุร บิน ยะซีด ริยาฮี ได้ปิดกั้นเส้นทางของอิมามฮุเซน เขาก็ไม่มีทางเลือก นอกจากต้องเปลี่ยนเส้นทางไปยังกัรบาลา ในวันอาชูรอ ได้เกิดสงครามขึ้นระหว่างอิมามฮุเซนพร้อมเหล่าสหายของเขากับกองทัพของเมืองกูฟะฮ์ภายใต้การบัญชาการของอุมัร บิน ซะอ์ด ซึ่งนำไปสู่การถูกทำชะฮาดัตของอิมามคนที่สามของชีอะฮ์และเหล่าสหายของเขา หลังจากนั้น สตรีและเด็กๆ พร้อมอิมามซัจญาด (อ.) ซึ่งป่วยอยู่ในเวลานั้น ถูกจับตัวเป็นเชลยศึกและถูกนำตัวส่งไปยังเมืองกูฟะฮ์และจากนั้นไปยังเมืองชาม (ซีเรีย) ร่างของอิมามฮุเซน (อ.) และเหล่าสหายของเขาถูกนำไปฝังในเมืองกัรบะลาอ์ในวันที่ 11 หรือ 13 ของเดือนมุฮัรรอม โดยกลุ่มชนจากเผ่าบะนีอะซัด มีวิสัยทัศน์ที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการเดินทางของอิมามฮุเซน จากเมืองมะดีนะฮ์มายังกัรบะลาอ์ ตามทัศนะหนึ่ง เชื่อ เขาลุกขึ้นต่อสู้เพื่อจัดตั้งรัฐบาล แต่บางคนเชื่อว่า การเคลื่อนไหวครั้งนี้เพื่อรักษาชีวิตของเขา การถูกทำชะฮาดัตของฮุเซน บิน อะลี (อ.) มีผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อชาวมุสลิมและชาวชีอะฮ์ ในตลอดช่วงประวัติศาสตร์ และเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการต่อสู้และการลุกขึ้่นต่อสู้ ชาวชีอะฮ์ เนื่องการปฏิบัติตามบรรดาอิมามของชีอะฮ์ พวกเขาจึงให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการร้องไห้และไว้อาลัยให้กับฮุเซน บิน อะลี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเดือนมุฮัรรอมและเดือนศอฟัร ยังมีการเน้นย้ำจากริวายะฮ์ต่างๆของบรรดามะอ์ศูม ให้มีการซิยาเราะฮ์อิมามฮุเซน ด้วยเช่นกัน และยังถือว่า ฮะรอมของเขา เป็นสถานที่ซิยาเราะฮ์ของชาวชีอะฮ์อีกด้วย ฮุเซน บิน อะลี นอกเหนือจากสถานภาพของเขาในหมู่ชีอะฮ์ ในฐานะที่เป็นอิมามคนที่สามและหัวหน้าของบรรดาชะฮีดแล้ว เขา ยังได้รับความเคารพนับถือจากชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ อีกด้วย เนื่องจากมีการรายงานถึงความประเสริฐของเขาจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และยังเนื่องมาจากการยืนหยัดต่อสู้ของเขาที่มียะซีด การรวบรวมคำพูดและผลงานของอิมามฮุเซน ในรูปแบบของฮะดีษ บทดุอาอ์ จดหมาย บทกวี และบทเทศนาธรรม ได้ถูกเก็บรวบรวมไว้ในหนังสือ เมาซูอะฮ์ กะลิมาต อัลอิมาม อัลฮุเซน Encyclopedia of the Words of Imam al-Hussein และหนังสือ มุสนัด อัลอิมาม อัชชะฮีด มุสนัด อัล-อิมาม-อัชชะฮีด และนอกจาก นี้ยังมีงานเขียนประเภทสารานุกรม ชีวประวัติ มักตัล และประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ที่เกี่ยวกับบุคลิกภาพและชีวิตของเขาอีกมากมายด้วยเช่นกัน

สถานภาพ

ฮุเซน บิน อะลี (อ.) เป็นอิมามคนที่สามของชีอะฮ์ ซึ่งเป็นบุตรชายของอิมามคนแรกของชาวชีอะฮ์และเป็นหลานชายของท่านศาสดาอิสลาม (ศ็อลฯ) [21] มีแหล่งอ้างอิงมากมายของอิสลามเกี่ยวกับความประเสริฐของเขา ขณะที่ชาวชีอะฮ์ถือว่า เขามีสถานภาพที่พิเศษสำหรับเขา ฮุเซน บิน อะลี ยังได้รับความเคารพนับถือจากชาวซุนนีอีกด้วย

ในฮะดีษและแหล่งรายงานทางประวัติศาสตร์

มีริวายะฮ์ต่างๆของชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ รายงานว่า ฮุเซน บิน อะลี (อ.) เป็นหนึ่งในชาวกิซาอ์ [22] เขายังอยู่ในเหตุการณ์มุบาฮะละฮ์ [23] และร่วมกับน้องชายของเขา โดยพวกเขาเป็นตัวอย่างของคำว่า ลูกหลานของเรา ในโองการมุบาฮะละฮ์ [24] ] เขายังเป็นหนึ่งในบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ ซึ่งโองการตัฏฮีรถูกเปิดประทานลงมาเกี่ยวกับเรื่องนี้[25]

หลังจากการเป็นชะฮีดของอิมามฮะซัน (อ.) อิมามฮุเซน (อ.) ถือเป็นบุคคลที่มีเกียรติที่สุดในบรรดาบะนีฮาชิม แม้ว่า จะมีผู้คนที่มีอายุมากกว่าเขาก็ตาม ตามคำรายงานของยะอ์กูบี ระบุว่า หลังจากการเป็นชะฮีดของฮะซัน บิน อะลี (อ.) มุอาวียะฮ์พูดกับอิบนุ อับบาสว่า จากนี้ไป ท่านคือนายของกลุ่มชนของท่าน อิบนุ อับบาส ตอบว่า ตราบเท่าที่ฮุเซนอยู่คงอยู่ จะไม่มีอย่างแน่นอน [26] นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าบะนี ฮาชิม กำลังปรึกษากับฮุเซน บิน อะลี และความคิดเห็นของเขาเหนือบุคคลอื่นๆ [27] มีรายงานว่า อัมร์ บิน อาศ เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในหมู่ชาวพื้นดินที่มีต่อชาวฟากฟ้า[28]

ในวัฒนธรรมชีอะฮ์

อิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า ไม่มีผู้ใดดื่มน้ำและรำลึกถึงฮุเซนพร้อมครอบครัวของเขา และสาปแช่งเหล่าฆาตกรของเขา เว้นแต่ อัลลอฮ์จะทรงบันทึกความดีนับแสนไว้ให้เขา และทรงลบล้างบาปนับแสนของเขา และยกฐานภาพของเขาขึ้นอีกแสนองศา และเขาฟื้นคืนชีพในวันกิยามะฮ์ด้วยหัวใจที่มั่นใจ

กุลัยนี, อัล-กาฟีย์, 1407 ฮ.ศ, เล่ม 6, หน้า 391; อิบนุ กูละวัยฮ์ กามิล อัซ-ซิยารอต 1356 สุริยคติอิหร่าน หน้า 106

การเป็นชะฮีดของฮุเซน บิน อะลี ในเหตุการณ์อาชูรอ ในปี 61 ฮ.ศ. ลักษณะพิเศษของเขาโดดเด่นยิ่งขึ้นสำหรับชาวชีอะฮ์และแม้แต่ผู้ที่ไม่ใช่ชีอะฮ์ในมิติการแสวงหาสัจธรรม ความกล้าหาญ และการเป็นชะฮีด ตลอดจน คุณสมบัติและคุณลักษณะอื่น ๆ ที่กล่าวถึงเขาในฮะดีษ ก็ถูกบดบังไปบ้าง [29] เหตุการณ์นี้ อย่างน้อย ก็เพราะเป็นการดูหมิ่นและการโจมตีครอบครัวของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) อย่างเปิดเผยเป็นครั้งแรก ส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชีอะฮ์ [30] และการลุกขึ้นต่อสู้ของเขา กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านการกดขี่ ชัยชนะของเลือดเหนือคมดาบ เปลี่ยนเป็นการกำชับในกระทำความดีและการห้ามปรามการกระทำความชั่ว และการเสียสละชีพ

ผลกระทบจากการเป็นชะฮีดของอิมามฮุเซน (อ.)ทำให้บางคนคิดว่าการก่อตัวของชีอะฮ์เกิดขึ้นหลังจากการเป็นชะฮีดของเขา [32] ตลอดช่วงประวัติศาสตร์อิสลาม ก็มีการลุกขึ้นต่อสู้ที่ได้รับแบบฉบับจากการลุกขึ้นของอิมามฮุเซน (อ.) โดยมีสโลแกนว่า ยาละษารอติลฮุเซน (โอ้ผู้ทวงหนี้เลือดให้อิมามฮุเซน) (33)

เดือนมุฮัรรอมและเดือนซอฟัร มีสถานภาพที่พิเศษในวัฒนธรรมชีอะฮ์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในวันตาซูอา อาชูรอ และอัรบาอีนฮุซัยนี มีพิธีกรรมต่างๆ จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงวโรกาสนี้[34] บรรดาชีอะฮ์ปฏิบัติตามผู้นำทางศาสนา เมื่อพวกเขาจะดื่มน้ำ ให้ระลึกความกระหายน้ำและกล่าวสลามแด่อิมามฮุเซน (อ.)(35)

ในทัศนะของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์

แหล่งข้อมูลต่างๆของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ รายงานอย่างมากมายเกี่ยวกับสถานภาพและความประเสริฐของฮุเซน บิน อะลี (อ.)(36) นอกจากริวายะฮ์ที่เกี่ยวกับความประเสริฐ สถานภาพของอิมามฮุเซน (อ.) ในความเชื่อของบรรดามุสลิม ระบุว่า เขาได้เสียสละชีวิตและทรัพย์สินและครอบครัวของเขา (37)

ในหมู่บรรดาอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ มีมุมมองสองประการเกี่ยวกับการลุกขึ้นต่อสู้ของอิมามฮุเซน (อ.) : กลุ่มหนึ่งประณามและส่วนมากกล่าวชื่นชมเขา ในบรรดาผู้ต่อต้าน คือ อบูบักร บิน อะรอบี นักวิชาการชาวซุนนีในศตวรรษที่ 6 ในอันดาลุส ซึ่งพยายามประณามการกระทำของฮุเซน (อ.) และกล่าวว่า ประชาชนเพราะว่าพวกเขาได้ยินฮะดีษจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) (เกี่ยวกับการทำสงครามกับผู้ที่ต้องการแบ่งแยกประชาชาติและเช่นเดียวกัน การออกห่างจากการไม่ตกอยู่ในฟิตนะฮ์(เหตุการณ์ร้าย)จึงได้ทำสงครามกับอิมามฮุเซน (อ.) อิบนุ ตัยมียะฮ์ยังเชื่อด้วยว่า การกระทำของฮุเซน บิน อะลี (อ.) (38) ไม่เพียงแต่ไม่ได้เป็นการปรับปรุงสถานการณ์ให้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่ความชั่วร้ายและการยุยงปลุกปั่นอีกด้วย[39]

อิคบาล ลาโฮรีย์

เขาจะตัดขาดจากการกดขี่ข่มเหง ตราบจนถึงวันแห่งการพิพากษา คลื่นเลือดของเขาทำให้เกิดก่อหญ้า หากเขาไม่ได้อ้างสิทธิ์ในการปกครอง เขาก็จะไม่เดินทางแบบนี้หรอก ความลี้ลับของอัลกุรอาน เราได้เรียนรู้จากฮุเซน เป็นดั่งเปลวเพลิงที่ร้อนระอุ (40)

ในทางกลับกัน อิบนุ ค็อลดูน นักประวัติศาสตร์ชาวอะฮ์ลิซซุนนีในแคว้นอันดาลูเซียในศตวรรษที่ 9 โต้ตอบกับคำพูดของอิบนุ อะรอบี และโดยเน้นย้ำถึงเงื่อนไขของการมีอยู่ของอิมาม ผู้ที่มีความยุติธรรมในการต่อสู้กับเหล่าผู้กดขี่ เขาถือว่า ฮุเซน (อ.) เป็น บุคคลที่มีความยุติธรรมที่สุดในช่วงเวลาของเขาสำหรับสงครามครั้งนี้ [41] และเขาได้กล่าวว่า เมื่อความชั่วร้ายของยะซีด ถูกเปิดเผยต่อสาธารณชน ฮุเซนจึงเห็นว่า มันเป็นหน้าที่ของเขาที่จะต้องลุกขึ้นต่อต้านเขา เพราะเขาถือว่า ตัวเองมีคุณสมบัติและมีอำนาจสำหรับภารกิจนี้(42) นอกจากนี้ในชะฮาบุดดีน อาลูซี หนึ่งในนักวิชาการอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ในศตวรรษที่ 13 ในหนังสือ รูฮุลมะอานี ซึ่งเป็นภาษาที่เปิดกว้างสำหรับการสาปแช่งของอิบนุอะรอบี และคำพูดของเขานี้ ถือเป็นเรื่องโกหกและเป็นการใส่ร้ายอย่างยิ่ง(43)

อับบาส มะห์หมูด อักก็อด นักเขียนและนักวรรณคดีชาวอียิปต์ในศตวรรษที่ 14 ของปฏิทินจันทรคติและผู้แต่งหนังสือ อะบูอัชชุฮะดาอ์ อัลฮุเซน บิน อะลี เขียนว่า สถานการณ์ในสมัยของยะซีด ได้มาถึงจุดที่ไม่มีการรักษาให้หายขาด ยกเว้น การพลีชีพ(ชะฮาดะฮ์) [44] เขาเชื่อว่า การลุกขึ้นต่อสู้เช่นนี้เกิดขึ้นเฉพาะกับมนุษย์ที่หายากอย่างมากในการกระทำภารกิจนี้และขบวนการของพวกเขาก็ไม่สามารถเปรียบเทียบกับบุคคลอื่นได้ เพราะว่า พวกเขาเข้าใจในวิธีการที่แตกต่างและเรียกร้องอีกอย่างหนึ่ง [45] ฏอฮา ฮูเซน นักเขียนชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ เชื่อว่า การที่ฮุเซน ปฏิเสธที่จะให้สัตยาบัน ไม่ได้เกิดจากความดื้อรั้นและดื้อดึง เพราะเขารู้ว่า ถ้าเขาให้คำสัตยาบันกับยะซีด เขาจะทรยศต่อมโนธรรมของเขาและต่อต้านศาสนาของเขา เพราะว่าในความเห็นของเขา คือ การให้สัตยาบันกับยะซีด ถือเป็นการทำบาป (46)

อุมัร ฟัรรูค เน้นย้ำว่า ความนิ่งเงียบเมื่อเผชิญกับการกดขี่นั้น ไม่ได้รับอนุญาตในทางใดทางหนึ่ง โดยเขาเชื่อว่า พวกเราชาวมุสลิมในปัจจุบันนี้ ต้องการ ความเป็นฮุเซน เพื่อการลุกขึ้นต่อสู้ในหมู่พวกเราและนำทางเราไปสู่เส้นทางที่ถูกต้องในการปกป้องสัจธรรม[47]


นาม เชื้อสาย ฉายานาม และสมญานาม

จากแหล่งข้อมูลของชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ รายงานว่า ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้ตั้งชื่อเขาว่า ฮุเซน(48) มีริ‎วายะฮ์ต่างๆ ระบุว่า การตั้งชื่อนี้ ปฏิบัติตามพระบัญชาของพระเจ้า(49) ชื่อทั้งสอง ‎ฮะซันและฮุเซน ไม่เคยมีอยู่ในประวัติศาสตร์อาหรับมาก่อนเลย [50] เทียบเท่ากับชับบัรและชะบัยร์ ‎‎(หรือชับบัยร์) [51] เป็นชื่อของบุตรชายของศาสดาฮารูน (52)‎

มีรายงานอื่น ๆ กล่าวถึงการตั้งชื่ออิมามฮุเซน ตัวอย่างเช่น อิมามอะลี (อ.) เรียกเขาว่า ฮัรบ์ หรือ ‎ญะอ์ฟัร ในช่วงแรก แต่ทว่า ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้เลือกชื่อฮุเซนให้แก่เขา [53] บางคนถือรายงานดังกล่าวเป็นเท็จและระบุถึงเหตุผลที่ปฏิเสธมัน [54] ‎


อิมามฮุเซน (อ.) เป็นบุตรชายของอิมามอะลี (อ.) และท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) และเป็นหลานชายของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ.) เขามาจากตระกูลบะนี ฮาชิม และจากเผ่ากุเรช อิมามฮะซัน มุจญ์ตะบา (อ.) ‎ท่านอับบาส (อ.) มุฮัมมัด ‎บิน ฮะนะฟียะฮ์ อยู่ในหมู่พี่น้องของเขา และท่านหญิงซัยนับ (ซ.) และท่านหญิงอุมมุลกุลษูม อยู่ในหมู่พี่สาวและน้องสาวของเขา (55)‎

ฉายานามของฮุเซน บิน อะลี คือ อะบูอับดิลลาฮ์[56] อะบูอะลี, อะบูอัชชุฮะดา (บิดาของผู้พลีชีพ),‎อะบูอัลอะฮ์รอร ‎‎(บิดาแห่งอิสรภาพ) และ อะบูอัลมุญาฮิดีน (บิดาของนักรบญิฮาด) ล้วนเป็นฉายา‎นามต่างๆของเขาทั้งสิ้น[57]‎ ฮุเซน บิน อะลี (อ.) มีสมญานามต่างๆ ซึ่งบางสมญานามก็ใช้ร่วมกับสมญานามของน้องชายของเขา อิมาม ฮะซัน ‎‎(อ.) เช่นเดียวกับ ซัยยิดา ชะบาบ อะฮ์ลุลญันนะฮ์ (นายทั้งสองของชายหนุ่มในสรวงสวรรค์) สมญานามอื่น ๆ ของเขา ได้แก่ ซะกี, ฏ็อยยิบ, วะฟีย์, ซัยยิด , มุบาร็อก, นาฟิอ์,อัดดะลีล อะลา ซาติลลาฮ์, รอชีด และอัตตาบิอ์ ลิมัรฏอติลลาฮ์ [58] อิบนุ ฏ็อลฮะ ชาฟิอี เชื่อว่า สมญานาม ‎ซะกี เป็นสมญานามที่ถูกรู้จักมากกว่า และสมญานาม ซัยยิด ‎ชะบาบ อะฮ์ลุลญันนะฮ์ เป็นสมญานามที่สำคัญของเขาอีกด้วย (59)‎

ในบางฮะดีษ รายงานว่า ฮุเซน (อ.) ถูกเรียกด้วยสมญานามว่า ชะฮีด หรือ ซัยยิดุชชุฮะดาอ์ [60] ษารุลลอฮ์ และ กอตีลุลอะบารอต เป็นสมญานามอื่น ๆ ที่ถูกกล่าวในบทซิยาเราะฮ์สำหรับเขา [61]‎

มีริวายะฮ์ รายงานจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ซึ่งอ้างอิงโดยแหล่งข้อมูลของชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ จำนวนมาก ‎กล่าวไว้ว่า ฮุเซนเป็นหนึ่งในลูกหลานของฉัน [62] ลูกหลานในริวายะฮ์นี้ ‎เช่นเดียวกับในอัลกุรอานบางโองการ ‎หมายถึง อิมามและผู้นำที่ได้รับการเลือกสรรจากพระเจ้าและเป็นเชื้อสายของบรรดาศาสดา [63]‎

ชีวประวัติ

ฮุเซน บิน อะลี ถือกำเนิด ณ เมืองมะดีนะฮ์ และตามคำรายงานที่ถูกรู้จัก ระบุว่า เขาถือกำเนิดในปีที่ ‎‎4 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช [64] อย่างไรก็ตาม บางคน ยังถือว่า เขาถือกำเนิดในปีที่ 3 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช[65]‎ ตามทัศนะที่เป็นที่รู้จัก ระบุว่า ฮุเซน บิน อะลี ถือกำเนิดในวันที่ 3 เดือนชะอ์บาน (66) แต่เชค มุฟีด ‎ได้กล่าวไว้ในหนังสืออัลอิรชาด บอกว่า อิมามคนที่ 3 ของชีอะฮ์ ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 5 เดือนชะอ์บาน ‎‎[ 67]‎

ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า:‎ ฮุเซนมาจากฉันและฉันก็มาจากเขา อัลลอฮ์ทรงรักผู้ที่รักฮุเซน

อันซับ อัลอัชรอฟ เล่ม 3 หน้า 142‎ อัฏฏอบะกอต อัลกุบรอ เล่ม 10 หน้า 385‎

ในรายงานทางประวัติศาสตร์ของชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ระบุว่า ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)ได้ร้องไห้เมื่อเขาถือกำเนิดและยังแจ้งข่าวการเป็นชะฮีดของเขา (68) มีริวายะฮ์ รายงานจากหนังสืออัลกาฟีย์บันทึกว่า ฮุเซน (อ.) ไม่ได้รับนมจากมารดาของเขาและจากสตรีผู้อื่นใดๆทั้งสิ้น [69]‎

มีรายงานว่า ท่านหญิงอุมมุลฟัฎล์ ภรรยาของอับบาส บิน อับดุลมุฏฏอลิบ ฝันว่า มีชิ้นส่วนหนึ่งของร่างกายของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ถูกวางไว้บนตักของนาง (อุมมุลฟัฎล์) และศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)ได้กล่าวในการตีความความฝันของนางว่า ฟาฏิมะฮ์จะให้กำเนิดบุตรชายและเจ้าจะเป็นพี่เลี้ยงของเขา ดังนั้นเมื่อฮุเซน (อ.) ถือกำเนิด ท่านหญิงอุมมุลฟัฎล์ก็รับหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงของเขา [70] บางแหล่งข้อมูล ระบุว่า มารดาของอับดุลลอฮ์ บินยักฏิรก็เป็นพี่เลี้ยงของอิมามฮุเซน (อ.) ด้วยเช่นกัน แต่พวกเขากล่าวว่า ฮุเซน (อ.) ไม่ได้รับการเลี้ยงดูจากทั้งสองคนเลย(71)‎

ในแหล่งข้อมูลของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ รายงานว่า ศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) มีความรักฮะซันและฮุเซน (อ.) มากกว่าบุคคลอื่นๆ ในหมู่อะฮ์ลุลบัยต์(ครอบครัว)ของเขา [72] และความรักนี้ ก็เป็นเช่นนั้นบางครั้งเมื่อพวกเขาทั้งสองเข้าไปในมัสยิด เทศนาธรรมจะไม่สมบูรณ์ เขาจะลงมาจากธรรมาสน์(มิมบัร)แล้วเข้ามากอดพวกเขาทั้งสอง[73] มีรายงานจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า ‎ความรักที่ฉันมีต่อบุคคลสองคนนี้ ได้ขัดขวางไม่ให้ฉันมีความรักต่อผู้ใดอีก[74]‎

ฮุเซน (อ.) อยู่ร่วมกับอัศฮาบุลกิซาอ์ อื่นๆ ในเหตุการณ์มุบาฮะละฮ์[75] และมีอายุได้เจ็ดขวบเมื่อศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ.) เสียชีวิต ดังนั้น เขาจึงถูกนับให้อยู่ในประเภทสุดท้ายของศอฮาบะฮ์[76]‎

ในยุคสมัยของคอลีฟะฮ์ทั้งสาม

‎25 ปีแห่งชีวิตของอิมามฮุเซน (อ.) ได้ผ่านในช่วงยุคสมัยทั้งสามคอลีฟะฮ์ แต่ไม่มีข้อมูลรายละเอียดมากนักเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของอิมามคนที่สามของชีอะฮ์ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ ซึ่งอาจเกิดจากการแยกตัวทางการเมืองของอิมามอะลี (อ.) และบรรดาลูกๆ ของเขา[77]‎

มีรายงานว่า ในช่วงเริ่มต้นยุคสมัยคอลีฟะฮ์ของอุมัร ฮุเซน (อ.) ซึ่งมีอายุประมาณเก้าขวบ เขาก็ได้เข้าไปในมัสยิดในวันหนึ่ง และเมื่อเขาเห็นอุมัรกำลังกล่าวเทศนาธรรมบนธรรมาสน์ของศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) เขาก็ปีนขึ้นไปบนธรรมาสน์แล้วพูดกับอุมัรว่า เจ้าจงลงมาจากธรรมาสน์ของบิดาฉัน แล้วนั่งบนธรรมาสน์ของบิดาของเจ้า อุมัรจึงบอกว่า “บิดาของฉันไม่มีธรรมาสน์”(78) ยังมี‎รายงานอีกว่า คอลีฟะฮ์ที่สองได้ให้ความเคารพกับอิมามฮุเซน (อ.) อย่างเป็นพิเศษ เห็นได้จากแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ (80)‎

ในบางแหล่งข้อมูลของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ รายงานว่า อิมามฮะซันและอิมามฮุเซน เคยเข้าร่วมในสมรภูมิอัฟริกียะฮ์ ในปีที่ 26 ฮ.ศ. และในสงครามฏอบะริสตาน ในปีที่ 29 หรือ 30 ฮ.ศ.(82) แต่ทว่า ‎รายงานนี้ไม่มีกล่าวในแหล่งข้อมูลของชีอะฮ์เลย (ต้องการแหล่งอ้างอิง) แต่ส่วนมากของแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์บันทึกว่า สงครามดังกล่าวไม่มีการต่อสู้กัน แต่สิ้นสุดด้วยการประนีประนอมสงบศึก(83) รายงานเกี่ยวกับการเข้าร่วมของอิมามฮะซัน และอิมามฮุเซน ในสมรภูมิเหล่านี้ มีทั้งผู้ที่สนับสนุนและผู้ที่ตรงกันข้าม เช่น นักวิชาการบางคน ซัยยิดญะอ์ฟัร มุรตะฎอ อามิลี ‎ถือว่า รายงานนี้ถูกกุขึ้นมา เนื่องจากมีปัญหาทั้งสายรายงานและบรรดาอิมามต่อต้านวิธีการพิชิตเมืองต่างๆ และอิมามอะลี (อ.)ก็ไม่อนุญาตให้อิมามฮะซันและอิมามฮุเซน เข้าร่วมในสนามรบ ซึ่งเห็นได้ในสงครามศิฟฟีน เป็นเครื่องยืนยันในประเด็นนี้ [84]‎

ตามบางรายงานทางประวัติศาสตร์ รายงานว่า ช่วงท้ายของการปกครองของอุษมาน เมื่อมีกลุ่มชนหนึ่งก่อการจลาจลและโจมตีบ้านของอุษมาน ด้วยความตั้งใจที่จะสังหารเขา อิมามฮะซัน (อ.) ‎และอิมามฮุเซน (อ.) แม้ว่าพวกเขา จะไม่พอใจกับการปฏิบัติงานของคอลีฟะห์ แต่ด้วยตามคำสั่งของอิมามอะลี (อ.) ให้ปกป้องบ้านของอุษมาน [85] รายงานนี้ ยังมีผู้สนับสนุนและฝ่ายตรงข้าม ‎‎[86] ซัยยิดญะอ์ฟัร มุรตะฎอ เมื่อพิจารณาถึงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น การต่อต้านอย่างรุนแรงของอิมามอะลี (อ.)ต่อการกระทำดังกล่าวของอุษมานและการมีอยู่ของริวายะฮ์ที่ขัดแย้งกับฮะดีษนี้ เช่นเดียวกับที่อุษมานปฏิเสธข้อเสนอการช่วยเหลือของอิมามฮะซัน(อ.) เขาถือว่า สิ่งนี้ไม่น่าเป็นไปได้และไม่สามารถยอมรับได้ โดยการให้เหตุผลตามคำกล่าวของอิมามอะลี (อ.) เกี่ยวกับการไม่มีความสุขและไม่เสียใจกับการสังหารอุษมาน เช่นเดียวกับวิถีชีวิตของอะลี บิน อะบีฏอลิบในการจัดการกับเหล่าผู้กดขี่และการช่วยเหลือผู้ที่ถูกกดขี่ โดยอ้างคำกล่าวของบากิร ชะรีฟ กุรอชี ‎ในหนังสือ ฮะยัต อัล- อิมามอัลฮะซัน (อ.) และกล่าวว่า: โดยสมมติฐานว่า การกระทำนี้เกิดขึ้น ‎เนื่องจากการป้องกันจากการใส่ร้ายอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน (อ.) ที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในเลือดของอุษมาน (87) ซัยยิดมุรตะฎอ หลังจากที่สงสัยว่า อิมามอะลีได้ส่งอิมามฮะซันและอิมามฮุเซนไปจริงหรือไม่ เหตุผลก็คือ การป้องกันไม่ให้มีการจงใจสังหารอุษมานและการจัดหาน้ำและอาหารให้กับครอบครัวของเขา ไม่ใช่เหตุผลเพราะว่าต้องการปลดเขาออกจากตำแหน่งคอลีฟะฮ์ ‎แม้ว่าเขาสมควรที่จะต้องถูกปลดออกจากตำแหน่งคอลีฟะฮ์ก็ตาม เนื่องจากการกระทำความผิดของเขา [88]‎

ในยุคสมัยการปกครองของอิมามอะลี (อ.)‎

มีรายงานบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับยุคสมัยของอิมามอะลี (อ.) ระบุว่า ฮุเซน (อ.) ได้กล่าวเทศนาธรรม‎(89) หลังจากที่ประชาชนได้ให้สัตยาบันกับอิมามอะลี (อ.) และในสงครามญะมัล เขาก็ได้รับให้เป็นผู้บัญชาการฝ่ายซ้ายของกองทัพอิมามอะลี [90] และในสงครามศิฟฟีน เขาได้กล่าวเทศนาธรรมเพื่อให้กำลังใจกับผู้คนที่จะทำการญิฮาด [91] และตามบางแหล่งข้อมูล ระบุว่า เขาเป็นหนึ่งในผู้บัญชาการฝ่ายขวาของกองทัพ(92) กล่าวได้ว่า อิมามฮุเซน (อ.) ในสงครามศิฟฟีน เขาเข้าร่วมในเหตุการณ์การยึดน้ำคืนจากชาวเมืองชาม (ซีเรีย) และหลังจากนั้น อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า: นี่เป็นชัยชนะครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จด้วยเกียรติของฮุเซน (93) ตามรายงานต่างๆที่เกี่ยวกับสงคราม‎ศิฟฟีน อิมามอะลี (อ.)ห้ามไม่ให้อิมามฮะซันและอิมามฮุเซน เข้าร่วมในการสู้รบและด้วยเหตุผลในการปกป้องเชื้อสายของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) [94] ตามบางแหล่งข้อมูล รายงานว่า เขาได้เข้าร่วมในสงครามนะรอวานด้วย [95]‎ แหล่งข้อมูลส่วนมาก รายงานว่า อิมามฮุเซน (อ.) อยู่เคียงข้างอิมามอะลี (96)ในช่วงเวลาแห่งการเป็นชะฮีดของอิมามอะลี (อ.) และได้เข้าร่วมในพิธีศพและการฝังศพ (97) อย่างไรก็ตาม ในหนังสืออัลกาฟีย์และอันซาบ อัลอัชรอฟ เขียนว่า อิมามฮุเซน (อ.) เวลาที่บิดาของเขาถูกฟันศีรษะ เขาอยู่ในเมืองมะดาอิน เนื่องจากได้รับมอบภารกิจจากอิมามอะลี (อ.) และเขาได้รับแจ้งเรื่องนี้ผ่านจดหมายของอิมามฮะซัน (อ.) เขาจึงเดินกลับมายังเมืองกูฟะฮ์ (98)‎

ในยุคสมัยของอิมามฮะซัน (อ.)‎

รายงานต่างๆทางประวัติศาสตร์ เล่าถึงความสุภาพอ่อนโยนและความเคารพของฮุเซน บินอะลี (อ.) ‎ต่ออิมาม ฮะซัน (อ.) ผู้เป็นพี่ชายของเขา มีรายงานว่าหากอิมาม ฮะซัน (อ.) อยู่ในที่ชุมนุม เขาจะไม่พูดจาอะไร เนื่องด้วยการให้ความเคารพ [99] หลังจากการเป็นชะฮีดของอิมามอะลี (อ.) กลุ่มคอวาริจญ์ที่ยืนกรานที่จะต่อสู้กับชาวเมืองชาม โดยพวกเขาไม่ให้สัตยาบันกับอิมามฮะซัน แต่กลับมาหายังอิมามฮุเซนเพื่อให้คำสัตยาบัน แต่เขากล่าวว่า: ฉันขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮ์ ตราบที่ฮะซันยังมีชีวิตอยู่ ฉันจะไม่ยอมรับคำสัตยาบันแต่อย่างใด (100)‎

ในเหตุการณ์สนธิสัญญาสงบศึกกับมุอาวิยะฮ์ เขาเป็นผู้สนับสนุนพี่ชาย เพื่อต่อต้านชาวชีอะห์ที่ประท้วงและยืนยันการกระทำของเขา[101] และมีรายงานว่า เขากล่าวว่า: เขา (อิมามฮะซัน (อ.)) คือ ‎อิมามของฉัน"[102 ] ตามบางรายงาน ระบุว่า อิมามฮุเซน (อ.) ให้สัตยาบันกับมุอาวิยะฮ์ หลังจากการบรรลุสนธิสัญญาสันติภาพ เช่นเดียวกันกับอิมามฮะซัน (อ.) [103] และแม้กระทั่ง หลังจากการเป็นชะฮีดของอิมามฮะซัน (อ.) เขาก็รักษาคำมั่นสัญญาของเขา [104] ในทางกลับกัน รายงานระบุว่าเพราะว่า ฮุเซน (อ.) ไม่ให้สัตยาบัน [105] ตามบางแหล่งข้อมูล รายงานว่า เขาไม่พอใจกับกระบวนการสันติภาพและเขาให้อิมามฮะซัน (อ.) สาบานว่า จะไม่ยอมรับคำโกหกของมุอาวิยะฮ์ ‎‎[106] นักวิเคราะห์บางคนเปรียบเทียบรายงานเหล่านี้กับริวายะฮ์ต่างๆและหลักฐานอื่นๆทางประวัติศาสตร์ที่ไม่สอดคล้องกัน [107] ตัวอย่างเช่น ฮุเซน (อ.) ตอบโต้กลุ่มผู้ประท้วงเพื่อสันติภาพซึ่งเรียกร้องเขาให้รวบรวมชาวชีอะฮ์ของเขา เพื่อโจมตีมุอาวิยะฮ์ และเขากล่าวว่า: เราได้บรรลุข้อตกลงแล้วและเราจะไม่มีวันผิดคำมั่นสัญญาของเรา [108] รายงานอีกฉบับ ระบุว่า เขาบอกกับกลุ่มผู้ประท้วงว่า: ขอพวกท่านรอตราบเท่าที่มุอาวิยะฮ์ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อเขาเสียชีวิต เราจะตัดสินใจ ‎‎[109] แม้ว่าชาวชีอะฮ์จะเรียกร้องเขาให้ลุกขึ้นต่อสู้ หลังจากการเป็นชะฮีดของอิมามฮะซัน (อ.) เพื่อเป็นการตอบสนองต่อการปกป้องการกระทำของอิมามฮะซัน (อ.) ในสนธิสัญญาสันติภาพกับมุอาวิยะฮ์ การกระทำเช่นนี้ จะไม่เกิดขึ้น ตราบใดที่มุอาวิยะฮ์ยังมีชีวิตอยู่ [110] ในปีที่ 41 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช (หลังจากสนธิสัญญาสันติภาพกับมุอาวิยะฮ์) อิมามฮุเซน (อ) ได้เดินทางกลับจากเมืองกูฟะฮ์ไปยังมะดีนะฮ์ พร้อมกับน้องชายของเขา[111]‎

ภรรยาและบรรดาบุตร

มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับจำนวนบุตรของอิมามฮุเซน (อ.) บางแหล่งข้อมูล เขียน จำนวนนี้เป็นบุตรชายสี่คนและบุตรสาวสองคน[112] และแหล่งข้อมูลอื่นๆ รายงานว่า จำนวนบุตรชาย หกคนและบุตรสาวหญิงสามคน[113]‎

รายชื่อภรรยาและบรรดาบุตรของอิมามฮุเซน (อ.)‎

ภรรยา เชื้อสาย บุตร รายละเอียด

ชะฮ์ริบานู บุตรสาวของยัซด์กิรด์ กษัตริย์ซาซาเนีย อิมามซัจญาด อิมามคนที่สี่บรรดาชีอะฮ์ ‎นักวิจัยร่วมสมัยต่างมีความสงสัยในเชื้อสายของท่านหญิงชะฮ์ริบานู (114)และบางแหล่งข้อมูล ‎เรียกท่านหญิงด้วยนามว่า ซินดียะฮ์ เฆาะซาละฮ์ และชาห์ซะนาน

รูบาบ บุตรสาวของอิมรุลก็อย บินอะดีย์ ซุกัยนะฮ์และอับดุลลอฮ์ (115)ท่านหญิงรุบาบร่วมอยู่ในสมรภูมิกัรบะลา และร่วมเดินทางกับบรรดาเชลยศึกไปยังเมืองชาม(116) แหล่งข้อมูลส่วนมาก ‎รายงานว่า อับดุลลอฮ์ ขณะที่เป็นถูกทำชะฮีด อยู่ในวัยทารก (117) ปัจจุบันนี้ บรรดาชีอะฮ์ รู้จักเขาในนามว่า อะลี อัศฆ็อร

ลัยลา บุตรสาวของมุรเราะฮ์ บินอุรวะฮ์ บินมัสอูด ซะกอฟี (118) อะลีอักบัร (119) อะลีอักบัรเป็นชะฮีดในเหตุการณ์อาชูรอ (120) อุมมุอิสฮาก บุตรสาวของฏ็อลฮะฮ์ บินอะบัยดิลลาฮ์ ฟาฏิมะฮ์ ‎บุตรสาวคนโตของอิมามฮุเซน (อ.) (121) อุมมุอิสฮาก เคยเป็นภรรยาของอิมามฮะซัน (อ.) และหลังจากการเป็นชะฮีดของอิมามฮะซัน นางได้สมรสกับอิมามฮุเซน (อ.) (122)

ซุลาฟะฮ์หรือมะลูมะฮ์ (123) จากชนเผ่ากุฎออะฮ์ ญะอ์ฟัร (124) ญะอ์ฟัร เสียชีวิตในช่วงการมีชีวิตของอิมามฮุเซน (อ.) และไม่มีผู้สืบเชื้อสายจากเขาอีกเลย (125)‎

ในหนังสือ ลาบับ อัล-อันซับ[126] จากแหล่งข้อมูลของศตวรรษที่ 6 มีการกล่าวถึงเด็กหญิงชื่อ รุก็อยยะฮ์ และในหนังสือของกามิล เชคบะฮาอีย์ จากแหล่งข้อมูลของศตวรรษที่ 7 กล่าวถึงเด็กผู้หญิงสี่ขวบของอิมามฮุเซนที่เสียชีวิตในเมืองชาม(ซีเรีย) [127] ในแหล่งข้อมูลล่าสุดระบุว่า ชื่อของรุก็อยยะฮ์ได้รับการสะท้อนอย่างกว้างขวาง [128] นอกจากนี้ ในบางแหล่งข้อมูล รายงานว่า ชื่อของอะลี อัศฆ็อร บุตรชายของชะฮ์ริบานู มูฮัมหมัด บุตรชาย ของรุบาบ และ ซัยนับ (โดยไม่มีการกล่าวถึงชื่อมารดา) ก็ถูกกล่าวถึงว่าเป็นบุตรของอิมามฮุเซน (อ.)ทั้งสิ้น [129] อิบนุ ฏ็อลฮะฮ์ ชาฟีอี ‎ในหนังสือมะฏอลิบ อัซซุอูล ฟิย์ มะนากิบ อาลิรเราะซูล ได้นับจำนวนบุตรของอิมามฮุเซน เป็นสิบคนด้วยกัน[130]‎

ในยุคสมัยการดำรงตำแหน่งอิมามะฮ์

ช่วงการเริ่มต้นของการเป็นอิมามะฮ์ของฮุเซน บิน อะลี (อ.) เกิดขึ้นพร้อมกับปีที่ 10 ของการปกครองของมุอาวิยะฮ์ [ต้องการแหล่งข้อมูลอ้างอิง] มุอาวิยะฮ์ได้ยึดอำนาจ ในปี 41 ฮ.ศ. [131] ‎หลังจากทำสนธิสัญญาสันติภาพกับอิมามฮะซัน และก่อตั้งระบอบคอลีฟะฮ์ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ‎‎[ต้องการแหล่งข้อมูลอ้างอิง] แหล่งข้อมูลของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ถือว่า เขาเป็นคนฉลาดและมีความใจกว้าง [132] เขายึดมั่นในรูปลักษณ์ภายนอกทางศาสนาและแม้กระทั่งใช้หลักการทางศาสนาบางประการในการดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ของตนอย่างมั่นคง และแม้ว่าเขาจะยึดอำนาจด้วยการใช้กำลังและกลอุบายทางการเมืองก็ตาม [133] เขา ถือว่า รัฐบาลของเขา มาจากพระเจ้าและการพิพากษาของพระองค์[134] มุอาวิยะฮ์ ได้แนะนำตัวเองกับชาวเมืองชาม(ซีเรีย)ในลำดับเดียวกับบรรดาศาสดา ในฐานะปวงบ่าวที่ทรงคุณธรรมคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นหนึ่งในผู้ปกป้องศาสนาและหลักศาสนบัญญัติของมัน [ 135] มีการระบุไว้ในแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ว่า มุอาวิยะฮ์ได้เปลี่ยนตำแหน่งคอลีฟะฮ์ให้เป็นสถาบันกษัตริย์[136] และกล่าวอย่างเปิดเผยว่า เขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเคร่งครัดศาสนาของประชาชนเลย[137]‎

ปัญหาหนึ่งในระหว่างการปกครองของมุอาวิยะฮ์ คือ การมีอยู่ของความเชื่อของชีอะฮ์ในหมู่ประชาชนโดยเฉพาะในอิรัก (ต้องการแหล่งข้อมูลอ้างอิง) บรรดาชีอะฮ์เป็นศัตรูกับมุอาวิยะฮ์ ‎เช่นเดียวกับพวกคอวาริจญ์ก็เป็นศัตรูกับเขาด้วยเช่นกัน แต่พวกคอวาริจญ์ก็มีจำนวนไม่มากนัก ‎ตรงกันข้ามกับบรรดาชีอะฮ์ที่ได้รับอิทธิพลจากอิมามอะลี (อ.) และยังมีอะฮ์ลุลบัยต์ เป็นผู้สนับสนุนอย่างแข็งแกร่ง (ต้องการแหล่งข้อมูลอ้างอิง) ด้วยเหตุนี้ มุอาวิยะฮ์และข้าราชบริพารของเขา ไใ่ว่าจะด้วยการทำสนธิสัญญาประนีประนอมหรือวิธีการสุดโต่ง ก็ต่อต้านกระบวนการชีอะฮ์มาโดยตลอด (ต้องการแหล่งข้อมูลอ้างอิง) หนึ่งในวิธีการที่สำคัญที่สุดของมุอาวิยะฮ์ คือ การสร้างความเกลียดชังต่ออิมามอะลี (อ.) ให้เกิดขึ้นในหมู่ของประชาชน จนถึงขนาดที่มีการสาปแช่งและใส่ร้ายอะลี (อ.)ในยุคสมัยของมุอาวิยะฮ์และหลังจากนั้น พวกบะนีอุมัยยะฮ์ จึงดำเนินการเป็นประเพณีตลอดมาอย่างต่อเนื่อง [138]‎

หลังจากการเสริมสร้างรากฐานอำนาจของเขาแล้ว มุอาวิยะฮ์ได้เริ่มใช้นโยบายในการปราบปรามและการกดดันบรรดาชีอะฮ์ และเขียนจดหมายถึงข้าราชบริพารของเขา ให้ลบชื่อบรรดาผู้ที่มีความรักต่ออะลีออกจากดีวาน และหักรายได้ของพวกเขาจากบัยตุลมาล และไม่ยอมรับในการเป็นชะฮีดของเขา (139) นอกจากนี้ เขายังข่มขู่คุกคามบรรดาผู้ที่รายงานถึงคุณงามความดีของอิมามอะลี ‎‎(อ.) ถึงขนาดที่ผู้รายงานถือว่าอะลี (อ.) ว่าเป็น บุรุษจากกุเรช และ หนึ่งในอัศฮาบของศาสนทูตแห่งพระผู้เป็นเจ้า และ เขาถูกเรียกว่า อะบูซัยนับ [140]‎

เหตุผลของการเป็นอิมามะฮ์

หลังจากการเป็นชะฮีดของพี่ชายของเขา อิมามฮุเซน (อ.)ก็ขึ้นดำรงตำแหน่งอิมามะฮ์ ในปีที่ 50 ฮ.ศ. และจนกระทั่งถึงช่วงแรกของปีที่ 61ฮ.ศ. เขาเป็นผู้นำของบรรดาชีอะฮ์มาโดยตลอด [141] บรรดานักวิชาการชีอะฮ์ นอกเหนือจากนำเสนอเหตุผลโดยทั่วไปสำหรับการพิสูจน์การเป็นอิมามะฮ์ของบรรดาอิมามของชีอะฮ์แล้ว [142] พวกเขายังได้ให้เหตุผลด้วยเหตุผลอันเฉพาะสำหรับอิมามแต่ละบุคคล ในหนังสืออัรอิรชาดของเชคมุฟีด ได้กล่าวถึงฮะดีษบางส่วนเกี่ยวกับตำแหน่งอิมามะฮ์ของฮุเซน บิน อะลี (อ.) โดยศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า: บุตรชายทั้งสองของฉันคนนี้ (ฮะซันและฮุเซน) เป็นอิมาม(ผู้นำ) ไม่ว่าเขาทั้งสองจะลุกขึ้นหรือนั่งก็ตาม[143] นอกจากนี้ อิมามมอะลี (อ.) ในช่วงการเป็นชะฮีด เขายังได้เน้นย้ำถึงตำแหน่งอิมามะฮ์ของฮุเซน (อ.) หลังจากอิมามฮะซัน (อ.)[144] และอิมามฮะซัน ( อ.) ในขณะที่เขาเป็นชะฮีด เขาแนะนำอิมามฮุเซน ในฐานะอิมามหลังจากตน ในพินัยกรรมของเขาที่มีต่อมูฮัมหมัด บิน ฮะนะฟียะห์ [145] เชค มูฟีด ได้ให้เหตุผลด้วยฮะดีษเหล่านี้ ว่า ตำแหน่งอิมามะฮ์ของอิมามฮุเซน เป็นที่ชัดเจนและแน่นอน ด้วยคำกล่าวของเขาที่ว่า อิมามฮุเซน (อ.) เนื่องจากการรักษาหลักตะกียะฮ์และพันธสัญญาที่เขากระทำไว้ในสนธิสัญญาสันติภาพของอิมามฮะซัน ตราบจนมุอาวิบะฮ์ยังมีชีวิตอยู่ เขาจะไม่เชิญชวนประชาชนให้มาหาเขา แต่หลังจากการเสียชีวิตของมุอาวิยะฮ์ การงานของตนได้เปิดเผยและฐานภาพของเขา สำหรับบุคคลที่ยังไม่รับทราบก็ได้ทำให้กระจ่าง [146] มีระบุไว้ในแหล่งข้อมูลว่า ก่อนที่อิมามฮุเซนจะเดินทางออกจากเมืองมะดีนะฮ์ในปี ฮ.ศ. 60 ฮุเซน (อ.) เขาได้ละทิ้งส่วนหนึ่งของพินัยกรรมของเขาและวะดาอิอ์ อัลอิมามะฮ์ไว้กับท่านหญิงอุมมุซะละมะฮ์ ภรรยาของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) [147] และอีกส่วนหนึ่ง ก่อนเป็นชะฮีด(มรณสักขี)ในเดือนมุฮัรรอม ในปี 61 ตามจันทรคติ เขาได้มอบให้กับฟาฏิมะฮ์ บุตรสาวคนโต[148] เพื่อมอบให้กับอิมามซัจญาด (อ.)

การรักษาคำมั่นสัญญาต่อสนธิสัญญาสันติภาพของอิมามฮะซัน

อิมามฮุเซน (อ.) ในการปกครองของมุอาวิยะฮ์ เขาได้รักษาพันธสัญญาที่มีต่อสนธิสัญญาสันติภาพที่พี่ชายของเขากระทำไว้กับมุอาวิยะฮ์[149] และเพื่อตอบสนองต่อจดหมายของชีอะฮ์บางคนที่ประกาศว่า ตนพร้อมที่จะยอมรับ ความเป็นผู้นำของเขาและการลุกขึ้นต่อต้านพวกอุมัยยะฮ์ เขียนว่า: บัดนี้ ความคิดเห็นของข้าพเจ้า ไม่ได้เป็นเช่นนั้น ตราบใดที่มุอาวิยะฮ์ยังมีชีวิตอยู่ อย่าดำเนินการและจงซ่อนตัวอยู่ในบ้านของพวกท่าน และหลีกเลี่ยงการกระทำที่ทำให้พวกเกิดความสงสัย ถ้าเขาเสียชีวิตและข้าพเจ้ายังมีชีวิตอยู่ ข้าพเจ้าก็จะเขียนความคิดเห็นของข้าพเจ้าถึงพวกท่าน[150]

จุดยืนในการเผชิญกับการกระทำของมุอาวิยะฮ์

แม้ว่า อิมามฮุเซน (อ.) จะไม่ได้กระทำการใดๆ ในการปกครองของมุอาวิยะฮ์ แต่ตามคำกล่าวของรอซูล ญะอ์ฟะรียอน นักวิจัยประวัติศาสตร์ ระบุว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอิมามฮุเซน (อ.)และมุอาวิยะฮ์ และการสนทนาที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลทัั้งสอง แสดงให้เห็นว่า จากมุมมองทางการเมืองของอิมามฮุเซน (อ.) ไม่ยอมรับความชอบธรรมโดยสมบูรณ์ของมุอาวิยะฮ์และไม่ยินยอมตามนั้น [151] ในความคิดเห็นของเขา เหตุผลที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง คือจดหมายโดยละเอียดของอิมามฮุเซนส่งถึงมุอาวิยะฮ์ ซึ่งกล่าวถึงอาชญากรรมของมุอาวิยะฮ์ที่มีต่อสิทธิของชีอะฮ์ [152] ในขณะเดียวกัน มีรายงานทางประวัติศาสตร์ว่า มุอาวิยะฮ์ เช่นเดียวกับเหล่าคอลีฟะฮ์ทั้งสามให้ความเคารพ ฮุเซน บิน อะลี (อ.)แบบภายนอก และถือว่า เขาเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่ [153] และเขาสั่งข้าราชบริพารของเขาว่า อย่าต่อต้านบุตรของศาสนทูตของพระเจ้า (ศ็อลฯ) และหลีกเลี่ยงออกจากการดูหมิ่นเขาด้วย[154]

มุอาวิยะฮ์ ยังเน้นย้ำถึงสถานภาพของฮุเซน (อ.) ในระหว่างที่เขาเขียนพินัยกรรมต่อยะซีด ลูกชายของเขา และถือว่า ฮุเซน (อ.)เป็นบุคคลที่ได้รับความรักมากที่สุดในหมู่ประชาชน(155) และสั่งให้ยะซีดปล่อยฮุเซนไป หากเขาได้รับความพ่ายแพ้ เพราะว่าเขานั้นมีสิทธิอันยิ่งใหญ่ [156]

การคัดค้านการถูกสังหารบรรดามิตรสหายของอิมามอะลี (อ.)

การกระทำของมุอาวิยะฮ์ในการสังหารผู้คน เช่น ฮุญร์ บินอะดีย์, อัมร์ บินฮัมก์ คุซาอี และอับดุลลอฮ์ บิน ยะห์ยา ฮัฎรอมี เป็นหนึ่งในกรณีทั้งหลายที่ก่อให้เกิดการคัดค้านอย่างรุนแรงของอิมามฮุเซน (อ. ) [157] และตามรายงานจากแหล่งข้อมูลเป็นจำนวนมาก อิมามฮุเซน (อ.) ได้เขียนจดหมายถึงมุอาวิยะฮ์และประณามการสังหารบรรดามิตรสหายของอิมามอะลี และในขณะที่มีการกระทำที่ไม่เหมาะสมบางประการของมุอาวิยะฮ์ เขาได้วิพากษ์วิจารณ์มุอาวิยะฮ์และกล่าวว่า: ฉันไม่ถือว่า สิ่งใดสำหรับตนและศาสนานั้น มีความสูงส่งยิ่งกว่าการทำญิฮาดกับเจ้า และในจดหมายนี้ยังระบุว่า ฉันก็ไม่เห็นด้วยว่า ความชั่วร้ายใดจะสูงส่งยิ่งไปกว่าการปกครองของเจ้า(158) นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า เมื่อมุอาวิยะฮ์ขณะที่อยู่ในระหว่างช่วงการประกอบพิธีฮัจญ์ เขาได้พบปะกับอิมามฮุเซน (อ.) เขาบอกกับอิมามฮุเซน (อ.) ว่า เจ้าเคยได้ยินหรือไม่ว่า สิ่งที่เรากระทำกับฮุญร์และเหล่าสหายของเขาและบรรดาชีอะฮ์ของบิดาของเจ้า? อิมามฮุเซน (อ.) กล่าวว่า: เจ้ากระทำอะไรหรือ?" มุอาวิยะฮ์ บอกว่า เราสังหารพวกเขา ห่อผ้ากะฝั่น นมาซให้กับพวกเขา และฝังศพพวกเขา ฮุเซน บินอะลี (อ.) จึงกล่าวว่า แต่หากเราสังหารเหล่าสหายของเจ้า เราจะไม่ห่อกะฝั่นให้พวกเขา จะไม่นมาซให้พวกเขา และเราก็จะไม่ฝังศพพวกเขา [160]

การคัดค้านตำแหน่งมกุฏราชกุมารของยะซีด

ในปี ฮ.ศ. 56 มุอาวิยะฮ์ได้เชิญชวนประชาชนให้สัตยาบันกับยะซีดในฐานะเป็นมกุฏราชกุมาร ซึ่งตรงกันข้ามกับเงื่อนไขของสนธิสัญญาสันติภาพ (เกี่ยวกับการไม่แต่งตั้งผู้ใดเป็นมกุฏราชกุมารและผู้สืบทอด) [161] และบุคคลบางคนรวมทั้ง อิมามฮุเซนปฏิเสธที่จะให้คำสัตยาบัน มุอาวิยะฮ์ได้เดินทางไปยังเมืองมะดีนะฮ์ เพื่อขอความเห็นจากบรรดาผู้อาวุโสของเมืองนี้เกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งมกุฏราชกุมารของยะซีด (162) อิมามฮุเซนได้ประณามมุอาวิยะฮ์ในที่ประชุมหนึ่ง ซึ่งมีมุอาวิยะฮ์และอิบนุอับบาส และข้าราชบริพารบางคน และครอบครัวบะนีอุมัยยะฮ์ รวมอยู่ด้วย และอิมามฮุเซน (อ.)ได้กล่าวถึงนิสัยและมารยาทของยะซีด โดยเตือนมุอาวิยะฮ์ไม่ให้พยายามเพื่อทำให้ยะซีดเป็นตัวแทนของเขา และในขณะที่เน้นย้ำสถานภาพและความถูกต้องของตน เขาได้หักล้างข้อโต้แย้งของมุอาวิยะฮ์ เพื่อที่จะให้มีการให้สัตยาบันกับยะซีด

เทศนาธรรมของอิมามฮุเซนในมินา

อิมามฮุเซน (อ.) กล่าวเทศนาธรรมในการต่อต้าน ณ ทุ่งมินา ในปี 58 ฮ.ศ. สองปีก่อนการเสียชีวิตของมุอาวิยะฮ์ (166) ในช่วงเวลานี้ มุอาวิยะฮ์ได้สร้างแรงกดดันต่อบรรดาชีอะฮ์ถึงจุดสูงสุด (167) ฮุเซน บินอะลี กล่าวในเทศนาธรรมนี้ เกี่ยวกับความประเสริฐของอิมามอะลี (อ.) และบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) พร้อมทั้งการเชิญชวนให้กำชับในความดีและการห้ามปรามความชั่ว และการเน้นย้ำถึงความสำคัญของมัน รวมทั้งหน้าที่ของนักวิชาการศาสนาทั้งหลายและความจำเป็นสำหรับการลุกขึ้นต่อสู้ของพวกเขาในการเผชิญหน้ากับเหล่าผู้กดขี่ และอิมามฮุเซน (อ.)ยังกล่าวเตือนถึงข้อเสียของการนิ่งเงียบของบรรดานักวิชาการต่อหน้าเหล่าผู้กดขี่ (168)

ปฏิกิริยาต่อตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของยะซีด

หลังจากการเสียชีวิตของมุอาวิยะฮ์ในวันที่ 15 รอญับ ฮ.ศ. 60 ยะซีดขึ้นสู่อำนาจ [169] และเขาตัดสินใจที่เอาสัตยาบันโดยการใช้กำลังจากบุคคลบางคนที่ไม่ยอมรับตำแหน่งมกุฏราชกุมารของเขา รวมถึง ฮุเซน บิน อะลี [170] แต่ฮุเซน (อ.) ปฏิเสธที่จะให้สัตยาบัน[171] และเขาเดินทางออกจากเมืองมะดีนะฮ์พร้อมครอบครัวและเหล่ามิตรสหายของเขาในวันที่ 28 รอญับ ไปยังนครมักกะฮ์ [172]

ในมักกะฮ์ เขาได้รับการต้อนรับจากชาวเมืองมักกะฮ์และผู้แสวงบุญอุมเราะฮ์[173] และอาศัยอยู่ในเมืองนี้เป็นเวลานานกว่าสี่เดือน (ตั้งแต่วันที่ 3 ชะอ์บาน จนถึง 8 ซุลฮิจญะฮ์) ในช่วงเวลานี้ บรรดาชีอะฮ์เมืองกูฟะฮ์ได้เขียนจดหมายถึงเขาและเชิญเขาให้เดินทางไปยังเมืองกูฟะฮ์ (175) เพื่อให้แน่ใจว่าชาวเมืองกูฟะฮ์มีความเห็นใจและจริงจังของคำเชื้อเชิญของพวกเขา ฮุเซน บิน อะลีจึงส่งมุสลิม บิน อะกีลไปยังเมืองกูฟะฮ์ เพื่อรายงานถึงสถานการณ์ให้เขาทราบ เขาพร้อมด้วยครอบครัวและเหล่ามิตรสหายของเขาได้เดินทางออกจากนครมักกะฮ์ไปยังเมืองกูฟะฮ์ในวันที่ 8 เดือนซุลฮิจญะฮ์ [177]

ตามบางรายงาน กล่าวว่า อิมามฮุเซนได้เรียนรู้ถึงแผนการสมรู้ร่วมคิดที่จะสังหารเขาในนครมักกะฮ์ ด้วยเหตุนี้เอง เพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของนครมักกะฮ์ เขาจึงต้องเดินทางออกจากเมืองนี้และไปยังอิรัก [178]

เหตุการณ์กัรบะลาอ์

เหตุการณ์กัรบะลาอ์ ซึ่งนำไปสู่การเป็นชะฮีดของฮุเซน บิน อะลี (อ.) และเหล่ามิตรสหายของเขา ถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในชีวประวัติของเขา ตามบางรายงานกล่าวว่า อิมามฮุเซน (อ.) ทราบถึงการเป็นชะฮีดของเขา ก่อนที่จะเดินทางไปยังอิรัก เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากที่เขาปฏิเสธที่จะให้สัตยาบันกับยะซีด ฮุเซน (อ.) ซึ่งได้เดินทางมายังเมืองนี้ พร้อมกับครอบครัวและเหล่ามิตรสหายของเขา ตามคำเชื้อเชิญของชาวเมืองกูฟะฮ์ ได้เผชิญหน้ากับกองทัพภายใต้การบังคับบัญชาของฮุร บินยะซีด ริยาฮี ในพื้นที่ที่เรียกว่า ซูฮัสม์ และเขาต้องเปลี่ยนเส้นทางของเขา[179]

ตามแหล่งข้อมูลส่วนใหญ่ รายงานว่า พวกเขาได้เดินทางไปถึงกัรบาลาในวันที่ 2 มุฮัรรอม และในวันรุ่งขึ้น กองทัพจำนวน 4,000 คนจากชาวเมืองกูฟะฮ์ภายใต้การบังคับบัญชาของอุมัร บินซะอัด ก็เข้าเดินทางสู่กัรบะลาอ์ ตามรายงานทางประวัติศาสตร์ ระบุว่า ณ สถานที่นั่น มีการเจรจากันหลายครั้งระหว่างฮุเซน บินอะลี และอุมัร บินซะอัด แต่อิบนุ ซิยาดไม่รู้สึกพอใจ เว้นแต่เขาได้รับสัตยาบันจากฮุเซน (อ) ที่มียะซีดหรือทำสงครามเท่านั้น

ในช่วงเย็นของวันตาซูอา กองทัพของอุมัร บินซะอัด เตรียมพร้อมสำหรับการทำสงคราม แต่อิมามฮุเซนได้ผ่อนผันในคืนนั้นเพื่อทำการวิงวอนต่อพระเจ้า [184] ในคืนวันอาชูรอ เขาได้พูดกับบรรดาสหายของเขา และถอนการสัตยายบันของเขาจากพวกเขาและปล่อยให้พวกเขาออกไป แต่พวกเขาได้เน้นย้ำถึงความจงรักภักดีและการสนับสนุนของพระองค์[185]

ในช่วงเช้าของวันอาชูรอ สงครามเริ่มต้นขึ้น และในเวลาเที่ยง บรรดาสหายของฮุเซนจำนวนมากต้องเสียชีวิต [186] ในระหว่างสงคราม ฮุร บินยะซีด หนึ่งในผู้บัญชาการกองทัพกูฟะฮ์ ได้เข้าร่วมกับอิมามฮุเซน(187) หลังจากที่เหล่า สหายถูกสังหาร ญาติของอิมามก็ได้ไปยังสมรภูมิเป็นคนแรก คือ อะลี อักบัร[188] และพวกเขาก็ถูกสังหารทีละคนด้วยเช่นกัน จากนั้น ฮุเซน บิน อะลี (อ.) เองก็ไปยังสมรภูมิและได้เป็นชะฮีดในช่วงเย็นของวันที่ 10 มุฮัรรอม และชิมร์ บินซิลเญาชัน[189] และตามรายงานของซินาน บิน อะนัส[190] ก็ตัดศีรษะของเขา และศีรษะของฮุเซน บิน อะลี ถูกส่งไปยังอิบนุซิยาด ในวันเดียวกันนั้น(191)

อุมัร บินซะอัด ในการปฏิบัติการตามคำสั่งของอิบนุ ซิยาด เขาได้สั่งให้กองพลม้าหลายตัวควบม้าและเหยียบกระดูกของเขา [192] ผู้หญิงทั้งหลาย เด็กๆ และอิมามซัจญาด (อ.) ซึ่งป่วยในวันนั้น ก็ถูกจับตัวไปเป็นเชลยและถูกส่งไปยังเมืองกูฟะฮ์ จากนั้นพวกเขาก็ถูกส่งไปยังเมืองชาม (ซีเรีย) (193) ศพของอิมามฮุเซน (อ) และเหล่ามิตรสหายของเขา ประมาณ 72 คน [194] ในวันที่ 11 [195] หรือวันที่ 13 ของเดือนมุฮัรรอม ถูกนำมาฝังโดยกลุ่มชนบะนีอะซัด และตามบางรายงาน ระบุว่า อิมามซัจญาด (อ.) ก็ปรากฏในสถานที่เดียวกันนั้น (196)

มุมมองต่างๆและผลลัพท์ตามมา

มีมุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของอิมามฮุเซน (อ.) จากมะดีนะห์ไปยังมักกะฮ์ และจากที่นั่นไปยังกูฟะฮ์ และการทำสงครามกับกองทัพของอุมัร บินซะอัด ในกัรบะลาอ์ มุฮัมมัด อิสฟันดิยารี นักวิจัยอาชูรอศึกษา กล่าวว่า ทฤษฎีที่เป็นที่รู้จักที่สุดเกี่ยวกับ เป้าหมายของฮุเซน บิน อะลี (อ.)ในการลุกขึ้นต่อสู้ คือ การเป็นชะฮีด ทฤษฎีนี้ มีผู้สนับสนุนมากมาย รวมถึง ลุฏฟุลลอฮ์ ศอฟีย์ , มุรตะฎอ มุเฏาะฮะรีย์, ซัยยิดมุฮ์ซิน อะมีน และ อาลี ชะรีอะตี [198] และในทัศนะที่ว่า อิมามฮุเซน(อ.)ลุกขึ้นต่อสู้เพื่อการสถาปนาการปกครอง จากนักวิชาการในอดีต ซัยยิดมุรตะฎอ และในบุคคลร่วมสมัย ศอลิฮี นะญัฟออบอดี มีมุมมองนี้ ระบุในหนังสือชะฮีด ญาวีด [199] เซฮะตี ซัรดะรูดี กล่าวว่า บุคคลเช่น เชคมุฟีด , เชคฏูซีย์, ซัยยิดบินฏอวูซ และ อัลลามะฮ์มัจลิซีย์ ต่อต้านทัศนะนี้[200] นักวิชาการบางคน เช่น เชคอะลีพะนอฮ์ อิชติฮารดี ถือว่า การเคลื่อนไหวของอิมามคนที่สามของบรรดาชีอะห์ ไม่ใช่เฉพาะการรักษาชีวิตเท่านั้น (201)

การลุกขึ้นต่อสู้ของอิมามฮุเซน (อ.) นำไปสู่การตื่นตัวของหลายกลุ่ม และทันทีหลังจากการเป็นชะฮีดของเขา ขบวนการปฏิวัติและการประท้วงก็ได้เริ่มขึ้นและดำเนินต่อไปเป็นเวลาหลายปี การประท้วงครั้งแรก คือ การเผชิญหน้าของอับดุลลอฮ์ บิน อะฟีฟ [202] กับอิบนุ ซิยาด การลุกขึ้นต่อสู้ของกลุ่มเตาวาบิน[203] การลุกขึ้นต่อสู้ของมุคตาร[204] การลุกขึ้นต่อสู้ของเซด บิน อะลี[205] และการลุกขึ้นต่อสู้ของยะห์ยา บินเซด [206] ก็อยู่ในหมู่นั้นด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ระหว่างการลุกขึ้นต่อสู้ของกลุ่มเสื้อสีดำ ซึ่งนำโดยอะบูมุสลิม โครอซานี เพื่อต่อต้านพวกอุมัยยะฮ์ ด้วยการใช้คำขวัญหรือสโลแกนว่า ยาละษารอติลฮุเซน (โอ้ผู้ชำระหนี้เลือดให้ฮุเซน) [207] ซึ่งนำไปสู่การล่มสลายของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ [ต้องการอ้างอิง] การปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน ยังได้รับแรงบันดาลใจจากการลุกขึ้นต่อสู้ของอิมามฮุเซน (อ.) และอิมามโคมัยนี กล่าวว่า "ประเทศของเรา คงจะไม่ชนะถ้าไม่ใช่เพราะ คำเตือน การเทศนา การกล่าวสุนทรพจน์ และการไว้อาลัย ทุกคนลุกขึ้นต่อสู้ ภายใต้ร่มธงชัยของอิมามฮุเซน (อ.) [208] ในด้านวัฒนธรรมทั่วไป บรรดามุสลิมและแม้แต่ผู้นับถือศาสนาอื่นๆ ก็ถือว่าฮุเซน บิน อะลี (อ.) เป็นสัญลักษณ์และแบบอย่างของการเสียสละ การไม่กดขี่ เสรีภาพ การปกป้องคุณค่า และรู้จักสิทธิ

ลักษณะพิเศษและความประเสริฐ

คุณลักษณะภายนอก ในแหล่งข้อมูลส่วนมากทางด้านฮะดีษ ประวัติศาสตร์ และริญาล ‎กล่าวถึงความคล้ายคลึงของฮุเซน (อ กับศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) (210) และในริวายะฮ์ต่างๆ รายงานว่า อิมามฮุเซน (อ.)เป็นบุคคลที่มีความละม้ายคล้ายกับศาสดามากที่สุด ‎‎[211] มีการกล่าวเกี่ยวกับเขาว่า ในบางครั้งเขาสวมเสื้อผ้าขนสัตว์หรือผ้าโพกหัวที่ทำจากขนสัตว์ [212] และทำการย้อมผมของเขาและเคราของเขา [213] วลีหนึ่ง ที่ว่า ขอความสันติสุขพึงมีแด่ท่าน โอ้หัวหน้าของบรรดาชายหนุ่มแห่งสวรรค์ ซึ่งเขียนติดที่ประตูบานหนึ่งของฮะรัมอิมามฮุเซน (อ.)

คำพูดจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ซึ่งมีริวายะฮ์ต่างๆมากมายของศาสดาที่กล่าวถึงความสูงส่งและความประเสริฐของอิมามฮุเซน (อ.) ดังเช่น ฮะซันและฮุเซน เป็นหัวหน้าของชายหนุ่มในสวรรค์ [214] ทางด้านขวาของบัลลังก์ เขียนว่า ฮุเซน เป็นดวงประทีบแห่งทางนำและเป็นนาวาแห่งความรอดพ้น ‎ ฮุเซนมาจากฉัน และฉันมาจากฮุเซน [215] ผู้ใดก็ตามที่มีความรักต่อเขาสองคน (ฮะซัน‎และฮุเซน) ก็เท่ากับว่าเขานั้นมีความรักฉัน และผู้ใดก็ตามที่เป็นศัตรูกับพวกเขา ก็เท่ากับเขานั้นเป็นศัตรูกับฉัน[216]

การแจ้งข่าวล่วงหน้าในการเป็นชะฮีด

เกี่ยวกับการเป็นชะฮีดของฮุเซน บินอะลี (อ.)ก็มีริวายะฮ์ต่างๆมาากมายที่แจ้งข่าวถึงการเป็นชะฮีดของเขา[217] เช่น ฮะดีษลูฮ์ ซึ่งรายงานจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า อัลลอฮ์ (ซ.บ.)ทรงเทอดเกียรติฮุเซนในการเป็นชะฮีดของเขา และถือว่า เขานั้นเป็นชะฮีดที่สูงส่งที่สุด [218] มัจญ์ลิซี ในเล่มที่ 44 ของบิฮารุลอันวาร บาบที่ 30 ได้กล่าวถึงริวายะฮ์ที่รายงานว่า อัลลอฮ์ (ซ.บ.)ทรงแจ้งข่าวการเป็นชะฮีดของฮุเซนแก่ศาสดาของพระองค์บางคน รวมทั้งศาสดาอาดัม นุฮ์ อิบรอฮีม ซักกะรียา และมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และพวกเขาเหล่านั้นก็ร้องไห้ให้กับเขา (219) และเช่นเดียวกัน ‎ยังมีรายงานจากอิมามอะลี (อ.) ในระหว่างทางไปยังศิฟฟีน ขณะที่เดินทางถึงเมืองกัรบะลาอ์ เขาได้ใช้ชี้นิ้วไปยังสถานที่แห่งหนึ่งพร้อมทั้งกล่าวว่า นี่คือสถานที่ซึ่งเลือดของพวกเขาจะถูกหลั่งไหล [220]

เกียรติยศและความมหัศจรรย์

ในบางริวายะฮ์ บ่งบอกถึงลักษณะที่พิเศษของอิมามฮุเซน (อ.) เช่น ปาฏิหาริย์ของฮุเซนจากการดูดนิ้วมือของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) แทนการดื่มนม(221) และเทวทูตองค์หนึ่งที่ปีกหัก ชื่อว่า ‎ฟิฏร็อส ก็ได้รับการช่วยเหลือด้วยเกียรติของเขา และหลังจากนั้น เทวทูตองค์นั้นก็ถูกส่งให้ไปทำการต้อนรับบรรดาผู้แสวงบุญ [222] และเช่นเดียวกัน ยังมีริวายะฮ์ต่างๆรายงานว่า อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงทำให้ตุรบะฮ์(ดินที่หลุมฝังศพ)ของอิมามฮุเซน (อ.) เป็นการบำบัดโรคและการขอดุอาอ์ใกล้สถานที่ฝังศพของเขา จะเป็นที่ตอบรับ (223)ในหนังสือ อัลคอซออิศ อัลฮุซัยนียะฮ์ กล่าวถึงลักษณะที่พิเศษของอิมามฮุเซน (อ.)ซึ่งมีมากกว่าสามร้อยประการ [224] ‎

ลักษณะพิเศษทางจริยธรรมและศีลธรรม

อิมามฮุเซน (อ.) เขามักนั่งร่วมอยู่กับบรรดาคนยากจนและขัดสน ตอบรับการเชิญชวนของพวกเขา ร่วมรับประทานอาหารกับพวกเขา และเชิญชวนพวกเขาให้เดินทางมายังบ้านของเขา และสิ่งใดก็ตามมีอยู่ในบ้าน จะมามอบให้กับพวกเขา (225) มีอยู่วันหนึ่ง ‎คนขัดสนคนหนึ่งได้มาขอความช่วยเหลือจากเขา ในขณะที่เขากำลังนมาซ เมื่ออิมามเห็นก็ทำนมาซให้สั้นลงและมอบสิ่งที่ชายผู้ขัดสนนั้นต้องการ [226] เขาเคยปล่อยทาสชายและทาสหญิงของเขาให้เป็นอิสรภาพ เพื่อตอบแทนจากความประพฤติดีของพวกเขา กล่าวกันได้ว่า เขาได้ปล่อยทาสหญิงคนหนึ่ง ซึ่งมุอาวิยะฮะได้ส่งมาเป็นของขวัญพร้อมกับทรัพย์สินและเสื้อผ้าเป็นจำนวนมากมาย โดยแลกกับการอ่านโองการจากอัลกุรอานและเขียนบทกวีเกี่ยวกับการสิ้นสุดของโลกและความตายของมนุษย์ และเขาก็มอบทรัพย์สินเหล่านั้นให้กับทาสหญิงผู้นั้น และเขาได้ปลดปล่อยทาสคนนั้นให้เป็นอิสรภาพ (227) นอกจากนี้ วันหนึ่ง ทาสหญิงคนหนึ่ง ได้มอบดอกไม้ช่อหนึ่งให้อิมามฮุ‎เซน (อ.) แล้วเขาก็ปล่อยเธอให้เป็นอิสรภาพ มีผู้ถามว่า ท่านปล่อยเธอเพียงช่อดอกไม้ดอกเดียวเท่านั้นหรือ? อิมามฮุเซน (อ.) ก็ได้ยกหลักฐานจากโองการที่ว่า และครั้นเมื่อพวกท่านทั้งหลายถูกทักทาย ด้วยการทักทายหนึ่ง ก็จงกระทำให้ดีที่สุดหรือก็ปฏิเสธมัน ‎‎(228) เขากล่าวว่า อัลลอฮ์ (ซ.บ.)ทรงสอนเราถึงมารยาทในลักษณะนี้ (229) อิมามฮุเซน ‎‎(อ) เป็นผู้ที่โอบอ้อมอารีย์อย่างมาก และเป็นที่รู้จักในเรื่องความมีน้ำใจของเขา [230] แต่ในการโอบอ้อมอารีย์ของเขา เขาได้พยายามให้เกียรติอิมามฮะซัน (อ.) และเขาเคยช่วยเหลือผู้อื่นน้อยกว่าพี่ชายของเขา [231] ในแหล่งข้อมูลต่างๆ ยังรายงานว่า อิมามฮุเซน (อ.)ไปประกอบพิธีฮัจญ์ด้วยการเดินเท้าถึง 25 ครั้ง ด้วยกัน [232]‎

การไว้อาลัยและซิยาเราะฮ์

บรรดาชีอะฮ์ (และบางครั้งก็ไม่ใช่ชีอะฮ์) ร่วมไว้อาลัยอิมามฮุเซนและบรรดาชะฮีดแห่งกัรบาลาในเดือนมุฮัรรอม พวกเขามีพิธีกรรมสำหรับการไว้อาลัยนี้ โดยทั่วไป มักการอ่านบทลำนำ การมะตั่ม การตะอ์ซิยะฮ์(การแสดงละครเวที) การวาดภาพสัญลักษณ์และอ่านบทซิยาเราะฮ์ เช่น บทซิยาเราะฮ์อาชูรอ บทซิยาเราะฮ์วาริษ บทซิยาเราะฮ์นาฮิยะฮ์ มุก็อดดะซะฮ์ เป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม(233)การไว้อาลัยให้กับอิมามฮุเซน (อ.) โดยเริ่มต้นหลังจากวันอาชูรอ [234] และตามรายงาน กล่าวว่า เมื่อบรรดาเชลยศึกแห่งกัรบะลาอ์เดินทางถึง เมืองชาม (ซีเรีย) เหล่าสตรีของตระกูลบะนีฮาชิมได้สวมเสื้อผ้าสีดำพร้อมทั้งไว้อาลัย (235) หลังจากที่มีรัฐบาลชีอะฮ์ขึ้นสู่อำนาจ และแรงกดดันต่อบรรดาชีอะฮ์ถูกขจัดออกไป พิธีการไว้อาลัยจึงถูกจัดขึ้นอย่างเป็นทางการ (236) ตามรายงานทางประวัติศาสตร์และฮะดีษ บรรดาอิมามของชีอะฮ์ ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการไว้อาลัยและการร้องไห้ให้กับอิมามฮุเซน (อ.)และสั่งให้บรรดาชีอะห์กระทำเช่นนี้และรักษาความทรงจำของวันอาชูรอให้คงอยู่ตลอดไป(237)

การซิยาเราะฮ์อิมามฮุเซน

การซิยาเราะฮ์อิมามฮุเซน (อ.) ถูกกล่าวในริวายะฮ์ของบรรดาผู้บริสุทธิ์ด้วยการเน้นย้ำอย่างมากและเป็นหนึ่งในการกระทำที่ประเสริฐที่สุดและสูงส่งที่สุด[238] และยังมีริวายะฮ์จำนวนหนึ่งที่รายงายว่า ผลรางวัลของการซิยาเราะฮ์จะเท่ากับการประกอบพิธีฮัจญ์และอุมเราะฮ์[239] ในหนังสือญามิอ์ซิยารอต กล่าวบทซิยาเราะฮ์มุฏลักของอิมามฮุเซน ที่สามารถอ่านได้ในทุกเวลา[240] และยังมีบทซิยาเราะฮ์ที่เฉพาะ โดยอ่านมันในเวลาที่ถูกกำหนดไว้เท่านั้น [241] บทซิยาเราะฮ์อาชูรอ ซิยาเราะฮ์วาริษ และซิยาเราะฮ์นาฮิยะฮ์ มุก็อดดะซะฮ์ ถือเป็นบทซิยาเราะฮ์ที่ถูกรู้จักมากที่สุดของบทซิยาเราะฮ์อิมามฮุเซน

อัรบะอีน ฮุซัยนี

สี่สิบวัน หลังจากการเป็นชะฮีดของอิมามฮุเซน (อ.) ซึ่ง เรียกถูกว่า อัรบะอีน ฮุซัยนี หรือวันอัรบะอีน บรรดาชีอะห์จำนวนมากจะไปเยี่ยมหลุมฝังศพของอิมามฮุเซน (อ.) ตามรายงานทางประวัติศาสตร์ ระบุว่า ญะบีร บินอับดุลลอฮ์ อันศอรี เป็นผู้แสวงบุญคนแรกในวันนี้ [242] ที่ไปเยี่ยมหลุมศพของอิมามฮุเซน (อ.) ตามรายงานในหนังสือลุฮูฟ ระบุว่า บรรดาเชลยศึกแห่งกัรบาลา ในระหว่างกลับจากเมืองชาม (ซีเรีย) ไปยังเมืองมะดีนะฮ์ ในปีที่ 61 ฮ.ศ. โดยกองคาราวานได้เดินทางถึงกัรบะลาอ์ในวันอัรบะอีนด้วยเช่นกัน (243)คำแนะนำของการซิยาเราะฮ์อัรบะอีน ทำให้บรรดาชีอะฮ์โดยเฉพาะชาวอิรักต้องเดินทางจากสถานที่ต่างๆ ไปยังกัรบะลาอ์ในทุกปี การเคลื่อนไหวนี้ซึ่งมักเป็นการเดินเท้า ถือเป็นหนึ่งในการเดินขบวนที่มีผู้คนหนาแน่นที่สุดในโลก ตามแหล่งข่าวในปี 1398( 2017) มีผู้แสวงบุญมากกว่า 18 ล้านคนเข้าร่วมในพิธีกรรมนี้[244]

ฮะรัมและอัลฮาอิร อัลฮุซัยนี

ธงสีแดง ที่อยู่เหนือโดมของฮะรัมอิมามฮุเซน ถือเป็นสัญลักษณ์ของการชำระล้างหนี้เลือด [245] บริเวณพื้นที่ของฮะรัมอิมามฮุเซน (อ.) ถูกเรียกว่า อัลฮาอิร อัลฮุซัยนี พื้นที่ของฮาอิร มีความประเสริฐและกฎเกณฑ์ทางนิติศาสตร์และผู้เดินทางสามารถนมาซในสถานที่แห่งนี้แบบสมบูรณ์ได้ [246] ประเด็นที่เกี่ยวกับปริมาณของพื้นที่ มีความคิดเห็นหลายประการและอย่างน้อยที่สุดก็คือ พื้นที่ซึ่งมีรัศมี 11 เมตร จากหลุมศพของอิมามฮุเซน ซึ่งถือว่า เป็นสถานที่มีความระดับความประเสริฐมากที่สุด [247]

ฮะรัมอิมามฮุเซน

ตามรายงานในปัจจุบัน ระบุว่า สิ่งปลูกสร้างครั้งแรกเหนือหลุมศพอิมามฮุเซน (อ.) ถูกสร้างขึ้นในสมัยของมุคตาร ซะกอฟีย์ และสร้างตามคำสั่งของเขา และหลังจากนี้ จนถึงปัจจุบันนี้ การสร้างฮะรัมมีการบูรณการใหม่หลายครั้ง [248] ฮะรัมอิมามฮุเซน (อ.) ถูกทำลายหลายครั้งโดยน้ำมือของคอลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ [249] และพวกวะฮาบี [250] เช่น มุตะวักกิล สั่งให้ทำการไถดินของฮาอิรและปิดน้ำไม่เข้าถึงสุสาน[251]

มรดกทางจิตวิญญาณของอิมามฮุเซน

ในฮะดีษและแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์มากมาย รายงานว่า มรดกทางจิตวิญญาณของฮุเซน บินอะลี (อ.) รวมถึง สุนทรพจน์ บทดุอาอ์ จดหมาย บทกวี บทเทศนาธรรม และคำสั่งเสียของเขา ผลงานทั้งหมดนี้ รวบรวมไว้ในหนังสือ มุสนัดอัลอิมามอัชชะฮีด ประพันธ์โดย อะซีซุลลอฮ์ อะฏอรดี และหนังสือ เมาซูอะฮ์ กะลิมาอัลอิมามอัลฮุซัยน์

สุนทรพจน์ ด้วยเหตุผลในสถานการณ์ทางการเมืองในการปกครองของมุอาวิยะฮ์ จึงไม่มีริวายะฮ์จากของอิมามฮุเซน (อ.) มากนัก [252] และส่วนมากของสุนทรพจน์ ที่รายงานจากเขา คือระหว่างการเดินทางของเขาจากมะดีนะฮ์ไปยังกัรบะลาอ์ [253] อัลลามะฮ์ เตห์รอนี เชื่อว่า ความกดดันของพวกอุมัยยะฮ์ทำให้ผู้คนเข้าหาอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน (อ.) น้อยลง หรือริวายะฮ์ที่รายงานจากพวกเขาสูญหายไป เนื่องจากความกลัวของผู้รายงาน และไม่ถูกส่งไปยังคนรุ่นต่อไป [254] สุนทรพจน์ของอิมามคนที่สามของบรรดาชีอะฮ์ในประเด็นต่างๆ เช่น ประเด็นทางด้านหลักศรัทธา หลักปฏิบัติ และจริยธรรมและศีลธรรม ได้รับการรายงานในแหล่งข้อมูลของอิสลาม [255]

บทดุอาอ์ ในหนังสือมุสนัดอัลอิมามอัชชะฮีด มีรายงานที่เกี่ยวกับบทดุอาอ์และคำวิงวอนของอิมามฮุเซน (อ.) ประมาณ 20 บท ด้วยกัน ซึ่งบทดุอาอ์ที่รู้จักมากที่สุดของเขา คือ ดุอาอ์วันอะรอฟะฮ์ ที่มีการอ่านกันในวันอะรอฟะฮ์ ณ ทุ่งอะรอฟะฮ์ (256) บทกวี มีบทกวีต่างๆของอิมามฮุเซน (อ.) มุฮัมมัดศอดิก กัรบาซี ได้รวบรวมบทกวีต่างๆของอิมามฮุเซน (อ.) ในหนังสือที่ชื่อว่า ดีวาน อัลอิมามอัลฮุซัยน์ 2 เล่ม โดยมีสายรายงานและความเป็นวรรณกรรม(257)

บทเทศนาธรรมและคำสั่งเสีย ในบางแหล่งข้อมูล รายงานว่า มีบทเทศนาธรรมของอิมามฮุเซน (อ.) ในทุ่งมินา (258) และคุฏบะฮ์ของเขาในวันอาชูรอ (259) และยังมีคำสั่งเสียของเขาที่มีต่อมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮ์ น้องชายต่างมารดา ซึ่งกล่าวถึงเป้าหมายในการเดินทางของเขา(260)

จดหมาย ในหนังสือ มะกาตีบุลอะอิมมะฮ์ มีการเก็บรวบรวมจดหมายของอิมามฮุเซน ได้ทั้งหมด 27 ฉบับ (261) และในจำนวนเหล่านี้ มีจดหมายที่เขียนถึงมุอาวิยะฮ์และบางส่วนส่งถึงบุคคลอื่นๆและในประเด็นต่างๆ

บางส่วนของสุนทรพจน์ของอิมามฮุเซน (อ.)

إن لم يكن لكم دين ولا تخافون المعاد، فكونوا أحراراً في دنياكم

หากพวกเจ้าไม่มีศาสนาและไม่หวาดกลัวในวันแห่งการฟื้นคืนชีพ ดังนั้น พวกเจ้าก็จงเป็นอิสรชนในโลกนี้เถิด(262)

النَّاسُ عَبِيدُ الدُّنْيَا، وَالدِّينُ لَعِقٌ عَلَى أَلْسِنَتِهِمْ، يَحُوطُونَهُ مَا دَرَّتْ مَعَايِشُهُمْ، فَإِذَا مُحِّصُوا بِالْبَلَاءِ قَلَّ الدَّيَّانُون

มนุษย์เป็นทาสของโลกนี้ และศาสนาอยู่บนปลายลิ้นของเขา ตราบเท่าที่พวกเขาชื่นชอบในชีวิตของพวกเขา ดังนั้น เมื่อพวกเขาสัมผัสกับการทดสอบ ผู้ที่เคร่งครัดศาสนาก็มีเหลือน้อย(263)

إنّ حوائج الناس إليكم من نِعم الله عليكم، فلا تملّوا النّعم

แท้จริงความต้องการของมนุษย์มายังพวกเจ้า เป็นความโปรดปรานของอัลลอฮ์ที่มีต่อพวกเจ้า ดังนั้นพวกเจ้าอย่าได้เบื่อหน่ายจากความโปรดปรานเหล่านี้ (264)


موتٌ في عزّ خيرٌ من حياةٍ في ذلّ

ความตายอย่างมีเกียรติดีกว่าการมีชีวิตอย่างไร้เกียรติ (265)

إِنّي لَمْ أَخْرُجْ أَشِرًا وَ لا بَطَرًا ولا مُفْسِدًا وَلا ظالِمًا وَإِنَّما خَرَجْتُ لِطَلَبِ الاِْصْلاحِ في أُمَّةِ جَدّي، أُريدُ أَنْ آمُرَ بِالْمَعْرُوفِ وَأَنْهى عَنِ الْمُنْكَرِ


แท้จริงฉันมิได้มาเพื่อก่อการละเมิดและความทรนง ฉันมิได้มาเพื่อก่อความเสียหายและความอธรรมแต่อย่างใด ฉันมาเพื่อสร้างความดีงามในหมู่ประชาชาติของปู่ของฉัน ฉันปรารถนาในการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว(266)


مَن حاوَلَ اَمراً بِمَعصِيَةِ اللهِ كانَ اَفوَتُ لِما يَرجو واَسرَعُ لِما يَحذَرُ

ผู้ใดก็ตามที่พยายามกระทำการงานใดที่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮ์ เขาก็จะสูญเสียในสิ่งที่คาดหวังและรีบเร่งในสิ่งที่ควรระวัง (267)

ผลงานประพันธ์ต่างๆ

เกี่ยวกับบุคลิกภาพและชีวิตของฮุเซน บินอะลี (อ.) มีผลงานประพันธ์ ในด้านต่างๆมากมาย เช่น ในรูปแบบของสารานุกรม อัตชีวประวัติ มักตัลและการวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นหนังสือมากกว่า 40 เล่ม และบทความในหัวข้อ บทบรรณานุกรมอิมามฮุเซน (268) เช่น บรรณนุกรมที่เฉพาะกับอิมามฮุเซน มีทั้งหมด 1428 ผลงาน (269) ออกอ บุซุรก์ เตห์รอนี ได้เขียนในหนังสือ อัซซะรีอะฮ์ ว่า มีหนังสือ 985 เล่ม ที่ประพันธ์ถึงอิมามฮุเซน (อ.) (270)

ผลงานประพันธ์ที่สำคัญเกี่ยวกับอิมามฮุเซน มีดังนี้

สารานุกรม :

1.สารานุกรมอิมามฮุเซน ประพันธ์โดย มุฮัมมัด มุฮัมมะดี เรย์ ชะฮฺ์รี ใน 14 เล่ม 2.สารานุกรมเป็นภาษาอาหรับ โดยมีชื่อว่า ดาอิรอตุลมะอาริฟอัลฮุซัยนียะฮ์ ประพันธ์โดย มุฮัมมัดศอดิก กัรบาซี จัดพิมพ์ทั้งหมด 90 เล่ม ในปี 2016 3.วัฒนธรรมอาชูรอ(ฟัรฮังก์ อาชูรอ) ประพันธ์โดย ญะวาด มุฮัดดิษีย์

อัตชีวประวัติ:

1.ฮะยาตุลอิมามอัลฮุซัยน์ ประพันธ์โดย บากิร ชะรีฟ กุรอชีย์ ใน 3 เล่ม 2.ตัรญุมะฮ์อัลอิมามอัลฮุซัยน์ ประพันธ์โดยอิบนุนะดีม (เสียชีวิต 660 ฮ.ศ.)ใน 1 เล่ม หนังสือนี้ ได้คัดย่อจากหนังสือ บุฆยะตุลฏอลับ ฟีย์ ตารีค ฮะลับ เขียนโดย อับดุลอะซีซ ฏอบาฏอบาอีย์ ซึ่งมีทั้งหมด 10 เล่ม 3.ภาคหนึ่งที่เกี่ยวกับอิมามฮุเซน (อ.) ในหนังสือ อัฏฏอบะกอตุลกุบรอ ผลงานประพันธ์ของ อิบนุซะอัด ซึ่งเป็นหนังสือที่มีชื่อว่า ตัรญุมะฮ์ อัลอิมามอัลฮุซัยน์ วะมักตะลุฮู 4. ภาคหนึ่งที่เกี่ยวกับอิมามฮุเซน (อ.) ในหนังสือ ตารีค มะดีนะฮ์ ดิมัชก์ ผลงานประพันธ์ของ อิบนุอะซากิร ซึ่งเป็นหนังสือที่มีชื่อว่า ตัรญุมะฮ์ อัลอิมามอัลฮุซัยน์ มิน ตารีค มะดีนะฮ์ ดิมัชก์ 5. อัตชีวประวัติอิมามฮุเซน ประพันธ์โดย ซัยยิดฮาชิม รอซูลีย์ มะฮัลลาตีย์

มักตัล:

รายงานที่อธิบายถึงเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการถูกสังหารหรือการเป็นชะฮีดของบุคคลใด บุคคลหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ ถูกเรียกว่า มักตัล (272) และมักตัลแรกที่ถูกประพันธ์เป็นภาษาอาหรับที่เกี่ยวกับอิมามที่สามของบรรดาชีอะฮ์ คือ มักตัลอัลฮุซัยน์ เขียนโดย อะบูมิคนัฟ ในศตวรรษที่สองแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช (273) และหนังสือมักตัล อิมามฮุเซน มีดังนี้

1.มักตัลอัลฮุซัยน์ เขียนโดย มุวัฟฟัก บินอะห์มัด คอรัซมีย์ 2.มักตัลญามิอ์ ซัยยิดุชชุฮะดาอ์ ผลงานวิจัยของคณะประวัติศาสตร์ ภายใต้การดูแลของ มะฮ์ดี พีชวาอีย์ 3. วีรกรรมกัรบะลา(ฮิมอเซ ฮุซัยนี) ผลงานของ มุรตะฎอ มุเฏาะฮะรีย์ 4. การตรวจสอบประวัติศาสตร์อาชูรอ เขียนโดย มุฮัมมัด อิบรอฮีม ออยะตีย์

บทความ:

มีการเขียนบทความต่างๆมากมายที่เกี่ยวกับบุคลิกภาพและชีวิตของฮุเซน บินอะลี (อ.) ซึ่งบทความเหล่านี้ หลังจากที่ทำการรวบรวมก็ได้รับการจัดพิมพ์เป็นหนังสือทั้งหมด 2 เล่ม ภายใต้ประเด็นหลัก รวมบทความในการสัมมนาวิชาการแห่งชาติเกี่ยวกับวีรกรรมของอิมามฮุเซน (อ.) และการศึกษาและการวิจัยของการสัมมนาวิชาการอิมามอัลฮุเซน (อ.)

บทความที่เกี่ยวข้อง

เชิงอรรถ

บรรณานุกรม