รุก่นของฮัจญ์

จาก wikishia

รุก่นของฮัจญ์ หรือ สิ่งที่เป็นวาญิบหลักของการประกอบพิธีฮัจญ์ ซึ่งหากละทิ้งมันจะทำให้ฮัจญ์เป็นโมฆะ ตามทัศนะของบรรดานักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ ถือว่า การครองผ้าอิห์รอม, เฏาะวาฟ ,การวุกูฟในอะรอฟัต และการวุกูฟในมัชอะรุลฮะรอม และการซะแอระหว่างศอฟาและมัรวะฮ์ เป็นรุก่นของฮัจญ์ ขณะที่นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ของอิมามียะฮ์บางคน ถือว่า เนียต, การอ่านตัลบียะฮ์และการเรียงลำดับ ก็ถือว่าเป็นรุก่นของฮัจญ์ด้วยเช่นกัน

กล่าวได้ว่า การละทิ้งสิ่งที่เป็นวาญิบที่เป็นรุก่นในสภาพที่ตั้งใจหรือด้วยเหตุผลของการไม่รู้กฏ จะทำให้ฮัจญ์นั้นเป็นโมฆะ แต่การละทิ้งสิ่งที่เป็นวาญิบที่ไม่ใช่รุก่นของฮัจญ์ ไม่ว่าในสภาพที่ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ไม่เป็นเหตุทำให้ฮัจญ์เป็นโมฆะ และสามารถที่ชดเชยมันด้วยการใช้ตัวแทน(นาอิบ)

รุก่นของฮัจญ์

รุก่นของฮัจญ์ หมายถึง สิ่งที่เป็นวาญิบในการประกอบพิธีฮัจญ์ ในกรณีที่ไม่ได้กระทำมันอย่างตั้งใจ จะทำให้ฮัจญ์เป็นโมฆะ.(1) รุก่น ในศัพท์วิชาการทางนิติศาสตร์ หมายถึง การกระทำใดก็ตามที่ได้ละทิ้งมันอย่างตั้งใจหรือหลงลืมก็ตาม จะทำให้การกระทำนั้นเป็นโมฆะ เช่น การนมาซ เป็นต้น. (2)

ตามทัศนะของนักนิติศาสตร์ของชีอะฮ์ ถือว่า การครองผ้าอิห์รอม การวุกูฟยังอะรอฟัต และการวุกูฟยังมัชอะรุลฮะรอม และการซะแอระหว่างศอฟาและมัรวะฮ์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของรุก่นของฮัจญ์ .(3) ในกรณีเกี่ยวกับการเป็นรุก่นของเนียต ตัลบียะฮ์ และการเรียงลำดับ มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน โดยชะฮีดเอาวัล (4) ศ็อยมะรี (5) กาชิฟุลฆิฏออ์ (6) และมุฮักกิก กะรอกี (7) จากบรรดานักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ที่มีความเชื่อในรุก่นของสิ่งเหล่านี้

บรรดานักนิติศาสตร์ของมัสฮับอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ มีทัศนะที่แตกต่างเกี่ยวกับจำนวนของรุก่น ตามทัศนะของนักนิติศาสตร์มัสฮับชาฟิอี ถือว่า รุก่นของฮัจญ์มี 6ประการ (8) และตามทัศนะของมัสฮับมาลิกี และฮัมบะลี ถือว่า รุก่นฮัจญ์มี 4 ประการ (9) และตามความเชื่อของมัสฮับฮะนะฟีย์ ถือว่า รุก่นของฮัจญ์มี 2 ประการ (10) มัสฮับชาฟิอี นอกจากรุก่นอื่นๆแล้ว ยังถือว่า การโกนศรีษะและการตัดเล็บ เป็นรุก่น อีกด้วยเช่นกัน (11) บรรดานักนิติศาสตร์มัสฮับมาลิกี ไม่ยอมรับ การวุกูฟยังมัชอะรุลฮะรอม ว่าเป็นรุก่น (12) และบรรดานักนิติศาสตร์ฮัมบะลี มีความสงสัยในการเป็นรุก่นของซะแอระหว่างศอฟาและมัรวะฮ์ (13) บรรดานักนิติศาสตร์มัสฮับฮะนะฟี ยังไม่ยอมรับว่า การครองผ้าอิห์รอม การวุกูฟในมัชอะรุลฮะรอมและการซะแอศอฟาและมัรวะฮ์ เป็นรุก่นของฮัจญ์(14)

หลักปฏิบัติ

ความแตกต่างระหว่างรุก่นของฮัจญ์กับสิ่งที่เป็นวาญิบที่ไม่ได้เป็นรุก่นของฮัจญ์ ในการที่จะทำให้ฮัจญ์เป็นโมฆะด้วยการละทิ้งรุก่นอย่างตั้งใจ.ในสภาพที่ละทิ้งหนึ่งในรุก่นทั้งหลายของฮัจญ์อย่างตั้งใจและไม่ได้หลงลืม จะทำให้ฮัจญ์เป็นโมฆะ (15) แต่ถ้าหากสิ่งที่เป็นวาญิบที่ไม่ใช่รุก่นของฮัจญ์ เช่น การโกนศีรษะ การปาหินญะมารอตและการเชือดกุรบาน ถูกละทิ้งอย่างตั้งใจ จะไม่ทำให้ฮัจญ์เป็นโมฆะแต่อย่างใด(16) การละทิ้งรุก่นด้วยเหตุผลของการไม่รู้กฏ ตามทัศนะของนักวิชาการด้านนิติศาสตร์บางคน เช่น การละทิ้งรุก่นอย่างตั้งใจ จะทำให้ฮัจญ์เป็นโมฆะ (17)

การละทิ้งการวุกูฟทั้งสองแห่ง (วุกูฟในอะรอฟัตและมัชอัร) ไม่ว่าในสภาพที่ตั้งใจหรือหลงลืมก็ตาม จะทำให้ฮัจญ์เป็นโมฆะ(18) ตามคำฟัตวาของบรรดานักนิติศาสตร์ของชีอะฮ์ ในสภาพที่หลงลืมรุก่นใดรุก่นหนึ่งของฮัจญ์ ในกรณีที่เป็นไปไม่ได้หรือยากลำบากที่จะกลับมายังเมืองมักกะฮ์ เป็นไปได้ให้เขาหาตัวแทน(นาอิบ) ในการปฏิบัติรุก่นนั้น แต่ในสภาพที่หลงลืมกระทำสิ่งที่เป็นวาญิบที่ไม่ใช่รุก่นในกรณีใดก็ตาม ให้เขาหาตัวแทนมาปฏิบัติชดเชย(19)

ตามคำฟัตวาที่ถูกรู้จักของบรรดานักนิติศาสตร์ของชีอะฮ์ มุสตับศิร (มุสลิมที่ยอมรับในมัสฮับชีอะฮ์) ไม่จำเป็นที่จะต้องกระทำฮัจญ์อีกครั้งในกรณีที่เขาทำฮัจญ์ตามพื้นฐานของมัสฮับของเขาอย่างถูกต้อง แต่โดยที่มีเงื่อนไขว่า รุก่นนั้นจะต้องมีความถูกต้อง(20) แน่นอนว่า กรณีบรรทัดฐานเกี่ยวกับรุก่นในมัสฮับก่อนหน้าหรือรุก่นในมัสฮับชีอะฮ์ มีทัศนะที่แตกต่างกัน (21)