ข้ามไปเนื้อหา

อิมามฮะซัน มุจญ์ตะบา (อ.)

จาก wikishia

ฮะซัน บิน อะลี บิน อะบีฏอลิบ (อ.) (ภาษาอาหรับ: الإمام الحسن المجتبى عليه السلام) เป็นที่รู้จักกันว่า อิมามฮะซัน มุจญ์ตะบา (๓ - ๕๐ ฮ.ศ.) เป็นอิมามคนที่สองของชีอะฮ์ ซึ่งดำรงตำแหน่ง ๑๐ ปี (๔๐ - ๕๐ ฮ.ศ.) และประมาณ ๗ เดือน ดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ของชาวมุสลิม ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ถือว่า เขา คือ เคาะลีฟะฮ์คนสุดท้ายในหมู่เคาะลีฟะฮ์ อัรรอชิดูน

ฮะซัน บิน อะลี เป็นบุตรชายคนแรกของอิมามอะลี (อ.)กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) และเป็นหลานชายคนแรกของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ตามรายงานจากประวัติศาสตร์ ระบุว่า ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล) ได้เลือกนามว่า ฮะซัน ให้กับเขา และมีความรักต่อเขาอย่างมาก เขาร่วมใช้ชีวิตอยู่กับศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ประมาณ ๗ ปี และเขายังเข้าร่วมในบัยอะฮ์ริฎวานและเหตุการณ์มุบาฮะละฮ์กับชาวคริสต์เมืองนัจญ์รอนอีกด้วย

ความประเสริฐของอิมามฮะซัน (อ.) ตามรายงานจากแหล่งข้อมูลของชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ระบุว่า เขาเป็นหนึ่งในอัศฮาบุลกิซา ซึ่งโองการตัฏฮีรประทานลงมาให้แก่พวกเขา และบรรดาชีอะฮ์ เชื่อว่า พวกเขาเหล่านี้มีความบริสุทธิ์ปราศจากมลทินทั้งปวง โองการอิฏอาม โองการมะวัดดะฮ์ และโองการมุบาฮะละฮ์ ได้ประทานให้กับเขา บิดา มารดาและน้องชายของเขา

อิมามฮะซัน (อ.)ได้บริจาคทรัพย์สินทั้งหมดของเขาในแนวทางของอัลลอฮ์ ถึง สองครั้งด้วยกัน และเขาได้ยังบริจาคทรัพย์สินของเขาทั้งสามครั้งให้กับผู้ที่ขัดสน กล่าวได้ว่า เนื่องจากความการุณย์ของเขา เขาจึงได้รับฉายานามว่า กะรีมุอะฮ์ลุลบัยต์ และเขายังเดินเท้าเพื่อประกอบพิธีฮัจญ์ถึง ๒๐ หรือ ๒๕ ครั้งด้วยกัน

ไม่มีข้อมูลมากนักเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของอิมามฮะซัน ในช่วงยุคสมัยการปกครองของคอลีฟะฮ์คนที่หนึ่งและคนที่สอง ตามคำสั่งของเคาะลีฟะฮ์คนที่สอง เขาในฐานะเป็นพยานในสภาหกคน สำหรับการแต่งตั้งคอลีฟะฮ์คนที่สาม

มีรายงานว่า อิมามฮะซัน เคยเข้าร่วมในบางสงครามในช่วงยุคการปกครองของเคาะลีฟะฮ์ที่สาม และในการก่อจลาจลของช่วงท้ายของเคาะลีฟะฮ์ที่สาม เขาเป็นผู้ปกป้องบ้านของเคาะลีฟะฮ์ ตามคำสั่งของอิมามอะลี (อ.)

ในยุคการเป็นเคาะลีฟะฮ์ของอิมามอะลี เขาได้ร่วมเดินทางไปยังเมืองกูฟะฮ์และในสงครามญะมัลและศิฟฟีน เขาเป็นหนึ่งในผู้บัญชากองทัพของสงครามเหล่านี้

ฮะซัน บิน อะลี ในวันที่ ๒๑ รอมฎอน ปี ๔๐ ฮ.ศ. หลังจากการถูกทำชะฮาดะฮ์ของอิมามอะลี ได้ดำรงตำแหน่งอิมามะฮ์ และในวันนั้น ได้มีผู้คนมากกว่า สี่หมื่นคนให้คำสัตยาบัน(บัยอะฮ์) กับเขาในฐานะคอลีฟะฮ์ของบรรดามุสลิม แต่มุอาวิยะฮ์ไม่ยอมรับการเป็นคอลีฟะฮ์ของเขา และได้เคลื่อนกองทัพจากเมืองชาม(ซีเรีย) มายังอิรัก

อิมามมุจญ์ตะบา ได้ส่งกองทัพโดยอุบัยดิลลาฮ์ บิน อับบาส เป็นผู้บัญชาการ ไปยังมุอาวียะฮ์ ส่วนอิมามเองได้บัญชาการอีกกองทัพหนึ่งไปยังเมืองซาบาฏ

มุอาวิยะฮ์ ได้พยายามทำให้มีการสงบศึก ด้วยการกุข่าวลือในหมู่กองทัพของอิมามฮะซัน (อ.)

ในสถานการณ์เช่นนี้ อิมามฮะซัน ถูกลอบสังหารโดยพวกคอวาริจญ์ผู้หนึ่ง และได้รับบาดเจ็บ จึงถูกนำตัวส่งมายังเมืองมะดาอิน และในเวลาเดียวกันนั้น กลุ่มหนึ่งจากบรรดาผู้นำเมืองกูฟะฮ์ได้เขียนจดหมายให้มุอาวียะฮ์ และให้สัญญาว่าจะส่งตัวอิมามฮะซันให้เขาาหรือจะสังหารอิมามฮะซัน มุอาวียะฮ์ได้ส่งจดหมายของชาวเมืองกูฟะฮ์ให้อิมามฮะซัน และเสนอให้มีการสงบศึก

อิมามมุจญ์ตะบา ยอมรับสนธิสัญญาสงบศึกและมอบตำแหน่งคอลีฟะฮ์ให้มุอาวิยะฮ์ โดยมีเงื่อนไขที่ว่า เขาจะต้องปฏิบัติตามพระคัมภีร์ของพระเจ้าและจารีตของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และจะไม่มีการแต่งตั้งผู้สืบทอดแทนของตนเองอีกด้วย และประชาชนทั้งหมด รวมทั้งบรรดาชีอะฮ์ของอิมามอะลี จะได้รับความปลอดภัย ต่อมา มุอาวิยะฮ์ก็ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขเหล่านี้แต่อย่างใด ทั้งนี้ การสงบศึกกับมุอาวียะฮ์ สร้างความไม่พอใจแก่เหล่าสาวกของอิมามฮะซัน จำนวนหนึ่ง และบางคนเรียกมุอาวิยะฮ์ว่า มุซิลลุลมุอ์มินีน (ผู้สร้างความอัปยศอดสูแก่ บรรรดาผู้ศรัทธา)

อิมามฮะซัน (อ.)หลังจากเหตุการณ์สนธิสัญญาสันติภาพในปี ๔๑ ฮ.ศ. เขาก็ได้กลับไปยังเมืองมะดีนะฮ์และพำนักอยู่ที่นั่น จวบจนสิ้นอายุขัย เขาเป็นแหล่งที่มีทางวิชาการในเมืองมะดีนะฮ์ และตามบางรายงาน กล่าวว่า เขามีสถานภาพที่่สูงส่งทางสังคม เมื่อมุอาวิยะฮ์ ตัดสินใจที่จะให้ยะซีด ลูกชายของเขา ขึ้นเป็นรัชทายาทและเรียกร้องให้มีการให้คำสัตยาบัน มุอาวิยะฮ์ จึงได้ให้นางญุอ์ดะฮ์ (ภรรยาของอิมามฮะซัน) หนึ่งแสนดิรฮัม เพื่อลอบวางยาพิษอิมามฮะซัน กล่าวกันว่า ฮะซัน บิน อะลี หลังจากที่อดทนต่อพิษร้ายของยาพิษ เป็นเวลา ๔๐ วัน เขาก็ได้รับชะฮาดัต บางรายงานกล่าวว่า เขาได้สั่งให้นำศพของเขาไปฝังไว้ใกล้หลุมฝังศพของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) แต่ทว่า มัรวาน อิบนุ ฮะกัม และกลุ่มบะนีอุมัยยะฮ์จำนวนหนึ่งได้ขัดขวางการกระทำนี้ จนในที่สุด ศพของเขาถูกนำมาฝังในสุสานบะกีอ์ สุนทรพจน์และงานเขียนทั้งหมดของอิมามมุจญ์ตะบา (อ.) และรายชื่อของบุคคลทั้ง ๑๓๘ คนที่รายงานฮะดีษจากเขา ได้ถูกเก็บรวบรวมไว้ในหนังสือมุสนัด อัล-อิมาม อัล-มุจญ์ตะบา(อ.)

การแนะนำ พอสังเขป

ฮะซัน บินอะลี บินอะบีฏอลิบ เป็นบุตรคนแรกของอิมามอะลี (อ.) และท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.)และเป็นหลานชายคนแรกของศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) (๑) และเขาเป็นผู้ที่มีเชื้อสายจากบะนีฮาชิมและเผ่ากุเรช (๒)

นาม ฉายานามและสมญานาม

คำว่า ฮะซัน หมายถึง ความดี ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เป็นผู้เลือกชื่อนี้ให้กับอิมามฮะซัน [๓] มีริวายะฮ์ต่างๆ รายงานว่า การตั้งชื่อนี้กระทำโดยพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า (๔) นาม ฮะซันและฮุเซนเทียบเท่ากับ ชับบัรและชาบีร (หรือชับบีร)(๕) ชื่อของบุตรชายของศาสดาฮารูน [๖] ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในหมู่ชาวอาหรับก่อนอิสลาม (๗)

เขามีฉายานามว่าอะบู มุฮัมมัด และ อะบุลกอซิม [๘] และมีสมญานาม เช่น มุจญ์ตะบา (ผู้ถูกคัดเลือก), ซัยยิด (นาย) และซะกี (ผู้บริสุทธิ์) (๙) สมญานามที่ร่วมกันกับอิมามฮุเซน คือ ซัยยิด ชะบาบ อะฮ์ลิลญันนะฮ์ และร็อยฮานะตุ นะบียิลลาฮ์ (๑๐) ซับฏ์ (๑๑) ในริวายะฮ์จากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า ฮะซันเป็นหนึ่งในเชื้อสายของเขา (๑๒) คำว่า ซับฏ์ ในริวายะฮ์ต่างๆ และบางโองการอัลกุรอาน หมายถึง อิมามและผู้บริสุทธิ์ ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากพระผู้เป็นเจ้าและเป็นผู้ที่มีเชื้อสายจากบรรดาศาสดา (๑๓)

ตำแหน่งอิมามะฮ์

ฮะซัน บินอะลี เป็นอิมามคนที่สองของชีอะฮ์ เขาได้รับตำแหน่งอิมามะฮ์ หลังจากการเป็นชะฮีดของอิมามอะลี (อ.) ในวันที่ ๒๑ เราะมะฎอน ๔๐ ฮ.ศ. และดำรงตำแหน่งนี้ เป็นเวลา ๑๐ ปี [๑๔] เชคกุลัยนี (เสียชีวิตในปี ๓๒๙ ฮ.ศ.) ในหนังสือ อัล-กาฟีย์ ซึ่งเป็นกลุ่มริวายะฮ์ที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งฮะซัน บิน อะลี ดำรงตำแหน่งอิมามะฮ์ [๑๕] บนพื้นฐานจากริวายะฮ์หนึ่ง รายงานว่า อิมามอะลี (อ.) ก่อนการเป็นชะฮีดของเขาและเขาได้มอบหนังสือและอาวุธ (วะดาอิอ์อัลอิมามะฮ์) ให้กับฮะซัน บุตรของเขา ท่ามกลางบรรดาบุตรของเขาและผู้อาวุโสของชีอะฮ์และประกาศว่า ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้สั่งให้แต่งตั้งฮะซัน เป็นตัวแทนของอิมามอะลี (๑๖) ตามบางริวายะฮ์ รายงานว่า เมื่ออิมามอะลีเดินทางไปยังเมืองกูฟะฮ์ เขาได้มอบบางส่วนจากวะดาอิอ์อัลอิมามะฮ์ให้กับท่านหญิงอุมมุซะละมะฮ์ และอิมามฮะซัน (อ.) หลังจากที่กลับมาเมืองกูฟะฮ์ ได้รับช่วงต่อจากนั้น (๑๗) เชคมูฟีด (เสียชีวิต ๔๑๓ ฮ.ศ.) ยังกล่าวไว้ในหนังสือ อัลอิรชาดของเขา ด้วยว่า ฮะซัน (อ.) เป็นตัวแทนของบิดาของเขา ในหมู่บุตรหลานและบรรดาศอฮาบะฮ์ของเขา (๑๘) สำหรับการเป็นตัวแทนของอิมามฮะซัน มุจญ์ตะบาอ์ (อ.) ได้ให้เหตุผลด้วยฮะดีษ สิบสองเคาะลีฟะฮ์ (๑๙) ด้วยเช่นกัน [๒๐] ในช่วงสองสามเดือนแรกของการเป็นอิมามะฮ์ของอิมามฮะซัน (อ.) เขาได้อาศัยในเมืองกูฟะฮ์และดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์

ช่วงวัยเด็กและวัยหนุ่ม

ตามคำกล่าวที่เป็นที่รู้จัก [๒๑] ระบุว่า อิมามฮะซัน (อ.) ถือกำเนิดในวันที่ ๑๕ เราะมะฎอน ปีที่ ๓ แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช เชคกุลัยนีและเชคฏูซี ถือว่า อิมามฮะซัน (อ.) ถือกำเนิดในปีที่สองแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช ([๒๒] เขาถือกำเนิดที่เมืองมะดีนะฮ์ [๒๓] และศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้อ่านอะซานที่หูขวาของเขาและอิกอมะฮ์ที่หูซ้ายของเขา [๒๔] และในวันที่เจ็ดแห่งวันถือกำเนิดของเขา เขาได้เชือดแกะตัวหนึ่งเพื่อทำการอะกีเกาะฮ์ให้กับเขา (๒๕)

บนพื้นฐานจากบางรายงานของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ กล่าวว่า ก่อนที่ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) จะตั้งชื่อให้อิมามฮะซัน อิมามอะลี (อ.)ได้เลือกชื่อ ฮัมซะฮ์ [๒๖] หรือ ฮาร์บ [๒๗] ให้กับอิมามฮะซัน (อ.)แล้ว แต่เมื่อศาสดาได้ถามชื่อของเด็กทารกนี้ อิมามอะลีก็ตอบว่า ฉันจะไม่ก้าวล้ำเหนือศาสนทูตของอัลลอฮ์ในการตั้งชื่อลูกของเขา เป็นอันขาด [๒๘] บากิร ชะรีฟ อัลกุเราะชีย์ หนึ่งในนักค้นคว้าวิจัยของชีอะฮ์ได้ยกเหตุผลที่ปฏิเสธรายงานเหล่านี้ (๒๙)

พิธีกรรม กัรกีอาน

พิธีกรรม กัรกีอาน เป็นหนึ่งในพิธีกรรมดั้งเดิมของทางภาคใต้ของอิหร่าน ซึ่งจัดขึ้นทุกปีในคืนวันที่ ๑๕ ของเดือนรอมฎอน และในเวลาเดียวกันกับเป็นวันถือกำเนิดของอิมามฮะซัน (อ.) ทางภาคใต้ของอิหร่าน (๓๐) กล่าวกันได้ว่า พิธีกรรมนี้ ได้รับจากยุคสมัยของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เนื่องจากการถือกำเนิดของอิมามฮะซัน (อ.) และด้วยความยินดีของศาสนทูตแห่งพระผู้เป็นเจ้า สำหรับการประสูติของหลานชายคนแรก ผู้คนต่างเดินไปที่บ้านของอิมามอะลี (อ.)และท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.)เพื่อแสดงความยินดีกับพวกเขา และหลังจากนั้น พิธีกรรมนี้ก็ก็ได้รับความนิยมในหมู่ชาวมุสลิมเป็นพิธีกรรมในทุกปี [๓๑]

ช่วงวัยเด็ก

ไม่มีข้อมูลมากนักเกี่ยวกับช่วงวัยเด็กและวัยหนุ่มของฮะซัน บิน อะลี (อ.)[๓๒] เขาใช้ชีวิตไม่ถึงแปดปีในสมัยของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และด้วยเหตุนี้ ชื่อของเขาจึงถูกกล่าวถึงอยู่ในชั้นสุดท้ายของศอฮาบะฮ์ [๓๓] ] รายงานเกี่ยวกับความรักอย่างมากของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ที่มีต่อฮะซันและฮุเซน (อ.) น้องชายของเขา ซึ่งมีรายงานในแหล่งข้อมูลส่วนใหญ่ของชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ [๓๔]

เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในช่วงเวลานี้ คือ การเข้าร่วมของอิมามฮะซันกับบิดาและมารดา และน้องชายของเขา ในเหตุการณ์มุบาฮะละฮ์ของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กับชาวคริสเตียนในเมืองนัจญ์รอน เขาและน้องชายของเขา เป็นตัวอย่างของคำว่า อับนาอะนา ในโองการมุบาฮะละฮ์ (๓๕) ดังที่ซัยยิดญะอ์ฟัร มุรตะฎอ กล่าวว่า อิมามฮะซัน (อ.) ยังเข้าร่วมในการให้สัตยาบัน บัยอะฮ์ริฎวาน และให้สัตยาบันต่อศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ( ๓๖) โองการต่างๆจากอัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับเขาและบรรดาอัศฮาบุลกิซาอ์ [๓๗] กล่าวกันได้ว่า เมื่อฮะซัน อายุได้เจ็ดขวบ เขาได้เข้าร่วมในมัจญ์ลิซของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ.) และเล่าให้มารดาของเขาฟังในสิ่งที่ได้รับการวิวรณ์แก่ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) (๓๘)

มีรายงานจากสุลัยม์ บินกัยซ์ (เสียชีวิตในช่วงปลายศตวรรษที่ 1 ของฮิจญ์เราะฮ์ศักราช) กล่าวว่า หลังจากการวะฟาตของศาสนทูตแห่งพระผู้เป็นเจ้า (ศ็อลฯ) และอะบูบักร ได้เข้ายึดครองตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ ฮะซัน บินอะลี พร้อมด้วยบิดาของเขา มารดาและน้องชายของเขา ได้ไปที่บ้านของชาวอันศอรเพื่อขอความช่วยเหลือต่ออิมามอะลี (๓๙) นอกจากนี้ เขายังคัดค้านการนั่งบนธรรมาสน์ของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) อีกด้วยเช่นกัน [๔๐]

ช่วงวัยรุ่น

รายงานต่างๆที่เกี่ยวกับช่วงวัยหนุ่มของอิมามฮะซัน (อ.) นั้นมีจำนวนจำกัด ตัวอย่างเช่น มีการกล่าวไว้ในหนังสือ อัล-อิมามะฮ์ และอัซ-ซิยาซะฮ์ ว่า อุมัร บิน ค็อตฏอบ ได้สั่งให้ฮะซัน บิน อะลีได้เข้าร่วมในฐานะเป็นพยาน ในสภาที่ปรึกษาทั้งหกคน เพื่อแต่งตั้งตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ (๔๑)

ในบางแหล่งข้อมูลของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ รายงานว่า อิมามฮะซันและอิมามฮุเซน (อ)เข้าร่วมในสงคราม อัฟริกิยะห์ ในปีที่ ๒๖ ฮ.ศ.(๔๒) และสงครามฏอบะริสตาน ในปีที่ ๒๙ ฮ.ศ. หรือ ปีที่ ๓๐ ฮ.ศ.[๔๓] รายงานเหล่านี้มีทั้งผู้สนับสนุนและฝ่ายตรงข้าม

ญะอ์ฟัร มุรตะฎอ อามิลี กล่าวว่า เมื่อพิจารณาถึงปัญหาทางด้านสายรายงานของพวกเขาและการต่อต้านของบรรดาอิมาม (อ.) ต่อวิธีการพิชิต ถือว่า รายงานเหล่านี้ได้ถูกกุขึ้นมา ขณะที่อิมามอะลี (อ.) ก็ไม่ได้อนุญาตให้อิมามฮะซันและอิมามฮุเซน (อ)เข้าร่วมในสมรภูมิศิฟฟีน นี่ถือเป็นการยืนยันอีกด้วย [ ๔๔] ] วิลเฟรด มาเดลอง เชื่อว่า อิมามอะลี (อ.) อาจต้องการที่จะให้ ฮะซัน บุตรชายของเขาทำความรู้จักกับกิจการของสงครามตั้งแต่อายุยังหนุ่ม และเพิ่มประสบการณ์ในการทำสงครามของเขา (๔๕) ยังมีรายงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับยุคสมัยดังกล่าว ที่ว่า เมื่อใดก็ตามที่ประชาชนจะฟ้องร้องต่ออะลี เกี่ยวกับอุษมาน เขาก็จะส่งฮะซัน บุตรชายของเขา [๔๖] ตามรายงานของบะลาซะรี กล่าวว่า ในเรื่องของการก่อจราจลของประชาชนในช่วงสุดท้ายการปกครองของเคาะลีฟะฮ์อุษมาน ซึ่งนำไปสู่การปิดล้อมบ้านของเขาและตัดขาดการส่งน้ำให้เขา และในที่สุดเขาก็ถูกสังหารเสียชีวิต ฮะซัน บินอะลี และน้องชายของเขา ได้รับคำสั่งจากอิมามอะลี (อ.) พร้อมด้วยบุคคลอื่นๆ ได้ปกป้องบ้านของอุษมาน (๔๗) กอฎี นุอ์มาน อัล-มัฆริบี (เสียชีวิตในปี ๓๖๓ ฮ.ศ.) และผู้เขียนหนังสือ ดะลาอิลุลอิมามะฮ์ เขียนว่า หลังจากที่กลุ่มก่อจราจลได้ตัดขาดการส่งน้ำ อิมามฮะซัน อัลมุจญ์ตะบา (อ.) ได้นำน้ำไปให้กับอุษมานตามคำสั่งของบิดาของเขา (๔๘) มีรายงานว่า ฮะซัน บินอะลี ได้รับบาดเจ็บในเหตุการณ์นี้ด้วย (๔๙) แต่ทว่านักวิชาการชีอะฮ์บางคน เช่น อัลลามะฮ์อามีนี เชื่อว่า รายงานเหล่านี้ถูกกุขึ้นมา [๕๐] ซัยยิดมุรตะฎอ ถือว่า หลังจากที่สงสัยว่า อิมามอะลี (อ.) ได้ส่งอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน (อ.) เพื่อทำการปกป้องอุษมาน เหตุผลของการกระทำนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการสังหารเคาะลีฟะฮ์โดยเจตนาและจัดหาอาหารและน้ำให้แก่ครอบครัวของเขา ไม่ใช่เพื่อป้องกันไม่ให้เขาถูกปลดออกจากตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของบรรดามุสลิม เพราะเขานั้นสมควรที่จะถูกปลดออกจากตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของบรรดามุสลิม เนื่องจากการกระทำผิดของเขา (๕๑)

ภรรยาและบุตร

มีรายงานที่แตกต่างกันเกี่ยวกับจำนวนภรรยาและบุตรของฮะซัน บินอะลี (อ.) แม้ว่า แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ได้กล่าวถึงภรรยาของอิหมามฮะซัน (อ.) สูงสุดถึง ๑๘ คน ด้วยกัน [๕๒] แต่ตัวเลข เช่น ๒๕๐ [๕๓] ๒๐๐ [๕๔] ๙๐ [๕๕] และ ๗๐ [๕๖] ก็ถูกกล่าวถึงสำหรับจำนวนภรรยาของเขาอีกด้วย

บางแหล่งข้อมูล กล่าวถึงการแต่งงานและการหย่าร้างหลายครั้งของเขา เรียกเขาว่า มิฏลาก (ผู้หย่าร้างอย่างมากมาย) (๕๗) นอกจากนี้ พวกเขายังได้กล่าวว่าฮะซัน บินอะลี (อ.) มีทาสหญิงรับใช้เป็นจำนวนมาก และบางคนก็มีบุตรกับเขาด้วย (๕๘)

ประเด็นที่เกี่ยวกับการหย่าร้างของอิมามฮะซัน (อ.) ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ทางประวัติศาสตร์ สายรายงาน และเนื้อหาในแหล่งข้อมูลทางโบราณและร่วมสมัยบางแหล่ง (๕๙) ตามคำกล่าวของมาเดลอง ระบุว่า บุคคลแรกที่เผยแพร่ข่าวลือว่า อิมามฮะซัน (อ.) มีภรรยาถึง ๙๐ คน คือ มุฮัมมัด บิน กัลบี และ มะดาอินี (เสียชีวิต ๒๒๕ ฮ.ศ.) ถือว่า จำนวนเลขเหล่านี้ ก็ถูกกุขึ้นมาด้วยเช่นกัน ในขณะเดียวกัน กัลบีเองก็กล่าวถึงชื่อของผู้หญิงเพียงสิบเอ็ดคน ซึ่งการแต่งงานของพวกนางทั้งห้าคนกับอิมามฮะซัน (อ.)นั้นเป็นเรื่องที่น่าสงสัย [๖๐] กุรอชีย์ ถือว่า ข่าวเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นโดยพวกอับบาซียะฮ์โดยมีจุดประสงค์เพื่อเผชิญหน้ากับบรรดาซัยยิดฮะซะนีย์ (๖๑)

นอกจากนี้ ยังมีความแตกต่างในเรื่องจำนวนบุตรของอิมามมุจญ์ตะบา (อ.) โดยเชคมูฟีด กล่าวว่า จำนวนบุตรของเขามีถึง ๑๕ คนด้วยกัน (๖๒)

ฏอบัรซีย์ ระบุว่า บุตรของอิมามฮะซัน (อ.)มี ๑๖ คน และยังถือว่าอบูบักร์ เป็นบุตรคนหนึ่งของเขาที่ถูกสังหารเสียชีวิตในเหตุการณ์วันอาชูรอ (๖๓)

เชื้อสายของอิมามฮะซัน

เชื้อสายของอิมามฮะซัน (อ.) ต่อจากฮะซัน มุษันนา ซัยด์ อุมัร และฮุเซน อัษรอม หลังจากนั้นไม่นาน เชื้อสายของฮุเซนและอุมัร ก็หายไป และเหลือเพียงเชื้อสายของฮาซัน มุษันนา และซัยด์ บิน ฮะซัน เท่านั้น (๖๔) ซึ่งลูกหลานของเขา เรียกว่า ซัยยิดฮะซะนี (๖๕) ส่วนมากของพวกเขามีการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองในในศตวรรษที่สองและสาม มีการลุกขึ้นต่อสู้ต่อต้านการปกครองของบะนีอับบาซียะฮ์ และจัดตั้งระบอบการปกครองในส่วนต่างๆ ของประเทศอิสลาม เชื้อสายของตระกูลซัยยิดนี้ ในบางพื้นที่ถูกรู้จักในนาม ชุรอฟาอ์ เช่น โมร็อกโก [๖๖]

การพำนักอยู่ในเมืองกูฟะฮ์ - การเป็นเคาะลีฟะฮ์ของอิมามอะลี (อ.)

อิมามฮะซัน มุจญ์ตะบา (อ.) เขาได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับบิดาของเขา ในระยะเวลาห้าปีของการเป็นเคาะลีฟะฮ์ของอิมามอะลี (อ.) [๖๗] ตามรายงานจากหนังสืออัลอิคติศอซ เขียนว่า หลังจากที่ประชาชนให้คำสัตยาบันกับอิมามอะลี (อ.) บิดาของฮะซัน ก็ขอร้องให้เขาไปบนธรรมาสน์ และพูดคุยกับประชาชน (๖๘) รายงานจากเหตุการณ์ศิฟฟีน ระบุว่า วันแรกที่อิมามอะลีเดินทางมาถึงยังเมืองกูฟะฮ์ ซึ่ง ฮะซัน บิน อะลีก็ร่วมเดินทางมาพร้อมกับบิดาของเขาและเลือกที่พักอาศัยอยู่ในเมืองกูฟะฮ์ [๖๙]

ในสงครามญะมัล

ในบางรายงานระบุว่า หลังจากกลุ่มนะกิษีนก่อกบฏ และอิมามอะลี(อ.) พร้อมกับกองทัพของเขาเคลื่อนพลเพื่อต่อต้านพวกเหล่านี้ ฮะซัน บิน อะลีได้ขอให้บิดาของเขาหลีกเลี่ยงสงครามนี้ในระหว่างทาง [๗๐] ตามคำบอกเล่าของเชคอัล-มูฟีด (เสียชีวิต ๔๑๓ ฮ.ศ.) อิมามฮะซัน (อ.) ได้รับมอบหมายจากบิดาให้เดินทางไปร่วมกับอัมมาร บิน ยาซิร และก็อยส์ บิน ซะอัด เพื่อระดมพลชาวเมืองกูฟะฮ์ให้เข้าร่วมกองทัพของอิมามอะลี (อ.) [๗๑] ฮะซัน บิน อะลี (อ.)ได้กล่าวคุฏบะฮ์ แก่ชาวเมืองกูฟะฮ์ โดยหลังจากกล่าวถึงความประเสริฐของอิมามอะลี (อ.) และการละเมิดสัญญาของฏ็อลฮะฮ์และอัซ-ซุบัยร์ เขาได้เรียกร้องให้พวกเหล่านี้ช่วยเหลืออิมามอะลี (อ.) [๗๒]

ในสงครามญะมัล เมื่ออับดุลลอฮ์ บิน อัซ-ซุบัยร์ กล่าวหาอิมามอะลี (อ.) ว่า สังหารอุษมาน ฮะซัน บิน อะลีได้กล่าวคุฏบะฮ์และชี้ให้เห็นถึงบทบาทของอัซ-ซุบัยร์และฏ็อลฮะฮ์ในการสังหารอุษมาน[๗๓] อิมามมุจญ์ตะบา(อ.) ในสงครามนี้ ได้รับหน้าที่เป็นผู้บัญชาการปีกขวาของกองทัพ [๗๔] อิบนุ ชะฮ์ออชูบได้รายงานไว้ว่า อิมามะอลี(อ.) ในสงครามนี้ได้มอบหอกของเขาให้มุฮัมมัด บิน ฮะนะฟียะฮ์ และสั่งให้เขาทำลายอูฐของท่านหญิงอาอิชะฮ์ แต่เขาไม่สามารถกระทำได้ จากนั้น ฮะซัน บิน อะลีได้รับหอกและสามารถทำให้อูฐได้รับบาดเจ็บ [๗๕] มีการรายงานว่า หลังจากสงครามญะมัล อิมามอะลี(อ.) ป่วยและได้มอบหมายให้ฮะซัน บุตรชายของท่าน เป็นผู้นำการนมาซญุมุอะฮ์ร่วมกับชาวเมืองบัศเราะฮ์ เขาได้กล่าวคุฏบะฮ์ในการนมาซ โดยเน้นย้ำถึงสถานภาพของอะฮ์ลุลบัยต์และผลร้ายของการละเลยหน้าที่ต่อพวกเขา [๗๖]

ในสงครามศิฟฟีน

ตามคำกล่าวของนัศร์ บิน มุซาฮิม (เสียชีวิต ๒๑๒ ฮ.ศ.) ฮะซัน บิน อะลีได้กล่าวคุฏบะฮ์ ก่อนที่กองทัพของอิมามอะลี(อ.) จะเคลื่อนพลไปยังศิฟฟีน โดยเขาได้เชิญชวนผู้คนให้เข้าร่วมทำญิฮาด[๗๗] ตามรายงานบางส่วน เขาร่วมกับฮุซัยน์ บิน อะลี(อ.) น้องชายของท่าน ได้รับหน้าที่เป็นผู้บัญชาการปีกขวาของกองทัพ [๗๘] ในรายงานของอัสกาฟี (เสียชีวิต ๒๔๐ ฮ.ศ.) ระบุว่า เมื่อฮะซัน บิน อะลีเผชิญหน้ากับหนึ่งในผู้นำกองทัพของชามในระหว่างการสู้รบ เขาปฏิเสธที่จะสู้กับอิมามฮะซัน(อ.) และกล่าวว่า ฉันเคยเห็นเราะซูลุลลอฮ์(ศ็อลฯ.) ขณะที่เขาขี่อูฐและท่าน (ฮะซัน) นั่งอยู่ข้างหน้า ฉันไม่ต้องการพบเราะซูลุลลอฮ์ (ศ็อลฯ.) ในสภาพที่เลือดของท่านติดอยู่ที่คอของฉัน [๗๙]

ในหนังสือ วะเกาะอัต ศิฟฟีน ระบุว่า อุบัยดุลลอฮ์ บิน อุมัร (บุตรของอุมัร บิน อัล-ค็อฏฏอบ) ได้พบกับฮะซัน บิน อะลี(อ.) ในระหว่างการสู้รบและเสนอให้เขารับตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์แทนบิดาของเขา เนื่องจากชาวเผ่ากุเรชเกลียดชังอะลี(อ.) อิมามฮะซัน(อ.) ตอบว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ สิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้น จากนั้นอิมามฮะซันกล่าวกับเขาว่า ฉันเห็นว่าวันนี้หรือพรุ่งนี้เจ้าจะต้องถูกสังหาร และชัยฏอนได้หลอกลวงเจ้าแล้ว ตามรายงานของวะเกาะอัต ศิฟฟีน อุบัยดุลลอฮ์ บิน อุมัรถูกสังหารในสงครามนั้น [๘๐] หลังจากสงครามสิ้นสุดลงและเกิดการฮะกะมียัต ฮะซัน บิน อะลีได้กล่าวปราศรัยแก่ผู้คนตามคำร้องขอของบิดา [๘๑] ในระหว่างการเดินทางกลับจากศิฟฟีน อิมามอะลี(อ.) ได้เขียนจดหมายถึงฮะซัน บุตรชายของเขา [๘๒]โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับจริยธรรมและการอบรม ซึ่งจดหมายนี้ มักถูกเรียกว่า จดหมายที่ ๓๑ ในหนังสือนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ [๘๓]

ในหนังสือ อัล-อิซตีอาบ เขียนว่า ฮะซัน บิน อะลี(อ.) ได้เข้าร่วมในสงครามนะฮ์รอวานด้วย [๘๔] นอกจากนี้ ในบางรายงานยังระบุว่า อิมามอะลี(อ.) ในช่วงวันสุดท้ายของชีวิต ขณะที่เตรียมกองทัพเพื่อเผชิญหน้ากับมุอาวียะฮ์อีกครั้ง เขาได้แต่งตั้งฮะซัน บุตรชายของท่าน เป็นผู้บัญชาการกองทัพหนึ่งหมื่นนาย [๘๕]

ยุคสมัยการเป็นเคาะลีฟะฮ์ระยะสั้น

อิมามมุจญ์ตะบาอ์ (อ.) ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของชาวมุสลิม ตั้งแต่วันที่ ๒๑ เดือนเราะมะฎอน ปี ๔๐ ฮ.ศ. เป็นเวลา ๖ ถึง ๘ เดือน [๘๖] ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ถือว่า เขาเป็นเคาะลีฟะฮ์คนสุดท้ายของเคาะลีฟะฮ์ผู้ทรงธรรม (คุลาฟาอ์ อัรรอชิดีน) ตามฮะดีษที่รายงานจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ.) [๘๗] การเป็นเคาะลีฟะฮ์ของเขา เริ่มต้นด้วยการให้สัตยาบันจากชาวอิรักและการสนับสนุนจากภูมิภาคอื่น ๆ รอบข้าง [๘๘] ขณะที่ ชาวเมืองชามภายใต้การนำของมุอาวียะฮ์ได้คัดค้านการเป็นเคาะลีฟะฮ์ของเขา [๘๙] มุอาวียะฮ์พร้อมกับกองทัพจากชามได้เคลื่อนพลเพื่อทำสงครามกับชาวอิรัก [๙๐] ในที่สุด สงครามนี้จบลงด้วยการทำสนธิสัญญาสันติภาพและการมอบตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ให้แก่มุอาวียะฮ์ ซึ่งเป็นเคาะลีฟะฮ์คนแรกของราชวงศ์บะนีอุมัยยะฮ์ [๙๑]


การให้สัตยาบันของบรรดามุสลิมและการต่อต้านของชาวซีเรีย

ตามแหล่งข้อมูลของชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ รายงานว่า หลังจากการเป็นชะฮีดของอิมามอะลีในปี ฮ.ศ. ที่ ๔๐ ประชาชนได้ให้คำสัตยาบันกับฮะซัน บิน อะลี (อ.) ในการขึ้นดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ [๙๒] ตามคำกล่าวของบะลาซุรี (เสียชีวิต ในปี ๒๗๙ ฮ.ศ.) อุบัยดิลลาฮ์ บิน อับบาส ได้มาหาประชาชน หลังจากที่มีการฝังศพของอิมามอะลี (อ.) และแจ้งให้พวกเขาทราบถึงการเป็นชะฮีดของอิมาม พร้อมทั้งกล่าวว่า อิมามอะลี (อ.) ได้กำหนดผู้สืบทอดที่คู่ควรและมีอดทน หากพวกท่านประสงค์ก็จงให้คำสัตยาบันกับเขา [๙๓] มีระบุไว้ในหนังสือของอัล-อิรชาดว่า ในช่วงเช้าวันศุกร์ที่ ๒๑ ของเดือนรอมฎอน ฮะซัน บิน อะลีได้เทศนาธรรมในมัสยิดและกล่าวถึงคุณงามความดีและความประเสริฐของบิดาของเขา และเน้นย้ำถึงความผูกพันของเขากับศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และชี้ให้เห็นถึงโองการจากอัลกุรอานที่เกี่ยวกับสถานภาพอันพิเศษของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) สำหรับสิทธิพิเศษของเขา (๙๔) หลังจากคำพูดของเขา อับดุลลอฮ์ บิน อับบาส ก็ได้ลุกขึ้นและบอกกับประชาชนว่า พวกท่านทั้งหลายจงให้สัตยาบันกับบุตรชายของศาสดาของพวกท่านและผู้เป็นตัวแทนของอิมามของพวกท่าน ประชาชนก็ได้ให้สัตยาบันกับเขา [๙๕] แหล่งข้อมูล ยังรายงานอีกว่า จำนวนของผู้ที่ให้คำสัตยายบันมีมากกว่าสี่หมื่นคน [๙๖] ตามรายงานของเฏาะบะรี กล่าวว่า ก็อยส์ บิน ซะอัด บิน อะบาดะฮ์ ผู้บัญชาการกองทัพของอิมามอะลีเป็น คนแรกที่ให้คำสัตยาบัน [๙๗]

ตามคำกล่าวของฮุเซน มุฮัมมัด ญะอ์ฟะรี ในหนังสือ ชีอะฮ์ในวิถีทางประวัติศาสตร์ เขียนว่า บรรดาอัศฮาบของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) หลายคนที่ตั้งถิ่นฐานในเมืองนี้ หลังจากการก่อสร้างเมืองกูฟะฮ์ หรือเดินทางมายังเมืองกูฟะฮ์ ร่วมกับอิมามฮะซัน ในยุคสมัยการปกครองของอิมามอะลี (อ.)พวกเขาได้ให้สัตยาบันกับอิมามฮะซัน หรือยอมรับการเป็นเคาะลีฟะฮ์ของเขา [๙๘] ญะอ์ฟะรี ได้อาศัยหลักฐานเชื่อว่า ชาวเมืองมักกะฮ์และมะดีนะฮ์ ก็เห็นด้วยกับการเป็นเคาะลีฟะฮ์ของฮะซัน บิน อะลี และชาวเมืองอิรักก็ถือว่าเขานั้นเป็นทางเลือกเดียวสำหรับตำแหน่งนี้ [๙๙] ญะอ์ฟะรี กล่าวว่า ชาวเมืองเยเมนและชาวเปอร์เซียได้อนุมัติคำสัตยาบันนี้ไปโดยปริยาย หรืออย่างน้อยที่สุด พวกเขาก็ไม่ได้ประท้วงหรือต่อต้านสัตยาบันนี้แต่อย่างใด [๑๐๐] ในบางแหล่งข้อมูลระบุว่า มีเงื่อนไขต่างๆถูกยกขึ้นในระหว่างการให้สัตยาบัน เช่นในหนังสือ อัลอิมามะฮ์ วัซซิยาซะฮ์ ระบุว่า ฮะซัน บิน อะลี ได้กล่าวกับประชาชนว่า พวกท่านจะให้คำสัตยาบันได้หรือไม่ว่าจะเชื่อฟังคำสั่งของฉัน และผู้ใดที่ฉันต่อสู้ พวกท่านก็จงต่อสู้ และผู้ใดที่ฉันทำสนธิสัญญาสันติภาพ พวกท่านก็จงทำสนธิสัญญาสันติภาพ? เมื่อพวกเขาได้ยินสิ่งนี้ พวกเขาก็เกิดความลังเลใจและไปหายังฮุเซน บิน อะลี (อ.) เพื่อให้สัตยาบันกับเขา แต่ฮุเซน (อ.)กล่าวว่า: ฉันขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮ์ และฉันขอปฏิญาณว่า ตราบใดเท่าที่ฮะซันยังมีชีวิตอยู่ ฉันจะไม่ยอมรับคำสัตยาบันจากพวกท่าน พวกเขาจึงเดินทางกลับและให้สัตยาบันกับฮะซัน บิน อะลี (อ.) [๑๐๑] เฏาะบะรี (มรณะกรรม ๓๑๐ ฮ.ศ.) กล่าวว่า ก็อยซ์ บิน ซะอัด ได้ตั้งเงื่อนไขกับเขาในระหว่างการให้คำสัตยาบันว่า เขาจะต้องปฏิบัติตามพระมหาคัมภีร์ของพระเจ้าและซุนนะฮ์ของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และต่อสู้กับผู้ที่ถือว่าเลือดของชาวมุสลิมนั้นถูกต้องตามกฎหมาย แต่อิมามฮะซัน (อ.) ยอมรับเฉพาะหนังสือกรณีพระมหาคัมภีร์ของพระเจ้าและซุนนะฮ์ของศาสดามุฮัมมัด เพียงเท่านั้น และถือว่าเงื่อนไขอื่นใดที่ได้รับมาจากเงื่อนไขทั้งสองนี้ (๑๐๒) บางคนจำนวนหนึ่งถือว่า รายงานนี้แสดงให้เห็นว่า อิมามฮะซัน เป็นบุคคลที่แสวงหาสันติภาพและต่อต้านสงคราม ขณะที่วิถีชีวิตและอุปนิสัยของเขานั้นมีความแตกต่างจากบิดาและน้องชายของเขา (๑๐๓) เราะซูล ญะอ์ฟารียอน เชื่อว่า ด้วยเงื่อนไขเหล่านี้ไม่ได้หมายความว่า ฮะซัน บิน อะลี (อ.) ไม่ได้ตั้งใจที่จะต่อสู้ตั้งแต่แรก แต่เป้าหมายหลักของเขา คือ การรักษาขอบเขตอำนาจของเขาในฐานะที่เป็นผู้นำของสังคม เขาจึงมีอิสระในการตัดสินใจ และแม้แต่การกระทำที่ตามมาของเขาก็ยังแสดงให้เห็นว่า เขายืนกรานในการทำสงคราม [๑๐๔] ตามคำกล่าวของอะบุลฟะร็อจญ์ อิสฟาฮานี ระบุว่า การดำเนินการประการแรกๆ ของฮะซัน บิน อะลี (อ.) หลังจากดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ คือ การเพิ่มเงินเดือนของทหาร ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ (๑๐๕)

สงครามและสันติภาพกับมุอาวียะฮ์

เหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญที่สุดในชีวิตของฮะซัน บิน อะลี (อ.) คือ การทำสงครามกับมุอาวิยะฮ์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยสันติภาพสงบศึก (๑๐๖) ในเวลาเดียวกันกับที่ประชาชนชาวอิรักได้ให้สัตยาบันกับฮะซัน บิน อะลี (อ.) และได้รับการยืนยันโดยปริยายจาก ชาวเมืองฮิญาซ เยเมน และเปอร์เซีย [๑๐๗] ชาวซีเรียในการให้สัตยาบันกับมุอาวียะฮ์ [๑๐๘] มุอาวียะฮ์ ในการปราศรัยของเขาและเขียนจหมายถึงอิมามฮะซัน (อ.) โดยเขาเน้นย้ำถึงการตัดสินใจอย่างจริงจังของเขาที่จะไม่ยอมรับคำสัตยานี้ (๑๐๙) เขาเตรียมตัวที่จะขึ้นดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ นับตั้งแต่การเสียชีวิตของอุษมาน [๑๑๐] เขาได้เคลื่อนทัพไปยังอิรัก [๑๑๑] ตามบางรายงานระบุว่า อิมามฮะซัน (อ.) ไม่ได้ดำเนินการใดๆ ในด้านสงครามหรือสันติภาพ จนกระทั่ง ประมาณห้าสิบวัน หลังจากการเป็นชะฮีดของบิดาของเขา (๑๑๒) เมื่อเขาทราบเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของกองทัพซีเรีย เขาก็เดินทางออกจากเมืองกูฟะฮ์พร้อมกับกองทัพของเขา และส่งกองทัพภายใต้การบังคับบัญชาของ อุบัยดิลลาฮ์ บิน อับบาส ไปยังมุอาวียะฮ์ (๑๑๓)


สงครามระหว่างสองกองทัพ

หลังจากที่มีการปะทะกัน ระหว่างทั้งสองกองทัพ และนำไปสู่ความพ่ายแพ้ของชาวซีเรีย มุอาวียะฮ์จึงได้ส่งข้อความถึงอุบัยดิลลาฮ์ในช่วงตอนกลางคืนว่า ฮะซัน บินอะลี ได้เสนอแนวทางสันติภาพแก่ฉัน และจะมอบตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ให้ฉัน มุอาวียะฮ์ยังสัญญาว่าจะจ่ายเงินให้เขาหนึ่งล้าน ดิรฮัม และเขาก็เข้าร่วมกับมุอาวียะฮ์ หลังจากนั้น ก็อยซ์ บิน ซะอัด ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกองทัพของอิมาม (๑๑๔) รายงานของบะลาซะรี (เสียชีวิตในปี ๒๗๙ ฮ.ศ. ) หลังจากที่อุบัยดิลลาฮ์เข้าร่วมกับกองทัพเมืองชาม มุอาวียะฮ์คิดว่า กองทัพของอิมามฮะซัน (อ.) นั้นมีความอ่อนแอลง และเขาสั่งให้โจมตีพวกเขาอย่างสุดกำลัง แต่กองทัพของ อิมาม ภายใต้การบังคับบัญชาของเกซ พวกเขาได้เอาชนะเหนือชาวซีเรีย มูอาวียะฮ์ จึงพยายามจะกีดกันก็อยซ์ให้สัญญาที่คล้ายคลึงกับที่เขาเคยให้สัญญากับอุบัยดิลลาฮ์ แต่เขาก็ไม่ประสบผลสำเร็จ (๑๑๕)

สถานภาพของอิมามฮะซัน (อ ในเมืองซาบาฏ

ในทางกลับกัน อิมามฮะซัน (อ.) ได้เดินทางไปยังเมืองซาบาฏ พร้อมกับกองทัพของเขา ดั่งที่เชคมูฟีดกล่าวว่า อิมามฮะซัน (อ.) เพื่อทดสอบบรรดาสหายของเขาและเปรียบเทียบการเชื่อฟังของพวกเขา เขาได้กล่าวเทศนาธรรมและกล่าวว่า ความเป็นเอกภาพและความเห็นอกเห็นใจนั้นดีกว่าสำหรับพวกท่าน มากกว่าการแบ่งแยกและการแตกแยก ‎อันที่จริง แผนการที่ฉันคิดว่าสำหรับพวกท่านนั้นดีกว่าแผนการที่พวกท่านมีสำหรับตัวของพวกท่านเอง หลังจากคำกล่าวของเขา ประชาชนก็พูดกันว่า เขาตั้งใจที่จะสร้างสันติภาพกับมุอาวิยะฮ์ และมอบตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ให้เป็นของเขา บางคนได้บุกโจมตียังกระโจมของเขาและปล้นทรัพย์สินของเขาและแม้กระทั่งมีการดึงผ้าปูนมาซของเขาออกจากใต้เท้าของเขา (๑๑๖) แต่ตามคำบอกเล่าของยะอ์กูบี (เสียชีวิตในปี ๒๙๒ ฮ.ศ.) สาเหตุของเหตุการณ์นี้ ก็คือ ‎มุอาวิยะฮ์ได้ส่งกลุ่มคนจำนวนหนึ่งไปยังฮะซัน บิน อะลี เมื่อพวกเขากลับมาจากเขา พวกเขาจะพูดกันด้วยเสียงอันดังเพื่อให้ผู้คนได้ยินว่า: พระเจ้าทรงช่วยโลหิตของชาวมุสลิมและยุติการปลุกปั่นโดยทางบุตรของท่านศาสนทูตของพระเจ้า เขายอมรับความสงบ เมื่อได้ยินคำพูดเหล่านี้ กองทหารของอิมามก็เริ่มปั่นป่วนและโจมตีกระโจมของเขา [๑๑๗] หลังจากเหตุการณ์นี้ สหายที่ใกล้ชิดของอิมามฮะซัน (อ.) ได้ปกป้องเขา แต่ในความมืดมิดของราตรี มีคอวาริจญ์คนหนึ่งเข้ามาใกล้ (๑๑๘) เขากล่าวว่า โอ้ ฮะซัน เจ้าได้กลายเป็นผู้ตั้งภาคี เฉกเช่นเดียวกับที่บิดาของเจ้าเป็นผู้ตั้งภาคี จากนั้นเขาก็ฟาดมีดที่ต้นขาของฮะซัน และอิมามซึ่งขี่ม้าอยู่ก็ล้มลงกับพื้น (๑๑๙) พวกเขาพาฮะซัน บิน ‎อะลี (อ.) ขึ้นบนเตียงไปยังเมืองมะดาอิน และพาไปยังบ้านของ ซะอัด บิน มัสอูด ษะกอฟี เพื่อรับการรักษาตัว ‎‎[๑๒๐]‎

สงครามระหว่างมุอาวิยะฮ์และอิมามฮะซัน (อ.) จึงนำไปสู่การลงนามข้อตกลงสันติภาพในที่สุด ตามคำกล่าวของเราะซูล ญะอ์ฟะรียอน ระบุว่า เหตุผลต่างๆ เช่น ความอ่อนแอของประชาชน สถานการณ์ของยุคสมัย และการปกป้องชีอะฮ์ ทำให้อิมามมุจญ์ตะบาอ์ (อ.) ต้องยอมรับสันติภาพ [๑๒๑1] ตามข้อตกลงนี้ เคาะลีฟะฮ์จึงถูกต่อถึงมุอาวียะฮ์‎[๑๒๒]‎

เหตุการณ์การสงบศึกกับมุอาวิยะฮ์

ในเวลาเดียวกันกับที่กองทัพทั้งสองของอิรักและซีเรียปะทะกัน อิมามฮะซัน (อ.) จึงถูกลอบสังหารและได้รับบาดเจ็บ และเขาเดินทางไปยังเมืองมะดาอิน เพื่อรับการรักษา (๑๒๓) ขณะที่อิมามฮะซันอยู่ในระหว่างการรักษา แกนนำชนเผ่าเมืองกูฟะฮ์กลุ่มหนึ่งได้ส่งจดหมายลับให้มุอาวียะฮ์ และประกาศถึงการเป็นผู้ปกครองของเขา โดยพวกเขาเชิญชวนให้มุอาวียะฮ์ มาหาพวกเขาและสัญญาว่า จะมอบตัวฮะซัน บิน อะลี ให้กับเขา หรือไม่ก็สังหารเขาเสีย ‎‎[๑๒๔] ตามที่เชคมุฟีด (เสียชีวิต ๔๑๓ ฮ.ศ.) อิมามฮะซัน (อ.) เมื่อได้ยินข่าวนี้และเช่นกันข่าวการเข้าร่วมของอุบัยดิลลาฮ์ บินอับบาส กับมุอาวียะฮ์ และในทางกลับกัน เขาได้สังเกตเห็นถึงความอ่อนแอและความไม่พร้อมของบรรดาผู้ช่วยเหลือของเขา เขาตระหนักด้วยชาวมุสลิมชีอะฮ์ของเขามีเพียงเล็กน้อย เขาไม่สามารถต่อสู้กับกองทัพขนาดใหญ่ของซีเรียได้ (๑๒๕) ซัยด์ บิน วะฮับ ญุฮะนี รายงานว่า ในระหว่างการรักษาของอิมามฮะซันในเมืองมะดาอิน ‎เขากล่าวว่า ฉันขอสาบานต่อพระเจ้าว่า หากฉันต่อสู้กับมุอาวียะฮ์ ชาวอิรักจะตัดคอฉันและมอบฉันให้กับเขา ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮ์ว่า หากฉันทำสันติภาพกับมุอาวียะฮ์ ฉันก็จะได้รับเกียรติยศ เป็นการดีกว่าสำหรับฉันที่จะถูกเขาสังหารแบบเป็นเชลยศึก หรือให้เขามีบุญคุณกับฉันและงดเว้นจากการสังหารฉัน และสำหรับบะนีฮาชิม จะเป็นความอัปยศอดสูในตลอดไป (๑๒๖)‎

ข้อเสนอสนธิสัญญาสันติภาพโดยมุอาวียะฮ์

จากคำกล่าวของยะอ์กูบี รายงานว่า หนึ่งในกลอุบายของมุอาวียะฮ์ในการนำสงคราม ไปสู่สันติภาพ คือ การที่เขาส่งผู้คนในหมู่กองทัพของอิมามฮะซัน (อ.) เพื่อกระจายข่าวลือว่า ก็อยซ์ บิน สะอัด ได้เข้าร่วมกับมุอาวิยะฮ์ และในทางกลับกัน เขาได้ส่งผู้คนบางส่วนไปในหมู่กองทหารของก็อยส์ เพื่อเผยแพร่ข่าวลือว่า ฮะซัน บิน อะลี ยอมรับสันติภาพแล้ว (๑๒๗) เขายังส่งจดหมายจากชาวกูฟะฮ์ เพื่อประกาศถึงการเป็นผู้ปกครองของเขาให้กับฮะซัน บิน อะลี (อ.) และเสนอแนวทางสันติภาพและกำหนดเงื่อนไขสำหรับตัวเขาเอง ดังที่เชคมุฟีด กล่าวว่า อิมามฮะซัน (อ.) ไม่ไว้วางใจมุอาวิยะฮ์และตระหนักรู้ถึงกลอุบายของเขา ดังนั้นเขาจึงไม่เห็นทางเลือกอื่นใด นอกจากยอมรับสันติภาพ (๑๒๘) บะลาซะรี กล่าวว่ามุอาวิยะฮ์ได้ส่งจดหมายว่างเปล่าและลงนามให้กับฮะซัน บิน อะลี (อ.) เพื่อที่จะเขียนเงื่อนไขใดๆ ก็ตามที่เขานั้นมีความต้องการ [๑๒๙] อิมามฮะซัน (อ.) เห็นสถานการณ์เช่นนี้ จึงได้กล่าวกับประชาชน และขอให้พวกเขาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสงครามหรือสันติภาพ ผู้คนร้องขอให้ยอมรับสันติภาพด้วยสโลแกน ที่ว่าอัลบะกียะฮ์ อัลบะกียะฮ์ (หมายถึง เราต้องการมีชีวิตอยู่) [๑๓๐] และด้วยเหตุนี้เอง อิมามฮะซัน (อ.) จึงต้องยอมรับสันติภาพ วันที่สถาปนาสันติภาพถูกบันทึกเป็น วันที่ 25 เราะบีอุลเอาวัล [๑๓๑] และในบางข้อมูล เราะบีอุลอาคิร หรือญะมาดุลเอาวัล [๑๓๒] ในปีฮิจเราะฮ์ที่ ๔๑

บทบัญญัติของข้อตกลงสันติภาพ

มีรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบทบัญญัติของข้อตกลงสันติภาพ (๑๓๓) หนึ่งในบทบัญญัติที่อ้างถึงในแหล่งที่มา คือ ‎ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ จะถูกส่งมอบให้กับมุอาวิยะฮ์ โดยมีเงื่อนไขว่า เขาจะต้องปฏิบัติตามคัมภีร์ของพระผู้เป็นเจ้าและซุนนะฮ์ของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และแนวทางของคอลีฟะห์รุ่นแรกและไม่ได้แต่งตั้งผู้สืบทอดสำหรับตนเองและประชาชนทุกคนต้องได้รับความปลอดภัย รวมทั้งชีอะฮ์ของอิมามอะลี (อ) (๑๓๔) เชคศอดูก กล่าวว่าเมื่ออิมามฮะซัน (อ.) มอบตำแหน่งคอลีฟะห์ให้กับมุอาวิยะฮ์ โดยมีเงื่อนไขว่า จะไม่เรียกมุอาวิยะฮ์ว่า อะมีรุลมุอ์มินีน [๑๓๕]‎

ในบางแหล่งข้อมูล ระบุว่า อิมามฮะซัน (อ.) ตั้งเงื่อนไขว่า เคาะลีฟะฮ์จะถูกส่งมอบให้เขา หลังจากมุอาวิยะฮ์ และนอกจากนี้ มุอาวิยะฮ์จะจ่ายเงินให้เขา จำนวนห้าล้านดิรฮัม (๑๓๖) ตามที่ญะอ์ฟะรี กล่าวว่า ตัวแทนของอิมามฮะซัน ‎‎(อ.) ได้กำหนดเงื่อนไขทั้งสองนี้ไว้ในสนธิสัญญาสันติภาพ แต่อิมามไม่ยอมรับและเน้นย้ำว่า การแต่งตั้งคอลีฟะฮ์ต่อจากมุอาวิยะฮ์ ควรเป็นหน้าที่ของสภามุสลิม และเกี่ยวกับเงื่อนไขทางการเงิน เขายังกล่าวอีกว่า มุอาวิยะฮ์ไม่มีสิทธิ์ยึดคลังของชาวมุสลิม [๑๓๗] บางคนยังกล่าวด้วยว่า เงื่อนไขทางการเงินถูกกำหนดโดยตัวของมุอาวิยะฮ์เองหรือตัวแทนของเขา [๑๓๘]‎

อิมามฮะซัน (อ.) แม้จะถูกปลดจากตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ แต่ก็ยังถือว่า เขาเป็นอิมามของชีอะฮ์ และแม้แต่บรรดาชีอะฮ์ที่คัดค้านสนธิสัญญาสงบศึกของอิมาม ก็ไม่เคยปฏิเสธความเป็นอิมามัตของเขา และเขาเป็นผู้นำและผู้อาวุโสแห่งครอบครัวของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ไปจนถึงบั้นปลายชีวิต [๑๓๙]‎

ปฏิกิริยาและผลที่ตามมา

ตามรายงานต่างๆ ระบุว่า หลังจากสนธิสัญญาสงบศึกของอิมามฮะซัน กลุ่มชีอะฮ์กลุ่มหนึ่ง ได้แสดงความเสียใจและความไม่พอใจ [๑๔๐] และแม้แต่บางคนก็ตำหนิอิมามและเรียกเขาว่า มุซิลลุลมุอ์มินีน (ผู้สร้างความอัปยศอดสูของผู้ศรัทธา) [๑๔๑] ในการตอบคำถามและการคัดค้าน อิมามได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการยึดมั่นในการตัดสินใจของอิมาม และเรียกเหตุผลแห่งสันติภาพของเขา เช่นเดียวกับเหตุผลแห่งสันติภาพของฮุดัยบียะฮ์ และวิทยปัญญาของภารกิจนี้ก็มีพื้นฐานมาจากความรอบรู้ในการกระทำของนบีคิฎิร (อ.)ในเรื่องการร่วมเดินทางกับศาสดามูซา ‎‎(อ.) [๑๔๒]‎

มีการระบุไว้ในแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์หลายแห่งว่า มุอาวิยะฮ์ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของข้อตกลงสันติภาพ ‎[๑๔๓] และสังหารบรรดาชีอะฮ์ของอิมามอะลีเป็นจำนวนมาก รวมถึงฮุจญ์ บิน อะดี ด้วย [๑๔๔] มีรายงานกล่าวว่า ‎หลังจากสนธิสัญญาสงบศึก มุอาวิยะฮ์เข้าไปในเมืองกูฟะฮ์ และเทศนาแก่ประชาชนและกล่าวว่า: ฉันจะรับคืนทุกเงื่อนไขที่ฉันกระทำไว้ และฉันจะผิดสัญญาในทุกคำที่ฉันกระทำไว้ (๑๔๕) เขายังกล่าวอีกว่า ฉันไม่ได้ต่อสู้กับพวกท่าน เพื่อพวกท่านจะได้ทำการนมาซ ถือศีลอดและทำฮัจญ์ แต่ฉันได้ต่อสู้เพื่อจะได้ปกครองพวกท่าน [๑๔๖]‎

ระยะเวลาที่พำนักอยู่ในมะดีนะฮ์และอำนาจทางศาสนา

หลังจากที่บรรลุสนธิสัญญาสันติภาพกับมุอาวิยะฮ์แล้ว ฮะซัน บิน อะลี (อ.) ได้กลับมายังเมืองมะดีนะฮ์ และอยู่ที่นั่น จนกระทั่งสิ้นชีวิต แม้ว่า ชีอะฮ์บางคนของเขา จะร้องขอให้เขาอยู่ในเมืองกูฟะฮ์ก็ตาม [๑๔๗] และเขาได้เดินทางไปยังมักกะฮ์ เพียงเท่านั้น [๑๔๘] และซีเรีย [ ๑๔๙ ]หลังจากการเป็นชะฮีดของอิมามอะลี (อ.)และตามพินัยกรรมของเขา อิมามมุจญ์ตะบาอ์ (อ.) จึงเป็นผู้ดูแลศาสนสมบัติและการกุศลของเขา ดังรายงานในอัลกาฟีย์ ว่า ‎พินัยกรรมดังกล่าวลงบันทึกใน วันที่ ๑๐ ญะมาดุลเอาวัล ปี ๓๗ ฮ.ศ. [๑๕๐]‎

อำนาจทางความรู้

มีรายงานต่างๆเกี่ยวกับการพบปะผู้คนอย่างต่อเนื่องของอิมามฮะซัน (อ.) ในเมืองมะดีนะฮ์ เพื่อให้ความรู้และการชี้แนะประชาชน รวมถึง อิบนุ ซะอัด (เสียชีวิต ๒๓๐ ฮ.ศ.) บะลาซะรีย์ (เสียชีวิต ๒๗๙ ฮ.ศ.) และอิบนุ อะซากิร ‎‎(เสียชีวิต ๕๗๑1 ฮ.ศ.) ซึ่งพวกเขารายงานว่า ฮะซัน บิน อะลี ได้นมาซศุบฮ์ในมัสยิดอัน-นะบี จนถึงดวงอาทิตย์ขึ้น ‎จากนั้นบรรดาผู้อาวุโสและผู้คนที่อยู่ในมัสยิด จะนั่งใกล้เขาและร่วมปรึกษาหารือกัน เขาก็มีแบบแผนเดียวกันในช่วงเย็น [๑๕๑] มีการกล่าวถึง ในอัล-ฟูซุล อัล-มุฮิมมะฮ์ ด้วยว่า ฮะซัน บิน อะลี เคยนั่งอยู่ในมัสยิดศาสดามุฮัมมัด ‎‎(ศ็อลฯ) และผู้คนจะเวียนวนอยู่รอบๆ เขา และเขาจะตอบคำถามของพวกเขา (๑๕๒) ในขณะเดียวกัน มะฮ์ดี พีชวออี ‎กล่าวว่า ฮะซัน บิน อะลี (อ.) ต้องเผชิญกับความโดดเดี่ยวและความไม่พึงปรารถนาของผู้คน ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดการเบี่ยงเบนทางศีลธรรมของสังคมในวันนั้น [๑๕๓] อัลลามะฮ์ เตห์รอนี เชื่อว่าช่วงเวลาของการเป็นอิมามัตของอิมามมุจญ์ตะบาอ์ (อ.) และอิมามฮุเซน (อ.) เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากและมีความมืดมนที่สุดในช่วงเวลาต่างๆ เนื่องจากการปกครองของราชวงศ์บะนีอุมัยยะฮ์ และเมื่อพิจารณาถึงอายุยืนยาวของทั้งสองคนนี้ด้วย เนื่องจากระยะเวลาของการเป็นอิมามัตและวิลายัตของพวกเขา ควรจะเป็นเรื่องปกติ ที่จะมีฮะดีษ บทเทศนาและคำตักเตือนหลายพันรายการในการอรรถาธิบายอัลกุรอาน แต่บทเทศนาและคำกล่าวของพวกเขานั้นมีน้อยอย่างมาก [๑๕๔]‎

สถานะทางสังคม

จากรายงานทางประวัติศาสตร์ ปรากฏว่า อิมามฮะซัน (อ.) มีสถานะทางสังคมที่พิเศษ ตามรายงานของอิบนุ ซะอัด ‎‎(เสียชีวิตในปี 230 ฮ.ศ.) ระบุว่า เมื่อประชาชนเห็นฮะซัน บิน อะลี ในระหว่างพิธีฮัจญ์ พวกเขาก็รีบวิ่งเข้าไปหาเขา ‎เพื่อตะบัรรุกจากเขา จนกระทั่ง เมื่อฮุเซน บิน อะลี (อ.)ด้วยความช่วยเหลือจากหลายบุคคล ทำให้กลุ่มผู้คนออกห่างจากเขา (๑๕๕) มีรายงานอีกว่า อิบนุอับบาส แม้จะเป็นหนึ่งในผู้อาวุโสของศอฮาบะฮ์ก็ตาม [๑๕๖] และเขาก็มีอายุมากกว่าอิมามฮะซัน (อ.) เคยถืออานม้าให้อิมามฮะซัน (อ.) เมื่อเขาขี่ม้า [157๑๕๗]‎

การไม่แทรกแซงในเรื่องการเมืองและการไม่ร่วมมือกับมุอาวียะฮ์

กล่าวกันว่า หลังจากที่อิมามฮะซัน (อ.) ออกจากเมืองกูฟะฮ์ กลุ่มหนึ่งจากกลุ่มคอวาริจญ์ได้รวมตัวกันที่เมืองนะคีละฮ์ เพื่อต่อสู้กับมุอาวียะฮ์ มุอาวิยะฮ์จึงเขียนจดหมายส่งถึงฮะซัน บิน อะลี และเรียกร้องให้เขากลับมาต่อสู้กับพวกเหล่านั้น อิมามก็ไม่ยอมรับและเขียนคำตอบของเขาว่า: หากฉันต้องการต่อสู้กับใครบางคนจากชาวกิบลัต ฉันคงจะต่อสู้กับเจ้า[๑๕๘]‎

ในบางรายงาน มีการระบุว่า อิมามมุจญ์ตะบาอ์ (อ.) ยอมรับของขวัญจากมุอาวิยะฮ์ แม้ว่า จะไม่ได้ร่วมทางกับมุอาวียะฮ์และคัดค้านการกระทำของเขาก็ตาม (๑๕๙) จำนวนเงินที่มุอาวียะฮ์ส่งให้เขาพร้อมกับของขวัญอื่น ๆ กล่าวว่า ‎เป็นหนึ่งล้านดิรฮัม [๑๖๐]หรือหนึ่งแสนดีนาร [๑๖๑] ต่อปี บางรายงานกล่าวว่า บางครั้ง เขาก็ชำระหนี้และแบ่งส่วนที่เหลือให้ญาติและผู้ใต้บังคับบัญชาของเขา[162]และบางครั้งก็มอบของขวัญเหล่านั้นให้ผู้อื่นด้วย [๑๖๓] นอกจากนี้ ‎ยังมีรายงานว่า ฮะซัน บิน อะลี (อ.) ไม่รับของขวัญจากมุอาวิยะฮ์ในหลายกรณี [๑๖๔] ข่าวคราวประเภทนี้ ทำให้เกิดปฏิกิริยาและข้อสงสัย [๑๖๕] และมีการถกเถียงกันถึงประเด็นนี้ รวมถึง มิติทางวาจา ด้วย ตัวอย่างเช่น ซัยยิดมุรตะฎอ ถือว่า เป็นการอนุญาตและแม้กระทั่งเป็นข้อบังคับสำหรับอิมามฮะซัน (อ.) ที่จะต้องรับทรัพย์สินและของขวัญจากมุอาวียะฮ์และจากจุดนี้ จะต้องยึดทรัพย์สินของผู้ปกครองที่ปกครองด้วยความกดขี่ต่อประชาชาติ [๑๖๖]‎

การเผชิญหน้าของพวกอุมัยยะฮ์

มีรายงานต่างๆ ระบุว่า การปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมต่อพวกอุมัยยะฮ์กับอิมามฮะซัน (อ.) [๑๖๗] นอกจากนี้ ในหนังสืออิฮ์ติญาจ มีการกล่าวถึงการอภิปรายเชิงวิชาการระหว่างอิมามฮะซัน (อ.) และมุอาวิยะฮ์ และผู้ติดตามของเขา ดวย ‎ในการอภิปรายเหล่านี้ เขาได้ปกป้องสถานภาพของอะฮ์ลุลบัยต์และเปิดเผยอัตลักษณ์และสถานภาพของเหล่าศัตรูของเขา [๑๖๘] ตามรายงานที่อ้างถึงในอัลอิฮ์ติญาจ กล่าวว่า ในการพบปะกับผู้สนับสนุนการปกครองของมุอาวิยะฮ์ ‎เช่น อัมร์ บิน อุษมาน อัมร์ บิน อาศ อุตบะฮ์ บิน อะบีซุฟยาน วะลีด บิน อุกบะฮ์ และมุฆีเราะฮ์ บิน ชะอ์บะฮ์ อยู่ต่อหน้ามุอาวิยะฮ์ อิมามมุจญ์ตะบาอ์ (อ.) ได้ประณามพวกเหล่านี้โดยอ้างถึงโองการอัลกุรอาน ริวายะฮ์ และรายงานทางประวัติศาสตร์ และอธิบายถึงสิทธิและสถานภาพของอิมามอะลีและอะฮ์ลุลบัยต์ในลักษณะดังกล่าว ซึ่งคำทำนายของมุอาวิยะฮ์ ก่อนการประชุมอภิปราย (ตามเรื่องอื้อฉาวและการประณามของผู้เรียกร้องการอภิปราย) ว่า เป็นจริง [๑๖๙]‎

การเป็นชะฮีดและเหตุการณ์พิธีแห่ศพ

มีการระบุไว้ใน แหล่งข้อมูลของชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ หลายแห่งว่า อิมามฮะซัน (อ.) เสียชีวิต ด้วยการถูกวางยาพิษ [๑๗๐] ตามบางรายงาน กล่าวว่า เขาถูกวางยาพิษหลายครั้ง แต่เขาก็รอดชีวิตมาได้ (๑๗๑) ในกรณีการถูกวางยาพิษ จนเป็นเหตุให้เขาเป็นชะฮีด ตามคำกล่าวของเชคมูฟีด ระบุว่า เมื่อมุอาวิยะฮ์ตัดสินใจที่จะให้ยะซีด ‎บุตรชายของเขาเป็นมกุฏราชกุมาร เขาได้ส่งเงินหนึ่งแสนดิรฮัมให้กับญุอ์ดะฮ์ บินติ อัชอัษ (ภรรยาของอิมามฮะซัน ‎‎(อ.) และให้สัญญากับนางว่า จะให้นางแต่งงานกับยะซีด เพื่อแลกกับการวางยาพิษสามีของเธอ (๑๗๒) ชื่อของญุอ์ดะฮ์ในฐานะฆาตกรฮะซัน บิน อะลี (ซ.ล.) ก็ถูกกล่าวถึงในแหล่งข้อมูลของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ด้วย [๑๗๓] มาเดลอง ‎เชื่อว่า ปัญหาผู้สืบทอดของมุอาวิยะฮ์และความพยายามของเขาในการให้ยะซีดเป็นมกุฏราชกุมาร เป็นการยืนยันถึงริวายะฮ์เกี่ยวกับการวางยาพิษของอิมามฮะซันจากการยุยงของมุอาวิยะฮ์ และด้วยน้ำมือของญุอ์ดะฮ์ [๑๗๔] ในรายงานอื่นๆ ฮินด์ ภรรยาคนหนึ่งของอิมามฮะซัน (อ.) [๑๗๕] หรือคนรับใช้คนหนึ่งของเขา [๑๗๖ ] เป็นปัจจัยในการวางยาพิษเขา กล่าวกันว่า ฮะซัน บิน อะลี (อ.) เสียชีวิตเป็นมรณสักขี สาม [๑๗๗] หรือ ๔๐ วัน [๑๗๘] หรือสองเดือน‎ [๑๗๙] หลังจากที่ถูกวางยาพิษ

มีรายงานว่า หลังจากการเป็นมรณสักขีของอิมามมุจญ์ตะบาอ์ (อ.) เมืองมะดีนะฮ์ ก็ร้องไห้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับเขา (๑๘๐) ยังมีการกล่าวด้วยว่า ในระหว่างการฝังศพ สุสานบะกีอ์เต็มไปด้วยผู้คนและตลาดก็ปิดทำการ เป็นเวลาเจ็ดวัน ‎(๑๘๑) มีรายงานจากแหล่งข้อมูลชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์บางแห่ง ระบุว่า ความอัปยศอดสูครั้งแรกสำหรับชาวอาหรับ ‎คือ การเสียชีวิตของฮะซัน บิน อะลี (อ.) [๑๘๒]‎

การห้ามฝังศพข้างศาสดามุฮัมมัด ในบางแหล่งข้อมูล ระบุว่า อิมามฮะซัน (อ.) มอบพินัยกรรมให้น้องชายของเขาเพื่อทำการฝังศพเขา หลังจากการเสียชีวิตของเขา เคียงข้างหลุมศพของตาของเขา ศาสนทูตของพระเจ้า (ศ็อลฯ) (๑๘๓) ตามรายงานยังระบุว่า ฮะซัน ‎บิน อะลี ได้กล่าวความต้องการของเขากับท่านหญิงอาอิชะฮ์ และนางก็ตอบตกลง (๑๘๔) ตามรายงานของหนังสือ ‎อันซาบอัลอัชรอฟ ระบุว่า เมื่อมัรวาน บินฮะกัม รับรู้ถึงพินัยกรรมนี้ เขาได้รายงานเรื่องนี้ต่อมุอาวิยะฮ์และมุอาวิยะฮ์จึงเรียกร้องให้เขาป้องกันสิ่งนี้โดยเคร่งครัด [๑๘๕]‎

ตามรายงานของเชค มุฟีด (เสียชีวิตปี ๔๑๓ ฮ.ศ.) ฏอบัรซี (เสียชีวิตปี ๕๔๘ ฮ.ศ. ) และอิบนุชะฮ์ร ออชูบ (เสียชีวิต ปี ๕๘๘ ฮ.ศ.) อิมามมุจญ์ตะบาอ์ (อ.) ได้มอบพินัยกรรมให้นำโลงศพของเขาไปที่หลุมฝังศพของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เพื่อให้สัตยาบันอีกครั้ง แล้วให้นำศพของเขาไปฝังข้างหลุมศพของฟาฏิมะฮ์ บินติ อะซัด ผู้เป็นย่าของเขา ‎[๑๘๖] ในรายงานเหล่านี้ ระบุว่า ฮะซัน บิน อะลี สั่งให้หลีกเลี่ยงความขัดแย้งใดๆ ในระหว่างพิธีแห่ศพและการฝังศพของเขา [๑๘๗] เพื่อไม่ให้เกิดการหลั่งเลือด [๑๘๘]‎

เมื่อกลุ่มบะนีฮาชิม นำโลงศพของอิมามมุจญ์ตะบา (อ.) ไปยังหลุมศพของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) มัรวาน พร้อมด้วยกลุ่มบะนีอุมัยยะฮ์บางส่วน ก็จับอาวุธและปิดกั้นทางเพื่อห้ามไม่ให้นำร่างของเขาไปฝังข้างหลุมศพของศาสดา ‎‎(๑๘๙) อะบุลฟะร็อจ อิศฟาฮานี (เสียชีวิต ๓๕๖ ฮ.ศ.) กล่าวว่า ท่านหญิงอาอิชะฮ์ ได้ขี่พาหนะและขอความช่วยเหลือจากมัรวาน และบะนีอุมัยยะฮ์ (๑๙๐) มีการระบุไว้ในรายงานของบะลาซะรี ระบุว่า เมื่อท่านหญิงอาอิชะฮ์ เห็นว่ามีการปะทะกันเกิดขึ้นและกำลังจะนำไปสู่การนองเลือด นางจึงกล่าวว่า บ้านหลังนี้ คือ บ้านของฉัน และฉันจะไม่ยอมให้ผูใดถูกฝังอยู่ในนั้น (๑๙๑ )อิบนุ อับบาส กล่าวกับมัรวาน ซึ่งมีอาวุธและอยู่เพื่อก่อความไม่สงบ ว่า เราไม่ได้ตั้งใจที่จะฝังร่างของอิมามฮะซัน (อ.)ข้างหลุมศพของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) หรอก เราเพียงตั้งใจที่จะให้คำสัตยาบันอีกครั้งและกล่าวคำอำลา แต่ถ้าอิมามสั่งให้ฝังเขาไว้ข้างๆ ศาสดา เราจะฝังเขาและไม่มีผู้ใดสามารถที่ห้ามเราได้ ‎หลังจากนั้น อิบนุ อับบาส หลังจากที่ชี้ถึงการปรากฏตัวของท่านหญิงอาอิชะฮ์ในสงครามญะมัล และกล่าววิพากษ์วิจารณ์ต่อนางโดยทางอ้อม [๑๙๒]‎

มีรายงานด้วยว่า มัรวาน กล่าวว่า เราไม่ยอมรับว่า อุษมานถูกฝังอยู่ที่ปลายสุดของเมือง แต่ทว่าฮะซัน บิน อะลีถูกฝังข้างศาสดา (๑๙๓) เกือบจะเกิดความปะทะกันระหว่างบะนี ฮาชิม และบะนี อุมัยยะฮ์ (๑๙๔) แต่อิมามฮุเซน (อ.)ด้วยคำสั่งเสียของพี่ชายของเขา ได้ขัดขวางการปะทะกัน แล้วร่างของฮะซัน บิน อะลี จึงถูกนำฝังไป ณ สุสานบะกีอ์ ข้างหลุมศพของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ บินติ อะซัด [๑๙๕]‎

ในรายงานจากอิบนุ ชะฮ์ร ออชูบ กล่าวว่า พวกบะนีอุมัยยะฮ์ได้ยิงธนูเข้าใส่ศพของอิมามมุจญ์ตะบา (อ.) ตามคำกล่าวนี้ ลูกธนู 70 ลูกถูกดึงออกจากร่างของฮะซัน บิน อะลี (อ) [๑๙๖]‎

วันที่การเป็นชะฮีด แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ได้กล่าวถึงปีแห่งการเป็นชะฮีด (มรณะสักขี) ของอิมามฮะซัน (อ.) ว่า คือ ปีที่ ๔๙ หรือ ๕๐ หรือ ๕๑ ฮ.ศ. [๑๙๗] ยังมีรายงานอื่นๆอีก [๑๙๘] นักค้นคว้าวิจัยบางคน ถือว่า ปี ๕๐ ฮ.ศ. นั้นถูกต้อง โดยอ้างอิงจากหลักฐาน [๑๙๙]‎

เกี่ยวกับเดือนที่เกิดขึ้น (๒๐๐) แหล่งข้อมูลของชีอะฮ์ได้รายงานว่า เดือนซอฟัร (๒๐๑) และแหล่งข้อมูลของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ส่วนใหญ่ รายงานว่า เดือนเราะบีอุลเอาวัล [๒๐๒] วันแห่งการเป็นชะฮีด (๒๐๓) ยังถูกรายงานในแหล่งอ้างอิงต่างๆ ของชีอะฮ์ด้วย เช่น เชคมุฟีด [๒๐๔ ]และเชคฏูซี [๒๐๕ (เสียชีวิต ๔๖๐ ฮ.ศ.) ฏอบัรซี [๒๐๖] (เสียชีวิต ฮ.ศ. ๕๔๘) และอิบนุ ‎ชะฮ์ร ออชูบ [๒๐๗ ] (เสียชีวิต ฮ.ศ. ๕๘๘) คือ วันที่ ๒๘ ซอฟัร ชะฮีดเอาวัล (เสียชีวิตในปี ฮ.ศ. ๗๘๖) กล่าวว่า คือ ‎วันที่ ๗ ของเดือนซอฟัร [๒๐๘] และกุลัยนี [๒๐๙] กล่าวว่า คือ วันสุดท้ายของเดือนเศาะฟัร ยะดุลลอฮ์ มุก็อดดะซี ถือว่า ‎วันที่ ๒๘ ซอฟัรนั้นถูกต้องโดยหลักฐานจากคำพูดต่างๆ [๒๑๐] ‎

ในอิหร่านวันที่ ๒๘ ซอฟัร เป็นวันหยุดอย่างเป็นทางการ เนื่องมาจากการเสียชีวิตของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และการเป็นมรณสักขีของอิมามมุจญ์ตะบา (อ.) และผู้คนต่างไว้อาลัย แต่ในบางประเทศ รวมถึงในอิรัก คือวันที่ ๗ ซอฟัร เป็นการไว้อาลัยให้อิมามฮะซัน (อ)[๒๑๑] ในสถาบันศาสนาเมืองนะญัฟ ถือว่า วันที่ ๗ ซอฟัร เป็นวันแห่งการมรณสักขี และในสถาบันศาสนาเมืองกุม ตั้งแต่ช่วงสมัยของเชคอับดุลกะรีม ฮาอิรี ถือว่า วันนี้ เป็นวันหยุดสำหรับการไว้อาลัย [๒๑๒]‎

เนื่องจากความแตกต่างในวันมรณสักขีของฮะซัน บิน อะลี (อ.) อายุของเขา ณ เวลามรณสักขี จึงถือเป็น ๔๖ ‎‎[๒๑๓] หรือ ๔๗ [๒๑๔ ]หรือ ๔๘ [๒๑๕ ]ปี

ความประเสริฐและคุณลักษณะพิเศษ

ตามคำกล่าวของยะอ์กูบี (เสียชีวิตในปี ๒๙๒ ฮ.ศ ฮะซัน บิน อะลี (อ.) เป็นบุคคลที่มีความคล้ายศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) มากที่สุด ทั้งในแง่ของรูปลักษณ์และพฤติกรรม [๒๑๖] เขามีความสูงปานกลางและมีรูปร่างสูงใหญ่ [๒๑๗] และผมถูกย้อมเป็นสีดำ (๒๑๘) ความสูงส่งส่วนปัจเจกบุคคลและสังคมของเขา ได้รับการรายงานในแหล่งข้อมูลของอิสลาม

ความสูงส่งส่วนปัจเจกบุคคล

มีคำรายงานในแหล่งที่มาเกี่ยวกับลักษณะแบบส่วนตัวของฮะซัน บิน อะลี:‎

ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) รักเขาอย่างมาก

มีรายงานอย่างมากมายที่เกี่ยวกับความรักของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ต่อหลานชายของเขา ฮะซัน บิน อะลี (อ.) มีรายงานว่า ศาสดา (ศ็อลฯ) เคยกล่าวขณะที่แบกฮะซัน (อ. ไว้บนบ่าว่า โอ้พระผู้เป็นเจ้า ฉันรักเขา ดังนั้นท่านก็จะจงรักเขาด้วย (๒๑๙) เมื่อศาสดา (ศ็อลฯ) ทำการซุญูดในการนมาซญะมาอะฮ์ เขาก็จะขึ้นขี่บนหลังของศาสดา และศาสดาก็จะไม่ละทิ้งการซุญูด จนกว่าเขาจะลงมาจากหลัง และเมื่อศอฮาบะฮ์ถามว่า เหตุใดการซุญูดจึงยืดเยื้อ เขาก็กล่าวว่า ฉันต้องการให้เขาลงมา ตามที่ใจต้องการ[๒๒๐]‎

มีการกล่าวถึงใน ฟะรออิด อัลชะมะฏ็อยน์ ว่า ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวเกี่ยวกับเขาว่า เขาเป็นหังหน้าของชาวหนุ่มในสวรรค์และเป็นข้อพิสูจน์ของพระเจ้าเหนืออุมมะฮ์... ใครก็ตามที่ปฏิบัติตามเขา มาจากฉันและใครก็ตามที่ฝ่าฝืนเขา ก็ไม่ใช่มาจากฉัน. [๒๒๑]‎

อัลกุรอาน บางโองการเกี่ยวกับเขา ฮะซัน บิน อะลี (อ.) ถือเป็นหนึ่งในอะฮ์ลุลบัยต์ของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)‎‏ ‏ตามที่บรรดานักตัฟซีรกล่าว โองการจากอัลกุรอานถูกประทานลงมาให้กับพวกเขา รวมถึงโองการอิฏอาม ซึ่งตามริวายะฮ์ของชีอะฮ์ และ อะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ถูกประทานให้บรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ และถือว่า เป็นหนึ่งในความสูงส่งของพวกเขา [๒๒๒] นอกจากนี้ บรรดานักตัฟซีรหลายคนที่อ้างถึงริวายะฮ์ต่างๆ ได้กล่าวว่า สาเหตุการประทานของโองการมะวัดดะฮ์ คือ อะฮ์ลุลบัยต์ของศาสดา (ศ็อลฯ)[๒๒๓]โองการนี้ ถือว่า รางวัลของภารกิจของศาสดา เป็นมะวัดดะฮ์ที่มีต่ออะฮ์ลุลบัยต์ ในโองการมุบาฮะละฮ์ ซึ่งถูกประทานลงมาในเหตุการณ์มุบาฮะละฮ์ของศาสดามุฮัมมัดกับชาวคริสเตียนแห่งนัจรอน อิมามฮะซัน ‎‎(อ.) และน้องชายของเขาได้รับการแนะนำ เป็นตัวอย่างของคำว่า อับนาอะนา [๒๒๔]‎ นอกจากนี้ โองการตัฏฮีร ได้ถูกประทานให้กับอัศฮาบุลกิซาอ์ ซึ่งอิมามมุจญ์ตะบา (อ.) เป็นหนึ่งในนั้น โองการนี้ได้รับการให้เหตุผลสำหรับพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของบรรดาอิมาม[๒๒๕]‎

อิบาดะฮ์และความสัมพันธ์กับพระเจ้า

เมื่ออิมามกำลังทำวุฎูอ์ และเตรียมนมาซ ขาของเขาจะสั่นและร่างกายของเขาจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซีด (๒๒๖) อบู ‎ค็อยษะมะฮ์ กล่าวว่า: เวลาที่อิมามฮะซัน (อ.) ยืนนมาซ เขาจะสวมเสื้อผ้าที่ดีที่สุด มีผู้ถามว่า ทำไมท่านจึงสวมเสื้อผ้าที่ดีที่สุด? เขากล่าวว่า พระเจ้าคือ ความสวยงามและพระองค์ทรงรักความสวยงาม ฉันชอบสวมเสื้อผ้าที่ดีที่สุดและประดับประดาต่อพระเจ้าของฉัน (๒๒๗) มีรายงานจากอิมามซัจญาด (อ.) ว่า อิมามฮะซันไม่ได้พบเห็นในสภาพใดเลย เว้นแต่ตอนที่เขารำลึกถึงพระเจ้า ผู้ทรงสูงส่ง [๒๒๘]‎

เขาไปประกอบพิธีฮัจญ์ด้วยการเดินเท้าหลายครั้ง

อิมามมุจญ์ตะบาอ์ (อ.) ไปประกอบพิธีฮัจญ์ ด้วยการเดินเท้าหลายครั้ง และมีรายงานว่า เขากล่าวว่า ฉันรู้สึกละอายใจต่อพระเจ้าของฉันขณะที่พบกับพระองค์ แต่ไม่ได้เดินไปที่บ้านของพระองค์ (๒๒๙) กล่าวว่ากันว่า เขาได้ไปประกอบพิธีฮัจญ์ ถึง ๑๕ ครั้ง [๒๓๐] หรือ ๒๐ [๒๓๑] หรือ ๒๕ ครั้ง [๒๓๒] ด้วยการเดินเท้า โดยมีอูฐที่ดีที่สุดที่ใช้ในการเดินทาง [๒๓๓]‎

ความสูงส่งทางสังคม

ลักษณะพิเศษทางสังคมของเขา ยังมีการกล่าวถึงในแหล่งที่มา:‎

ความอดทนของเขาได้รับการยกย่อง

ในแหล่งข้อมูลของอิสลาม มีรายงานเกี่ยวกับความอดทนของเขาและเรียกเขาว่า ผู้มีขันติธรรม (๒๓๔) ในบางแหล่งข้อมูลของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ มีการกล่าวถึง มัรวาน บิน ฮะกัม ซึ่งมีความเป็นศัตรูกับเขาและป้องกันห้ามไม่ให้เขาถูกฝังอยู่ข้างๆ ศาสดา ได้เข้าร่วมในพิธีแห่ศพของเขาและเป็นผู้แบกโลงศพ เมื่อมีการคัดค้านว่า เขาได้ทำร้ายฮะซัน บิน อะลี ในช่วงชีวิตของเขา เขากล่าวว่า ฉันกำลังทำร้ายผู้ที่มีความอดทนดุจดังภูเขา [๒๓๕]‎

มีรายงานว่า ชายชาวซีเรียเห็นอิมามฮะซัน (อ) และทำการสาปแช่งเขา หลังจากที่ชายคนนั้นเงียบลง อิมามมุจญ์ตะบา (อ.) ก็ทักทายเขาและพูดจาด้วยรอยยิ้มว่า คุณเป็นคนแปลกหน้าในเมืองนี้ จากนั้น เขาก็บอกว่าเราจะตอบสนองทุกความต้องการของคุณ ชายคนนั้นร้องไห้และกล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงทราบดีกว่า ควรวางภารกิจของเขาไว้ที่ใด ‎(๒๓๖) ใน เศาะลาวาต ของคอญิฮ์ นะศีรุดดีน ฏูซี ได้กล่าวอธิบายถึงคุณลักษณะของอิมามมะฮ์ดี (อ.) โดยถือว่าเขาเป็นผู้ที่รับความสูงส่งในการมีความอดทนมาจากอิมามฮะซัน (อ.) [ ต้องการแหล่งที่มา ]‎

ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และการช่วยเหลือผู้คนในหนทางของพระเจ้า

อิมามฮะซัน (อ.) บุตรชายของอิมามอะลี (อ.) และท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) เป็นที่รู้จักในเรื่องความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และการช่วยเหลือผู้คน แหล่งข้อมูลอิสลามได้กล่าวถึงอิมามฮะซัน (อ.) ว่า เป็นบุคคลที่มีความเอื้อเฟื้อและใจกว้าง และได้เรียกขานเขาด้วยคำว่า กะรีม (ผู้เอื้อเฟื้อ) ซะคีย์ (ผู้ใจกว้าง) และ ญะวาด (ผู้ให้) (๒๓๗) มีรายงานว่า เขาได้บริจาคทรัพย์สินทั้งหมดของท่านในหนทางของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ถึงสองครั้ง และยังได้แบ่งทรัพย์สินของเขาออกเป็นสองส่วนถึงสามครั้ง โดยแบ่งครึ่งหนึ่งเพื่อตนเองและอีกครึ่งหนึ่งเพื่อผู้ยากไร้ (๒๓๘)

ในหนังสือ มะนากิบ อิบนุชะฮ์ร ออชูบ ได้บันทึกไว้ว่า ในการเดินทางของอิมามฮะซัน (อ.) ไปยังชาม (ซีเรีย) มุอาวียะฮ์ได้มอบเอกสารที่ระบุถึงทรัพย์สินจำนวนมากให้แก่เขา เมื่อเขาออกจากที่พักของมุอาวียะฮ์ บ่าวคนหนึ่งได้ซ่อมรองเท้าให้เขาและเขาได้มอบเอกสารนั้นให้แก่บ่าวคนนั้น (๒๓๙) นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า เขาได้ยินชายคนหนึ่งขอให้อัลลอฮ์ทรงประทานเงินให้เขาจำนวน ๑๐,๐๐๐ ดิรฮัม เขาจึงกลับไปที่บ้านและส่งเงินจำนวนนั้นให้แก่ชายคนนั้น (๒๔๐)

อิมามฮะซัน (อ.) ยังได้รับการยกย่องว่า เป็นกะรีม อะฮ์ลุลบัยต์ (ผู้เอื้อเฟื้อแห่งวงศ์วานของศาสดา) (๒๔๑) แม้ว่า จะไม่มีคำกล่าวเช่นนี้ในฮะดีษก็ตาม

นอกจากนี้ ยังมีรายงานเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้คนของเขา แม้กระทั่ง การหยุดการอิอ์ติกาฟ และการเฏาะวาฟ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้อื่น โดยเขาอ้างถึงฮะดีษของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ.) ที่กล่าวว่า ผู้ใดที่ตอบสนองความต้องการของพี่น้องผู้ศรัทธา ก็เหมือนกับว่าเขาได้กระทำอะมั้ลอิบาดะฮ์เป็นเวลานาน (๒๔๒)

ความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ด้อยกว่า

อิมามฮะซัน (อ.) ยังได้รับการยกย่องในเรื่องความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ด้อยกว่า มีรายงานว่า เขาได้พบกับกลุ่มคนยากจนที่กำลังกินขนมปัง และเมื่อพวกเขาเชิญเขาให้ร่วมรับประทานอาหารด้วย เขาก็ลงจากหลังม้าและร่วมรับประทานอาหารกับพวกเขา จากนั้นเขาก็เชิญพวกเขาไปยังบ้านของท่านและมอบอาหารและเสื้อผ้าให้แก่พวกเขา(๒๔๓)

มีริวายะฮ์รายงานว่า บ่าวคนหนึ่งของอิมามฮะซัน (อ.) ได้กระทำความผิดที่สมควรได้รับการลงโทษ บ่าวคนนั้นได้พูดกับอิมามฮะซัน (อ.) ว่า: و العافین عن الناس (และบรรดาผู้ที่อภัยต่อผู้คน) อิมามฮะซัน (อ.) กล่าวว่า: ฉันให้อภัยเจ้าแล้ว บ่าวคนนั้นกล่าวต่อไปว่า: و الله یحب المحسنین (และอัลลอฮ์ทรงรักผู้กระทำความดี) อิมามฮะซัน (อ.) จึงกล่าวว่า : เจ้าเป็นอิสระในหนทางของอัลลอฮ์แล้ว และฉันจะมอบเงินให้เจ้าเป็นสองเท่าของค่าจ้างที่ฉันเคยให้เจ้า (๒๔๔)

มรดกทางจิตวิญญาณ

ได้มีการรวบรวมสุนทรพจน์ของอิมามฮะซัน (อ.) ไว้ในหนังสือ มุสนัดอัลอิมามอัลฮะซัน และมีรายงานว่า มีฮะดีษที่ถ่ายทอดมาจากเขาประมาณ ๒๕๐ ฮะดีษ (๒๔๕) ฮะดีษเหล่านี้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆ และบางส่วนเป็นสุนทรพจน์ของท่านเขา ในขณะที่บางส่วนเป็นสุนทรพจน์ของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ.) อิมามอะลี (อ.) และท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) (๒๔๖)

ในหนังสือ มุสนัดอัลอิมามอัลฮะซัน ได้รวบรวมสุนทรพจน์และจดหมายของอิมามฮะซัน (อ.) ไว้ในรูปแบบของคำปราศรัย คำสอน บทสนทนา บทดุอาอ์ การเสวนาวิชาการ และประเด็นทางหลักศรัทธาและนิติศาสตร์ พร้อมกับสายรายงาน (๒๔๗)

ในหนังสือ บะลาเฆาะตุลอิมามอัลฮะซัน ได้รวบรวมฮะดีษเหล่านี้พร้อมกับบทกวีที่กล่าวถึงอิมามฮะซัน (อ.)

อะฮ์มะดีย์ มียอนญี เขียนในหนังสือ มะกาตีบุลอะอิมมะฮ์ ได้ระบุจดหมาย ๑๕ ฉบับของอิมามฮะซัน (อ.) ซึ่งรวมถึงจดหมายถึงมุอาวียะฮ์ ๖ ฉบับ ถึง ซิยาด บิน อะบีฮ์ ๓ ฉบับ ถึงชาวกูฟะฮ์ ๑ ฉบับ และถึง ฮะซัน บัศรี ๑ ฉบับ (๒๔๘) มียอนญี ยังได้รวบรวมพินัยกรรม ๗ ฉบับของอิมามฮะซัน (อ.) ที่มอบให้แก่อิมามฮุเซน (อ.) มุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮ์ กอซิม บินฮะซัน และญุนาดะฮ์ บิน อะบี อะมัยยะฮ์ (๒๔๙)

อะซีซุลลอฮ์? อัฏฏอรดี ได้รวบรวมชื่อบุคคล ๑๓๘ คนที่รายงานฮะดีษจากอิมามฮะซัน (อ.) และเชคฏูซีย์ ได้ระบุชื่อเศาะฮาบะฮ์ของเขา ๔๑ คน (๒๕๐)

สุนทรพจน์บางส่วนของอิมามฮะซัน (อ.) มีดังนี้ :

ผู้ที่ไม่มีสติปัญญาก็ไม่มีมารยาท ผู้ที่ไม่มีจิตวิญญาณก็ไม่มีความเป็นสุภาพบุรุษ ผู้ที่ไม่มีศาสนาก็ไม่มีความละอาย สติปัญญาที่แท้จริง คือการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้คน ด้วยสติปัญญาของมนุษย์สามารถบรรลุทั้งสองโลก และผู้ที่ไม่มีสติปัญญาก็จะถูกกีดกันจากทั้งสองโลก (๒๕๑)

อย่าเป็นพี่น้องกับใคร จนกว่าท่านจะรู้ว่า เขามาจากไหนและกำลังไปที่ไหน (๒๕๒)

-อย่าตอบใครที่พูดก่อนที่จะทักทาย (๒๕๓)

จงปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างที่ท่านต้องการให้เขาปฏิบัติต่อท่าน (๒๕๔)

ในคำตอบต่อชายที่ถามเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างสัจธรรมและความเท็จ เขากล่าวว่า : สี่นิ้ว: สิ่งที่ท่านเห็นด้วยตาของท่าน คือ สัจธรรม และท่านอาจจะได้ยินเรื่องเท็จมากมายด้วยหูของท่าน (๒๕๕)

ในด้านวัฒนธรรมและศิลปะ

สถานภาพของอิมามที่สองของชีอะฮ์ได้รับการยกย่องในพิธีกรรมและผลงานศิลปะต่างๆ เช่น :

สำรับอาหารของอิมามฮะซัน (อ.) หนึ่งในพิธีกรรมทางศาสนาที่ปฏิบัติกันในอิหร่าน ซึ่งเป็นพิธีนี้ที่จัดขึ้นเพื่อขอพรและปฏิบัติตามสัตย์ปฏิญาณ ประวัติของพิธีกรรมนี้ย้อนกลับไปก่อนยุคราชวงศ์ศอฟะวียะฮ์ สิ่งของที่วางบนสำรับนี้ ควรเป็นสีเขียว และในระหว่างพิธีกรรม จะมีการอ่าน เราะเฎาะฮ์ เกี่ยวกับอิมามฮะซัน (อ.)

พิธีกรรมนี้ เป็นที่นิยมในหมู่สตรีเป็นหลัก นอกจากอาหารง่าย ๆ และหลากหลายที่วางบนสำรับแล้ว มักจะมีอัลกุรอาน เทียน พรมนมาซ และตัสบีห์ วางอยู่ด้วย พิธีกรรมนี้สะท้อนให้เห็นถึงความศรัทธาและความผูกพันทางจิตวิญญาณของผู้คนที่มีต่ออิมามฮะซัน (อ.) และเป็นการแสดงออกถึงความหวังและการขอความช่วยเหลือจากพระผู้เป็นเจ้าผ่านการปฏิบัติตามสัตย์ปฏิญาณ (๒๕๖) การประชุมนานาชาติเพื่อรำลึกถึงหลานชายของศาสดา

การประชุมนานาชาติเพื่อรำลึกถึงหลานชายของศาสดา จัดขึ้นในกรุงเตหะรานในเดือนทีร ปี ๑๓๙๓ปฏิทินอิหร่าน โดยสมัชชาอะฮ์ลุลบัยต์โลกและองค์กรอื่นๆ ในการประชุมนี้ มีการส่งบทความประมาณ ๑๓๐ บทความ และคัดเลือกบทความ ๗๐ บทความเพื่อดำเนินการจัดพิมพ์ (๒๕๗)

ซีรีส์ ผู้บัญชาการผู้โดดเดี่ยว

ซีรีส์ ผู้บัญชาการผู้โดดเดี่ยว ออกอากาศในปี ๑๓๗๕ ปฏิทินอิหร่าน ทางช่อง ๑ ของอิหร่าน ซีรีส์นี้ได้นำเสนอชีวิตของอิมามฮะซัน (อ.) และเรื่องราวของการทำสนธิสัญญาสันติภาพกับมุอาวียะฮ์ รวมถึงสภาพสังคมอิสลามและชีอะฮ์ในช่วงชีวิตของเขาและหลังจากที่เขาถูกสังหาร ซีรีส์นี้ ถือเป็นหนึ่งในผลงานที่สำคัญที่ช่วยให้ผู้ชมเข้าใจประวัติศาสตร์และบทบาทของอิมามฮะซัน (อ.) ในฐานะผู้นำทางศาสนาและการเมือง (๒๕๘)

หนังสืออ้างอิง

เกี่ยวกับอิมามฮะซัน (อ.) มีหนังสือและบทความอย่างมากมายที่ได้รับการจัดพิมพ์ ในบทความที่เขียนเกี่ยวกับ แหล่งอ้างอิงของอิมามฮะซัน (อ.) มีการระบุหนังสือประมาณ ๑๓๐ เล่ม ทั้งที่จัดพิมพ์และต้นฉบับ ในภาษาเปอร์เซีย อาหรับ ตุรกี และอูรดู (๒๕๙)

บางส่วนของผลงานที่สำคัญที่สุด มีดังนี้ :

อัคบารุลฮะซัน บิน อะลี ประพันธ์โดย ซุลัยมาน บิน อะห์มัด ฏ็อบรอนี (เสียชีวิต ๓๖๐ ฮ.ศ.)

อัลฮะยาตุซซิยาซียะฮ์ ลิลอิมามอัลฮะซัน (ชีวิตทางการเมืองของอิมามฮะซัน) ประพันธ์โดย ญะอ์ฟัร มุรตะฎอ อามิลี ฮะยาตุลอิมามอัลฮะซัน บิน อะลี (ชีวิตของอิมามฮะซัน บุตรชายของอะลี) ประพันธ์โดย บากิร ชะรีฟ อัลกุเราะชีย์

ศุลฮุลฮะซัน (สนธิสัญญาสันติภาพของอิมามฮะซัน) ประพันธ์โดย รอฎีย์ อาลิ ยา ซึ่งอายะตุลลอฮ์ ซัยยิดอะลี คาเมเนอี ได้แปลเป็นภาษาเปอร์เซียในปี ๑๓๔๗ ปฏิทินอิหร่าน ภายใต้ชื่อ ศุลเฮ อิมอมฮะซัน (สนธิสัญญาสันติภาพของอิมามฮะซัน (อ.) : การยอมจำนนอย่างกล้าหาญที่สุดในประวัติศาสตร์) (๒๖๐)

ชีวิตของอิมามฮะซัน เขียนโดย ฮาชิม เราะซูลี มุฮัลลาตี

ฮะซัน บุตรชายของอะลี : การศึกษาและการวิเคราะห์ เขียนโดย กามิล ซุลัยมาน

อิมามฮะซันและแนวทางการสร้างสังคม เขียนโดย ฮะซัน มูซา อัศศอฟฟาร

ผู้มีความอดทนแห่งวงศ์วานของศาสดา เขียนโดย มูซา มุฮัมมัด อะลี

อัลอิมามอัลมุจญ์ตะบา มะฮ์ญะตุก็อลบิลมุศฎอฟา (ศ็อลฯ) (อิมามฮะซัน (อ.): แก้วตาดวงใจของศาสดา (ศ็อลฯ.) ประพันธ์โดย อะห์มัด เราะห์มาน ฮะมะดานี และได้รับการแปลและสรุปโดย ฮุเซน อุสตาดวะลี จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มุนีร ในปี ๑๓๙๒ สารานุกรมสุนทรพจน์ของอิมามฮะซัน (อ.) ประพันธ์โดยคณะฮะดีษของสถาบันวิจัยบากิรุลอุลูม (อ.) และได้รับการแปลโดย อะลี มุอัยยิดีย์

นอกจากนี้ ยังมีรวมบทความการประชุมนานาชาติเพื่อรำลึกถึงหลานชายของศาสดา ซึ่งได้จัดพิมพ์ทั้งหมด ๓ เล่ม ด้วยกัน

ความจริงที่ถูกซ่อนเร้น: การศึกษาชีวประวัติทางการเมืองของอิมามฮะซัน (อ.) เขียนโดย อะห์มัด ซะมานี จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ บูสตานกิตาบ เมืองกุม พิมพ์ที่ ๘ ปี ๑๓๙๔

เชิงอรรถ

บรรณานุกรม