อิมามริฎอ (อ.)

จาก wikishia

อะลี บิน มูซา บิน ญะอ์ฟัร (อ.)หรือที่รู้จักในชื่อว่า อิมามริฎอ (ภาษาอาหรับ : الإمام علي الرضا عليه السلام ) ( ถือกำเนิด ๑๔๘- เสียชีวิต ๒๐๓ ฮ.ศ. ) เป็นอิมามคนที่แปดจากนิกายชีอะฮ์อิมามสิบสอง ตั้งแต่ ปี ๑๘๓ ฮ.ศ. เขาดำรงตำแหน่งอิมามของชีอะฮ์เป็นเวลาถึงยี่สิบปี และในยุคสมัยการเป็นอิมามของเขา ตรงกับการเป็นเคาะลีฟะฮ์ของฮารูน อับบาซีย์ ร่วมสมัยกับ มุฮัมมัด อะมีนและมะอ์มูน อับบาซีย์

ในช่วงปีสุดท้ายของชีวิต อิมามริฎอ (อ.) ถูกเรียกตัวจากเมืองมะดีนะฮ์ไปยังเมืองมัรว์ ในแคว้นคุรอซาน ตามคำสั่งของมะอ์มูน และเขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งมกุฎราชกุมารของมะอ์มูน นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการชีอะฮ์ ถือว่า การดำรงตำแหน่งมกุฎราชกุมารของอิมามริฎอ เป็นเหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเขา และกล่าวว่า อิมามยอมรับภารกิจนี้ ภายใต้การบังคับของมะอ์มูน ถึงแม้ว่า นักประวัติศาสตร์บางคน เชื่อว่า การเดินทางมายังอิหร่านของอิมามริฎอ (อ.) มีผลกระทบสำคัญต่อการขยายตัวของชีอะฮ์ในอิหร่าน เพราะว่าเมื่อเขาเข้ามาในอิหร่าน เขาได้พบปะกับผู้คนในทุกเมืองและได้ตอบคำตอบของพวกเขา บนพื้นฐานของฮะดีษของบรรดาอิมาม นอกจากนี้ ด้วยการเข้าร่วมในการเสวนาวิชาการกับบรรดานักวิชาการจากศาสนาและนิกายต่างๆ และความเหนือกว่าทางด้านความรู้ของเขา ทำให้สถานภาพทางความรู้ของเขา ในฐานะเป็นอิมามของชีอะฮ์ ได้ถูกเปิดเผยต่อสายตาของผู้คน

ในเมืองและในพื้นที่ต่างๆ ของอิหร่าน มีสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เช่น มัสญิดและสถานที่จารึกรอยเท้า ได้รับการตั้งชื่อด้วยชื่อของอิมามริฎอ ซึ่งสถานที่เหล่านี้ ซึ่งอยู่ในระหว่างทางไปยังเมืองมัรว์ และนี่ถือเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงอิทธิพลของอิมามริฎอ (อ.) ในการเดินทางมายังอิหร่านจากการขยายตัวของชีอะฮ์ในประเทศนี้

ฮะดีษที่เป็นที่รู้จักจากอิมามริฎอ (อ.) ในระหว่างการเดินทางไปยังอิหร่าน ซึ่งถูกรู้จักในชื่อว่า ซิลซิละตุซซะฮับ( สายโซ่ทอง ) เพราะว่าสายของผู้รายงานทั้งหมดล้วนเป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งสิ้น เขาได้รายงานฮะดีษอันศักดิ์สิทธิ์นี้ ในเมืองนีชาบูร โดยเขากล่าวอธิบายให้บรรดานักวิชาการกลุ่มหนึ่ง ณ สถานที่นั่นรับฟัง ในฮะดีษนี้ มีการแนะนำ หลักเตาฮีดแห่งป้อมปราการของพระเจ้า ผู้ใดก็ตามที่เข้าไปในนั้นจะปลอดภัย หลังจากนั้น ยังรายงานว่าแน่นอนว่า จะต้องมีเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ข้าพเจ้า ตามความคิดเห็นของบรรดานักวิชาการชีอะฮ์ส่วนใหญ่ อิมามริฎอ (อ.) ได้ถูกมะอ์มูนลอบวางยาพิษ เมื่ออายุ ๕๕ ปีในเมืองฏูซ และเป็นชะฮีด อีกทั้งร่างของเขาถูกนำไปฝังไว้ในสุสานฮารูนียะฮ์ ในหมู่บ้านซานาบาด เขาเป็นอิมามคนเดียวในบรรดาอิมามของชีอะฮ์ที่ถูกฝังในอิหร่าน ฮะรอมของอิมามริฎอ ในเมืองมัชฮัด เป็นหนึ่งในสถานที่แสวงบุญที่สำคัญที่สุดสำหรับชาวชีอะฮ์ ฮะรอมของฟาฏิมะฮ์ มะอ์ศูมะฮ์ น้องสาวของอิมาม ตั้งอยู่ในอิหร่าน ซึ่งถือเป็นฮะรอมมีชื่อเสียงที่สุดในประเทศนี้ รองจากฮะรอมของอิมามริฎอ

เกี่ยวกับอิมามริฎอ (อ.) มีการผลิตหนังสือและงานวรรณกรรมอย่างมากมาย เช่น บทกวี นวนิยาย และภาพยนตร์ บางส่วนซึ่งมีดังนี้: หนังสือ อัลฮะยาตุซซิยาซียะฮ์ ลิลอิมามอัรริฎอ (อ.) เขียนโดย ซัยยิดญะอ์ฟัร มุรตะฎอ อามิลี หนังสือ อัลอิมามอัรริฎอ ตารีคียุน วะดิราซะฮ์ เขียนโดย ซัยยิดมุฮัมมัดญะวาด ฟัฎลุลลอฮ์ หนังสือฮะยาตุลอิมาม อะลี ยิบนิ มูซา อัรริฎอ (อ.) ดิรอซะฮ์ วะตะห์ลีล เขียนโดย บากิร ชะรีพ กุเราะชี ฮิกมัตนอเมฮ์ ราซาวีย์ ผลงานของ มุฮัมมัด มุฮัมมะดี รัย ชะฮ์รี และผู้ร่วมงานของเขา บทกวีชิ้นส่วนหนึ่งแห่งสวรรค์ โดย ฮะบีบุลลอฮ์ ชอบเชยอน บทกวี บออาลิอะลี ฮัรเก อัร อุฟทอด วัร อัฟทอด โดย นะซีม ชุมาล และภาพวาด ซอมิน ออฮู โดย มะห์มูด ฟัรช์เชยอน

ภาพรวมของชีวประวัติ

อะลี บิน มูซา หรือที่รู้จักในชื่ออิมามริฎอ (อ.) เป็นอิมามคนที่แปดจากชีอะฮ์อิมามสิบสอง [๑] บิดาของเขา คือ มูซา บิน ญะอ์ฟัร (อ.) เป็นอิมามคนที่เจ็ดของบรรดาชีอะฮ์ และมารดาของเขา เป็นทาสหญิง ซึ่งเรียกนางว่า นัจญ์มะฮ์หรือ ตุกตัม [๒] มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับวันที่การถือกำเนิดและการเสียชีวิตของอิมามริฎอ (อ.) [๓] รวมทั้ง เขาถือกำเนิดเมื่อวันที่ 11 เดือนซุลฮิจญะฮ์หรือซุลเกาะดะฮ์หรือเราะบีอุลเอาวัลในปีที่148หรือ153 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช และเป็นชะฮีดในวันสุดท้ายของเดือนศอฟัรหรือวันที่ 17หรือ 21 เดือนรอมฎอนหรือวันที่ 18 ของเดือนญะมาดุลเอาวัล หรือวันที่ 23หรือวันสุดท้ายของซุลเกาะดะฮ์ในปีที่ 202หรือ203หรือ206 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช [๔]ซัยยิดญะอ์ฟัร มุรตะฎอ อามิลี กล่าวว่า บรรดานักวิชาการและนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า อิมามริฎอ (อ.) ถือกำเนิดในเมืองมะดีนะฮ์เมื่อปี 148 ฮ.ศ. และเสียชีวิตในปี 203 ฮ.ศ. [๕]

หลังจากการชะฮีดของบิดาของเขา อิมามริฎอ (อ.) ก็ได้รับตำแหน่งอิมามของบรรดาชีอะฮ์ ระยะเวลาการเป็นอิมามของเขา ๒๐ ปี ( ๑๘๓-๒๐๓ ฮ.ศ. ) ซึ่งตรงกับการเป็นเคาะลีฟะฮ์ของฮารูน อับบาซีย์ มุฮัมมัด อะมิน และมะอ์มูน [๖]

สมญานามและฉายานาม

สำหรับอะลี บิน มูซา มีการกล่าวถึงสมญานามต่างๆ เช่น ริฎอ ศอบิร เราะฎีย์ วะฟีย์ และซะกีย์ [๗]มีฮะดีษจากหนังสือ อิอ์ลามุลวะรอ ซึ่งเขียนโดยฟัฎล์ บิน ฮะซัน เฏาะบัรซี รายงานว่า อิมามกาซิม (อ.) ได้ตั้งสมญานามอิมามริฎอว่า อาลิมอาลิมุฮัมมัด (๘) อิมามริฎอ ยังถูกรู้จักด้วยสมญานามว่า ฎอมิน ออฮู (๙) อิมามเราะอูฟ (๑๐) เฆาะรีบุลฆุเราะบา (๑๑) ษามินุลฮุญัจ (๑๒) ษามินุลอะอิมมะฮ์ (๑๓) เช่นกัน

สมญานามที่เป็นที่รู้จักที่สุดของเขา คือ ริฎอ [๑๔] ซุยูฏี (๘๔๙-๙๑๑ ฮ.ศ.) หนึ่งในนักวิชาการอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ กล่าวว่า สมญานามนี้ มะอ์มูน เคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ (๑๕)ได้ตั้งชื่อให้กับเขา แต่ทว่าตามฮะดีษ ซึ่งรายงานจากเชคศอดูก มุฮัดดิษชีอะฮ์ในศตวรรษที่สี่แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช กล่าวว่า อิมามญะวาดถือว่า คำพูดนี้ไม่ถูกต้องและการเรียกสมญานามของบิดาของเขาว่า ริฎอ เพราะว่า เขามีความพึงพอใจกับความเป็นพระผู้เป็นเจ้าของอัลลอฮ์ในฟากฟ้า ความเป็นศาสดา และการเป็นอิมามของบรรดาอิมามในพื้นดิน ในฮะดีษนี้ ได้มีผู้ถามอิมามญะวาดว่า บรรดาอิมามอื่นๆ ก็เป็นเช่นนี้ด้วยเช่นกัน แล้วทำไมบิดาของท่านจึงได้รับสมญานามว่า ริฎอ ? อิมามญะวาดตอบว่า เพราะว่าทั้งมิตรและศัตรูต่างพึงพอใจกับเขา และสมญานามนี้ไม่ได้ถูกนำมาใช้กับบรรดาอิมามอื่นๆ แต่อย่างใด (๑๖)

ฉายานามของอิมามริฎอ คือ อบุลฮะซัน [๑๗] ตามฮะดีษที่เชคศอดุูกรายงานว่า อิมามกาซิม (อ.) ได้เรียกฉายานามนี้ให้เขา ซึ่งเป็นฉายานามของเขาด้วยเช่นกัน ๑๘] สำหรับความพิเศษของเขาจากอิมามกาซิม จึงเรียกอิมามริฎอว่า อะบุลฮะซัน อัษษานีย์ [๑๙] อิมามริฎอ ยังมีฉายานามว่า อะบูอะลี (๒๐) และอะบูมุฮัมมัด (๒๑)

ภรรยาและบุตร

ภรรยาของอิมามริฎอ ชื่อว่า ซะบีกะฮ์ อันนูบียะฮ์ [๒๒] หรือค็อยซุรอน [๒๓] ซึ่งเป็นมารดาของอิมามญะวาด (อ.) [๒๔] ในแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์และฮะดีษ มีการกล่าวถึงภรรยาอีกคนของอิมามริฎอและกล่าวว่ากันว่า นางเป็นบุตรสาวของมะอ์มูน [๒๕] ตามรายงานของเชคศอดูก ระบุว่า หลังจากที่มะอ์มูนได้แต่งตั้งอิมามริฎอให้ดำรงตำแหน่งเป็นมกุฎราชกุมาร เขาได้ทำการสมรสกับอุมมุฮะบีบะฮ์ บุตรสาวของเขา กับอิมามริฎอ (อ.) (๒๖)

เชคศอดูก เชคมุฟีด อิบนุชะฮ์ร ออชูบ และเฏาะบัรซี เขียนว่า อิมามริฎอ มีบุตรชายเพียงคนเดียว ซึ่งคือ อิมามญะวาด (๒๗) อย่างไรก็ตาม ซัยยิดมุห์ซิน อะมีน ผู้เขียนหนังสือ อะอ์ยานุชชีอะฮ์ เขียนว่า ในบางแหล่งข้อมูล มีการกล่าวถึงบุตรคนอื่น ๆ สำหรับเขา (๒๘)

ในกอซวิน มีฮะรอมแห่งหนึ่งที่เรียกชื่อว่า อิมามซอเดฮ์ฮุเซน ซึ่งมุสเตาฟีย์ นักประวัติศาสตร์แห่งศตวรรษที่แปด ถือว่า เขาเป็นบุตรชายของอิมามริฎอ (อ.) แน่นอนว่า กิยาอ์ กีลานีย์ นักรายงานนะซับ (วงศ์ตระกูล) บอกว่า เชื้อสายของเขาสืบไปถึงญะอ์ฟัร อัฏฏ็อยยาร (๓๐)ในบางแหล่งข้อมูล ถือว่า เขาเป็นน้องชายของอิมามริฎอ (อ.) ด้วยเช่นกัน [๓๑]

บรรดาพี่น้อง

อิบรอฮีม ชาห์เฉร็อฆ ฮัมซะฮ์ และอิสฮาก ในหมู่พี่น้องของเขา และฟาฏิมะฮ์ มะอ์ศูมะฮ์ และฮากีมะฮ์ เป็นน้องสาวของอิมามริฎอ (อ.) ในหมู่พี่น้องของอิมามริฎอ (อ.) (๓๒) ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ มะอ์ศูมะฮ์ ถือเป็นที่รู้จักมากที่สุด ซึ่งบรรดานักวิชาการชีอะฮ์ ถือว่า สำหรับนางนั้นมีสถานภาพที่สูงส่ง และมีริวายะฮ์ต่างๆที่รายงานเกี่ยวกับสถานภาพและความสำคัญในการซิยาเราะฮ์ท่านหญิง (๓๓) ท่านหญิงถูกนำไปฝังอยู่ในอิหร่านและในเมืองกุม ฮะรอมของ ท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ ถือเป็นฮะรอมที่ยิ่งใหญ่และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในอิหร่าน หลังจากฮะรอมของอิมามริฎอ (๓๔)

นัศเกี่ยวกับการเป็นอิมามะฮ์ของอิมามริฎอ (อ.)

จากทัศนะของชีอะฮ์ อิมามถูกกำหนดโดยพระเจ้า และวิธีหนึ่งที่จะรู้จักเขา คือ การมีนัศ หมายถึง การเปิดเผยของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) หรืออิมามคนก่อน ในการประกาศตำแหน่งอิมามะฮ์ของอิมามภายหลังเขา (๓๕) ในหนังสือฮะดีษชีอะฮ์ มีฮะดีษต่างๆที่รายงานจากอิมามกาซิม (อ.) ในการเปิดเผยถึงการเป็นอิมามะฮ์ของอิมามริฎอ (อ.) ตัวอย่างเช่น ในหนังสือของอัลกาฟีย์ [๓๖] อัลอิรชาด [๓๗] อิอ์ลามุลวะรอ [๓๘] และบิฮารุลอันวาร [๓๙]บางส่วนของนัศเกี่ยวกับการเป็นอิมามะฮ์ของอิมามริฎอ ซึ่งมีการรวบรวมริวายะฮ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างเช่น กุลัยนีย์ได้กล่าวในริวายะฮ์ว่า ดาวูด อัลร็อกกี ได้ถามอิมามกาซิม (อ.) เกี่ยวกับอิมามภายหลังเขา และเขาชี้ไปยังอิมามริฎอ และกล่าวว่า นี่คืออิมามของพวกท่าน หลังจากฉัน (๔๐) เชคมุฟีด ยังรายงานฮะดีษจากมุฮัมมัด บิน อิสฮาก กล่าวว่า ฉันได้ถามอิมามกาซิม ท่านจะไม่บอกฉันหรือว่า ฉันปฏิบัติตามศาสนาของฉันจากผู้ใด? เขาตอบว่า จากอะลี บุตรชายของฉัน (อิมามริฎอ) วันหนึ่ง บิดาของฉัน (อิมามศอดิก) ได้จับมือฉัน และพาฉันไปที่หลุมศพของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และกล่าวว่า โอ้ลูกรัก พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสว่า ฉันจะแต่งตั้งผู้สืบทอดในโลกนี้ และเมื่อพระเจ้าทรงสัญญาไว้ (๔๑)พระองค์จะทรงทำให้สำเร็จ (๔๒)

ช่วงสมัยของการเป็นอิมาม (อิมามะฮ์)

ช่วงแรกของการเป็นอิมามของอิมามริฎอ เกิดขึ้นพร้อมกับการเป็นเคาะลีฟะฮ์ของฮารุูน อัรรอชีด ผู้ซึ่งสังหารอิมามกาซิม ตามที่คำกล่าวของบรรดานักวิจัย ระบุว่า ฮารุูนไม่ได้รังแกอิมามริฎอเนื่องจากเขามีความกังวลเกี่ยวกับผลที่ตามมาจากการสังหารอิมามกาซิม ด้วยเหตุนี้เอง อิมามริฎอจึงมีอิสระเสรีมากกว่า และไม่มีการตะกียะฮ์ และเชิญชวนประชาชนให้รู้จักอิมามะฮ์อย่างเปิดเผย (๔๓) กุลัยนีย์ เขียนในอัลกาฟีย์ว่า มีริวายะฮ์รายงานจากมุฮัมมัด บิน ซินาน กล่าวกับ อิมามริฎอ (อ.)ว่า โดยการเชิญชวนอย่างเปิดเผยถึงอิมามะฮ์ ท่านได้เปิดเผยตัวเองต่อสาธารณะและทำให้ตัวเองนั้นเสี่ยงต่อการถูกสังหาร อิมามริฎอ (อ.) กล่าวตอบว่า ดังที่ท่านศาสดากล่าวว่า หากอบูญะฮ์ล ตัดเส้นผมจากศีรษะของฉัน ท่านจะต้องยืนยันว่า ฉันไม่ใช่ศาสดา ฉันก็บอกท่านด้วยว่า หากฮารูนตัดเส้นผมจากศีรษะของฉัน ท่านจะต้องยืนยันว่า ฉันไม่ใช่อิมาม (๔๔)

การเกิดขึ้นของสำนักคิดวากิฟียะฮ์

เราะซูล ญะอ์ฟะรียอน นักวิจัยประวัติศาสตร์ กล่าวว่า หลังจากการเป็นชะฮีดของอิมามกาซิม (อ.) เนื่องจากเหตุผลต่างๆ เช่น การมีหลักตะกียะฮ์ การฉวยโอกาสของบางคนที่ได้รับทรัพย์สินจากอิมามกาซิม (อ.) และการมีริวายะฮ์ต่างๆที่ไม่ถูกต้อง มีการโต้เถียงกันในหมู่ชาวชีอะฮ์เกี่ยวกับผู้สืบทอดของเขา (๔๕) ในระหว่างนี้ สำนักคิดหนึ่งได้ก่อตั้งขึ้นในชีอะฮ์ที่เชื่อว่า อิมามกาซิม(อ.) ยังไม่ตายและจะเป็นมะฮ์ดีที่ถูกสัญญาไว้ กลุ่มนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ วากิฟียะฮ์ [๔๖] แน่นอนว่า บรรดาอัศฮาบส่วนใหญ่ของอิมามกาซิมต่างยอมรับในการเป็นอิมามะฮ์ของอิมามริฎอ (อ.) (๔๗)

ตำแหน่งมกุฏราชกุมาร

การดำรงตำแหน่งมกุฏราชกุมารของอิมามริฎอ (อ.) ถือเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในช่วงชีวิตทางการเมืองของเขา [๔๘] เหตุการณ์นี้ เป็นหนึ่งในประเด็นที่มีการถกเถียงกันในประวัติศาสตร์อิสลาม ซึ่งมีความสำคัญทั้งทางการเมืองและทางเทววิทยา(การปฏิเสธการยอมรับตำแหน่งมกุฏราชกุมาร (๔๙) กับความเป็นมะอ์ศูมของอิมาม) (๕๐)

เชคมุฟีด นักศาสนศาสตร์และนักนิติศาสตร์ชาวชีอะฮ์ (เสียชีวิต: 413 ฮ.ศ.) กล่าวว่า มะอ์มูนบีบบังคับให้อิมามริฎอต้องยอมรับในตำแหน่งมกุฏราชกุมารโดยขู่ว่าจะสังหารเขา (๕๑) ในทางตรงกันข้าม อิมามริฎอจึงตั้งเงื่อนไขว่า เขาจะไม่ยุ่งเกี่ยวในกิจการการปกครองแต่อย่างใด [๕๒] ด้วยเหตุนี้ อิมามริฎอจึงถูกย้ายตัวจากเมืองมะดีนะฮ์มายังเมืองมัรว์ ในคุรอซาน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในการปกครองของมะอ์มูน (๕๓)

บรรดานักวิชาการชาวชีอะฮ์ กล่าวว่า มะอ์มูนแต่งตั้งให้อิมามริฎอ (อ.) (๕๔) เป็นมกุฏราชกุมาร เพื่อต้องการให้อิมามตกอยู่ในการควบคุมของเขา [54] เพื่อปิดปากการปฏิวัติของพวกอะละวีย์ [๕๕] และการทำให้ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของเขามีความชอบธรรม จึงได้ทำการแต่งตั้งมกุฏราชกุมาร [๕๖]

ในวันที่ 7 ของเดือนรอมฎอน ฮ.ศ. 2014 มะอ์มูนได้จัดพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งมกุฏราชกุมาร และประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ให้คำมั่นว่าจะจงรักภักดีต่ออิมามริฎอ [๕๗] หลังจากนั้น ตามคำสั่งของมะอ์มุูน มีการอ่านคำเทศนาด้วยชื่อของอิมามและเหรียญกษาปณ์ถูกสร้างขึ้นในนามของท่าน[๕๘]

กล่าวกันได้ว่า อิมามริฎอ (อ.) ได้ใช้โอกาสจากสถานการณ์นี้เพื่อเป็นประโยชน์กับชีอะฮ์ และเชาสามารถอธิบายคำสอนหลายประการของอะฮฺลุลบัยต์ (อ.) ต่อสาธารณชนทั่วไปได้อีกด้วย (๕๙)

ฮะดีษซิลซิละตุซซะฮับ

บรรดานักรายงานฮะดีษ เช่น เชคศอดูกและเชคฏูซีย์ กล่าวไว้ว่า อิมามริฎอ อยู่ในระหว่างการเดินทางของเขาไปยังเมืองมัรว์ ขณะที่เขาเดินทางผ่านเมืองนีชาบูร บรรดานักวิชาการในเมืองนี้ได้ร้องขอให้อิมามกล่าวฮะดีษหนึ่ง (๖๐) ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อฮะดีษซิลซิละตุซซะฮับ (๖๑) คาดว่า สาเหตุของการเป็นที่รู้จักชื่อของฮะดีษนี้ เป็นซิลซิละตุซซะฮับ เพราะว่า สายรายงานทั้งหมดของฮะดีษนี้ ไปยังมะอ์ศูมทั้งหมด หรือเพราะว่า กษัตริย์คนหนึ่งของราชวงศ์ซามานี ได้เขียนฮะดีษนี้ด้วยทองคำ และสั่งว่าให้ฝังมันพร้อมกับเขา เมื่อเขาเสียชีวิต (๖๒) ฮะดีษซิลซิละตุซซะฮับ ได้รายงานจากเชคศอดูก ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

อัลลอฮ์ ผู้ทรงเกียรติและผู้ทรงยิ่งใหญ่ ตรัสว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮ์ เป็นป้อมปราการของฉัน ดังนั้น ผู้ใดที่เข้าในปราการของฉัน เขาจะได้รับการปลอดภัยจากการลงโทษของฉัน ครั้นเมื่อพาหนะได้เดินทางต่อไป อิมามริฎอ (อ.) ได้กล่าวกับพวกเราว่า ด้วยเงื่อนไขต่างๆของมัน และฉันเป็นหนึ่งในเงื่อนไขเหล่านั้น (๖๓)

นมาซอีดฟิฏร์

เหตุการณ์การนมาซอีดฟิฏร์ของอิมามริฎอ (อ.) ได้รับการรายงานในหนังสือฮะดีษ เช่น อัลกาฟีย์ และอุยูนอัคบารุรริฎอ (๖๔) ตามรายงานนี้ หลังจากการเป็นมกุฏราชกุมารของอิมามริฎอ มะอ์มูนต้องการให้อิมามทำนมาซอีดฟิฏร์ แต่อิมามบอกว่า เงื่อนไขในการยอมรับตำแหน่งมกุฏราชกุมาร คือ การไม่ยุ่งเกี่ยวกับกิจการของเคาะลีฟะฮ์ และอิมามก็ไม่ยอมรับ แต่หลังจากการยืนกรานของมะอ์มูน อิมามก็กล่าวกับเขาว่า ฉันจะไปนมาซเหมือนศาสนทูตของอัลลอฮ์และอิมามอะลี (อ.) ซึ่งมะอ์มูนก็ยอมรับ (๖๕)

ในช่วงเช้าของวันอีด อิมามริฎอได้ทำฆุซุลและสวมผ้าโพกศีรษะสีขาวและออกไปพร้อมกับบรรดาสหายของเขาด้วยเท้าเปล่า และเริ่มกล่าวตักบีร หลังจากนั้น เขาก็เดินต่อไป และประชาชนก็เดินไปพร้อมกับเขา ทุกสิบก้าว เขาจะหยุดและกล่าวตักบีรสามครั้ง ทั่วทั้งเมืองได้รับอิทธิพลจากการกระทำนี้ของอิมาม จนพวกเขาร่ำไห้ออกมา เมื่อข่าวนี้ไปถึงมะอ์มูน ฟัฎล์ บิน ซะฮ์ล ราชมนตรีของมะอ์มูน ได้บอกกับเขาว่า หากปล่อยให้อิมามริฎออยู่ในสภาพเช่นนี้ จนถึงสถานที่นมาซ แน่นอนว่า ประชาชนทั้งเมืองจะเข้าร่วมกับเขา และต่อต้านท่าน เพื่อความเหมาะสมเห็นว่า ท่านควรเรียกตัวให้เขากลับมา ด้วยเหตุนี้ มะอ์มูนจึงส่งทหารนายหนึ่งไปยังอิมามริฎอ เพื่อเรียกตัวให้เขากลับใส อิมามจึงสวมรองเท้าและกลับไปยังบ้านของเขา (๖๖)

เราะซูล ญะอ์ฟะรียอน นักวิจัยประวัติศาสตร์ ถือว่า เหตุการณ์เป็นหนึ่งในสาเหตุของความสัมพันธ์อันมืดมนระหว่างมะอ์มูนและอิมามริฎอ (อ.) (๖๗)

อิทธิพลของอิมามริฎอ (อ.) จากการขยายตัวของชีอะฮ์ในอิหร่าน

อิมามริฎอ (อ.) เป็นอิมามของชีอะฮ์เพียงคนเดียวที่ถูกฝังอยู่ในอิหร่าน [๖๘] เราะซูล ญะอ์ฟะรียอน ถือว่า การเดินมายังของอิมามริฎอ (อ.)ในอิหร่าน เป็นหนึ่งในปัจจัยของการขยายตัวของชีอะฮ์ในประเทศนี้ เขาได้รับรายงานจากเชคศอดูก กล่าวว่า อิมามริฎอ (อ.) ซึ่งในระหว่างเดินทางจากเมืองมะดีนะฮ์ไปยังเมืองมัรว์ ในแต่ละเมืองของอิหร่านที่เขาอาศัยอยู่ ประชาชนจะเข้ามาหาเขาและได้ถามคำถามจากเขา และอิมามริฎอ (อ.) ก็จะตอบคำถามตามฮะดีษที่ว่า ผู้รายงานของสายรายงานนั้นได้รับการถ่ายทอดของพวกเขา มาจากอิมามก่อนหน้าเขา จนถึงอิมามอะลี (อ.) และศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และการอ้างอิงถึงบรรดาอิมามเหล่านี้ เป็นหนึ่งในปัจจัยในการขยายแนวความคิดของชาวชีอะฮ์ (๖๙)

ตามคำกล่าวของเขา การดำรงอยู่ของอิมามในแคว้นคุรอซาน เป็นสาเหตุทำให้ประชาชนส่วนมากรู้จักบุคลิกภาพของเขาในฐานะเป็นอิมามของบรรดาชีอะฮ์ และด้วยเหตุนี้จึงมีผู้ที่มีความสนใจและศรัทธาในชีอะฮ์เพิ่มมากขึ้นในแต่ละวัน เขาถือว่า เป็นผู้ที่มีสถานภาพอันสูงส่งทางความรู้และความเป็นลูกหลานของอิมามอะลี ยังเป็นปัจจัยให้มีการขยายตัวของมัสฮับชีอะฮ์ในอิหร่านอย่างกว้างขวาง (๗๐) นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมของอิหม่ามในการเสวนาวิชาการที่มะอ์มุูนจัดขึ้นระหว่างอิมามกับฝ่ายตรงข้ามของเขาในประเด็นอิมามะฮ์และการเป็นศาสดา และความสูงส่งเหนือกว่าของอิมามแสดงให้เห็นถึงบุคลิกภาพทางวิชาการของอิมามที่มีต่อประชาชน หลักฐานยืนยันประการหนึ่งในบริบทนี้ คือ ฮะดีษที่มีการรายงานจากเชคศอดูก และตามฮะดีษ รายงานว่า มะอ์มูนได้รับแจ้งว่า อิมามริฎอ กำลังจัดการประชุมทางศาสนา และมีประชาชนให้ความสนใจต่อเขา และมะอ์มูนจึงสั่งให้ขับไล่ผู้คนออกจากการประชุมของอิมาม [๗๑]

ในเมืองและพื้นที่ต่างๆ ของอิหร่าน สิ่งปลูกสร้างอื่นๆ เช่น มัสญิด ห้องอาบน้ำ และสถานที่จารึกรอยเท้า ถูกตั้งชื่อด้วยนามของอิมาม ซึ่งถือเป็นสถานที่พักอาศัยของเขาขณะที่เดินทางไปยังเมืองมัรว์ และญะอ์ฟะรียอน เชื่อว่า นี่เป็นหลักฐานยืนยันการมีอิทธิพลของการเดินทางมายังอิหร่านของอิมามริฎอ (อ.) ในการขยายตัวของชีอะฮ์ในประเทศนี้ [๗๒] สิ่งปลูกสร้างต่างๆ เช่น มัสญิดอิมามริฎอในเมืองอะห์วาซ สถานที่จารึกรอยเท้าของอิมามในเมืองต่างๆ เช่น ชูชตัร เดซฟูล ยัซด์ ดามฆอน และนีชาบูร รวมทั้งห้องอาบน้ำในเมืองนีชาบูรอีกด้วย [๗๓] เขายังเขียนอีกว่าถึงแม้สถานที่เหล่านี้บางแห่งจะเกี่ยวข้องกับอิมามริฎอ (อ.) ก็ตาม อาจไม่เป็นความจริง แต่แสดงให้เห็นถึงความสนใจของชาวชีอะฮ์ในอิหร่าน[๗๔]

วิธีการเป็นชะฮีด

มีรายงานที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการเป็นชะฮีดของอิมามริฎอ ซัยยิดญะอ์ฟัร มุรตะฎอ อามิลี (เสียชีวิต: 1441 ฮ.ศ. ) นักประวัติศาสตร์ ได้เขียนว่า บรรดานักวิชาการชีอะฮ์ ยกเว้นเพียงไม่กี่คนยอมรับว่า อิมามริฎอถูกสังหารโดยคำสั่งของมะอ์มูน นอกจากนี้ นักวิชาการและนักประวัติศาสตร์ชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์หลายคนเชื่อ หรือมีแนวโน้มมากกว่าว่า เขาจะไม่เสียชีวิตโดยธรรมชาติ (๗๕) จากหนังสือประวัติศาสตร์ยะอ์กูบี (ประพันธ์: ศตวรรษที่ 3 ฮ.ศ.) มะอ์มูนได้เดินทางออกจากเมืองมัรว์ ด้วยความตั้งใจที่จะเดินทางไปยังกรุงแบกแดดและเขาได้ให้อิมามริฎอ ซึ่งเป็นมกุฎราชกุมารของเขาเดินทางร่วมไปด้วย [๗๖] เมื่อพวกเขาเดินทางไปถึงเมืองฏูซ อิมามริฎอก็ล้มป่วยและหลังจากนั้นสามวัน อิมามก็เสียชีวิตในหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อว่า โนกอน นอกจากนี้ เขายังเขียนด้วยว่า มีการกล่าวกันว่า อะลี บิน ฮิชาม นายพลของมะอ์มุูน ได้ลอบวางยาพิษอิมามด้วยผลทับทิม [๗๗ เฏาะบะรี นักประวัติศาสตร์ชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ ในหนังสือประวัติศาสตร์ของเขา (ประพันธ์: ๓๐๓ ฮ.ศ.) เพียงรายงานว่า อิมามริฎอกำลังรับประทานผลองุ่น ซึ่งเขาก็เสียชีวิตอย่างกะทันหัน [๗๘]

เชคมุฟีด นักศาสนศาสตร์และนักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ เขียนในหนังสือ ตัศฮีห์อัลอิอ์ติกอด ว่า มีการกล่าวด้วยความสงสัยเกี่ยวกับการสังหารอิมามริฎอ (อ.) แต่คาดว่า มีความเป็นไปได้ในการถูกสังหารของเขานั้นรุนแรงมาก [๗๙] แต่ในหนังสือเล่มอื่นๆของเขา เช่น อัลอิรชาด ระบุว่า มีริวายะฮ์รายงานว่าอิมามริฎอ (อ.) ถูกลอบวางยาพิษด้วยน้ำทับทิมโดยคำสั่งของมะอ์มูน (๘๐) เชคศอดูก กล่าวว่า มีริวายะฮ์ต่างๆ รายงานด้วยเช่นกันว่า มะอ์มูนเป็นผู้ลอบวางยาพิษด้วยองุ่น (๘๑) หรือทับทิม (๘๒) หรือทั้งสองอย่าง (๘๓) สำหรับการพิสูจน์ถึงการเป็นชะฮีดของอิมามริฎอ (อ.) มีริวายะฮ์รายงานว่า ไม่มีผู้ใดจากพวกเรา นอกจาก การถูกสังหาร การเป็นชะฮีด (๘๔) ซึ่งบ่งบอกถึงการเป็นชะฮีดทั้งหมดของบรรดาอิมาม ถือเป็นหลักฐานด้วยเช่นกัน (๘๕)

ฮะร็อมอิมามริฎอ

หลังจากการเป็นชะฮีดของอิมามริฎอ (อ.) มะอ์มุูนได้ฝังร่างของเขาไว้ในสวนหรือดารุลอิมาเราะฮ์ของฮุมัยด์ บิน เกาะห์เฏาะบาฮ์ ฏออี หนึ่งในผู้บัญชาการของอับบาซียะฮ์ ใกล้กับหมู่บ้านซานาบาด ก่อนหน้านั้น ฮารูน เคาะลีฟะฮ์อับบาซีฮารุน บิดาของมะอ์มุูน ได้ถูกฝังไว้ ณ ที่นั่น และด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่รู้จักในนามสุสานฮารูนียะฮ์ [๘๖] อิมามริฎอ (อ.) ถือเป็นอิหม่ามเพียงคนเดียวที่ถูกฝังในประเทศอิหร่าน (๘๗)

มีการเขียนไว้ว่า ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา หลุมฝังศพของอิมามริฎอ เป็นที่เคารพรักของชาวมุสลิมทุกคนในภูมิภาคคุรอซาน และนอกจากชาวชีอะฮ์แล้ว ชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ยังมาเยี่ยมสุสานของเขาอีกด้วย [๘๘]

หลุมฝังศพของอิมามริฎอ (อ.) ค่อยๆ กลายเป็นหนึ่งในสถานที่ซิยาเราะฮ์ของโลกอิสลาม โดยเฉพาะชาวชีอะฮ์ การซิยาเราะฮ์อิมามริฎอ (อ.) เป็นหนึ่งในความเชื่อที่สำคัญที่สุดในชีวิตของประชาชน สถานที่ฝังศพของอิมามริฎอ (อ.) เป็นที่รู้จักในชื่อ มัชฮะดุรริฎอ และปัจจุบันนี้ เรียกว่าเมืองมัชฮัด พวกเขากล่าวว่าเนื่องจากการต้อนรับในการซิยาเราะฮ์อิมามริฎอ เป็นอย่างดีเยี่ยม เมืองมัชฮัด จึงเป็นที่รู้จักในฐานะเมืองที่สองแแห่งการแสวงบุญของโลก (๘๙)

อัศฮาบ

เชคฏูซีย์ เขียนในหนังสือ ริญาลของเขาว่า มีการกล่าวชื่อของอัศฮาบของอิมามริฎอ (อ.) ประมาณ 320 คน (๙๐) และบางแหล่งข้อมูล ระบุว่า มีจำนวนอื่นๆ ในบริบทนี้ (๙๑) มุฮัมมัดมะฮ์ดี นะญัฟ เขียนในหนังสือ อัลญามิอ์ ลิรุวาติอัศฮาบอัลอิมามริฎอ จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ว่า จำนวน 831 คน ในฐานะเป็นรอวีย์ (ผู้รายงาน)และอัศฮาบของอิมามริฎอ (๙๒) และบางส่วนจากบรรดาอัศฮาบ ซึ่งเชคฏูซีย์ รายงานว่า

ยูนุส บิน อับดุรเราะห์มาน อะห์มัด บิน อะบีนัศร์ บะซันฏี ซะกะรียา บิน อาดัม ศ็อฟวาน บิน ยะห์ยา ฮัมมาด บิน อุษมาน ซะกะรียา บิน อิดรีส อัชอะรีย์ กุมมีย์ มุฮัมมัด บิน อะบีอุมัยร์ อะห์มัด บิน มุฮัมมัด บิน อีซา อัชอะรีย์ ดะอ์บัล คุซาอี อับดุลลอฮ์ บิน มุฆ็อยเราะฮ์ อิสฮาก บิน มูซา บิน ญะอ์ฟัร อะลี บิน อิสมาอีล มัยษะมี ฮะซัน บิน มะฮ์บูบ อิบรอฮีม บิน ฮาชิม กุมมีย์ ร็อยยาน บิน ศ็อลต์ (๙๓) อะลี บิน มะฮ์ริยาร อะฮ์วาซี

มุฮัมมัด บิน อุมัร กัชชี หนึ่งในนักริญาลของชีอะฮ์ ในศตวรรษที่สี่ เขียนว่า บรรดาอัศฮาบของอิมามริฎอ จำนวน หก คน เป็นอัศฮาบอิจญ์มาอ์ ประกอบด้วย ยูนุส บิน อับดุรเราะห์มาน ศ็อฟวาน บิน ยะห์ยา อิบนุอะบีอุมัยร์ อับดุลลอฮ์ บิน มุฆ็อยเราะฮ์ ฮะซัน บิน มะห์บูบ อะห์มัด บิน อะบีนัศน์ บะซันฏี (๙๔)

หนังสือที่เกี่ยวกับอิมามริฎอ (อ.)

นอกเหนือจากฮะดีษ ซึ่งมีรายงานจากอิมามริฎอ (อ.) ในหนังสือสายฮะดีษแล้ว ยังมีการประพันธ์หนังสือต่างๆที่เกี่ยวกับอิมามริฎอ (อ.)อีกด้วย แน่นอนว่า บรรดานักวิชาการชาวชีอะฮ์ต่างมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความถูกต้องของความเกี่ยวข้องของหนังสือเหล่านี้ไปยังอิมามริฎอ (อ.)

ฏิบบุรริฎอ หรือ ริซาละฮ์ ซะฮะบียะฮ์ เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับประเด็นทางการแพทย์ พวกเขากล่าวว่า ฏิบบุรริฎอ ที่เป็นที่รู้จักของบรรดานักวิชาการชีอะฮ์ และเป็นที่ยอมรับของพวกเขาอีกด้วย (๙๕) เศาะฮีฟะตุรริฎอ เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับประเด็นทางนิติศาสตร์ ซึ่งส่วนมากของบรรดานักวิชาการชีอะฮ์ ไม่ได้รับการยืนยันว่า หนังสือนี้มีความเกี่ยวข้องกับอิมามริฎอ (อ.) (๙๖) อัลฟิกฮุรเราะเฎาะวีย์ ซัยยิดมุฮัมมัดญะวาด ฟัฎลุลลอฮ์ กล่าวว่า ส่วนมากของนักวิชาการชีอะฮ์ไม่ยอมรับว่า หนังสือนี้เกี่ยวข้องกับอิมามริฎอ (อ.) แน่นอนในหมู่เหล่านี้ มีกลุ่มหนึ่ง เช่น มุฮัมมัดบากิร มัจญ์ลิซี มุฮัมมัดตะกี มัจญ์ลิซี บะห์รุลอุลูม ยูซุฟ บะห์รอนี รู้จักในชื่อ ศอฮิบฮะดาอิก (ผู้ประพันธ์หนังสือ อัลฮะดาอิก ) และมุฮัดดิษนูรี พวกเขาเหล่านี้เชื่อว่า หนังสือนี้เขียนโดยอิมามริฎอ (อ.) (๙๗) มะห์ฎุลอิสลาม วะ ชะรออิอุดดีน เชคศอดูก รายงานว่า หนังสือนี้มาจากฟัฎล์ บิน ชาซาน แต่เนื่องจากความไม่น่าเชื่อถือของบรรดาผู้รายงานสายรายงาน และนอกเหนือจากการมีบางประเด็นที่จขัดแย้งกับหลักการปฏิบัติของมุสลิม เขากล่าวว่า เราไม่เชื่อว่า หนังสือเล่มนี้มาจากอิมามริฎอ (อ.) (๙๘)