อาคิเราะฮ์

จาก wikishia

อาคิเราะฮ์ (ปรโลก) (ภาษาอาหรับ : الآخرة) หมายถึง โลกหลังความตาย ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากโลกนี้ อาคิเราะฮ์ ตรงกันข้ามกับชีวิตในโลกนี้ การมีความเชื่อในอาคิเราะฮ์ ถือเป็นรากฐานของศาสนา และผู้ใดก็ตามที่ไม่มีความเชื่อในประเด็นนี้ ไม่ถือว่า เขาเป็น มุสลิม อัลกุรอาน ได้ให้ความสำคัญในอาคิเราะฮ์เป็นอย่างมาก และการมีความเชื่อในอาคิเราะฮ์ ถือเป็นหลักการของการเชิญชวนของบรรดาศาสดาทั้งหมด กล่าวได้ว่า มีโองการอัลกุรอานมากกว่า 1 ส่วน 3 ได้กล่าวถึงอาคิเราะฮ์

ในหนังสือต่างๆที่เกี่ยวกับหลัก ศรัทธา ชาวมุสลิมเรียกอาคิเราะฮ์ว่า มะอาด ซึ่งได้มีการพิสูจน์ด้วยเหตุผลเชิงการรายงาน (นักลีย์) และด้านสติปัญญา (อักลี)

บรรดาผู้รู้ชาวมุสลิม ด้วยการอ้างอิงจากโองการอัลกุรอาน ถือว่า อาคิเราะฮ์ เป็นโลกที่มีความแตกต่างจากโลกนี้อย่างสิ้นเชิง และยังมีการกล่าวถึงคุณลักษณะของมันอีกด้วย เช่น ความเป็นนิรันดร การแยกผู้ที่กระทำความดีออกจากผู้ที่กระทำความชั่ว การได้รับผลของการกระทำและการได้รับประโยชน์จากนิอ์มัตต่างๆตามความเหมาะสม

นักวิชาการมุสลิมบางคน เชื่อว่า อาคิเราะฮ์ เริ่มขึ้น หลังจากที่โลกนี้ได้พบความสิ้นสุด แต่ทว่าอีกกลุ่มหนึ่งมีความเชื่อว่า ขณะนี้ โลกอาคิเราะฮ์ เกิดขึ้นท่ามกลางโลกนี้

อาคิเราะฮ์ คือ อะไร

อาคิเราะฮ์ในเชิงภาษา หมายถึง การสิ้นสุด หลังจาก และอื่นๆ (1) และความหมายของมัน กล่าวคือ โลกอื่นหลังจากโลกนี้ (2) ในอัลกุรอานได้อธิบายถึงโลกหลังความตาย โดยมักใช้คำว่า อาคิเราะฮ์ (104 ครั้ง) และบางครั้งใช้คำว่า ดารุลอาคิเราะฮ์ (บ้านอีกหลังหนึ่ง) และเยามุลอาคิเราะฮ์ (วันอาคิเราะฮ์) (3)

ความสำคัญของการมีความศรัทธาต่ออาคิเราะฮ์

การมีศรัทธาต่อวันอาคิเราะฮ์ ถือเป็น รากฐานของศาสนา และเป็นเงื่อนไขหนึ่งสำหรับการเข้ารับอิสลาม หมายถึง ผู้ใดก็ตามที่ไม่ยอมรับมัน ไม่ถือว่าเขานั้นเป็นมุสลิม (4) มุรตะฎอ มุเฏาะฮะรีย์ กล่าวว่า คำสอนที่สำคัญที่สุดของ บรรดาศาสดา หลังจากหลัก เตาฮีด ซึ่งพวกเขาได้เชิญชวนให้มีความศรัทธาต่อมัน กล่าวคือ การมีศรัทธาต่อโลกอาคิเราะฮ์ (5)

มุฮัมมัดตะกี มิศบาฮ์ ยัซดีย์ กล่าวว่า โองการ อัลกุรอาน มากกว่าหนึ่งในสามของโองการทั้งหมดได้กล่าวถึงอาคิเราะฮ์ (6) ในอัลกุรอาน ระบุว่า การมีความศรัทธาต่อโลกอาคิเราะฮ์ ถือเป็นรากฐานที่สำคัญในการเชิญชวนบรรดาศาสนทูตทั้งหมด (7) ตามโองการอัลกุรอาน ยังระบุอีกว่า การมีความศรัทธาต่ออาคิเราะฮ์ พร้อมทั้งความศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และ ศาสนทูตของพระองค์ เป็นหนึ่งใน รากฐานของศาสนาอิสลาม ตามความเชื่อของสำนักคิดอิสลาม จึงถือว่า การมีความเชื่อต่อาคิเราะฮ์ เป็นสิ่งที่จำเป็นในศาสนา และผู้ใดก็ตามที่ไม่มีความศรัทธาต่อเรื่องนี้ ไม่ถือว่า เขานั้นเป็นมุสลิม (9)

มุรตะฎอ มุเฏาะฮะรี กล่าวว่า ในหนังสือเทววิทยาอิสลาม ชาวมุสลิม ถือว่า ความศรัทธาต่อโลกอาคิเราะฮ์ เป็น ‎ หลักมะอาด (10) บัรซัค กิยามัต ศิรอฏ ฮิซาบ เป็นประเด็นที่เกี่ยวกับอาคิเราะฮ์ ซึ่งในอัลกุรอาน ฮะดีษต่างๆ และผลงานเขียนของบรรดานักวิชาการมุสลิม ได้มีการพูดคุยถึงมันและตามอัลกุรอาน ระบุว่า จะต้องมีความศรัทธาในสิ่งเหล่านี้[11]‎

เหตุผลของการมีอยู่ของอาคิเราะฮ์

บรรดานักวิชาการมุสลิม ถือว่า เหตุผลที่สำคัญที่สุดของการมีอยู่ของอาคิเราะฮ์ ‎ เป็นเหตุผลเชิงการรายงาน(นักลีย์) รวมถึงวะฮีย์ ด้วย กล่าวคือ ความจริงที่ว่า บรรดาศาสดา ผู้บริสุทธิ์ ได้แจ้งข่าวเกี่ยวกับการมีอยู่ของอาคิเราะฮ์ ‎และเชิญชวนผู้คนให้มีความศรัทธา เป็นเหตุผลที่บ่งบอกถึงการมีอยู่ของอาคิเราะฮ์ ‎ [12] ในบรรดาเหตุผลเชิงการรายงาน ในบริบทนี้ คือ โองการที่ 7 ‎ของซูเราะฮ์อัตตะฆอบุน : จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ใช่แล้ว ขอสาบานต่อพระผู้ทรงอภิบาลของข้าพระองค์ พวกเจ้าจะถูกทำให้ฟื้นคืนชีพอย่างแน่นอน (13)‎

มุรตะฎอ มุเฎาะฮะรี กล่าวว่า นอกเหนือจากหลักฐานเชิงการรายงาน แล้ว ยังมีวิธีการอื่นๆ ในการพิสูจน์ถึงการมีอยู่ของอาคิเราะฮ์ ‎ ซึ่งอย่างน้อยที่สุด ก็มีสัญลักษณ์และสัญญาณของการมีอยู่ของโลกอาคิเราะฮ์ ซึ่งมีอยู่ 3 แนวทางด้วยกัน กล่าวคือ 1. การรู้จักพระเจ้า 2.การรู้จักโลก 3.การรู้จักจิตวิญญาณและตัวตนของมนุษย์ (14)‎

ข้อพิสูจน์ทางวิทยปัญญา และข้อพิสูจน์ทางยุติธรรม เป็นอีกเหตุผลทางสติปัญญาของบรรดานักเทววิทยาที่ใช้ในการพิสูจน์การมีอยู่ของอาคิเราะฮ์ ‎ [15]‎

กล่าวได้ว่า ข้อพิสูจน์ทางสติปัญญานั้น มีความขัดแย้งกันกับวิทยปัญญาของพระเจ้า ซึ่งด้วยการจำกัดการใช้ชีวิตในโลกนี้ จึงมีความเป็นไปได้ที่ชีวิตของมนุษย์ จะมีความเป็นอมตะนิรันดร์ เพราะว่า พระองค์คือผู้สร้างมนุษย์ขึ้นมา เพื่อที่จะนำเขาไปสู่ความสมบูรณ์แบบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เป็นไปได้ และการบรรลุถึงความสมบูรณ์แบบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนั้นไม่สามารถที่จะกระทำได้ในโลกนี้ เพราะว่า คุณค่าที่มีอยู่ของความสมบูรณ์แบบทางอาคิเราะฮ์ ‎ไม่สามารถที่จะเทียบเทียมได้กับความสมบูรณ์แบบทางโลกนี้ (16)‎

ข้อพิสูจน์ทางความยุติธรรม ยังกล่าวอีกว่า เนื่องจากในโลกนี้ มีทั้งคนดีและคนเลว ที่ได้รับรางวัลและการลงโทษจากการกระทำของพวกเขา ซึ่งพวกเขาไม่ได้เห็น แต่ด้วยความยุติธรรมของพระเจ้าบ่งบอกว่า จะต้องมีอีกโลกหนึ่งที่แต่ละคนได้รับสิ่งที่เขาสมควรที่จะได้รับ (17)‎

คุณลักษณะของอาคิเราะฮ์และความแตกต่างกับโลกนี้

มุรตะฎอ มุเฎาะฮะรี กล่าวว่า มีโองการจากอัลกุรอานหลายร้อยโองการ ที่เกี่ยวข้องกับอาคิเราะฮ์ ‎ เช่น โลกหลังความตาย วันแห่งการฟื้นคืนชีพ วิธีการรวมตัวคนตายเข้าด้วยกัน มาตรวัด การคิดบัญชี การบันทึกของการกระทำ สวรรค์และนรกและความเป็นอมตะของอาคิเราะฮ์ ‎ [18] บรรดานักวิชาการมุสลิม เชื่อว่า ตามพื้นฐานของโองการอัลกุรอาน ระบุว่า อาคิเราะฮ์ ‎มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากโลกนี้และระบบที่มีอยู่ในนั้น [19] มุลลา ศ็อดรอ เชื่อว่า จิตวิญญาณอยู่ภายในร่างกายฉันใด ‎โลกหน้าก็ยังเป็นโลกภายในของโลกนี้ฉันนั้น [20] ฮะกีม ซับซะวารี ยังอธิบายถึงคำพูดนี้ด้วยว่า อาคิเราะฮ์ ‎อยู่ในแนวตั้งของโลกนี้ และเมื่อเปรียบเทียบกับโลกนี้ ก็เหมือนลูกนกที่มีความสัมพันธ์ไปยังไข่ของมัน [21] ในอาคิเราะฮ์ ‎ มนุษย์ทุกคนมีชีวิตอยู่พร้อมๆ กัน ตั้งแต่เริ่มการสร้างไปจนถึงจุดสิ้นสุด [22 ] ในนั้น มนุษย์ทั้งหลาย หรือว่าพวกเขามีความสุขอย่างแท้จริงและทุกสิ่งที่พวกเขาต้องการก็มีให้สำหรับพวกเขา หรือพวกเขาอยู่ในความทุกข์ยากอย่างยิ่งที่ไม่มีอะไร นอกจากสิ่งที่พวกเขาคิดว่าแย่ ก็จะมีให้สำหรับพวกเขา แต่ในโลกนี้ ชีวิตและความตาย ประโยชน์และความขาดแคลน ความอับโชคและความผาสุก ‎ความทุกข์และความสบายใจ ความเศร้าและความยินดี ได้ปะปนอยู่ด้วยกัน (23)‎

คุณลักษณะอื่นๆ บางประการของอาคิเราะฮ์ ในโองการของอัลกุรอานและฮะดีษ ซึ่งมีดังนี้ :‎

ความเป็นอมตะ : ตามโองการของอัลกุรอาน อาคิเราะฮ์นั้นไม่มีที่สิ้นสุดและเป็นนิรันดร์ ตัวอย่างเช่น ในโองการที่ 34 ของซูเราะฮ์ก็อฟ ระบุว่า ได้มีการแจ้งข่าวดีแก่บรรดาชาวสวรรค์ในอาคิเราะฮ์ วันนี้เป็นวันแห่งความเป็นอมตะ นอกจากนี้ ในหนังสือฆุรอรุลฮิกัม รายงานจากอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า โลกนี้นั้นมีขอบเขตจำกัด และอาคิเราะฮ์ก็เป็นนิรันดร์ [24]‎

การแยกออกของผู้ที่กระทำความดี จากผู้ที่กระทำความชั่วร้าย : ตามโองการของอัลกุรอาน ระบุว่า คนที่กระทำความดีและคนที่กระทำความชั่ว จะถูกแยกออกจากกันในอาคิเราะฮ์ ‎: โอ้ คนบาปทั้งหลาย จงแยกตัวออกจากกันในวันนี้ (25) “บรรดาผู้ที่ ปฏิเสธศรัทธา จะถูกรวบรวมไปยังนรก แล้วอัลลอฮ์จะทรงแยกสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ออกจากสิ่งที่บริสุทธิ์ (26) บรรดาผู้ศรัทธานั้นมีความสุขและได้เข้าสู่สรวงสวรรค์ และผู้ปฏิเสธศรัทธาก็เศร้าโศกและเข้าในนรก (27) บรรดาผู้ที่เกรงกลัวต่อพระเจ้าของพวกเขาจะถูกนำไปสู่สวรรค์เป็นกลุ่มๆ (28) "และเราได้ขับไล่ผู้ที่กระทำความผิดบาปไปสู่นรก ในสภาพที่หิวกระหาย (29)‎

การเห็นผลลัพธ์ของการกระทำ : ตามโองการของอัลกุรอาน ยืนยันว่า มนุษย์เขาจะเห็นถึงผลลัพท์ของการกระทำของเขาในโลกนี้ในอาคิเราะฮ์ ‎: และ [ผลลัพธ์] ของความพยายามของเขาจะถูกทำให้มองเห็นในไม่ช้านี้ แล้วพวกเขาจะได้รับรางวัลตอบแทนอย่างเต็มที่ (30) ดังนั้น ผู้ใดก็ตามที่กระทำความดี หนักเท่าผงธุลี เขาจะได้เห็น (ผลของ)มัน และผู้ใดที่กระทำความชั่ว ‎หนักเท่าผงธุลี จะได้เห็น [ผลของ]มัน (31)‎ การใช้ประโยชน์ด้วยความเหมาะสม : อาคิเราะฮ์ ทุกคนย่อมได้ประโยชน์ตามสิทธิที่เหมาะสมของเขา ซึ่งตรงกันข้ามกับโลกนี้ ในฮะดีษของอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า สถานการณ์ของโลกนี้ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ต่างๆ ส่วนสถานการณ์ของอาคิเราะฮ์นั้น ‎เป็นไปตามคุณงามความดีของมนุษย์ (32)][หมายเหตุที่ 1]‎

ขอบเขตของอาคิเราะฮ์

มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับขอบเขตของอาคิเราะฮ์ ‎ บางคนเชื่อว่า อาคิเราะฮ์ ‎เริ่มต้นจากการตายของมนุษย์คนหนึ่งและการเข้าสู่โลกบัรซัค แต่บางคนไม่ถือว่า โลกบัรซัค เป็นส่วนหนึ่งของอาคิเราะฮ์ ‎ และกล่าวว่า อาคิเราะฮ์ ‎เริ่มต้นหลังจากการสิ้นสุดของโลกบัรซัค[34] นอกจากนี้ นักเทววิทยายังเชื่อว่า อาคิเราะฮ์ ‎จะอยู่ในอนาคตของโลกนี้ นั่นคือ ย่อมเริ่มต้นภายหลังการสิ้นชีวิตทางโลกนี้ แต่นักปรัชญา เชื่อว่า อาคิเราะฮ์ ‎นั้นในขณะนี้ กล่าวคือ ‎อยู่ในแนวตั้งของโลกนี้ หมายถึง ระดับการดำรงอยู่ของมันนั้นเหนือกว่าและล้อมรอบมัน หนึ่งในโองการที่เป็นหลักฐานของกลุ่มนี้ คือ โองการที่ 49 ของซูเราะฮ์อัตเตาบะฮ์ : และแท้จริงนรกก็ถูกห้อมล้อมรอบด้วยเหล่าผู้ปฏิเสธศรัทธา (35)‎

คำแนะนำของอัลกุรอานและริวายะฮ์ที่เกี่ยวกับอาคิเราะฮ์ ‎

ในอัลกุรอานและฮะดีษมีคำแนะนำต่างๆที่เกี่ยวกับอาคิเราะฮ์ โดยบางส่วน มีรายละเอียดดังนี้ :‎

ชีวิตในโลกนี้ มิใช่อื่นใด นอกจากการละเล่นและความบันเทิง และที่พำนักแห่งอาคิเราะฮ์ ‎นั้นดียิ่งกว่าแก่บรรดาผู้ยำเกรง พวกเจ้าจะไม่ใช้ความคิดบ้างหรือ? [36]‎

เราได้สร้างบ้านแห่งอาคิเราะฮ์ ‎นั้นไว้สำหรับบรรดาผู้ที่ไม่ต้องการแสวงหาความเหนือกว่าในแผ่นดินและการทุจริต (37)‎

ผู้ใดที่รำลึกถึงอาคิเราะฮ์ ‎เป็นจำนวนมาก ความผิดของเขา ย่อมลดลง (38)‎

โลกนี้เป็นเรือกสวนไร่นาของอาคิเราะฮ์ ‎ (39)‎

‎ผู้ใดก็ตามที่ความกังวลที่สำคัญที่สุดในระหว่างกลางวันและกลางคืน คือ อาคิเราะฮ์ ‎ พระเจ้าจะทรงวางสิ่งที่ขาดความต้องการไว้ในใจของเขา และจัดระเบียบการงานของเขา และเขาจะไม่ตาย เว้นแต่เขาจะได้รับปัจจัยยังชีพของเขาอย่างครบถ้วน (40)‎

ผลงานประพันธ์ที่เกี่ยวข้อง

หนังสือเล่มหนึ่งที่เกี่ยวกับอาคิเราะฮ์ ‎ชื่อว่า มะนาซิลอัลอาคิเราะฮ์ เขียนโดย เชคอับบาส กุมมี หนึ่งในนักวิชาการแห่งศตวรรษที่ 14 ของฮิจเราะฮ์ศักราช ในหนังสือเล่มนี้ เขาได้อธิบายถึงขั้นตอนของอาคิเราะฮ์ ซึ่งมีรายละเอียด ‎ดังนี้: ความตาย ,สุสาน ,โลกบัรซัค, การฟื้นคืนชีพ และสะพานซิรอฏ ในหนังสือเล่มนี้ ยังได้กล่าวถึง มาตรวัด ,การคิดบัญชี ‎และการลงโทษในนรก อีกด้วย และยังมีคำแนะนำให้ปฏิบัติอะมั้ลอิบาดะฮ์ และการระมัดระวังทางศีลธรรมบางประการ เพื่อที่จะผ่านไปสู่อาคิเราะฮ์ได้อย่างง่ายดายขึ้น

อย่างไรก็ตาม หนังสือ มะนาซิลอัลอาคิเราะฮ์ ได้รับการแปลเป็นภาษาอาหรับ อังกฤษ ตุรกี และอูรดู อีกด้วย


เชิงอรรถ

บรรณานุกรม