อัลกุรอาน

จาก wikishia

อัลกุรอาน (ภาษาอาหรับ: القرآن الكريم) เป็นพระคัมภีร์ของพระผู้เป็นเจ้าและเป็นคัมภีร์แห่งฟากฟ้าของบรรดามุสลิม ซึ่งผ่านเทวทูต ญิบรออีล ให้แก่ ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ชาวมุสลิมจึงถือว่า ตัวบทและเนื้อหาของอัลกุรอานถูกประทานมาจากพระผู้เป็นเจ้า และนอกจากนี้ พวกเขายังเชื่อว่า อัลกุรอานเป็น ปาฏิหาริย์ ที่แสดงถึงความเป็นศาสนทูตของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และเป็นคัมภีร์สุดท้ายที่ถูกประทานจากฟากฟ้า

คัมภีร์นี้ ได้เน้นย้ำให้เห็นว่า เป็นคัมภีร์ที่มีปาฏิหาริย์ ด้วยเหตุผลของปาฎิหาริย์ ก็คือ การไร้สามารถของผู้ใดก็ตามแที่จะนำมาให้เหมือนกับคัมภีร์นี้ โองการแรกของอัลกุรอาน ถูกประทานให้กับศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ใน ถ้ำฮิรออ์ ใกล้ ภูเขานูร

ทัศนะที่เป็นมัชฮูร(ถูกรู้จัก)คือโองการนี้ได้ถูกประทานลงมาโดยผ่าน เทวทูตแห่งวะฮีย์ และไม่ได้ผ่านสื่อใดและในสภาพโดยตรงให้แก่ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ชาวมุสลิมส่วนใหญ่เชื่อว่าอัลกุรอานถูกประทานลงมาหลายครั้งด้วยกันแต่บางกลุ่มมีความเชื่อว่านอกเหนือจากการถูกประทานลงมาหลายครั้งแล้วอัลกุรอานยังถูกประทานลงมาในปีเดียวและในคืนอัลก็อดร์เพียงครั้งเดียวอีกด้วย

ในสมัยของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) โองการอัลกุรอานได้ถูกเขียนลงบนหนังสัตว์และไม้ของต้นอินทผาลัมกระดาษและเสื้อผ้าหลังจากการเสียชีวิตของศาสดา (ศ็อลฯ) โองการอัลกุรอานและซูเราะฮ์ของมันถูกเก็บรวบรวมโดย บรรดาอัศฮาบ แต่ทว่ารูปแบบการจัดเล่มนั้นมีความแตกต่างกันในการเรียงลำดับซูเราะฮ์และการอ่านมันด้วยเหตุนี้เอง อุุษมาน บินอัฟฟาน ได้สั่งให้มีการรวบรวมอัลกุรอานในรูปแบบเดียวกันทั้งหมดและได้ทำลายรูปแบบอื่นๆ เนื่องจากชีอะฮ์ได้ปฏิบัติตามบรรดาอิมามพวกเขาจึงถือว่าการเก็บรวบรวมของอุษมานนั้นมีความถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด

อัลกุรอาน ฟุรกอน อัลกิตาบ และมุศฮัฟ เป็นนามต่างๆของอัลกุรอาน ซึ่งเป็นที่รู้จักที่สุด อัลกุรอาน มีทั้งหมด 114 ซูเราะฮ์ และมีมากกว่า 6000 โองการและมี 30 ญุซอ์ และมี 120 ฮิซบ์ ในอัลกุรอาน ด้วยกัน และมีการกล่าวถึงประเด็นต่างๆ เช่น เตาฮีด มะอาด สงครามต่างๆของศาสดาแห่งอิสลาม เรื่องเล่าของบรรดาศาสดา การปฏิบัติตามศาสนบัญญัติของศาสนาอิสลาม ความประเสริฐและความสูงส่งทางด้านศีลธรรมและจริยธรรม และการต่อสู้กับการตั้งภาคีและการกลับกลอก

จนถึงศตวรรษที่ 4 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช มีการอ่านอัลกุรอานในรูปแบบต่างๆในระหว่างบรรดามุสลิม การมีอยู่ของต้นฉบับที่แตกต่างกันในหมู่ชาวมุสลิม การเริ่มต้นตัวอักษรอาหรับ การมีอยู่ของสำเนียงท้องถิ่นที่แตกต่างและการปฏิบัติตามความชอบของบรรดานักกอรี ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้มีความแตกต่างจากการอ่านอัลกุรอาน ในศตวรรษนี้ มีการอ่านอัลกุรอาน ด้วยกัน 3 กิรออัต(รูปแบบ)ในระหว่างการอ่านทั้งหลาย การอ่านที่แพร่หลายในหมู่ชาวมุสลิม คือ การอ่านโดยอาศิม หรือริวายะฮ์ฮัฟศ์

การแปลอัลกุรอานฉบับสมบูรณ์ครั้งแรก เป็นภาษาฟาร์ซีย์ เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 4 และเป็นภาษาละตินในศตวรรษที่ 6 (คริสต์ศักราช 12) หนังสือเล่มนี้ จัดพิมพ์ครั้งแรกในอิตาลีในปี 950 ฮ.ศ. (1543 ค.ศ.) การจัดพิมพ์ครั้งแรกโดยชาวมุสลิมในปี 1200 ฮ.ศ. ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย อิหร่าน ถือเป็นประเทศมุสลิมประเทศแรกที่จัดพิมพ์อัลกุรอานในปี 1243 ฮ.ศ. และในปี 1248 ฮ.ศ. อัลกุรอานที่รู้จักกันในปัจจุบันนี้ โดยใช้ชื่อว่า อัลกุรอานฉบับอุสมาน ฏอฮา มีการจัดพิมพ์ในประเทศอียิปต์

อัลกุรอาน ได้กลายเป็นแหล่งความรู้อย่างมากมายในหมู่ชาวมุสลิม การอรรถาธิบายอัลกุรอานและอุลูมอัลกุรอาน เช่น ประวัติของอัลกุรอาน, ศาสตร์แห่งถ้อยคำของอัลกุรอาน, ศาสตร์ของการอิอ์รอบและโวหารของอัลกุรอาน เรื่องเล่าของอัลกุรอานและปาฏิหาริย์ของอัลกุรอาน ทั้งหมดเหล่านี้ ล้วนเป็นศาสตร์ต่างๆของอัลกุรอานทั้งสิ้น

อัลกุรอาน ยังถือว่า มีสถานภาพอันพิเศษยิ่งในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและศิลปะของชาวมุสลิม การคอตัม (การอ่านจบทั้งเล่มของ)อัลกุรอานและการอ่านอัลกุรอานในพิธีการแต่งงาน เป็นหนึ่งในนั้น การทูนคัมภีร์อัลกุรอานไว้บนศีรษะ ถือเป็นหนึ่งในพิธีกรรมของชาวชีอะฮ์ การสำแดงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอัลกุรอานในงานศิลปะ การคัดลายมือ การปิดทอง การทำปกหนังสือ วรรณกรรมและสถาปัตยกรรม

พระดำรัสของพระเจ้า

บรรดามุสลิม มีความเชื่อว่า อัลกุรอานเป็นพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้าที่ถูกประทานลงมาให้ศาสดามุฮัมมัดของอิสลาม(ศ็อลฯ)โดยผ่านวะฮีย์ (การวิวรณ์) [1] และเนื้อหาและถ้อยคำในนั้น มาจากพระเจ้า [2] วะฮีย์ครั้งแรกที่ประทานลงมาให้ศาสดาของอิสลาม เกิดขึ้นในถ้ำฮิรออ์ ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขานูร (3) พวกเขา กล่าวว่า โองการแรกที่ถูกประทานให้ท่านศาสดา เป็นโองการแรกๆของซูเราะฮ์อัลอะลักและซูเราะฮ์แรกที่ประทานอย่างครบถ้วนคือ ซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์ [4] ชาวมุสลิมมีความเชื่อว่า ศาสดาแห่งอิสลาม เป็นศาสนทูตองค์สุดท้ายและอัลกุรอานเป็นคัมภีร์แห่งฟากฟ้าฉบับสุดท้าย [5]‎

วิธีการรับอัลกุรอาน

อัลกุรอาน ถือว่า การประทานของวะฮีย์ต่อบรรดาศาสนทูต เกิดขึ้นด้วยกัน สามวิธีการ : การอิลฮาม (การดลใจ)จากด้านหลังม่านและผ่านมะลาอิกะฮ์ [6] บางคนได้อ้างโองการที่กล่าวถึงเช่น จงกล่าวเถิดว่า ผู้ใดก็ตามที่เคยเป็นศัตรูกับญิบรีล เพราะว่าแท้จริงเขาประทานอัลกุรอานลงมายังหัวใจของเจ้า ด้วยการอนุมัติของอัลลอฮ์ [7]: พวกเขา ‎กล่าวว่า: การประทานของคัมภีร์นี้เกิดขึ้นโดยผ่านญิบรออีลเพียงเท่านั้น [8] แต่ทัศนะที่เป็นที่รู้จักกันดีว่า อัลกุรอานถูกประทานแก่ท่านศาสดาด้วยวิธีอื่น ๆ รวมทั้งโดยตรงและโดยไม่ผ่านสื่อใดๆ[9]‎

การประทานแบบฉับพลันและอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ตามบางโองการของอัลกุรอาน ระบุว่า คัมภีร์นี้ถูกประทานในเดือนรอมฎอนและคืนอัลก็อดร์ [10] [หมายเหตุ 1] ‎ด้วยพื้นฐานนี้ จึงมีความแตกต่างกันระหว่างความคิดเห็นในหมู่ชาวมุสลิมว่า อัลกุรอานถูกประทานแบบครั้งเดียวหรือทีละน้อย [11] บางคน กล่าวว่า: อัลกุรอานถูกประทานลงมาทั้งในลักษณะครั้งเดียวและทีละน้อย [12] บางคนยังเชื่อว่า สิ่งที่กำหนดประทานให้กับศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ในหนึ่งปี ได้ถูกประทานในคืนอัลก็อดร์ครั้งเดียวด้วยเช่นกัน (13) ความเชื่อของผู้ที่ถือว่า อัลกุรอานถูกประทานลงมาเพียงทีละน้อยและเป็นจุดเริ่มต้นของ การประทานในเดือนรอมฎอนและคืนอัลก็อดร์[14]‎

นามต่างๆที่ถูกรู้จัก

มีการกล่าวถึงนามต่างๆอย่างมากมายสำหรับอัลกุรอาน อัลกุรอาน, ฟุรกอน, อัล-กิตาบ และมุศฮัฟ ถือเป็นนามของอัลกุรอานที่รู้จักมากที่สุด [15] อะบูบักร์ ตั้งชื่อให้อัลกุรอานว่า มุศฮัฟ แต่อัลกุรอานเองก็มีการกล่าวถึงนามอื่นๆด้วยเช่นกัน [16] อัลกุรอาน ถือเป็นนามที่ถูกรู้จักมากที่สุดของคัมภีร์นี้ คำนี้ทางด้านภาษา มีความหมายว่า การอ่าน ‎และผสมกับอะลีฟและลาม มีการใช้คำนี้ถึง 50 ครั้งในอัลกุรอาน และในการใช้ทั้งหมดเหล่านั้น คำนี้หมายถึง ‎คัมภีร์อัลกุรอาน นอกจากนี้ หากไม่มีอะลีฟและลาม อัลกุรอานก็ถูกกล่าวถึง 20 ครั้ง และใน 13 กรณี ให้ความหมายว่า คัมภีร์อัลกุรอาน [17] อัลกุรอาน ถูกนำมาใช้กับหลายชื่อที่มีอัลกุรอาน ซึ่งกล่าวถึงรากฐานของอัลกุรอาน เช่น: ‎มะญีด กะรีม ฮะกีม มุบีน ผู้เขียนหนังสืออัลกุรอานและคัมภีร์กุรอานศึกษา ต่างเชื่อว่าในวัฒนธรรมของอิสลามและชีอะฮ์ ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ มักจะเรียกอัลกุรอานพร้อมกับคำคุณศัพท์ว่า อัลกุรอานอัลกะรีม และชาวชีอะห์มักจะเรียกอัลกุรอานเสมอด้วยคำคุณศัพท์ว่า อัลกุรอานอัลมะญีด และคำคุณศัพท์ทั้งสองนี้มีต้นกำเนิดจากอัลกุรอาน [18] ‎ศ็อดรุลมุตะอัลลิฮีน ได้เขียนในภาคที่ 15 ของเมากิฟที่ 7 ของหนังสืออัซฟารโดยใช้ชื่อว่า อัลฟัศร์ ฟีย์ อัลกอบิลกุรอาน วะนะอูติฮี (ภาคที่เกี่ยวกับนามต่างๆของอัลกุรอานและคำคุณศัพท์ของมันมากกว่า 20 นาม (อ้างอิงโองการของอัลกุรอาน) สำหรับการกล่าวถึงอัลกุรอานและอธิบายถึงมัน [19][หมายเหตุ [2]‎

สถานภาพ

อัลกุรอาน ถือเป็นแหล่งความคิดที่สำคัญที่สุดของชาวมุสลิมและเป็นมาตรฐานสำหรับแหล่งความคิดอื่นๆของอิสลาม เช่น ฮะดีษและซุนนะฮ์ ซึ่งหมายความว่า เป็นคำสอนที่ได้รับผ่านแหล่งอ้างอิงอื่นๆของอิสลาม ในกรณีที่ไม่ถูกต้อง หากขัดแย้งกับคำสอนของอัลกุรอาน [20] ตามพื้นฐานของริวายะฮ์ต่างๆของศาสดาแห่งอิสลามและบรรดาอิมามของชีอะฮ์ ฮะดีษจะต้องถูกส่งนำเสนอต่ออัลกุรอาน และหากริวายะฮ์เหล่านี้ไม่เห็นด้วยกับอัลกุรอาน ‎จะต้องถือว่า ริวายะฮ์เหล่านี้นั้นไม่ถูกต้องและถูกกุขึ้นมา [21]‎

ตัวอย่างเช่น มีรายงานจากท่านศาสดาแห่งอิสลามว่า: ทุกถ้อยคำที่เล่าจากฉันถึงพวกเจ้า ถ้าหากมันสอดคล้องกับอัลกุรอาน เป็นคำพูดของฉัน และถ้าหากมันขัดแย้ง ฉันก็ไม่ได้กล่าว [22] [หมายเหตุ 3] นอกจากนี้ ยังมีริวายะฮ์จากอิมามศอดิก (อ.) ที่ว่า ฮะดีษใดๆ ที่ขัดแย้งกับอัลกุรอาน ถือเป็นเรื่องโกหก [23]‎

ประวัติของอัลกุรอาน

การบันทึกและการรวบรวม

ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้ให้ความสำคัญอย่างมากกับการท่องจำ การอ่านและการบันทึกโองการต่างๆ ในอัลกุรอานอย่างถูกต้อง เนื่องจาก มีผู้รู้หนังสือเพียงไม่กี่คนและขาดความสามารถในการเขียนในช่วงปีแรกๆ ของบิอ์ษัต ‎ด้วยความหวาดกลัวที่ว่า คำหนึ่งอาจถูกลืมหรือบันทึกไม่ถูกต้อง เขาจึงพยายามให้มีการท่องจำและอ่านโองการต่างๆ อย่างถูกต้อง[24] เวลาที่โองการหนึ่งถูกประทานลงมา เขาจะเรียกให้บรรดาผู้บันทึกวะฮีย์มาจดบันทึกโองการไว้ [25] โองการต่างๆ ในอัลกุรอานถูกเขียนกระจัดกระจายอยู่บนแผ่นหนังสัตว์ ไม้อินทผลัม ผ้า และกระดาษ [26]‎

ท่านศาสดา เป็นผู้ดูแลการจดบันทึกอัลกุรอาน หลังจากที่มีการอ่านโองการต่างๆ แก่บรรดาผู้บันทึกวะฮีย์แล้ว เขาก็ได้ขอร้องให้พวกเขาอ่านในสิ่งที่พวกเขาเขียน เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในการเขียน (27) ซุยูฏีย์ เขียนว่า ทั้งหมดของอัลกุรอานถูกเขียนในยุคสมัยของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) แต่ไม่ได้มีการบันทึกแบบเดียวกันและการเรียบเรียงยังไม่เป็นที่ชัดเจน [28]‎

การรวบรวมอัลกุรอาน ในรูปแบบปัจจุบันนั้นไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงยุคสมัยของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ในหนังสืออัตตัมฮีด ฟีย์ อุลูมิลกุรอาน ระบุว่า ในช่วงสมัยของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) โองการต่างๆและนามของซูเราะฮ์ ถูกระบุชัดเจน แต่อย่างไรก็ตาม การรวบรวมอัลกุรอานครั้งสุดท้ายในรูปแบบของคัมภีร์และการเรียบเรียงซูเราะฮ์ได้เสร็จสิ้น หลังจากการเสียชีวิตของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)และขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรดาศอฮาบะฮ์ (29) ‎ในคัมภีร์นี้ บุคคลแรกที่ได้รวบรวมอัลกุรอาน คือ อิมามอะลี (อ.) โดยเขารวบรวมซูเราะฮ์ของของอัลกุรอานตามวันที่การถูกประทานลงมา [30]‎

ความเป็นหนึ่งเดียวกันของมุศฮัฟต่างๆ

หลังจากการเสียชีวิตของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) บรรดาศอฮาบะฮ์ ผู้ยิ่งใหญ่ของเขา แต่ละคนก็เริ่มทำการรวบรวมคัมภีร์อัลกุรอาน มีการรวบรวมมุศฮัฟเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีความแตกต่างกันตามลำดับของซูเราะฮ์ และการอ่าน ‎‎[31]ปัญหานี้ ทำให้พวกเขาแต่ละกลุ่มถือว่า การอ่านอัลกุรอานของพวกเขาถูกต้องและการอ่านของบุคคลอื่น ๆ นั้นไม่ถูกต้อง (32)‎ ฮุซัยฟะฮ์ได้ให้คำแนะนำแก่อุษมาน เพื่อเก็บรวบรวมมุศฮัฟต่างๆให้เป็นหนึ่งเดียวกันและการอนุมัติของบรรดาศอฮาบะฮ์ของท่านศาสดา อุษมานจึงมอบหมายให้กลุ่มหนึ่งกระทำการเช่นนี้ [33] เขาส่งผู้คนไปยังดินแดนทั้งหลายของอิสลาม และรวบรวมอัลกุรอานที่มีอยู่ทั้งหมด จากนั้นเขาก็สั่งให้ทำลายมันทั้งหมด [34] อัตตัมฮีด บันทึกว่า มีความเป็นไปได้สูงสุดเกี่ยวกับช่วงเวลาแห่งการรวบรวมอัลกุรอาน คือ ในปีที่ 25 ฮ.ศ. (35)‎

บรรดาอิมามของชีอะฮ์มีความเห็นด้วยกับมุศฮัฟอุษมาน

บนพื้นฐานของริวายะฮ์ต่างๆ รายงานว่า บรรดาอิมามของชีอะฮ์มีความเห็นตรงกับการทำให้เป็นหนึ่งเดียวของอัลกุรอานและเช่นเดียวกันกับมุศฮัฟซึ่งอุษมานได้สั่งให้มีการรวบรวม ซุยูฏีย์ รายงานจากอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า ‎อุษมานได้ปรึกษากับเขาเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมอัลกุรอานและเขาทำการตกลงกันในเรื่องนี้ [36] มีรายงานระบุด้วยว่า อิมามศอดิก (อ.) ได้สั่งห้ามชายผู้คนหนึ่งที่อ่านอัลกุรอานตรงกันข้ามการอ่านอย่างเป็นทางการ [37]ในหนังสืออัตตัมฮีด เขียนว่า ชาวชีอะฮ์ทุกคนถือว่า อัลกุรอานที่อยู่ในมือในปัจจุบันนี้ มีความถูกต้องและครบถ้วน[38]‎

การอ่านที่แตกต่างของอัลกุรอาน

จนถึงศตวรรษที่ 4 ของฮิจเราะฮ์ศักราช การอ่านอัลกุรอานมีหลากหลายรูปแบบ แพร่หลายในหมู่ชาวมุสลิม(39) ‎ปัจจัยที่สำคัญที่สุดของความแตกต่างในการอ่าน คือ การมีอยู่ของอัลกุรอานที่แตกต่างกันในหมู่ชาวมุสลิม ความดั้งเดิมของอักษรอาหรับ การไม่มีจุด การไม่มีสระในตัวอักษร การมีอยู่ของสำเนียงที่แตกต่างกัน และรสนิยมของผู้อ่านอัลกุรอาน (บรรดาผู้ที่สอนอัลกุรอาน) ต่างก็รู้กันดี(40)‎

ในศตวรรษที่สี่แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช อะบูบักร์ บิน มุญาฮิด ( 245-324 ฮ.ศ.) ปรมาจารย์ของนักอ่านอัลกุรอาน(กอรีย์)‎ชาวแบกแดด ได้เลือกการอ่านทั้งเจ็ดรูปแบบจากการอ่านทั้งหมด บรรดาผู้อ่านเหล่านี้ ถูกเรียกว่า กุรรออ์ ซับอะฮ์ ‎เนื่องจากการอ่านอัลกุรอานแต่ละรูปแบบ มีรายงานทั้งสองริวายะฮ์ หลังจากนี้ การอ่านทั้งสิบสี่รูปแบบจึงเป็นที่ยอมรับของชาวมุสลิม (41)‎

ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ เชื่อว่า อัลกุรอานมีแง่มุมทางคำที่หลากหลาย และผู้คนสามารถอ่านอัลกุรอานตามแง่มุมใดก็ได้ที่พวกเขาต้องการ (42) แต่นักวิชาการชีอะฮ์ กล่าวว่า อัลกุรอานถูกประทานด้วยการอ่านเพียงครั้งเดียว และบรรดาอิมามของชีอะฮ์ เนื่องด้วยความสะดวกเพียงเท่านั้นจึงอนุญาตให้มีการอ่านอัลกุรอานด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน[43]‎

การอ่านที่พบบ่อยที่สุดในหมู่ชาวมุสลิม คือ การอ่านอาซิมพร้อมด้วยริวายะฮ์ฮัฟศ์ นักวิชาการกุรอานศึกษาชาวชีอะฮ์กลุ่มหนึ่ง ถือว่า การอ่านนี้เท่านั้นที่ถูกต้องและอยู่ในระดับขั้นมุตะวาติร และพวกเขา กล่าวว่า: การอ่านแบบอื่นๆ ไม่ได้รับมาจากท่านศาสดา และเป็นผลที่ได้รับมาจากรสนิยมของผู้อ่านทั้งหลายเอง[44]‎

การใส่อิอ์รอบของอัลกุรอาน

การใส่อิอ์รอบในภาษาอาหรับ ถือว่า มีส่วนที่สำคัญในการอธิบายความหมาย และการให้ความสนใจในการใส่อิอ์รอบของอัลกุรอานนั้นมีความจำเป็นทวีคูณ เพราะว่า ความผิดพลาดในการใส่อิอ์รอบของอัลกุรอานทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความหมายและบางครั้งความหมายก็ไม่สอดคล้องกับพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า[45] บรรดาผู้บันทึกวะฮีย์ ในช่วงแรกได้บันทึกอัลกุรอานโดยไม่มีจุดและไม่มีการใส่อิอ์รอบและนี่ไม่ใช่ปัญหาสำหรับผู้คนที่อาศัยอยู่ในยุคสมัยของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) แต่สำหรับกลุ่มผู้คนรุ่นต่อๆไป และโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวมุสลิมที่ไม่ใช่ชาวอาหรับ บางครั้งทำให้เกิดการอ่านที่มีความแตกต่างกันและการเปลี่ยนแปลงในความหมาย ดังนั้น การใส่อิอ์รอบของอัลกุรอาน จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อยุติความแตกต่างและการเปลี่ยนแปลงทางความหมายและการบิดเบือนอัลกุรอาน [46] รายงานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับการใส่อิอ์รอบของอัลกุรอานครั้งแรกและมีการบันทึกสัญลักษณ์อิอ์รอบที่มีความแตกต่างกัน อะบูอัลอัสวัด ดูอะลี (69 ฮ.ศ.) โดยปกติเขาจะถูกแนะนำว่า เป็นผู้ริเริ่มการใส่อิอ์รอบของอัลกุรอานด้วยความช่วยเหลือของยะฮ์ยา บินยะอ์มุร [47] การใส่อิอ์รอบเริ่มแรกมีดังนี้:

จุดบนของตัวอักษรตัวสุดท้ายสำหรับฟัตฮะฮ์, จุดใต้ตัวอักษรสำหรับกัซเราะฮ์, จุดหลังจากอักษรตัวสุดท้ายสำหรับฎ็อมมะฮ์ ‎‎[48] หนึ่งศตวรรษหลังจากนั้นโดย คอลีล บินอะฮ์มัด ฟะรอฮีดี (175 ฮ.ศ.) ได้มีการกำหนดรูปแบบท่พิเศษเข้ามาแทนที่การใช้จุด: สี่เหลี่ยมผืนผ้าเหนือตัวอักษรสำหรับฟัตฮะฮ์, สี่เหลี่ยมผืนผ้าด้านล่างตัวอักษรสำหรับกัซเราะฮ์, ‎ตัวอักษรวาวตัวเล็กอยู่ด้านบนสำหรับฎ็อมมะฮ์, การใช้รูปแบบเดิมซ้ำสำหรับตันวีน ฟันของตัวอักษรซีนสำหรับมุชัดดะฮ์ อักษรศ็อด [49] ต่อมาในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 2 ของฮิจเราะฮ์ศักราช สำนักคิดไวยากรณ์(นะฮูย์)‎แห่งบัศเราะฮ์ ได้ก่อตั้งโดยซีบบะวัย และสำนักคิดไวยากรณ์แห่งกูฟะฮ์ ก่อตั้งโดยอิมามกะซาอี และในช่วงกลางของศตวรรษที่สาม สำนักคิดไวยากรณ์แห่งแบกแดดได้ถือกำเนิด และมีการเปลี่ยนแปลงในวิชาการใส่อิอ์รอบของอัลกุรอานของชาวอาหรับเกี่ยวกับอัลกุรอาน

การแปล

การแปลอัลกุรอานนั้นมีประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่อย่างมากและย้อนกลับไปยังช่วงแรกๆอิสลาม [51] แต่การแปลอัลกุรอานฉบับสมบูรณ์ครั้งแรก เป็นภาษาเปอร์เซียเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 4 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช (52) พวกเขากล่าวว่า : ผู้แปลอัลกุรอานคนแรกคือ ซัลมาน ฟาร์ซี ผู้ซึ่งแปลโองการบิสมิลลาฮ์ว่า ด้วยพระนามของยัซดาน ผู้ทรงกรุณาปรานี ‎‎(53)‎

การแปลอัลกุรอาน เป็นภาษายุโรปเริ่มแรกโดยนักการศาสนาและนักบวชชาวคริสต์ พวกเขาจึงแปลบางวลีของอัลกุราอาน เพื่อวิพากษ์วิจารณ์ศาสนาอิสลาม [54] การแปลเป็นภาษาละตินฉบับสมบูรณ์ครั้งแรกของอัลกุรอาน เขียนขึ้นในศตวรรษที่ 6 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช (คริสต์ศักราชที่ 12) [55]‎

การจัดพิมพ์

อัลกุรอานถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในอิตาลีในปี 950 ฮ.ศ. (1543 ค.ศ.) อัลกุรอานฉบับนี้ถูกทำลายโดยเจ้าหน้าที่คริสตจักร ‎หลังจากนั้น ได้มีการจัดพิมพ์ในยุโรปในปี 1104 ฮ.ศ. ( 1692 ค.ศ.) และต่อมา คือ ปี 1108 ฮ.ศ. (1696 ค.ศ.) อัลกุรอานฉบับพิมพ์ครั้งแรกจัดทำโดยชาวมุสลิมในปี 1200 ฮ.ศ. เมาลา อุษมาน เป็นผู้ดำเนินการจัดพิมพ์ในเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย ประเทศมุสลิมประเทศแรกที่จัดพิมพ์อัลกุรอาน คือ ประเทศอิหร่าน อิหร่านได้เตรียมจัดพิมพ์อัลกุรอานสองครั้งด้วยหินที่สวยงาม ในปี 1243 และ 1248 ฮ.ศ.ในปีต่อมา ประเทศอิสลามอื่นๆ เช่น ตุรกี ‎อียิปต์ และอิรัก ได้เตรียมในการจัดพิมพ์อัลกุรอานฉบับต่างๆ (56)‎

อัลกุรอานที่พิมพ์ในอียิปต์ จัดทำขึ้นในปี 1342 ฮ.ศ. ภายใต้การดูแลของคณาจารย์มหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร และบนพื้นฐานของริวายะฮ์ฮัฟศ์จากอาศิม และได้รับการยอมรับจากโลกอิสลาม อัลกุรอาน ซึ่งเป็นที่ถูกรู้จักในปัจจุบันนี้มีชื่อว่า อุษมานฎอฮา เขียนโดยนักอักษรวิจิตรชาวซีเรียคนนี้และการจัดพิมพ์ของอียิปต์ อัลกุรอานนี้มีการจัดพิมพ์ในประเทศอิสลามส่วนใหญ่ คุณลักษณะพิเศษของการพิมพ์นี้ คือ การจัดเรียงโองการต่างๆ ในหน้าต่างๆ และการแบ่งฮิซบ์ต่างๆอย่างเป็นระเบียบและอัลกุรอานถูกแบ่งออกเป็นสามสิบส่วนด้วยกัน[57]‎

ปัจจุบันนี้ การพิมพ์อัลกุรอานเสร็จสิ้นภายใต้การดูแลขององค์กรที่เกี่ยวข้องและมีกฎเกณฑ์พิเศษ [58] ในประเทศอิหร่าน องค์กรดารุลกุรอานอัลกะรีม มีหน้าที่รับผิดชอบในการแก้ไขและการดูแลการจัดพิมพ์อัลกุรอาน [ 59]‎

โครงสร้างของอัลกุรอาน

อัลกุรอานมีทั้งหมด 114 ซูเราะฮ์(บท)และมากกว่าหกพันโองการ เกี่ยวกับจำนวนโองการที่แน่นอน มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน บางคนได้อ้างรายงานจากอิมามอะลี (อ.) ว่า อัลกุรอานมี 6,236 โองการ [60] อัลกุรอานถูกแบ่งออกเป็น 30 ญุซอ์และ 120 ฮิซบ์ [61]‎

ซูเราะฮ์

เรียกส่วนต่างๆ ของอัลกุรอานที่มีเนื้อหาสอดคล้องกันว่า ซูเราะฮ์ [62] ซูเราะฮ์ทั้งหลายของอัลกุรอาน เริ่มต้นด้วยคำว่า บิสมิลลาฮิรเราะฮ์มานิรรอฮีม ยกเว้นซูเราะฮ์อัตเตาบะฮ์ [63] ซูเราะฮ์ แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ ซูเราะฮ์มักกียะฮ์ และซูเราะฮ์มะดะนียะฮ์ โดยคำนึงถึงเวลาของการประทานของอัลกุรอาน เรียกซูเราะฮ์ที่ถูกประทานลงมาก่อนการอพยพของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)ไปยังเมืองมะดีนะฮ์ว่า ซูเราะฮ์มักกียะฮ์ ส่วนซูเราะฮ์ที่ถูกประทานลงมาหลังจากการอพยพของท่านศาสดา (ศ็อล) ไปยังเมืองมะดีนะฮ์ เรียกว่า ซูเราะฮ์มะดะนียะฮ์[64]‎

อายะฮ์ ‎

อายะฮ์ (โองการ) คือ คำ วลี หรือประโยคของอัลกุรอาน ที่ประกอบเป็นซูเราะฮ์ [65] แต่ละซูเราะฮ์ มีจำนวนโองการที่แน่นอน [66] โองการของอัลกุรอานมีความแตกต่างกันในแง่ของปริมาณ โองการที่ 282 ของซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ เป็นโองการที่ยาวที่สุดของอัลกุรอาน โองการที่สั้นที่สุดของอัลกุรอาน เช่น มุดฮามมะตาน(ซูเราะฮ์อัรเราะฮ์มาน, โองการที่ 64), วัฎฎุฮา (ซูเราะฮ์อัฎฎุฮา, โองการที่ 1), วัลฟัญร์ ( ซูเราะฮ์อัลฟัญจ์ร์ โองการที่ ‎‎1) หรือเรียกว่า ฟะวาติฮ์ของซูเราะฮ์ทั้งหลาย (67)‎

โองการต่างๆของอัลกุรอาน เนื่องจากความชัดเจนในความหมาย จึงถูกแบ่งออกเป็นสองประเภทด้วยกัน อายะตุลมุฮ์กัม และอายะตุลมุตะชาบิฮ์ อายะตุลมุฮ์กัม หมายถึง โองการที่มีความหมายที่ชัดเจนจนไม่มีข้อสงสัย ส่วนอายะตุลมุตะชาบิฮ์ หมายถึงโองการที่มีความหมายคล้ายกัน[68] การแบ่งประเภทเช่นนี้นำเสนอโดยอัลกุรอานเอง‎[69]‎

ได้มีการแบ่งแยกอายะฮ์ออกไปอีกประเภทหนึ่ง: อายะตุลนาซิค หมายถึง โองการของอัลกุรอานที่ทำให้กฏที่มีอยู่ในอีกโองการหนึ่งเป็นโมฆะ และอายะตุลมันซูค หมายถึง โองการที่กฏของมันเป็นโมฆะ (70)‎

ฮิซบ์และญุซอ์

ฮิซบ์และญุซอ์ เป็นอีกสองประเภทของการแบ่งประเภทของอัลกุรอานที่ชาวมุสลิมประดิษขึ้น มีการสันนิษฐานว่า ‎ชาวมุสลิมกระทำเช่นนี้ เพื่อวางแบบแผนสำหรับการอ่านหรือท่องจำอัลกุรอานในแต่ละวัน การแบ่งประเภทดังกล่าว มีลักษณะเฉพาะตัวและไม่เหมือนกัน [71] พวกเขา กล่าวว่า: ในสมัยของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) อัลกุรอานถูกแบ่งออกเป็นเจ็ดฮิซบ์และแต่ละฮิซบ์มีหลายซูเราะฮ์ นอกจากนี้ ในบางช่วงเวลา มีการเสนอการแบ่งอัลกุรอานเป็นสองญุซอ์ ถึงสิบญุซอ์ ในปัจจุบันนี้ ถือเป็นเรื่องปกติที่จะแบ่งอัลกุรอานออกเป็นสามสิบญุซอ์และแบ่งแต่ละญุซอ์ มีสี่ฮิซบ์ [72]‎

เนื้อหา

ในอัลกุรอาน มีการพูดคุยถึงหัวข้อต่างๆ เช่น ประเด็นทางหลักศรัทธา ศีลธรรมและจริยธรรม หลักศาสนบัญญัติ ‎เรื่องเล่าในอดีต การต่อสู้กับพวกมุนาฟิก และพวกตั้งภาคี หัวข้อสำคัญบางประการของอัลกุรอาน ได้แก่: เตาฮีด(การนับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียว) มะอาด (วันแห่งการฟื้นคืนชีพ) เหตุการณ์ในยุคแรกๆ ของอิสลาม เช่น การทำสงครามของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เรื่องเล่าของอัลกุรอาน หลักการปฏิบัติอิบาดะฮ์ กฎหมาย และกฎเกณฑ์ทางอาญาของอิสลาม คุณธรรมและความชั่วร้ายทางศีลธรรมและจริยธรรม และการห้ามในการนับถือพระเจ้าหลายองค์และการนิฟาก(การกลับกลอก) [73]‎

การไม่ถูกดัดแปลง

ตะฮ์รีฟ ตามความหมายที่มักถูกกล่าวถึง เช่น การเติมคำหรือถ้อยคำลงในอัลกุรอาน หรือการลบคำหรือถ้อยคำออกจากอัลกุรอาน อะบุลกอซิม คูอีย์ เขียนว่า: ชาวมุสลิมมีความคิดเห็นตรงกันว่า ตะฮ์รีฟในความหมายแรกไม่ได้เกิดขึ้นในอัลกุรอาน อย่างไรก็ตาม แต่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการตัดคำหรือถ้อยคำออกจากอัลกุรอาน ‎‎[74] เขากล่าวว่า ในทัศนะของมัชฮูร(ที่ถูกรู้จัก) ในหมู่นักวิชาการชีอะฮ์ ก็คือ ตะฮ์รีฟด้วยความหมายนี้ไม่เคยเกิดขึ้นในอัลกุรอาน .[75]

ความท้าทายและความมหัศจรรย์ของอัลกุรอาน

ในบางโองการของอัลกุรอาน ได้มีการเรียกร้องต่อฝ่ายตรงข้ามกับศาสดามุฮัมมัด(ศ็อล) ว่า หากพวกเขาไม่ถือว่า ‎มุฮัมมัด เป็นศาสนทูตของพระเจ้า ก็จงนำคัมภีร์ใดก็ตามที่เหมือนกับอัลกุรอานหรือสิบซูเราะฮ์หรืออย่างน้อยหนึ่งซูเราะห์ที่คล้ายคลึงกัน [76] ชาวมุสลิม เรียกประเด็นนี้ว่า เป็นความท้าทาย การท้าทาย จึงหมายถึงการขอให้นำมาเหมือนกันและหมายถึง การต่อสู้อีกด้วย คำนี้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในงานเขียนทางเทววิทยาในศตวรรษที่ 3 ให้ความหมายว่า การนำมาเหมือนกับอัลกุรอาน [77] ตามความเชื่อของชาวมุสลิม ระบุว่า ไม่มีผู้ใดที่มีสามารถนำคัมภีร์ที่เหมือนกับอัลกุรอานมาได้ และนี่คือสัญลักษณ์แห่งความมหัศจรรย์ของอัลกุรอานและความเป็นศาสนทูตของมุฮัมมัด อัลกุรอานเองได้เน้นย้ำถึงความเป็นพระเจ้าของอัลกุรอานและถือว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะนำสิ่งที่คล้ายคลึงกันกับอัลกุรอาน [78] ปาฏิหาริย์แห่งอัลกุรอาน ถือเป็นหนึ่งในศาสตร์แห่งอัลกุรอานที่มีการตรวจสอบสาเหตุของปาฏิหาริย์แห่งอัลกุรอาน [79]‎

ศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอัลกุรอาน

อัลกุรอาน กลายเป็นแหล่งความรู้อย่างมากมายในหมู่ชาวมุสลิม วิชาตัฟซีรและอุลูมอัลกุรอาน ก็เป็นหนึ่งในความรู้นั้น

ตัฟซีร

ตัฟซีร เป็นศาสตร์หนึ่งในการอธิบายและอรรถาธิบายโองการต่างๆ ของอัลกุรอาน [80] การตัฟซีรอัลกุรอานเริ่มต้นตั้งแต่ยุคสมัยของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)และด้วยตัวเขาเอง [81] อิมามอะลี (อ.) อิบนุ อับบาส, อับดุลลอฮ์ ‎บิน มัซอูด และอุบัย บิน กะอ์บ์ เป็นนักตัฟซีรอัลกุรอานกลุ่มแรกหลังจากท่านศาสดา [82] อัลกุรอานได้รับการตัฟซีรในรูปแบบที่แตกต่างกัน วิธีการตัฟซีรอัลกุรอานบางวิธี ได้แก่ การตัฟซีรอัลกุรอานโดยเฉพาะเรื่อง การตัฟซีรแบบเรียงตามลำดับ การตัฟซีรอัลกุรอานด้วยอัลกุรอาน การตัฟซีรแบบริวาอีย์ การตัฟซีรด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ‎การตัฟซีรด้วยหลักนิติศาสตร์ การตัฟซีรเชิงปรัชญา และการตัฟซีรเชิงรหัสยะ [83]‎

อุลูมอัลกุรอาน

วิชาการทั้งหมดที่กล่าวถึงอัลกุรอานเรียกว่า อุลูมอัลกุรอาน (วิทยาการอัลกุรอาน) ประวัติศาสตร์ของอัลกุรอาน อายะตุลอะฮ์กาม ศาสตร์ที่เกี่ยวกับคำของอัลกุรอาน ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการอิอ์รอบอัลกุรอาน อัซบาบุลนุซูล เรื่องเล่าจากอัลกุรอาน อิอ์ญาซุลกุรอาน อิลมุนกิรออาต อิลมุนมักกีวะมะดะนี อิลมุนมุฮ์กัมวะมุตาชาบิฮ์ อิลมุนนาซิควะมันซูค ‎ล้วนเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับอุลูมอัลกุรอานทั้งสิ้น [84] บางแหล่งอ้างอิงที่สำคัญของอุลูมอัลกุรอาน ซึ่งมีดังนี้

  • อัตติบยาน (บทนำของหนังสือ) จากเชคฏูซี (460 ฮ.ศ.)‎
  • มัจญ์มะอุลบะยาน (บทนำของหนังสือ) จากอัลลามะฮ์ ฏอบัรซี (548 ฮ.ศ.)‎
  • อิมลาอุ มา มันนะ บิฮิรเราะฮ์มาน จากอะบูลบะกออ์ อักบะรี (616)‎
  • อัลบุรฮาน ฟีย์ อุลูมิลกุรอาน จากซัรกะชี (794 ฮ.ศ.) ‎
  • อัลอิตติกอน ฟีย์ อุลูมิลกุรอาน จากญะลาลุดดีน ซุยูฏี (911 ฮ.ศ.)‎
  • อาลาอุรเราะฮ์มาน (บทนำของหนังสือ) จากมุฮัมมัดญะวาด บะลาฆี (1352 สุริยคติ)‎
  • อัลบะยาน ฟีย์ ตัฟซีรอัลกุรอาน จากซัยยิดอะบูลกอซิม คูอี (1371 สุริยคติ)‎
  • อัตตัมฮีด ฟีย์ อุลูมิลกุรอาน จากมุฮัมมัดฮาดี มะอ์ริฟัต (1385 สุริยคติ) [85]‎

พิธีกรรม

อัลกุรอาน มีบทบาทที่สำคัญในชีวิตทางสังคมของชาวมุสลิม การจัดพิธีคอตัมอัลกุรอานในมัสยิด ในฮะร็อมของบรรดาอิมามและอิมามซอเดห์ รวมทั้งการจัดมัจญ์ลิซตามบ้านอีกด้วย [86] การทูนอัลกุรอานบนศีรษะ เป็นหนึ่งในพิธีกรรมที่ชาวชีอะห์กระทำในคืนอัลก็อดร์ ในพิธีกรรมนี้ ขณะที่วางอัลกุรอานไว้บนศีรษะ พวกเขาก็สาบานต่อพระผู้เป็นเจ้า ด้วยสิทธิของพระองค์เอง อัลกุรอานและบรรดาผู้บริสุทธิ์ว่า จะให้อภัยบาปต่างๆของพวกเขา[87]‎

ในการมัจญ์ลิซอย่างเป็นทางการของชาวมุสลิมจำนวนมาก เช่น การกล่าวสุนทรพจน์และพิธีกรรมทางสังคม ‎รวมถึงการแต่งงาน จะมีการอ่านโองการจากอัลกุรอาน [88] หนึ่งในพิธีกรรมทั่วไปในอิหร่าน คือ การเข้าไปในบ้านหลังใหม่พร้อมกับคัมภีร์อัลกุรอาน เมื่อชาวอิหร่านย้ายถิ่นฐาน จะเข้าไปในบ้านหลังใหม่ของตนด้วยคัมภีร์อัลกุรอานเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงนำสิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือนอื่นๆ เข้ามาด้วย[89]‎ อัลกุรอานมีความเชื่อมโยงอย่างแน่นแฟ้นกับพิธีกรรมของโนรูซของชาวอิหร่าน ในอิหร่าน พวกเขาวางคัมภีร์อัลกุรอานไว้บนโต๊ะซุฟเรห์ฮัฟซีน และเวลาต้อนรับปีใหม่ ก็มีการอ่านโองการต่างๆ นอกจากนี้ บางครอบครัวที่ใหญ่ ‎จะมอบของขวัญเป็นอัลกุรอาน พวกเขาจะใส่เงินจำนวนหนึ่งในอัลกุรอาน และเมื่อเด็กๆ ได้เปิดมันและหยิบของขวัญของตนไป [90]‎

อัลกุรอานในงานศิลปะ

อัลกุรอาน มีผลสะท้อนอย่างมากมายในงานศิลปะของชาวมุสลิม การแสดงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนี้ สามารถพบเห็นได้ในงานศิลปะ เช่น การคัดลายมือ การปิดทอง การเย็บเล่ม วรรณกรรม และสถาปัตยกรรม เนื่องจากการท่องจำและการแจกจ่ายอัลกุรอาน สามารถกระทำได้ด้วยการเขียนเป็นเล่ม ศิลปะการคัดลายมือในหมู่ชาวมุสลิมจำนวนมากได้มีความก้าวหน้ามากขึ้น [91] และค่อยๆ มีการเขียนอัลกุรอานด้วยลายมือที่แตกต่างกัน เช่น นัซค์ กูฟีย์ ษุลษ์ เชกัสเตห์ ‎และนัซตะอ์ลีก [ 92] ส่วนใหญ่ของโองการอัลกุรอาน ถูกนำมาใช้ในวรรณคดีเปอร์เซียและอาหรับ ทั้งในร้อยแก้วและบทกวีเปอร์เซียและอาหรับ มีการใช้วลีและประเด็นเรื่องอัลกุรอานอีกมากมาย [93]‎

ศิลปะสถาปัตยกรรมอิสลาม‏ ‏ได้รับอิทธิพลจากโองการอัลกุรอานมากกว่าสิ่งอื่นใด ในอาคารบ้านเรือนทางประวัติศาสตร์ของชาวมุสลิมส่วนใหญ่ รวมถึงมัสยิดและพระราชวัง วลีของอัลกุรอานสามารถพบเห็นได้ ‎นอกจากนี้ หัวข้อบางประเด็นของอัลกุรอาน เช่น คำอธิบายอัลกุรอานเกี่ยวกับสวรรค์และนรก ยังถูกนำมาใช้ในสถาปัตยกรรมของอาคารต่างๆอีกด้วย [94] ประโยคของอัลกุรอานที่พบในกุบบะตุศศ็อคเราะฮ์ที่ตั้งอยู่ในกรุงเยรูซาเล็ม ถือว่าเป็นหนึ่งในการประยุกต์ใช้โองการอัลกุรอานที่น่าสนใจที่สุดในการก่อสร้าง ในคำจารึกของอาคารหลังนี้ ซึ่งสร้างขึ้นในปี 71 ฮ.ศ. (691 ค.ศ ) สามารถมองเห็นถึงหลักความศรัทธาของอิสลามและโองการบางส่วนของซูเราะฮ์อันนิซา อาลิอิมรอน และมัรยัมได้ [95]‎

อิทธิพลของอัลกุรอานที่มีต่อความคงอยู่ของภาษาอาหรับที่ไพเราะ

กล่าวกันว่า ภาษาของอัลกุรอานนั้นมีความไพเราะและสูงส่งกว่าภาษาอาหรับและวรรณกรรมอาหรับในยุคแห่งการประทานของอัลกุรอาน ปาฏิหาริย์ทางวาจาและการบันทึกอัลกุรอานและต่อมาเป็นตัวอักษรและมีการใส่อิอ์รอบ‎(สระ) การตัฟซีร (เช่น คำศัพท์และการอ้างอิงถึงบทกวีในยุคอวิชชา) การรวบรวมไวยากรณ์ภาษาอาหรับ (สำหรับการป้องกันอัลกุรอานจากการดัดแปลงและการอ่านที่ไม่ถูกต้อง) อุลูมอัลกุรอาน การเผยแพร่ศาสนาอิสลามไปยังดินแดนอื่นๆ เป็นต้น ..เป็นเหตุทำให้ภาษานี้ได้รับการอนุรักษ์และกลายเป็นภาษาสากล จึงได้มีการกล่าวกันว่า หากไม่ใช่เพราะอัลกุรอานซึ่งเป็นภาษาอาหรับที่มีความไพเราะละก็เหมือนกับภาษาลาตินและสันสกฤต คงเป็นภาษาที่ตายไปแล้วและมีความเก่าแก่[96]‎

มุมมองของนักบูรพาคดี

นักวิชาการที่ไม่ใช่มุสลิม ได้ทำการวิจัยมากมายเกี่ยวกับวรรณกรรม เนื้อหา และการเป็นวะฮีย์ของอัลกุรอาน นักบูรพาคดีบางคน ถือว่า อัลกุรอานเป็นถ้อยคำของศาสดาแห่งอิสลาม และได้กล่าวว่า เนื้อหาในคัมภีร์นี้ถูกดัดแปลงมาจากแหล่งที่มาและบทกวีของชาวยิวและคริสเตียนในสมัยยุคญาฮิลียะฮ์ แม้ว่าบางคนไม่ได้ถือว่า อัลกุรอานเป็นวะฮีย์อย่างชัดเจน แต่พวกเขาถือว่า อัลกุรอานนั้นเหนือกว่าคำพูดของมนุษย์[97]‎

ริชาร์ด เบลล์ [หมายเหตุ 4] กล่าวว่า รูปแบบวรรณกรรมของอัลกุรอาน ซึ่งมีการกล่าวซ้ำๆ และอุปมามากมาย ได้รับอิทธิพลจากตำราของชาวยิวและคริสเตียน และศาสนาฮุนะฟา ในทางกลับกัน เทโอดอร์ เนิลเดค ถือว่า ซูเราะฮ์ ‎ของอัลกุรอาน โดยเฉพาะซูเราะฮ์มักกียะฮ์ เนื่องจากมุมมองทางวรรณกรรม จึงถือว่าเป็นปาฏิหาริย์และได้เปรียบเทียบโองการของอัลกุรอานกับเพลงของเทวทูต ซึ่งทำให้จิตวิญญาณของผู้ศรัทธามีความสุข มอริส บูเกลนักบูรพาคดีชาวฝรั่งเศส ถือว่า อัลกุรอานมีปาฏิหาริย์ทางวิทยาศาสตร์ และเขาเขียนว่า: บางโองการของอัลกุรอานมีความสอดคล้องกับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เขาจึงได้สรุปว่า อัลกุรอานนั้นมีต้นกำเนิดจากพระเจ้า[98]‎

เชิงอรรถ

บรรณานุกรม