บรรดาศาสดา
บรรดาศาสดา (ภาษาอาหรับ: الأنبياء) หรือ บรรดานบี หมายถึง บุคคลที่พระผู้เป็นเจ้าทรงเชิญชวนมนุษย์ให้มาสู่พระองค์ โดยผ่านพวกเขา พระองค์ทรงสื่อสารกับพวกเขาด้วยวะฮ์ยู (คำวิวรณ์)
ความบริสุทธิ์ปราศจากบาป ความรอบรู้ในสิ่งที่เร้นลับ การมีปาฏิหาริย์ และการได้รับวะฮ์ยู ถือเป็นคุณสมบัติของบรรดาศาสดา
ในอัลกุรอาน ได้กล่าวถึงปาฏิหาริย์บางประการของบรรดาศาสดา เช่น การทำให้ไฟมีความเย็นสำหรับศาสดาอิบรอฮีม (อ.) การทำให้ไม้เท้าของศาสดามูซา (อ.)กลายเป็นงูขนาดใหญ่ การชุบชีวิตคนตายให้มีชีวิตอีกครั้งของศาสดาอีซา (อ.) และพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานสำหรับศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)
ในอัลกุรอาน ได้กล่าวถึงความสูงส่งของบรรดาศาสดาที่มีต่อกันและกัน ศาสดาบางคน นอกเหนือจากดำรงตำแหน่งนบูวะฮ์ ยังดำรงตำแหน่งริซาละฮ์ และบางคนยังได้รับตำแหน่งอิมามะฮ์ด้วยเช่นกัน
ตามริวายะฮ์ต่างๆ รายงานว่า บรรดาศาสดาอูลุลอัซม์ กล่าวคือ ศาสดานูฮ์ (อ.) ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ศาสดามูซา (อ.) ศาสดาอีซา (อ.) และศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) มีความสูงส่งเหนือกว่าบรรดาศาสดาคนอื่นๆ และศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) มีความสูงส่งเหนือกว่าบรรดาศาสดาทั้งหมด
และนอกจากนี้ ในหมู่ศาสดาทั้งหลาย ศาสดาชีษ ศาสดาอิดริส ศาสดามูซา ศาสดาดาวูด ศาสดาอีซา และศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) มีพระคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ และบรรดาศาสดาอูลุลอัซม์ คือ ศาสดาที่มีหลักศาสนบัญญัติ
ตามทัศนะที่เป็นที่รู้จักกัน กล่าวว่า จำนวนของบรรดาศาสดามีทั้งหมด หนึ่งแสนสี่พันคน และในอัลกุรอานได้กล่าวถึงบรรรดาศาสดาเพียง 26 คนเท่านั้น ซึ่งบุคคลแรก คือ ศาสดาอาดัม และศาสดาองค์สุดท้าย คือ ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)
บรรดานักวิชาการของชีอะฮ์ ได้เขียนประวัติศาสตร์ของบรรดาศาสดาไว้ในผลงานประพันธ์ของพวกเขา และหนังสือที่เกี่ยวกับประเด็นนี้ ก็คือ อันนูรุลมุบีน ฟีย์ กิเศาะศอลอัมบิยาอ์ วัลมุรซะลีน ผู้เขียน ซัยยิดนิอ์มะตุลลอฮ์ ญะซาอิรีย์ กิเศาะศอลอัมบิยาอ์ ผู้เขียน รอวันดี ตันซีฮุลอัมบิยาอ์ ผู้เขียน ซัยยิดมัรตะฎอ และฮะยาตุลกุลูบ ผู้เขียน อัลลามะฮ์มัจญ์ลิซีย์
ศาสดา
ศาสดาหรือนบี คือ ผู้ที่ได้รับข่าวสารจากพระเจ้าโดยปราศจากสื่อของมนุษย์ [1] และเป็นสื่อกลางระหว่างพระเจ้ากับมัคลูก (สิ่งสร้างของพระองค์) และเขาเชิญชวนบรรดามัคลูกให้เข้ามาหาพระองค์ [2] การรับวะฮีย์ (คำวิวรณ์) ความรู้ในสิ่งเร้นลับ [3] และความสะอาดบริสุทธิ์ปราศจากมลทิน [4] และการตอบรับเสียงเรียกร้อง [5] เป็นหนึ่งในคุณลักษณะของบรรดาศาสดา นักเทววิทยาอิสลามส่วนใหญ่ เชื่อว่า บรรดาศาสดา เป็นผู้ที่บริสุทธิ์จากบาปและความผิดพลาดในทุกเรื่องและในทุกช่วงอายุขัยของชีวิตของพวกเขา [6] ด้วยเหตุนี้เอง กรณีต่างๆที่กล่าวถึงในอัลกุรอานเกี่ยวกับการขออภัยโทษของบรรดาศาสดาและการให้อภัยโทษจากพระเจ้า [7] เช่น ขณะที่การสังหารชายชาวอียิปต์โดย ศาสดามูซา (อ.) [8] การละทิ้งภารกิจโดยศาสดายูนุส [9] และการรับประทานผลไม้ต้องห้ามโดยศาสดาอาดัม (อ.) [10] โดยการอธิบายว่าเป็นการตัรกุลเอาลา ในทางตรงกันข้าม นักเทววิทยาบางคน ถือว่า ความไม่ผิดพลาดของบรรดาศาสดานั้นมีความจำเป็น โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาวะของการเป็นศาสดา และในภารกิจต่างๆในปัจจุบันของชีวิต ที่เรียกกันว่า ซะฮ์วุนนะบี[11]
จำนวนและนามต่างๆ
เกี่ยวกับจำนวนของบรรดาศาสดา มีคำรายงานต่างๆที่แตกต่างกัน โดยอัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี รายงานว่า จำนวนของพวกเขา มี 124,000 คน [12] ตามคำรายงานนี้ บรรดาศาสดา จำนวน 313 คนเป็นรอซูล (ผู้ส่งสาร) 600 คน เป็นศาสดาที่มาจากบะนีอิสรออีล และสี่คน (ฮูด (อ.) ศอลิห์ (อ.) และชุอัยบ์ (อ.) และมุฮัมมัด (อ.) เป็นชาวอาหรับ [13] ในริวายะฮ์อื่น ๆ จำนวนของบรรดาศาสดา ถูกกล่าวถึงเป็น 8,000 คน, [14] 320,000 คน, [15] และ 144,000 คน[16] อัลลามะฮ์ มัจญ์ลิซี คาดคะเนว่า จำนวน 8,000 คน เกี่ยวกับบรรดาศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ [17] ศาสดาองค์แรก คือ อาดัม (อ.) [18] และศาสดาองค์สุดท้าย คือ มุฮัมมัด (ศ็อลฯ) [19] คัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวถึงบรรดาศาสดาบางคน [20] อาดัม (อ.) นูฮ์ ((อ.) อิดริส (อ.), ฮูด (อ.), ศอลิห์ (อ.), อิบรอฮิม (อ.), ลูฏ (อ.), อิสมาอิล (อ.), อัลยัซอ์ (อ.), ซุลกิฟล์ (อ.), อิลยาส (อ.), ยูนุส (อ.) ) (อ.), อิสฮาก (อ.), ยะกูบ (อ.), ยูซุฟ (อ.), ชุอัยบ์ (อ.), มูซา (อ.), ฮารูน (อ.), ดาวูด (อ.), สุลัยมาน(อ.), อัยยูบ (อ.) ซะกะรียา (อ.) ยะฮ์ยา อีซา (อ.) และ มุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เป็นบรรดาที่มีชื่อกล่าวไว้ในอัลกุรอาน [21] นักตัฟซีรบางคนเชื่อว่า มีการกล่าวถึงชื่อของอิสมาอีล บิน ฮิซกีล [หมายเหตุ 1] ด้วยเช่นกัน ในอัลกุรอาน [22] ] โดยบางคนยังเชื่อว่า อัลกุรอานกล่าวถึงคุณลักษณะของบรรดาศาสดาบางคน เช่น อิรมิยา(อ.) และชะมูอีล(อ.) แต่ไม่ได้เอ่ยชื่อของพวกเขา (23) ในอัลกุรอาน มีซูเราะฮ์หนึ่งที่ชื่อว่า ซูเราะฮ์อันอันบิยาอ์ และมีหลายซูเราะฮ์ที่ชื่อถึงบรรดาศาสดา เช่น ซูเราะฮ์ยูนุส ซูเราะฮ์ฮูด ซูเราะฮ์ยูซุฟ ซูเราะฮ์อิบรอฮีม ซูเราะฮ์มุฮัมมัดและซูเราะฮ์นูฮ์
ในริวายะฮ์ต่างๆ รายงานว่า ชีษ [24] ฮิซกีล [25] ฮะบะกูก [26] ดาเนียล [27] เจอร์จิส [28] อูซัยร์ [29] ฮันซอละฮ์ [30] และอัรมิยา [31] ถือเป็นศาสดา ส่วนในการเป็นศาสดาของบุคคลเช่น คิฎร์ (32) คอลิด บินซินาน (33)และซุลก็อรนัยน์ (34)นั้นมีทัศนะที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอีย์ กล่าวว่า อุซัยร์ ที่การเป็นศาสดาของเขายังไม่ชัดเจนนัก [35] บนพื้นฐานของโองการจากอัลกุรอาน ศาสดาบางคนอาศัยอยู่ด้วยกันในเวลาเดียวกัน เช่น ศาสดามูซา กับศาสดาฮารูน[36] และศาสดาอิบรอฮีมกับศาสดาลูฏ[37] และเช่นเดียวกันนี้ จากฮะดีษบางบท รายงานว่า เป็นที่เข้าใจกันว่า ศาสดาบางคนอาศัยอยู่ด้วยกัน ตัวอย่างเช่น ซัยยิด บินฏอวูซ ในหนังสือ ลุฮูฟของเขา รายงานจากอิมามฮุเซน (อ.)ว่า เมื่อเขากำลังจะเดินทางออกจากมักกะฮ์ไปยังกูฟะฮ์ เขากล่าวกับอับดุลลอฮ์ บิน อุมัร เจ้าไม่รู้หรือว่า บะนีอิสราเอลไปไกลถึงขนาดที่พวกเขาได้สังหารบรรดาศาสดาทั้งเจ็ดสิบคน ตั้งแต่เช้าจนดวงอาทิตย์ขึ้น จากนั้น (โดยไม่รู้สึกถึงความชั่วร้ายและโศกนาฏกรรมของอาชญากรรมที่น่าสยดสยองนี้) พวกเขาก็ทำการซื้อและขายกันอย่างปกติ ราวกับว่าพวกเขาไม่ได้ก่อให้เกิดภัยพิบัติใดๆ เลยเหรอ? (38) ในอีกรายงานหนึ่ง มัจญ์มะอุลบะยาน เล่าว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้กล่าวกับอะบูอุบัยดะฮ์ ญัรเราะฮ์ว่า : โอ้อะบูอุบัยดะฮ์! เช้าตรู่ของวันหนึ่ง ชาวบะนีอิสราเอลได้สังหารบรรดาศาสดา จำนวน 43 คนพร้อมกัน หลังจากนั้น ชาวอิสราเอล 112 คน ได้เข้ามาในการกำชับในความดีและห้ามปรามความชั่วร้าย โดยเรียกร้องให้มีการตอบโต้ต่อการถูกสังหารของบรรดาศาสดา ซึ่ง ในที่สุด พวกเขาทั้งหมดก็ถูกสังหาร ด้วยเช่นกันในวันนั้น [39]
สถานภาพและระดับขั้น
บนพื้นฐานของอายะฮ์ "เราได้ให้บางส่วนของบรรดาศาสดานั้นสูงส่งกว่าบางส่วน[81] สถานภาพของบรรดาศาสดานั้นไม่เหมือนกันและบางคนก็เหนือกว่าบุคคลอื่น ในฮะดีษต่างๆ รายงานว่า สถานภาพศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) มีความสูงส่งกว่าศาสดาคนอื่นๆ [82] [หมายเหตุที่ 2] ในทัศนะของชาวยิว ระบุว่า บรรดาศาสดาของบะนีอิสราเอลนั้นมีความสูงส่งกว่าศาสดาคนอื่นๆ และในหมู่พวกเขา ถือว่าศาสดามูซา (อ ) สูงส่งกว่าบุคคลอื่นๆ [ 83]
อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอีย์ กล่าวว่า ความหมายของอัซม์ ในโองการที่ 35 ของซูเราะฮ์อัลอะห์กอฟ หมายถึง ชารีอะฮ์ (ศาสนบัญญัติ) และความหมายของอูลุลอัซม์ หมายถึง บรรดาศาสนาที่มีชะรีอะฮ์ จากทัศนะของเขา ระบุว่า มีศาสดาทั้งห้าคนที่มีชารีอะห์ (นุฮ์ (อ.) อิบรอฮีม (อ.) มูซา (อ.) อีซา (อ.) และมุฮัมมัด (ศ็อลฯ)เป็นศาสดา อูลุลอัซม์ [84]บางคน เชื่อว่า อูลุลอัซม์ นั้นเป็นเอกลักษณ์อันเฉพาะในศาสดาไม่มีชะรีอะฮ์[85] บนพื้นฐานของริวายะฮ์ รายงานว่า บรรดาศาสดาอูลุลอัซม์นั้น มีความสูงส่งกว่าศาสดาคนอื่นๆ
ตำแหน่งเราะซูล
ในทัศนะที่เป็นที่รู้จัก ถือว่า นบี (ศาสดา)มีความหมายที่กว้างกว่าเราะซูล (ศาสนทูต) ทุกเราะซูล เป็นนบี แต่ทุกนบี ไม่ได้เป็นเราะซูล [87] บนพื้นฐานของฮะดีษ รายงานว่า บรรดาศาสดาจำนวน 313 คนเป็นเราะซูล [88] ความแตกต่างบางประการระหว่างนบีกับเราะซูล มีดังนี้
- เราะซูล เป็นผู้ได้รับวะฮีย์ ทั้งในยามนอนหลับและการตื่น แต่ทว่า นบีได้รับเฉพาะในยามนอนหลับเพียงเท่านั้น[89]
- วะฮีย์ให้กับเราะซูลโดยผ่านเทวทูต ญิบรออีล แต่วะฮีย์ให้กับนบีผ่านเทวทูตองค์อื่น หรือการดลใจ หรือความฝันที่ถูกต้อง [90]
- นอกจากนี้ เราะซุลยังมีสถานภาพของนบี การทำให้ริซาละฮ์ (สาร)เป็นข้อพิสูจน์ที่สมบูรณ์อีกด้วย [91]
- เราะซูล คือ ผู้ที่มีชะรีอะฮ์และหลักปฏิบัติ แต่นบี เป็นผู้ที่รักษาชะรีอะฮ์ของบุคคลอื่น เฏาะบัรซีอ้างคำพูดนี้เป็ยของญาฮิซ [92] ซึ่งแน่นอนว่า นักตัฟซีรบางคน เช่น เฏาะบัรซี ถือว่า นบีและเราะซูลมีความหมายเดียวกัน [93]
บรรดาศาสดาที่มีชะรีอะฮ์และผู้เผยแพร่
ด้วยพื้นฐานของการแบ่งประเภทของบรรดาศาสดา ได้ถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มด้วยกัน : บรรดาศาสดาที่มีชะรีอะฮ์ และบรรดาศาสนา ผู้เผยแพร่ [94] หน้าที่ของบรรดาศาสดา ผู้เผยแพร่ คือ การส่งเสริม เผยแพร่ การดำเนินการและการอธิบายชะรีอะฮ์ที่มีอยู่ในยุคสมัยของพวกเขา ซึ่งตรงกันข้ามกับบรรดาศาสดาที่มีชะรีอะฮ์ เช่น ศาสดานูฮ์ อิบรอฮีม มูซา และอีซา [95] ซึ่งเป็นเจ้าของชะรีอะฮ์ [96] และได้นำศาสนาใหม่เข้ามาและมีจำนวนที่น้อยอย่างมาก [97]
สถานภาพของอิมามะฮ์
บนพื้นฐานของโองการ อิบติลาอ์ อิบรอฮีม ระบุว่า ศาสดาบางคนก็มีตำแหน่งเป็นอิมามะฮ์อีกด้วยเช่นกัน [98] ในบางริวายะฮ์ รายงานว่า ตำแหน่งอิมามะฮ์ ถือว่า มีความสูงส่งกว่าตำแหน่งนบี เพราะตำแหน่งนี้ มอบให้ศาสดาอิบรอฮีม (อ.)ในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขา (อ.) และหลังจากการเป็นนบีของเขา [99] ] [หมายเหตุที่ 3] ในซูเราะฮ์อันอัมบิยาอ์ ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) อิสฮาก (อ.) ยะอ์กูบ (อ.) และลูฏ (อ.) ถูกแนะนำในฐานะที่เป็นอิมาม [100] ในฮะดีษจากอิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า บรรดาศาสดาอูลุลอัซม์นั้นมีตำแหน่งอิมามะฮ์[101]
ความสูงส่งกว่าเหล่าเทวทูต
เชคมุฟีด กล่าวว่า อิมามียะฮ์และอะฮ์ลุลฮะดีษในหมู่ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ถือว่า ตำแหน่งของบรรดาศาสดามีความสูงส่งกว่ามะลาอิกะฮ์ (เทวทูต) แต่พวกมุอ์ตะซิละฮ์ส่วนใหญ่จากอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ เชื่อว่า มะลาอิกะฮ์นั้นมีความสูงส่งกว่าบรรดาศาสดา [102] บางฮะดีษ รายงานว่า ตำแหน่งของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และบรรดาอิมามสิบสองนั้นมีความสูงส่งกว่าเหล่าเทวทูต [103]
บรรดาศาสดาที่มีคัมภีร์
บรรดาศาสดาจำนวนหนึ่งที่มีคัมภีร์แห่งฟากฟ้า จากโองการของอัลกุรอาน ระบุว่า ซะบูร คัมภีร์ของศาสดาดาวูด (อ.) เตารอต คัมภีร์ของศาสดามูซา (อ.) [หมายเหตุที่ 4] อินญีล คัมภีร์ศาสดาอีซา (อ.) [105] และอัลกุรอาน เป็นคัมภีร์ของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล) [106] อัลกุรอานยังไม่ได้กล่าวถึงชื่อคัมภีร์ของศาสดาอิบราฮีม (อ และใช้คำว่า ซุฮุฟ สำหรับเขา [107] และเช่นเดียวกันนี้ บนพื้นฐานของฮะดีษ รายงานว่า พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงประทานศอฮีฟะฮ์ 50 บท ให้ศาสดาชีษ (อ) ศอฮีฟะฮ์30 บท ให้ศาสดาอิดรีส (อ ) และ ศอฮีฟะฮ์ 20 บท ให้ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) [108]
บรรดานักตัฟซีร ได้ยกหลักฐานอ้างอิงจากโองการที่ว่า พระองค์ได้ทรงกำหนดศาสนาแก่พวกเจ้า เช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงบัญชาแก่นูฮ์ และที่เราได้วะฮีย์แก่เจ้า ก็เช่นเดียวกับที่เราได้บัญชาแก่อิบรอฮีม และมูซา และอีซา [109] ศาสดานูฮ์ (อ.) อิบรอฮีม มูซา อีซาและศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)เป็นศาสดาที่มีชะรีอะฮ์ (110) บางริวายะฮ์ รายงานว่า เหตุผลของอูลุลอัซม์ของบรรดาศาสดาเหล่านี้ คือ การมีหลักชะรีอะฮ์ของพวกเขานั่นเอง [111]
อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอีย์ กล่าวว่า บรรดาศาสดาอูลุลอัซม์ แต่ละคนนั้นมีคัมภีร์และมีหลักชารีอะฮ์ [112] และคัมภีร์ของบรรดาศาสดาที่ไม่ใช่อูลุลอัซม์ เช่น ศาสดาดาวูด (อ.), [113] ชีษ (อ.) และศาสดอิดรีส (อ.), [114] ไม่มีความขัดแย้งกับการมีหลักชะรีอะฮ์ของบรรดาศาสดาอูลุลอัซม์ เพราะว่า บรรดาศาสดาที่ไม่ใช่อูลุลอัซม์ พวกเขาไม่มีหลักปฏิบัติและชะรีอะฮ์ [115]
ปาฏิหาริย์
ปาฏิหาริย์ เป็นอีกวิธีหนึ่งในการรู้จักบรรดาศาสดา จากเหล่าผู้อ้างสิทธิ์ในการเป็นศาสดาจอมปลอม ปาฏิหาริย์ถือเป็นการกระทำที่พิเศษที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานและเกิดขึ้นด้วยการกระทำของบรรดาศาสดาในการกล่าวอ้างว่าเป็นศาสดาและพร้อมกับความท้าทาย [116] อัลกุรอานได้กล่าวถึงปาฏิหาริย์บางประการของบรรดาศาสดา เช่น นาเกาะฮ์ (อูฐ)ของศาสดาศอลิฮ์ , [117] การทำให้ไฟมีความเย็นลงสำหรับศาสดาอิบรอฮีม , [118] การฟื้นคืนชีพของนกทั้งสี่ตัวด้วยมือของศาสดาอิบรอฮีม , [119] ปาฏิหาริย์ทั้งเก้าประการของศาสดามูซา (อ.) เช่น การเปลี่ยนไม้เท้าให้กลายเป็นมังกร (120) การไหลของตาน้ำทั้งสิบสองแห่งสำหรับบะนีอิสราเอล (121) การแยกออกของทะเลและการเปิดทางแห่งความรอดสำหรับบะนีอิสราเอล (122) ยะดุน บัยฎอ (123) ปาฏิหาริย์ของศาสดาอีซา (อ.) เช่น การรักษาคนป่วย การทำให้คนตายฟื้น การทำให้โคลนกลายเป็นนก [124] และปาฏิหาริย์ของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ) เช่น อัลกุรอาน[125] และการแตกออกของดวงจันทร์[126] ] ถือเป็นหนึ่งในปาฏิหาริย์ที่มีชื่อเสียงของบรรดาศาสดาที่ถูกกล่าวถึงในอัลกุรอาน อิบนุ เญาซีย์ กล่าวว่า จากแหล่งอ้างอิงต่างๆ รายงานว่า สำหรับศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)มีปาฏิหาริย์ถึง 1,000 ประการด้วยกัน [127]
ความแตกต่างในปาฏิหาริย์ เนื่องจากความแตกต่างด้านความรู้และความต้องการของผู้คน ในเวลาที่ต่างกัน วิทยปัญญาของพระผู้เป็นเจ้า บอกว่า ปาฏิหาริย์ของแต่ละศาสดา ควรเป็นไปตามความต้องการของผู้ฟัง ตัวอย่างเช่น ในสมัยของศาสดามูซา (อ.) เวทมนตร์และมายากลมีอย่างแพร่หลาย พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานปาฏิหาริย์ให้ศาสดามูซา เป็นไม้เท้า เพื่อว่าเหล่านักมายากลจะไม่สามารถนำอะไรทำนองนี้มาได้ และเป็นข้อพิสูจน์ที่สมบูรณ์ที่มีต่อผู้อื่น[128]
อิรฮาศ
อิรฮาศ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการแต่งตั้งบรรดาศาสดาและด้วยวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมพร้อมให้ประชาชนยอมรับข้อเรียกร้องต่างๆของพวกเขา [129] ในทัศนะของบรรดานักเทววิทยา เรียกว่า อิรฮาศ การช่วยเหลือศาสดามูซา (อ.) จากแม่น้ำไนล์, การพูดของศาสดาอีซาในขณะอยู่ในเปล, (130) การที่ทะเลสาบซาเวห์แห้งเหือด, การสั่นสะเทือนของห้องโถงกัสรอ, การดับของไฟในวิหารฟาร์ส และเหตุการณ์อื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นในปีแห่งการประสูติของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) [131] ถือเป็นหนึ่งในอิรฮาศของบรรดาศาสดา
แหล่งอ้างอิง
บรรดานักรายงานฮะดีษ นักตัฟซีร และนักเทววิทยาอิสลาม ได้เขียนผลงานเกี่ยวกับบรรดาศาสดาอย่างมากมาย อัลลามะฮ์ มัจญ์ลิซีย์ ได้ประพันธ์ สี่เล่ม จากหนังสือบิฮารุลอันวาร โดยหยิบยกเอาริวายะฮ์ต่างๆที่เกี่ยวกับบรรดาศาสดา [132] และเก้าเล่มที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) [133] นอกเหนือจากนี้ ยังหนังสือต่างๆที่เกี่ยวกับบรรดาศาสดาโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องเล่าของบรรดาศาสดา และชีวประวัติของบรรดาศาสดา และบางครั้ง มีการพูดถึงประเด็นทางด้านหลักศรัทธาที่เกี่ยวกับพวกเขา บางผลงานเหล่านี้ คือ:
อัลนูร อัลมูบิน ฟี กิเศาะศ็อลอัมบิยาอ์ วัลมุรซะลีน: หนังสือเล่มนี้ เขียนโดย ซัยยิดนิมะตุลลอฮ์ ญะซาอิรีย์ (1050-1112 ฮ.ศ.) หนังสือเล่มนี้ ประกอบด้วยชีวิตของบรรดาศาสดา ที่มีการกล่าวชื่อในริวายะฮ์ต่างๆของชีอะฮ์ ในบทนำ ผู้เขียนได้อภิปรายถึงหัวข้อต่างๆ เช่น จำนวนของบรรดาศาสดา ความคล้ายคลึงกันของพวกเขา บรรดาศาสดาอูลุลอัซม์ และความแตกต่างระหว่างนบีกับอิมาม หนังสือเล่มนี้ เขียนเป็นภาษาอาหรับและแปลเป็นภาษาฟาร์ซีย์ โดยมีชื่อว่า เรื่องเล่าของบรรดาศาสดาหรือเรื่องเล่าของอัลกุรอาน ตั้งแต่อาดัมจนถึงคอตัม
กอเศาะศ็อลอัมบิยาอ์ รอวันดี หนังสือเล่มนี้ เขียนโดย กุฏบุดดีน รอวันดี ในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนได้อธิบายถึงชีวประวัติของบรรดาศาสดา ตามลำดับเวลา
ตันซีฮุลอัมบิยาอ์ วัลอะอิมมะฮ์ เขียนโดย ซัยยิดมุรตะฎอ (436-355 ฮ.ศ.) เขียนเป็นภาษาอาหรับ เพื่อพิสูจน์ถึงความบริสุทธิ์ปราศจากบาปของบรรดาศาสดา ในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนเชื่อว่า บรรดาศาสดาได้รับการยกเว้นจากความผิดพลาดทุกประเภท ทั้งบาปเล็กหรือบาปใหญ่[134]
วะกอยิอ์ อัซซินีน วัลอะอ์วาม : หนังสือเล่มนี้ เขียนโดย ซัยยิด อับดุลฮุเซน คอตูนออบอดี (เสียชีวิต ฮ.ศ. 1105) หนังสือเล่มนี้ มีสามส่วน ส่วนแรกเกี่ยวข้องกับประวัติของบรรดาศาสดา ในส่วนนี้ ผู้เขียนได้กล่าวถึงอายุขัย และสภาพการณ์บางประการของบรรดาศาสดาบางคน และอีกสองส่วนกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสมัยของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) หนังสือเล่มนี้ถูกเขียนเป็นภาษาฟาร์ซีย์ ละฏออิฟ กอเศาะศ็อลอัมบิยาอ์ อะลัยฮิมุสสะลาม เขียนโดย ซอห์ล บิน อับดุลลอฮ์ ทุสตะรี (เสียชีวิต ในปี 238 ฮ.ศ.) หนังสือเล่มนี้ เกี่ยวข้องกับบางแง่มุมของชีวิตของบรรดาศาสดา โดยการอ้างอิงจากโองการอัลกุรอานและริวายะฮ์ต่างๆ
ฮะยาตุลกุลูบ: หนังสือเล่มนี้ เป็นผลงานของอัลลามะฮ์ มัจญ์ลิซีย์ (เสียชีวิตในปี 1110 ฮ.ศ.) และกล่าวถึงชีวประวัติของบรรดาศาสดาและผู้สืบทอดของพวกเขา ในหนังสือเล่มนี้ มัจญ์ลิซีย์ ยังได้กล่าวถึงสถาวะการเป็นศาสดาทั่วไป การเป็นเคาะลีฟะฮ์ของอิมามอะลี (อ.) ความจำเป็นในการมีอยู่ของอิมาม การได้รับการแต่งตั้ง และอิศมะฮ์ (ความบริสุทธิ์ปราศจากบาปทั้งปวง) นอกจากนี้ หนังสือ กอเศาะศ็อลอัมบิยาอ์ อะรออิซุลมะญาลิซ ผลงานของอะฮ์มัด บินมุฮัมมัด ษะอ์ละบี กอเศาะศ็อลอัมบิยาอ์ เขียนโดยอิบนุกะษีร และหนังสือ กอเศาะศ็อลอัมบิยาอ์ ผลงานของอะบูอิสฮาก นัยชาบูรี จากนักวิชาการชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ที่เกี่ยวกับประเด็นนี้โดยเฉพาะ