หินดำ

จาก wikishia
สถานที่ตั้ง หินดำ

หินดำ อัลฮะญะรุลอัสวาด (ภาษาอาหรับ : الحجر الأسود) เป็นหินสีดำที่ติดตั้งบนกำแพงของ กะอ์บะฮ์ หินก้อนนี้เป็นเพียงส่วนเดียวที่เหลืออยู่ของศาสนสถานแห่งแรกที่สร้างขึ้นบนโลก ตามคำรายงานจาก อิมามบากิร (อ.) หินดำ เป็นหนึ่งในสามศิลาแห่ง สวรรค์ บนโลก ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้สั่งให้สัมผัสหินดำและบรรดาฟะกีฮ์ของอิสลาม ถือว่า การสัมผัสหินดังกล่าวเป็นมุสตะฮับ การฏอวาฟ (เวียนรอบ)ของกะอ์บะฮ์ เริ่มต้นจากตรงเบื้องหน้าของหินนี้และสิ้นสุดในที่เดียวกันนี้ ในทุกครั้งของการเวียนรอบที่เป็นวาญิบและมุสตะฮับ มีการสั่งว่าให้เอามือขวาสัมผัสหินก้อนนี้และทำการจูบมัน หากไม่เป็นเช่นนั้น ให้ชี้มือไปที่หินก้อนนี้และทำพันธสัญญาใหม่กับมันอีกครั้ง ตามคำกล่าวของนักวิชาการชีอะฮ์บางคน ในข้อพิพาทระหว่าง มุฮัมมัด บิน ฮะนะฟียะฮ์ กับ อิมามซัจญาด (อ.) เกี่ยวกับความเป็นอิมามนั้น โดยอิมามซัจญาดได้ให้หินดำเป็นผู้ตัดสิน และหินดำได้ให้คำปฏิญาณแก่ความเป็นอิมามของอิมามซัจญาด (อ.) ตลอดหน้าประวัติศาสตร์ หินดำถูกโจมตีหลายครั้ง และหลายคนพยายามทำลายหรือขโมยมัน และบางครั้ง พวกเขาก็ทำสำเร็จ

คำแนะนำและสถานภาพ

  อิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า : อัลลอฮ์ ทรงสร้างหินดำและรับพันธสัญญาจากปวงบ่าวของพระองค์ โดยพระองค์ทรงตรัสกับมันว่า จงเก็บพันธสัญญานี้ ไว้ในตัวของเจ้า  บรรดาผู้ศรัทธา (โดยการสัมผัสหิน) แสดงถึงความยึดมั่นในพันธสัญญาของพวกเขา [1]   

หินดำเป็นหินสีดำที่ติดตั้งอยู่บนผนังของกะอ์บะฮ์ ใน รุกน์ทางทิศตะวันออก [2] หินนี้ มีคุณค่าทางจิตวิญญาณอย่างมากสำหรับชาวมุสลิม [4] รุกน์ทางทิศตะวันออกของกะอ์บะฮ์ เรียกอีกอย่างว่า รุกน์ อัลฮะญะรุลอัสวาด เนื่องจากมีหินดำอยู่ในนั้น และเป็นที่รู้จักด้วยเช่นกัน [5] ระยะห่างของหินนี้จากพื้นผิวของพื้นดินของ มัสยิดอัลฮะรอม นั้นสูงกว่าหนึ่งเมตรครึ่ง [2] หินนี้บรรจุอยู่ในตลับเงิน ในปัจจุบันนี้ จากหินนี้ เหลืออยู่เพียงหินก้อนเล็กๆทั้งแปดก้อน โดยก้อนที่ใหญ่ที่สุดมีขนาดเท่าผลอินทผลัม [6] ตามคำรายงานของ อิมามบากิร (อ.) มีหินอยู่สามก้อนจากสวรรค์บนแผ่นดิน หนึ่งในนั้นคือ หินดำ [7] ไม่มีการกล่าวถึงหินดำใน อัลกุรอาน อย่างไรก็ตาม ใน ซูเราะฮ์อาลิอิมรอน บัยตุลลอฮ์ถือว่า เป็น โองการที่ชัดเจน (สัญญาณที่กระจ่างชัด) [8] และในการอธิบายของโองการนี้ พวกเขาถือว่า หินดำ เป็นตัวอย่างหนึ่งของสัญญาณที่กระจ่างชัดของกะอ์บะฮ์ [9] คอลีฟะฮ์ (กาหลิบ) ที่สอง ถือว่า หินดำเป็นหินที่ไม่มีประโยชน์หรือเป็นอันตรายต่อมนุษย์ เขาถือว่า การรักหินดำ อันเนื่องจากการที่ ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) มีความรักต่อมัน อิมามอะลี (อ.) ได้ขัดแย้งกับกาหลิบและกล่าวว่า อัลลอฮ์ จะทรงชุบชีวิตหินก้อนนี้ใน วันกิยามะฮ์ ในขณะที่หินนั้นมีหนึ่งลิ้นและสองริมฝีปาก และจะเป็นพยานสำหรับผู้ที่ยึดมั่นในพันธสัญญาของพวกเขา หินก้อนนี้เป็นเสมือนดั่งพระหัตถ์ขวาของพระเจ้า ซึ่งผู้คนต่างให้สัตยาบันว่าจะจงรักภักดีต่อพระองค์ [10] ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)ในขณะที่ทำ อุมเราะตุลกอฎอ เข้าเวียนรอบกะอ์บะฮ์ขณะขี่อูฐ [11] และได้สัมผัสหินดำด้วยไม้เท้าของเขา [12]

ความสูงส่ง

 อะลี ชะรีอะตี กล่าวว่า : ในการเริ่มต้น คุณจะต้องสัมผัสหินดำ ด้วยมือขวาของคุณ หินนี้ เป็นสัญญาณแสดงถึงพระหัตถ์ พระหัตถ์ขวา พระหัตถ์ขวาของพระเจ้า! และในขณะนี้พระเจ้าได้นำมือขวาของพระองค์มาให้แก่คุณ นำมือขวาของคุณมา จงให่สัตยาบันต่อพระองค์ ทำพันธสัญญากับพระองค์ ทำข้อตกลงและจงทำลายความเกี่ยวพันธ์ก่อนหน้านี้ทั้งหมดของคุณ และลบล้างมันให้หมดสิ้น [13]  

ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้สั่งให้ สัมผัสหินดำ และถือว่าหินก้อนนี้เป็นพระหัตถ์ข้างขวาของพระเจ้าที่ผู้คนสามารถสัมผัสมัน [14] อายาตุลลอฮ์ ญะวาดี อามุลี (เกิด 1312 สุริยคติ) หนึ่งในนักวิชาการของชีอะฺฮ์ ถือว่า การสัมผัสหิน ราวกับว่าชาวมุสลิมได้ให้คำสัตยาบันกับพระเจ้า [15] บางคน ถือเอาคำพูดของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) หมายถึง การบรรลุสู่ความผาสุกโดยผ่านหินดำ [16] มีริวายะฮ์ รายงานจาก อิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) ว่า หลังจากการ ปรากฏตัว ของเขา ้เขาจะพึ่งพายังหินดำและผู้คนให้คำสัตยาบันกับเขา [17] ในหนังสือ ตัฟซีร นะมูเนะห์ ได้เขียนเกี่ยวกับความสูงส่งของหินนี้ โดยระบุว่า หินนี้เป็นของที่เก่าแก่ที่สุดที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้างในศาสนสถาน เนื่องจากวิหารทั้งหมดบนโลกนี้และแม้แต่กะอ์บะฮ์ได้รับการสร้างขึ้นใหม่หลายครั้งและมีการเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้าง มีเพียงหินก้อนนี้ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปหลายพันปี ยังคงอยู่ในวิหารนี้มาโดยตลอด [18] ในแหล่งข้อมูลของชีอะฮ์ มีการสั่งให้ขอพรจากหินดำ [19] การ ฏอวาฟ (เวียนรอบ) กะอ์บะฮ์ เริ่มต้นและจบลงด้วยหินนี้ [20] ในทุกครั้งของการฏอวาฟที่เป็นวาญิบและมุสตะฮับ มีคำสั่งให้สัมผัสหินนี้ด้วยมือขวาและจูบมัน และถ้าไม่สามารถกระทำ ให้ทำการชี้ไปยังมันด้วยมือ แล้วให้สัตยาบันและพันธสัญญากับมันอีกครั้ง [21] กล่าวกันว่า หินดำไม่เคยถูกนำมา บูชา หรือรวมอยู่ในรูปปั้นเจว็ด ตลอดประวัติศาสตร์ แม้แต่ใน สมัยยุคอวิชชา แต่ทว่า หินดำ แสดงให้เห็นถึงเตาฮีดอันบริสุทธ์และการปฏิเสธการตั้งภาคี [22]

การสัมผัสหินดำ

การสัมผัสหินดำหมายถึงการสัมผัสหินดำและทำการจูบมันด้วยมีเจตนาเพื่อเป็น ศิริมงคล [23] ใน ริวายะฮ์ ต่างๆ ได้มีการสั่งให้สัมผัสและจูบหินดำ [24] บรรดาฟะกีฮ์ของ ชีอะฮ์ และ ซุนนี ถือว่า การสัมผัสหินดำ เป็นการกระทำที่เป็น มุสตะฮับ [25] อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี เขียนในหนังสือ ตัฟซีรอัลมีซาน ว่าคำสั่งให้การสัมผัสและจูบหินดำ เป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้า ซึ่งมีการรายงานจากริวายะฮ์ต่างๆและโองการอัลกุรอาน การรำลึกถึงศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และการให้ความรักต่อเขาและบรรดาครอบครัวของเขา นอกจากนี้ ยังมีคำสั่งอื่นๆ จากประเภทนี้ เป็นคำสั่งที่ถูกต้อง ไม่มีความผิดพลาด และไม่สามารถถือว่าเป็นการ ชิริก (การตั้งภาคี) ได้[26]

แหล่งที่มาและสี

ตอนนี้มองเห็นเพียงบางส่วนของหินดำผ่านครกที่ยึดส่วนต่างๆ ไว้ด้วยกัน

หินดำ ถือเป็นหินแห่ง สวรรค์ [27] ตามบางรายงานจากริวายะฮ์กล่าวว่าหินดำ เป็นหนึ่งในเทวทูตที่อุทิศตนต่อพันธสัญญาอันศักดิ์สิทธิ์ต่อหน้า บรรดาเทวทูต ทั้งหมดและพระเจ้าได้กำหนดให้เขาเป็นผู้รักษาพันธสัญญาเหนือบรรดาเทวทูตทั้งหมด [28] ตามบางรายงานระบุว่า ศาสดาอาดัม (อ.) ได้ใช้หินแห่งสวรรค์นี้ในการก่อสร้าง กะอ์บะฮ์ [29] และในช่วงเวลาแห่งการสร้างกะอ์บะฮ์ขึ้นมาใหม่โดย ศาสดาอิบรอฮีม หินก้อนนี้อยู่บน ภูเขาอะบูกุบัยซ์ และศาสดาอิบรอฮิมได้ติดตั้งมันบนกะอ์บะฮ์ [30] ตามยางริวายะฮ์ ถือว่า หินก้อนนี้ในช่วงแรกหินมีสีขาวมาก แต่เนื่องจากบาปทั้งหลายของมนุษย์ [7] และการสัมผัสของเหล่าอาชญากรและ ผู้กลับกลอกตีสองหน้า (มุนาฟิก) มันจึงกลายเป็นสีดำ [31]กล่าวกันว่า การเป็นสีดำคล้ำ เนื่องจากการถูกไฟไหม้หลายครั้งของกะอ์บะฮ์ในช่วงเวลาต่างๆ [32] นอกจากนี้ บางริวายะฮ์ ถือว่า การสัมผัสของเหล่าผู้ปฏิเสธศรัทธา (กาฟิร) เป็นสาเหตุทำให้มันกลายเป็นสีดำ[33] มุฮัมมัด ญะวาด มุฆนียะฮ์ (เกิด 1322 ฮ.ศ.) หนึ่งในนักตัฟซีรของชีอะฮ์ร่วมสมัย เชื่อว่าประเด็นที่หินดำมาจากสวรรค์และในอันดับแรกเป็นสีขาวมาก่อน จากนั้นจึงกลายเป็นสีดำ ล้วนเป็น คอบัรวาฮิด หรือเรื่องเล่า ซึ่งเราไม่สามารถที่จะยอมรับได้ [34]

เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์

ในการบูรณะ กะอ์บะฮ์ ขึ้นใหม่ เมื่อห้าปีก่อนที่ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) จะได้รับการ แต่งตั้งเป็นศาสนทูต ของศาสนาอิสลาม ทุกเผ่าพันธ์ต่างต้องการที่จะติดตั้งหินดำ จึงกลายเป็นข้อพิพาทอย่างรุนแรงเกิดขึ้นและในที่สุดด้วยคำแนะนำของ ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) หินก้อนนี้ได้ถูกห่อด้วยผ้าและบรรดาหัวหน้าเผ่า กุเรช ได้จับด้านข้างของมันโดยรอบและเมื่อไปถึงยังสถานที่ของมัน ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้ใช้มือของเขาจับมันขึ้นมาและนำไปไว้ยังสถานที่ของมัน [35] ตามคำกล่าวของ อิบนุ ฮัมซะฮ์ ฏูซี นักวิชาการชาวชีอะฮ์ในศตวรรษที่ 6 [36] และบุคคลอื่นๆ [37] มุฮัมมัด อิบนุ ฮะนะฟียะฮ์ ได้โต้แย้งกับ อิมามซัจญาด (อ.) ในประเด็นความเป็นอิมาม โดยอิมามซัจญาด (อ.) ได้พูดคุยกับเขา แต่เขาไม่ยอมรับ ในท้ายที่สุด อิมามได้ให้หินดำ เป็นผู้ตัดสิน ด้วยการอนุญาตจากพระผู้เป็นเจ้า หินดำได้ให้การปฏิญาณต่อิมามซัจญาด (อ.)หินดำถูกโจมตีหลายครั้งในตลอดช่วงประวัติศาสตร์และมีหลายคนพยายามที่จะทำลายหรือขโมยมันไป[38] ในเดือน ซุลฮิจญะฮ์ ปีที่ 317 ฮิจเราะฮ์ศักราช ชาว ก็อรมาฏียาน ได้ โจมตีเมืองมักกะฮ์ และพวกเขาได้นำหินดำออกจากกะอ์บะฮ์และนำไปยังเมืองหลวงของพวกเขาและในปี 339 ฮ.ศ. พวกเขาได้คืนหินดำให้กับกะอ์บะฮ์โดยแลกกับเงินก้อนโต [39]