กะอ์บะฮ์

จาก wikishia

กะอ์บะฮ์ (ภาษาอาหรับ: الكعبة) กะอ์บะฮ์ คือ ทิศกิบลัตของบรรดามุสลิมและเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญที่สุดในโลก สำหรับพวกเขา นักวิชาการมุสลิม ถือว่า กะอ์บะฮ์เป็นสถานที่แรกสำหรับการอิบาดะฮ์ของทุกคน และเป็นสัญลักษณ์ในการนำมนุษย์ไปสู่พระเจ้า

อาคารแห่งนี้ ตั้งอยู่ในมัสยิดอัลฮะรอมในมักกะฮ์ บรรดามุสลิมจะต้องหันหน้าไปทางกะอ์บะฮ์ในเวลานมาซ และบรรดาผู้แสวงบุญ จะต้องเดินรอบกะอ์บะฮ์ในระหว่างการประกอบพิธีฮัจญ์ ในเขตศักดิ์สิทธิ์ของกะอ์บะฮ์ ไม่มีผู้ใดมีสิทธิ์ละเมิดมนุษย์หรือสัตว์ อีกทั้งอิมามอะลี (อ) ถือกำเนิด ในกะอ์บะฮ์

ตามความคิดเห็นที่เป็นที่รู้จักกันในหมู่นักวิชาการชีอะฮ์ มีริวายะฮ์ต่างๆรายงานว่า กะอ์บะฮ์ถูกสร้างขึ้นก่อนศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ในยุคสมัยของศาสดาอาดัม (อ.) และแม้กระทั่ง บางคนกล่าวไว้ว่า ก่อนการสร้างศาสดาอาดัม แน่นอนว่า มีกลุ่มหนึ่งที่ต่อต้านทฤษฎีนี้ และพวกเขาถือว่า อาคารดั้งเดิมของกะอ์บะฮ์เป็นของศาสดาอิบรอฮิม (อ.)

ห้าปีก่อนการบิอ์ษะฮ์ของศาสดาแห่งอิสลาม กะอ์บะฮ์ถูกทำลาย เนื่องจากเกิดน้ำท่วม ชาวเผ่ากุเรชจึงสร้างขึ้นมาใหม่ทั้งหมดและเป็นครั้งแรกที่มีการสร้างหลังคาและรางน้ำให้กับมัน ในปี 64 และ 1040 ฮ.ศ. กะอ์บะฮ์ทั้งหมดได้ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ และในยุคปัจจุบัน กะอ์บะฮ์ได้รับการบูรณะ และหลังคาและเสาก็ได้รับการบูรณะอีกด้วย

ภายในกะอ์บะฮ์ มีห้องเล็กๆ มีบันไดขึ้นไปบนหลังคาของกะอ์บะฮ์ ห้องนี้ มีประตูเล็กๆ เรียกว่า บาบอัตเตาบะฮ์ กะอ์บะฮ์มีทั้งหมดสี่เสาหลัก รุกน์ฮะญะรุลอัสวัด เนื่องจากมีฮะญะรุลอัสวัด ถูกวางไว้ในนั้น และ การฏอวาฟ เริ่มต้นจากที่นั่น จึงเป็นที่รู้จักมากกว่า

ความสำคัญและสถานภาพ

อิมามอะลี (อ.): อัลลอฮ์ทรงสร้างกะอ์บะฮ์ไว้เป็นสัญลักษณ์สำหรับอิสลาม และเป็นบ้านปลอดภัยสำหรับผู้พักพิงทั้งหลาย[1]

อะลี ชะรีอะตี : บัดนี้ กะอ์บะฮ์อยู่ท่ามกลางกระแสน้ำวน กระแสน้ำวนคำรามที่หมุนและวนรอบกะอ์บะฮ์ จุดคงที่ตรงกลาง ทุกสิ่งที่เคลื่อนที่รอบตัว หมุนเป็นวงกลม และการเคลื่อนไหวชั่วนิรันดร์! ดวงอาทิตย์อยู่ตรงกลางและหมุนรอบ ดาวฤกษ์แต่ละดวงอยู่ในนภาของตัวเอง เป็นวงกลมรอบดวงอาทิตย์[2]

บรรดามุสลิม ถือว่า กะอ์บะฮ์เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญที่สุดในโลก [3] บ้านหลังแรกของการเชื่อในพระเจ้าองค์เดียว(เตาฮีด) [4] และเป็นสัญลักษณ์ของการเชื่อในพระเจ้าองค์เดียว [5] อัลกุรอาน เรียกที่นี่ว่า เป็นบ้านที่มีเกียรติ และเหตุผลก็คือว่า เป็นสื่อแห่งการชี้นำ ความสามัคคี และความใกล้ชิดกับพระเจ้า 6]

มีริวายะฮ์ต่างๆรายงานว่า อิมามอะลี (อ.) ได้แนะนำว่า กะอ์บะฮ์เป็นธงของศาสนาอิสลาม [7] อิมามศอดิก (อ.) ถือว่า การมองไปยังกะอ์บะฮ์ เป็นการอิบาดะฮ์[8] และเขากล่าวว่า ตราบใดที่กะอ์บะฮ์ยังคงยืนหยัด ศาสนาก็จะมั่นคง [9].

เมื่อเวลาผ่านไป กะอ์บะฮ์ จากที่เป็นสถานที่ของการเชื่อพระเจ้าองค์เดียว ได้กลายเป็นสถานที่ในการเคารพบูชาของรูปปั้นเจว็ดทั้งหลาย [10] แต่ศาสดาแห่งอิสลามได้ทำลายรูปปั้นเหล่านั้นของกะอ์บะฮ์ หลังจากที่ได้พิชิตเมืองมักกะฮ์ได้[11]

ชื่อของกะอ์บะฮ์

กะอ์บะฮ์ เป็นชื่อที่ถูกใช้กันมากที่สุดสำหรับบ้านของพระเจ้า ดังนั้นจึงเป็นที่รู้จักในชื่อนี้ [29] และยังใช้ในอัลกุรอานอีกด้วย [30] อัลกุรอานยังกล่าวถึงกะอ์บะฮ์ด้วยชื่อ บัยต์ [31] (ในการรวมกันที่แตกต่างกัน) ซึ่งชื่อที่ถูกรู้จักมากที่สุด คือบัยตุลลอฮ์ (บ้านของพระเจ้า) (32) หรือ คำว่า อัลบัยต์ (33) บัยตุลฮะรอม (34) บัยตุลอะติก, [35] อัล-บัยตุลมะอ์มูร [36] และ อัล-บัยตุลมุฮัรรอม [ 37]

ในยุคสมัยโบราณ กะอ์บะฮ์ยังถูกเรียกด้วยชื่อต่างๆ เช่น กอดิส นาซิร และอัลกอริยะฮ์ อัลกอดิมะฮ์ (38)

เหตุผลในการตั้งชื่อกะอ์บะฮ์

สำหรับเหตุผลในการตั้งชื่อกะอ์บะฮ์นั้น มีการกล่าวถึงเหตุผลสองประการด้วยกัน:

บ้านของพระเจ้า มีรูปทรงสี่เหลี่ยม และชาวอาหรับ ใช้ชื่อนี้เรียกบ้านที่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส(39) กะอ์บะฮ์ หมายถึง ความสูง อาคารของกะอ์บะฮ์จึงถูกเรียกตามชื่อนี้ เนื่องจากมีความสูงจากพื้นดิน(40)

ฮัจญ์และกิบละฮ์

กิบละฮ์แรกของบรรดามุสลิม คือ บัยตุล-มักดิส จนกระทั่งมีโองการหนึ่งถูกประทานลงมาในเมืองมะดีนะฮ์และได้รับคำสั่งให้เปลี่ยนกิบละฮ์ไปทางกะอ์บะฮ์ และกะอ์บะฮ์ก็กลายเป็นกิบละฮ์ของชาวมุสลิม[41] ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคนที่ต้องผินหน้าไปทางกะอ์บะฮ์ในขณะทำนมาซ[42]

ในการประกอบพิธีฮัจญ์ ผู้แสวงบุญ จะต้องทำการเวียนรอบกะอ์บะฮ์ [43)

เชิงอรรถ

บรรณานุกรม