ซูเราะฮ์ อัลเกาษัร

จาก wikishia
โองการซูเราะฮ์ อัลเกาษัร

ซูเราะฮ์อัลเกาษัร (ภาษาอาหรับ:سورة الكوثر) ถือเป็น ซูเราะฮ์ (บท) ที่ 108 ซึ่งถูก ประทานลงที่มักกะฮ์ อยู่ใน ญุซอ์ ที่ 30 ของ อัลกุรอาน ซูเราะฮ์นี้ เป็นซูเราะฮ์ที่มีอายะฮ์ (โองการ) น้อยที่สุด และสาเหตุที่ตั้งชื่อว่า อัลเกาษัร เพระว่า ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้กล่าวถึงความโปรดปรานหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ที่มีชื่อว่า อัลเกาษัร ซึ่งกล่าวใน โองการ แรก และ อัลลอฮ์ ทรงต้องการให้ศาสดา ผู้ทรงเกียรติแสดงความขอบคุณต่อความโปรดปรานนี้ด้วยการ นมาซ และ การเชือดสัตว์พลี (กุรบาน) หนึ่งในความหมายของอัลเกาษัร คือ ธารน้ำในสรวงสวรรค์ ,ประตูทางเข้า สวรรค์ ,ความดีอันมากมาย, อิสลาม , ความเป็นศาสนทูต(นบูวัต) ,อัลกุรอาน, บรรดาศอฮาบะฮ์จำนวนมาก, การอนุเคราะห์(ชะฟาอะฮ์) และการมีบุตรหลานจำนวนมากมาย ขณะที่ผู้รู้ทางศาสนา(อาลิม) จำนวนมาก ต่างเชื่อกันว่า ท่านหญิงฟาฎิมะฮ์(ซ.) และบุตรหลานของนาง คือ หนึ่งในความหมายของอัลเกาษัร เพราะว่า การถูกประทานลงมาของซูเราะฮ์นี้ ถือเป็นคำตอบให้กับผู้ที่กล่าวหาศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)ว่า ไม่มีทายาทสืบเชื้อสายและวงศ์ตระกูล

ความประเสริฐของการอ่านซูเราะฮ์อัลเกาษัร

มีรายงานว่า ผู้ใดก็ตามที่ได้อ่านซูเราะฮ์นี้ใน นมาซประจำวัน เขาจะได้ดื่มน้ำจากธารน้ำอัลเกาษัร และจะอยู่ร่วมกับศาสนทูตของอัลลอฮ์ใต้ ต้นไม้ฏูบา

คำแนะนำ

การตั้งชื่อ

ซูเราะฮ์นี้ ถูกเรียกว่า อัลเกาษัร เพราะว่า โองการ แรกได้กล่าวถึง ความโปรดปรานหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ที่มีชื่อว่า อัลเกาษัร ซึ่งอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงประทานให้กับศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) (1)

การเรียงลำดับและสถานที่ประทานลงมา

ซูเราะฮ์อัลเกาษัร ถือเป็นหนึ่งในซูเราะฮ์ที่จัดได้ว่าเป็น ซูเราะฮ์มักกียะฮ์ (บันทึกที่1) และตามลำดับการประทานลงมา เป็นซูเราะฮ์ที่ 15 ที่ถูกประทานลงมาให้ ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และในการเรียงลำดับอัลกุรอานในปัจจุบัน เป็นซูเราะฮ์ที่ 108 และอยู่ในญุซอ์ที่ 30(2)

จำนวนโองการและคำ

ซูเราะฮ์อัลเกาษัร มีทั้งหมด 3 โองการ 10 คำและ43 อักษร ซึ่งซูเราะฮ์นี้ เป็นซูเราะฮ์ที่สั้นมากที่สุดของอัลกุรอาน(3)

เนื้อหาสำคัญ

ซูเราะฮ์อัลเกาษัร เหมือนกับ ซูเราะฮ์อัฎฎุฮา และ ซูเราะฮ์อัลอินชิรอฮ์ ได้กล่าวกับ ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)(4) ซูเราะฮ์นี้ได้ชี้ให้เห็นถึงความโปรดปรานหนึ่งที่ชื่อว่า อัลเกาษัร ซึ่ง อัลลอฮ์ ทรงประทานให้กับศาสดา(5) บรรดานักตัฟซีร อัลกุรอาน อธิบายว่า อัลเกาษัร หมายถึง ความดีอันมากมาย(6)ความดีงามที่พระองค์ทรงต้องการให้ศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) ขอบคุณด้วยการ นมาซ และ การเชือดสัตว์พลี (กุรบาน)(7)

ความหมายของอัลเกาษัร

บรรดานักตัฟซีร มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในความหมายของอัลเกาษัร ธารน้ำอัลเกาษัร , ประตูทางเข้า สวรรค์ ,ความดีอันมากมาย ,อิสลาม, นบูวัต , อัลกุรอาน, ศอฮาบะฮ์ จำนวนมาก และบุตรหลานจำนวนมากมายที่สืบเชื้อสายมาจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)และการอนุเคราะห์(ชะฟาอะฮ์) ทั้งหมดเหล่านี้ ล้วนเป็นความหมายของอัลเกาษัรทั้งสิ้น(8) ในหนังสือ ตัฟซีรเนมูเนะห์ กล่าวว่า โดยส่วนมากของผู้รู้ชีอะฮ์ เชื่อว่า หนึ่งในความหมายของอัลเกาษัร คือ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) เพราะว่า ในซูเราะฮ์นี้ ได้กล่าวถึงผู้กล่าวหาศาสดามุฮัมมัดว่า ไม่มีทายาทสืบสกุล ในขณะที่ทายาทของศาสดานั้นมาจากท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.)และจะดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องและนั่นคือทายาทที่จะได้รับตำแหน่งอิมาม (อิมามัต)(9) อับดุลลอฮ์ ญะวาดี ออมูลี (1312 สุริยศักราช) นักตัฟซีร อัลกุรอาน กล่าวว่า ช่วงท้ายของซูเราะฮ์เน้นย้ำให้เห็นว่า อัลเกาษัรและความดีอันมากมายเกี่ยวข้องกับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.) ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าทรงประทานคุณลักษณะนี้ให้กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) และบรรดาอิมามทั้งสิบเอ็ดท่านก็มาจากเชื้อสายของฟาฏิมะฮ์ ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของโลก และทั้งตะวันออกและตะวันตกจะได้รับการบริหารกิจการด้วยพระนามอันจำเริญของบรรดาอิมามทั้งสิบเอ็ดท่านและบรรดาลูกหลานของพวกเขา(10) อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี นักตัฟซีรผู้ยิ่งใหญ่ของ ชีอะฮ์ เขียนไว้ในหนังสือตัฟซีร อัลมีซาน ของเขาว่า เนื่องจากวัตถุประสงค์ของซูเราะฮ์นี้ เพื่อปลอบประโลม ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) โดยการกล่าวว่า แท้จริงเราได้ประทานให้เจ้า แสดงให้เห็นว่า ศาสดาเป็นเจ้าของอัลเกาษัร และผลลัพธ์ก็คือ บุตรหลานของฟาฏิมะฮ์ที่เป็นทายาทและวงศ์ตระกูลของศาสดา และนี่คือเรื่องราวที่เร้นลับของอัลกุรอาน เพราะว่าอัลลอฮ์ได้ทำให้บุตรหลานของศาสดา หลังจากการจากไปของเขา เต็มไปด้วยเกียรติและความจำเริญ ซึ่งไม่มีที่ใดในโลกนี้ ที่จะไม่สามารถเห็นได้ว่ามีทายาทจำนวนมากมายเช่นนี้ แม้ว่าจะเกิดภัยพิบัติกับครอบครัวของพวกเขาอย่างมาก หรือถึงแม้นว่าพวกเขาจะถูกสังหารในสมรภูมิรบก็ตาม(11)

อัสบาบ อัล-นุซูล(สาเหตุของการประทาน)

ซูเราะฮ์อัลเกาษัร ถูกประทานลงมา เนื่องจากคำพูดของ อาศ บินวาอิล ซึ่งเขาได้กล่าวหาศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เพราะว่า อับดุลลอฮ์ ผู้เป็นบุตรชายของศาสนทูตของอัลลอฮ์ ได้เสียชีวิตและศาสดาไม่มีบุตรชายอีกต่อไป เขาจึงเรียกศาสดาในหมู่กลุ่มชนเผ่าพันธุ์ กุเรช ด้วยคำว่า อับตัร (ผู้ถูกตัดขาด)(13)และอัลลอฮ์ทรงปลอบใจศาสดาด้วยการประทานอัลเกาษัรให้กับเขาและแจ้งข่าวกับเขาว่า ส่วนเหล่าศัตรูของเขาต่างหากที่ถูกตัดขาดจากเชื้อสายสืบสกุล(14)

คำอธิบาย คำว่า นะฮ์ร์

บรรดานักตัฟซีรได้อธิบายคำว่า นะฮ์ร์ ว่า มีความหมายที่แตกต่างกัน บรรดานักตัฟซีร เช่น ฟัฏล์ บินฮะซัน ฏอบัรซี (มรณะ 548 ฮ.ศ.)(15)และ อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี (มรณะ 1360 สุริยศักราช)(16)โดยอ้างอิงจากริวายะฮ์ที่รายงานจากชีอะฮ์และซุนนีว่า คำนี้หมายถึงการยกมือขึ้นเพื่อกล่าว ตักบีร แต่อยาตุลลอฮ์ มะการิม ชีรอซี (ถือกำเนิด ปี 1305 สุริยะศักราช) เชื่อว่า การตีความของคำว่า นะฮ์ร์ หมายถึง การเชือดสัตว์กุรบาน นั้นมีความเหมาะสมมากกว่า เพราะว่า การปฏิเสธการกระทำของเหล่าผู้บูชาเจว็ดที่เคารพบูชาและเชือดสัตว์ สำหรับสิ่งที่ไม่ใช่พระเจ้า(17)

การอ่านซูเราะฮ์ในนมาซมุสตะฮับ

ถือเป็นการกระทำที่ดี หากอ่านซูเราะฮ์อัลเกาษัรใน นมาซมุสตะฮับ เช่น

  • นมาซคืนที่สิบเอ็ดของ เดือนรอมฎอน : นมาซ นี้มีสอง รอกะอัต ในทุกรอกะอัตอ่าน ซูเราะฮ์อัลฮัมด์ หนึ่งครั้งและซูเราะฮ์อัลเกาษัร ยี่สิบครั้ง(18)
  • นมาซคืนที่สิบแปดของเดือนรอมฎอน : นมาซนี้มี สี่รอกะอัต ซึ่งในทุกรอกะอัตอ่านซูเราะฮ์อัลฮัมด์หนึ่งครั้งและซูเราะฮ์อัลเกาษัร ยี่สิบห้าครั้ง(19)

ความประเสริฐของซูเราะฮ์

อะบูบะศีร รายงานจาก อิมามศอดิก(อ.) กล่าวว่า ผู้ใดก็ตามที่ได้อ่านซูเราะฮ์อัลเกาษัรใน นมาซประจำวัน ของเขา ในวัน กิยามัต เขาจะได้ดื่มน้ำจาก ธารน้ำอัลเกาษัร และอยู่ร่วมกับศาสนทูตของอัลลอฮ์ใต้ ต้นไม้ฏูบา(20) ในหนังสือ มัจมะอุลบะยาน รายงานว่า ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า ผู้ใดก็ตามที่ได้อ่านซูเราะฮ์อัลเกาษัร อัลลอฮ์จะทำให้เขาได้ดื่มน้ำจากธารน้ำแห่งสรวง สวรรค์ เท่ากับจำนวนของกุรบานที่ถูกเชือดในวัน อีดกุรบาน และเท่ากับผลรางวัลของกุรบานของ ชาวคัมภีร์ และ ชาวมุชริก (ผู้ตั้งภาคีต่อพระเจ้า) (21)

ผลงานศิลปะ

ซูเราะฮ์ อัลเกาษัร ถูกตกแต่งตามกำแพง ผนังของ ฮะรอม ต่างๆ มัสญิด อิมามซอเดะห์ และ โรงเรียนสอนศาสนา ด้วยแผ่นจารึกหรือแผ่นกระเบื้อง รวมถึงภายใน เฎาะรีฮ์ของอิมามฮุเซน (อ.) (22) แผ่นจารึกบนหลุมฝังศพของเชคศอดูก (อิบนุ บาบูเยะห์) ด้วยลายมือของ อิบรอฮีม เตหะรานี (23) แผ่นจารึก ในโรงเรียนเซพะฮ์ซาลาร (24) และแผ่นจารึกบนประตูมัสญิดซัยยิดอิสฟาฮาน (25)

เชิงอรรถ

บรรณานุกรม