นมาซ
นมาซ (ภาษาอาหรับ الصلاة ) เป็นการปฏิบัติอะมั้ลอิบาดะฮ์ที่สำคัญที่สุดสำหรับบรรดามุสลิม ซึ่งรวมถึงการกล่าวคำซิกร์และการเคลื่อนไหวที่เฉพาะ ในริวายะฮ์ต่างๆ ได้รายงานว่า นมาซถือเป็นเสาหลักของศาสนาและเป็นเงื่อนไขสำหรับการยอมรับในการกระทำอื่นๆ นมาซมีกฎเกณฑ์และมารยาทที่เฉพาะเจาะจง รวมถึงการมีวุฎูอ์และการหันหน้าไปทางกิบละฮ์ นมาซยังสามารถที่จะกระทำได้ด้วยสองวิธี คือ กระทำแบบคนเดียว และกระทำในรูปแบบเป็นหมู่คณะ ทั้งยังมีคำแนะนำให้กระทำแบบหมู่คณะอีกด้วย
ในริวายะฮ์ต่างๆ ได้กล่าวถึงผลที่ตามมาของการละทิ้งและการละเลยการนมาซ รวมถึงการถูกห้ามจากการได้รับชะฟาอะฮ์ของอะฮฺลุลบัยต์ ตัวอย่างของการละเลยการนมาซ ได้แก่ การทำให้ล่าช้าของนมาซจากเวลาเริ่มแรก และการนมาซโดยปราศจากความอ่อนน้อมถ่อมตนและการยอมจำนน นอกจากนี้ การรำลึกถึงอัลลอฮ์ (พระเจ้า) การต่อต้านการตั้งภาคี การบูชารูปปั้น และการป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริต ยังถูกกล่าวว่า เป็นวิทยปัญญาของความจำเป็นในการนมาซ
การนมาซยังคงมีอยู่ในศาสนาอื่นอีกด้วย แม้ว่าวิธีการจะแตกต่างกันไปตามกฎหลักชะรีอะฮ์ของแต่ละศาสนาก็ตาม
สถานภาพและความสำคัญ
นมาซ เป็นการปฏิบัติอะมั้ลอิบาดะฮ์ของบรรดามุสลิม ที่ถูกกล่าวในอัลกุรอานถึง ๙๘ ครั้งใน (๑) ตามโองการในคัมภีร์อัลกุรอาน (๒) นมาซเป็นสิ่งยับยั้งการกระทำบาป (๓) เป็นสื่อทำให้ประสบความสำเร็จ (๔) เป็นผู้ช่วยสำหรับมนุษย์ในยามทุกยากลำบาก (๕) และเป็นคำสั่งสอนที่สำคัญอย่างหนึ่งของพระเจ้าแก่บรรดาศาสดา (๖) และเป็นข้อกังวลประการหนึ่งของบรรดาศาสดา โดยเฉพาะเกี่ยวกับครอบครัวของพวกเขา (๗)
นมาซ เป็นสิ่งจำเป็นประการหนึ่งของศาสนาอิสลาม (๘) และเป็นการปฏิบัติอะมั้ลอิบาดะฮ์ ที่ตามคำฟัตวาของนักนิติศาสตร์ ไม่ควรละทิ้งท่ามกลางสถานการณ์ใดๆ (๙) และการละทิ้ง ถือเป็นบาปใหญ่ (๑๐) และเป็นสัญญาณของการปฏิเสธและนิฟาก (๑๑) ในหนังสือ วะซาอิลุชชีอะฮ์ และมุสตัดร็อก มีรายงานฮะดีษมากกว่า ๑๑,๖๐๐ บทเกี่ยวกับเรื่องนมาซ (๑๒) ในหนังสือเกี่ยวกับหลักปฏิบัติ ยังมีส่วนหนึ่งที่ชื่อว่า กิตาบ อัศเศาะลาต ซึ่งกล่าวถึงหลักอะฮ์กามและมารยาทของนมาซ (๑๓)
ผลงานเกี่ยวกับนมาซ ยังได้รับการตีพิมพ์โดยอิสระ และภายในปี ๑๓๗๖ สุริยคติอิหร่าน ได้มีการประเมินว่า มีหนังสือและบทความประมาณสองพันเล่ม รวมถึงบทกลอนเฆาะซัลและเกาะศีดะฮ์ อีกหลายร้อยบท (๑๔) ภายในปี ๒๐๑๙ ค.ศ. มีการสร้างมัสญิดสำหรับนมาซทั่วโลก ประมาณสามล้านหกแสนแห่ง (๑๕) นอกจากนี้ ยังมีสถานที่สำหรับนมาซในที่สาธารณะและบนท้องถนน ซึ่งเรียกว่า ห้องนมาซ [ต้องการแหล่งอ้างอิง]
มุฮัมมะดี เรย์ ชะฮ์รี (เสียชีวิตในปี ๑๔๐๑ สุริยคติอิหร่าน) นักวิชาการด้านฮะดีษของชีอะฮ์ กล่าวไว้ว่า นมาซกลายเป็นข้อบังคับในช่วงแรกๆ ของการแต่งตั้งศาสดามุฮัมมัดเป็นศาสนทูตและในมักกะฮ์(๑๖) บนพื้นฐานของริวายะฮ์ ซึ่งมีการรายงานไว้ในหนังสือ บิฮารุลอันวาร กล่าวว่า ศาสดา (ศ็อลฯ) หลังจากบิอฺษัต เขาอยู่กับอิมามอะลี(อ.) ท่านหญิงเคาะดีญะฮ์และคนอื่นๆ เพื่อนมาซ (๑๗)
คำจำกัดความที่ใช้ในอธิบายริวายะฮ์เกี่ยวกับนมาซ
เสาหลักของศาสนา (๑๘) ข้อบังคับประการแรกของพระเจ้า (๑๙) เป็นการกระทำประการแรกที่มีการคิดบัญชี (๒๐) เป็นการขึ้นสู่มิอ์รอจญ์ของผู้ศรัทธา (๒๑) เป็นสัญลักษณ์แห่งศรัทธา (๒๒) เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเข้าใกล้ชิดพระเจ้า (๒๓) เป็นกุญแจสู่สวรรค์ (๒๔) เป็นสื่อสำหรับการรู้จักชีอะฮ์ที่แท้จริง (๒๕) เป็นสื่อสำหรับการตอบรับดุอาอ์ (๒๖) เป็นสื่อสำหรับการชำระล้างจิตใจให้สะอาด (๒๗) เป็นป้อมปราการในการต่อต้านชัยฏอน (๒๘) เป็นการชดใช้บาป (๒๙) เป็นสื่อสำหรับการขับไล่ชัยฏอน (๓๐) เป็นสิ่งอนุญาตให้ข้ามสะพานศิรอฏ (๓๑)
วิธีการนมาซ
เราะกะอะฮ์แรก
อันดับแรก เราจะต้องทำวุฎูอ์ จากนั้นเราหันหน้าไปทางกิบละฮ์และตั้งเจตนา จากนั้นเราจึงกล่าวตักบีเราะตุลอิห์รอม กล่าวคือ เรายกมือขึ้นถึงหูแล้วกล่าวว่า อัลลอฮุอักบัร หลังจากนั้น เราอ่านซูเราะฮ์อัลฮัมด์และซูเราะฮ์อื่นๆ หลังจากนั้นเราก้มโค้ง (รุกูอ์ )และจะอ่านคำซิกร์ของรุกูอ์ และจากนั้น เราเงยหน้าขึ้นจากรุกูอ์และยืนขึ้น จากนั้นเราก้มกราบ (ซุญูด) ในซุญูด เราจะอ่านคำกล่าวซิกร์ของซุญูด จากนั้นเรานั่งคุกเข่า และกลับมาซุญูดอีกครั้งและ เราจะกล่าวคำซิกร์ของซุญูด (๓๒) คำกล่าวซิกร์ของรุกูอ์ คือ การอ่าน ซุบฮานะ ร็อบบียัลอะซีม วะบิฮัมดิฮ์ และคำกล่าวซิกร์ของซุญูด คือ การอ่าน ซุบฮานะ ร็อบบียัลอะอ์ลา วะบิฮัมดิฮ์ หรืออ่านว่า ซุบฮานัลลอฮ์ สามครั้งในรุกูอ์และซุญูดแต่ละครั้ง (๓๓)
เราะกะอะฮ์ ที่ ๒
หลังจากสุญูดครั้งที่ ๒ เราจะยืนขึ้นและอ่านซูเราะฮ์อัลฮัมด์และซูเราะฮ์อื่นๆ เช่นเดียวกับในเราะกะอะฮ์แรก จากนั้น เราจะอ่านกุนูต ในกุนูต เราจะหันฝ่ามือของเราขึ้นไปบนท้องฟ้าและอ่านดุอาอ์ของกุนูต หลังจากกุนูต เราจะรุกูอ์และอ่านซิกร์ของรุกูอ์ หลังจากรุกูอ์ เราจะยืนตรงและซูญูดสองครั้งเช่นเดียวกับในเราะกะอะฮ์แรก (๓๔) ในกุนูต เราจะวิงวอนว่า ร็อบบะนา อาตินา ฟิดดุนยา ฮะซะนะเตา วะฟิลอาคิเราะติ ฮะซะนะเตา วะกินา อะซาบันนาร (โอ้พระผู้อภิบาลของเรา ขอพระองค์ทรงโปรดประทานสิ่งดี ๆ ให้แก่เราทั้งในโลกนี้และสิ่งดี ๆ ในโลกหน้า และขอพระองค์ทรงโปรดคุ้มครองเราจากการลงโทษในไฟนรกด้วยเถิด [หมายเหตุ ๑] หรือจะอ่านดุอาอ์ใดหรือซิกร์อื่น ๆก็ได้
ตะชะฮ์ฮุด
หลังจากซุญูดครั้งที่สอง เราจะนั่งคุกเข่าและทำการตะชะฮ์ฮุด อ่านว่า อัชฮะดุ อัน ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮุ วะฮ์ดะฮู ลาชะรีกะ ละฮู วะอัชฮะดุ อันนะ มุฮัมมะดัน อับดุฮู วะเราะซูลุฮ์ อัลลอฮุมมะ ศ็อลลิ อะลา มุฮัมมัด วะอาลิมุฮัมมัด (ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และไม่มีผู้ร่วมภาคีใดกับพระองค์ และข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่า มุฮัมมัดเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์ ขอพระเจ้าทรงประสาทพรแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของเขา [หมายเหตุ ๒] (๓๕)
การให้สลามของนมาซ
ในนมาซที่มีสอง เราะกะอะฮ์ หลังจากตะชะฮ์ฮุด จะต้องให้สลามของนมาซ โดยการอ่านว่า อัซซะลามุ อะลัยกะ อัยยุฮันนะบียุ วะเราะห์มะตุลลอฮิ วะบะรอกาตุฮ์ อัซซะลามุ อะลัยนา วะอะลา อิบาดิลลาฮิศศอลิฮีน อัซซะลามุ อะลัยกุมวะเราะห์มาตุลลอฮิ วะบะรอกาตุฮ์
(ความสันติพึงมีแด่ท่าน โอ้ศาสดา และความเมตตาของอัลลอฮ์และสิริมงคลของอัลลอฮ์ ความสันติพึงมีแด่เราและแก่ปวงบ่าวของอัลลอฮ์ ผู้ทรงคุณธรรม ความสันติพึงมีแด่ท่าน และความเมตตาของอัลลอฮ์และสิริมงคลของพระองค์) [หมายเหตุ ๓ ] และจะทำให้นมาซสิ้นสุดลง (๓๖)
เราะกะอะฮ์ที่สามและที่สี่
หลังจากอ่านตะชะฮ์ฮุดแล้ว เราจะยืนขึ้นและอ่านตัซบีฮาตทั้งสี่ (ซุบฮานัลลอฮ์ อัลฮัมดุลิลลาฮ์ วะลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮ์ และอัลลอฮุอักบัร) สามครั้ง [หมายเหตุ ๔] จากนั้นเราก้มโค้งรุกูอ์และซุญูด ในนมาซที่มีสาม เราะกะอะฮ์ เราจะอ่านตะชะฮ์ฮุดและให้สลาม หลังจากการซุญูดครั้งที่สองของเราะกะอะฮ์ที่สาม ในนมาซที่มีสี่ เราะกะอะฮ์ หลังจากสุญูดครั้งที่สองของเราะกะอะฮ์ที่สาม เราจะยืนขึ้นอีกครั้ง และหลังจากกล่าวตัซบีฮาตทั้งสี่แล้ว เราจะก้มโค้งรุกูอ์ และทำซุญูดสองครั้ง และกล่าวตะชะฮ์ฮุดและให้สลาม (๓๗)
กฎเกณฑ์และมารยาทของนมาซ
สิ่งที่เป็นวาญิบของนมาซ
สิ่งที่เป็นวาญิบของนมาซ เป็นองค์ประกอบหลักของนมาซ ซึ่งตามความเห็นที่เป็นที่รู้จักของบรรดานักนิติศาสตร์ มีดังนี้ การมีเนียต การยืนตรง การกล่าวตักบีเราะตุลอิห์รอม การก้มโค้งรุกูอ์ การซุญูด การอ่านซูเราะฮ์อัลฮัมด์และซูเราะฮ์หนึ่ง การกล่าวซิกร์ (เช่น คำกล่าวซิกร์ของรุกูอ์หรือซุญูด) ตะชะฮ์ฮุด การให้สลาม การจัดเรียงลำดับ และความต่อเนื่อง (การเรียงลำดับขององค์ประกอบของนมาซอย่างต่อเนื่อง) (๓๘) สิ่งที่เป็นวาญิบของนมาซ ถูกแบ่งออกเป็น สิ่งที่เป็นรุกน์และไม่ใช่รุกน์ของนมาซ โดยห้าประการแรก ถือเป็นรุกน์ของนมาซ ซึ่งหากมีการลดหรือเพิ่มโดยตั้งใจหรือผิดพลาด จะทำให้นมาซเป็นโมฆะ ส่วนอีกหกประการหลัง ถือเป็นสิ่งที่ไม่ใช่เป็นรุกน์ ซึ่งหากมีลดหรือเพิ่มโดยตั้งใจเท่านั้น จะทำให้นมาซ เป็นโมฆะ (๓๙)
สิ่งที่ทำให้นมาซเป็นโมฆะ
นมาซจะถือเป็นโมฆะได้ หากมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ : การกระทำฮะดัษใหญ่ (สิ่งที่ทำให้จะต้องทำฆุซล์) หรือฮะดัษเล็ก (สิ่งที่ทำให้วุฏูอ์เป็นโมฆะ) การหันหลังให้กิบละฮ์
การพูดโดยตั้งใจ การหัวเราะเสียงดังและมีความตั้งใจ ตะกัตตุฟ : การประสานมือเข้าด้วยกัน การร้องไห้โดยตั้งใจและเสียงดังเกี่ยวกับเรื่องทางโลก (๔๐) การกล่าวอามีน หลังจากจบซูเราะฮ์อัลฮัมด์ การกระทำบางอย่างที่รบกวนรูปแบบนมาซ เช่น การกระโดดขึ้นลงและการปรบมือ การกินและดื่ม การสงสัยจำนวนเราะกะอะฮ์ของนมาซ ในนมาซที่มีสองเราะกะอะฮ์และสามเราะกะอะฮ์ หรือ สองเราะกะอะฮ์แรกของนมาซที่มีสี่เราะกะอะฮ์ การลดหรือการเพิ่มสิ่งที่เป็นรุกน์ของนมาซโดยตั้งใจหรือโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือการลดหรือการเพิ่มสิ่งที่เป็นวาญิบที่ไม่ใช่รุกน์โดยตั้งใจ (๔๑)
กฎเกณฑ์อื่นๆ
วุฎูอ์ : จำเป็นที่จะต้องทำวุฎูอ์สำหรับนมาซที่เป็นวาญิบ (๔๒) ในบางกรณี แทนที่การทำวุฎูอ์ ควรทำตะยัมมุม เช่น ไม่สามารถหาแหล่งน้ำได้ การขาดน้ำ และเวลามีไม่เพียงพอ (๔๓)
สถานที่นมาซ : มีเงื่อนไขหลายประการที่ระบุไว้สำหรับสถานที่นมาซ รวมทั้งจะต้องได้รับอนุญาต (ไม่ถูกขโมย) ไม่มีการเคลื่อนที่ ไม่สกปรก และหน้าผากจะต้องสูงหรือต่ำกว่าเข่า ไม่เกินสี่นิ้ว (๔๔)
เครื่องแต่งกายของผู้นมาซ : ผู้ชายจะต้องปกปิดอวัยวะเพศ ส่วนผู้หญิงจะต้องปกปิดร่างกายทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นที่จะต้องปกปิดใบหน้า มือ และเท้าจนถึงข้อเท้า (๔๕)
นมาซจะต้องหันหน้าไปทางกิบละฮ์ (กะอ์บะฮ์) (๔๖)
นมาซย่อ : ผู้เดินทางจะต้องทำนมาซที่มี ๔ เราะกะอะฮ์ เป็น ๒ เราะกะอะฮ์ (๔๗) ในการเดินทางตามหลักชะรีอะฮ์ ต้องมีเงื่อนไขบางประการ เช่น ระยะทางไปกลับทั้งหมด อย่างน้อย ๘ ฟัรซัค (ระหว่าง ๔๐ ถึง ๔๕ กิโลเมตร ) (๔๘)
มารยาทของนมาซ
มีการกล่าวถึงมารยาทของนมาซและสิ่งที่เป็นมุสตะฮับ ดังต่อไปนี้ : นมาซช่วงเริ่มแรกของเวลา การพรมน้ำหอมทั่วร่างกายขณะนมาซ การนมาซในมัสญิดและในรูปแบบญะมาอะฮ์ การขอดุอาอ์ในช่วงเริ่มต้นของนมาซ การมีสมาธิและความอ่อนน้อมถ่อมตน (๔๙) หลังนมาซแล้ว ยังมีการกระทำที่เรียกว่า ตะอ์กีบาต เช่น การอ่านอายะตุลกุรซี การอ่านตัซบีฮาตของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.และการซุญูดขอบพระคุณ (๕๐) การกระทำอะมั้ลบางอย่างเหล่านี้ยังมีการกล่าวถึงในหนังสือ มะฟาติฮุลญินาน (๕๑)
นมาซที่เป็นวาญิบและมุสตะฮับ
นมาซวาญิบ
นมาซที่จำเป็นจะต้องกระทำ และหากไม่ได้กระทำในเวลาที่กำหนด ก็จะต้องนมาซชดเชย นมาซเหล่านี้ มีดังต่อไปนี้
นมาซประจำวัน : นมาซนี้มีทั้งหมด ๑๗ เราะกะอะฮ์ และมี ๕ เวลา (ศุบฮ์ ซุฮ์ร อัศร์ มัฆริบ และอิชา) และยังเป็นที่รู้จักในชื่อเหล่านี้
นมาซอายาต : เป็นนมาซที่จะต้องกระทำ เมื่อเกิดเหตุการณ์ทางธรรมชาติบางอย่าง เช่น แผ่นดินไหว สุริยุปราคา และจันทรุปราคา เป็นต้น
นมาซมัยยิต: เป็นการนมาซให้กับศพของชาวมุสลิมก่อนที่จะฝังศพ และไม่อนุญาตให้ฝังศพของชาวมุสลิม หากไม่ได้กระทำนมาซดังกล่าว
นมาซเฏาะวาฟ : เป็นนมาซที่กระทำหลังจากการเดินเวียนรอบกะอ์บะฮ์ นมาซเกาะฎอสำหรับบิดามารดาของบุตรชายคนโต นมาซด้วยการบนบาน สาบาน และพันธสัญญา ถือเป็นนมาซที่เป็นวาญิบ (๕๒)
นมาซมุสตะฮับ
นมาซมุสตะฮับ หรือนาฟิละฮ์ เป็นนมาซที่ไม่เป็นวาญิบ อย่างไรก็ตาม นมาซเหล่านี้ยังได้รับการแนะนำ เช่น นาฟิละฮ์ประจำวันและนมาซยามกลางคืน (๕๓) นมาซที่เป็นมุสตะฮับ ยกเว้น นมาซวิตร์ ทั้งหมดนั้นมีสองเราะกะอะฮ์ (๕๔)
ผลของการไม่ให้ความสำคัญในนมาซ
อิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า แท้จริงชะฟาอะฮ์ของเรา จะไม่ไปถึงผู้ที่ไม่ให้ความสำคัญในนมาซ อัลอะมาลี เชคศอดูก หน้า ๔๘๔
ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า ผู้ใดนมาซต่อหน้าผู้อื่นได้ดี แต่นมาซได้ไม่ดี เมื่ออยู่ตามลำพัง นั่นคือ การไม่ให้ความสำคัญ มุสตัดเราะกุลวะซาอิล นูรี เล่ม ๓ หน้า ๒๖
การไม่ได้รับชะฟาอะฮ์จากบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ (๕๕) ตามริวายะฮ์ซึ่งอะบูบะศีร รายงานว่า เมื่ออิมามศอดิก (อ.) กำลังจะสิ้นใจ เขาได้เรียกญาติพี่น้องของเขาและกล่าวว่า: ชะฟาอะฮ์ของเรา จะไม่ไปถึงผู้ที่ไม่ให้ความสำคัญในนมาซ (๕๖) การประสบกับคุณลักษณะทั้ง ๑๕ ประการ: เป็นริวายะฮ์ที่ได้รับรายงานจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ที่กล่าวกับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ว่า
อัลลอฮ์จะทรงลงโทษผู้ที่ไม่ให้ความสำคัญในนมาซ ด้วยคุณลักษณะทั้ง ๑๕ ประการ ดังนี้ [57]
การไม่มีสิริมงคลในอายุขัย การไม่มีสิริมงคลในทรัพย์สิน การไม่มีแสงสว่างของใบหน้า ไม่ได้รับผลตอบแทนสำหรับการกระทำ การไม่ได้รับคำตอบจากการดุอาอ์ การไม่ได้รับประโยชน์จากดุอาอ์ของผู้อื่น การตายอย่างอัปยศ การตายด้วยความหิวโหย การตายอย่างกระหายน้ำ ไม่ว่าจะดื่มน้ำมากเพียงใด ความกระหายของเขาก็ยังไม่ดับกระหาย เทวทูตจะทรมานเขาในหลุมศพ ความมืดของหลุมศพ แรงกดดันของหลุมศพ ในวันกิยามะฮ์ เทวทูตจะวาดภาพใบหน้าของเขาและผู้คนจะมองดูเขา การชำระบัญชีที่รุนแรงในวันกิยามะฮ์ อัลลอฮ์จะไม่มองเขาด้วยความเมตตา และเขาจะต้องได้รับการลงโทษอันแสนเจ็บปวด (๕๘) พวกเขาถือว่า การทำให้ล่าช้าในนมาซจากช่วงเวลาแรกโดยไม่มีข้อแก้ตัว (๕๙) และการนมาซโดยไม่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นตัวอย่างของการไม่ให้ความสำคัญในนมาซ (๖๐)
ความแตกต่างของนมาซในมัซฮับชีอะฮ์และอะฮ์ลิสซุนนะฮ์
นมาซระหว่างสำนักคิดชีอะและซุนนีมีความแตกต่างกัน ซึ่งบางส่วนมีดังนี้: การอ่านซูเราะฮ์ฮัมด์ ชีอะฮ์ ในเราะกะอะฮ์ที่ ๑ และที่ ๒ ถือเป็นวาญิบ มาลิกี ในเราะกะอะฮ์ทั้งหมดของนมาซวาญิบและมุสตะฮับ ถือเป็นวาญิบ ชาฟิอี ในเราะกะอะฮ์ทั้งหมดของนมาซวาญิบและมุสตะฮับ ถือเป็นวาญิบ ฮะนีฟีย์ ในเราะกะอะฮ์ที่๑ และที่ ๒ ถือเป็นวาญิบ ฮัมบะลี ในเราะกะอะฮ์ทั้งหมด ถือเป็นวาญิบ (๖๑) การกล่าวบิซมิลลาฮฺ ในช่วงเริ่มต้นของซูเราะฮ์ ชีอะฮ์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของซูเราะฮ์ และการกล่าวมันเป็นวาญิบ มาลิกี การไม่กล่าวมัน เป็นมุสตะฮับ ชาฟิอี ถือเป็นส่วนหนึ่งของซูเราะฮ์ และการกล่าวมันเป็นวาญิบ ฮะนะฟี การไม่กล่าวมัน เป็นที่อนุญาต ฮัมบะลี ถือเป็นส่วนหนึ่งของซูเราะฮ์ และการกล่าวมันเป็นวาญิบ (๖๒) กุนูต ชีอะฮ์ ในนมาซทั้งหมดเป็นมุสตะฮับ มาลิกี เป็นที่อนุญาตเฉพาะในนมาซศุบฮ์ ชาฟิอี เป็นที่อนุญาตเฉพาะในนมาซศุบฮ์ ฮะนะฟี เป็นที่อนุญาตเฉพาะในนมาซวิตร์ ฮัมบะลี เป็นที่อนุญาตเฉพาะในนมาซวิตร์ (๖๓) การอ่านเสียงดังและเสียงเบาในบางองค์ประกอบของนมาซ ชีอะฮ์ การอ่านเสียงดังในนมาซศุบฮ์ มัฆริบและอิชาอ์ และการอ่านเสียงเบาในนมาซซุฮ์ร และอัศร์ เป็นวาญิบ มาลิกี การอ่านเสียงดังในนมาซซุบฮ์ มัฆริบและอิชาอ์ เป็นมุสตะฮับ ชาฟิอี การอ่านเสียงดังในนมาซศุบฮ์ มัฆริบ และอิชาอ์ และการอ่านเสียงเบาในนมาซซุฮ์ร และอัศร์ เป็นวาญิบ ฮะนะฟี การอ่านเสียงดังและเสียงเบา ไม่เป็นวาญิบและมุสตะฮับในนมาซใดๆ ฮัมบะลี การอ่านเสียงดังในนมาซศุบฮ์ มัฆริบและอิชาอ์ เป็นสิ่งที่จำเป็น (๖๔) ตะกัตตุฟ ชีอะฮ์ เป็นฮะรอม และในทัศนะที่ถูกรู้จัก ยังทำให้นมาซเป็นโมฆะ มาลิกี เป็นที่อนุญาต ไม่ได้เป็นวาญิบและมุสตะฮับ ชาฟิอี เป็นมุสตะฮับและเป็นซุนนะฮ์ ฮะนะฟี เป็นมุสตะฮับและเป็นซุนนะฮ์ ฮัมบะลี เป็นมุสตะฮับและเป็นซุนนะฮ์ (๖๕) การอ่านอามีน หลังจากอ่านซูเราะฮ์อัลฮัมด์ ชีอะฮ์ เป็นฮะรอมและทำให้นมาซเป็นโมฆะ มาลิกี เป็นมุสตะฮับ ชาฟิอี เป็นมุสตะฮับ ฮะนะฟี เป็นมุสตะฮับ ฮัมบะลี เป็นมุสตะฮับ (๖๖) รุกูอ์และการนิ่งเงียบ ชีอะฮ์ การก้มโค้งในลักษณะที่มือถึงหัวเข่า เป็นสิ่งที่จำเป็นและการนิ่งเงียบในรุกูอ์ ถือเป็นวาญิบ มาลิกี การก้มโค้งในลักษณะที่มือถึงหัวเข่า เป็นสิ่งที่จำเป็นและการนิ่งเงียบในรุกูอ์ ถือเป็นวาญิบ ชาฟิอี การก้มโค้งในลักษณะที่มือถึงหัวเข่า เป็นสิ่งที่จำเป็นและการนิ่งเงียบในรุกูอ์ ถือเป็นวาญิบ ฮะนะฟี การก้มโค้งถือว่าเพียงพอและการนิ่งเงียบ ไม่ถือเป็นสิ่งที่จำเป็น ฮัมบะลี การก้มโค้งในลักษณะที่มือถึงหัวเข่า เป็นสิ่งที่จำเป็นและการนิ่งเงียบในรุกูอ์ ถือเป็นวาญิบ (๖๗) คำกล่าวรุกูอ์ ชีอะฮ์ เป็นวาญิบ มาลิกี ไม่เป็นวาญิบ แต่เป็นมุสตะฮับ ชาฟิอี ไม่เป็นวาญิบ แต่เป็นมุสตะฮับ ฮะนะฟี ไม่เป็นวาญิบ แต่เป็นมุสตะฮับ ฮัมบะลี เป็นวาญิบ (๖๘) การยืนขึ้นหลังรุกูอ์ ชีอะฮ์ เป็นวาญิบ มาลิกี เป็นวาญิบ ชาฟิอี เป็นวาญิบ ฮะนะฟี ไม่เป็นวาญิบ ฮัมบะลี เป็นวาญิบ อวัยวะต่างๆของซุญูด ชีอะฮ์ เวลาซุญุดให้เอาหน้าผาก ฝ่ามือทั้งสอง หัวเข่า และนิ้วหัวแม่เท้าทั้งสองข้าง แตะพื้นดิน มาลิกี จำเป็นที่จะต้องให้หน้าผากแตะพื้นดิน แต่อวัยวะส่วนอื่นๆ เป็นมุสตะฮับ ชาฟิอี จำเป็นที่จะต้องให้หน้าผากแตะพื้นดิน แต่อวัยวะส่วนอื่นๆ เป็นมุสตะฮับ ฮะนะฟี จำเป็นที่จะต้องให้หน้าผากแตะพื้นดิน แต่อวัยวะส่วนอื่นๆ เป็นมุสตะฮับ ฮัมบะลี อวัยวะทั้งเจ็ดส่วน และจมูก จำเป็นที่จะต้องแตะพื้นดิน (๗๐) ความสงบนิ่งในซุญุด ชีอะฮ์ เป็นสิ่งที่จำเป็น มาลิกี เป็นสิ่งที่จำเป็น ชาฟิอี เป็นสิ่งที่จำเป็น ฮะนะฟี เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น ฮัมบะลี เป็นสิ่งที่จำเป็น (๗๑) การกล่าวซิกร์ในซุญูด ชีอะฮ์ เป็นวาญิบ มาลิกี เป็นมุสตะฮับ ชาฟิอี เป็นมุสตะฮับ ฮะนะฟี เป็นมุสตะฮับ ฮัมบะลี เป็นมุสตะฮับ (๗๒) ตะชะฮ์ฮุด ชีอะฮ์ ช่วงกลางและช่วงท้ายของนมาซ เป็นวาญิบ มาลิกี ช่วงกลางและช่วงท้ายของนมาซ เป็นมุสตะฮับ ชาฟิอี ช่วงกลางและช่วงท้ายของนมาซ เป็นวาญิบ ฮะนะฟี ช่วงกลางและช่วงท้ายของนมาซ เป็นมุสตะฮับ ฮัมบะลี ช่วงกลางและช่วงท้ายของนมาซ เป็นวาญิบ (๗๓) การให้สลามของนมาซ ชีอะฮ์ ตามคำฟัตวาที่เป็นที่รู้จักในหมู่นักวิชาการปัจจุบัน เป็นวาญิบ มาลิกี ป็นวาญิบ ชาฟิอี เป็นวาญิบ ฮะนะฟี เป็นมุสตะฮับ ฮัมบะลี เป็นวาญิบ (๗๔) การสงสัยในจำนวนของเราะกะอะฮ์ของนมาซ ชีอะฮ์ กรณีสงสัยหลังจากซุญูดที่สองของนมาซสี่เราะกะอะฮ์ ให้ถือเป็นส่วนมาก และให้นมาซอิห์ติยาฏ มาลิกี ในนมาซวาญิบ ให้ถือเป็นส่วนน้อยและทำนมาซต่อไป ชาฟิอี ในนมาซวาญิบ ให้ถือเป็นข้างน้อยและทำนมาซต่อไป ฮะนะฟี ในนมาซวาญิบ หากว่ามีการสงสัยเป็นครั้งแรก ให้นมาซใหม่และมีการสงสัยครั้งต่อไป ให้ถือเป็นส่วนน้อย ฮัมบะลี ในนมาซวาญิบ ให้ถือเป็นส่วนน้อยและทำนมาซต่อไป (๗๕)
นมาซของผู้เดินทาง
ชีอะฮ์ นมาซที่มีสี่เราะกะอะฮ์ จะต้องทำเพียงสองเราะกะอะฮ์ มาลิกี ให้เลือกระหว่างสองเราะกะอะฮ์และสี่เราะกะอะฮ์ ชาฟิอี ให้เลือกระหว่างสองเราะกะอะฮ์และสี่เราะกะอะฮ์ จะต้องนมาซสองเราะกะอะฮ์ ฮะนะฟี จะต้องนมาซสองเราะกะอะฮ์ ฮัมบะลี ให้เลือกระหว่างสองเราะกะอะฮ์และสี่เราะกะอะฮ์ จะต้องนมาซสองเราะกะอะฮ์ (๗๖) การรวมระหว่างนมาซทั้งสอง ชีอะฮ์ เป็นที่อนุญาต มาลิกี ในขณะเดินทาง เป็นที่อนุญาต ชาฟิอี ในขณะเดินทาง เป็นที่อนุญาต ฮะนะฟี ไม่เป็นที่อนุญาต ฮัมบะลี ในขณะเดินทาง เป็นที่อนุญาต (๗๗)
วิทยปัญญาความจำเป็นของนมาซ
มีริวายะฮ์จากอิมามริฎอ (อ.) กล่าวว่า ปรัชญาความจำเป็นของนมาซ คือ การยอมรับความเป็นพระผู้อภิบาลของอัลลอฮ์ การต่อต้านการตั้งภาคีและการบูชารูปปั้น การแสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนของบ่าวต่อความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ์ การขจัดการเพิกเฉย การระลึกถึงอัลลอฮ์ การป้องกันการทุจริต การทำบาป และการละเมิด เป็นต้น (๗๘) ในหนังสือตัฟซีร เนมูเนะฮ์ เขียนว่า การเสริมสร้างจิตวิญญาณให้มีวินัย การเชิญชวนสู่การทำให้สะอาด การปลูกฝังคุณธรรมทางศีลธรรม การให้คุณค่ากับการกระทำอื่น และการให้อภัยบาป ถือเป็นวิทยปัญญาความจำเป็นของนมาซ (๗๙) นอกจากนี้ ในอายะฮ์ที่ว่า จงนมาซเพื่อระลึกถึงฉัน (๘๐) กล่าวถึงเป้าหมายของการนมาซว่า เพื่อเป็นการระลึกถึงอัลลอฮ์ (๘๑) จากคำกล่าวของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ที่ว่า พระเจ้าได้ทำให้นมาซเป็นวาญิบ เพื่อให้บ่าวได้ห่างไกลจากความหยิ่งยะโส (๘๒) ในหนังสือ นะฮ์ญุลบะลาเกาะฮ์ ยังเขียนว่า การนมาซสามารถทำลายความหลงตัวเองและความหยิ่งทะนงในตนเองได้ (๘๓)
การนมาซในศาสนาอื่นๆ
นมาซมีอยู่ในทุกศาสนาทั้งหมด แม้ว่าวิธีการนมาซจะแตกต่างกันออกไป (๘๔) การนมาซในศาสนายิว เรียกว่า เทฟิลา และในรูปพหูพจน์เรียกว่า เทฟิลิม หรือ เทฟิลอต และกฎเกณฑ์ของนมาซนี้พบได้ใน ซิดอร์ หรือส่วนของ มิชนาห์” (คัมภีร์ดั้งเดิมเกี่ยวกับบทขอพรของศาสนายิว [ต้องการแหล่งอ้างอิง] บทความเรื่อง การศึกษาวิธีการนมาซในศาสนาต่างๆ ระบุว่า ในศาสนายิว มักจะนมาซวันละสามครั้ง ในวันชะบัต (วันเสาร์) และวันศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ชาวคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์และอนุรักษ์นิยมจะนมาซอีกรูปแบบหนึ่งเรียกว่า มูซาฟ (๘๕)
ในศาสนาคริสต์ การนมาซเพื่อสื่อสารกับพระเจ้า (พระบิดา) หรือบุคคลอื่นๆ ในตรีเอกานุภาพ (พระบุตรหรือพระวิญญาณบริสุทธิ์) การนมาซมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปในนิกายคริสเตียนต่างๆ การนมาซสามารถกระทำในรูปแบบกลุ่ม (การสวดภาวนา) เช่น พิธีอาหารมื้อสุดท้ายของพระเจ้า หรือกระทำส่วนบุคคลก็ได้ (๘๖)
หนังสืออ้างอิง
ผลงานประพันธ์เกี่ยวกับการนมาซได้รับการเขียนและแปลเป็นภาษาต่างๆ (๘๗) โดยบางส่วนมีดังนี้ :
ออดอเบ นะมอซ ประพันธ์โดยอิมามโคมัยนี : หนังสือเล่มนี้ ได้อธิบายถึงมารยาทของหัวใจและความลี้ลับทางจิตวิญญาณของการนมาซ และมีบทนำสองบทที่ผู้เขียนกล่าวถึงบุตรของเขา
อิซรอรุศเศาะลาฮ์ ประพันธ์โดยมีรซา ญะวาด มะลิกี ตับรีซี : เป็นหนังสือเกี่ยวกับการขัดเกลาจิตวิญญาณและการมีสมาธิและความเข้าใจในการนมาซ
อิซรอเร นะมอซ ประพันธ์โดยอิมามโคมัยนี : เป็นการตัฟซีรเชิงจิตวิญญาณของนมาซ ตั้งแต่การอะซาน ไปจนถึงตะชะฮ์ฮุดและการให้สลาม
อัศเศาะลาตุ ฟิลกิตาบ วัซซุนนะฮ์ ประพันธ์โดยมุฮัมมัด มุฮัมมะดี เรย์ ชะฮ์รี : หนังสือนี้ประกอบด้วยอายะฮ์ในอัลกุรอานและฮะดีษจากชีอะฮ์และอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ เกี่ยวกับความจำเป็นในการนมาซ ปรัชญาของการนมาซ การนมาซก่อนการมาของอิสลาม ความสำคัญของการนมาซ คุณสมบัติของการนมาซ เวลาในการนมาซ มารยาทของการนมาซ และอื่นๆ
รอซฮอเย นะมอซ ประพันธ์โดย อับดุลลอฮ์ ญะวาดี อามุลี : มุมมองในเชิงปรัชญาเกี่ยวกับการนมาซและกฎเกณฑ์ของมัน