ซูเราะฮ์
ซูเราะฮ์ (บท) (ภาษาอาหรับ : السورة) เป็นคำศัพท์ทางวิชาการของอัลกุรอาน ซึ่งหมายถึง ชุดโองการทั้งหมดของอัลกุรอานที่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดที่เฉพาะเจาะจง และในกรณีต่างๆส่วนมาก จะเริ่มต้นด้วย บิสมิลลลาฮิรเราะห์มานิรเราะฮีม นักตัฟซีรบางคนเชื่อว่า โองการทั้งหมดของอัลกุรอานนั้นมีความเกี่ยวข้องกันและเป็นไปตามประเด็นหลัก บางซูเราะฮ์จึงถูกแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ เนื่องจากลักษณะความคล้ายคลึงกัน การแบ่งหมวดหมู่ของซูเราะฮ์ เป็นไปตามเวลาของการประทานลงมา (มักกียะฮ์หรือมะดะนียะฮ์ ) และการแบ่งส่วนของซูเราะฮ์ ตามจำนวนโองการ (อัสซับอฺ อัฏฏิวาล อัลมิอูน อัลมะษานี อัลมุฟัศศ็อล) ล้วนอยู่ในหมวดหมู่การแบ่งเหล่านี้
ตามทัศนะของบรรดานักวิชาการอัลกุรอานที่มีชื่อเสียงได้กล่าวไว้ว่า อัลกุรอานมีทั้งหมด ๑๑๔ ซูเราะฮ์ แต่ทว่าผู้เขียนบางคน ถือว่า จำนวนซูเราะฮ์ของอัลกุรอานมีทั้งหมด ๑๑๒ หรือ ๑๑๓ บท โดยไม่ลดน้อยลงของจำนวนโองการของอัลกุรอาน เพราะว่า บางคน เชื่อว่า ซูเราะฮ์อัตเตาบะฮ์ เป็นความต่อเนื่องจากซูเราะฮ์อัลอัมฟาล และไม่ใช่เป็นซูเราะฮ์ที่อิสระ บางคนไม่ได้ถือว่า ซูเราะฮ์อัลฟีล และซูเราะฮ์อัลกุร็อยช์ รวมถึง ซูเราะฮ์อัฎฎุฮา และ ซูเราะฮ์อันอินชิเราะห์ เป็นซูเราะฮ์ที่อิสระ ซูเราะฮ์ของอัลกุรอานแต่ละบทมีนามที่เฉพาะและมักนำมาจากคำเริ่มต้นของแต่ละซูเราะฮ์ หรือจากเนื้อหาต่างๆ นักค้นคว้าวิจัยอัลกุรอานบางคน เชื่อว่า นามของซูเราะฮ์ถูกเลือกโดยศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และไม่สามารถเรียกชื่อของซูเราะฮ์ด้วยชื่ออื่นได้ แต่ทว่าบรรดานักค้นคว้าวิจัยอื่น ๆ มีความเห็นว่า ทัศนะนี้ไม่ถูกต้องและเชื่อว่า นามของซูเราะฮ์เกิดขึ้นเนื่องจากเวลาที่ผ่านไป อันเป็นผลมาจากการใช้ภาษาของผู้คนอย่างกว้างขวาง
ซูเราะฮ์แรกและซูเราะฮ์สุดท้ายที่ถูกประทานลงมาแก่ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เป็นหนึ่งในประเด็นที่มีการกล่าวถึงในวิทยาการของอัลกุรอาน ตามที่บางคนกล่าวว่า ซูเราะฮ์ อัลฟาติฮะตุลกิตาบ เป็นซูเราะฮ์แรก และซูเราะฮ์อันนัศร์ เป็นซูเราะฮ์สุดท้ายที่ถูกประทานลงมาแก่ศาสดาในคราวเดียว ในแหล่งข้อมูลด้านฮะดีษของชีอะฮ์และอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ มีฮะดีษจำนวนมากที่กล่าวถึงความประเสริฐของซูเราะฮ์ต่างๆ อย่างไรก็ตาม นักวิชาการยังได้โต้แย้งกันเกี่ยวกับส่วนมากของฮะดีษเหล่านี้ ทั้งในแง่ของสายรายงานและตัวบทของฮะดีษ
ความหมายของซูเราะฮ์และความสำคัญในประเด็นที่เกี่ยวกับอิสลาม
ซูเราะฮ์ เป็นคำศัพท์ทางวิชาการของอัลกุรอาน และหมายถึง ชุดของโองการทั้งหมดของอัลกุรอาน ที่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดที่เฉพาะเจาะจง และในกรณีต่างๆส่วนมาก จะเริ่มต้นด้วย บิสมิลลลาฮิรเราะห์มานิรเราะฮีม (ยกเว้นซูเราะฮ์อัตเตาบะฮ์ ซึ่งไม่มี บิสมิลลลาฮิรเราะห์มานิรเราะฮีม) [๑]ในผลงานเขียนบางฉบับ ซูเราะฮ์ของอัลกุรอานถูกนำมาเปรียบเทียบกับบทต่างๆ ในหนังสือ [๒] แต่ทว่านักค้นคว้าวิจัยบางคน ถือว่า การเปรียบเทียบเช่นนี้ไม่ถูกต้อง เนื่องจาก ซูเราะฮ์ของอัลกุรอานไม่มีลักษณะของบทของหนังสือ [๓]ในระหว่างการแบ่งส่วนต่าง ๆ ของอัลกุรอาน (เช่น การแบ่งออกเป็นญุซอ์ และเป็นฮิซบ์ ) การแบ่งออกเป็นอายะฮ์และซูเราะฮ์ ถือเป็นการแบ่งประเภทที่แท้จริงของอัลกุรอาน ที่มีต้นกำเนิดจากอัลกุรอาน [๔]
มีซูเราะฮ์ขนาดเล็กและในบางกรณี มีซูเราะฮ์ที่ยาวของอัลกุรอาน ( ซูเราะฮ์ อัลอันอาม ) ได้ถูกประทานลงมาแก่ศาสดา ในคราวเดียว [๕] บางส่วนของซูเราะฮ์ทั้งหลายได้ถูกประทานลงมาแก่ศาสดาอย่างทีละเล็กที่ละน้อยและเรียงลำดับของโองการ ด้วยก็ถูกคำสั่งของศาสดา [๖] มีการกล่าวกันว่า การแบ่งประเภทของอัลกุรอานออกเป็นซูเราะฮ์ นำมาซึ่งประโยชน์ต่างๆ สามารถที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้: ความสะดวกสบายในการเรียนรู้และการท่องจำอัลกุรอาน การสร้างความหลากหลายและความตื่นเต้นให้กับผู้อ่านอัลกุรอาน การเรียบเรียงของโองการที่เหมาะสมและมีการแยกแยะของซูเราะฮ์ออกจากกันด้วยประเด็นหลักต่างหาก [๗]
มีการนำเสนอทัศนะที่แตกต่างกันเกี่ยวกับวิธีการเชื่อมสัมพันธ์กันของโองการต่างๆของซูเราะฮ์หนึ่ง [๘] บรรดานักตัฟซีร เช่น ซัยยิดมุฮัมมัดฮุเซน เฏาะบาเฏาะบาอี ซัยยิดกุฏบ์ มุฮัมมัดอิซซัต ดัรวะเซะฮ์ พวกเขาเชื่อว่า ซูเราะฮ์ แต่ละซูเราะฮ์ มีความเป็นหนึ่งเดียวและเอกภาพ ซึ่งมีความแตกต่างจากซูเราะฮ์อื่น ๆ [๙] ตามคำกล่าวของเฏาะบาเฏาะบาอี ผู้เขียนตำราตัฟซีรอัลมีซาน ระบุว่า ซูเราะฮ์ต่างๆ มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันและซูเราะฮ์ แต่ละซูเราะฮ์มีความหมายและจุดประสงค์อันเฉพาะ ซึ่งซูเราะฮ์ทั้งหมดถูกกล่าวพร้อมกับโองการทั้งหมด [๑๐]กล่าวกันได้ว่า ทัศนะนี้ได้รับความนิยมในศตวรรษที่ ๒๐ ค.ศ. ในทางตรงกันข้าม บรรดานักตัฟซีรอื่นๆ เช่น นาศิร มะการอม ผู้เขียนหนังสือตัฟซีรเนมูเนะฮ์ ไม่ได้ถือว่า มีความจำเป็นที่โองการทั้งหมดของซูเราะฮ์ จะต้องมีความเป็นหนึ่งเดียวกันและเชื่อว่า ซูเราะฮ์นั้นสามารถที่จะแสดงในหัวข้อต่างๆ ได้ [๑๒]
กล่าวกันว่า ในช่วงเริ่มต้นการบิอ์ษัตของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ศัพท์ทางวิชาการว่า ซูเราะฮ์ ถูกกล่าวถึงโองการของอัลกุรอานที่มีความหมายสอดคล้องกัน ตามความหมายนี้ ซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์นั้นมีซูเราะฮ์เกือบสามสิบซูเราะฮ์ด้วยกัน [๑๓] แต่ในปีสุดท้ายของชีวิตของศาสดา ซูเราะฮ์ถูกนำมาใช้เชิงวิชาการในยุคสมัยปัจจุบัน [๑๔] มะญีด มะอาริฟ นักวิจัยอิสลาม เชื่อว่า การงานนี้ทำให้เกิดทัศนะที่แตกต่างกันระหว่างชีอะฮ์และอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ เพราะว่า ในหลักฟิกฮ์ของชีอะฮ์ในนมาซ หลังจากอ่านซูเราะฮ์อัลฮัมด์ จะต้องอ่านซูเราะฮ์ใดซูเราะฮ์หนึ่งจากอัลกุรอานอย่างสมบูรณ์ (ยกเว้นซูเราะฮ์ที่ต้องซูญูด ) แต่ทว่า ในฟิกฮ์ของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ การอ่านส่วนหนึ่งของอัลกุรอานถือว่า เพียงพอแล้ว (๑๕)
บางซูเราะฮ์ของอัลกุรอาน ถูกแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ เนื่องจากการมีลักษณะความคล้ายคลึงกัน [๑๗]
การแบ่งซูเราะฮ์ ตามเวลาการประทานลงมา
ตรงตามทัศนะที่ถูกรู้จักกันดีของบรรดานักวิชาการอัลกุรอาน ระบุว่า ซูเราะฮ์ของอัลกุรอานได้ถูกแบ่งออกเป็นสองประเภททั่วไปตามเวลาของการประทานลงมา มักกียะฮ์และมะดะนียะฮ์ [๑๘] บนพื้นฐานนี้ โองการต่างๆที่ถูกประทานลงมา ก่อนที่ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) จะอพยพไปยังเมืองมะดีนะฮ์ เรียกว่า มักกียะฮ์ และโองการต่างๆที่ถูกประทานลงมาหลังจากการมาถึงของศาสดาในมะดีนะฮ์ เรียกว่า มะดะนียะฮ์ ดังนั้น หากมีซูเราะฮ์หรือโองการหนึ่งถูกประทานลงมา หลังการฮิจญ์เราะฮ์ ก็จะเรียกว่า มะดะนียะฮ์ แม้ว่ามันถูกประทานลงมาในเมืองมักกะฮ์ หรือระหว่างการเดินทางของศาสดา (ศ็อลฯ) ก็ตาม เช่นโองการต่างๆที่ถูกประทานลงมาในการพิชิตนครมักกะห์หรือในพิธีฮัจญ์ครั้งอำลา [๑๙]
นักวิชาการอัลกุรอานบางคน ถือว่า การแบ่งซูเราะฮ์ต่างๆ เป็นมักกียะฮ์ และมะดะนียะฮ์ ไม่ใช่ตามเวลาการประทานของอัลกุรอาน แต่ตามสถานที่หรือตามผู้ฟัง ตามหลักเกณฑ์ของสถานที่ โองการที่ประทานลงมาในเมืองมักกะฮ์และบริเวณรอบๆ เช่น ทุ่งมินา ทุ่งอะเราะฟัต และฮุดัยบียะฮ์ เรียกว่า มักกียะฮ์ แม้ว่าจะเกิดขึ้นหลังจากการอพยพก็ตาม และโองการที่ประทานลงมาในเมืองมะดีนะห์และบริเวณรอบๆ เช่น บัดร์ และอุฮุด เรียกว่า มะดะนียะฮ์ (๒๐) อย่างไรก็ตาม ตามหลักเกณฑ์ของผู้ฟังที่มีต่อซูเราะฮ์ โองการที่กล่าวถึงประชาชนในเมืองมักกะฮ์ เรียกว่า มักกียะฮ์ และโองการที่กล่าวถึงประชาชนในเมืองมะดีนะฮ์ เรียกว่า มะดะนียะฮ์ (๒๑) หลักในการแยกแยะผู้ฟัง คือ โองการที่ใช้คำว่า โอ้มนุษย์เอ๋ย เรียกว่า มักกียะฮ์ และโองการที่ใช้คำว่า โอ้บรรดาผู้ศรัทธา เรียกว่า มะดะรีนะฮ์ (๒๒)
การแบ่งตามความสั้นหรือความยาวของซูเราะฮ์
ซูเราะฮ์ต่างๆของอัลกุรอานได้ถูกแบ่งออกเป็นเจ็ดซูเราะฮ์ตามความสั้น ความยาวและจำนวนโองการ ดังนี้ อัสซับอ์ อัฏฏิวาล อัลมิอูน อัลมะษานี และอัลมุฟัศศ็อล [๒๓]
อัสซับอ์ อัฏฏิวาล เป็นชื่อของซูเราะฮ์ เนื่องจากมีโองการเป็นจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงซูเราะฮ์ทั้งเจ็ด กล่าวคือ ซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ ซูเราะฮ์อาลิอิมรอน ซูเราะฮ์อันนิซาอ์ ซูเราะฮ์อัลอันอาม ซูเราะฮ์อัลอะอ์รอฟ และซูเราะฮ์อัลอันฟาล (หรือ ซูเราะฮ์ ยูนุส แทนที่ ซูเราะฮ์ อัลอันฟาล) [๒๔]
อัลมิอูน เป็นซูเราะฮ์ที่มีความสั้นกว่า ซูเราะฮ์ที่มีความยาวทั้งเจ็ดและมีมากกว่าหนึ่งร้อยโองการ คือ : ซูเราะฮ์ ยูนุส (หรือ ซูเราะฮ์ อัลอันฟาล) ซูเราะฮ์อัตเตาบะฮ์ ซูเราะฮ์อัลนะห์ล ซูเราะฮ์ ฮูด ซูเราะฮ์ ยูซุฟ ซูเราะฮ์อัลกะฮ์ฟ ซูเราะฮ์อัลอิสรออ์ ซูเราะฮ์ อัลอัมบิยา ซูเราะฮ์ ฏอฮา ซูเราะฮ์ อัลมุมินูน ซูเราะฮ์ อัชชุอะรออ์ และซูเราะฮ์ อัศศ็อฟฟาต [๒๕]
อัลมะษานี มีเกือบยี่สิบซูเราะฮ์ ซึ่งจำนวนโองการมีน้อยกว่า ๑๐๐ โองการ (๒๖) เช่น ซูเราะฮ์ต่างๆเหล่านี้ กล่าวคือ ซูเราะฮ์อัลเกาะศ็อศ ซูเราะฮ์ อันนัมล์ ซูเราะฮ์ อัลอังกะบูต ซูเราะฮ์ ยาซีน และซูเราะฮ์ ศ็อด [๒๗] มุฟัศเศาะลาต เป็นซูเราะฮ์ต่างๆที่อยู่ตอนท้ายของอัลกุรอาน (๒๘) เนื่องจากซูเราะฮ์ เหล่านี้มีจำนวนสั้นและแยกจากกันโดย บัสมะละฮ์ จึงเรียกซูเราะฮ์เหล่านี้ว่า มุฟัศเศาะลาต [๒๙]
การแบ่งประเภทอื่นๆ
อะซาอิม มุซับบิฮาต ฮะวามีม มุมตะฮินาต ฮามิดาต สี่กุล เฏาะวาซีน มุเอาวะซะตัยน์ และซะฮ์รอวาน เป็นอีกประเภทหนึ่งจากการแบ่งประเภทของซูเราะฮ์อัลกุรอาน [๓๐]
อะซาอิม หรือ อะซาอิมุสซุญูด หมายถึง ซูเราะฮ์ อัสซัจญ์ดะฮ์ ซูเราะฮ์ อัลฟุศิลัติ ซูเราะฮ์ อัลนัจญ์ม ซูเราะฮ์อะลัก ซึ่งซูเราะฮ์เหล่านี้โองการซัจญะดะฮ์ หากผู้ใดอ่านหรือได้ยิน เขาจะต้องซุญูด ในขณะนั้น [๓๑] ฮะวามีม ซูเราะฮ์ที่ ๔๐ ( ซูเราะฮ์ ฆอฟิร ) ถึง ซูเราะฮ์ที่ ๔๖ ( ซูเราะฮ์ อัลอะห์กอฟ ) ของอัลกุรอาน กล่าวกันได้ว่า เริ่มต้นด้วยตัวอักษร ฮา มีม (๓๒)ในซูเราะฮ์ทั้งหมดเหล่านี้ หลังจากอักษรมุก็อฏเฏาะอะฮ์ของอัลกุรอานและจะถูกกล่าวถึงการประทานลงมาของมัน[๓๓]
มุซับบิฮาต กล่าวกันว่า ซูเราะฮ์ อัลฮะดีด ซูเราะฮ์ อัลฮัชร์ ซูเราะฮ์ อัศศ็อฟ ซูเราะฮ์ อัลญุมุอะฮ์ และซูเราะฮ์ อัตตะฆอบุน เริ่มต้น ด้วยการตัสบีฮ์แด่พระเจ้า [๓๔]
จำนวนซูเราะฮ์ของอัลกุรอาน
ส่วนมากของบรรดานักค้นคว้าวิจัย ถือว่า จำนวนซูเราะฮ์ของอัลกุรอาน มีทั้งหมด ๑๑๔ ซูเราะฮ์ (๓๕) ขณะเดียวกัน นักเขียนบางคนเชื่อว่า จำนวนซูเราะฮ์ของอัลกุรอาน มีทั้งหมด ๑๑๒ ซูเราะฮ์ โดยที่ไม่มีการลดน้อยลงของโองการอัลกุรอาน และถือว่า นี้เป็นทฤษฎีมัชฮูรของชีอะฮ์ (๓๖) ตามความคิดเห็นของพวกเขา ระบุว่า ซูเราะฮ์อัลฟีล อัลกุร็อยช์ และซูเราะฮ์อัฎฎุฮา และอัลอินชิรอห์ ไม่ได้เป็นสองซูเราะฮ์ที่อิสระ แต่ทว่าถือเป็นซูเราะฮ์เดียว (๓๗) ทฤษฎีนี้ ได้รับจากการรวมสองกลุ่มของริวายะฮ์ต่างๆ (๓๘) ตรงตามริวายะฮ์จำนวนหนึ่ง ผู้นมาซจะต้องอ่านหลังซูเราะฮ์อัลฮัมด์ หนึ่งซูเราะฮ์จากอัลกุรอาน (๓๙) และตรงตามกลุ่มอื่นของฮะดีษ ไม่ว่า ผู้นมาซ หลังจากอ่านซูเราะฮ์อัลฮัมด์ หากเขาซูเราะฮ์อัลฟีล เขาจะต้องอ่านซูเราะฮ์ อัลกุร็อยช์ อีกด้วยเช่นกัน ดังที่เมื่อเขาอ่านซูเราะฮ์อัฎฎุฮา เขาก็จะต้องอ่านซูเราะฮ์อัลอินชิรอห์ ด้วย (๔๐) นักค้นคว้าวิจัยบางคนได้ปฏิเสธทฤษฎีนี้ โดยนำเสนออีกแง่มุมหนึ่งสำหรับผลรวมระหว่างกลุ่มริวายะฮ์ทั้งสองประเภทนี้ ตามคำกล่าวของเขา ระบุว่า แม้ว่า ในนมาซจำเป็นที่จะต้องอ่านหนึ่งซูเราะฮ์ หลังจากฟาติฮะตุลกิตาบ แต่ทว่าซูเราะฮ์ อัลฟีล และ ซูเราะฮ์ อัลกุร็อยช์ รวมถึง ซูเราะฮ์ อัลฎุฮา และ ซูเราะฮ์ อัลอินชิรอห์ ก็ถูกยกเว้นจากกฎนี้ [๔๑] นักตัฟซีรชีอะฮ์และอะฮ์ลิสซุนนะฮ์บางคน ยังถือว่า ซูเราะฮ์ อัลอันฟาลและซูเราะฮ์อัตเตาบะฮ์ เป็นหนึ่งซูเราะฮ์ และโดยไม่ต้องลดจำนวนโองการของอัลกุรอาน พวกเขาถือว่า จำนวนซูเราะฮ์ในอัลกุรอาน มีทั้งหมด ๑๑๓ ซูเราะฮ์[๔๒]
ในบางรายงานจากอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ ระบุว่า มีความแตกต่างกันของจำนวนซูเราะฮ์ จนนำไปสู่การตัดทอนหรือเพิ่มเติมโองการในอัลกุรอาน [๔๓] ตรงตามที่ ซุยูฏี ผู้เขียนหนังสือ อัลอิตกอน กล่าวไว้ว่า มุศฮัฟ อับดุลลอฮ์ บิน มัส มีทั้งหมดหนึ่งร้อยสิบสอง ซูเราะฮ์ เพราะว่า เขาถือว่า ซูเราะฮ์กุลอะอูซูทั้งสอง เป็นเพียงการขอความคุ้มครองจากพระเจ้า (ตะอ์วีซ) เท่านั้น และไม่ได้นับว่ามาจากอัลกุรอาน (๔๔) นอกเหนือจากนี้ ซุยูฏี ยังถือว่า มุศฮัฟ อะบัย บิน กะอ์บ มีทั้งหมด หนึ่งร้อยสิบหก ซูเราะฮ์ เนื่องจากอุบัย บิน กะอ์บได้เพิ่มซูเราะฮ์สองซูเราะฮ์ ชื่อว่า อัลค็อลอ์ และอัลฮัฟด์ เข้าไปในอัลกุรอาน (๔๕) นักบูรพาคดี เชื่อว่า ด้วยการแบ่งซูเราะฮ์ อัลอะลัก และซูเราะฮ์ อัลมุดัษษิร ทั้งสองซูเราะฮ์ถูกเพิ่มเข้าไปในจำนวนซูเราะฮ์ของอัลกุรอาน และจำนวนซูเราะฮ์ของอัลกุรอานจึงมีทั้งหมด๑๑๖ ซูเราะฮ์ [๔๖]
การตั้งชื่อซูเราะฮ์
แต่ละซูเราะฮ์ของอัลกุรอาน ได้รับการตั้งชื่อด้วยชื่อพิเศษและมักจะนำมาจากช่วงเริ่มต้นของแต่ละซูเราะฮ์ หรือมาจากเนื้อหาและสาระสำคัญที่ซ่อนอยู่ในนั้น เนื่องจากซูเราะฮ์ อัลบะเกาะเราะฮ์ได้รับการตั้งชื่อ เนื่องในโอกาสที่มีการกล่าวถึงวัวของบะนีอิสรออีลในซูเราะฮ์นี้หรือซูเราะฮ์ อันนิซาอ์ ในโอกาสมีการกล่าวถึงอะฮ์กามที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิง จึงได้รับการตั้งชื่อนี้ (๔๗) บางซูเราะฮ์ของอัลกุรอาน มีมากกว่าหนึ่งชื่อ โดยซุยูฏี กล่าวว่า สำหรับซูเราะฮ์อัลฮัมด์ มีจำนวน ๒๕ ชื่อด้วยกัน [๔๘]
ในการตั้งชื่อซูเราะฮ์ เป็นการเตากีฟี และได้รับการประทานวะฮ์ฮีย์ (คำวิวรณ์) มายังศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) หรือชื่อเหล่านี้ได้รับการตั้งชื่อโดยเหล่าเศาะฮาบะฮ์ มีทัศนะที่แตกต่างกัน [๔๙]นักวิชาการอัลกุรอานบางคน เช่น ซัรกิชี และ ซุยูฏี เชื่อว่า การตั้งชื่อซูเราะฮ์ โดยผ่านศาสดา ( เตากีฟี ) [๕๐] และอย่าได้เรียกซูเราะฮ์ด้วยชื่ออื่นใด [๕๑] ด้วยการอ้างอิงถึงความเป็นเตากีฟีของชื่อของซูเราะฮ์ นักเขียนบางคนได้บอกว่า การตั้งชื่อ เราะฮ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปาฏิหาริย์ทางวรรณกรรมของอัลกุรอาน โดยพวกเขาเชื่อว่าจุดประสงค์หลักและผลลัพท์ของซูเราะฮ์ สามารถที่จะเข้าใจได้จากชื่อเหล่านี้ [๕๒]
ในทางตรงข้าม ซัยยิด มุฮัมมัดฮุเซน เฏาะบาเฏาะบาอี และอับดุลลอฮ์ ญะวาดี หนึ่งในนักตัฟซีรของชีอะฮ์ในศตวรรษที่ ๑๔ ไม่ถือว่า การตั้งชื่อซูเราะฮ์ เป็นเตากีฟีและไม่ได้มาจากศาสดาอีกด้วย [๕๓] ตามคำพูดของพวกเขา ระบุว่า ในยุคสมัยของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) มีการเรียกชื่อของซูเราะฮ์ส่วนมาก เนื่องจากมีการกล่าวถึงจากเหล่าเศาะฮาบะฮ์จำนวนมาก (๕๔) ตรงตามทัศนะของ ญะวาดี อามุลี ระบุว่า ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่ซูเราะฮ์ที่มีคำสอนอันสูงส่ง วิทยปัญญาอันลึกซึ้ง และอะฮ์กามอย่างมากมาย จะตั้งชื่อตามชื่อสัตว์ได้ หรือซูเราะฮ์ อัลอันอัม ซึ่งมีการโต้แย้งจากความเชื่อในหลักเตาฮีด ถึงสี่สิบครั้ง ด้วยการตั้งชื่อซูเราะฮ์ด้วยชื่อของสัตว์สี่เท้า หรือซูเราะฮ์ อัลนัมล์ ซึ่งมีคำสอนที่ลึกซึ้งและเรื่องราวมากมายจากบรรดาศาสดา (อ. ) ด้วยการตั้งชื่อด้วยชื่อว่า มด [๕๕]
การจัดเรียงลำดับของซูเราะฮ์
นักค้นคว้าวิจัยส่วนใหญ่ เชื่อว่า การจัดเรียงลำดับของซูเราะฮ์อัลกุรอานในมัศฮัฟไม่ได้ดำเนินการตามคำสั่งของศาสนทูตของพระเจ้า แต่ทว่า เหล่าเศาะฮาบะฮ์ได้เป็นผู้ดำเนินการในลักษณะเช่นนี้ (๕๖) หนึ่งในเหตุผลที่สนับสนุนทัศนะนี้ คือ การมีความแตกต่างในการเรียงลำดับของซูเราะฮ์ในมุศฮัฟของเศาะฮาบะฮ์ (๕๗) เช่นเดียวกับในมุศฮัฟของอิมามอะลี (อ.) ซึ่งไม่ได้ถูกเรียงลำดับตามกับมุศฮัฟในปัจจุบัน แต่มีการเรียงลำดับตามการประทานลงมาของซูเราะฮ์ (๕๘) อัลกุรอานฉบับปัจจุบันที่มีอยู่ในหมู่ชาวมุสลิมเป็นฉบับที่เรียบเรียงโดยคำสั่งของ อุษมาน บิน อัฟฟาน เคาะลีฟะฮ์ที่สาม [๕๙] และ ได้รับการยอมรับจากอิมามอะลี (อ.)และบรรดาอิมามอื่นๆ (อ. ) [๖๐]
อย่างไรก็ตาม นักวิชาการอัลกุรอานบางคนเชื่อว่า การเรียงลำดับปัจจุบันของซูเราะฮ์อัลกุรอานนั้น จัดตามคำสั่งของศาสนทูตของพระเจ้า (ศ็อลฯ) [๖๑]บุคคลเหล่านี้บางคนเชื่อว่า ซูเราะฮ์ได้สร้างความสัมพันธ์และมีการเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน [๖๒] อีกกลุ่มหนึ่งมีความเห็นว่า การเรียงลำดับซูเราะฮ์ของอัลกุรอาน เป็นการผสมจากเตากีฟ (คำสั่งของศาสดา) และหลักอิจญ์ติฮาด ซึ่งหมายความว่า ซูเราะฮ์บางส่วนโดยคำสั่งของศาสนทูตแห่งพระเจ้า (ศ็อลฯ) และการเรียงลำดับอีกบางส่วนโดยหลักอิจญ์ติฮาดและความคิดเห็นของเหล่าเศาะฮาบะฮ์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากอุษมาน มีความรับผิดชอบในการรวบรวมอัลกุรอาน [๖๓]
ซูเราะฮ์แรกและซูเราะฮ์สุดท้ายถูกประทานลงมา
เกี่ยวกับซูเราะฮ์แรกที่ถูกประทานลงมาแก่ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) มีสามทัศนะ ด้วยกัน บางคนถือว่า โองการแรกๆ ของซูเราะฮ์ อัลอะลัก บางคนถือว่า โองการแรกๆ ของซูเราะฮ์ อัลมุดัษษิร และ บางคนถือว่า ซูเราะฮ์ ฟาติฮะตุลกิตาบ เป็นซูเราะฮ์แรกที่ถูกประทานลงมาแก่ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) [๖๔] มุฮัมมัดฮาดี มะอ์ริฟัต ผู้ประพันธ์หนังสือ อัตตัมฮีด เชื่อว่า แม้ว่าโองการแรกๆของ ซูเราะฮ์ อัลอะลัก เป็นโองการแรกๆที่ถูกประทานลงมาแก่ศาสดาและโองการแรกๆของ ซเราะฮ์ อัลมุดัษษิร เป็นโองการแรกๆที่ถูกประทานลงมาแก่ศาสดา หลังจากนั้น ในช่วงเวลาฟิตเราะฮ์ แต่ทว่า ซูเราะฮ์แรกที่ถูกประทานลงมาแก่ศาสดาอย่างสมบูรณ์ คือ ซูเราะฮ์ อัลฮัมด์ [๖๕] เกี่ยวกับซูเราะฮ์สุดท้ายถูกประทานลงมาแก่ศาสดา บางคนถือว่า ซูเราะฮ์ อัลบะเกาะเราะฮ์บางคนถือว่า ซูเราะฮ์ อัลนัศร์ และบางคนถือว่า ซูเราะฮ์ อัลมาอิดะฮ์ เป็นซูเราะฮ์สุดท้าย[๖๖]จากริวายะฮ์ของอิมามศอดิก (อ.) รายงานว่า ซูเราะฮ์สุดท้ายที่ถูกประทานลงมาแก่ศาสดา คือ ซูเราะฮ์ อัลนัศร์ (๖๗) เนื่องจากซูเราะฮ์ อัลนัศร์ ถูกประทานลงมา ก่อนการพิชิตนครมักกะฮ์และซูเราะฮ์ อัตเตาบะฮ์ หลังจากการพิชิตนครมักกะฮ์ โดยมุฮัมมัดฮาดีมะอ์ริฟัต เชื่อว่า แม้ว่าโองการแรกๆ ของซูเราะฮ์ บะรออะฮ์ จะถูกประทานลงมา หลังจากซูเราะฮ์ อัลนัศร์ ก็ตาม แต่ทว่า ซูเราะฮ์สุดท้ายที่ถูกประทานลงมาแก่ท่านศาสดาในคราวเดียว ก็คือ ซูเราะฮ์ อัลนัศร์ [๖๘]
ความประเสริฐของซูเราะฮ์
จากแหล่งข้อมูลด้านฮะดีษอันดับแรกๆ รายงานว่า มีฮะดีษอย่างมากมายที่กล่าวถึงความประเสริฐของซูเราะฮ์ และมีบทต่างๆ ที่มีชื่อเดียวกันนี้ ในหนังสือต่างๆ เช่น หนังสืออัลกาฟีย์ [๖๙] และษะวาบุบอะอ์มาล [๗๐] ด้วยหัวข้อที่เฉพาะนี้ ในยุคสมัยหลังจากนั้น นักวิชาการบางคนได้กล่าวถึงริวายะฮ์เหล่านี้ไว้ในหนังสือของพวกเขา [๗๑] ส่วนแหล่งข้อมูลสายฮะดีษของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ รายงานว่า มีฮะดีษจำนวนมากที่กล่าวถึงในบทความประเสิรฐของซูเราะฮ์และโองการของอัลกุรอาน (๗๒) อย่างไรก็ตาม ริวายะฮ์กลุ่มนี้ต้องเผชิญกับผลกระทบทางสายรายบงานและตัวบทของริวายะฮ์ และส่วนมากของริวายะฮ์เหล่านี้ถูกกุขึ้นมา (๗๓)