โองการศอละวาต

จาก wikishia

โองการศอละวาต (ภาษาอาหรับ:آية الصلوات) (ซูเราะฮ์ อัลอะฮ์ซาบ :56) กล่าวถึงการกล่าว ศอละวาต (ประสาทพร)ของ อัลลอฮ์ และมวล เทวทูต ต่อศาสดาของอิสลามและต้องการให้ บรรดาผู้ศรัทธา ต่างกล่าวศอละวาตแด่ ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ด้วยเช่นกัน โดยส่วนมากของชาว ชีอะฮ์ เมื่อได้ยินโองการนี้ พวกเขาก็จะกล่าวศอละวาต ทั้งนี้ การอ่านโองการนี้ ถือเป็นคำสั่งที่ควรปฏิบัติหลัง นมาซมัฆริบ อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี เขียนไว้ใน ตัฟซีรอัลมีซาน ว่า “การกล่าวคำศอละวาต เป็นการปฏิบัติตามอัลลอฮ์และมวลเทวทูตของพระองค์” อยาตุลลอฮ์ มะการิม ชีรอซี เขียนในหนังสือพะยอเมกุรอาน(สารอัลกุรอาน)ว่า ตามการยืนยันจากตำราด้านฮะดีษและตัฟซีรของชาว อะฮ์ลิซซุนนะฮ์ รายงานว่า “การกล่าวศอละวาตให้กับครอบครัวของศาสดา ผู้ทรงเกียรติของอิสลาม เป็นส่วนหนึ่งของการศอละวาต ซึ่งถูกกล่าวไว้ในโองการที่ 56 ของซูเราะฮ์อัลอะฮ์ซาบ

ตัวบทและคำแปล

إِنَّ اللهَ وَ مَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يا أَيُّهَا الَّذينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَ سَلِّمُوا تَسْليماً
คำแปล: “แท้จริงอัลลอฮ์และมะลาอิกะฮ์ของพระองค์ได้ศอละวาต(ประสาทพร) ให้ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) โอ้บรรดาผู้ศรัทธา พวกท่านจงศอละวาตและขอความสันติสุขอย่างสมบูรณ์ให้เขาด้วยเถิด”

สถานภาพและความสำคัญ

เชคฏูซีย์ เขียนในหนังสือมิศบาฮุลมุตะฮัจญิดว่า ให้อ่านโองการนี้ หลังจากนมาซมัฆริบ หลังคำกล่าว ตัซบิฮ์ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) (1)ใน หนังสือมะฟาติฮุลญินาน เขียนโดย เชคอับบาส กุมมี ก็รายงานจากหนังสือมิศบาฮุลมุตะฮัจญิด ด้วยเช่นกัน(2) มีรายงานจากอิมามมูซา กาซิม (อ.) ว่า ผู้ใดก็ตามกล่าวศอลาวาตหลังนมาซศุบฮ์และมัฆริบ ก่อนจะลุกขึ้นหรือพูดคุยกับบุคคลใดก็ตาม อัลลอฮ์ (ซ.บ.)จะทรงตอบสนองความต้องการของเขา ถึงร้อย ความต้องการด้วยกัน ซึ่งเจ็ดสิบความต้องการในโลกนี้และอีกสามสิบความต้องการในโลกหน้า[3] กล่าวกันได้ว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าไม่มีอุปสรรคใดๆ ในการอ่านโองการศอลาวาตทุกครั้ง หลังการนมาซด้วยความตั้งใจแสวงหาความหวัง[4] ด้วยเหตุนี้เอง ในประเทศอิหร่าน จึงถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันว่า โองการนี้จะถูกอ่าน โดยผู้หนึ่งผู้ใด หลังจาก นมาซในรูปแบบญะมาอะฮ์ (เป็นหมู่คณะ)และผู้ร่วมนมาซจะกล่าวศอละวาตทั้งสามครั้งด้วยกัน(ต้องการแหล่งอ้างอิง)(บันทึกที่ 1)

คำอธิบาย

อัลลามะฮ์ฏอบาฏอบาอี นักตัฟซีร(ศตวรรษที่ 15 ของฮิจเราะฮ์ศักราช) เขียนในตัฟซีรอัลมีซาน ว่า “ด้วยการยืนยันจากริวายัตบางส่วนที่รายงานโดย ซุนนีย์ และ ชีอะฮ์ วิธีการกล่าวศอละวาต คือ การกล่าว ศอละวาต ของบรรดาผู้ศรัทธาตามที่อัลลอฮ์ทรงต้องการ หมายถึง การกล่าวศอละวาตให้กับศาสดามุฮัมมัดและบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ของเขา(5)และการกล่าวศอละวาตของพวกเขา ถือเป็นการปฏิบัติตามอัลลอฮ์และ มะลาอิกะฮ์ ของพระองค์ที่กล่าวศอละวาตให้กับศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)และโองการหลังจากนี้(6) ได้สั่งห้ามการรังแกต่ออัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์ หากผู้ใดก็ตามที่รังแกต่ออัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์ เขาจะได้รับการสาปแช่งทั้งในโลกนี้และ โลกหน้า (7) ริวายะฮ์จาก อิมามมูซา กาซิม (อ.) รายงานว่า อิมามกาซิม (อ.) ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับความหมายของการศอละวาตของอัลลอฮ์ และมะลาอิกะฮ์รวมทั้งบรรดาผู้ศรัทธา โดยอิมาม (อ.)กล่าวว่า การศอละวาตของอัลลอฮ์ หมายถึง ความเมตตาของพระองค์ และการศอละวาตของมวลมะลาอิกะฮ์ หมายถึง การสรรเสริญต่อศาสดา ขณะที่การศอละวาตของผู้ศรัทธา หมายถึง การขอดุอาอ์ ให้กับศาสดา(8) อยาตุลลอฮ์ มะการิม ชีรอซี หนึ่งในมัรญิอ์ตักลีดของชีอะฮ์ เขียนในหนังสือพะยอเมกุรอานว่า การกล่าวศอละวาตให้กับบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ เป็นส่วนหนึ่งของการศอละวาต ตามรายงานทั้งจากริวายัตของซุนนีย์และชีอะฮ์ และยังมีการยืนยันจากตำราทางด้านฮะดีษและตัฟซีรของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์อีกด้วย(9) เช่น หนังสืออัลบุคอรี (10) ศอฮิฮ์มุสลิม (11) ตัฟซีรอัดดูรรุลมันษูร (12) และตัฟซีรเฏาะบะรี(13) ฟัฏล์ บินฮะซัน ฏอบัรซีย์ เขียนใน ตัฟซีรมัจมะอุลบะยาน ว่า มีรายงานจากอิมามญะอ์ฟัร อิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า หากผู้ใดก็ตามกล่าวศอละวาตให้กับศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) บรรดามะลาอิกะฮ์จะกล่าวศอละวาตให้กับเขา 10 ครั้ง และความผิด บาป ของเขาจะถูกลบออกไปถึง 10 ครั้งและเขาจะได้รับความดีงาม 10 ครั้งด้วยกัน(14)

เหตุผลของความจำเป็นในการศอละวาต

อยาตุลลอฮ์ นาศิร มะการิม ชีรอซี หนึ่งในมัรญิอ์ตักลีดและนักตัฟซีรของชีอะฮ์ กล่าวว่า จากโองการที่ 56 ซูเราะฮ์อัลอะฮ์ซาบ บ่งบอกว่า การกล่าวศอละวาตให้ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เป็นความจำเป็น(วาญิบ) เพียงครั้งเดียวในตลอดช่วงชีวิต(15)และเช่นเดียวกัน ชัยค์มันศูรอะลี นาศิฟ หนึ่งในนักวิชาการชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ผู้เขียนหนังสืออัตตาญุลญามิอ์ ลิลอุศูร กล่าวว่า เป็นมติตกลงกันของบรรดาผู้รู้อย่างเป็นเอกฉันท์ว่า การกล่าวศอละวาตและให้สลามกับศาสดามุฮัมมัด นั้นเป็นวาญิบ(16)