บาป(ศาสนาอิสลาม)

จาก wikishia

บาป หมายถึง การละเมิดคำสั่งของพระผู้เป็น เจ้า กล่าวคือ การกระทำในสิ่งที่พระองค์ทรงห้ามหรือการละทิ้งในสิ่งที่พระองค์ทรงรับสั่ง บาปต่างๆในอิสลามได้ถูกแบ่งออกเป็นสองประเภทด้วยกัน ดังนี้ บาปใหญ่(กะบีเราะฮ์) และบาปเล็ก (เศาะฆีเราะฮ์)

บาปใหญ่ หมายถึง บาปต่างๆที่ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอานและริวายะฮ์ ผู้ที่กระทำบาปประเภทนี้ เขาจะได้รับการลงโทษจากพระองค์ เช่น การตั้งภาคี การโกหกต่อพระเจ้า การสังหารผู้อื่นโดยไม่ชอบธรรม การผิดประเวณี การกินทรัพย์สินของเด็กกำพร้าและการกิน

สำหรับบาปต่างๆนั้น มีผลกระทบเชิงลบอย่างมากมาย เช่น การทำให้หัวใจมีความแข็งกระด้างและการไม่ได้รับโอกาสให้ปฏิบัติอะมั้ลอิบาดะฮ์ การถูกต้องห้ามจากความโปรดปรานต่างๆ การสูญเสียเกียรติยศและการเร่งรีบสู่ความตาย

ขณะที่ ในอัลกุรอานและริวายะฮ์ กล่าวไว้ว่า มีหลายปัจจัยที่จะชำระบาปต่างๆได้ เช่น การซุญูดอย่างมากมายและการกล่าวศอลาวาตให้แก่ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)และวงศ์วานของเขา การเตาบะฮ์ การขออิสติฆฟาร(การอภัยโทษ) การมีตักวา(ความยำเกรง) การปฏิบัติในการกระทำที่ดีงามและอะมั้ลที่ศอลิห์ การบริจาคทาน(เศาะดะเกาะฮ์) และบางริวายะฮ์ รายงานว่า พระผู้เป็นเจ้า จะทรงขจัดบาปต่างๆด้วยความเจ็บป่วยและความยากจน นอกจากนี้ ยังได้ระบุในอัลกุรอานไว้ว่า หากว่า ผู้ที่กระทำบาปได้ทำการเตาบะฮ์(ขอลุแก่โทษ) พระผู้เป็นเจ้า ก็จะทรงให้อภัยโทษกับเขา

ตามความเชื่อของชีอะฮ์ ถือว่า บรรดามะอ์ศูมทั้ง 14 คนและบรรดาศาสดา ล้วนเป็นผู้ที่บริสุทธิ์ปราศจากบาปทั้งหลาย


คำศัพท์

บาป หมายถึง การฝ่าฝืนคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้า (1) อีกคำพูดหนึ่ง หมายถึง การกระทำใดก็ตามที่พระผู้เป็นเจ้าทรงห้ามมิให้กระทำหรือละทิ้งการงานที่สั่งให้กระทำ (2) คำนี้ตรงกับคำว่า ซัมบ์ มะอ์ศียะฮ์ อิษม์ ซัยยิอะฮ์ และคอฏีอะฮ์ ในภาษาอาหรับ (3)

บาปที่ใหญ่ที่สุด การตั้งภาคี(ชิรก์) ในอัลกุรอาน เป็นบาปที่ใหญ่ที่สุดและเป็นการหลงทางที่ห่างไกล (4) ในซูเราะฮ์ลุกมาน ถือว่า สิ่งนี้เป็นความกดขี่ที่ใหญ่หลวง (5) บาปอื่นๆซึ่งในอัลกุรอานถือว่า เป็นความกดขี่ที่ใหญ่ที่สุด คือ การมุสาต่อพระผู้เป็นเจ้า ในหลายโองการของอัลกุรอาน กล่าวว่า ใครคือผู้ที่กดขี่มากกว่าผู้ที่กล่าวเท็จต่อพระองค์ (6) การกล่าวเท็จต่อพระผู้เป็นเจ้า รวมถึงการบิดอะฮ์ (การบิดเบือน)ในหลักอุศูลุดดีน และฟุรูอุดดีนอีกด้วย (7)

ในบรรดาบาปอื่นๆ การกดขี่ ถือเป็นบาปที่ชั่วร้ายที่สุดอย่างหนึ่ง [8] ในอัลกุรอานหลายโองการ ผู้กดขี่ ถูกคุกคามด้วยไฟนรก จะเห็นได้ว่า การตีความถึงบุคคลเหล่านี้ถือเป็นชนกลุ่มน้อย [9] บาปใหญ่ คือ การฆาตกรรม[10] มีกล่าวไว้ในอัลกุรอานว่า การสังหารผู้หนึ่งผู้ใดเท่ากับเป็นการสังหารมนุษย์ทุกคน[11]

ประเภท

แบ่งออกเป็นใหญ่และเล็ก

ในหนังสือจริยธรรมและศีลธรรมบางเล่ม เขียนว่า บาป แบ่งออกเป็น บาปเล็กและบาปใหญ่ [12] รากเหง้าของการแบ่งนี้ มาจากอัลกุรอานและฮะดีษ [13] ตัวอย่างเช่น ในโองการที่ 31 ของซูเราะฮ์อันนิซา ระบุไว้ว่า: หากพวกเจ้าออกห่างจากบาปใหญ่ซึ่งพวกเจ้าถูกห้ามไว้ เราก็จะขจัดความชั่วร้ายออกไปจากพวกเจ้า [14] ตามคำกล่าวของซัยยิด ‎มุฮัมมัดฮุเซน ฏอบาฏอบาอี นักตัฟซีรอัลกุรอาน ระบุว่า ความหมายของความชั่วร้ายในโองการนี้ หมายถึงบาปเล็ก ‎เพราะว่ามันอยู่ตรงกันข้ามกับบาปใหญ่ โองการนี้ได้อธิบายว่า บาปถูกแบ่งออกเป็นสองประเภท บาปเล็กและบาปใหญ่[15]‎

ในหนังสืออุรวะตุลวุษกอ เขียนว่า บาปใหญ่ เป็นบาปที่ถูกระบุว่าเป็นบาปใหญ่ในอัลกุรอานหรือฮะดีษ หรือผู้กระทำความผิดได้รับพันธสัญญาว่า จะได้รับการลงโทษ หรือถือว่า มีความยิ่งใหญ่กว่าบาปประการหนึ่งในอัลกุรอานและฮะดีษ[16]‎

การฆ่าตัวตาย การล่วงประเวณี การใส่ร้ายหญิงบริสุทธิ์ การกินทรัพย์สินของเด็กกำพร้า การกินดอกเบี้ย การละทิ้งนมาซ การขโมย และความสิ้นหวังในความเมตตาของพระเจ้า ถือเป็นบาปใหญ่ที่กล่าวถึงในฮะดีษ[17] ‎ การแบ่งประเภทบาปตามผลของการกระทำ

ในบางริวายะฮ์ บาปจะถูกแบ่งตามผลลัพท์ที่ตามมา ตัวอย่างเช่น ในหนังสือมะอานีย์อัลอัคบาร ฮะดีษจากอิมามซัจญาด (อ.) กล่าวว่า บาปถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภท ซึ่งบางส่วน มีดังต่อไปนี้:‎

‎บาปที่ความโปรดปรานถูกนำออกไปจากมนุษย์ : ความกดขี่ข่มเหง การละทิ้งคำตักเตือนให้กระทำความดี การห้ามปรามในสิ่งชั่วร้าย และการปฏิเสธความโปรดปราน ‎บาปที่ทำให้เกิดความเสียใจ: การฆ่าตัวตาย การละทิ้งการเชื่อมความสัมพันธ์ทางเครือญาติ การละทิ้งนมาซ และการไม่จ่ายซะกาต ‎บาปที่ทำให้เกิดการลงโทษของพระเจ้า: การล้อเลียนผู้อื่น ‎บาปที่ทำลายชื่อเสียงของบุคคล เช่น การดื่มสุรา การพนัน การกระทำที่ไม่มีประโยชน์ การจับผิดผู้อื่น ‎บาปที่นำมาซึ่งความหายนะ: การไม่ช่วยเหลือผู้ถูกกดขี่ การละทิ้งคำตักเตือนให้กระทำความดี และห้ามปรามความชั่วร้าย ‎บาปที่เร่งสู่ความตาย: การตัดความสัมพันธ์กับญาติ การล่วงประเวณี และการสาบานเท็จ[18]‎

ผลของบาป

ตามฮะดีษของอิมามศอดิก (อ.) รายงานว่า เมื่อบุคคลหนึ่ง บุคคลใดกระทำบาป จะเกิดจุดดำในหัวใจของเขา ถ้าเขากลับใจ เขาจะได้รับการชำระให้สะอาด แต่ถ้าเขาเพิ่มบาปของเขา ความมืดดำก็จะถูกเพิ่มเข้าไปจนครอบคลุมทั้งหัวใจของเขา ในกรณีนี้ เขาจะไม่มีวันรอดเลย[19][หมายเหตุ 1]‎

ในฮะดีษหนึ่งจากอิมามอะลี (อ.) ด้วยการกล่าวถึงโองการอัลกุรอานนี้ที่ว่า "หากว่า ความโศกเศร้าเกิดขึ้นกับพวกท่าน นั่นเป็นเพราะสิ่งที่พวกท่านได้กระทำ [20] ถือว่า บาปนั้นเป็นสาเหตุของความหายนะทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับการใช้ชีวิตของมนุษย์ แม้กระทั่งการสั่นสะเทือนของพื้นดินและการล้มลงกองกับพื้นดินก็ตาม[21]‎

ปัจจัยที่ชำระล้างบาป

ขั้นตอนแรกในการชำระบาป คือ การกลับใจ พวกเขาถือว่า ความจริงของการกลับใจ คือ ความเสียใจและการสำนึกผิดต่อบาป ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการตัดสินใจที่จะละทิ้งมันในอนาคต [22] อีกปัจจัยหนึ่ง หลังจากการกลับใจคือ การให้อภัย ซึ่งถูกนำมาใช้ในอัลกุรอาน เพื่อเป็นข้อกำหนดสำหรับการให้อภัยจากพระผู้เป็นเจ้า [ 23] การให้อภัย คือ ‎การขอการอภัยและการอภัยโทษจากพระเจ้า และการกลับใจ หมายถึง ความเสียใจที่กระทำบาป ในอัลกุรอานหลายโองการมีการกล่าวถึงการกลับใจและการให้อภัยไว้ด้วยกัน [24] ปัจจัยอื่นๆ ที่ขจัดบาป ได้แก่ การกระทำความดี [25] ‎ความยำเกรง [26] ความศรัทธาและการประพฤติคุณงามความดี [27] และการบริจาคทาน[28]‎

ในหนังสือของมีซานุลฮิกมะฮ์ ในหัวข้อ มุกัฟฟิรอตอัซซุนูบ (สิ่งขจัดบาปต่างๆ) ปัจจัยบางประการในการลบล้างบาปต่างๆนั้นได้ระบุไว้ในริวายะฮ์ทั้งหลาย [29] ตามรายงานจากหนังสือเล่มนี้ ความยากจน ความเจ็บป่วย มารยาทดี การช่วยเหลือผู้ถูกกดขี่ การสุญูดอย่างมาก และการกล่าวคำศอละวาต เป็นปัจจัยเหล่านี้ [30]‎

การกลับใจจากบาป

ในแหล่งอ้างอิงของหลักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ ได้เน้นย้ำอยู่เสมอในความจำเป็นที่จะต้องกลับใจจากบาปต่างๆ และความจำเป็นนั้น ถือเป็นประเด็นเร่งด่วน มุฮัมมัดฮะซัน นะญะฟี นักนิติศาสตร์ผู้มีชื่อเสียง [31] ซัยยิดยัซดี ถือว่า ‎การกลับใจจากบาป ถือเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดและเป็นภาระภาคบังคับมากที่สุด[32] ตามโองการของอัลกุรอาน ‎รวมถึงโองการที่ 82 จากซูเราะฮ์ฏอฮา กล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงยอมรับการกลับใจของคนกระทำบาปและยกโทษบาปของเขา ไม่ว่ามันจะเป็นอะไรก็ตาม [33]‎

ความบริสุทธิ์ สภาวะของการออกห่างจากบาป

ในวัฒนธรรมทางศาสนา ความบริสุทธิ์ คือ สภาวะของบุคคลที่ไม่ได้กระทำบาป [34] บุคคลดังกล่าว เรียกว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ [35] ตามความเชื่อของชาวชีอะฮ์ ผู้บริสุทธิ์ เนื่องจากความเข้าใจอย่างสมบูรณ์และโดยตลอดจากความอัปลักษณ์ของบาปและเจตนารมณ์อันแรงกล้า [36] บรรดาชีอะฮ์อิมามี เชื่อว่า บรรดาศาสดา อิมามทั้ง 12 คน และท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) มีสถานะเป็นผู้บริสุทธิ์ [37]‎

สำหรับการอ่านเพิ่มเติม

กุนอฮ์ กะบีเราะฮ์ (บาปใหญ่) เขียนโดย ซัยยิด อับดุลฮุเซน ดัสต์ฆ็อยบ์ ‎ กุนอฮ์ ชินอซี (การรู้จักบาป) เขียนโดย มุฮ์ซิน กะรออะตี กัยฟะเรกุนอฮ์ (การลงโทษบาป) เขียนโดย ซัยยิดฮาชิม รอซูลี มะฮัลลาตี