นมาซญะมาอะฮ์

จาก wikishia

นมาซญะมาอะฮ์ (ภาษาอาหรับ: الصلاة الجماعة) หมายถึง การนมาซในรูปแบบหมู่คณะ นมาซญะมาอะฮ์ ถือเป็นการกระทำอิบาดะฮ์ที่ประเสริฐที่สุด ผู้ที่ยืนอยู่ข้างหน้าผู้อื่น เรียกว่า อิมามญะมาอะฮ์ และผู้ที่ปฏิบัติตามอิมาม เรียกว่า มะอ์มูม

ตามคำกล่าวของนักนิติศาสตร์บางคน ถือว่า เริ่มต้นของการเป็นวาญิบของนมาซ คือ การกระทำในรูปแบบญะมาอะฮ์ และนมาซญะมาอะฮ์ครั้งแรก หมายถึง การนมาซศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เป็นอิมามนำนมาซและอิมามอะลี (อ.) เป็นผู้ตาม ขณะที่ในริวายะฮ์ รายงานว่า การนมาซแบบญะมาอะฮ์ มีผลรางวัลเทียบเท่าการนมาซแบบฟุรอดา (คนเดียว) และมีคำสั่งให้นมาซแบบญะมาอะฮ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดมัสยิด

ในทัศนะของชีอะฮ์ ได้เน้นย้ำว่า การเข้าร่วมในนมาซญะมาอะฮ์ เป็นการกระทำที่เป็นมุสตะฮับและในนมาซที่เป็นวาญิบ เช่น นมาซประจำวัน นมาซอายาต นมาซวันอีดทั้งสอง นมาซมัยยิต และนมาซวันศุกร์ ซึ่งสามารถที่จะกระทำได้ในรูปแบบญะมาอะฮ์

ดังนั้นในทัศนะของบรรดานักนิติศาสตร์ที่เป็นที่รู้จักของชีอะฮ์ ให้ความคิดเห็นว่า การนมาซมุสตะฮับ สามารถที่จะกระทำได้ในรูปแบบญะมาอะฮ์ ยกเว้น นมาซการขอฝน ที่ไม่อนุญาตให้กระทำในรูปแบบญะมาอะฮ์ได้

ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ได้ทำนมาซตะรอเวียะห์ในรูปแบบญะมาอะฮ์ ขณะที่ชีอะฮ์ถือว่าการนมาซนี้เป็นบิดอะฮ์

ความหมาย

นมาซญะมาอะฮ์ หมายถึง การทำนมาซในรูปแบบหมู่คณะ ในนมาซนี้ อิมามญะมาอะฮ์ จะยืนอยู่ข้างหน้าสุด และมะอ์มูม จะปฏิบัติตามเขา การทำนมาซญะมาอะฮ์ จะประกอบด้วยอย่างน้อย สองคน ด้วยกัน คนหนึ่งเป็นอิมาม และอีกคนหนึ่งเป็นมะอ์มูม (1)

ความสำคัญ

นมาซญะมาอะฮ์ เป็นการกระทำที่เป็นมุสตะฮับที่ถูกเน้นย้ำในศาสนาอิสลาม (2) ในริวายะฮ์ รายงานว่า การละทิ้งมัน โดยที่ไม่มีอุปสรรคใด เป็นปัจจัยที่จะทำให้นมาซนั้นไม่ถูกตอบรับ และการไม่ให้ความใส่ใจต่อการนมาซญะมาอะฮ์ ถือเป็นการไม่ให้ความเคารพต่อพระผู้เป็นเจ้าอีกด้วย (3)

ในอัลกุรอาน ไม่ได้กล่าวโดยตรงเกี่ยวกับการนมาซญะมาอะฮ์ แต่บรรดานักนิติศาสตร์ ได้กล่าวถึงความประเสริฐของการทำนมาซญะมาอะฮ์ ด้วยโองการที่ว่า

«وَ أَقیمُوا الصَّلاةَ وَ آتُوا الزَّکاةَ وَ ارْکعُوا مَعَ الرَّاکعین»

พวกเจ้าจงดำรงการนมาซและการบริจาคทาน พร้อมทั้งจงโค้งร่วมอยู่กับบรรดาผู้โค้ง (4)(5)

นักตัฟซีรบางคน อธิบายว่า การรูกูอ์แบบหมู่ในโองการนี้ หมายถึง การนมาซญะมาอะฮ์ (6) นอกจากนี้ บางแหล่งข้อมูลทางฮะดีษ ได้กล่าวถึงบทหนึ่งที่เกี่ยวกับความประเสริฐของการนมาซแบบญะมาอะฮ์ และหลักการปฏิบัติ (7)

อยาตุลลอฮ์ บุรูญิรดี เชื่อว่า ด้วยการอ้างอิงจากบางริวายะฮ์ ที่กล่าว่า นมาซในศาสนาอิสลาม เริ่มต้นเป็นข้อบังคับในรูปแบบของญะมาอะฮ์ (8) ในช่วงเริ่มต้นของการเป็นศาสนทูตของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้กระทำนมาซในรูปแบบญะมาอะฮ์ โดยศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ เป็นผู้นำนมาซ และท่านอะลี เป็นมะอ์มูมที่เป็นผู้ชายเพียงคนเดียวและท่านหญิงคอดีญะฮ์ (9) เป็นมะอ์มูมที่เป็นผู้หญิง (10) หลังจากนั้น ท่านญะอ์ฟัร ฏ็อยยารได้เข้ามาร่วมในนมาซด้วยเช่นกัน (11)

วิทยปัญญาของการกำหนดเป็นศาสนบัญญัติ

บนพื้นฐานของริวายะฮ์ที่ได้รายงานจากอิมามริฎอ (อ.) กล่าวว่า เหตุผลของการกำหนดศาสนบัญญัติของนมาซญะมาอะฮ์ คือ การเปิดเผยศาสนาอิสลาม การนับถือพระเจ้าองค์เดียว (เตาฮีด) และความบริสุทธิ์ใจในหมู่ประชาชน ‎‎(12) ในหนังสืออิละลุชชะรออิอ์ รายงานอิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า อัลลอฮ์ทรงกำหนดนมาซญะมาอะฮ์ เพื่อที่จแยกแยะบรรดาผู้ที่นมาซออกจากผู้ที่ไม่นมาซ และเป็นที่รู้จักดีว่า ผู้ใดเป็นผู้ที่รักษาเวลาของนมาซ และผู้ใดเป็นผู้ที่ละเลยนมาซ นอกเหนือจากนี้ มีรายงานว่า หากไม่มีการนมาซญะมาอะฮ์ ก็ไม่มีผู้ใดสามารถเป็นพยานที่ดีให้กับอีกคน(13)‎

ความประเสริฐ

มีการกล่าวถึงผลรางวัลและความประเสริฐอย่างมากมายสำหรับการนมาซญะมาอะฮ์ รายงานจากศาสดามุฮัมมัด ‎‎(ศ็อลฯ) กล่าวว่า ยิ่งจำนวนผู้เข้าร่วมนมาซมากสักเท่าไร เขาก็จะเป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮ์มากขึ้นเท่านั้น (14) และผลรางวัลก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น หากมีมะอ์มูดเพียงคนเดียว ความประเสริฐของนมาซก็จะเป็น 150 เท่า และหากมีมะอ์มูมสองคน ก็จะเป็น 600 ครั้ง และถ้ามีมะอ์มูม 9 คน ความประเสริฐของนมาซก็จะเพิ่มขึ้นอีกเท่า ไม่มีผลรางวัลใด ‎นอกจากพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นที่ทรงทราบถึงผลบุญของนมาซนั้น

ยังมีริวายะฮ์ต่างๆ รายงานอีกว่า การนมาซญะมาอะฮ์หนึ่งครั้ง ประเสริฐกว่าการนมาซที่ไม่ใช่ญะมาอะฮ์ถึง 25 ครั้ง ‎‎(16) และผลรางวัลของการนมาซญะมาอะฮ์ครั้งเดียว ถือว่า มีความประเสริฐกว่าการนมาซฟุรอดา (ส่วนตัว) ที่บ้าน ‎เป็นเวลาถึงสี่สิบปี(17) และความประเสริฐของการนมาซญะมาอะฮ์โดยอิมามผู้ทรงความรู้นั้นมีความประเสริฐเท่ากับการนมาซโดยการเป็นอิมามของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) (18)‎

ประสิทธิผลต่างๆ

มีริวายะฮ์ต่างๆ รายงานว่า การนมาซญะมาอะฮ์ จะเป็นสาเหตุให้ออกจากการนิฟาก(การกลับกลอก) (19) การอภัยโทษบาปต่างๆ (20)การตอบรับดุอา (21) การทำให้ง่ายดายต่อการแบกรับความยากลำบากของวันแห่งการฟื้นคืนชีพในการเข้าสู่สวรรค์ (22) และได้รับความพึงพอพระทัยจากพระผู้เป็นเจ้าและเหล่าเทวทูต(23) นอกเหนือจากนี้ ‎บุคคลที่มีเข้าร่วมในการนมาซญะมาอะฮ์ สามารถให้ชะฟาอะฮ์(การอนุเคราะห์)กับผู้อื่นได้ (24)‎

มีรายงานจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า ทุกย่างก้าวของผู้นมาซที่มุ่งหน้าไปยังมัสยิด ความดีนับพันครั้งจะถูกบันทึกไว้ให้เขา เขาได้รับ 70,000 ฐานะ และหากเขาเสียชีวิต อัลลอฮ์ก็จะส่งมะลาอิกะฮ์ 70,000 องค์มาเยี่ยมเขาที่หลุมฝังศพของเขา ในความเดียวดายในหลุมศพของเขา พวกเขาจะอยู่ร่วมกับเขา จนกว่าเขาจะฟื้นคืนชีพจากหลุมฝังศพของเขา (25)‎

นอกเหนือจากนี้ การค้นหาอัตลักษณ์ของสังคมอิสลาม การตระหนักรู้ของผู้คนที่เกี่ยวข้องกันและกันอย่างมากขึ้น ‎ความร่วมมือและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การเพาะเมล็ดแห่งความรัก ความเสน่หา และการติดต่อสื่อสารระหว่างชาวมุสลิม ถือเป็นประโยชน์ของการนมาซญะมาอะฮ์ (26)‎

หลักปฏิบัติ

บรรดานักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ ถือว่า การมีเข้าร่วมในการนมาซญะมาอะฮ์ เป็นมุสตะฮับ มุอักกัด (27) การอ่านนมาซศุบฮ์ มัฆริบและอิชา แบบญะมาอะฮ์ ได้รับการเน้นย้ำอย่างมาก (28) นอกเหนือจากนี้ การเข้าร่วมนมาซญะมาอะฮ์สำหรับเพื่อนบ้านใกล้เคียงมัสยิด เป็นสิ่งที่ได้เน้นย้ำอย่างมาก (29) และเงื่อนไขความถูกต้องของการนมาซวันศุกร์ ก็คือ จะต้องมีการนมาซแบบญะมาอะฮ์ (30)‎

สำนักคิดฮัมบะลีและฮะนะฟีบางส่วนจากอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ถือว่า การนมาซญะมาอะฮ์ เป็นวาญิบอัยนีย์ (31) จากทัศนะของกลุ่มชาฟิอีย์ ถือว่า การนมาซญะมาอะฮ์สำหรับผู้ชาย เป็นวาญิบกิฟาอีย์ เว้นแต่พวกเขาจะเดินทาง (32)

การนมาซมุสตะฮับในรูปแบบญะมาอะฮ์

ตามทัศนะของบรรดานักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ ระบุว่า ไม่อนุญาตให้ทำนมาซมุสตะฮับในรูปแบบญะมาอะฮ์ ยกเว้นการนมาซขอฝน (33) อย่างไรก็ตาม ตามทัศนะของบรรดานักนิติศาสตร์ชีอะฮ์บางคน มีความคิดเห็นว่า การทำนมาซอีดทั้งสองในยุคของการเร้นกาย ถือเป็นมุสตะฮับ (34) ตามทัศนะที่เป็นที่รู้จักของบรรดานักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ การทำนมาซอีดทั้งสองไม่ว่าจะเป็นวาญิบหรือมุสตะฮับ จะต้องกระทำในรูปแบบญะมาอะฮ์ (35) ผู้เขียนหนังสือฮะดาอิก ถือว่า เป็นที่อนุญาตให้ทำนมาซอีดเฆาะดีร ในรูปแบบญะมาอะฮ์ได้ จากทัศนะของนักนิติศาสตร์บางคน เช่น ‎อะบูศอลาฮ์ ฮะละบีย์ และชะฮีดเอาวัล ขณะที่บะฮ์รอนี ถือว่า การทำนมาซนี้ในรูปแบบญะมาอะฮ์ เป็นสิ่งที่ฮะรอม ‎‎(36) ในทางกลับกัน ส่วนมากของนักนิติศาสตร์อะฮ์ลิซซุนนะฮ์ อนุญาตให้มีการทำนมาซมุสตะฮับเป็นญะมาอะฮ์ได้ เช่น การนมาซตะรอเวียะฮ์(37) ตามสำนักคิดมาลิกี และฮะนะฟีย์ ถือว่า การทำนมาซแบบญะมาอะฮ์บางนมาซที่เป็นมุสตะฮับ นอกเหนือจากนมาซมุสตะฮับในเดือนรอมฎอน และนมาซอายาต ถือเป็นมักรูฮ์ ด้วยเช่นกัน(38) ‎แต่ทัศนะของบรรดานักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ ถือว่า การทำนมาซตะรอเวียะฮ์แบบญะมาอะฮ์ เป็นบิดอะฮ์ (สิ่งที่อุตริขึ้นมาเอง)

(39)‎

เงื่อนไขของอิมามญะมาอะฮ์

ตามหลักนิติศาสตร์อิสลาม ระบุว่า อิมามญะมาอะฮ์ จะต้องเป็นคนมีสติปัญญา (40) เป็นคนบรรลุนิติภาวะ [41] เป็นผู้ศรัทธา‎[42] และมีความยุติธรรม[43] นอกเหนือจากนี้ อิมามญะมาอะฮ์ จะต้องถือกำเนิดโดยฮาลาล[44] และการอ่านนมาซของเขา ‎จะต้องถูกต้อง[45] หากมะอ์มูมทั้งหมดหรือบางส่วนของญะมาอะฮ์ เป็นผู้ชาย อิมามญะมาอะฮ์จะต้องเป็นผู้ชาย [46]‎

การปฏิบัติตามชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์

เงื่อนไขประการหนึ่งของอิมามญะมาอะฮ์ คือ จะต้องเป็นผู้ศรัทธา ซึ่ง หมายถึง มีความเชื่อในชีอะฮ์อิมามทั้งสิบสองคน [47] ‎ดังนั้น บรรดานักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ จึงไม่ได้ถือว่า การเป็นมะอ์มูมของชีอะฮ์ด้วยการเป็นอิมามญะมาอะฮ์ของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ‎โดยอาศัยการยืนยันจากริวายะฮ์ต่างๆ [48] มีความถูกต้อง (49) แต่ในกรณีการตามอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ในบางสถานการณ์ เช่น มีประเด็นการตะกียะฮ์ มีทัศนะที่แตกต่างกัน โดยอิมามโคมัยนีและบางคนอื่นๆ ถือว่า การตามอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ไม่ใช่ปัญหาแต่อย่างใด [50] และบางคนอื่นๆ ถือว่า การนมาซซ้ำ หรือไม่ตามและการอ่านซูเราะฮ์อัลฮัมด์ และซูเราะฮ์อื่นๆ เป็นเงื่อนไข [51] ‎ความแตกต่างนี้เกิดขึ้นจากความขัดแย้งของริวายะฮ์ในเงื่อนไขอันดับรอง [52]‎

การเข้าร่วมของผู้หญิงในนมาซญะมาอะฮ์

ตามฮะดีษบางบท เป็นการดีกว่าสำหรับผู้หญิงที่จะทำนมาซที่บ้านดีกว่าการนมาซในมัสยิดและในแบบญะมาอะฮ์ ในริวายะฮ์เหล่านี้ รายงานว่า มัสยิดที่ดีที่สุดสำหรับผู้หญิง คือบ้านของพวกนาง [53] และผลรางวัลของการนมาซฟุรอดาของผู้หญิงที่บ้านก็ถือว่าเท่ากับการนมาซในแบบญะมาอะฮ์ [55] นักนิติศาสตร์บางคน ถือว่า ริวายะฮ์เหล่านี้เกี่ยวข้องกับสถานการณ์พิเศษและเชื่อว่า เป็นการดีกว่าสำหรับผู้หญิงที่จะนมาซในมัสยิดด้วยการสวมฮิญาบ [56] กลุ่มนี้ได้อ้างถึงริวายะฮ์ต่างๆที่บ่งบอกถึงการเข้าร่วมของผู้หญิงในการนมาซญะมาอะฮ์ของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) (57)‎

หลักการอื่นๆ

มะอ์มูม นอกเหนือจากการอ่านซูเราะฮ์ฮัมด์ และซูเราะฮ์อื่นๆในรอกะอะฮ์ที่หนึ่งและที่สอง เขาจะต้องอ่านซิกร์อื่นๆในนมาซด้วยตัวของเขาเอง [58]‎

มะอ์มูม จะต้องปฏิบัติตามอิมามญะมาอะฮ์ในการกระทำนมาซ และไม่ปฏิบัติรุกน์ใดก็ตามก่อนหน้าอิมามญะมาอะฮ์ (59)‎

ตำแหน่งของอิมามญะมาอะฮ์ ไม่ควรสูงกว่าตำแหน่งของผู้นมาซ [60] ดังนั้น พื้นผิวของมิฮ์รอบจึงมักจะทำให้ลึกลงไปในมัสยิด[61]‎

ระหว่างอิมามและแถวของมะอ์มูม ไม่ควรมีสิ่งใดปิดกั้นหรือกำแพงขวางกั้น เช่น ผ้าม่าน เป็นต้น ในขณะเดียวกัน การติดตั้งม่านกั้นระหว่างแถวชายและผู้หญิง จึงถือเป็นข้อยกเว้น (62)‎

อิมามรอติบ มีความสำคัญเหนือกว่าผู้อื่นใดในการเป็นอิมามญะมาอะฮ์ [63]‎

ผู้หญิง สามารถเป็นอิมามญะมาอะฮ์ได้ หากมะอ์มูมเป็นผู้หญิงเท่านั้น [64] ตามคำกล่าวที่ได้รับความนิยม การเป็นอิมามของผู้หญิงจะได้รับอนุญาตสำหรับผู้หญิง หากพวกนางมีเงื่อนไขอื่นๆของอิมามญะมาอะฮ์ [65] ‎

มารยาทในการนมาซญะมาอะฮ์

การนมาซในญะมาอะฮ์ มีมารยาท สิ่งที่เป็นมุสตะฮับ และสิ่งที่เป็นมักรูฮ์ ซึ่งบางส่วนของสิ่งที่เป็นมุสตะฮับ มีดังนี้ :‎

การเข้าร่วมของผู้ที่มีตักวา และผู้รู้ในแถวแรก[66]‎

การยืนของมะอ์มูม อยู่ทางด้านขวาของอิมามญะมาอะฮ์ [67]‎

โดยคำนึงถึงสภาพของมะอ์มูมที่อ่อนแอที่สุดและไม่ยืดเวลาการนมาซของอิมามญะมาอะฮ์ เว้นแต่ เขาจะรู้ว่ามะอ์มูมทุกคนชอบในการยืดเวลานมาซ (68)‎

การลุกขึ้นยืนของมะอ์มูม เมื่อได้ยินการกล่าวคำว่า ก็อด กอมะติศศอลาฮ์ [69]‎

การกล่าว อัลฮัมดุลิลลาฮิ ร็อบบิลอาละมีน ของมะอ์มูม หลังจากที่อิมามอ่านซูเราะฮ์อัลฮัมด์เสร็จ [70]‎

นอกเหนือจากนี้ สิ่งที่เป็นมักรูฮ์บางประการของการนมาซญะมาอะฮ์ คือ: การยืนของมะอ์มูมคนเดียวในแถวแรกโดยเป็นไปได้ว่า เขาสามารถยืนในแถวอื่นได้ การทำนมาซนาฟิละฮ์ หลังจากการอ่าน ก็อดกอมะติศศอลาฮ์ และปฏิบัติตามของผู้ที่ไม่เดินทางโดยผู้เดินทางและในทางตรงกันข้าม ในการนมาซที่มีสี่รอกะอะฮ์ (71) และการกล่าวซิกร์ของนมาซ โดยมะอ์มูมด้วยเสียงดังที่จะให้อิมามญะมาอะฮ์ได้ยิน [72] การพูดจาของมุอัซซิน หลังจากได้ยินคำว่า ก็อดกอมะติศศอลาฮ์[73]‎

ผลงานประพันธ์

บรรดานักนิติศาสตร์ประพันธ์ผลงานทางด้านนิติศาสตร์ของพวกเขาที่เกี่ยวกับการทำนมาซญะมาอะฮ์ ในหนังสืออัศศอลาฮ์ และหลักปฏิบัติของมันด้วยเช่นกัน (74) นอกจากนี้ หนังสือต่างๆ ยังถูกประพันธ์โดยอิสระเกี่ยวกับการนมาซญะมาอะฮ์ บางส่วนของมัน มีดังนี้ :‎

  • ริซาละฮ์ ศอลาตุลญะมาอะฮ์ เป็นภาษาอาหรับ ผลงานประพันธ์ของมุฮัมมัดฮุเซน คุมพอนี (1296-1361 ฮ.ศ.) นักนิติศาสตร์ของชีอะฮ์ ในศตวรรษที่ 14 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช

ในริซาละฮ์นี้ ได้มีการตรวจสอบหลักปฏิบัติของนมาซญะมาอะฮ์ กรณีที่เป็นวาญิบ มุสตะฮับ และฮะรอม

  • มุอัซซะซะฮ์ นัชเรอิสลาม เมืองกุม ได้ดำเนินการจัดพิมพ์ในปี 1409 ฮ.ศ.โดยใช้ชื่อว่า บุฮุษ ฟิลฟิกฮ์ วะ ฮิยะ บุฮุษ ฟีย์ ศอลาติลญะมาอะฮ์ วัลมุซาฟิร วัลอิญาเราะฮ์ (75)
  • หนังสือ นุบซะฮ์ เฮา ศอลาติลญะมาอะฮ์ รวบรวมจากบทเรียนชั้นสูงของอายะตุลลอฮ์ บุรูญิรดี โดย ซัยยิดมุฮัมมัดตะกี ชาห์รุคีย์ โครร้มออบอดี สำนักพิมพ์ นะศออิฮ์ ได้ดำเนินการจัดพิมพ์
  • หนังสือเล่มนี้ ได้กล่าวถึงเงื่อนไขที่ถูกต้องของนมาซญะมาอะฮ์ ความสำคัญของนมาซญะมาอะฮ์ หลักปฏิบัติของญะมาอะฮ์ เงื่อนไขของอิมามญะมาอะฮ์ การปฏิบัติตามอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ในญะมาอะฮ์(76)
  • นมาซญะมาอะฮ์และบะรอกะฮ์ต่างๆของมัน เขียนโดย มุฮัมมัด อิสมาอีล นูรี เป็นภาษาฟาร์ซีย์ ซึ่งหนังสือนี้ มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับนมาซญะมาอะฮ์ในอัลกุรอาน ผลและบะรอกะฮ์ต่างๆของนมาซญะมาอะฮ์ กระทำที่ไม่ดีในการละทิ้งนมาซญะมาอะฮ์ เงื่อนไขของนมาซญะมาอะฮ์ และหลักปฏิบัติของนมาซญะมาอะฮ์ สำนักพิมพ์บูสทอนกิทอบ ได้ดำเนินการจัดพิมพ์ (77)