เหตุการณ์กัรบะลา

จาก wikishia
ภาพวาดเก่าของเหตุการณ์กัรบาลา

เหตุการณ์กัรบะลา หรือ เหตุการณ์อาชูรอ (ภาษาอาหรับ:واقعة كربلاء) หมายถึง การต่อสู้ของ อิมามฮุเซน (อ.) และเหล่าสาวกของเขากับ กองทัพของกูฟะฮ์ ในแผ่นดิน กัรบะลา เหตุการณ์กัรบะลา เกิดขึ้นในวันที่ 10 ปี ฮ.ศ. 61 เนื่องจากการไม่ให้ [สัตยาบัน]] ของอิมามฮุเซน (อ.) กับ ยะซีด บิน มุอาวียะฮ์ จนเป็นเหตุให้เขาและเหล่าสาวกต้องถูกทำ ชะฮาดัต และครอบครัวของเขาถูกจับเป็นเชลยศึก

เหตุการณ์กัรบะลา ถือเป็นเหตุการณ์ที่สะเทือนใจอย่างมากที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์ของอิสลาม ด้วยเหตุนี้เอง ชาว ชีอะฮ์ จึงได้จัดพิธีไว้อาลัยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบปี และได้ไว้อาลัยให้กับอิมามฮุเซนพร้อมเหล่าสาวกของเขา

เหตุการณ์กัรบะลา ได้เริ่มต้นด้วยการเสียชีวิตของ มุอาวียะฮ์ บิน อะบูซุฟยาน เมื่อวันที่ 15 เดือนรอญับ ปี 60 ฮ.ศ. และตรงกับการเริ่มต้นของการปกครองของยะซีด บุตรชายของเขา และสิ้นสุดลงด้วยการส่ง บรรดาเชลยศึกแห่งกัรบะลา กลับไปยังเมือง มะดีนะฮ์

ผู้ปกครองเมืองมะดีนะฮ์ ต่างพยายามที่จะทำให้อิมามฮุเซน (อ.) ยอมรับคำสัตยาบันกับยะซีด ดังนั้น ฮุเซน บิน อะลีจึงเดินทางออกจากเมืองมะดีนะฮ์ในตอนกลางคืน เพื่อไม่ต้องการที่จะให้คำสัตยาบันและมุ่งหน้าสู่เมือง มักกะฮ์ ในการเดินทางครั้งนี้ ครอบครัวของอิมามฮุเซน (อ.) บะนีฮาชิม จำนวนหนึ่ง และชาวชีอะฮ์บางส่วนก็ได้ร่วมเดินทางไปกับเขาด้วย

อิมามฮุเซน (อ.) พำนักอยู่ในมักกะฮ์ ประมาณสี่เดือน ในช่วงเวลานี้ เขาได้รับจดหมายเชิญชวนจากชาวเมืองกูฟะฮ์ อิมามจึงส่ง มุสลิม บิน อะกีล ไปยังเมืองกูฟะฮ์ และ สุลัยมาน บิน ซัรรีน ไปยังเมือง บัศเราะฮ์ เพื่อเป็นเน้นย้ำในเนื้อหาของจดหมายต่างๆ แม้ว่าจะมีความเป็นไปได้ว่า มีการลอบสังหารอิมามฮุเซน (อ.) ในเมืองมักกะฮ์โดยสายลับของยะซีด เช่นเดียวกับคำเชิญชวนของชาวกูฟะฮ์และการยืนยันของผู้ส่งสารของอิมามว่า คำเชิญชวนของชาวกูฟะฮ์นั้นถูกต้อง อิมามจึงออกเดินทางไปยังเมืองกูฟะฮ์ในวันที่ 8 ของเดือนซุลฮิจญะฮ์

ก่อนที่อิมามฮุเซน (อ.) จะเดินทางถึงเมืองกูฟะฮ์ เขาได้รับข่าวเกี่ยวกับการไม่รักษาคำมั่นสัญญาของชาวกูฟะฮ์และหลังจากการพบปะกับกองทัพของ ฮุร บิน ยะซีด รียาฮีย์ อิมามก็มุ่งหน้าไปยัง กัรบะลา ซึ่งเขาได้เผชิญหน้ากับกองทัพของ อุมัร บิน ซาอัด ซึ่ง อุบัยดิลลาฮ์ บิน ซิยาด ได้ส่งมา กองทัพทั้งสองได้ทำการต่อสู้กันในวันที่ 10 เดือนมุฮัรรอม หรือที่เรียกว่า วันอาชูรอ หลังจากที่อิมามฮุเซน (อ.)และเหล่าสาวกของเขาถูกทำชะฮาดัต กองทัพของอุมัร บิน ซาอัด ก็ใช้ขี่ม้ามาทับร่างของพวกเขา นอกจากนี้ ในตอนเย็นของวันอาชูรอ กองทัพของยะซีดยังได้โจมตีกระโจมของอิมามฮุเซน (อ.)และจุดไฟเผา หลังจากนั้น พวกทหารได้จับมือผู้รอดชีวิตมาเป็นเชลย อิมามซัจญาด (อ.) เนื่องจากเขาไม่สบายจึงไม่ได้เข้าร่วมในการต่อสู้ และ ท่านหญิงซัยนับ (ซ.) (อ.) เป็นหนึ่งใน บรรดาเชลยศึกจากเหตุการณ์กัรบะลา และกองทัพของอุมัร บิน ซาอัด ได้เอาศีรษะของบรรดาชะฮีด ชูด้วยหอกและนำเหล่าเชลยศึกไปยังเมืองกูฟะฮ์ เพื่อไปให้กับอุบัยดิลลาฮ์ บิน ซิยาด และส่งต่อไปยัง เมืองชาม เพื่อพบกับยะซีด

เรือนร่างของ บรรดาชะฮีดแห่งกัรบะลา หลังจากที่กองทัพอุมัร ได้เคลื่อนออกไปจากกัรบะลา ได้ถูกนำมาฝังโดยกลุ่มชนเผ่าพันธ์บะนีอะซีดในช่วงกลางคืน

สถานภาพและความสำคัญ

เหตุการณ์กัรบะลา เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในศตวรรษแรกของฮิจเราะฮ์ศักราช ซึ่งในเหตุการณ์นั้น ฮุเซน ‎บิน อะลี หลานชายของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และอิมามคนที่สามของชาวชีอะฮ์ พร้อมด้วยเหล่ามิตรสหายของเขาอีกจำนวนหนึ่ง ได้ถูกสังหารในกัรบะลา ด้วยคำสั่งของยะซีด บิน มุอาวียะฮ์ และบรรดาผู้หญิงและเด็กๆ ของพวกเขา ถูกจับตัวไปเป็นเชลยศึก [1] เหตุการณ์นี้ ถือเป็นเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจที่สุดในประวัติศาสตร์อิสลาม ‎‎[ต้องการแหล่งอ้างอิง] และเป็นรากฐานของการลุกขึ้นต่อต้านราชวงศ์อุมัยยะฮ์ [2] ตามที่นักวิเคราะห์บางคนกล่าวไว้ เหตุการณ์นี้ เป็นการป้องกันไม่ให้พวกอุมัยยะฮ์บิดเบือนศาสนาอิสลามและซุนนะฮ์ของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ‎‎[3] มุรตะฎอ มุเฏาะฮะรี เชื่อว่า ในบรรดาเหตุการณ์ต่างๆทางประวัติศาสตร์ มีเหตุการณ์ไม่กี่เหตุการณ์ที่มีการรายงานที่เชื่อถือได้ไปกว่าเหตุการณ์กัรบาลา ตามความเชื่อของเขา ระบุว่า ไม่มีกรณีใดในประวัติศาสตร์ (ใน‎ประวัติศาสตร์ในยุคที่ห่างไกล เช่น ศตวรรษที่สิบสามหรือสิบสี่ )มีความถูกต้อง เหมือนกับเหตุการณ์กัรบะลา และแม้แต่นักประวัติศาสตร์อิสลามที่น่าเชื่อถือที่สุดจากศตวรรษที่หนึ่งและที่สองก็ยังรายงานด้วยหลักฐานที่เชื่อถือได้ ‎และรายงานเหล่านี้สามารถเข้ากันได้และมีความใกล้เคียงกัน [4] ชาวชีอะฮ์จัดงานไว้อาลัยในทุกปี ช่วงครบรอบของเหตุการณ์นี้ นอกจากนี้ ยังมีการผลิตงานด้ายศิลปะและงานประพันธ์อย่างมากมายเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้อีกด้วย

อิมามฮุเซนปฏิเสธการให้สัตยาบันกับยะซีด

หลังจากมุอาวียะฮ์เสียชีวิต (15 รอญับ 60 ฮ.ศ.) ด้วยความพยายามต่างๆที่เขากระทำก่อนเสียชีวิต[5] สำหรับยะซีด ‎ลูกชายของเขา คือ การได้รับสัตยาบัน(บัยอะฮ์)จากประชาชน [6] แน่นอนว่า ด้วยสนธิสัญญาสงบศึกของอิมามฮะซัน (อ.) กับมุอาวียะฮ์ เขาไม่มีสิทธิ์ที่จะกำหนดตัวแทนของตนเอง (7) ยะซีดจึงตัดสินใจที่จะรับสัตยาบันกับบุคคล ผู้อาวุโสชาวมุสลิม ที่ไม่ตอบรับคำเชิญของมุอาวียะฮ์สำหรับการให้สัตยาบันกับยะซีด (8)ด้วยสาเหตุนี้ เขาได้เขียนจดหมายถึง วะลีด บินอุตบะฮ์ ผู้ปกครองเมืองมะดีนะฮ์ในเวลานั้น โดยเรียกร้องให้เขาเอาคำสัตยาบันจากฮุเซน บินอะลี อับดุลลอฮ์ บินอุมัร อับดุรเราะฮ์มาน บินอะบูบักร์ และอับดุลลอฮ์ บินซุบัยร์ และไม่ว่าคนใดก็ตามที่ปฏิเสธ ก็ให้เชือดคอเขาได้เลย (9) จากนั้น วะลิดได้รับจดหมายอีกฉบับจากยาซีด ซึ่งเขาเน้นย้ำว่า: ให้เจ้าเขียนรายชื่อของผู้ที่ยอมรับและผู้ที่ไม่ยอมรับมาให้ฉันและให้เจ้าส่งศีรษะของฮุเซน บินอะลี มาพร้อมกับคำตอบของจดหมายมายังฉันด้วย (10)วะลีด บินมัรวาน บินฮะกัม ได้ให้คำปรึกษากับเขา (11) และหลังจากนั้น ได้ส่งอับดุลลอฮ์ ‎บินอัมร์ ติดตามตัวอิมามฮุเซน อิบนุซุบัยร์ อับดุลลอฮ์ บินอุมัร และอับดุรเราะฮ์มาน บินอะบูบักร์ [12]‎ อิมามฮุเซน (อ.) ไปยังดารุลอิมาเราะฮ์ ในเมืองมะดีนะฮ์ พร้อมกับญาติของเขาจำนวน 30 คน[13] วะลิดได้แจ้งเขาเกี่ยวกับการเสียชีวิตของมุอาวียะฮ์ จากนั้น จึงอ่านจดหมายของยะซีดที่ส่งถึงเขา อิมามฮุเซน (อ.) กล่าวกับวะลิดว่า ‎ฉันคิดว่าเป้าหมายของเจ้า คือการให้สัตยาบันของฉันท่ามกลางประชาชน วะลีดตอบว่า ความคิดเห็นของฉันก็เหมือนกัน (15) อิมามฮุเซน (อ.) กล่าวว่า “ดังนั้น ให้โอกาสกับฉัน จนถึงวันพรุ่งนี้ เพื่อประกาศทัศนะของตน ‎ผู้ปกครองเมืองมะดีนะฮ์ ได้เจ้าหน้าที่ส่งไปยังบ้านของอิมามฮุเซน (อ.) ในช่วงบ่ายของวันต่อมา เพื่อรับคำตอบของเขา (17) ฮุเซน (อ.) ได้ขอโอกาสในคืนนั้น พร้อมด้วยการตกลงของวะลีด [18] หลังจากโอกาสนั้นอิมามฮุเซน (อ.)ก็ตัดสินใจเดินทางออกจากเมืองมะดีนะฮ์ (19)‎

อิมามฮุเซนเดินทางออกจากเมืองมะดีนะฮ์

อิมามฮุเซน (อ.) สองคืนที่เหลือของเดือนเราะญับ และตามรายงานอีกฉบับหนึ่ง ในวันที่ 3 ชะอ์บาน ฮ.ศ. 60 [20] ‎พร้อมด้วยสมาชิกอะฮ์ลุลบัยต์พร้อมมิตรสหายของเขา 84 คน ได้เดินทางออกจากเมืองมะดีนะฮ์ ไปยังเมืองมักกะฮ์ ‎‎[21] ตามรายงานของอิบนุ อะอ์ษัม ระบุว่า ในเวลาพลบค่ำ อิมามฮุเซน (อ.) ได้ไปที่หลุมฝังศพของศาสดามุฮัมมัด ‎‎(ศ็อลฯ) ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) และอิมามฮะซัน (อ.) และกล่าวคำอำลาพวกเขา [22] ในการเดินทางครั้งนี้ ยกเว้น ‎มุฮัมมัด บิน ฮะนะฟียะฮ์[23] บรรดาญาติส่วนมากของอิมามฮุเซน (อ.) จากครอบครัวของเขา รวมทั้งลูกๆ พี่ชาย ‎น้องสาว และหลานชายของเขา ก็ร่วมเดินทางมาด้วย (24) นอกจากบะนี ฮาชิมแล้ว ยังมีมิตรสหายของอิมามฮุเซนอีก 21 คน ก็ร่วมเดินทางไปกับเขาด้วย[25] ‎ หลังจากทราบการเดินทางของอิมามฮุเซน (อ.)แล้ว มุฮัมมัด บิน ฮะนะฟียะฮ์ น้องชายของอิมามฮุเซน (อ.) ได้ไปพบเขา เพื่อกล่าวอำลา อิมามฮุเซน (อ.) ได้เขียนพินัยกรรมให้เขา โดยระบุว่า :‎

แท้จริง ฉันไม่ได้ลุกขึ้นต่อสู้อย่างผู้ละเมิด ผู้ทรนง ผู้สร้างความเสียหายและผู้อธรรม และอันที่จริง ฉันลุกขึ้นต่อสู้ ‎เพื่อต้องการปฏิรูปประชาชาติของตาของฉัน ฉันต้องการกำชับในความดีและห้ามปรามในความชั่วร้าย และดำเนินตามวิถีของตาของฉันและวิถีของบิดาของฉัน อะลีอ บินอะบีฏอลิบ (26) ‎

อิมามฮุเซน (อ.) เดินทางออกจากเมืองมะดีนะฮ์ พร้อมกับบรรดาผู้ร่วมทางของเขา และเขาใช้เส้นทางหลักในการเดินทางไปยังเมืองมักกะฮ์ โดยขัดแย้งต่อความต้องการของญาติๆ ของเขา [27] ระหว่างทางไปเมืองมักกะฮ์ อิมามฮุเซน (อ.) ได้พบกับอับดุลลอฮ์ บิน มุฏีอ์ เขาถามถึงจุดหมายปลายทางของอิมาม อิมามฮุเซน (อ.) กล่าวว่า: ขณะนี้ ฉันกำลังจะเดินทางไปยังเมืองมักกะฮ์ เมื่อฉันไปถึงยังที่นั่น ฉันจะขอคำแนะจากพระผู้เป็นเจ้า หลังจากนั้น อับดุลลอฮ์ ‎ยังเตือนอิมามว่า ให้ระวังชาวเมืองกูฟะฮ์และขอร้องให้เขาอาศัยอยู่ในเมืองมักกะฮ์ (28)‎

อิมามฮุเซน (อ.) เดินทางมาถึงเมืองมักกะฮ์ในวันที่ 3 ชะอ์บาน ฮ.ศ. 60 [29] และได้รับการต้อนรับจากประชาชนชาวมักกะฮ์และบรรดาผู้แสวงบุญฮัจญ์ [30] เส้นทางการเดินทางของอิมามฮุเซน (อ.) จากเมืองมะดีนะห์ไปยังเมืองมักกะฮ์ ประกอบด้วยบ้านเหล่านี้: ซุล-ฮะลีฟะฮ์, มิลัล, ซัยยาละฮ์ , อิรกุ ซ็อบียะฮ์, ซูฮาอ์, อะนายะฮ์, อุรอจญ์, ละฮ์รุ ญะมัล, ซุกยา, อับวา, ฮัรชา, รอบิฆ, ญุฮ์ฟะฮ์, กอดีด, คอลิศ, อัสฟาน และมัร อัซเซาะรอน (31)‎

อิมามฮุเซนเดินทางมาถึงยังเมืองมักกะฮ์

อิมามฮุเซน (อ.) ได้พำนักอยู่ในเมืองมักกะห์ เป็นเวลานานกว่าสี่เดือน นับตั้งแต่ (วันที่ 3 ชะอ์บาน จนถึง วันที่ 8 ซุลฮิจญะฮ์) ประชาชนชาวมักกะฮ์ก็เข้าไปพบปะเขา มีการกล่าวกันว่า ปัญหานี้ มีราคาแพงอย่างมากสำหรับอับดุลลอฮ์ บินซุบัยร์ ‎เพราะเขาหวังว่า ชาวมักกะห์จะให้สัตยาบันกับเขา และเขานั้นก็ทราบดี จนกระทั่ง อิมามฮุเซน (อ) เข้ามาอยู่ในมักกะฮ์ และก็ไม่มีใครที่จะให้สัตยาบันกับอับดุลลอฮ์ บินซุบัยร์[32]‎

จดหมายเชิญชวนของชาวเมืองกูฟะฮ์ถึงอิมามฮุเซน

เมื่ออิมามฮุเซนเข้ามาอยู่ในเมืองมักกะฮ์ ชาวชีอะฮ์ในอิรักได้รับทราบถึงการไม่ให้สัตยาบันของอิมามฮุเซนกับยะซีด บินมุอาวียะฮ์ ดังนั้น พวกเขาจึงได้รวมตัวกันที่บ้านของสุไลมาน บินศุร็อด คุซาอีย์ และเขียนจดหมายถึงอิมามฮุเซนและเชิญชวนให้เขาเดินทางมายังเมืองกูฟะฮ์ (33) สองวัน หลังจากที่มีการส่งจดหมายนี้ ชาวเมืองกูฟะฮ์ได้ส่งจดหมายอีก 150 ‎ฉบับ (จดหมายแต่ละฉบับ มีการลงนามโดยหนึ่งคนถึงสี่คนจากผู้อาวุโส) ถึงอิมามฮุเซน (อ.)(34)‎

อิมามฮุเซน (อ.) ปฏิเสธที่จะตอบจดหมายเหล่านั้น จนกระทั่ง จำนวนของจดหมายมีจำนวนมาก ดังนั้น เขาจึงเขียนจดหมายถึงชาวเมืองกูฟะฮ์ :‎

ฉันกำลังจะส่งพี่ชาย ลูกพี่ลูกน้อง และบุคคลที่ไว้ใจได้จากครอบครัวของฉัน ฉันได้บอกให้เขา บอกฉันเกี่ยวกับ สถานการณ์ การทำงานและความศรัทธาของพวกท่าน ถ้าหากเขาเขียนถึงฉันว่า ความคิดเห็นของพวกท่าน เหมือนกับที่ระบุไว้ในจดหมายของพวกท่าน ฉันจะไปหาพวกท่าน... อิมามเป็นเพียงบุคคลที่ปฏิบัติตามคัมภีร์ของพระเจ้า มีการ‎ดำเนินการอย่างยุติธรรม มีความเชื่อในศาสนาที่เป็นสัจธรรม และเขามอบหมายตัวเองต่อพระองค์ [35]

มุสลิม บินอะกีล ถูกส่งไปยังเมืองกูฟะฮ์

อิมามฮุเซน (อ.) ได้ส่งจดหมายถึงมุสลิม บินอะกีล ลูกพี่ลูกน้องของเขา เพื่อให้เดินทางไปยังอิรัก เพื่อตรวจสอบสถานการณ์ที่นั่นและรายงานให้เขาทราบ[36] หลังจากมุสลิมเดินทางถึงเมืองกูฟะฮ์แล้ว เขาก็เข้าพักอาศัยอยู่ในบ้านของมุคตาร บินอะบีอุบัยด์ ษะกอฟีย์ [ 37] หรือบ้านของมุสลิม บินเอาซะญะฮ์ ตั้งรกรากอยู่ที่นั่น [38] ชาวชีอะฮ์ได้ไปมาหาสู่ที่บ้านพักของมุสลิมและเขาได้อ่านจดหมายของอิมามฮุเซนให้พวกเขาฟัง [39] มุสลิมได้รับคำสัตยาบันที่มีต่ออิมามฮุเซน (อ.) [ 40] ในเมืองกูฟะฮ์ 12,000 คน [41] หรือ 18,000 คน [ 42] และบางรายงาน ระบุว่า มีผู้คนมากกว่า 30,000 คน [43] ได้ให้สัตยาบันกับอิมามฮุเซน (อ.) และประกาศความพร้อมในการร่วมอุดมการณ์กับอิมาม มุสลิมจึงได้เขียนจดหมายถึงอิมามและยืนยันว่า ผู้ให้คำสัตยาบันเป็นจำนวนมากและเชิญชวนอิมามให้เดินทางมายังเมืองกูฟะฮ์ (44)‎

เมื่อยะซีดได้ยินข่าว การที่ประชาชนให้คำสัตยาบันกับมุสลิม และการมีปฏิสัมพันธ์ของนุอ์มาน บินบะชีร ผู้ปกครองเมืองกูฟะฮ์ในขณะนั้น เขาจึงได้แต่งตั้งอุบัยดิลลาฮ์ บินซิยาด ซึ่งเป็นผู้ปกครองเมืองบัศเราะฮ์อยู่ในขณะนั้น ได้แต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองเมืองกูฟะฮ์[45] หลังจากเขาเข้ามายังเมืองกูฟะฮ์ อิบนุซิยาดก็ค้นหาบรรดาผู้คนที่ให้คำสัตยาบันและข่มขู่หัวหน้าชนเผ่าต่างๆ [46] รายงานทางประวัติศาสตร์ เล่าถึงความกลัวของผู้คนเนื่องจากการโฆษณาชวนเชื่อของอุบัยดิลลาฮ์ และการกระจัดกระจายอย่างรวดเร็วของพวกเขาออกจากมุสลิม จุดที่มุสลิมถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพังในเวลากลางคืนและไม่มีที่อยู่อาศัย [47] และในที่สุด หลังจากการปะทะกัน เขาก็ยอมจำนน ‎ด้วยจดหมายคุ้มครองความปลอดภัยของมุฮัมมัด บินอัชอัษ [48] และถูกนำตัวไปที่วัง แต่อิบนุ ซิยาด ถือว่า จดหมายคุ้มครองของบินอัชอัษไม่มีประโยชน์อันใด และเขาจึงให้ตัดศีรษะของมุสลิมออกจากร่างของเขา(49)‎ ตามรายงานทางประวัติศาสตร์บางฉบับ ระบุว่า มุสลิม ซึ่งเป็นมีความกังวลเกี่ยวกับอิมามฮุเซน (อ.) ได้สั่งเสียให้กับอุมัร บินซะอัด ซึ่งมาจากชนเผ่ากุเรช เพื่อส่งผู้ใดก็ตามสักคนไปยังอิมามฮุเซนและห้ามไม่ให้เขาเดินทางมายังเมืองกูฟะฮ์ (50) อุมัร บินซะอัด ได้ส่งผู้สื่อสารและสารของมุสลิมไปถึงอิมามฮุเซน (อ.)ที่มันซิล ซุบาละฮ์ (51)‎ ‎

อิมามฮุเซนเดินทางไปยังเมืองกูฟะฮ์

อิมามฮุเซน (อ.) เดินทางออกจากเมืองมักกะฮ์ไปยังกูฟะฮ์ในวันที่แปด เดือนซุลฮิจยะฮ์ [52] (วันที่มุสลิมลุกขึ้นต่อสู้ในกูฟะฮ์) พร้อมด้วยผู้คน 82 คน[53] (ซึ่ง 60 คนเป็นชาวชีอะฮ์เมืองกูฟะฮ์)[54]‎

เชคมุฟีด รายงานว่า อิมามฮุเซน (อ.) ละทิ้งพิธีฮัจญ์ของเขา โดยยังไม่เสร็จ เพื่อเดินทางออกจากมักกะฮ์และเปลี่ยนความตั้งใจของเขาจากฮัจญ์ เป็นอุมเราะฮ์ และออกจากการครองอิฮ์รอม [55] แต่บางคนอาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์และการรายงาน กล่าวกันว่า อิมามฮุเซนได้ตั้งใจที่จะปฏิบัติอุมเราะฮ์มาตั้งแต่แรกเริ่ม และหลังจากการปฏิบัติอะมั้ลแล้ว เขาก็เดินทางออกจากมักกะฮ์ (56)‎

ในช่วงเดือนสุดท้ายของอิมามฮุเซน (อ.) ที่อาศัยอยู่ในเมืองมักกะฮ์ ซึ่งเขามีแนวโน้มที่จะเดินทางไปยังเมืองกูฟะฮ์ ‎มีผู้คนบางคน รวมทั้งอับดุลลอฮ์ บินอับบาส ได้มาหาเขา เพื่อห้ามไม่ให้เขาเดินทางไปยังกูฟะฮ์ แต่เขาก็ไม่ประสบผลสำเร็จ (57)‎

หลังจากที่อิมามฮุเซน (อ.) และบรรดามิตรสหายของเขา ได้เดินทางออกจากมักกะฮ์ ยาฮ์ยา บินซะอีด ผู้บัญชาการทหารองครักษ์ของอัมร์ บินซะอีด บินอาศ - ผู้ว่าราชการเมืองมักกะฮ์ - พร้อมด้วยกลุ่มหนึ่งจากผู้ช่วยเหลือของเขา ‎ได้ปิดทางสำหรับฮุเซน (อ. ) แต่อิมามกลับไม่สนใจและเดินทางต่อไป[58]‎

เส้นทางจากมักกะฮ์ไปยังกูฟะฮ์

จุดหมายปลายทางของคาราวานของอิมามฮุเซน จากมักกะห์ไปยังกูฟะฮ์ มีดังนี้ :‎

บุสตาน บะนีอามิร

ตันอีม (มีการจับกุมคาราวานโดยบะชีร บินรีซาน ฮะมีรี ตัวแทนของยะซีด ในเยเมน จากซอฟายา ทรัพย์สินที่ถูกยึด ‎ส่งไปยังซีเรีย)‎

ศิฟาฮ์ (การพบปะของอิมามฮุเซนกับฟะร็อซดัก)‎

ซาตุอิรก์ (การพบปะของอิมามฮุเซน (อ.) กับบิชร์ บิน ฆอลิบ และอูน บินอับดุลลอฮ์ บินญะอ์ฟัร)‎

วาดีย์อะกีก

ฆ็อมเราะฮ์

อุมมุคิรมาน

อัลมุซัลละฮ์

อะฟีอียะฮ์

มะอ์ดิน อัลฟะซาน

อัลอุมก์

ซะลีละฮ์

มุฆีษะฮ์ มะอ์วาน

อัลนุกเราะฮ์

อัลฮาญิซ (การส่งกัยซ์ บินมุซะฮ์ฮัร ไปยังเมืองกูฟะฮ์)‎

ซะมีรอ

ตูซ

อัจญ์ฟัร (การพบปะอับดุลลอฮ์ บินมุฏีอ์ อะดาวี และคำแนะนำของเขาที่มีต่ออิมามฮุเซน(อ.)ให้กลับไป)‎

อัลคุซัยมียะฮ์

ซะรูด (การร่วมกับซุฮัยร์ บินกีน ในคาราวานของอิมามฮุเซน (อ.) และพบปะกับลูกๆของมุสลิมและรับทราบเกี่ยวกับการเป็นชะฮีดของมุสลิมและฮานีย์)‎

อัษษะลาบียะฮ์

บะฏอน

อัชชุกูก

ซุบาละฮ์ (อิมามฮุเซน (อ.) ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการเป็นชะฮีดของกัยซ์และการเข้าร่วมของนาฟิอ์ บินฮิลาล ยังคาราวานของอิมาม)‎

บัฏนุลอะกอบะฮ์ (การพบปะของอิมามฮุเซน (อ.) กับอัมร์ บิน ลูซาน และคำแนะนำของเขาที่มีต่ออิมามฮุเซน (อ.) ‎ให้กลับไป)‎

อัลอะมียะฮ์

วากิเศาะฮ์

ชะรอฟ

บิรกะฮ์ อะบีมิสก์

ญะบัล ซีฮุซัม(การเผชิญหน้าของอิมามฮุเซน (อ.) กับกองทัพของฮุร บินยะซีด ริยาฮีย์)‎

อัลบัยเฎาะฮ์ (อิมามฮุเซน (อ.) กล่าวปราศรัยท่ามกลางเหล่าสหายของตนและทหารของฮุร)

อัลมุซัยญิด

อัลฮัมมาม

อัลมุฆีษะฮ์

อุมมุลกอรูน

อัลอะซีบ อัลฮิญานาต (เส้นทางของกูฟะฮ์มาจากอะซีบถึงอัลกอดิซียะฮ์และอัลฮิรอ แต่อิมามฮุเซน (อ.) เปลี่ยนเส้นทางและไปยังกัรบะลา) ‎ ก็อซร์ บะนีมะกอติล (การพบปะกันของอิมามฮุเซน (อ.) กับอุบัยดิลลาฮ์ บิน ฮูร ญุอ์ฟีย์ และการปฏิเสธคำร้องขอความช่วยเหลือของอิมามฮุเซน (อ.))‎

อัลกุฏกุฏอนะฮ์

กัรบะลา - วาดีย์ฏ็อฟ - (วันที่สอง เดือนมุฮัรรอม ฮ.ศ. 61 เมื่ออิมามฮุเซนเดินถึงกัรบะลา) [59]‎

ในระหว่างทาง อิมามฮุเซนได้พยายามชักจูงโน้มน้าวผู้คนและให้ความกระจ่างแก่ความคิดทั้งหลาย เช่น ในซาตุอิรก์ บิชร์ บินฆอลิบ ได้มาถึงอิมามและอธิบายสถานการณ์ที่วุ่นวายของเมืองกูฟะฮ์ โดยอิมามยืนยันในคำพูดของเขา และบุคคลนั้นได้ถามอิมามฮุเซน (อ.) เกี่ยวกับโองการที่ว่า ในวันที่เราเรียกผู้คนทั้งหมด ด้วยอิมามของพวกเขา ‎‎(60] อิมามได้ตอบว่า: มีอิมามอยู่สองประเภท: ประเภทหนึ่งคือ เชิญชวนผู้คนสู่ทางนำและอีกประเภทเชิญพวกเขาสู่การหลงทาง ผู้ที่ปฏิบัติตามอิมามแห่งการชี้นำ จะได้เข้าสวรรค์และผู้ที่ปฏิบัติตามอิมามแห่งการหลงทางก็จะเข้าสู่นรก [61] บิชร์ บินฆอลิบ ไม่ได้เข้าร่วมกับอิมามฮุเซน (อ.) กล่าวกันว่า ในเวลาต่อมา หลังจากนั้น เขาไปร้องไห้ที่หลุมฝังศพของอิมามฮุเซน (อ.) และแสดงความเสียใจที่ไม่ได้ช่วยเหลือเขา[62]‎

ในพื้นที่อัษษะลาบียะฮ์ มีชายคนหนึ่งชื่อ อบูฮัรเราะฮ์ อัซดี เข้ามาหาอิมามและซักถามเหตุผลในการเดินทางของอิมาม โดยอิมามฮุเซน (อ.) กล่าวว่า

พวกอุมัยยะฮ์ได้ยึดทรัพย์สินของฉันไป ฉันก็อดทน พวกเขาพูดจาใส่ร้ายฉัน ฉันก็ยอมอดทน พวกเขาต้องการหลั่งเลือดของฉัน ฉันก็จึงหนีออกมา โอ้อบูฮัรรเราะฮ์! จงรู้ไว้ว่า ฉันจะถูกกลุ่มชนหนึ่งสังหาร และพระผู้เป็นเจ้าจะทรงคลุมพวกเขาด้วยอาภรณ์แห่งความอัปยศอดสู และจะปกครองพวกเขาด้วยดาบอันคมกริบ และทำให้พวกเขาต้องอับอาย[63]‎

การส่งก็อยซ์ บินมุซะฮ์ฮัร เป็นตัวแทนไปยังกูฟะฮ์

มีรายงานว่า เมื่ออิมามฮุเซน (อ.) เดินทางไปถึงยังพื้นที่บัฏนุรรุมมะฮ์ เขาได้เขียนจดหมายถึงชาวกูฟะฮ์และแจ้งข่าวเกี่ยวกับการเดินทางของตนเองไปยังเมืองกูฟะฮ์ [64] อิมามได้ส่งจดหมายดังกล่าวให้กับก็อยซ์ บินมุซะฮ์ฮัร ศ็อยดะวี เมื่อเขาไปถึงกอดิซียะฮ์ เจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่งของอุบัยดิลลาฮ์ บินซิยาด ได้ปิดกั้นเส้นทางของเขา แล้วเรียกเขาไปสอบถาม ก็อยซ์ได้ฉีกจดหมายของอิมาม เพื่อที่พวกเขาจะได้ไม่รู้ถึงเนื้อหาในนั้น เมื่อก็อยซ์ถูกจับกุมและถูกนำตัวไปให้อิบนุ ซิยาด อิบนุ ซิยาดสั่งให้เขาบอกรายชื่อของบุคคลที่อิมามฮุเซน (อ.) ส่งจดหมายถึงหรือให้ขึ้นบนมิมบัร ‎แล้วพูดจาใส่ร้ายต่ออิมามฮุเซน (อ.) และบิดาและน้องชายของเขา และนอกเหนือจากนี้ เขาจะถูกตัดคอ ก็อยซ์ยอมรับแแล้วกล่าวว่า : แท้จริงฮุเซน บินอะลี เป็นสิ่งถูกสร้างที่ดีที่สุด และเขากำลังจะมาหาพวกท่าน จงตอบรับคำเรียกร้องของเขา และช่วยเหลือเขา อิบนุ ซิยาดจึงสั่งให้พาเขาขึ้นไปที่ด้านบนสุดของพระราชวังดารุลอิมาเราะฮ์แล้วจับตัวเขาโยนลงมา (65)‎

การส่งอับดุลลอฮ์ บิน ยักฏิร เป็นตัวแทนไปยังกูฟะฮ์

มีรายงานว่า อิมามฮุเซน (อ.) ก่อนที่จะทราบข่าวการเป็นชะฮีดของมุสลิม อิมามได้ส่งอับดุลลอฮ์ บิน ยักฏิร น้องชายบุญธรรมของเขาไปหามุสลิม [66] ซึ่งเขาถูกฮุศ็อยน์ บิน ตะมีม จับตัวไป และนำตัวไปให้กับอุบัยดิลลาฮ์ บินซิยาด ‎อุบัยดิลลาฮ์ จึงสั่งให้นำตัวอับดุลลอฮ์ บินยักฏิร ไปที่ด้านบนสุดของพระราชวัง ดารุลอิมาเราะฮ์ เพื่อสาปแช่งอิมามฮุเซน (อ.) และบิดา ผู้สูงส่งของเขาต่อหน้าประชาชนชาวเมืองกูฟะฮ์ เมื่อบุตรของยักฏิรขึ้นไปบนยอดพระราชวัง ‎เขาได้กล่าวกับประชาชนว่า โอ้ ประชาชนเอ๋ย! ฉันเป็นตัวแทนของอิมามฮุเซน (อ.) ผู้เป็นบุตรชายของบุตรีของศาสดาของพวกท่าน จงรีบเร่งไปช่วยเหลือเขาและและต่อสู้กับบุตรของมัรญานะฮ์ (67) เมื่ออุบัยดิลลาฮ์เห็นเช่นนั้น เขาจึงสั่งให้โยนอับดุลลอฮ์ บินยักฏิร ลงมาจากด้านบนของพระราชวังและเขาก็เป็นชะฮีด [68] ข่าวการเป็นชะฮีดของอับดุลลอฮ์ บินยักฏิร พร้อมทั้งข่าวการเป็นชะฮีดของมุสลิมและฮานีย์ถูกส่งไปถึงอิมาม ณ จุดพักซุบาละฮ์[69]‎

จดหมายของอิมามฮุเซนถึงเหล่าผู้อาวุโสแห่งเมืองบัศเราะฮ์

อิมามฮุเซน (อ.) ได้เขียนจดหมายถึงเหล่าผู้อาวุโสของเมืองบัศเราะฮ์ โดยผ่านสุไลมาน บินรอซีน ถึง หัวหน้าชนเผ่าทั้งห้าของเมืองบัศเราะฮ์ (หมายถึง อาลียะฮ์ บักร์ บินอาอิล ตะมีม อับดุลก็อยซ์ และอัซด์) (70) สุไลมานได้ส่งสำเนาของจดหมายให้กับเหล่าหัวหน้าชนเผ่าทีละคน ด้วยมีชื่อของ มาลิก บินมัซมะอ์ บักรี อัคนัฟ บินก็อยซ์ มุนซิร ‎บินญารูด มัสอูด บินอัมร์ ก็อยซ์ บินฮัยษัม และอัมร์ บินอุบัยดิลลาฮ์ บินมุอัมมัร [71 ] โดยเนื้อหาของจดหมายเหล่านี้ มีดังนี้

ข้าพเจ้า ขอเชิญชวนพวกท่าน ด้วยอัลกุรอานและซุนนะฮ์ของศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ อันที่จริง ซุนนะฮ์ได้ถูกทำลายแล้ว และอุตริกรรมต่างๆได้เกิดขึ้น หากพวกท่านได้ยินคำพูดของข้าพเจ้า พวกท่านก็จงปฏิบัติคำสั่งของข้าพเจ้า ‎เพราะว่า ข้าพเจ้าจะชี้นำแนวทางที่ถูกต้องให้แก่พวกท่าน (72)‎

บรรดาผู้อาวุโสแต่ละคนของเมืองบัศเราะฮ์ ที่ได้รับสำเนาจดหมายของฮูเซนได้ซ่อนเร้นมันไว้ ยกเว้น มุนซิร บินญารูด ซึ่งเขาคิดว่า นี่เป็นหนึ่งในกลอุบายของอุบัยดิลลาฮ์ บิน ซิยาด (73) ด้วยเหตุนี้ ในช่วงกลางคืนของวันที่อิบนุ ซิยาดวางแผนจะเดินทางไปเมืองกูฟะฮ์ เขาได้รับรายงานถึงเรื่องนี้ (74) อุบัยดิลลาฮ์ จึงรับสั่งให้เรียกตัวผู้ส่งสารของอิมามฮุเซน (อ.) มาและสั่งให้ตัดศีรษะของเขา(75)‎

การเปลี่ยนเส้นทางไปยังกัรบะลา

อิมามฮุเซน (อ.) หลังจากที่เดินทางถึงสถานที่หยุดพัก อัลอะซีบ อัลฮิญานาต ก็จำเป็นที่ต้องเปลี่ยนเส้นทางไปยังกัรบะลา [76]‎

การเผชิญหน้ากับกองทัพของฮุร บินยะซีด ริยาฮีย์ เมื่ออิบนุ ซิยาด ทราบถึงการเดินทางของอิมามฮุเซน (อ.) มายังเมืองกูฟะฮ์ เขาก็ได้ส่ง ฮุศ็อยน์ บิน ตะมีม หัวหน้าองครักษ์ของเขา พร้อมด้วยทหารสี่พันนาย ไปยัง อัลกอดิซียะฮ์ เพื่อควบคุมระหว่าง อัลกอดิซียะฮ์ และ ค็อฟฟาน ‎และ อัลกุฏกุฏอนียะฮ์ จนถึง ละอ์ละอ์ และติดตามในการเดินทางของอิมามฮุเซน (อ.) เพื่อรับรู้การสัญจรไปมาของผู้คนที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่เหล่านี้ [77] ฮุร บินยะซีด ริยาฮีย์ พร้อมด้วยกองทหารหนึ่งพันนาย ภายใต้การบังคับบัญชาของเขา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพนี้ จำนวนสี่พันนายที่ถูกส่งโดยฮุศ็อยน์ บินตะมีม เพื่อป้องกันไม่ให้คาราวานของอิมามฮุเซนเดินทางเข้าพื้นที่อีกต่อไป (78)‎

อะบูมิคนัฟ ได้รายงานจากบุคคลสองคนจากชนเผ่าบะนีอะซัดที่ร่วมเดินทางมากับอิมามฮุเซน (อ.)ในการเดินทางครั้งนี้ว่า เมื่อกองคาราวานของอิมามฮุเซน (อ.) ได้เดินทางออกจากสถานที่หยุดพัก ชะรอฟ ในระหว่างวัน กองทัพของศัตรูก็ได้มาถึง หลังจากนั้น อิมามฮุเซน (อ.)ก็ออกเดินทางไปยัง ซูฮุซัม ในทันที (79)‎

ฮุร บินยะซีด และกองทัพของเขา ได้เผชิญหน้ากับอิมามฮุเซน (อ.) และเหล่าสาวกของเขา ในเวลาเที่ยงวัน อิมามฮุเซน (อ.) สั่งให้เหล่าสาวกของเขานำน้ำมาให้กับกองทัพของฮุรและม้าของพวกเขา ในช่วงเที่ยง อิมามฮุเซน (อ.)ได้สั่งให้มุอัซซินของเขา – ฮัจญาจ บิน มัซรูก ญุอ์ฟีย์ – ลุกขึ้นกล่าวอะซาน เพื่อเป็นการเชิญชวนสู่การทำนมาซ เมื่อถึงเวลานมาซ อิมามฮุเซน (อ.) หลังจากได้กล่าวสรรเสริญต่อพระผู้เป็นเจ้าแล้ว จึงกล่าวว่า :‎ ‎“โอ้ประชาชนเอ๋ย! นี่คือสิ่งที่ข้าพเจ้าต้องขออภัยต่อพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงสูงส่งและต่อพวกท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่ได้เดินทางมาหาพวกท่าน จนกระทั่ง หลังจากที่จดหมายของพวกท่าน มาถึงยังข้าพเจ้า และผู้ส่งสารของพวกท่าน ก็มาหาข้าพเจ้าและขอให้ข้าพเจ้าเดินทางไปหาพวกท่าน และพวกท่านบอกว่า เรานั้นไม่มีอิมาม (ผู้นำ) ขอให้พระเจ้าทรงชี้นำทางของพวกท่านโดยผ่านข้าพเจ้า ดังนั้น หากพวกท่านยังคงยืนหยัดบนพันธสัญญานี้ ข้าพเจ้าก็จะเดินทางไปยังเมืองของพวกท่าน หากว่า การมาเยือนของข้าพเจ้าสร้างความไม่พอใจให้พวกท่าน ข้าพเจ้าก็จะกลับไปยังบ้านของข้าพเจ้า

ฮุรและกองทัพของเขา ยังคงนิ่งเงียบและไม่พูดจาอะไร ดังนั้น อิมามฮุเซนจึงสั่งให้มุอัซซินลุกขึ้นกล่าวอิกอมะฮ์นมาซซุฮ์ริ และได้ทำนมาซแบบญะมาอะฮ์ร่วมกัน(80)ฮุรและกองทัพของเขาก็ได้นมาซตามอิมามฮุเซน (อ.) ‎ อิมามฮุเซน หลังจากที่อิกอมะฮ์นมาซอัศริ ก็หันหน้าไปทางผู้คน และหลังจากอิมามกล่าวสรรเสริญต่อพระผู้เป็นเจ้าแล้ว จึงกล่าวว่า :‎

‎“โอ้ประชาชนเอ๋ย! ถ้าพวกท่านมีตักวาและรู้จักผู้ที่มีสิทธิที่แท้จริง คือ ผู้ใด พวกท่านก็จะเป็นที่พึงพอพระทัยต่อพระผู้เป็นเจ้า พวกเรา อะฮ์ลุลบัยต์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ที่อ้างสิทธิอันชอบธรรม และพฤติกรรมของพวกเขาที่มีต่อพวกท่านนั้นก็ไม่ได้อยู่บนรากฐานของความยุติธรรม และพวกเขาได้กดขี่ข่มเหงพวกท่าน พวกเรานั้นมีความเหมาะสมในการมีวิลายะฮ์เหนือพวกท่าน หากว่า พวกท่าน ไม่ถือว่า เรานั้นมีสิทธิอันชอบธรรม และไม่ต้องการที่จะปฏิบัติตามเรา และจดหมายต่างๆของพวกท่านไม่ตรงกับคำพูดและความคิดเห็นของพวกท่าน ข้าพเจ้าก็จะเดินทางกลับไปจากที่นี่

ฮุร บินยะซีด กล่าวว่า : ฉันไม่ทราบเกี่ยวกับจดหมายเหล่านี้ที่ท่านพูดถึง! เราไม่ได้อยู่ในกลุ่มผู้เขียนจดหมายเหล่านี้ ‎เรามีภารกิจที่จะพาท่านไปหาอุบัยดิลลาฮ์ บินซิยาด ในทันทีที่เราพบท่าน[81]‎

อิมามฮุเซน (อ.) ขอร้องให้เหล่าสาวกของเขากลับไป แต่ฮุรและเหล่าทหารของเขาเข้ามาขัดขวาง ฮูร กล่าวว่า “ฉันจำเป็นที่จะต้องพาท่านไปหาอุบัยดิลลาฮ์ บินซิยาด! อิมามฮุเซน (อ.) กล่าวว่า “ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮ์ ฉันจะไม่ไปกับเจ้า ฮูรกล่าวว่า ฉันไม่ได้ถูกมอบหมายให้มาต่อสู้กับท่าน แต่ภารกิจของฉันจะไม่ได้แยกจากท่าน เพื่อที่จะพาท่านไปยังเมืองกูฟะฮ์ ดังนั้น หากท่านปฏิเสธที่จะไป ก็จงใช้เส้นทางที่จะพาท่าน ไม่ไปทั้งเมืองกูฟะฮ์และเมืองมะดีนะฮ์ เพื่อที่ฉันจะได้เขียนจดหมายถึงอุบัยดิลลาฮ์ หากท่านต้องการก็เขียนจดหมายถึงยะซีด เพื่อว่าบางที สิ่งนี้จะนำไปสู่ความสงบสุขและสันติภาพ และในทัศนะของฉัน สิ่งนี้ดีกว่าการถูกปนเปื้อนด้วยสงครามและการต่อสู้กับท่าน (82)‎

กองคาราวานของอิมามฮุเซน (อ.) เคลื่อนตัวออกจากทางเส้นทางอะซีบ และกอดิซียะฮ์ ฮุรก็เคลื่อนตามกองคาราวานของอิมามฮุเซนด้วยเช่นกัน (83)‎

ทูตของอุบัยดิลลาฮ์มาถึงยังกัรบะลา

อิมามฮุเซน (อ.) ณ สถานที่หยุดพัก บัยเฎาะฮ์ [84] หลังจากนมาซศุบฮ์แล้ว เขาได้เดินทางไปพร้อมกับเหล่าสาวก ‎ของเขา จนกระทั่ง พวกเขามาถึงแผ่นดินนัยยะวา ประมาณใกล้เที่ยง(85) ทูตของอุบัยดิลลาฮ์ ได้นำจดหมายฉบับหนึ่งให้ฮุร ซึ่งในจดหมายดังกล่าวระบุว่า “เนื่องจากจดหมายของฉัน ได้มาถึงเจ้า และทูตของฉันได้มาหาเจ้าแล้ว ‎จงมีความเข้มงวดกับฮุเซน (อ.) และอย่าให้เขาหยุดพัก เว้นแต่ ในทะเลทรายที่ไม่มีรั้วกั้นและไม่มีน้ำ ฉันได้สั่งการให้ทูตของฉัน อย่าแยกออกจากพวกท่าน จนกว่า เขาจะแจ้งข่าวว่า คำสั่งของฉันได้สำเร็จแล้ว ขอความสันติสุขจงมีแด่เขา” (86)‎

และฮุรได้อ่านจดหมายของอิบนุ ซิยาด ให้อิมามฮุเซน (อ.)ฟัง (อ.) และอิมามฮุเซน (อ.) กล่าวกับเขาว่า ให้เราหยุดพัก ที่นัยนะวา หรือฆอฎิรียะฮ์เถิด (87) ฮุร กล่าวว่า เป็นไปไม่ได้ เพราะว่า ทูตของอุบัยดิลลาฮ์ จะถือว่า ฉันสายลับของท่าน ซุฮัยร์ บินกีน ให้แนะนำว่า ให้พวกเขาต่อสู้กับฮุรและเหล่าทหารของเขา เพราะภารกิจจะยากขึ้นหากทหารคนอื่นๆ ของอุบัยดิลลาฮ์เข้ามาถึง อิมามฮุเซน (อ.) ตอบว่า ฉันจะไม่เป็นผู้ริเริ่มสงครามก่อนเป็นอันขาด(88) ‎แล้วก็เดินทางต่อไป จนถึงกัรบะลา ฮุรและเหล่าทหารของเขา ยืนอยู่หน้ากองคาราวานของอิมามฮุเซน (อ.) และ‎หยุดพวกเขาไม่ให้เดินทางต่อไป[89]‎

อิมามฮุเซนในกัรบะลา

อิมามฮุเซน (อ.) เดินทางมาถึงกัรบะลา

แหล่งข้อมูลส่วนมาก รายงานว่า วันที่ 2 มุฮัรรอม 61 ฮ.ศ. เป็นวันที่อิมามฮุเซน (อ.) และเหล่าสาวกของเขา เดินทางมาถึงกัรบะลา [90] แต่ดีนาวะรี นักประวัติศาสตร์แห่งศตวรรษที่ 3 ของฮิจญ์เราะฮ์ศักราช บันทึกว่า วันที่อิมาม เดินทางมาถึงกัรบะลา เป็นวันที่ 1 ของเดือนมุฮัรรอม (91)ตามรายงานของมุก็อรรอม ในมักตัลอัลฮุเซน ระบุว่า เวลาที่ฮุรกล่าวกับอิมามฮุเซน (อ.) ว่า จงหยุดพักกัน ณ ที่นี่ เพราะว่า มันอยู่ใกล้แม่น้ำฟุรอต (ยูเฟรติส) อิมามฮุเซน (อ.) กล่าวว่า สถานที่แห่งนี้มีชื่ออะไร ? พวกเขากล่าวว่า : กัรบะลา อิมามกล่าวว่า: นี่คือ สถานที่ของกัรบ์ (ความทุกข์) และบะลา บิดาของฉันเคยเดินผ่านมายังที่นี่ ในขณะที่เขากำลังจะเดินทางไปยังศิฟฟีนและฉันก็ร่วมไปด้วย เขาหยุดแล้วถามชื่อของมัน พวกเขาบอกชื่อกับเขา เขาจึงกล่าวว่า "นี่คือ ‎สถานที่หยุดพักของพวกเรา และสถานที่ซึ่งเลือดของพวกเขาถูกหลั่งไหล พวกเขาถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ เขากล่าวว่า: กองคาราวานจากครอบครัวของศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) จะมาหยุดพักที่นี่” (92) จากนั้น อิมามฮุเซน (อ.) จึงกล่าวว่า “นี่คือ สถานที่สำหรับม้าของเรา กระโจมของเรา สถานที่ซึ่งบุรุษทั้งหลายของเราถูกสังหาร และสถานที่ซึ่งเลือดของเราถูกหลั่งไหล ‎‎(93)แล้วอิมามก็สั่งให้พวกเขาขนสัมภาระเพื่อหยุดพัก ณ สถานที่นั้น

มีรายงานว่า หลังจากปักหลักอยู่ที่กัรบะลาแล้ว อิมามฮุเซน (อ.) ได้รวบรวมลูกๆ พี่น้อง และครอบครัวของเขา และมองดูพวกเขาแล้วร้องไห้ จากนั้น เขาก็กล่าวว่า: โอ้ข้าแต่พระเจ้า แท้จริงที่เราเป็นครอบครัวของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) พวกเขาขับไล่เรา ‎‎[ออกจากเมืองและบ้านเกิดของเรา] และเราออกจากฮะรอมของตาของเรา(ศาสดามุฮัมมัด) (ศ็อลฯ) พวกบะนีอุมัยยะฮ์ ต่างต่อต้านพวกเรา และโจมตีพวกเรา โอ้ข้าแต่พระเจ้า โปรดทรงทวงคืนสิทธิของเราจากพวกเขา และช่วยเหลือเราในการต่อสู้กับผู้กดขี่ หลังจากนั้น อิมามฮุเซนก็หันหน้าไปทางเหล่าสาวก แล้วกล่าวว่า :‎

‎ มนุษย์นั้นเป็นทาสของโลกและศาสนาถูกปลายลิ้นของพวกเขา แต่พวกเขาไม่รู้จักการดำรงชีวิตของพวกเขา ดังนั้น พวกเขาจึงถูกทดสอบด้วยภัยพิบัติ ขณะที่ผู้ศรัทธามีจำนวนน้อย (ควารอซมี, มักตัล อัล-ฮุเซน (อ.) , สำนักพิมพ์อัล-มุฟิด, เล่ม 1, หน้า 337‎)

หลังจากนั้น อิมามได้ซื้อที่ดินกัรบะลาจากผู้อาศัยที่นั้น ซึ่งมีขนาดสี่คูณสี่ไมล์ เป็นเงินหกหมื่นดิรฮัม และตั้งเงื่อนไขให้พวกเขานำทางผู้คนไปยังหลุมศพของเขาและให้การต้อนรับแก่ผู้แสวงบุญของเขาเป็นเวลาสามวัน [94]‎ ฮุร บิน ยาซีด ริยาฮีย์ เขียน จดหมายถึงอุบัยดิลลาฮ์ บิน ซิยาด และแจ้งให้เขาทราบเกี่ยวกับการเดินทางมาถึงแผ่นดินนี้ของอิมามฮุเซน (อ.) (95) ในจดหมายฉบับนี้ อุบัยดิลลาฮ์กล่าวถึงอิมามฮุเซน (อ.) ว่า:‎

‎ โอ้ฮุเซน ฉันได้รับรู้การเดินทางมาถึงกัรบะลาของเจ้า อะมีรุลมุอ์มินีน(ยะซีด บิน มุอาวิยะฮ์)ได้สั่งฉันไม่ให้หลับตาสักครู่ และอย่าให้อิ่มด้วยอาหาร จนกว่าฉัน จะให้เจ้าพบกับพระเจ้า ผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงอ่อนโยน หรือไม่ก็บังคับเจ้าให้คำบัญชาการของตนและคำบัญชาการของยะซีด บิน มุอาวิยะฮ์ วัสลาม(96) ‎

มีรายงานว่า หลังจากอิมามฮุเซน (อ) ได้อ่านจดหมายนี้แล้ว อิมาม (อ.) ก็โยนมันทิ้งพร้อมทั้งกล่าวว่า: กลุ่มชนที่ให้ความพอใจของตนเองก่อนความพึงพอพระทัยของพระผู้สร้าง จะไม่ได้พบกับความผาสุก ทูตของอิบนุ ซิยาด จึงพูดกับอิมาม (อ)ว่า ‎โอ้อะบา อับดิลลาฮ์ ท่านจะไม่ตอบจดหมายนี้กระนั้นหรือ? อิมามฮุเซน (อ.) ได้กล่าวว่า คำตอบของมัน ก็คือ การลงโทษอันเจ็บปวดจากพระผู้เป็นเจ้า ที่จะมาพบกับเขาในไม่ช้านี้ ทูตคนนั้นจึงกลับไปยังอิบนุ ซิยาด และบอกถึงสิ่งที่อิมามฮุเซน (อ.)‎ได้กล่าวกับเขาให้กับอุบัยดิลลฮ์ และเขาได้สั่งให้กองทัพเตรียมอาวุธเพื่อทำสงครามกับฮุเซน (อ. [97]‎

อุมัร บิน ซะอัด เดินทางถึงกัรบะลา

อุมัร บิน ซะอัด ได้เดินทางมาถึงกัรบะลา ในวันที่สาม เดือนมุฮัรรอม พร้อมกับผู้คนสี่พันคนจากเมืองกูฟะฮ์ (98) มีการกล่าวเกี่ยวกับแรงบันดาลใจของอุมัร บิน ซะอัด ที่จะไปยังกัรบะลา: อุบัยดิลลาฮ์ บิน ซิยาด ได้แต่งตั้งอุมัร บิน ซะอัด เป็นผู้บัญชาการพร้อมกับชาวกูฟะฮ์ทั้งสี่พันคน และสั่งให้เขาไปยังเมืองเรย์และดาสตะบี เพื่อทำการต่อสู้กับชาวดัยละมาน ที่ยึดครองพื้นที่นี้ อุบัยดิลลาฮ์ยังได้เขียนชื่อเขาเป็นผู้ว่าการเมืองเรย์ ด้วยเช่นกัน ลูกชายของซะอัด ตั้งค่ายพักแรมร่วมกับเหล่ามิตรของเขา ในพื้นที่นอกเมืองกูฟะฮ์ ที่เรียกว่า ฮัมมาม อะอ์ยัน เขากำลังเตรียมที่จะไปยังเมืองเรย์ เมื่ออิมามฮุเซน (อ.) เคลื่อนตัวไปทางเมืองกูฟะฮ์ อิบนุ ซิยาด จึงสั่งให้อุมัร บิน ซะอัดไปต่อสู้ของอิมามฮุเซน (อ.) และหลังจากสิ้นสุดแล้ว ให้เดินทางไปยังเมืองเรย์ อิบนุ ซะอัดไม่ชอบที่จะทำสงครามกับอิมามฮุเซน (อ) ดังนั้น เขาจึงขอให้อุบัดิลลาฮ์ ยกเว้นเขาจากภารกิจนี้ แต่อิบนุ ‎ซิยาด จะยกเว้นเขา ด้วยเงื่อนไขจากการคืนตำแหน่งผู้ว่าเมืองเรย์(99) อุมัร บิน ซะอัด เมื่อเห็นการยืนกรานของอุบัยดิลลาฮ์ บิน ‎ซิยาด เขาจึงตกลงที่จะไปยังเมืองกัรบะลา [100] และมีการเคลื่อนทัพไปยังกัรบะลาพร้อมกับกองทัพของเขา และในวันนั้น หลังจากที่อิมามฮุเซน (อ) ได้มาถึงเมืองนัยนะวาแล้ว เขาก็เดินทางไปถึงที่นั่น [101]‎

บทสนทนาระหว่างอิมามฮุเซน (อ.) และอุมัร บิน ซะอัด

หลังจากตั้งถิ่นฐานในกัรบะลาแล้ว อุมัร บิน ซะอัด ต้องการส่งผู้ส่งสารไปหาอิมามเพื่อถามเขาว่า ทำไมเขาเดินทายถึงมายังดินแดนแห่งนี้และต้องการอะไร เขาเสนอภารกิจนี้ให้ อุซเราะฮ์ บินก็อยซ์ อะฮ์มะซีและผู้อาวุโสคนอื่นๆ ที่ได้เขียนจดหมายเชิญชวนอิมาม แต่พวกเขากลับปฎิเสธที่จะกระทำเช่นนี้ [102] แต่กะษีร บิน อับดุลลอฮ์ ชุอัยบะฮ์ ตอบรับและเคลื่อนตัวไปยังค่ายพักของอิมามฮุเซน (อ.) อบู ษุมามะฮ์ ศออิดีไม่ยอมให้กะษีรไปหาอิมามฮุเซน (อ.) ด้วยอาวุธของเขา เขาจึงกลับไปยังอุมัร บิน ซะอัดโดยไม่มีผลลัพท์ใดๆ (103)

หลังจากการกลับมาของกะษีร บิน อับดุลลอฮ์ อุมัร ซะอัดได้ขอให้กุรเราะฮ์ บิน ก็อยซ์ ฮันซอลี[104] ไปหาอิมามฮุเซน (อ.) และเขาก็ตอบรับ เพื่อตอบสารของอุมัร บินซะอัด ที่ส่งถึงกุรเราะฮ์ อิมามฮุเซน (อ.) กล่าวว่า ผู้คนในเมืองของเจ้าได้เขียนจดหมายถึงฉัน เพื่อขอให้ฉันเดินทางมาที่นี่ บัดนี้ ถ้าพวกเขาไม่ต้องการฉัน ฉันก็จะกลับไป อุมัร บินซะอัดรู้สึกพอใจกับคำตอบนี้ [105] ดังนั้น เขาจึงเขียนจดหมายถึงอิบนุ ซิยาด และแจ้งให้เขาทราบเกี่ยวกับคำพูดของฮุเซน [106] อุบัยดิลลาฮ์ บิน ซิยาด ตอบกลับจดหมายของอุมัร บินซะอัด โดยบอกว่า จะต้องเอาคำสัตยาบันจากฮุเซน ไปให้กับยะซีด [107]

อิบนุซิยาดพยายามที่จะส่งกองทัพไปยังกัรบะลา

หลังจากที่อิมามฮุเซน (อ.) เดินทางมาถึงยังกัรบะลา อุบัยดิลลาฮ์ บิน ซิยาดได้รวบรวมผู้คนในมัสยิดกูฟะฮ์ และแจกจ่ายของขวัญของยะซีด - มากถึงสี่พัน ดีนารและสองแสน ดิรฮัม - ในหมู่ผู้อาวุโสของพวกเขา และด้วยความช่วยเหลือของอุมัร บินซะอัด ที่เรียกร้องให้ทำสงครามกับอิมามฮุเซน(อ.) [108]

อุบัยดิลลาฮ์ บินซิยาด มอบหมายให้ อัมร์ บิน ฮุร็อยษ์ เป็นผู้แทนของเขาในเมืองกูฟะฮ์ และตัวเขาเอง ก็ออกมาจากเมืองกูฟะฮ์ พร้อมกับทหารของเขาและตั้งค่ายในเมืองนุค็อยละฮ์ และบังคับให้ผู้คนเดินทางไปยังนุค็อยละฮ์ (109)เพื่อเข้าควบคุมการเข้าร่วมของชาวกูฟะฮ์กับกองทัพของอิมามฮุเซน (อ.) เขาได้ยึดสะพานเมืองกูฟะฮ์และไม่อนุญาตให้ใครก็ตามข้ามมันไปได้ [110]

ฮุศ็อยน์ บิน ตะมีม ได้รับคำสั่งจากอุบัยดิลลาฮ์ ให้นำกองกำลังทหารสี่พันนายจากเมืองกอดะซียะฮ์ มุ่งหน้าไปยังนะคีละฮ์ [111] มุฮัมมัด บิน อัชอัษ กินดี , กะษีร บิน ชะฮาบ และ เกาะอ์กออ์ บินซุวัยด์ ก็ได้รับมอบหมายจากอิบนุซิยาด เช่นกัน เพื่อรวบรวมผู้คนในการต่อสู้กับอิมามฮุเซน (อ.) [112] อิบนุ ซิยาด ยังได้ส่ง ซุวัยด์ บิน อับดุรเราะห์มาน มันกอรี ไปยังกูฟะฮ์พร้อมกับทหารม้าบางส่วนและสั่งให้เขาตรวจค้นผู้คนในกูฟะฮ์และใครก็ตามที่ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมต่อสู้กับอิมามฮุเซน (อ.) ให้นำตัวมาพบเขา ซุวัยด์ได้จับกุมชายชาวซีเรียคนหนึ่งที่มายังกูฟะฮ์เพื่อรับมรดกของเขา และส่งตัวไปให้อิบนุ ซิยาด อิบนุ ซิยาดยังสั่งให้สังหารเขาด้วย (เพื่อทำให้ชาวกูฟะฮ์เกิดความหวาดกลัว) เมื่อประชาชนเห็นเช่นนั้น ก็พากันเดินทางไปยังนะคีละฮ์ (133)

เมื่อผู้คนรวมตัวกันที่นะคีละฮ์ อุบัยดิลลาฮ์จึงสั่งให้ฮุศ็อยน์ บินนุมัยร์ , ฮัจญาร บิน อับญัร,ชะบัษ บิน ริบอี และชิมร์ บิน ซิลเญาชัน เข้าร่วมกองทัพของเขาเพื่อช่วยเหลืออิบนุซะอัด [114] ชิมร์ เป็นคนแรกที่ปฏิบัติตามคำสั่งของเขาและก็พร้อมที่จะเคลื่อนไหว [115] หลังจาก ชิมร์, ซัยด์ (ยะซีด) บิน รอกาบ กัลบี พร้อมผู้คนสองพันคน, ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์ ซะกูนี พร้อมผู้คนสี่พันคน, มะศอบ มารี (มุฎอยิร บิน รอฮีนะฮ์ มาซินี) พร้อมผู้คนสามพันคน, [116] ฮุศ็อยน์ บิน ตะมีม ฏอฮะวี พร้อมกองพลสองพันนาย[117] และ นัศร์ บิน ฮัรบะฮ์ (ฮะรอชะฮ์) เคลื่อนพลพร้อมกับชาวกูฟะฮ์ สองพันคน และเข้าร่วมกองทัพของอุมัร บิน ซะอัด [118] จากนั้น อิบนุซิยาดก็ส่งชายคนหนึ่งไปร่วมกับชะบัษ บิน ริบอี และต้องการให้เขาเดินทางไปหาอุมัร บิน ซะอัด ชะบัษเข้าร่วมกับอุมัร บิน ซะอัด พร้อมพลทหารม้าหนึ่งพันนาย [119] หลังจากชะบัษ , ฮัจญาร บิน อับญัร พร้อมพลทหารม้าหนึ่งพันนาย [120] และหลังจากเขา มุฮัมมัด บิน อัชอัษ บิน ก็อยซ์ กินดี พร้อมพลทหารม้าหนึ่งพันคน [121] และ ฮาริษ บิน ยะซีด บิน รูยัม ซึ่งเขาได้ติดตามฮัจญาร บิน อับญัรไปยังกัรบะลาด้วย [122] อุบัยดิลลาฮ์ บิน ซิยาด ส่งทหารจากเมืองกูฟะฮ์ ไปยังกัรบะลาทุกเช้าและเที่ยงเป็นกลุ่มๆ กลุ่ม 20, 30, 50 และ 100 นาย[123] จนถึงวันที่ 6 เดือนมุฮัรรอม จำนวนกองกำลังทหารในกองทัพของอุมัร บิน ซะอัด มีมากกว่าสองหมื่นนาย[124] อุบัยดิลลาฮ์ จึงแต่งตั้งให้อุมัร บิน ซะอัด ขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารทั้งหมด

ฮะบีบ บิน มะซอฮิร พยายามที่จะรวบรวมกองกำลัง

ชะอ์รอนี รายงานว่า หลังจากอุมัร บิน ซะอัดได้รวบรวมกองกำลังทหารของเขา ในเมืองกัรบะลาแล้ว ฮะบีบ บิน มะซอฮิร อะซะดี ได้เห็นว่า ผู้ช่วยเหลืออิมามฮุเซน (อ.)จำนวนน้อยนิด จึงขออนุญาตจากอิมาม เพื่อไปยังกลุ่มหนึ่งจากชนเผ่าบะนีอะซัด โดยที่ไม่เปิดเผยตัวตนและถามพวกเขา เพื่อช่วยเหลืออิมามฮุเซน (อ.) บะนีอะซัด พร้อมด้วย ฮะบีบ บิน มะซอฮิร ได้เคลื่อนพลไปยังกองทัพของอิมามฮุเซน (อ.) ในยามกลางคืน ซึ่งกองกำลังทหารของอุมัร บิน ซะอัด ภายใต้การบังคับบัญชาของอัซรอก บิน ฮัรบ์ ศ็อยดาวี ได้ปิดทางให้พวกเขาใกล้แม่น้ำยูเฟรติส จนกระทั่งมีการปะทะกัน และในที่สุด กลุ่มบะนีอะซัดก็กลับไปยังบ้านของพวกเขา ส่วนฮะบิบก็กลับไปหาอิมามฮุเซน (อ.)เพียงลำพัง [125]

บทสนทนาสุดท้ายของอิมามฮุเซน (อ.) กับอุมัร บิน ซะอัด

ระหว่างคืนที่ 4 ถึงคืนที่ 6 ของเดือนมุฮัรรอม [126] อิมามฮุเซน (อ.) ได้พบกับอุมัร ซะอัด ณ สถานที่ใดที่หนึ่ง ระหว่างกองทัพทั้งสองและมีการพูดคุยกัน [127] ในการสนทนานี้ มีข้อเสนอแนะเพื่อยุติสงคราม อิมามฮุเซนพร้อมด้วยอับบาส น้องชายของเขาและอุมัร บิน ซะอัด พร้อมด้วยลูกชายและทาสของเขาอยู่ด้วยในระหว่างการสนทนาครั้งนี้ [128] มูฮัมมัด บิน ญะรีร ฏอบะรี กล่าวว่า ไม่มีข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาของการสนทนาของพวกเขา [129] และรายงานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับประเด็นนี้มีความขัดแย้งกัน [130]

บางคนอ้างอิงรายงานทางประวัติศาสตร์จากบทสนทนานี้ และคำกล่าวอื่นๆ ของอิมามฮุเซน (อ.) ถือว่า รายงานใดๆ ที่บ่งชี้ข้อเสนอของอิมามที่จะยอมจำนนต่อยะซีดหรือเดินทางไปหาเขา เป็นรายงานเท็จทั้งสิ้น[131] ในทางกลับกัน นักวิจัยบางคน เชื่อว่า จดหมายที่อุมัร บิน ซะอัด เขียนถึงยะซิด บิน มุอาวียะฮ์ หลังจากการสนทนานี้ เผยให้เห็นเนื้อหาของการสนทนานี้ [132] หลังจากการสนทนากับอิมามฮุเซน (อ.) เขาได้เขียนในจดหมายที่ส่งถึงอุบัยดิลลาฮ์ บิน ซิยาด ว่า ฮุเซน บิน อะลี (อ.) ได้ทำข้อตกลงกับผมว่า เขาจะกลับไปยังที่เดิมจากที่เขาเดินทางมา หรือเขาจะไปยังพื้นที่ของชาวมุสลิมแห่งหนึ่งและมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับชาวมุสลิมคนอื่นๆ หรือเขาจะ ไปหายะซีด เพื่อว่าจะมีการตัดสินอย่างไร เขาจะนำไปปฏิบัติและนี่คือสิ่งที่ทำให้ท่านมีความพึงพอใจและเป็นประโยชน์ของประชาชาติ" (133) อุบัยดิลลาฮ์ เมื่อเขาได้อ่านจดหมาย จึงบอกว่า : เป็นความจริงที่จดหมายฉบับนี้ มาจากชายคนหนึ่งที่เป็นผู้นำของประมุขของเขาและเป็นผู้พิทักษ์ประชาชนของเขา! เขากำลังจะยอมรับข้อเสนอนี้ แต่ชิมร์ บิน ซิลเญาชัน เข้ามาขัดขวางเขา

วันที่ 7 มุฮัรรอม และการปิดกั้นน้ำ

ในวันที่ 7 เดือนมุฮัรรอม อุบัยดิลลาฮ์ บิน ซิยาด ได้ส่งจดหมายถึงอุมัร บิน ซะอัด เรียกร้องให้ปิดกั้นน้ำให้กับอิมามฮุเซน (อ.) และเหล่าสาวกของเขา เมื่อจดหมายส่งถึงอุมัร บิน ซะอัด เขาได้สั่งให้อัมร์ บิน ฮัจญาจ ซูบัยดี ไปที่แม่น้ำยูเฟรติสพร้อมกับกองทหารม้าห้าร้อยนาย และป้องกันไม่ให้อิมามฮุเซน (อ.) และเหล่าสาวกของเขาเข้าถึงน้ำ[135]

ในบางแหล่งข้อมูล หลังจากที่มีการน้ำปิดกั้นและความกระหายได้รุนแรงขึ้น อิมามฮุเซน (อ.) จึงได้ส่งอับบาส น้องชายของเขา พร้อมด้วยกองพลทหารม้า 30 นาย และทหารราบ 20 นาย พร้อมด้วยถุงน้ำ 20 ถุง เพื่อไปเอาน้ำ(ต้องการแหล่งอ้างอิง) พวกเขาได้ออกเดินทางยามกลางคืน ในขณะที่ นาฟิอ์ บิน ฮิลาล บะญะลี ได้ถือธงนำอยู่ข้างหน้ากลุ่ม แล้วพวกเขาก็ถึงยังแม่น้ำยูเฟรติส อัมร์ บิน ฮัจญาจ ซึ่งได้รับหน้าที่ดูแลแม่น้ำ ได้ลุกขึ้นต่อสู้กับเหล่าสาวกของอิมามฮุเซน (อ.) สาวกกลุ่มหนึ่งของอิมามฮุเซนได้เอาน้ำใส่ถุงน้ำจนเต็ม และอีกกลุ่มหนึ่ง รวมทั้งท่านอับบาสและนาฟิอ์ บิน ฮิลาล ได้เริ่มต่อสู้และปกป้องจากการโจมตีของศัตรู เพื่อที่พวกเขาจะได้นำน้ำมายังกระโจมต่างๆ เหล่าสาวกของอิมามฮุเซน (อ.) นำน้ำมายังกระโจมได้สำเร็จ(136)

วันตาซูอา

ชิมร์ บิน ซิลเญาชัน ได้มาถึงกัรบะลา ในช่วงบ่ายของวันที่ 9 มุฮัรรอม ฮิจเราะฮ์ ที่ 61 หลังจากนมาซอัศริ เโดยไปหา อุมัร บิน ซะอัด และส่งสารของอิบนุ ซิยาด ให้เขาอ่าน[137] อุมัร บิน ซะอัด กล่าวกับชิมร์ว่า: ฉันจะรับผิดชอบภารกิจนี้เอง [138]

มีรายงานหนึ่ง ระบุว่า ชิมร์ และอีกบางรายงานหนึ่ง อับดุลลอฮ์ บิน อาบี อัล-มะฮัล หลานชายของท่านหญิงอุมมุลบะนีน ได้รับจดหมายคุ้มครองความปลอดภัยจากอิบนุ ซิยาด สำหรับลูกหลานของท่านหญิงอุมมุลบะนีน [139] อับดุลลอฮ์ส่งจดหมายคุ้มครองของเขา โดยทาสของเขาไปยังกัรบะลา เขาได้อ่านข้อความให้ลูกหลานของท่านหญิงอุมมุลบะนีนฟัง แต่พวกเขากลับไม่เห็นด้วย (140) มีรายงานอื่นอีก ระบุว่า ชิมร์ ได้นำจดหมายคุ้มครองไปยังกัรบะลาและนำไปให้อับบาส (อ.) และพี่น้องของเขา (141) แต่อับบาส (อ.และพี่น้องของเขาต่างปฏิเสธจดหมายคุ้มครองนั้นทั้งหมด (142) ] เชค มูฟีด กล่าวว่า ชิมร์ บอกว่า า โอ้ หลานของฉัน พวกเจ้าปลอดภัยแล้ว พวกเขาตอบว่า: ขอพระเจ้าทรงสาปแช่งเจ้าและ ความคุ้มครองของเจ้า ขณะที่เจ้าคุ้มครองชีวิตของเร แต่กลับไม่คุ้มครองชีวิตของบุตรแห่งศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ)[143]

ในกลางเย็นของวันตาซูอา อุมัร บิน ซะอัด ร้องตะโกนว่า: โอ้ กองทัพของพระเจ้า! พวกท่านจงขึ้นขี่ม้าและประกาศข่าวดี ทหารจึงขึ้นขี่มาและเคลื่อนตัวไปยังกระโจมของอิมามฮุเซน (อ.) (144) เมื่ออิมามฮุเซน (อ.) รับทราบถึงเจตนารมณ์ของศัตรู เขาจึงกล่าวกับอับบาสน้องชายของเขาว่า หากเจ้าสามารถโน้มน้าวพวกเขาให้ชะลอการทำสงครามไปจนถึงวันพรุ่งนี้และคืนนี้ โปรดให้เวลากับเรา เพื่อการวิงวอนขอต่อพระเจ้าของเรา พระองค์ทรงทราบดีว่า ฉันชอบการนมาซและการอ่านอัลกุรอานอย่างมาก (145) อับบาสจึงควบม้าไปยังกองทัพของศัตรูและขอให้พวกเขาผ่อนปรนในคืนนั้น อิบนุ ซะอัดตกลงที่จะกำหนดเวลาให้อีกหนึ่งคืน [146] ในวันนี้ กระโจมของอิมามฮุเซน (อ.) และครอบครัวและเหล่าสาวกของเขาถูกปิดล้อมรอบ [147]

เหตุการณ์คืนวันอาชูรอ

การให้สัตยาบันอีกครั้งของบรรดาสาวกของอิมามฮุเซน

ในช่วงแรกของคืนวันอาชูรอ อิมามฮุเซน (อ.) ได้รวบรวมบรรดาสาวกของเขาและหลังจากการสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าแล้ว อิมามกล่าวแก่พวกเขาว่า ฉันคิดว่านี่เป็นวันสุดท้ายที่เราจะได้รับการผ่อนปรนจากคนเหล่านี้ พึงทราบเถิดว่า ฉันได้อนุญาตแก่พวกท่าานแล้ว (การเดินทางออกไป) ดังนั้น ทุกคนจงเดินทางออกไปอย่างสบายใจว่าไม่มีสัตยาบันใดกับพวกท่านอีก บัดนี้ ความมืดมิดแห่งรัตติกาลได้ปกคลุมแล้ว พวกท่านจงนำพาหนะติดตัวไปด้วยและไปเสียเถิด" ในเวลานั้นอันดับแรก ครอบครัวของอิมาม และจากนั้น บรรดาสาวกของอิมามได้ประกาศคำพูดด้วยความจงรักภักดีของพวกเขา และเน้นให้เห็นถึงการเสียสละชีวิตเพื่อปกป้องอิมามของพวกเขา ซึ่งแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ได้บันทึกคำพูดเหล่านี้ไว้ได้เพียงบางส่วนเท่านั้น

ความกังวลของท่านหญิงซัยนับ (ซ.)

หลังจากบรรดาสาวกของอิมามฮุเซนประกาศแสดงความจงรักภักดีแล้ว อิมาม (อ.) ก็กลับไปยังกระโจมและเข้าไปในกระโจมของท่านหญิงซัยนับ (ซ.) นาฟี บิน ฮิลาล กำลังนั่งอยู่นอกกระโจมเพื่อรออิมามฮุเซน (อ.) เมื่อเขาได้ยินท่านหญิง ซัยนับ (ซ.) กล่าวกับอิมามฮุเซน (อ.) ว่า ท่านได้ทดสอบบรรดาสาวกของท่านแล้วกระนั้นหรือ? ฉันกังวลว่า พวกเขาจะหันหลังให้กับเราและส่งตัวท่านให้กับศัตรูระหว่างในการสู้รบ อิมามฮุเซน (อ.) ตอบว่า “ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮ์ ฉันได้ทดสอบพวกเขาเหล่านี้แล้ว และฉันได้พบว่า พวกเขาเป็นบุรุษที่ยอมพลีชีพของพวกเขา ในลักษณะที่พวกเขามองความตายเพียงหางตาของพวกเขา และพวกเขารักในความตาย เหมือนดั่งเด็กทารกที่อยู่ในอ้อมอกของมารดา เมื่อนะฟีสัมผัสได้ว่า บรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ของอิมามฮุเซน (อ.) กังวลเกี่ยวกับความจงรักภักดีและการยืนหยัดต่อสู้ของบรรดาสาวก เขาจึงไปหาท่านฮะบีบ บิน มะซอฮิร และด้วยคำแนะนำของเขา ร่วมกับบรรดาสาวกคนอื่นๆ พวกเขาก็ตัดสินใจที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับฮุเซน (อ.) และอะฮ์ลุลบัยต์ของเขา ตราบจนหยดเลือดสุดท้าย พวกเขาก็จะปกป้อง[149]

ฮะบีบ บิน มะซอฮิร ได้เรียกบรรดาสาวกของอิมามฮุเซน (อ) ให้มารวมตัวกัน จากนั้น เขาก็พูดกับกลุ่มบะนีฮาชิมว่า พวกท่านจงกลับไปยังกระโจมของพวกท่าน หลังจากนั้น เขาก็หันไปทางบรรดาสาวกและเล่าเรื่องราวทั้งหมดที่เขาได้ยินจากนาฟี กล่าวว่า ขอสาบานด้วยพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงมีบุญคุณสำหรับพวกเรา ซึ่งทำให้เราอยู่ในสถานภาพเช่นนี้ หากว่าเราไม่รอคำบัญชาของอิมามฮุเซน (อ.) เราก็คงจะโจมตีพวกเขาด้วยความเร่งรีบ เพื่อทำให้ชีวิตของเราบริสุทธิ์และทำให้ดวงตาของเราสว่างขึ้น ฮะบีบพร้อมด้วยมิตรสหายของเขา ได้เข้าหายังบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) ด้วยดาบที่ชักออกมาและเสียงเดียวกันและกล่าวว่า โอ้ ผู้เป็นฮะรอมของท่านศาสนทูตแห่งพระผู้เป็นเจ้า (ศ็อลฯ) เหล่านี้ คือ ดาบของเยาวชน ผู้กล้าหาญของพวกท่าน ซึ่งมันจะไม่ถูกเก็บเข้าฝัก จนกว่าพวกเขาจะฟาดคอของผู้ประสงค์ร้ายต่อพวกท่าน นี่คือ หอกของบุตรชายของพวกท่าน พวกเขาสาบานว่า จะพุ่งเข้าใส่ในอกของผู้ที่ปฏิเสธคำเชิญชวนของพวกท่านเพียงเท่านั้น” (150)

เหตุการณ์วันอาชูรอ

อิมามฮุเซน (อ.) หลังจากที่ทำนมาซศุบฮ์แล้ว (151) ได้จัดแถวกองกำลังของตน (ทหารม้า 32 นาย พลทหาร 40 ‎นาย) (152) อิมามฮุเซน (อ.) เพื่อทำให้ข้อพิสูจน์สิ้นสุด เขาได้ขึ้้นขี่บนหลังม้าพร้อมด้วยบรรดาสาวกจำนวนหนึ่งและมุ่งหน้าไปยังกองทัพของศัตรู และกล่าวตักเตือนพวกเขา (153) หลังจากการกล่าวปราศรัยของอิมามฮุเซน (อ.) ‎ซุฮัยร์ บิน กีน ได้กล่าวถึงความประเสริฐของอิมามฮุเซน (อ.) และกล่าวตักเตือนพวกเขา (154) ‎ หนึ่งในเหตุการณ์ของเช้าของวันอาชูรอ คือ การลาออกของฮุร บิน ยะซีด ริยาฮีย์ จากกองทัพของอุมัร บิน ซะอัด ‎และเข้าร่วมในกองทัพของอิมามฮุเซน (อ.)(155)‎

ในช่วงเริ่มต้นของสงคราม มีการโจมตีเป็นกลุ่มๆ ตามรายงานจากประวัติศาสตร์ บรรดาสาวกของอิมาม มากถึง 50 ‎คนเสียชีวิตในการโจมตีครั้งแรก หลังจากนั้นบรรดาสาวกของอิมามก็ไปต่อสู้กันเป็นรายบุคคลหรือเป็นคู่ บรรดาสาวกไม่อนุญาตให้ใครจากกองทัพของศัตรูเข้าใกล้อิมามฮุเซน (อ.) [156] หลังจากการเป็นชะฮีด (มรณะสุขี)ของบรรดาสาวกที่ไม่ใช่ชาวตระกูลบะนีฮาชิมของอิมามฮุเซน (อ.) ในตอนเช้าและช่วงบ่ายของวันอาชูรอ บรรดาสาวกจากบะนีฮาชิมของอิมามฮุเซน ( อ.) ออกมาต่อสู้ บุคคลแรกจากบะนีฮาชิม ที่ขออนุญาตอิมามฮุเซน (อ.) ไปสู่สนามรบและเป็นชะฮีด คือ ท่านอะลี อักบัร (157) หลังจากนั้น บุคคลในครอบครัวของอิมามที่เหลือ ก็ไปสู่สนามรบทีละคนและเป็นชะฮีด ท่านอบุล ฟัศล์ อัล-อับบาส (อ.) ผู้ถือธงชัยของกองทัพและผู้พิทักษ์กระโจม ก็เป็นชะฮีดด้วยเช่นกันในการต่อสู้กับเหล่าทหารที่ปิดกั้นแม่น้ำยูเฟรติส (158)‎

หลังจากการเป็นชะฮีดของชาวบะนีฮาชิม อิมามฮุเซน (อ.) ได้ออกสู้รบ แต่ในบางครั้งไม่มีใครจากกองทัพของกูฟะฮ์ ที่กล้าออกมาเผชิญหน้ากับเขา ในช่วงกลางของการสู้รบ แม้ว่าอิมามฮุเซน (อ.) จะโดดเดี่ยวและได้รับบาดเจ็บอย่างหนักที่ศีรษะและร่างกายของเขา อิมามฮุเซน (อ.) ก็ฟันดาบอย่างที่ไม่เกรงกลัวผู้ใด (159)

การเป็นชะฮีดของอิมามฮุเซน

ทหารราบภายใต้การบังคับบัญชาของชิมร์ บิน ซิลเญาชัน ได้ปิดล้อมอิมามฮุเซน(อ.) แต่ทว่า พวกเขายังคงไม่สามารถคืบหน้าได้และชิมร์ก็สนับสนุนให้พวกเขาเข้าโจมตี [160] ชิมร์สั่งให้พลธนู ยิงธนูเข้าใส่ร่างของอิมามฮุเซน เนื่องจากลูกธนูนั้นมีอย่างมากมาย ร่างกายของอิมามจึงเต็มไปด้วยลูกธนู [หมายเหตุ 1] [161] อิมามฮุเซน (อ.) จึงล่าถอยและพวกเขาก็ตั้งแนวเป็นแถวข้างหน้าเขา (162) อาการบาดเจ็บและความเหนื่อยล้า ทำให้อิมามฮุเซนอ่อนแออย่างมาก เขาก็เลยหยุดพักสักเล็กน้อย ในเวลานั้น ก้อนหินได้กระทบที่หน้าผากของเขาและมีเลือดไหลออกมา ในทันที อิมามต้องการเช็ดเลือดออกจากใบหน้าของเขาด้วยชายเสื้อของเขา (ด้วยผ้าเช็ดหน้าหรือผ้า) [163] ลูกธนูสามแฉกและอาบยาพิษก็ถูกยิงเข้าที่เขาและตกลงไปที่หัวใจของเขา (164 ] มาลิก บิน นุซัยร์ ฟาดฟันเขาด้วยดาบ การฟาดฟันศีรษะของเขา ทำให้สายรัดหมวกของอิมามฮุเซนก็ขาดกระเด็น [165] ซัยยิด อิบนุฏอวูซ [166] เชื่อว่า อิมามฮุเซน (อ.) ได้ตกลงจากหลังม้า ยังพื้นดิน หลังห่าลูกธนูจากพลธนูพุ่งใส่ร่างของเขาและทหารจำนวนมากได้โจมตีเข้าใส่ ตามคำสั่งของชิมร์ ความอ่อนแอทางกายภาพของเขาถึงขนาดที่ เขาหมดแรง เริ่มคร่ำครวญและล้มลง และลุกขึ้นอย่างยากลำบาก [167]

(168) ชายคนหนึ่ง ชื่อ ซัรอะฮ์ บิน ชะรีก ตะมีมี ได้ฟันไปที่ไหล่ซ้ายของอิมามฮุเซน (อ.) อย่างแรงเช่นกัน ซินัน บิน อะนัส นะคออี ก็ยิงลูกธนูเข้าที่คอของเขาด้วย จากนั้น ศอลิห์ บิน วะฮับ ญุอ์ฟีย์ (อ้างอิงจากซินัน บิน อะนัส) ได้ออกมาข้างหน้าและโจมตีที่สีข้างของอิมามฮุเซน (อ.)ด้วยหอก จนเขาตกลงจากหลังม้าด้วยจนแก้มขวาของเขาถูกับพื้นดิน (169)

ชิมร์ บิน ซิลเญาชัน พร้อมด้วยกลุ่มทหารของอุมัร บินซะอัด รวมทั้งซินัน บิน อะนัส และเคาลีย์ บิน ยะซิด อัศบาฮี มุ่งหน้ามาทางอิมามฮุเซน (อ.) ชิมร์สนับสนุนให้พวกเขาจัดการอิมามฮุเซน (อ.) [170] แต่ไม่มีใครยอมรับ เขาสั่งให้เคาลีย์ตัดศีรษะของอิมามฮุเซนออก เมื่อเคาลีย์เข้าไปในแดนสังหาร มือและร่างกายของเขาสั่นเทาและไม่สามารถกระทำได้ ชิมร์ [171] และตามรายงานของซินาน บิน อะนัส[172] ได้ลงจากหลังม้าและตัดศีรษะของอิมามฮุเซน (อ.) แล้วส่งให้เคาลีย์[173]

อัลลามะฮ์ ฏอฮ์รอนี บันทึกในหนังสือ ลุมอาตุลฮุเซน [174] เชื่อว่า นิยัร ตับริซีในบทกวีอันโด่งดังของเขาได้จินตนาการถึงสถานการณ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในจักรวาลเป็นอย่างดี (แต่ละอย่าง ตามความสามารถและพรสวรรค์ของมัน) ในช่วงการมรณสักขีของอิมามฮุเซน (อ.) ต่อไปนี้ เป็นบางส่วนจากบทกวีของนิยัร ใน ดีวานของเขา (ไฟของนิยัร) (175)

เหตุการณ์หลังจากการเป็นชะฮีดของอิมามฮุเซน (อ.) ‎

หลังจากที่ซินาน บิน อะนัส ได้ส่งศีรษะของอิมามฮุเซน (อ.)ให้กับเคาลีย์แล้ว กองทัพของอุมัร บิน ซะอัด ได้บุกปล้นสะดมทุกสิ่งทุกอย่างที่อิมามสวมใส่อยู่ กัยส์ บิน อัชอัษ และบาห์ร บิน กะอ์บ์ (เสื้อผ้า)[176] อัสวัด บิน คอลิด อูดี (รองเท้า) ญะมีอ์ บิน ค็อลก์ อูดี (ดาบ) อัคนัส บิน มูรษัด (ผ้าโพกหัว) บัญดัล บิน ซุลัยม์ (แหวน) และอุมัร บิน สะอัด (ชุดเกราะ) [177] เหล่านี้เป็นคนขโมยของอิมาม

หลังจากที่อิมามฮุเซน (อ.)ได้ตกลงจากหลัง ซุลญะนาฮ์ ม้าของเขา มันก็ไม่ได้ไปไหน แต่มันกลับเดินเวียนอยู่รอบๆร่างกายที่ไร้เรี่ยวแรงของอิมาม และสูดดมกลิ่นและจูบไปที่ร่างกายนั้น จากนั้น ‎มันก็ได้เอาหน้าผากของมันถูไถไปที่เสื้อผ้าที่เปื้อนเลือดของอิมามฮุเซน (อ.) ในขณะที่เท้าของมันย่้ำบนพื้นดินและส่งเสียงดังร้องออกมา แล้วมันก็มุ่งหน้าไปยังกระโจม (178) มีรายงานจากอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า เมื่อม้าได้กลับมายังกระโจม มันก็ร้องตะโกนด้วยเสียงดังว่า ‎

‎ ‎الظليمة ، الظليمة ، من اُمّة قتلتْ ابن بنت نبيّها‎ ‎

ขอความช่วยเหลือด้วย ขอความช่วยเหลือด้วย บุตรแห่งบุตรีของศาสดาได้ถูกสังหารแล้ว (179) ‎

เวลาที่มันกลับมายังกระโจม มันได้ส่งเสียงร้องและเอาหัวของมันโขกไปที่พื้นดิน เมื่อครอบครัวของอิมามฮุเซน ได้เห็นถึงสภาพของซุลญะนาฮ์ เช่นนี้ พวกเขาก็ออกมานอกกระโจมและร่ายรอบตัวซุลญะนาฮ์และเอามือตีไปที่ศีรษะ ใบหน้าและเท้าของพวกเขา ท่านหญิงอุมมุลกุลษูม ได้เอามือทั้งสองวางบนศีรษะของนาง พร้อมทั้งกล่าวว่า วามุฮัมมะดา วาญัดดาฮ์ วานะบียา (180) บรรดานักขับลำนำได้รายงานเรื่องเล่านี้ในมัจญ์ลิซที่มีการรำลึกถึงอิมามฮุเซน (182)‎

การปล้นสะดมกระโจม

หลังจากการเป็นชะฮีดของอิมามฮุเซน (อ.) เหล่าทหารได้บุกโจมตีกระโจมต่างๆและปล้นสะดมทรัพย์สินที่มีค่าด้วยการแย่งชิงซึ่งกันและกัน (183) ชิมร์ พร้อมทหารจำนวนหนึ่งจากกองทัพของเขาก็ได้เข้ามายังกระโจมเพื่อที่จะสังหารอิมามซัจญาด (อ.) ซึ่งท่านหญิงซัยนับได้เข้ามาขัดขวางไม่ให้พวกเหล่านี้กระทำเช่นนั้น มีรายงานว่า ทหารบางนายในกองทัพของอุมัร บินซะอัด ก็ออกคัดค้านการกระทำดังกล่าวนี้ (184) อุมัร บิน ซะอัด ได้สั่งให้นำตัวสตรีทั้งหลายไว้ในกระโจมหนึ่งและให้เจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่งจับตาดูพวกเขาไว้ (185)‎

การใช้ม้าควบบนร่างของอิมามฮุเซน ‎

อุมัร บิน ซะอัด ได้สั่งตามคำบัญชาของอิบนุซิยาด ให้ทหารอาสาสมัคร 10 นาย จากกองทัพกูฟะฮ์ ‎ขึ้นขี่บนหลังม้าและเหยียบย่ำบนร่างของอิมามฮุเซน (อ.) จนกระดูกและหลังของเขาแตกสลาย(186) ‎ทั้งสิบคนเหล่านี้ ได้แก่

อิสฮาก บิน ฮัยวะฮ์ (187)‎ ฮะกีม บินฏุฟัยล์ รอญาอ์ บิน มันก็อด อับดี วาฮิซ บิน นาอิม ฮานี บิน ชับษ์ ฮัฎรอมี อัคนัซ บิน มัรษัด (188)‎ อัมร์ บิน ศอบีฮ์ ซาลิม บิน ค็อยษะมะฮ์ ญุอ์ฟีย์ ศอลิห์ บิน วะฮับ ญุอ์ฟีย์ อะซีด บิน มาลิก (189)‎

การส่งศีรษะของบรรดาชะฮีดไปยังเมืองกูฟะฮ์

อุมัร บิน ซะอัด ในวันนั้น ได้ส่งศีรษะของอิมามฮุเซน (อ.)ให้ เคาลีย์ บิน ยะซีด อัศบะฮี และฮะมีด บิน มุสลิม อัซดี ไปยังอุบัยดิลลาฮ์ บิน ซิยาด นอกจากนี้ เขายังสั่งให้ตัดศีรษะของบรรดาชะฮีดแห่งกัรบะลา ออกจากร่างกายของพวกเขา รวมแล้วได้ทั้งหมด เจ็ดสิบสองศีรษะ โดยชิมร์ บิน ซิลเญาชัน ก็อยส์ บิน อัชอัษ อัมร์ บินฮัจญาจ และอุซเราะห์ บิน ก็อยส์ เป็นผู้พาศีรษะทั้งหมดมุ่งหน้าไปยังเมืองกูฟะฮ์ (190)

การเป็นเชลยศึกของครอบครัวของอิมามฮุเซน

ในขณะนั้น อิมามซัจญาดกำลังป่วย ก็ถูกจับตัวเป็นเชลยศึก ร่วมกับท่านหญิงซัยนับ (ซ.)และบุคคลอื่นๆที่รอดชีวิต และถูกนำตัวไปยังเมืองกูฟะฮ์ เพื่อไปหาอิบนุซิยาด หลังจากนั้น ส่งไปยังวังของยะซีดในเมืองชาม (ซีเรีย)ต่อไป (191)

การฝังศพของบรรดาชะฮีด

อุมัร บิน ซะอัด ได้สั่งให้ทำการฝังศพของเหล่าทหารของกูฟะฮ์ แต่ทว่าศพของอิมามฮุเซนและบรรดาสาวกของเขา ยังคงอยู่บนพื้นดิน(192) วันที่ 11 มุฮัรรอม (193) หรือ 13 มุฮัรรอม (194) ได้รับการกล่าวถึงว่า เป็นวันที่มีการฝังศพของบรรดาชะฮีดแห่งกัรบะลา ตามบางรายงานระบุว่า หลังจากอุมัร บิน ซะอัดและเหล่าทหารของเขา ได้ออกจากเมืองกัรบะลา กลุ่มชนเผ่าบะนีอะซัด ซึ่งอาศัยอยู่ใกล้กัรบะลา ได้เข้ามาในพื้นที่และในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งถือว่าปลอดภัยจากศัตรู พวกเขาได้ทำนมาซมัยยิตให้อิมามฮุเซน (อ.)และบรรดาสาวกของเขา และทำการฝังศพของบรรดาชะฮีด (195) มีบางรายงานระบุว่า อิมามซัจญาด เป็นผู้ที่ฝังศพของอิมามฮุเซน (อ.)เอง (196)

เชิงอรรถ

บรรณานุกรม