กัรบะลาอ์

จาก wikishia

กัรบะลาอ์ หรือ กัรบะลาอ์ อัลมุอัลลา เป็นชื่อของเมืองหนึ่งในประเทศอิรัก ที่บรรดาชีอะฮ์ เดินทางมาเพื่อทำการซิยาเราะฮ์ฮะรัมอิมามฮุเซน (อ.)พร้อมเหล่าอัศฮาบ บรรดาผู้ช่วยเหลือของเขา ได้เป็นชะฮีด ณ สถานที่แห่งนี้ จากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในกัรบะลาอ์ เมื่อปี 61 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช

ความสำคัญของเมืองนี้ อันเนื่องจากการดำรงอยู่ของฮะรัมอิมามฮุเซนและฮะรัมท่านอับบาส จึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับบรรดาชีอะฮ์

แหล่งที่มาของกัรบะลาอ์ ก่อนยุคอิสลาม และยุคการปกครองบาบิโลน และหลังจากการพิชิตอิสลาม มีเผ่าพันธุ์ต่างๆใช้ชีวิตอยู่โดยรอบๆของเมืองกัรบะลาอ์ และใกล้กับแม่น้ำฟุรอต

หลังจากการเป็นชะฮีดของอิมามฮุเซน (อ.) พร้อมเหล่าอัศฮาบของเขาในเหตุการณ์วันอาชูรอ เมื่อวันที่สิบ มุฮัรรอม และมีการฝังศพของพวกเขา ณ กัรบะลาอ์

บรรดาชีอะฮ์ จึงเดินทางมายังเมืองนี้ เพื่อทำการซิยาเราะฮ์ฮะรัมอิมามฮุเซน (อ.)

เนื่องจากการให้ความสำคัญของบรรดาชีอะฮ์ ในการซิยาเราะฮ์ฮะรัมอิมามฮุเซน (อ.) และเหล่าชะฮีดทั้งหลาย ทำให้เมืองกัรบะลาอ์ กลายเป็นสถานที่พำนักอาศัยของพวกเขา

ในช่วงเริ่มต้นของทศวรรษที่สองและที่สามแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช ได้มีการบูรณาการและการปรับปรุงเมืองกัรบะลาอ์ขึ้นใหม่

ในยุคสมัยของการปกครองราชวงศ์อาลิบูเยห์ ก็มีการดำเนินการอย่างมากมายในการขยายการบูรณาการเมืองกัรบะลาอ์อีกครั้ง แต่ทว่า ส่วนมากของการขยายเมืองกัรบะลาอ์ เกิดขึ้นในยุคสมัยการปกครองของราชวงศ์ซาฟาวิดและราชวงศ์กอญัร

ตรงกับช่วงเวลาของการขยายเมืองกัรบะลาอ์ ในช่วงเริ่มต้นศตวรรษที่สามแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช ได้มีการก่อสร้างโรงเรียนสอนศาสนาในเมืองนี้

ความเจริญรุ่งเรืองของสถาบันศาสนาในเมืองกัรบะลาอ์ในช่วงประวัติศาสตร์ได้มีความเปลี่ยนแปลงต่างๆนานา ซึ่งตรงกับช่วงเวลาของความรุ่งเรืองของสถาบันศาสนาในเมืองกัรบะลาอ์ ครอบครัวของชาวชีอะฮ์จำนวนมากได้เข้ามาพำนักในเมืองกัรบะลาอ์เพื่อทำการศึกษาหาความรู้ เช่น ครอบครัวอาลิเฏาะมะฮ์ อาลินะกีบ เบฮ์บะฮานี ชะริสตานีและชีรอซี

เมืองกัรบะลาอ์ ในช่วงปลายของสองทศวรรษครั้งล่าสุด ได้เกิดเหตุการณ์ต่างๆอย่างมากมาย เช่น การโจมตีของพวกวะฮาบีย์ในเมืองกัรบะลาอ์ การโจมตีของนาจิบ ปาชา ผู้ปกครองยุคอุษมานียะฮ์ (ออตโตมัน) ในเมืองนี้ การปฏิวัติปี 1920 ค.ศ. ขบวนการอินติฟาเฎาะฮ์เดือนชะอบาน ในการต่อต้านระบอบการปกครองของซัดดาม ฮุสเซน ถือเป็นอีกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น

หลังจากการล่มสลายของจักรพรรดิออตโตมันและการยึดครองของพวกอังกฤษในช่วงทศวรรษที่สิบ จึงเกิดการก่อตั้งพรรคการเมือง กลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมและวัฒนธรรมและเพิ่มมากขึ้นหลังจากการเป็นเอกราชของประเทศอิรัก

ญัมอียะตุลอิตติฮาด วัตตะร็อกกี อัลญัมอียะตุลวะฏอนียะฮ์อัลอิสลามียะฮ์ การจัดตั้งสาขาของพรรคอัดดะวะตุลอิสลามมียะฮ์ ในเมืองกัรบะลาอ์ และการจัดตั้งสาขาของสภาสูงสุดอิสลามของอิรัก ถือเป็นพรรคการเมืองที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของชาวชีอะฮ์ในเมืองกัรบะลาอ์

บรรดาชีอะฮ์จากทั่วทุกสารทิศ ได้เดินทางมายังเมืองกัรบะลาอ์ เพื่อซิยาเราะฮ์ ในช่วงวโรกาสต่างๆ ซึ่งจะเห็นว่า การเดินทางอย่างมากที่สุดในช่วงการไว้อาลัยในเดือนมุฮัรรอมและศอฟัร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเดินเท้าวันอัรบะอีน

มีรายงานว่า บรรดาผู้แสวงบุญที่เข้าร่วมในวันอัรบะอัน มีประมาณ 20 ล้านคน ในปี 2015 และ 2016 ค.ศ.

ในตลอดช่วงประวัติศาสตร์ เมืองกัรบะลาอ์ มีชื่อเรียกต่างๆ ดังนี้ ฆอฎิรียะฮ์ นัยนะวา ฏ็อฟ อักร์ ฮาอิร นะวาวีซ เป็นต้น

คำแนะนำ

กัรบะลาอ์ เป็นชื่อของเมืองหนึ่งในประเทศอิรัก ที่มีความศักดิ์สิทธิ์และบรรดาชีอะฮ์ เดินทางมาเพื่อทำการซิยาเราะฮ์(1) เมืองนี้ มีศูนย์กลางด้วยชื่อนี้ และตั้งอยู่ทางตอนใต้ตอนกลางของอิรัก (ประมาณ 1000 กิโลเมตร ห่างจากกรุงแบกแดด เมืองหลวงของประเทศนี้ )(2) การเป็นชะฮีดของอิมามฮุเซน (อ.) พร้อมเหล่าอัศฮาบของเขา ในเหตุการณ์วันอาชูรอ ณ เมืองกัรบะลาอ์ การดำรงอยู่ของฮะรัมอิมามฮุเซน (อ.) และฮะรัมท่านอับบาส (อ.) และสถานที่ซิยาเราะฮ์อื่นๆ ได้ทำให้เมืองนี้ กลายเป็นหนึ่งในเมืองต่างๆที่มีผู้เดินทางมากที่สุดสำหรับชีอะฮ์ เพื่อการซิยาเราะฮ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงสัปดาห์แห่งการไว้อาลัยในเดือนมุฮัรรอมและพิธีวันอัรบะอีนแห่งฮุซัยนี (3)

หลังจากการล่มสลายของจักรพรรดิออตโตมัน ในปี 1914 ค.ศ. และนอกเหนือจากนี้ หลังจากการล่มสลายของระบอบซัดดามในปี 2003 ค.ศ. เมืองกัรบะลาอ์ ถือเป็นเมืองที่มีสถานภาพทางการเมืองอย่างพิเศษยิ่งของประเทศอิรัก

คำฟัตวาให้มีการต่อสู้ของอยาตุลลอฮ์ มุฮัมมัดตะกี ชีรอซี มัรญิอ์ของบรรดาชีอะฮ์ ในการต่อต้านพวกอังกฤษ การเป็นผู้นำสูงสุดของเขาในขบวนการ ปี 1920 ค.ศ. ทำให้ชาวอิรักประกาศต่อต้านการประจำการอยู่ต่อไปของพวกอังกฤษในประเทศนี้ แสดงให้เห็นถึง การมีบทบาททางการเมืองของเมืองกัรบะลาอ์ในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของอิรัก (4)

หลังจากการล่มสลายของซัดดาม มัรญิอ์ของชีอะฮ์ในอิรัก ประกาศจุดยืนความเคลื่อนไหวทางการเมืองและสังคมของประเทศนี้ที่มีต่อโลกอิสลาม ในการนมาซวันศุกร์ในเมืองนี้

การประกาศคำฟัตวาญิฮาดต่อสู้กับกลุ่มไอซิส (ดาอิช)ของมัรญิอ์ชีอะฮ์ (อยาตุลลอฮ์ ซีสตานี) โดยผ่านเทศนาธรรมในนมาซวันศุกร์ในเมืองกัรบะลาอ์ (5)

ตามสถิติของประเทศ ในปี 2015 ประชากรของเมืองกัรบะลาอ์ มีประมาณ เจ็ดแสนคน ด้วยกัน (6)

กัรบะลาอ์ ยังมีชื่อเรียกต่างๆ ในตลอดช่วงประวัติศาสตร์ เช่น ฆอฎิรียะฮ์ นัยนะวา ฏ็อฟ อักร์ ฮาอิร และนะวาวีซ เป็นต้น (7) ประวัติความเป็นมา

บางแหล่งข้อมูล รายงานว่า กัรบะลาอ์ เกิดขึ้นก่อนอิสลามในยุคบาบิโลน (8) ยังมีรายงานต่างๆอีกว่า เมืองกัรบะลาอ์ ยุคก่อนการพิชิตของอิสลาม มีสุสานของชาวคริสต์และยังมีสถานที่ในการบูชาไฟของพวกโซโรแอสเตอร์ (9) ในอดีตที่ผ่านมา ที่หมู่บ้านต่างๆโดยอยู่บริเวณรอบเมืองกัรบะลาอ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ใกล้แม่น้ำฟุรอต (10)

นอกเหนือจากนี้ ยังมีรายงานจำนวนหนึ่งระบุว่า บรรดาศาสนทูตหรืออย่างน้อยที่สุด ศาสดาอุลุลอัซม์ เช่น ศาสดานูฮ์(อ.)และศาสดาอิบรอฮีม (อ.)ในตำราสายฮะดีษ (11)

หลังจากการพิชิตอิรักและระหว่างแม่น้ำทั้งสอง โดยชาวมุสลิม มีรายงานที่ถูกบันทึกไว้อย่างน้อยมาก จากนักประวัติศาสตร์ ก่อนเหตุการณ์อาชูรอ

ในรายงานระบุว่า คอลิด บิน วะลีด ได้ตั้งแคมป์ในเมืองกัรบะลาอ์ ในสงครามฮัยเราะฮ์ หลังจากพิชิตฮัยเราะฮ์ได้ (พื้นที่ใกล้เมืองนะญัฟในปัจจุบัน) ในปีที่สิบสองแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช (12) ยังมีรายงานว่า อิมามอะลี (อ.)เคยผ่านยังเมืองกัรบะลาอ์ หลังจากที่กลับจากสมรภูมิศิฟฟีน ตามรายงานระบุว่า อิมามอะลี (อ.) ได้หยุดนมาซและพักผ่อนที่เมืองกัรบะลาอ์ และแจ้งข่าวที่จะเกิดขึ้นในอนาคตกับ ฮุเซน (อ.)บุตรชายของเขา พร้อมบรรดาสหายและครอบครัวของเขา (13)

เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดของเหตุการณ์ต่างๆในเมืองกัรบะลาอ์ ด้วยเหตุผลในการเป็นที่รู้จักและมีความสำคัญต่อบรรดาชีอะฮ์ คือ เหตุการณ์อาชูรอ ในเหตุการณ์นี้ อิมามฮุเซน (อ.) หลังจากที่เขาไม่ให้สัตยาบันกับยะซีด และด้วยการเชิญชวนของชาวเมืองกูฟะฮ์ สำหรับการให้สัตยาบันกับเขา จึงมีการส่งจดหมายอย่างมากมาย (14) อิมามฮุเซน (อ.) เดินทางจากเมืองมักกะฮ์ ไปยังเมืองกูฟะฮ์ (15) หลังจากที่กองคาราวานของอิมามฮุเซน ถูกปิดกั้นเส้นทางสู่เมืองกูฟะฮ์ โดยฮุร บิน ยะซีด ริยาฮี ด้วยคำสั่งของอุบัยดิลลาฮ์ บิน ซิยาด ผู้ปกครองเมืองกูฟะฮ์(16) ทำให้คาราวานของอิมามฮุเซน (อ.) ต้องตั้งกระโจมในเมืองกัรบะลาอ์ (17) หลังจากการหยุดพักของกองคาราวานของอิมามฮุเซน (อ.) ในเมืองกัรบะลาอ์ อยู่หลายวัน และในวันที่สิบ มุฮัรรอม ปีที่ 61 ฮ.ศ.จึงเกิดสงครามกันระหว่างกองทัพของอิมามฮุเซน (อ.) กับกองทัพของอุมัร บิน ซะอ์ด (18) อิมามฮุเซน ( อ.) พร้อมเหล่าอัศฮาบของเขา ถูกทำชะฮาดัต ในวันนั้น ขณะที่ครอบครัวของเขา บรรดาสตรีและเด็ก ถูกจับเป็นเชลยศึก โดยส่งตัวไปยังเมืองกูฟะฮ์ และหลังจากนั้นไปยังกรุงดามัสกัส เมืองหลวงของระบอบการปกครองยะซีด ในประเทศชาม (ซีเรีย) (19)

บรรดาอิมามของชีอะฮ์ ให้ความสำคัญกับการซิยาเราะฮ์ฮะรอมของฮุเซน (อ.) และความสนใจของบรรดาชาวชีอะฮ์ที่มีต่อฮะรอมนี้ ทำให้มีการปูพื้นฐานเพื่อการก่อสร้างหลุมฝังศพของอิมามฮุเซน การขยายพื้นที่และการก่อสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้แสวงบุญและผู้ที่อยู่ใกล้เคียงฮะรอมของอิมามฮุเซน (อ.) ในกัรบะลาระหว่างยุคสมัยของบะนีอุมัยยะฮ์และบะนีอับบาส [20] การเกิดขึ้นของการลุกขึ้นต่อสู้ของชาวชีอะฮ์ หลังจากเหตุการณ์กัรบาลา ก็มีบทบาทในการให้ความสนใจของชาวชีอะฮ์ต่อหลุมฝังศพของอิมามฮุเซน (อ.) กลุ่มเตาวาบีน ในการลุกขึ้นต่อสู้ของพวกเขา หลังจากที่พวกเขาเคลื่อนตัวออกจากนะคีละฮ์ ไปยังดามัสกัส พวกเขาไปเยี่ยมหลุมฝังศพของอิมามฮุเซน ในระหว่างทาง[21] และพวกเขาประกาศว่า พวกเขาจะยึดมั่นในเส้นทางของอิมามฮุเซน ( อ.) ในการลุกขึ้นต่อสู้ของมุคตาร กัรบะลาอ์ก็ได้รับความสนใจเช่นกันและยังมีการซิยาเราะฮ์หลุมฝังศพของอิมามฮุเซน อีกด้วย มุคตาร ษะกอฟี เป็นบุคคลแรกที่สิ่งก่อสร้างเหนือหลุมฝังศพของอิมามฮุเซน มัสยิดและหมู่บ้านเล็กๆ [23] ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มบ้านที่ทำจาก โคลน ลำต้น และกิ่งก้านของต้นอินทผลั) [24] ด้วยการเพิ่มขึ้นของผู้แสวงบุญไปยังกัรบาลาและการอาศัยของชาวมุสลิมบางส่วนโดยรอบพื้นที่ฮะรอมของอิมามฮุเซน (อ.)ตรงกับ ในช่วงเวลาเดียวกับราชวงศ์บะนีอุมัยยะฮ์มีความอ่อนแอและการจัดตั้งรัฐบาลของพวกอับบาซียะฮ์ ได้เกิดการบูรณาการ เมืองกัรบะลาอ์ขึ้นใหม่อีกครั้ง บ้านใหม่ถูกสร้างขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกับฮะรอมของอิมามฮุเซน (อ.) โดย มีการใช้วัสดุก่อสร้างที่เหมาะสม[25] การกระทำเหล่านี้ของบรรดาชาวชีอะฮ์ ถือเป็นภัยคุกคามต่อเหล่าคอลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์บางคน ด้วยเหตุนี้เอง เหล่าคอลีฟะฮ์ เช่น ฮารูน อัรรอชีด และมุตะวักกิล อับบาซี ในยุคสมัยการปกครองของตน จึงสั่งให้มีการทำลายฮะรอมและสิ่งปลูกสร้างโดยรอบๆนั้น[26] อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า การกระทำของเหล่าคอลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ ไม่สามารถที่ป้องกันไม่ให้กัรบะลาอ์ กลายเป็นสถานที่อยู่อาศัยของชีอะฮ์บางคน หลังจากฮารูน ในสมัยการปกครองของมะอ์มูน ลูกชายของเขา ฮะรอมของอิมามฮุเซน (อ.) และสิ่งปลูกสร้างที่ถูกทำลายได้มีการดำเนินการเพื่อก่อสร้างใหม่และในกัรบาลา[27] หลังจากการทำลายล้างในยุคสมัยมุตะวักกิล ได้มีการบูรณะเมืองกัรบะลาอ์อีกครั้งและนอกเหนือจากการสร้างฮะรอมและพื้นที่ที่ถูกทำลายขึ้นใหม่แล้ว ยังมีสถานที่ใหม่ๆ ได้ถูกก่อตั้งขึ้น รวมถึงตลาดแห่งกัรบาลาด้วย [28] ในช่วงสมัยอับบาซียะฮ์ ได้มีการจัดเวทีทางด้านวิชาการขึ้นในกัรบะลาอ์โดยบรรดาสหายของอิมามทั้งหลาย ซึ่งถือว่า เป็นยุคแรกของสถาบันศาสนาขอกัรบะลาอ์(29)กระบวนการสถาปัตยกรรมกัรบะลาอ์ ได้เกิดขึ้นใหม่ในยุคการปกครองของอาลิบูเยะห์ [30] ซึ่งบางคนเรียกว่า เป็นยุคเฟื่องฟูของสถาปัตยกรรมกัรบาลา จนถึงช่วงเวลานั้น [31] เหล่าผู้ปกครองอาลิบูเยะห์ ได้ซิยาเราะฮ์อิมามฮุเซน (อ.)ด้วยการดำเนินการสร้างฮะรอมของอิมามฮุเซนใหม่และมีการขยายเมืองกัรบะลาอ์

มีการสร้างกำแพงเมือง การสร้างที่อยู่อาศัย ตลาดใหม่ และโรงเรียนสอนศาสนา เช่น โรงเรียนอะฎุดียะฮ์ และมัสญิดเราะซุลฮุเซน โดยคำสั่งของอะฎุดุดเดาละฮ์ ดัยละมีย์ ในปี 372 ฮ.ศ. ถือ การขยายเมืองกัรบะลาอ์(32)

เมืองกัรบะลาอ์ จากช่วงทศวรรษที่ 10 จนถึง 13 ฮ.ศ. ได้เข้าสู่สถาปัตยกรรมและความรุ่งเรืองของการบูรณะกัรบะลาอ์ เนื่องจากบรรดากษัตริย์ราชวงศ์ศอฟาวียะฮ์ และกอญารียะฮ์ ให้ความสนใจต่อสถานที่ฝังศพของบรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์ และการอาศัยของชาวอิหร่านในเมืองนี้

ในขั้นตอนนี้ นอกเหนือจากการสร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่และการขยายฮะรอมของอิมามฮุเซน (อ.) ฮะรอมของท่านอับบาส และสถานที่ซิยาเราะฮ์อื่นๆ ในกัรบะลาอ์ ถือว่า ชาวอิหร่านในกัรบะลาอ์นั้นมีบทบาทอย่างมากในการสร้างความรุ่งเรืองทางการตลาดและการสร้างฮุซัยนียะฮ์ โรงเรียนสอนศาสนา ห้องสมุดและมัสญิดในช่วงเวลาต่างๆ

นักท่องเที่ยวและนักภูมิศาสตร์ เช่น คาร์เทน เนเบอฮ์ร จอห์น แอชเชอร์ ได้เขียนบันทึกการเดินทางของเขาในการเดินทางเยือนเมืองกัรบะลาอ์ โดยถือว่า การขยายเมืองนี้ เกิดขึ้นในยุคสมัยการปกครองของพวกอุษมานียะฮ์ (33) จอห์น ปีเตอร์ นักท่องเที่ยวและนักโบราณคดี จากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เขียนว่า เขาได้เดินทางเยือนเมืองกัรบะลาอ์ในปี 1890 ค.ศ. ได้มีการสร้างพื้นที่ส่วนใหม่ของกัรบะลาอ์ นอกพื้นที่เมืองเดิม ซึ่งมีการขยายถนนอย่างกว้างขวางและมีความเป็นระเบียบเหมือนเมืองต่างๆในประเทศยุโรป (34)

สถานที่ในการแสวงบุญ

เนื่องจากการดำรงอยู่ของฮะรัมอิมามฮุเซน (อ.) และฮะรัมท่านอับบาส (อ.) กัรบะลาอ์ จึงถือเป็นหนึ่งในเมืองแห่งการแสวงบุญที่สำคัญที่สุดสำหรับบรรดาชีอะฮ์ [35] ฮะรัมอิมามฮุเซน ซึ่งเป็นสถานที่ฝังศพอิมามฮุเซน(อ.) และบรรดาวีรชนแห่งตระกูลบะนีฮาชิม รวมทั้งบรรดาอัศฮาบ ผู้ช่วยเหลืออิมามที่ถูกสังหารเสียชีวิตในเหตุการณ์กัรบะลาอ์ [36] การเดินทางเพื่อทำการซิยาเราะฮ์ฮะรัมอิมามฮุเซน (อ.) ถือเป็นการกระทำหนึ่งที่บรรดาชีอะฮ์ต่างให้ความสำคัญมาโดยตลอด คำสั่งเสียให้ไปทำการซิยาเราะฮ์อิมามฮุเซน (อ.) ในวันพิเศษต่างวๆ เช่น วันอาชูรอ[37] วันอัรบาอีน[38] และวันที่ 15 ของเดือนชะอ์บาน[39] เป็นสาเหตุที่ทำให้มีบรรดาผู้แสวงบุญจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าว[40] ตามหลักนิติศาสตร์ของชีอะฮ์ ได้กำหนดหลักปฏิบัติที่เฉพาะสำหรับฮะรัมและดินกัรบะลาของอิมามฮุเซน (อ.) อีกด้วย [41]

ฮะรัมอิมามฮุเซน (อ.) ถูกทำลายหลายครั้ง โดยฝ่ายตรงข้ามชีอะฮ์ รวมทั้งเหล่าคอลีฟะฮ์ของราชวงศ์อับบาซียะฮ์และพวกวะฮาบีย์ หนึ่งในการทำลายฮะรัมของอิมามฮุเซน (อ.) ครั้งแรกเกิดขึ้นในช่วงยุคสมัยของมุตะวักกิล อับบาซี [42] และครั้งสุดท้าย กล่าวคือ ในปี 1411 ฮิจเราะฮ์ศักราช โดยรัฐบาลบาธของอิรัก ในเหตุการณ์อินติฟาเฎาะฮ์ในเดือนชะอ์บาน [43]

ฮะรัมท่านอับบาส (อ.) ซึ่งอยู่ห่างจากฮะรัมอิมามฮุเซน ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 378 เมตร โดยบรรดาผู้แสวงบุญเมืองกัรบะลา นอกจากการซิยาเราะฮ์อิมามฮุเซน (อ.) แล้ว พวกเขายังทำการซิยาเราะฮ์ฮะรัมท่านอับบาส (อ.) อีกด้วย [44] บรรดาชีอะฮ์ต่างๆ ได้จัดงานไว้อาลัยในวันตาซูอา ณ ฮะรัมท่านอับบาส (อ.) โดยในปฏิทินของชีอะฮ์ ระบุว่า วันตาซูอา ถือเป็นวันของท่านอะบุลฟัฎล์ อับบาส (อ.)[45]

เมืองกัรบะลาอ์ นอกเหนือจาก การมีอยู่ของฮะรัมอิมามฮุเซน (อ.) และฮะรัมท่านอับบาสแล้ว ยังมีสถานที่ในการแสวงบุญอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์กัรบะลาอ์ กระโจม เนินซัยนะบียะฮ์ และ สถานที่ฝังศพของฮุร บิน ยะซีด ริญาฮี อยู่ในหมู่พวกเขา ใกล้กับฮะรัมของอิมามฮุเซน (อ.) มีมะกอมของอิมามศอดิก (อ.)และมะกอมของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ซึ่งตามวัฒนธรรมของชีอะฮ์ มีความให้เกียรติและยังถือเป็นสถานที่ในการแสวงบุญด้วยเช่นกัน [46]

เหตุการณ์ทางการเมืองและสังคมในช่วงสองศตวรรษล่าสุด

กัรบะลาอ์ได้เห็นถึงเหตุการณ์และสถานการณ์ความเคลื่อนไหวทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมอย่างมากมายในช่วงสองศตวรรษที่ผ่านมา

การโจมตีของลัทธิวะฮาบี

ในวันที่ 18 เดือนซุลฮิจยะห์ ฮ.ศ. 1216 กลุ่มวะฮาบีที่นำโดยอับดุลอาซิซ บิน ซะอูด เข้าสู่อิรักจากฮิญาซและโจมตีกัรบะลาอ์ พวกเขาเข้ามาในเมือง ผ่านย่านชุมชนคัยมะฮ์ และเริ่มปฏิบัติการสังหาร ปล้นสะดมทรัพย์สินของผู้คนและยึดของมีค่าในฮะรัมอิมามฮุเซน (อ.) ในวันนี้ ชาวเมืองกัรบะลาอ์จำนวนมากได้ไปซิยาเราะฮ์ฮะรัมอิมามอะลี (อ.) ในเมืองนะญัฟ ตามธรรมเนียมปกติ เนื่องในวันอีดเฆาะดีร ด้วยเหตุนีัเอง เมืองกัรบะลาอ์ จึงปราศจากผุ้ชายสำหรับการยืนหยัดต่อสู้ แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์รายงานว่า จำนวนเหยื่อของเหตุการณ์นี้ มีตั้งแต่ 1,000 ถึง 4,000 ราย ในเหตุการณ์นี้ได้สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อฮะรัมอิมามฮุเซน(อ.)[47]

การโจมตีของนาจิบ ปาชา

หลังจากที่ชาวกัรบะลาอ์ไม่ยอมรับการปกครองของออตโตมานในปี 1285 ฮ.ศ. นาจิบ ปาชา ผู้ปกครองออตโตมันในอิรัก ให้โอกาสชาวเมืองกัรบะลาอ์ สองสามวันในการยอมรับการปกครองของออตโตมานและยอมจำนนต่อพวกเขา หลังจากความล้มเหลวในการไกล่เกลี่ยของซัยยิดกาซิม รัชตี หนึ่งในนักวิชาการทางศาสนาที่อาศัยอยู่ในเมืองกัรบะลาอ์และเป็นผู้นำคนที่สองของลัทธิชัยคียะฮ์ เพื่อป้องกันไม่ให้พวกออตโตมานโจมตีเมืองและชาวกัรบะลาอ์ไม่ยอมแพ้ นาจิบ ปาชาจึงออกคำสั่งให้โจมตีกัรบะลา เหล่าทหารออตโตมันได้รับอนุญาตให้โจมตีสถานที่ทุกแห่ง ยกเว้น ฮะรัมอิมามฮุเซน (อ.) และฮะรัมท่านอับบาส (อ.) และบ้านของซัยยิดกาซิม รัชตี ชาวกัรบาลาบางคนไปหลบภัยในฮะรัมท่านอับบาส เพื่อไม่ให้ได้รับอันตราย ถึงกระนั้นก็ตาม สถานที่แห่งนี้ก็ไม่พ้นจากการรุกรานของพวกออตโตมาน ตามรายงานบางฉบับระบุว่า มีผู้เสียชีวิตประมาณ 10,000 คนในเหตุการณ์นี้ เหตุการณ์นี้จึงเป็นที่รู้จักในนามเหตุการณ์เฆาะดีร อัด-ดัม (แปลว่า เฆาะดีรแห่งเลือด)

การต่อสู้ต่อต้านกับพวกล่าอาณานิคม

ในช่วงความพ่ายแพ้ของจักรวรรดิออตโตมันและการปรากฏของอังกฤษในอิรักในปี 1917 ค.ศ. เมืองกัรบะลาอ์ ถือเป็นหนึ่งในศูนย์กลางหลักของการต่อสู้กับอังกฤษ ขบวนการ ค.ศ. 1920 อิรัก ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อการปฏิวัติ อัลอิชรีน ก่อตั้งขึ้นในเมืองกัรบะลาอ์ ภายใต้การนำของมูฮัมหมัดตะกี ชีรอซี การเคลื่อนไหวนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่อังกฤษไม่ได้ถอนตัวออกจากอิรักและเป็นเอกราชของประเทศนี้