โองการอิกมาล

จาก wikishia

โองการอิกมาล (ภาษาอาหรับ : آية الإكمال) เป็นส่วนหนึ่งของโองการที่สามของซูเราะฮ์ อัลมาอิดะฮ์ ซึ่งอัลลอฮ์ทรงทำให้ศาสนา อิสลาม เป็นศาสนาที่สมบูรณ์ด้วยโองการนี้ บรรดา ชีอะฮ์ เชื่อว่า จาก ริวายัต ที่รายงานจาก บรรดอะฮ์ลุลบัยต์ แห่งนะบูวัต(อ.) กล่าวว่า โองการนี้ถูกประทานลงมาในวันเฆาะดีร เกี่ยวกับเหตุการณ์ เฆาะดีร และความหมายของความสมบูรณ์ของศาสนาและ นิอ์มัต(ความโปรดปราน) คือ การประกาศตำแหน่ง วิลายัต(ผู้นำ)และความเป็นตัวแทน ศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) ของ อิมามอะลี(อ.) ในทางตรงกันข้าม ชาว อะฮ์ลิซซุนนะฮ์ เชื่อว่า โองนี้ถูกประทานลงมาในวัน อะรอฟะฮ์ และความหมายของความสมบูรณ์ของศาสนา คื อการอธิบายหลักการปฏิบัติทั้งหมดของอิสลาม มุรตะฎอ มุเฏาะฮะรีย์ ได้กล่าวเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างคำว่า อิกมาล และ อิตมาม ว่า อิตมาม ถูกนำมาใช้ในกรณีที่สิ่งนั้นมีความบกพร่อง แต่อิกมาล เป็นไปได้ว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่มีความถูกต้อง แต่ยังไม่สมบูรณ์ ขณะที่โองการอิกมาล คำสั่งให้ประกาศว่าอิมามอะลี เป็น อิมามัต (ตำแหน่งผู้นำ)ถือเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาและเป็นสิ่งที่ทำให้ศาสนานั้นมีความสมบูรณ์และยังเป็นสิ่งที่ทำให้สิ่งอื่นๆของศาสนาได้รับความสมบูรณ์อีกด้ง เพราะว่า จิตวิญญาณของศาสนา คือ ตำแหน่งวิลายัตและอิมามัต(ผู้นำ)

ความหมายของความสมบูรณ์ของศาสนา

หนังสือตัฟซีรได้อธิบายประโยคที่ว่า "ฉันได้ทำให้ศาสนาของเจ้านั้นสมบูรณ์ ในประเด็นต่างๆมากมายและบรรดานักตัฟซีรของชีอะฮ์และซุนนีมีทัศนะที่แตกต่างกันประเด็นนี้(16)" ขณะที่นักตัฟซีรชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ด้วยเหตุผลที่ว่า จากช่วงแรกและสุดท้ายของโองการกล่าวถึงหลักการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ พวกเขาจึงกล่าวว่า ความหมายของความสมบูรณ์ของศาสนา คือ การทำให้ศาสนาสมบูรณ์ด้วยความสมบูรณ์ของหลักการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ จาการประทานลงมาของโองการนี้ (17)

สถานภาพ

โองการอิกมาล เป็นส่วนหนึ่งของโองการที่สามของซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์(1) โองการถือเป็นหนึ่งในเหตุผลของการพิสูจน์ความเป็น อิมามัต (ผู้นำ)และ คอลีฟะฮ์ (ตัวแทน)ของ อิมามอะลี (อ.)(2) ในโองการกล่าวถึงสิ่งสำคัญสี่ประการ ซึ่้งมีดังนี้ การสิ้นหวังจากบรรดาผู้ปฏิเสธ ความสมบูรณ์ของศาสนา ความสมบูรณ์ของความโปรดปรานของพระเจ้า และการยอมรับอิสลาม เป็นศาสนาสุดท้ายของ พระองค์(3) บรรดาชีอะฮ์ เชื่อว่า ตามหลักฐานจาก ฮะดีษ ของอะฮ์ลุลบัยต์ กล่าวว่า ด้วยการประกาศตำแหน่งวิลายัตและตัวแทนของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ของอิมามอะลี (อ.)ในวันนี้ ได้ทำให้สิ่งต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้น(4)

เวลาของการประทานลงมา

บรรดามุสลิมเชื่อว่า โองการอิกมาลถูกประทานลงในช่วง ฮัจญ์ครั้งอำลา (ฮัจญะตุลวิดาอ์) ของศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) แต่ทว่าวันแห่งการประทานลงมานั้นมีทัศนะที่แตกต่างกัน(5) ริวายัต(6) ส่วนมากจาก บรรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ และ อิจมาอ์ (มติเอกฉันท์)ของชีอะฮ์ เชื่อว่า โองการอิกมาลถูกประทานลงมาในวันเฆาะดีรหรือหลังจากวันนั้นไม่นานนัก(7) ขณะที่นักวิชาการบางคนของชาว อะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ได้รายงานว่า การประทานลงมาของโองการอิกมาลในวันเฆาะดีรนั้นมีความอ่อนแอ(8) แต่ทว่า อัลลามะฮ์อะมีนี จากการตรวจสอบในสายรายงานของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ กล่าวว่า ด้วยมาตรฐานของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ริวายัตเกี่ยวกับโองการอิกมาลถูกประทานลงมาในวันเฆาะดีร เป็น มุวัษษัก (น่าเชื่อถือได้) (9) ตามแหล่งอ้างอิงของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ เช่น หนังสือตัฟซีรและประวัติศาสตร์ อิบนุกะษีร รายงานว่า โองการอิกมาลถูกประทานลงมาใน วันอะรอฟะฮ์(10) ขณะเดียวกัน ตามทัศนะทั้งสอง บางคนเชื่อว่า โองการอิกมาล ถูกประทานลงมาสองครั้งด้วยกัน ครั้งแรกในวันอะรอฟะฮ์ ซึ่ง ศาสดา มีความกังวลใจที่จะประกาศออกไป ด้วยเหตุนี้เอง จึงเรียกโองการนี้ว่า โองการตับลีฆ และ อัลลอฮ์ ทรงรับประกันว่าจะไม่เกิดอันตรายกับเขาและหลังจากนั้นโองการนี้ก็ถูกประทานลงมาในวันเฆาะดีร(11)

ตัวบทและคำแปล

الْیَوْمَ یَئِسَ الَّذینَ کَفَرُوا مِنْ دینِکُمْ فَلا تَخْشَوْهُمْ وَ اخْشَوْنِ اَلْیوْمَ أَکمَلْتُ لَکمْ دینَکمْ وَ أَتْمَمْتُ عَلَیکُمْ نِعْمَتی وَ رَضیتُ لَکُمُ الْإِسْلامَ دیناً
ความหมาย: วันนี้ เหล่าผู้ปฏิเสธต่างหมดหวังจากศาสนาของเจ้า(ในการทำลาย) ดังนั้นเจ้าอย่าได้หวาดกลัวพวกเขา แต่จงหวาดกลัวต่อฉัน(หากมีการฝ่าฝืน) วันนี้ ฉันได้ทำให้ศาสนาของเจ้าสมบูรณ์แล้วและฉันได้ทำให้นิอ์มัต(ความโปรดปราน)ของฉันสมบูรณ์ด้วยและข้าได้พอใจที่อิสลามนั้นเป็นศาสนาสำหรับเจ้า

สาเหตุของการประทานลงมา

จากแหล่งอ้างอิงของ ชีอะฮ์ สาเหตุของ การถูกประทานลงมา ของโองการอิกมาล คือ ใน เหตุการณ์เฆาะดีรคุม และการประกาศวิลายัตของอะมีรุลมุอ์มินีน อะลี(อ.) สำหรับบรรดามุสลิม(12) บรรดาชีอะฮ์เชื่อว่า ศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) หลังจากเสร็จสิ้นจากการทำ ฮัจญ์ครั้งสุดท้าย ระหว่างทางที่จะกลับยังเมือง มะดีนะฮ์ ได้รวมตัวบรรดามุสลิมในสถานที่หนึ่งซึ่งมีชื่อว่า เฆาะดีรคุม และศาสดา ผู้ทรงเกียรติได้ขึ้นกล่าว เทศนาธรรม และประกาศแนะนำ อะลี(อ.) ในฐานะตัวแทนของเขาและหลังจากการกล่าวเทศนาธรรม บรรดามุสลิมต่างก็เข้ามาให้ สัตยาบัน กับอิมามอะลี (อ.) หลังจากนั้นโองการอิกมาลจึงถูกประทานลงมา และถือว่า การประกาศดังกล่าวทำให้ศาสนาได้รับความสมบูรณ์ อัลลามะฮ์อะมีนี เขียนในหนังสืออัล เฆาะดีร และมีรฮามิด ฮุเซน เขียนในหนังสือ อะบะกอตุลอันวาร ด้วยการค้นคว้าจากแหล่งอ้างอิงของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ได้ยืนยันอย่างชัดเจนว่า ส่วนมากนั้นยอมรับและพิสูจน์ว่า โองการนี้ ถูกประทานลงมาให้กับอิมามอะลี (อ.) ในเหตุการณ์เฆาะดีร(14)