อิบรอฮีม(ศาสดา)

จาก wikishia
(เปลี่ยนทางจาก อิบรอฮีม)

ศาสดาอิบรอฮีม (ภาษาอาหรับ: النبي إبراهيم عليه السلام) (อับราฮัม)หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม อิบรอฮีม เคาะลีลุลลอฮ์ เป็นศาสดาองค์ที่สองในบรรดาศาสดาอูลุลอัซม์

ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ถูกแต่งตั้งเป็นศาสนทูตใน เมโสโปเตเมีย และ นัมรูด เป็นผู้ปกครองในยุคสมัยนั้น ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ได้เชิญชวนประชาชนในภูมิภาคนั้นให้ศรัทธาในหลักเตาฮีด(ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า) ซึ่งมีเพียงไม่กี่คนที่ตอบรับคำเชิญชวนของเขา และเนื่องจากเขาสิ้นหวังจากความศรัทธาของพวกเขา เขาจึงอพยพไปยังปาเลสไตน์

ตาม โองการ อัลกุรอาน กลุ่มชนที่บูชาเจว็ด ได้จับตัวศาสดาอิบรอฮีม (อ.) โยนเข้าไปในกองไฟ เนื่องจากเขาได้ทำลายรูปปั้นเจว็ดของพวกเขา แต่ด้วยพระบัญชาของพระเจ้าทรงทำให้ไฟนั้นเย็นลงและศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ได้ออกจากมันอย่างปลอดภัย

อิสมาอีล และ อิสฮาก เป็นบุตรทั้งสองของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) และเป็นผู้สืบทอดของเขา เชื้อสายของ บะนีอิสรออีล ซึ่งมี บรรดาศาสดา จำนวนมากมาจากเผ่าพันธุ์นี้ และนอกจากนี้ ท่านหญิงมัรยัม มารดาของ ศาสดาอีซา ก็เป็นผู้สืบเชื้อสายที่มาจากศาสดาอิสฮาก จนถึงศาสดาอิบรอฮีม และศาสดาของ อิสลาม ก็เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายที่มาจากศาสดาอิสมาอีล บุตรชายอีกคนหนึ่งของศาสดาอิบรอฮีม

อัลกุรอาน ได้กล่าวว่า ศาสดาอิบรอฮีม (อ.)เป็นผู้สร้างวิหาร อัลกะอ์บะฮ์ และเขายังเชิญชวนประชาชนให้ประกอบพิธีฮัจญ์ ศาสดาอิบรอฮีม จึงถูกเรียกว่า เคาะลีลุลลอฮ์ (มิตรของพระเจ้า)

ตามโองการอัลกุรอาน ระบุว่า หลังจากที่ศาสดาอิบรอฮีมได้ผ่านการทดสอบอันยิ่งใหญ่ด้วยการเชือดบุตรชายของเขาตามพระบัญชาของพระเจ้า เขาก็ได้รับตำแหน่งอิมามะฮ์(ผู้นำ) หลังจากที่ก่อนหน้านี้ เขานั้นเป็นศาสนทูตของพระองค์

ชีวประวัติ

การถือกำเนิดและการเสียชีวิต

บรรดานักวิจัยประวัติศาสตร์ส่วนมาก ถือว่า ศตวรรษที่ 20 ก่อนคริสต์ศักราช เป็นปีแห่งการถือกำเนิดของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) และบางคนได้กล่าวถึงตัวเลขที่แม่นยำยิ่งขึ้นของปี 1996 ปีก่อนคริสตกาล นักประวัติศาสตร์บางคนยังถือว่า วันแรกของเดือนซุลฮิจญะฮ์ เป็นวันถือกำเนิดของเขา [3]‎

ตามแหล่งอ้างอิงของอิสลาม มีการกล่าวถึงเมืองหลายแห่งว่า เป็นบ้านเกิดของศาสดาอิบรอฮีม ในหนังสือประวัติศาสตร์เฏาะบะรี เขียนว่า บางพื้นที่ของบาบิโลนหรือกูษาในอิรัก ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาการปกครองของนัมรูด ‎ถือเป็นบ้านเกิดของศาสดาอิบรอฮีม ในขณะที่บุคคลอื่น กล่าวว่า บ้านเกิดของเขา คือ อัลวัรกา (อูรุก) หรือฮัรรอน และกล่าวอีกว่า หลังจากนั้น บิดาของเขาได้พาเขาไปยังบาบิโลนหรือกูษา [4] อิมามศอดิก (อ.)กล่าวในริวายะฮ์ว่า กูษา ถูกเรียกว่า เป็นบ้านเกิดของศาสดาอิบรอฮีมและสถานที่ปกครองของนัมรูด [5] อิบนุ บะฏูเฏาะฮ์ นักเดินทางแห่งศตวรรษที่ 6 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช ได้กล่าวถึง สถานที่ซึ่งเรียกว่า บุรศ์ อยู่ระหว่างเมืองฮิลละฮ์และกรุงแบกแดดในอิรักว่า เป็นสถานที่ถือกำเนิดของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) (6)‎

ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) มีอายุ 179 หรือ 200 ปี และเสียชีวิตในเมืองเฮบรอนในปาเลสไตน์ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า อัลเคาะลีล [7]‎

บิดาของศาสดาอิบรอฮีม

เกี่ยวกับชื่อของบิดาของศาสดาอิบรอฮีม มีความแตกต่างกัน ในพันธสัญญาเดิม ชื่อนี้ถูกบันทึกว่า ตะเราะฮ์[8] ซึ่งในแหล่งอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ เรียกว่า ตารุค [9] หรือ ตาเราะฮ์[10] ในอัลกุรอานกล่าวว่า: และครั้นเมื่ออิบรอฮีมมได้กล่าวกับบิดาของเขา อาซัร[11] บนพื้นฐานของโองการนี้ นักตัฟซีรชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์บางคน ถือว่า อาซัร ‎เป็นบิดาของศาสดาอิบรอฮีม [22] แต่บรรดานักตัฟซีรของชีอะฮ์ คำว่า อับ ในโองการนี้ไม่ได้หมายถึงบิดา [13] โดยพวกเขากล่าวว่า คำว่า อับ ในภาษาอาหรับ นอกจากให้ความหมายว่า บิดาแล้ว ยังให้ความหมายว่า ลุง ปู่ ผู้ปกครอง ‎ฯลฯ ด้วยเช่นกัน อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี กล่าวในหนังสืออัลมีซานว่า : อาซัรในโองการนี้ไม่ใช่บิดาที่แท้จริงของศาสดาอิบรอฮีม แต่เนื่องจากลักษณะและตำแหน่งบางประการที่มีอยู่ในตัวเขา เขาจึงถูกเรียกว่า เป็นบิดา ดังเช่นที่ ‎เขานั้นเป็นอาของศาสดาอิบรอฮีม และจากมุมมองทางภาษาของคำว่า บิดา (อับ) ยังถูกเรียกว่า ปู่ ลุง และพ่อเลี้ยงอีกด้วย [ 14] ศาสดาอิบรอฮีม เรียก อาซัรว่าบิดา แต่เขาไม่ใช่บิดาที่แท้จริงของเขา เขาจึงออกห่าง [15]‎

ตามรายงานจากแหล่งอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ ในปีที่ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ถือกำเนิด นัมรูดได้ออกคำสั่งให้สังหารทารกทุกคนที่เกิดมา เพราะว่า นักโหราศาสตร์ทำนายว่า ในปีนี้จะมีเด็กทารกคนหนึ่ง ซึ่งจะต่อต้านศาสนาของนัมรูดและเหล่าสาวกของเขาและทำลายรูปปั้น ด้วยเหตุนี้เอง มารดาของศาสดาอิบรอฮีมด้วยความหวาดกลัวต่อพวกนัมรูด จึงนำเขาไปไว้ในถ้ำใกล้บ้านของนาง และพาเขาออกจากถ้ำ หลังจากที่ผ่านไปสิบห้าเดือนในช่วงกลางคืน[16]‎

การสมรสและบรรดาบุตร

ภรรยาคนแรกของศาสดาอิบรอฮีม(อ.) คือ ท่านหญิงซาราห์(ซาเราะฮ์) และตามรายงานจากคัมภีร์เตารอต(โตราห์) ‎ศาสดาอิบรอฮีมแต่งงานกับท่านหญิงในเมืองอูรของชาวเคลเดีย (17) ตามรายงานของเดห์โคดาในพจนานุกรมของเขา ระบุว่า อูร หรือ อูร์ หรือในคัมภีร์โตราห์ อูรของชาวเคลเดีย เป็นเมืองและดินแดนโบราณแห่งซูเมอร์ทางตอนใต้ของบาบิโลน เมืองนี้อยู่ทางตอนใต้ของอิรัก ใกล้สถานีรถไฟในปัจจุบัน ระหว่างเมืองอัลบัศเราะฮ์และกรุงแบกแดด และเป็นศูนย์กลางที่สำคัญทางวัฒนธรรมของสุเมเรียน และตามรายงานของคัมภีร์โตราห์ เมืองนี้เป็นบ้านเกิดของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ชื่อของเมืองที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในสมัยโบราณกาล ในศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล และหลังจากนั้นก็ถูกฝังกลบอยู่ใต้ดินและทราย และถูกลืมเลือน และถูกพบที่ตั้งของเมืองในศตวรรษที่ ‎‎19 [18] สิ่งที่ปรากฏจากคัมภีร์โตราห์ ก็คือ ท่านหญิงเป็นน้องสาวต่างมารดาของศาสดาอิบรอฮีม (19) แต่ตามรายงานจากริวายะฮ์ของชีอะฮ์ ระบุว่า ท่านหญิงซาราห์เป็นบุตรสาวของป้าของศาสดาอิบรอฮีมและเป็นน้องสาวของศาสดาลูฏ (อ.) (20) ตามที่กล่าวไว้ หนึ่งในริวายะฮ์เหล่านี้ คือ ศาสดาอิบรอฮีม อ.) แต่งงานกับท่านหญิงที่เมืองกูษา และท่านหญิงเป็นเจ้าของทรัพย์สินจำนวนมาก (ที่ดินและปศุสัตว์) ซึ่งหลังจากการแต่งงานของกับศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ทรัพย์สินทั้งหมดได้เข้ามาอยู่ในความครอบครองของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) และเขาได้ทำให้มากเพิ่มขึ้น ในลักษณะที่ไม่มีผู้ใดในพื้นที่อยู่อาศัยของเขา มีทรัพย์สินและความมั่งคั่งมากเท่ากับเขา [21]‎

ศาสดาอิบรอฮีม ไม่มีบุตรจากท่านหญิงซาราห์ ด้วยเหตุนี้เอง ท่านหญิงซาราห์จึงได้ยก ฮาญัร ซึ่งเป็นสาวใช้ของนางให้เขา และศาสดาอิบรอฮีม ก็มีบุตรชายชื่อ อิสมาอีล จากท่านหญิงฮาญัร [22] และหลังจากนั้น หลายปีต่อมา ‎ท่านหญิงฮาญัรก็ให้กำเนิดบุตรอีกคนหนึ่ง ซึ่งมีชื่อว่า อิสฮาก โดยเขาถือกำเนิดหลังจากอิสมาอีล ประมาณ 5 หรือ ‎‎13 ปี [23] ตามบางรายงาน เมื่ออิสฮากถือกำเนิด ศาสดาอิบรอฮีมมีอายุมากกว่า 100 ปี และท่านหญิงซาราห์มีอายุ 90 ‎ปี [24] และอีกรายงานหนึ่ง ระบุว่า อิสฮาก ถือกำเนิดหลังจากอิสมาอีล 30 ปี ขณะที่ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) มีอายุ 120 ‎ปีในขณะนั้น[25]‎

กล่าวว่ากันว่า หลังจากการถึงแก่กรรมของท่านหญิงซาราห์ ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ก็ได้แต่งงานกับผู้หญิงอีกสองคน ‎คนหนึ่งมีบุตรชายด้วยกัน 4 คน อีกคนหนึ่งมีบุตรชายด้วยกันอีก 7 คน และจำนวนบุตรทั้งหมดของเขาจึงมีทั้งหมด 13 คน [26] มาซีย์ ซุมรอน ซัรฮัจญ์ ซะบัก จากหญิงที่ชื่อว่า ก็อนฏูรอ และนาฟิซ มัดยัน กีชาน ชะรูค อะมีม ลูฏ และยักชาน จากหญิงที่มีชื่อว่า ฮะญูนีย์ [27]‎

อิบรอฮีม (อ.) ในอัลกุรอาน

อัลกุรอานได้กล่าวถึงอิบรอฮีม 69 ครั้ง [28] ซูเราะฮ์ที่ได้รับการตั้งชื่อเขา ตามเรื่องราวการดำเนินชีวิตของอิบรอฮีม ‎‎[29] อัลกุรอาน กล่าวถึงอิบรอฮีม รวมทั้งความเป็นศาสดาของเขาและการเรียกร้องให้นับถือพระเจ้าองค์เดียว(เตา‎ฮีด) ความเป็นอิมามะฮ์ (ผู้นำ)ของเขา การเชือดบุตร ปาฏิหาริย์ในการทำให้นกสี่ตัวกลับมามีชีวิตอีกครั้งหลังจากที่พวกมันตายไปและการทำให้ไฟมีความเย็นลง

ความเป็นศาสดา ผู้นำและเคาลีลุลลอฮ์

ในหลายโองการของอัลกุรอาน มีการกล่าวถึงความเป็นศาสดาของอิบรอฮีมและการเชิญชวนของเขาไปสู่การนับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียว ( เตาฮีด ) [30] นอกจากนี้ ในโองการที่ 35 ของซูเราะฮ์อัลอะฮ์ก็อฟ ถือว่า ศาสดาอิบีรอฮีม ‎เป็นหนึ่งในบรรดาศาสดาอุลูลอัซม์ [30] และตามริวายะฮ์ รายงานว่า อิบรอฮีม เป็นหนึ่งในนั้นและเป็นศาสดาองค์ที่สอง หลังจากศาสดานูฮ์ (โนอาห์) (อ. ) [31] ตามโองการที่ 124 ของซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ ระบุว่า พระเจ้าทรงแต่งตั้งศาสดาอิบราฮิม (อ. ) ให้ดำรงตำแหน่งอิมามะฮ์ (ผู้นำ)หลังจากการทดสอบหลายครั้งด้วยกัน อัลลามะฮ์ฏอบาฏออี กล่าวว่า ตำแหน่งของอิมามะฮ์ในโองการนี้ หมายถึง การชี้นำภายใน เป็นตำแหน่งที่จะเข้าไปถึงต้องมีความสมบูรณ์แบบที่มีอยู่และสถานะทางวิญญาณพิเศษยิ่ง หลังจากผ่านการต่อสู้อย่างมากมาย [32]‎

ตามโองการในอัลกุรอาน ระบุว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงคัดเลือกศาสดาอิบรอฮีมให้เป็นคอลีล (มิตร) (33)ด้วยเหตุนี้เอง ‎เขาจึงถูกตั้งฉายานามว่า เคาะลีลุลลอฮ์ ตามริวายะฮ์ในหนังสืออิละลุชชะรออิย์ รายงานว่า การสุญูดอย่างมากมาย ‎การไม่ปฏิเสธความต้องการของผู้อื่น และไม่ร้องขอจากผู้อื่นที่ไม่ใช่พระเจ้า การให้อาหารและการอิบาดะฮ์ในยามกลางคืน เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้พระผู้เป็นเจ้าทรงเลือกเขาให้เป็นเคาะลีล [34 ]‎

อิบรอฮีม เป็นบิดาของบรรดาศาสดา

ตรงตามอัลกุรอาน อิบรอฮีม เป็นบรรพบุรุษของบรรดาศาสดาจำนวนหนึ่ง หลังจากเขา [35] อิสฮาก บุตรชายของเขา เป็นบรรพบุรุษของบะนีอิสราเอล ซึ่งมีบรรดาศาสดา เช่น ยะอ์กูบ ยูซุฟ ดาวูด สุไลมาน อัยยูบ ฮารูน และบรรดาศาสดาคนอื่นๆจากบะนีอิสรออีล [ 36]‎

นอกเหนือจากนี้ เชื้อสายของศาสดาอีซา โดยผ่านทางมารดาของเขา ท่านหญิงมัรยัม (อ.) ไปถึง ยะอ์กูบ บุตรชายของอิสฮาก [37] ตามริวายะฮ์ของอิสลามรายงานว่า เชื้อสายของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) มาจากอิสมาอีล บุตรชายอีกคนของศาสดาอิบรอฮีม ด้วยสาเหตุนี้ เขาจึงถูกเรียกว่า อะบูลอัมบิยาอ์ (บิดาของบรรดาศาสดา) [39]‎

ปาฏิหาริย์

ตามโองการอัลกุรอาน ระบุว่า การทำให้ไฟมีความเย็นและการคืนชีพของนกทั้งสี่ตัว ถือเป็นปาฏิหาริย์ของศาสดาอิบรอฮีม (อ.)‎

  • การทำให้ไฟมีความเย็น: ตามโองการที่ 57 จนถึง 70 จากซูเราะฮ์อัลอัมบิยาอ์ ระบุว่า ศาสดาอิบรอฮีมได้ทำลายรูปปั้น ‎หลังจากที่เขาเห็นว่า กลุ่มผู้คนของเขาไม่ได้หยุดในการบูชารูปปั้น และถือว่า การกระทำนี้เป็นของรูปปั้นตัวใหญ่ ‎และกล่าวว่า หากรูปปั้นนั้นพูดได้ก็จงถามมัน เหล่าพวกที่เคารพรูปปั้นก็หยุดในการใช้เหตุผลของเขา แต่ก็ไม่ได้หยุดความเชื่อ พวกเขาจึงจับตัวของอิบรอฮีมโยนลงไปในกองไฟ เพราะเขาได้ทำลายรูปปั้นของพวกเขา แต่ไฟก็ดับลงตามพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า [40]‎
  • การฟื้นคืนชีพของนกสี่ตัว: ตามโองการที่ 260 จากซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ ระบุว่า เพื่อตอบสนองต่อคำร้องขอของศาสดาอิบราฮีมที่ต้องการเห็นสิ่งที่เสียชีวิตกลับมามีชีวิตอีกครั้ง พระผู้เป็นเจ้าจึงทรงสั่งให้เขาเชือดนกทั้งสี่ตัวและผสมพวกมันเข้าด้วยกันและวางไว้บนภูเขาหลายลูก พระองค์ทรงกระทำการงานนี้แล้ว จึงทรงเรียกนก ทั้งหมดและทำให้พวกมันมีชีวิตขึ้นมาและกลับไปหายังพระองค์

การอพยพ

ในโองการที่ 71 ของซูเราะฮ์อัลอัมบิยาอ์ มีการกล่าวถึงศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ว่า : เราได้พาเขาไปพร้อมกับลูฏให้ไปยังดินแดนที่ถือว่าเป็นเกียรติแก่ชาวโลก [41] หนังสือตัฟซีรบางเล่มเขียนว่า แผ่นดินที่ถูกกล่าวในโองการนี้ คือ ‎แผ่นดินชาม (ซีเรีย) [42]หรือปาเลสไตน์และบัยตุลมุก็อดดัซ(เยรูซาเล็ม) (43) ในริวายะฮ์จากอิมามศอดิก (อ.) ได้แนะนำว่า บัยตุลมุก็อดดัซ เป็นจุดหมายปลายทางในการอพยพของศาสดาอิบรอฮีม (อ.)‎

การสร้างวิหารกะอ์บะฮ์

ในโองการที่ 127 จากซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ ระบุว่า ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ได้สร้างกะอ์บะฮ์ด้วยความช่วยเหลือของอิสมาอีล บุตรชายของเขา [45] และตามพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า เขาได้เชิญชวนผู้คนเข้าร่วมประกอบพิธีฮัจญ์ [46] ตามบางริวายะฮ์ รายงาน กะอ์บะฮ์ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกโดยศาสดาอาดัม (อ.) และศาสดาอิบรอฮีมก็บูรณะมันขึ้นมาใหม่ [47]‎

การเชือดบุตร

การทดสอบอันศักดิ์สิทธิ์ประการหนึ่งของศาสดาอิบรอฮีม ก็คือ เขาได้รับมอบหมายให้สังหารบุตรชายของเขา ตรงตามอัลกุรอาน รายงานว่า ศาสดาอิบรอฮีมได้ฝันว่า เขากำลังสังหารบุตรชายของเขา เขาจึงหารือเรื่องนี้กับบุตรชายของเขา และบุตรชายของเขาขอให้เขาปฏิบัติตามพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า แต่เมื่อศาสดาอิบรอฮีมวางบุตรชายบนแท่นเชือดเพื่อสังหาร ก็มีเสียงร้องเรียกว่า โอ้อิบรอฮีมเอ๋ย เจ้าได้กระทำตามความฝันของเจ้าสำเร็จแล้ว นี่คือวิธีที่เราจะตอบแทนบรรดาผู้ที่กระทำความดี ซึ่งการมีเจตนาดีและบริสุทธิ์แทนที่การกระทำ) แท้จริงการทดสอบนี้ชัดเจนแล้ว และเราได้งดเว้นบุตรของเจ้า จากการเสียสละอันใหญ่หลวง (จากการถูกเชือด) (48)‎

อัลกุรอานไม่ได้กล่าวถึงชื่อของบุตรชายของอิบรอฮีมที่ได้รับคำสั่งให้สังหารเขา ในเรื่องนี้ มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันระหว่างทั้งชาวชีอะฮ์และชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ บางคนบอกว่า เป็นอิสมาอีล ส่วนบุคคลอื่นๆ บอกว่า เป็นอิสฮาก [49] เชคฏูซี เชื่อว่า จากริวายะฮ์ของชีอะห์นั้นเป็นที่ชัดเจนว่า เป็นอิสมาอีล [50] มุลลา ศอลิฮ์ มาซันดะรอนีเขียนในหนังสือชะเราะฮ์ฟุรูอุลกาฟีย์ ถือว่า ความคิดเห็นนี้ เป็นที่รู้จักกันในหมู่นักวิชาการของชีอะฮ์ [51] ] ในบทซิยาเราะฮ์ฆุฟัยละฮ์(บทซิยาเราะฮ์สำหรับอิมามฮุเซน (อ.) ในวันที่ 15 เดือนรอญับ) กล่าวว่า ขอสันติสุขพึงมีแด่ โอ้ผู้เป็นทายาทของอิสมาอีล ผู้พลีชีพแห่งพระเจ้า[ 52]‎

อิบรอฮีมในพันธสัญญาทั้งสอง

ในพันธสัญญาเดิม มีการกล่าวถึงศาสดาอิบรอฮีม เป็นครั้งแรกด้วยชื่อ อับราม (53) แต่ในบทที่ 17 กล่าวไว้ว่า แต่บัดนี้ พันธสัญญาของเราอยู่กับเจ้า และเจ้าจะเป็นบิดาของประชาชาติจำนวนมากมาย และชื่อของเจ้าจะถูกเรียกหลังจากนี้ว่า อับราม แต่ทว่า ชื่อของเจ้าคือ อิบรอฮีม เพราะเราได้ให้เจ้าเป็นบิดาของหลายประชาชาติ (54)‎

ตามรายงานจากพันธสัญญาเดิม อิบรอฮีมเกี่ยวข้องกับชนเผ่าแอราเมียนที่อพยพมาจากคาบสมุทรอาหรับไปยังฝั่งยูเฟรติสทางตอนเหนือของซีเรีย (55) ตามบทที่ 11 ของหนังสือปฐมกาล ทาราห์ บิดาของอิบรอฮีม พร้อมด้วยอิบรอฮีม ซาราห์ และลูฏ เดินทางมาจากเมืองอูร์ของชาวเคลเดียไปยังคานาอันและเมื่อเขาไปถึงฮัรรอน เขาก็หยุดอยู่ที่นั่นและเสียชีวิต ณ ที่นั่น (56) บางคนจึงสรุปจากเรื่องนี้ว่า บ้านเกิดของอิบรอฮีม คือเมืองอูรของชาวเคลเดีย อย่างไรก็ตาม ในตอนต้นของบทที่ 12 มีการแนะนำฮัรรอนว่า เป็นบ้านเกิดของอิบรอฮีมและดินแดนของบิดาของเขา[57]‎

ตรงตามคัมภีร์โตราห์ อิบรอฮีมอาศัยอยู่ที่เมืองฮัรรอน จนกระทั่งเขามีอายุ 75 ปี หลังจากนั้น เขาก็เดินทางจากเมืองฮัรรอนไปยังคานาอันและพาซาราห์ภรรยาของเขา หลานชายของเขา ลูฏ และชาวเมืองฮัรรอนบางคนไปด้วย (58) ‎หลังจากนั้น เนื่องจากเกิดความอดอยาก พวกเขาจึงต้องอพยพไปยังอียิปต์ [59] แต่หลังจากนั้นไม่นานพวกเขาก็กลับมาที่เบธอีล [60] และต่อมาย้ายไปที่เฮบรอน (อัลเคาะลีล) และอาศัยอยู่ที่นั่น [61]‎

ในโตราห์ ยังรายงานอีกว่า เมื่ออิบรอฮีมเดินทางเข้าสู่อียิปต์ เขาได้แนะนำซาราห์ภรรยาของเขาว่า เป็นน้องสาวของเขา เพื่อปกป้องตนเองจากอันตรายของชาวอียิปต์ที่ต้องการภรรยาของเขา ด้วยเหตุนี้เอง ฟาโรห์แห่งอียิปต์ ผู้หลงใหลในความงามของนาง จึงรับนางมาเป็นมเหสีโดยไม่มีอุปสรรคใดๆ และด้วยความงดงามของนาง ฟาโรห์จึงกระทำดีต่ออิบรอฮีม แต่พระผู้เป็นเจ้าทรงทำให้ฟาโรห์และครอบครัวของเขาประสบภัยพิบัติร้ายแรง [62] อัลลามะฮ์ฏอบาฏอบาอี ถือว่า เรื่องราวของอิบรอฮีมส่วนนี้ในโตราห์ โดยอ้างถึงความไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งศาสดาและจิตวิญญาณแห่งความยำเกรง พร้อมกับความขัดแย้งอื่น ๆ ของโตราห์ในเรื่องราวของอิบรอฮีม ‎‎(อ.) ถือว่า นี่เป็นสาเหตุของการบิดเบือนของโตราห์[63]‎

พันธสัญญาเดิม ได้แนะนำอิสฮาก (อ.) ในฐานะเป็นบุตรชายของผู้ถูกเชือดแห่งอิบรอฮีม (64) ในบางกรณี ถือเป็นบุตรชายคนเดียวที่ถูกเชือดของอิบรอฮีม (65) นอกเหนือจากนี้ ยังมีการกล่าวถึงในโตราห์ด้วยว่า พระเจ้าทรงทำพันธสัญญากับศาสดาอิบรอฮีมในคานาอันว่า เขาจะเดินทางจากแม่น้ำไนล์ถึงยูเฟรติส เพื่อลูกหลานของเขาจะมาเชื้อสายของอิสฮาก [66]‎

ในพันธสัญญาใหม่ มีการกล่าวถึงอิบรอฮีมใน 72 แห่ง และเชื้อสายของพระเยซูคริสต์เชื่อมโยงกับเขาโดยผ่านทางอิสฮาก (อ.) โดยมีสื่อกลาง 39 คน (มัทธิว 1:1-7) หรือสื่อกลาง 54 คน (ลูกา 3:24-25) . . ความศรัทธาของอิบรอฮีมถูกกล่าวถึงในพันธสัญญาใหม่ว่า เป็นความศรัทธาที่สูงที่สุด เพราะเขาอาศัยอยู่อย่างคนแปลกหน้าในปาเลสไตน์ - ‎ซึ่งไม่ใช่ดินแดนของเขา - ตามพระบัญชาของพระเจ้าและพาบุตรไปยังแท่นเชือด (67)‎

ภาพลักษณ์ของศาสดาอิบรอฮีมในอิรฟานอิสลาม‏

จากทัศนะของบรรดาอาริฟของอิสลามหลายคน ถือว่า ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) เป็นนักจาริกที่เข้าถึงความสมบูรณ์แบบระดับสูงสุดบนเส้นทางภายในและผ่านสถานภาพต่างๆของการจาริก อับดุลกะรีม กุชัยรี อาริฟและนักตัฟซีรอัลกุรอาน ในศตวรรษที่ 4 และ 5 ถือว่า ความฝันแห่งมะลากูตของศาสดาอิบรอฮีม เป็นแรงดึงดูดก่อนที่จะเข้าสู่การจาริก‎[68] และรอชีดุดดีน มัยบุดี เชื่อว่า แรงดึงดูดนี้ ทำให้เขามีความหลงใหลกับการตะญัลลีย์ทั้งหมด และการสำแดงความเป็นจริง แต่ด้วยความฝันทำให้การสำแดงนี้ความไม่แน่นอน ซึ่งเขาจึงตระหนักว่าสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถที่จะเป็นความรักที่สมบูรณ์ได้ [69]‎

ในทัศนะของบรรดาอาริฟ เรื่องเล่าของศาสดาอิบรอฮีมในอัลกุรอาน เช่น การเย็นลงของไฟ การเชือดอิสมาอีล การใช้หมู่ดวงดาว การเรียกร้องให้สิ่งที่เสียชีวิตฟื้นคืนชีพอีกครั้ง และการสังหารนก ฯลฯ เต็มไปด้วยการชี้นำทางด้านอิรฟานและการตีความทางด้านภายใน (70) ยกตัวอย่าง เช่น ในประเด็นของการผินหลังให้กับดวงดาว ดวงจันทร์ ‎และดวงอาทิตย์ และการให้ความสนใจต่อพระเจ้า โดยศาสดาอิบรอฮีม (อ.) กุชัยรี ถือว่า ดวงดาวคือแสงสว่างแห่งสติปัญญา ดวงจันทร์คือ ความรู้ และกิ่งก้านแห่งหลักปฏิบัติของพระเจ้า และดวงอาทิตย์ ถูกตีความว่า เป็นอิรฟาน ‎‎[71] อับดุรร็อซซาก กาชานี ถือว่า ทั้งสามระดับขั้น นัฟซู หัวใจและวิญญาณ ซึ่งได้รับด้วยการมีมะอ์ริฟัตในการขจัดระดับขั้นเหล่านี้จนถึงสถานภาพแห่งวะฮ์ดะฮ์ [72]‎

ชะบิสทะรี แต่งบทกวีเกี่ยวกับเรื่องนี้:‎

หมู่นภา ด้วยจันทราและสุริยา ที่ยิ่งใหญ่ไพศาล เป็นประสาทสัมผัส การจินตนาการ และสติปัญญา เสมือนดั่งเป็นแสงที่สว่างไสว[73]‎

อิบนุอะรอบี ได้ตีความว่า ดวงดาว ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ที่ศาสดาอิบรอฮีมปฏิเสธในการเป็นพระเจ้าของสิ่งเหล่านี้ (ไม่ใช่เพราะรูปร่างของมัน) แต่เป็นมิติทางจิตวิญญาณและแสงสว่างของมัน[74]‎

ผลงานประพันธ์

หนังสือวีรบุรุษแห่งเตาฮีด(กะฮ์เรมอเนเตาฮีด) การอธิบายโองการจากอัลกุรอานที่เกี่ยวข้องกับศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ‎เขียนโดยนาศิร มะการิม ชีรอซี ดำเนินการจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มัดระซะฮ์อิมามอะลี บินอะบีฏอลิบ (อ.) อธิบายถึงชีวิต แนวความคิด และการกระทำของเขาใน 224 หน้า‏ [75]‏



เชิงอรรถ

บรรณานุกรม