อัยนุน นะญิส

จาก wikishia

อัยนุน นะญิส (ภาษาอาหรับ: عين النجاسة) หมายถึง สิ่งที่ตัวของมันเองเป็น นะญิส (สิ่งสกปรก) และในทัศนะของอิสลาม ไม่สามารถที่จะทำความ สะอาด มันได้ ขณะที่ตามทัศนะของนักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ให้ความเห็นว่า หากอัยนุน นะญิส สัมผัสกับสิ่งที่สะอาดและสิ่งหนึ่งสิ่งใดมีความเปียกชื้น จะทำให้สิ่งที่สะอาดนั้นเป็นนะญิสด้วยเช่นกัน ในทัศนะของศาสนาอิสลาม ถือว่า เลือด, ปัสสาวะ, อุจจาระ, อสุจิ, ซากศพ, สุนัข, สุกร ,กาฟิร (ผู้ปฏิเสธศรัทธา), สุรา, และ เบียร์ เป็นนะญิส (สิ่งสกปรก)

ความหมาย

ในทัศนะของบรรดานักนิติศาสตร์ ให้ความเห็นว่า อัยนุน นะญิส โดยตัวของมันเองนั้นเป็นนะญิส (สิ่งสกปรก) และตามทัศนะอิสลาม ให้ความเห็นว่า ไม่สามารถที่จะทำความสะอาดมันได้(1) ในฟิกฮ์ (นิติศาสตร์) ชีอะฮ์ ถือว่า 10 สิ่งที่ตัวของมันเองเป็นนะญิส ซึ่งเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า อะอ์ยาน นะญิส หรือสิ่งนะญิสทั้ง 10 ประการ ได้แก่ : เลือด, ปัสสาวะ ,อุจจาระ ,อสุจิ ,ซากศพ, สุนัข, สุกร, กาฟิร ,สุรา ,เบียร์ (2) ขณะเดียวกัน ซัยยิดมุรตะฎอ หนึ่งในนักนิติศาสตร์ ผู้ยิ่งใหญ่ของชีอะฮ์ในศตวรรษที่ 5 เชื่อว่า ชิ้นส่วนของซากศพที่มาจากสุนัขและสุกร เนื่องจากไม่มีวิญญาณและสามารถที่ใช้ประโยชน์ได้ในบางกรณี ถือว่า สะอาด(3) ขณะที่บรรดา มัรญิอ์ ตักลีด บางคน ถือว่า เหงื่อของอูฐที่กินสิ่งที่เป็นนะญิส ก็เป็นนะญิสด้วยเช่นกัน(4)

หลักการปฏิบัติ

...

  • หากตัวของนะญิสสัมผัสกับสิ่งที่สะอาด จะทำให้สิ่งนั้นเป็นนะญิสด้วยเช่นกัน(5) เรียกสิ่งนั้นตามหลักภาษาว่า มุตะนัญญิส(สิ่งที่ถูกทำให้เป็นนะญิส) แน่นอนว่า การเคลื่อนตัวของสิ่งที่เป็นนะญิสต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ว่าทั้งสองสิ่ง(สิ่งที่่สะอาดและสิ่งสกปรก) หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดมีความเปียกชื้น(6) ฟัยฎ์ กาชานีย์ ได้ให้ความเห็นว่า หลังจากที่อัยนุน นะญิส ถูกขจัดออกไปจากสิ่งมุตะนัญญิส (โดยไม่ได้ใช้น้ำ และสิ่งอื่นใด เช่น การทำความสะอาดด้วยกระดาษทิชชู) ความเป็นนะญิสของสิ่งนั้นไม่สามารถที่จะเข้าถึงสิ่งที่เปียกชื้นได้(7)
  • การนำพาสิ่งที่เป็นอัยนุน นะญิส เข้าไปใน มัสญิด หากว่าเป็นการดูหมิ่นต่อมัสญิด ถือว่า เป็นสิ่งที่ต้องห้าม(ฮะรอม)(8)
  • การรัปประทานสิ่งที่เป็นอัยนุน นะญิส เป็นที่ต้องห้าม(ฮะรอม) (9)
  • น้ำเมื่อสัมผัสกับอัยนุน นะญิส หากว่ามีการเปลี่ยนกลิ่นหรือรสชาติ ไม่ว่าจะขนาด กุร หรือ น้ำไหลผ่านก็ตาม ถือว่า เป็นนะญิส
  • จำเป็นที่จะต้องขจัดตัวของนะญิสจากทุกอวัยวะที่กระทำ วุฎูอ์ และ ฆุซุล และเป็นไปได้ที่จะต้องขจัดมันออกไปก่อนทำวุฎูอ์ และระหว่างการชำระล้างและการเช็ด(12) ส่วนการทำฆุซุลอิรติมาซีย์ จำเป็นที่จะต้องขจัดออกไปก่อนการทำฆุซุลดังกล่าว(13)
  • หากว่าร่างกายหรือเสื้อผ้าเปื้อนเลือดที่มีขนาดน้อยกว่า หนึ่งดิรฮัม (ประมาณหัวนิ้วมือกลาง) ซึ่งเลือดถือว่า เป็นสิ่งที่ตัวของมันเองเป็นนะญิส การทำ นมาซ ในสภาพดังกล่าว ถือว่า ถูกต้อง(14)

เชิงอรรถ

บรรณานุกรม