มัสยิดอัลอักศอ

จาก wikishia
ขอบเขตของมัสยิดอัลอักซอ

มัสยิดอัลอักศอ (ภาษาอาหรับ: المسجد الأقصی) เป็นหนึ่งใน มัสยิด แห่งกรุงเยรูซาเล็มและเป็น กิบลัต แรกของบรรดามุสลิม ตามริวายะฮ์ รายงานว่า ศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) ได้ขึ้นสู่ มิอ์รอจญ์ จากสถานที่แห่งนี้ อัลกุรอาน ได้กล่าวถึงเหตุการณ์การมิอ์รอจญ์ไว้ใน ซูเราะฮ์อัลอิสรออ์ มัสยิดอัลอักศอ ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับบรรดามุสลิม ชาวยิว(ยะฮูดีย์) และชาวคริสเตียน(นัศรอนีย์) ในฮะดีษต่างๆของอิสลาม รายงานว่า มัสยิดอัลอักศอ มีความประเสริฐ ถัดจาก มัสยิดอัลฮะรอม และ มัสยิดอันนะบีย์ และผู้ใดที่ทำ นมาซ ณ สถานที่แห่งนี้ เท่ากับการนมาซถึงหนึ่งพันในมัสยิดอื่นๆ ชาวยิวเชื่อว่า ซากของวิหารโซโลมอนยังอยู่ใต้มัสยิดอัลอักศอ ขณะที่นักวิชาการชาวคริสเตียนบางคนให้ความเห็นว่า การทำลายมัสยิดอัลอักศอและการสร้างวิหารที่สามของโซโลมอน จะเป็นสัญญาณการปรากฏของพระคริสต์ ดังนั้น ชาวยิวบางคนจึงพยายามที่จะทำลายมัสยิดอัลอักศอและบูรณะวิหารโซโลมอนขึ้นมาใหม่ ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า กองกำลังทหารอิสราเอลได้สั่งห้ามชาวมุสลิมไม่ให้เข้าไปในมัสยิดนี้ และในปี 1969 ค.ศ. ชาวยิวคนหนึ่งได้จุดไฟเผามัสยิดอัลอักซอ ด้วยเหตุนี้เอง สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน จึงประกาศว่า วันที่ 21 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันมัสยิดโลก อาคารในปัจจุบันนี้ที่เรียกว่า มัสยิดอัลอักศอ ได้ถูกสร้างขึ้นในสมัยของ อับดุลมะลิก มัรวาน ในช่วงศตวรรษแรกแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช (จันทรคติ) และได้รับการบูรณะและซ่อมแซมตามยุคสมัยต่างๆ

สถานที่ตั้งและการตั้งชื่อ

มัสยิดอัลอักศอ ในด้านภาษา หมายถึง มัสยิดที่ไกลที่สุด ชี้ให้เห็นถึง มัสยิดแห่งหนึ่งใน บัยตุลมุก็อดดัส (กรุงเยรูซาเล็ม) ในปาเลสไตน์ ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง [1] เกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้มัสยิดแห่งนี้ได้ชื่อว่า ‎มัสยิดอัลอักศอ มีการกล่าวกันว่า เป็นที่น่าสังเกตว่า มัสยิดนี้อยู่ห่างไกลจากเมืองมักกะฮ์และมัสยิดฮะรอม ซึ่งเป็นสถานที่พำนักในขณะนั้นของศาสดามุฮัมมัดและชาวมุสลิม [2]‎

นักวิจัยบางคนกล่าวว่า มัสยิดอัลอักศอ ซึ่งถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอาน เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ที่รวมถึงมัสยิดศ็อคเราะฮ์ ‎‎(สถานที่แห่งการขึ้นสู่มิอ์รอจญ์ของศาสดามุฮัมมัด) ระเบียง ฯลฯ [3] ดังนั้น นักตัฟซีรชาวชีอะฮ์บางคนจึงให้ความหมายของมัสยิดอัลอักศอ ซึ่งถูกกล่าวถึงในโองการแรกของซูเราะฮ์อัลอิสรออ์ เป็นที่รู้จักกันในชื่อ บัยตุลมุก็อดดัส [4] สร้างโดยศาสดาดาวูดและศาสดาสุไลมาน [5] ในบางริวายะฮ์ รายงานว่า มัสยิดอัลอักศอจะถูกว่า มัสยิดบัยตุลมุก็อดดัส [6]‎

บางคนกล่าวว่า เมื่อศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ขึ้นสู่มิอ์รอจญ์ ไม่มีอาคารใด ที่เรียกว่า มัสยิดอัลอักศอ และคำว่า มัสยิด ‎ในโองการมิอ์รอจญ์ จึงหมายถึง สถานที่ในการสักการะและปฏิบัติอะมั้ลอิบาดะฮ์[7]‎ ปัจจุบันนี้ อาคารหลังคาที่สร้างขึ้นในสมัยอับดุลมะลิก บินมัรวาน อยู่ในบริเวณฮะร็อมอัลกุดส์ เรียกว่า มัสยิดอัลอักศอ อัลมุซักกอฟ หรือ มัสยิดอัลอักศอ และจากบริเวณที่สร้างอาคารดังกล่าว มัสยิดศ็อคเราะฮ์ มัสยิดอุมัร[หมายเหตุที่ 1] กำแพงบุรอก [หมายเหตุที่ 2] และ...ยังมีสถานที่แห่งหนึ่ง เรียกโดยรวมว่า มัสยิดอัลอักศอ‏ (8)‏

ความสูงส่ง

มัสยิดอัลอักศอ ถือเป็นสถานที่น่านับถือของชาวมุสลิม คริสเตียน และชาวยิว ในทัศนะชาวยิว ระบุว่า ซากวิหารสุไลมาน นั้นตั้งอยู่ใต้มัสยิดอัลอักศอ [9] ชาวมุสลิมเชื่อว่า ศาสดาของอิสลามขึ้นสู่มิอ์รอจญ์จากสถานที่แห่งนี้ [10] ‎จนกระทั่ง ก่อนการเปลี่ยนทิศกิบละฮ์ของชาวมุสิลมในปีที่สองแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช ถือเป็นทิศกิบละฮ์แห่งแรกของชาวมุสลิม [11] ด้วยเหตุนี้เอง ชาวอิหร่านที่เป็นชีอะฮ์บางคน ในช่วงยุคสมัยราชวงศ์กอญอรและปาห์ลาวี ขณะที่เดินทางประกอบพิธีฮัจญ์ ได้เยี่ยมเยียนสถานที่ทางศาสนาในกรุงเยรูซาเลม รวมทั้งมัสยิดอัลอักศอด้วย[12]‎

มีฮะดีษต่างๆ รายงานว่า มัสยิดอัลอักศอ ถือเป็นหนึ่งในสี่มัสยิดที่มีความสูงส่ง ร่วมกับมัสยิดอัลฮะรอม มัสยิดอันนะบี และมัสยิดกูฟะฮ์ [13] บางฮะดีษ ไม่กล่าวถึงมัสยิดกูฟะฮ์ แต่มัสยิดอัลอักศอ ถือเป็นหนึ่งในสามมัสยิดที่มีความสูงส่ง ร่วมกับมัสยิดอัลฮะรอม และมัสยิดอันนะบี [14] การนมาซหนึ่งครั้งในมัสยิดทั้งสามแห่งจะเท่ากับหนึ่งพันครั้งในมัสยิดอื่นๆ [15]‎

แน่นอนว่า มีฮะดีษจำนวนมากมายที่กล่าวถึงความสูงส่งของมัสยิดกูฟะฮ์เหนือกว่ามัสยิดอัลอักศอในแหล่งที่มาทางสายริวายะฮ์ของชีอะฮ์[16]‎

ประวัติความเป็นมา

กล่าวกันว่า นี่เป็นครั้งแรกที่ศาสดาดาวูด ได้สร้างวิหารในบริเวณที่ตั้งของมัสยิดอัลอักศอ และศาสดาสุไลมานก็ทำให้เสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งเรียกว่า วิหารสุไลมาน วิหารเยรูซาเลม วิหารของอิลลิยา และสุสานของอิลลิยา [17] ‎กุสตาฟว์ เลอ บอน นักประวัติศาสตร์แห่งศตวรรษที่ 19 และ 20 กล่าวว่า ก่อนที่ชาวมุสลิมจะพิชิตกรุงเยรูซาเลม มีโบสถ์แห่งหนึ่งชื่อว่า โบสถ์ท่านหญิงมัรยัม ในบริเวณมัสยิดอัลอักศอ (18)‎

จากเอกสารที่ถูกทิ้งไว้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 1 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช อาคารปัจจุบันของมัสยิดอัลอักศอถูกสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์อุมัยยะฮ์และในศตวรรษที่ 1 [19] อิบนุ กะษีร นักประวัติศาสตร์แห่งศตวรรษที่ 8 ฮ.ศ. กล่าวว่า มัสยิดแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในปี ฮ.ศ. 66 ตามคำสั่งของอับดุลมะลิก บินมัรวาน (ปกครองในปี 65-86 ฮ.ศ.) และสิ้นสุดในปี 73 ฮ.ศ. ‎‎[20] บางคนเชื่อว่า การสถาปนามัสยิดนี้เป็นของวะลีด บิน อับดุลมะลิก (ปกครองในปี 86-96 ฮ.ศ.) [21]‎

อิบนุกะษีร เขียนว่า: อับดุลมะลิก ได้สร้างมัสยิดอัล-อักศอและอาคารโดยรอบ โดยมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้ชาวซีเรียไปประกอบพิธีฮัจญ์และบังคับให้พวกเขาเวียนรอบมัสยิดนี้ [22] เพราะว่า อับดุลลอฮ์ บินซุบัยร์ ใช้ประโยชน์จากฮัจญ์สำหรับการประกาศเพื่อต่อต้านอับดุลมะลิกและการให้สัตยาบันของบรรดาฮุจญาจ [23] เขากล่าวในบทเทศนาธรรมในวันอะรอฟะห์และช่วงวันต่างๆในมินา ด้วยการกล่าวถึงการสาปแช่งของศาสดามุฮัมมัดที่มีต่อฮะกัม บินอาศ ปู่ของอับดุลมะลิกและครอบครัวของเขา โดยเขาได้ทำให้ชาวซีเรียหันมาสนใจเขา [24]‎

รายละเอียดของอาคาร

อาคารของมัสยิดอัลอักศอ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาว 80 เมตร กว้าง 55 เมตร [25] อาคารของมัสยิดสร้างขึ้นบนเสาหินอ่อน 53 ต้นและฐานราก 49 ฐาน [26] มัสยิดยังมีระเบียงขนาดใหญ่ที่มีโดมอยู่ด้านบน [27] นาศิร คุซโรว์ (394-‎‎468 ฮ.ศ.) นักเดินทางรอบโลกในศตวรรษที่ 5 ได้เดินทางเยือนกรุงเยรูซาเล็มในปี 438 ฮ.ศ.[28] ในจดหมายเดินทางได้อธิบายเกี่ยวกับมัสยิดอัลอักศอและกล่างถึงการดำรงอยู่ของคนรับใช้สำหรับมัน[29]‎

การบูรณะซ่อมแซม

อาคารมัสยิดอัลอักศอได้รับการบูรณะซ่อมแซมและสร้างขึ้นใหม่ในช่วงเวลาต่างๆ ราชวงศ์อับบาซียะฮ์ ฟาฏิมียะฮ์ ‎อัยยูบิยะฮ์ และอุษมานียะฮ์(ออตโตมาน) เป็นส่วนหนึ่งของระบอบการปกครองที่บูรณะซ่อมแซมและสร้างขึ้นใหม่

มันซูร ดะวานิกี (ปกครอง: 136-158 ฮ.ศ.[30] และมะฮ์ดี อับบาซี (126-169 ฮ.ศ.) หนึ่งในเคาะลีฟะฮ์ของอับบาซียะห์ ได้ซ่อมแซมและสร้างอาคารมัสยิดอัลอักซอขึ้นมาใหม่ซึ่งถูกทำลายด้วยแผ่นดินไหว [31] นอกจากนี้ ตามคำจารึกบันทึกว่า อัซซอฮิร ลิอิอ์ซาร ดีนิลลาฮ์ หนึ่งในเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะห์ ได้สั่งให้สร้างโดมขึ้นเหนือมัสยิดอัลอักศอในปี 426 ฮ.ศ. [32] และอัลมุซตันซิร ลิดีนิลลาฮ์ ได้สั่งให้สร้างระเบียงด้านเหนือของมัสยิดขึ้นใหม่ในปี 458 ฮ.ศ. ‎‎[33]‎

ในปี 1099 ค.ศ. เท่ากับ 583 ฮ.ศ.พวกครูเสด เข้ายึดกรุงเยรูซาเลมและสร้างโบสถ์แห่งหนึ่งในบริเวณมัสยิดอัลอักศอและเปลี่ยนให้เป็นสถานที่พักผ่อนสำหรับผู้ขับขี่และคลังเก็บของในส่วนอื่น ๆ [34] ในปี 589 ค.ศ. ซอลาฮุดดีน อัยยูบี ได้ยึดกรุงเยรูซาเล็ม (บัยตุลมุก็อดดัส)คืนจากพวกเหล่านั้น และเขาสร้างมิฮ์รอบของมัสยิดขึ้นมาใหม่ การปูกระเบื้องโดม และวางธรรมาสน์ไม้ไว้ในที่นั้น [35] บรรดาผู้ปกครองและพวกออตโตมานก็สร้างมัสยิดอัลอักซอขึ้นใหม่อีกด้วยเช่นกัน

การส่งเสริมให้นับถือศาสนายิว

ชาวยิว เชื่อว่า ซากวิหารโซโลมอน อยู่ภายใต้มัสยิดอัลอักศอ ดังนั้น บางคนจึงพยายามที่จะทำลายมัสยิดอัลอักศอ และฟื้นฟูวิหารของโซโลมอน [37] บรรดาผู้เชี่ยวชาญ ระบุว่า การขุดค้นใต้มัสยิดอัลอักศอของระบอบการปกครองไซออนิสต์ ถือเป็นภัยคุกคามที่มีต่ออาคารหลังนี้ [38] เช่นเดียวกับการขุดค้นเหล่านี้ ได้ทิ้งรอยแตกร้าวไว้บนกำแพงและใต้เสาต่างๆของมัสยิด [39] กล่าวกันว่า ชาวคริสเตียนบางคนเชื่อว่า การทำลายมัสยิดอัลอักศอและการก่อสร้างวิหารโซโลมอนแห่งที่สาม จะเป็นเงื่อนไขสำหรับการปรากฏของพระเยซูคริสต์ [40] ดังนั้น กองกำลังอิสราเอลจึงป้องกันไม่ให้ชาวมุสลิมเข้าไปในมัสยิดอัลอักศอ [41] มัสยิดอัลอักศอ ถือเป็นสัญลักษณ์ในการมีอัตลักษณ์อิสลาม ในกรุงเยรูซาเล็มเพื่อต่อต้านอิสราเอล [42]

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 1969 ค.ศ. ชาวยิวชื่อ เดนนิส ไมเคิล วิลเลียม โรฮัน ได้จุดไฟเผามัสยิดอัลอักศอ ซึ่งทำให้มัสยิดเสียหายเพียงบางส่วนและหลังคาพังทลายลงมา ธรรมาสน์เก่าของมัสยิด ซึ่งเป็นของปี 583 ฮ.ศ. ก็ถูกไฟไหม้ด้วยเช่นกัน [43] ในปฏิทินอย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ระบุไว้ว่า วันครบรอบการเผามัสยิดอัลอักศอ ในวันที่ 31 มุรดอด ซึ่งตรงกันกับวันที่ 31 สิงหาคม จึงถูกตั้งชื่อว่า เป็นวันมัสยิดสากล [44]‎

เชิงอรรถ

บรรณานุกรม