สัตว์ที่เนื้อฮะลาล

จาก wikishia

สัตว์ที่เนื้อฮะลาล (ภาษาอังกฤษ:Halal-meat animals) คือ สัตว์ที่อนุญาตให้รับประทานเนื้อของมันได้ตามหลักนิติศาสตร์ ซึ่งมีสัตว์ทั้งสามประเภท ด้วยกัน ดังนี้ สัตว์บก สัตว์น้ำ นกและสัตว์ปีก สัตว์ทั้งหมดเหล่านี้ ล้วนเป็นสัตว์ที่เนื้อของมันฮะลาล เงื่อนไขของฮะลาลในการรับประทานเนื้อฮะลาล คือ การเชือดอย่างถูกต้องตามหลักศาสนบัญญัติ ตามคำ ฟัตวา ของบรรดา ฟุกอฮา (นักนิติศาสตร์) การรับประทานบางส่วนของร่างกายของสัตว์ แม้ว่า จะทำการเชือดแล้วก็ตาม ถือว่า ไม่อนุญาตให้รับประทานมัน เช่น เลือด ม้าม อวัยวะเพศผู้และอวัยวะเพศเมีย และอัณฑะทั้งสอง ตามคำฟัตวาของบรรดา ฟุกอฮา ถือว่า ไม่อนุญาตให้ใช้หนังของสัตว์ที่เนื้อของมันฮะลาล ซึ่งมีเลือดไหลพุ่งและเสียชีวิตโดยปราศการเชือดในการนมาซเป็นอันขาด

ความหมาย

ตามหลักนิติศาสตร์ สัตว์ต่างๆถูกแบ่งออกเป็น สอง ประเภท ด้วยกัน กล่าวคือ สัตว์ที่เนื้อฮะลาลและ สัตว์ที่เนื้อฮะรอม(1) สัตว์ที่เนื้อฮะลาล คือ อนุญาตให้รับประทานอวัยวะส่วนต่างๆของมัน หลังจากการเชือด(2) หลักการปฏิบัติเกี่ยวกับสัตว์ที่เนื้อฮะลาล ได้ถูกบันทึกไว้ในตำราด้านนิติศาสตร์ ในบทต่างๆ เช่น บทเรื่องการทำความสะอาด(3) การ นมาซ (4) การล่าสัตว(5)และการเชือด(6) เป็นต้น

สัตว์ที่เนื้อเป็นฮะลาล

ตามหลักการนิติศาสตร์ของชีอะฮ์ ระหว่างสัตว์ทั้งสามประเภท กล่าวคือ สัตว์บก สัตว์น้ำและนก สัตว์ที่เนื้อของมันฮะลาล มีดังต่อไปนี้

  • "สัตว์บก" ได้แก่ สัตว์ที่มีสี่เท้า เช่น แกะ แพะ วัว อูฐ กวาง เก้ง เนื้อทราย ม้าลายและแพะภูเขา ถือว่า เป็นฮะลาล(7) เนื้อม้า ฬ่อและลาก็ฮะลาลเช่นกัน แต่การรับประทานเนื้อของพวกมันเป็นสิ่งที่ มักรูฮ์ (สิ่งที่น่ารังเกียจ)(8)
  • "สัตว์น้ำ" ได้แก่ ปลาที่มีเกล็ด และกุ้ง ถือว่า เนื้อของมันฮะลาล ในขณะที่้สัตว์น้ำประเภทอื่น จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ที่เนื้อของมันเป็น ฮะรอม(ต้องห้าม)(9)
  • "นกและสัตว์ปีก" ได้แก่ สัตว์ปีกที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งในสี่ประการดังนี้ มีจะงอย กระเพาะ มีอุ้งเท้า การกระพือปีกอยู่ตลอด ถือเป็นสัตว์ที่เนื้อฮะลาล(10) เช่น ไก่บ้าน ไก่งวง นกกระจอก นกพิราบ นกเป็ดน้ำ นกกระทา นกไนติงเกล และนกกระจอกเทศ (11) นกกะรางหัวขวาน(12)ส่วนนกนางแอ่นบ้านและนกนางแอ่น ถือว่า เป็นสัตว์ฮะลาล แต่การรับประทานเนื้อของมัน เป็นมักรูฮ์(สิ่งที่น่ารังเกียจ)(13)

อวัยวะที่ต้องห้ามของสัตว์เนื้อฮะลาล

บรรดาฟุกอฮา ถือว่า อวัยวะบางส่วนของสัตว์ที่เนื้อฮะลาล เป็นสิ่งที่ต้องห้ามรับประทาน แม้ว่าจะทำการเชือดมันแล้วก็ตาม (14) เช่น เลือด ม้าม อวัยวะเพศผู้และอวัยวะเพศเมียและอัณฑะทั้งสอง(15)

การใช้ประโยชน์จากหนังสัตว์ในนมาซ

ตามคำฟัตวาของบรรดาฟุกอฮา ระบุว่า สัตว์ที่เนื้อฮะลาล ซึ่งมีเลือดที่ไหลพุ่ง หากไม่ได้ทำการเชือดมันแล้วมันเสียชีวิตเอง ถือว่า มันเป็น นะญิซ และไม่อนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากหนังของมันได้ แน่นอนว่า หากมีการขายหนังในตลาดของชาวมุสลิม ถือว่าหนังนั้นได้ถูกเชือดแล้ว และไม่จำเป็นที่เราจะต้องตรวจสอบ(16)

การตรวจสอบกระบวนการเชือดสัตว์ฮะลาล

ในประเทศ อิหร่าน และประเทศอิสลามอื่นๆ เพื่อการตรวจสอบคุณภาพฮะลาลของสัตว์ที่บริโภค ได้มีการส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจสอบและดูแลกระบวนการเชือดและการล่าสัตว์ที่เนื้อฮะลาลอย่างละเอียดถี่ถ้วน(17) และในอิหร่านยัง ได้อนุมัติกฏหมายเกี่ยวกับการดูแลกระบวนการเชือดตามหลักศาสนบัญญัติ จากรัฐสภาอิสลาม ในปี1387(ปฏิทินอิหร่าน) ตรงกับปี 2008 ค.ศ.อีกด้วย(18)

เชิงอรรถ

บรรณานุกรม