ลัยละตุลก็อดร์

จาก wikishia

ลัยละตุลก็อดร์ หรือ คืนอัลก็อดร์ (ภาษาอาหรับ:لَیلَةُ القَدر) เป็นคืนที่ อัลกุรอาน ถูกประทานลงมาและการกำหนดชะตากรรมของมนุษย์ในช่วงเวลาหนึ่งปี อัลกุรอานได้กล่าวคืนดังกล่าวใน ซูเราะฮ์อัลก็อดร์ และ อัดดุคอน ตาม โองการอัลกุรอาน และ ริวายะฮ์ ต่างๆ กล่าวว่า คุณค่าของคืนอัลก็อดร์ มีความสูงส่งมากกว่าหนึ่งพันเดือน และคืนนี้มีความประเสริฐกว่าคืนต่างๆในรอบปี เป็นคืนแห่งความเมตตาของพระเจ้า และ การอภัยในบาป ต่างๆ และในคืนนี้ มวลเทวทูต ได้ลงมายังพื้นดิน และตามรายงานจากบางฮะดีษของชีอะฮ์ กล่าวว่า ชะตากรรมของปวงบ่าวของพระองค์จะถูกนำเสนอให้กับ อิมาม แห่งยุคสมัย เวลาของคืนอัลก็อดร์ ยังไม่ชัดเจนนัก แต่ตามริวายะฮ์ส่วนมาก รายงานว่า คืนดังกล่าวเกิดขึ้นใน เดือนรอมฎอน และถือเป็นหนึ่งในคืนที่ 19 , 21 หรือ 23 ของเดือนนี้ และ ชาวชีอะฮ์ ได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับคืนที่ 23 เดือนรอมฎอน ขณะที่ชาว อะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ได้ให้ความสำคัญในคืนที่ 27 เดือนรอมฎอน ชาวชีอะฮ์ เนื่องจากพวกเขาได้ยึดเอาแบบอย่างของ บรรดามะอ์ศูม (อ.) ด้วย การอิฮ์ยา ในยามค่ำคืน การ อ่านอัลกุรอาน การ อ่านบทดุอาอ์ และการกระทำอะมั้ล อิบาดะฮ์ ในคืนนี้ การ ถูกฟันศรีษะ และการเป็นชะฮีดของ อิมามอะลี (อ.) ในคืนเหล่านี้ ยังเพิ่มความสำคัญของคืนเหล่านี้ในหมู่ชาวชีอะฮ์และการไว้ อาลัย ให้กับอิมามอะลี (อ.)ก็สอดคล้องกับพิธีกรรมของคืนอัลก็อดร์

การตั้งชื่อ

คำว่า ก็อดร์ เป็นคำทางภาษาอาหรับ หมายถึง การวัดขนาด การกำหนด และโชคชะตา [1] เกี่ยวกับประเด็นที่ว่า ทำไมคืนนี้ จึงถูกเรียกว่า คืนอัลก็อดร์ มีความเป็นไปได้หลายประการด้วยกัน ดังนี้ :‎

ในทัศนะของอัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอีย์ ระบุว่า การกำหนดชะตากรรมของผู้คน ขนาด และการกำหนดชะตากรรมของเหตุการณ์ต่างๆในรอบปีจะเป็นที่ชัดเจนในคืนนี้ จึงเรียกว่า เป็นคืนอัลก็อดร์ ‎‎[2] อยาตุลลอฮ์ มะการิม ชีรอซี ถือว่า ความคิดเห็นนี้สอดคล้องกัน มีริวายะฮ์ต่างๆและเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น [3]‎

อิมามโคมัยนี ได้เสนอถึงความเป็นไปได้ทั้งสามประการเกี่ยวกับเหตุผลในการตั้งชื่อคืนอัลก็อดร

‎ประการแรก เนื่องจากการเป็นเจ้าของที่มีเกียรติและสถานภาพ และอัลกุรอานคือ เจ้าของอัลก็อดร์ ‎โดยผ่านเจ้าของแห่งอัลก็อดร์มายังศาสนทูต เจ้าของอัลก็อดร์และสำหรับประชาชาติ เจ้าของอัลก็อดร์ถูกประทานลงมา จึงเรียกมันว่า คืนอัลก็อดร์ ‎ ประการที่สอง เนื่องจากในคืนนี้ ชะตากรรมของกิจการงานต่างๆและปัจจัยยังชีพของประชาชนถูกกำหนด จึงเรียกว่า คืนอัลก็อดร์ ‎

และประการที่สาม เนื่องจากการปรากฏของเหล่าเทวทูตเป็นจำนวนมาก ทำให้โลกแคบลง ด้วยเหตุนี้ จึงถูกเรียกว่า อัลก็อดร์ [4] อิมามโคมัยนี ถือว่า วิธีที่สองเป็นวิธีที่ดีกว่าและกล่าวว่า บางทีคืนอัลก็อดร์ เนื่องจากอัลก็อดร์นั้นเป็นคืนแห่งการเข้าถึงของศาสดาองค์สุดท้ายและคืนแห่งการพบรักที่แท้จริงยังคนรักของตน (5)‎

มะการิม ชีรอซี ยังได้กล่าวถึงความเป็นไปได้ทั้ง 3 ประการของเจ้าของอัลก็อดร์ และสถานภาพของผู้ที่อิฮ์ยาในค่ำคืนนี้ ความมีเกียรติยศอันสูงส่งของค่ำคืนนี้ และการประทานลงมาของอัลกุรอานในคืนนี้ ถือเป็นเหตุผลว่าทำไมคืนนี้จึงถูกเรียกว่าก็อดร์[6 ]‎

คืนอัลก็อดร์ ยังเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ลัยละตุลอะซะมะฮ์ และ ลัยละตุลชะรอฟ [‎‏7‏‎]‎

สถานภาพและความสำคัญ

คืนอัลก็อดร์ ถือเป็นคืนที่ดีที่สุดและสำคัญที่สุดของปีในวัฒนธรรมอิสลาม [8] ตามริวายะฮ์จากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า คืนอัลก็อดร์ เป็นหนึ่งในของขวัญจากพระผู้เป็นเจ้าสำหรับชาวมุสลิมและไม่มีของขวัญใดสำหรับประชาชาติก่อนหน้านี้ [9] ในอัลกุรอาน มีซูเราะฮ์ที่สมบูรณ์ด้วยการอธิบายและการสรรเสริญคืนอัลก็อดร์และเรียกชื่อนี้ (ซูเราะฮ์อัลก็อดร์) [10] ในซูเราะฮ์นี้ถือว่าคุณค่าของค่ำคืนอัลก็อดร์ มีมากกว่าหนึ่งพันเดือน [11] โองการที่หนึ่งถึงโองการที่หกจากซูเราะฮ์อัลดุคอน ก็กล่าวถึงความสำคัญและเหตุการณ์ต่างๆ ของค่ำคืนอัลก็อดร์ด้วยเช่นกัน[12]‎

มีริวายะฮ์จากอิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า เดือนที่ดีที่สุด คือ เดือนรอมฎอนและหัวใจของรอมฎอนคือคืนอัลก็อดร์ [13] [หมายเหตุ 1] นอกจากนี้ ยังมีรายงานจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า ‎คืนอัลก็อดร์ คือ นายของคืนต่างๆ [14] ในฮะดีษของอิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า คืนอัลก็อดร์ ถูกแนะนำว่า เป็นการเริ่มต้นปี (แกนหลักของปี) [15] ซึ่งอาจหมายถึงจุดเริ่มต้นของปีทางจิตวิญญาณและการทำอะมั้ลอิบาดะฮ์ และบางที อาจหมายถึง การกำหนดชะตากรรมของมนุษย์เป็นเวลาหนึ่งปี ‎‎[16] ตามแหล่งอ้างอิงทางฮะดีษและในทางนิติศาสตร์ รายงานว่า วันอัลก็อดร์ ก็มีคุณค่าและมีความสูงส่งเฉกเช่นเดียวกันกับคืนอัลก็อดร์ [17] การเกิดขึ้นของบางเหตุการณ์ เช่น เนื่องจากการถูกฟันของมามอะลี (อ.) ในคืนวันที่ 19 และการเป็นชะฮีดของเขาในคืนวันที่ 21 เดือนรอมฎอน ได้เพิ่มความสำคัญของค่ำคืนนี้ให้กับชาวชีอะฮ์ ซึ่งในคืนเหล่านี้ พวกเขายังได้ไว้อาลัยให้กับอิมามอะลีด้วย ‎การให้ความสำคัญในการปฏิบัติอะมั้ลที่เป็นมุสตะฮับสำหรับคืนนี้เป็นการเฉพาะ [18]‎

ในฮะดีษบางบท ระบุว่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) เป็นความลี้ลับของค่ำคืนอัลก็อดร์ [19] และบุคคลใดก็ตามที่รู้จักท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) อย่างสมบูรณ์ เขาย่อมเข้าใจในคืนอัลก็อดร์ [20]‎

การประทานลงมาของอัลกุรอาน

โองการแรกของซูเราะฮ์อัลก็อดร์ และโองการที่สามของซูเราะฮ์อัดดุคอน แสดงให้เห็นถึงการประทานลงมาของอัลกุรอานในคืนอัลก็อดร์ [21] นักตัฟซีรส่วนใหญ่ เชื่อว่า อัลกุรอานถูกประทานลงมากับท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ทั้งหมด ในคราวเดียว [ 22] ซึ่งเรียกว่า การประทานลงมาแบบดัฟอีย์‏ ‏‎[ 23] แต่บางคนกลับเชื่อว่า จุดเริ่มต้นของการประทานลงมาของอัลกุรอานอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในเดือนรอมฎอน[24]‎ การกำหนดกิจการต่างๆ

อิมามบากิร ได้อธิบายโองการที่สี่ของซูเราะฮ์อัดดุคอน [หมายเหตุที่ 2] การกำหนดชะตากรรมของมนุษย์ในปีแห่งอนาคตของมนุษย์จะถูกบันทึกในทุกปีของคืนนี้[25] ด้วยพื้นฐานนี้ บางริวายะฮ์ ‎รายงานว่า คืนอัลก็อดร์ ถือว่า เป็นการเริ่มต้นของปี [26] อัลลามะฮ์ฏอบาฏอบาอี กล่าวว่า : ‎ความหมายของอัลก็อดร์ หมายถึง การกำหนดและการวัดขนาด และพระผู้เป็นเจ้าทรงกำหนดกิจการต่างๆ เช่น การดำเนินชีวิต ความตาย ปัจจัยยังชีพ ความผาสุก และความอัปโชคของมนุษย์ในคืนนี้ [27] มีฮะดีษบางบท รายงานว่า อำนาจการปกครอง(วิลายะฮ์) ของอิมามอะลี (อ.)และบรรดาอิมามท่านอื่นๆ(อ.) ยังถูกกำหนดและลงนามในคืนนี้อีกด้วย [28] ‎ การอภัยบาป

บางส่วนของริวายะฮ์ทั้งหลาย รายงานว่า เหล่าซัยฏอน(ซาตาน)จะถูกมัดล่ามด้วยโซ่ตรวนในเดือนรอมฎอน และประตูสวรรค์ จะเปิดสำหรับบรรดาผู้ศรัทธา หลังจากกล่าวคำพูดนี้แล้ว ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้กล่าวถึงสามครั้งว่า ในเดือนนี้ มีคืนอัลก็อดร์ซึ่งประเสริฐกว่าหนึ่งพันเดือน และผู้ที่ถูกตัดสิทธิ์ที่แท้จริง คือผู้ที่ตัดสิทธิ์จากคืนอัลก็อดร์ [29] รายงานจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)กล่าวว่า : ใครก็ตามที่อิฮ์ยาคืนอัลก็อดร์ เขาคือ ผู้ศรัทธาและมีความเชื่อในวันแห่งการตอบแทนและความผิดบาปทั้งหมดของเขาจะได้รับการอภัยโทษ [30] ‎ การลงมาของเหล่าเทวทูต

ในอายะฮ์ที่สี่ของซูเราะฮ์อัลก็อดร์ กล่าวถึง การลงมาของเหล่าเทวทูต (มะลาอิกะฮ์)และรูฮ์ ยังพื้นดินในคืนอัลก็อดร์ [31] และบางฮะดีษ รายงานว่า พวกเขาจะไปหายังอิมามเพื่อแจ้งให้ทราบถึงชะตากรรมของปีที่กำลังจะมาถึงและสิ่งที่ถูกกำหนดไว้ [32] รายงานจากอิมามบากิร (อ.)ในประเด็นนี้ ‎กล่าวว่า : ในค่ำคืนนี้ บรรดามะลาอิกะฮ์ จะวนเวียนอยู่รอบตัวเราและด้วยเหตุนี้เอง เราจะต้องให้ความสนใจในคืนอัลก็อดร์ [33] ในอีกริวายะฮ์หนึ่ง รายงานว่า มีคำแนะนำให้กับชาวชีอะฮ์ จากประเด็นนี้ ถือเป็นเหตุผลในการพิสูจน์ถึงความจำเป็นของอิมามะฮ์ (สถานภาพความเป็นผู้นำ) และความชอบธรรมของชีอะฮ์ ด้วยวิธีการนี้ จึงจะต้องมีอิมาม ผู้บริสุทธิ์ปราศจากบาปต่างๆในทุกยุคทุกสมัย เพื่อให้เหล่าเทวทูตสามารถถ่ายทอดชะตากรรมต่างๆให้แก่เขาได้[34] [หมายเหตุที่ 3]‎

เวลา

ประเด็นที่เกี่ยวกับคืนอัลก็อดร์ เป็นคืนใดของปี ถือว่ามีทัศนะที่แตกต่างกัน ดังนี้

ทัศนะของชีอะฮ์

อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอีย์ นักตัฟซีรอัลกุรอาน กล่าวว่า ด้วยหลักฐานยืนยันจากโองการต่างๆของซูเราะฮ์ อัลก็อดร์และซูเราะฮ์ อัดดุคอน คืนอัลก็อดร์ไม่ได้เป็นคืนที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการประทานลงมาของอัลกุรอานในยุคสมัยของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และเกิดขึ้นซ้ำๆในทุกปี [35] มีริวายะฮ์ต่างๆจำนวนมากมาย [36] ยืนยันในประเด็นนี้ ถึงขั้นระดับมุตะวาติรด้วยเช่นกัน [37] อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอีย์ กล่าวว่า มีริวายะฮ์ต่างๆที่เห็นพ้องกันว่า คืนอัลก็อดร์ จะเกิดขึ้นซ้ำๆในทุกปี‎[38]‎

บนพื้นฐานจากโองการต่างๆ ในอัลกุรอาน ระบุว่า คืนอัลก็อดร์นั้นอยู่ในเดือนรอมฎอน[39] แต่เวลาที่แน่นอนไม่ได้มีการถูกกล่าวถึงในโองการของอัลกุรอาน[40] ยังมีริวายะฮ์จำนวนมากเน้นย้ำว่า ‎คืนอัลก็อดร์นั้นอยู่ในเดือนรอมฎอน[41]‎

อัลลามะฮ์ มัจญ์ลิซี นักวิชาการอิมามียะฮ์ กล่าวว่า คืนอัลก็อดร์นั้นถูกจำกัดเฉพาะในคืนที่ 19, 21 ‎และ 23 ของเดือนรอมฎอน และยังมีริวายะฮ์จำนวนมากมายเกี่ยวกับคืนเหล่านี้ [42]ในทัศนะของอัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอีย์ กล่าวว่า คืนอัลก็อดร์ เป็นหนึ่งในคืนของวันที่ 19 วันที่ 21 หรือ 23 ของเดือนรอมฎอน [43] เชคศอดูก กล่าวว่า บรรดาอาจารย์ของเราเห็นพ้องกันว่า คืนอัลก็อดร์ เป็นคืนวันที่ 23 ‎ของเดือนรอมฎอน[44] มุลลา ฟะตะฮุลลอฮ์ กาชานีย์ เขียนในหนังสือ มินฮัจญ์ อัศศอดิกีน ว่า ‎นักวิชาการส่วนใหญ่ของอิมามียะฮ์ ถือว่า คืนอัลก็อดร์ เป็นคืนวันที่ 23 ของเดือนรอมฎอน [45] ตามรายงานจากฮะดีษจำนวนมาก [46]ได้กำหนดวันที่ 23 เป็นคืนอัลก็อดร์ [47] ด้วยเหตุนี้ บางริวายะฮ์จึงรายงานว่า คืนที่ 19 เป็นคืนแห่งการกำหนดชะตากรรม และในคืนที่ 21 เป็นคืนแห่งการอิบรอม ‎‎(ความแน่นอน)และในคืนที่ 23 เป็นคืนแห่งการลงนามครั้งสุดท้าย [48] มีการคาดว่า คืนที่ 27 ของเดือนรอมฎอนและคืนนิศฟูชะอ์บานเป็นคืนอัลก็อดร์อีกด้วย (49)‎

คืนที่ 23 ของเดือนรอมฎอน เป็นที่รู้จักในนามคืน ญุฮะนีย์ เนื่องจากมีรายงานจากอิมามบากิร (อ.) ‎หรืออิมามศอดิก (อ.) โดย ซุรอเราะฮ์ เล่าว่า: ฉันได้ถามท่านอิมามเกี่ยวกับคืนรอมฎอนที่แนะนำให้ทำการอาบน้ำฆุซุล ท่านอิมามกล่าวว่า: คืนที่ 19, คืนที่ 21 และคืนที่ 23 จากนั้น ท่านอิมามก็กล่าวว่า ‎คืนที่ยี่สิบสาม เป็นคืนของญุฮะนีย์ และเรื่องเล่าของมัน มีดังนี้ ชายคนหนึ่งมีชื่อญุฮะนี (อับดุลลอฮ์ ‎บิน อุนัยส์ อันศอรี) ได้กล่าวกับท่านศาสนทูตแห่งพระผู้เป็นเจ้า (ศ็อลฯ) ว่า บ้านของฉันนั้นอยู่ไกลจากเมืองมะดีนะฮ์ โปรดออกคำสั่งว่า คืนหนึ่งที่ฉันสามารถที่จะไปยังมะดีนะฮ์ได้ ท่านศาสดา ‎‎(ศ็อลฯ) แนะนำให้เขารู้จักถึงคืนที่ยี่สิบสาม [50] หลังจากการสนทนานี้และการสังเกตพฤติกรรมของอับดุลลอฮ์ อุนัยส์ อันศอรีในคืนที่ยี่สิบสาม คืนนี้จึงถูกเรียกว่า คืนญุฮะนีย์ และลัยละตุลญุฮะนีย์ ‎เป็น ชื่อหนึ่งของคืนอัลก็อดร์ [51] ในลักษณะที่บรรดาสหายของอิมามได้ถามเกี่ยวกับเวลาของคืนญุฮะนีย์ [52] มุฮัมมัดตะกี มัจลิซีย์ กล่าวว่า มีริวายะฮ์ต่างๆที่เชื่อถือได้ ดังเช่น คืนญุฮะนีย์ เชคศอดูก และนักวิชาการชีอะฮ์ส่วนใหญ่ ถือว่า คืนวันที่ 23 เป็นคืนอัลก็อดร์[53]‎

ทัศนะของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์

ชาวอะลิซซุนนะฮ์ส่วนใหญ่ เชื่อว่า คืนอัลก็อดร์ เป็นหนึ่งในสิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอน ตามกหลักฐานจากฮะดีษของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) [54] อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอีย์ กล่าวว่า ทัศนะที่เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ว่า คืนอัลก็อดร์ เป็นคืนที่ 27 ของเดือนรอมฎอน [55] ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์บางคนยังเชื่อว่า คืนอัลก็อดร์ จะเกิดขึ้นซ้ำในทุกปีตลอดช่วงชีวิตของศาสดามุฮัมมัด ‎‎(ศ็อลฯ) แต่หลังจากนั้น ก็จะไม่มีคืนอัลก็อดร์อีกต่อไป (56) ขณะที่บางคนกล่าวว่า คืนอัลก็อดร์ไม่ใช่เป็นคืนที่เฉพาะเจาะจงในหนึ่งปีและเป็นคืนที่ไม่มีใครรู้จักในทุกปี (57) ผู้คนกลุ่มนี้เชื่อว่า ‎คืนอัลก็อดร์ อยู่ในเดือนรอมฎอนในปีแห่งการแต่งตั้งศาสดามุฮัมมัดเป็นศาสนทูต แต่ในปีอื่นๆ ‎อาจจะอยู่ในเดือนอื่นๆ [58] อย่างไรก็ตาม เฏาะบัรซี กล่าวไว้ในหนังสือตัฟซีรมัจญ์มะอุลบะยานว่า ‎นักวิชาการทุกคนต่างเห็นด้วยว่า คืนก็อดร์นั้นอยู่ในเดือนรอมฎอน (59)‎

ความแตกต่างระหว่างเส้นขอบฟ้าและการกำหนดคืนอัลก็อดร์

เฉพาะคืนเดียวของทุกปี จะถือว่าเป็นคืนอัลก็อดร์ [60] แต่เส้นขอบฟ้าที่แตกต่างกันของประเทศต่างๆ (เช่น เส้นขอบฟ้าของอิหร่านและซาอุดีอาระเบีย) ทำให้เวลาเริ่มต้นของเดือนรอมฎอนนั้นมีความแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค และด้วยเหตุนี้ เวลาของคืนวันที่ 19 และ 21 และ 23 ของเดือนรอมฎอน ก็ควรแตกต่างกันออกไปด้วย[61] บรรดานักนิติศาสตร์ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับความขัดแย้งนี้ว่า ความแตกต่างในเส้นขอบฟ้าของประเทศต่างๆ ไม่ใช่เป็นเหตุผลสำหรับความหลากหลายของคืนอัลก็อดร์ และผู้คนในแต่ละภูมิภาคของโลก ควรกำหนดคืนอัลก็อดร์และวันต่างๆที่ศักดิ์สิทธิ์ ‎เช่น วันอีดฟิฏร์ หรือวันอีดอัฎฮา ตามเส้นขอบฟ้าของพวกเขาเอง [62] ตามทัศนะของอยาตุลลอฮ์ ‎มะการิม ระบุว่า กลางคืน เป็นเงาของโลกครึ่งหนึ่งและเงาอีกครึ่งหนึ่งที่เคลื่อนไปพร้อมกับการหมุนของโลก โดยมีคาบเวลาเต็มตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้น คืนอัลก็อดร์ จึงอาจเป็นการเคลื่อนตำแหน่งของโลกรอบตัวเองโดยสมบูรณ์ หมายถึง ความมืดตลอด 24 ชั่วโมงที่ปกคลุมในทุกส่วนของโลก ด้วยเหตุนี้เอง คืนอัลก็อดร์ จึงเริ่มต้นจากภูมิภาคหนึ่ง และคงอยู่เป็นเวลา 24 ชั่วโมงและทั้งโลกก็สามารถสัมผัสถึงคืนอัลก็อดร์ได้[63] ‎

วิถีของบรรดาผู้บริสุทธิ์

ในฮะดีษของอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) จะเก็บที่นอนของเขาในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนรอมฎอน และไปยังมัสยิดเพื่อทำการอิอ์ติกาฟ และแม้ว่า มัสยิดมะดีนะฮ์จะไม่มีหลังคา เขาก็จะไม่ออกจากมัสยิด แม้ในขณะที่ฝนตกก็ตาม [64] มีรายงานว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ไม่นอนหลับในคืนอัลก็อดร์และได้ประพรมน้ำบนใบหน้าของผู้ที่กำลังนอนหลับอยู่[65]‎

วิถีของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ คือ นางจะปฏิบัติอะมั้ลอิบาดะฮ์ในคืนอัลก็อดร์ จนกระทั่งถึงรุ่งเช้า และจะไม่ให้บบรรดาลูกๆและครอบครัวของนาง นอนหลับในคืนนี้ ด้วยการทำอิบาดะฮ์ อีกด้วย และนางจะแก้ไขปัญหาของการนอนหลับของพวกเขา ด้วยการรับประทานอาหารให้น้อยลงและการนอนหลับในช่วงกลางวัน[66] บรรดามะอ์ศูม ผู้บริสุทธิ์(อ. ) ไม่เคยละทิ้งการเข้าไปในมัสยิดและการอิฮ์ยาในยามกลางคืนอัลก็อดร์ (67) ในริวายะฮ์หนึ่งได้รายงานว่า อิมามศอดิก (อ.) ซึ่งกำลังป่วยหนักในคืนหนึ่งของคืนอัลก็อดร์ และท่านอิมามได้ขอร้องผู้คนที่อยู่รอบข้าง พาเขาไปยังมัสยิด เพื่อที่ทำการอะมั้ลอิบาดะฮ์ในสถานที่นั้น [68]‎

การอิฮ์ยาในคืนอัลก็อดร์ด้วยการสนทนาทางวิชาการ

เชคศอดูก นักรายงานฮะดีษ ผู้ยิ่งใหญ่ เขียนในหนังสืออะมาลี ในมัจญ์ลิซที่ 93 หลังจากที่ได้กล่าวถึง การนมาซนาฟิละฮ์ของคืนต่างๆในเดือนรอมฎอนและการนมาซหนึ่งร้อยรอกะอะฮ์ สำหรับในแต่ละคืนที่ยี่สิบเอ็ดและยี่สิบสาม โดยเขากล่าวว่า และบุคคลใดก็ตามที่ได้ทำการอิฮ์ยาทั้งสองคืนนี้ ด้วยการสนทนากันทางวิชาการ ย่อมเป็นการกระทำที่ดีกว่า [69] [หมายเหตุที่ 4] อยาตุลลอฮ์ ญะวาดี ‎อามูลี หนึ่งในมัรญิอ์ตักลีด กล่าวว่า มีรายงานว่า ผู้เขียนตำราญะวาฮิร ระบุไว้ในหน้าสุดท้ายของญะวาฮิรว่า ขอบคุณพระผู้เป็นเจ้าที่หนังสือเล่มนี้ เขียนเสร็จในคืนวันที่ 23 ของเดือนรอมฎอน ประเด็นนี้จึงหมายความว่า นักวิชาการทั้งหลายของเรากำลังแสวงหาความรู้ในช่วงค่ำคืนเหล่านี้ แต่ในบางครั้ง บางคนอาจคิดว่า การเรียนรู้และการศึกษาหาความรู้ในค่ำคืนเหล่านี้ ถือเป็นบาปอันใหญ่หลวง และพวกเขาก็จะต้องออกห่างจากมันด้วย [70] ซัยยิดมุฮ์ซิน อะมีน เขียนในหนังสือ อะอ์ยานุชชีอะฮ์ รายงานจากผู้เขียนหนังสือ มิฟตาฮุลกะรอมะฮ์ ได้กล่าวไว้ว่า ตามหลักฉันทามติของบรรดานักวิชาการอิมามียะฮ์มีความเห็นว่า การมีส่วนร่วมในการแสวงหาความรู้ เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่จะต้องกระทำในคืนอัลก็อดร์ [71]‎

การปฏิบัติอะมั้ลของคืนอัลก็อดร์

การปฏิบัติอะมั้ลในคืนอัลก็อดร์มี 2 ประเภท ด้วยกัน:‎

‎การปฏิบัติอะมั้ลทั้งสามคืน และเรียกว่า เป็นการกระทำอะมั้ลร่วมกัน [72]

‎การปฏิบัติอะมั้ลที่เฉพาะเจาะจงในแต่ละคืนที่ 19, 21 และ 23 ของเดือนรอมฎอน[73]‎

การปฏิบัติอะมั้ลในคืนอัลก็อดร์

การปฏิบัติอะมั้ลร่วมกัน : การอาบน้ำฆุซุล การทำนมาซสองรอกะอะฮ์ หลังจากซูเราะฮ์ฟาติฮะฮ์ ‎อ่านซูเราะฮ์อัตเตาฮีด 7 ครั้ง และหลังให้สลาม อ่าน อัซตัฆฟิรุลลอฮะ วะอะตูบุ อิลัยฮ์ 70 ครั้ง ‎การอิฮ์ยา (การไม่นอนหลับและการทำอิบาดะฮ์ในคืนเหล่านี้ การทำนมาซหนึ่งร้อย รอกะอะฮ์(ทุกสองรอกะอะฮ์ให้กล่าวสลาม) การอ่านดุอาอ์ อัลลอฮุมมะ อินนี อัมซัยตี ละกะ อับดัน การอ่านดุอาอ์ เญาชันกะบีร การซิยาเราะฮ์อิมามฮุเซน การทูนอัลกรอานและการสาบานต่ออัลลอฮ์ โดยผ่านบรรดามะฮ์ศูมทั้งสิบสี่ท่าน

คืนที่สิบเก้า : การอ่าน อัซตัฆฟิรุลลอฮะ วะอะตูบุ อิลัยฮ์ 100 ครั้ง การอ่าน อัลลอฮุมมัลอัน เกาะตะละตะ อะมีริลมุอ์มินีน 100 ครั้ง และการอ่านดุอาอ์ อัลลอฮุมมัจอัล ฟีมา ตักฎอ วะ ตุก็อดดิร มินัล อัมริล มะฮ์ตูม

คืนที่ยี่สิบเอ็ด : การอ่านดุอาอ์ที่เกี่ยวข้องในช่วงสิบวันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน การอ่านดุอา ยา มูลิฮัลลัยลิ ฟีลนะฮาร

คืนที่ยี่สิบสาม : การอ่านดุอาอ์ที่เกี่ยวข้องในช่วงสิบวันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน การอ่านซูเราะฮ์อัลอังกะบูต อัรรูมและอัดดุคอน การอ่านซูเราะฮ์อัลก็อดร์ 1000 ครั้ง การอ่านดุอาอ์ เญาชันกะบีร มะการิมุลอัคลาก และดุอาอ์ อิฟติตาฮ์ การอ่านน้ำฆุซุลในช่วงแรกของคืนและช่วงท้ายของคืน การอ่านดุอาอ์ ‎อัลลอฮุมมัมดุด ลี ฟี อุมรี วะ เอาซิอ์ ลี ฟี ริซกี การอ่านดุอาอ์ อัลลอฮุมมัจอัล ฟีมา ตักฎี วะ ตุก็อดดิร ‎มินัล อัมริล มะฮ์ตูม การอ่านดุอาอ์ ยาบาฏินัน ฟี ซุฮูริฮี ยา ซอฮิรอน ฟี บุฏูนิฮ์ การอ่านดุอาอ์ เพื่อความปลอดภัยให้อิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.)‎

พิธีกรรมทางศาสนา

ทุกปี ชาวชีอะฮ์จะทำพิธีกรรมทางศาสนาและการปฏิบัติอะมั้ลในคืนอัลก็อดร์ ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ‎เช่น มัสยิดและฮะร็อมต่างๆ หรือในบ้านเรือนของพวกเขา และมีการปฏิบัติอะมั้ลอิบาดะฮ์ด้วยการอิฮ์ยา (การไม่นอนหลับยามกลางคืน) ตั้งแต่กลางคืนจนถึงรุ่งเช้า [74] การจัดมัจญ์ลิซในการบรรยายธรรม การร่วมนมาซแบบญะมาอะฮ์ การอ่านดุอาอ์ อิฟติตาฮ์ ,ดุอาอ์ อะบูฮัมซะฮ์ ษุมาลี, ดุอาอ์ เญาชันกะบีร และการทูนอัลกุรอานบนศีรษะ ถือเป็นการปฏิบัติอะมั้ลที่สำคัญมากที่สุดในค่ำคืนเหล่านี้ ซึ่งสามารถจะกระทำได้โดยทั่วไป [76]‎

ด้วยเหตุผลของการถูกทำชะฮีดของอิมามอะลี (อ.) ในช่วงสัปดาห์ที่สามของเดือนรอมฎอน ชาวชีอะฮ์จึงจัดงานไว้อาลัยในค่ำคืนเหล่านี้ [77] กล่าวกันว่า บางเมืองของอิหร่าน ผู้คนส่วนใหญ่ในเมืองนี้ จึงรับประทาน คอแกะต้ม ในคืนที่ 27 ของเดือนรอมฎอน และกล่าวสาปแช่งต่ออิบนุมุลญัม ‎มุรอดี ผู้ที่สังหารอิมามอะลี (อ.) [78]‎

คืนอัลก็อดร์ในวรรณคดีเปอร์เซีย

คืนอัลก็อดร์ ถือเป็นประเด็นที่บรรดานักกวีและวรรณคดีเปอร์เซียให้ความสนใจเป็นพิเศษ โดยซะอ์ดีย์ กล่าวไว้ในหนังสือ โกลิสตาน เกี่ยวกับคืนอัลก็อดร์ ว่า หากคืนทั้งหลาย เป็นคืนอัลก็อดร์ คืนอัลก็อดร์จะไม่มีคุณค่า [79] ในหนังสือ บูสตาน ชะอ์ดีย์ ได้มีบทกลอนที่เกี่ยวกับคืนดังกล่าวนี้ด้วยเช่นกัน [80] ฮาฟิซ [81] นาศิร คุซรู [82] เอาฮะดีย์ [83] และนักกวีคนอื่นๆ ได้แต่งบทกลอนเกี่ยวกับคืนอัลก็อดรืด้วยเช่นกัน โดยฮาฟิซ กล่าวว่า‎ ในคืนก็อดร์ ฉันได้อยู่จนถึงรุ่งเช้า อย่าถือว่าเป็นข้อบกพร่อง แต่เป็นการมาของมิตรและอาภรณ์ที่อยู่ข้างห้องโถง [84]‎ ช่างดียิ่งนักที่อยู่ถึงรุ่งเช้าและช่างเป็นคืนที่ดียิ่ง มันเป็นคืนก็อดร์ที่ชุบชีวิตของฉันขึ้นใหม่ [85]‎

หนังสืออ้างอิง

มีการประพันธ์หนังสือต่างๆอย่างมากมายที่เกี่ยวกับความประเสริฐ การปฏิบัติอะมั้ลอิบาดะฮ์ และความสำคัญของคืนอัลก็อดร์ [86] อาทิเช่น

ชับเบก็อดร์ ซัยยิดมุฮัมมัด เบเฮชตี เตหะราน บุกอิฮ์ พิมพ์ครั้งแรก 1383 สุริยคติ

ชับฮาเยบีกะรอรี คำกล่าวที่เกี่ยวกับคืนอัลก็อดร์ ซัยยิดมุฮัมมัด บะนีฮาชิม สำนักพิมพ์มุนีร พิมพ์ครั้งแรก 1387 ‎ ชับเบก็อดร์ กัลเบมอเฮรอมฎอน นาศิร บากิรี บีดฮินดี กุม บูสตอนกิทอบ พิมพ์ครั้งที่สอง 1375 [87]‎

การค้นคว้าเกี่ยวกับคืนอัลก็อดร์ ซัยยิดมุรตะฎอ ฮุซัยนี ฟัรฮังก์กุรอาน พิมพ์ครั้งแรก 1387‎


เชิงอรรถ

บรรณานุกรม