มะฮ์รอม

จาก wikishia

มะฮ์รอม (มะฮ์รัม) (ภาษาอาหรับ : المحرمية ) คือ บุคคลที่ไม่สามารถ แต่งงาน กันได้ และตามหลักการฟิกฮ์ ถือว่าไม่จำเป็นที่จะต้องสวม ฮิญาบ ในขณะที่อยู่ร่วมกัน อัลกุรอาน ได้กล่าวถึงมะฮ์รอมและหลักการปฏิบัติของมัน มะฮ์รอมทางเชื้อสาย การแต่งงาน และ การให้นม ถือเป็นสาเหตุที่ทำให้มีความเป็นมะฮ์รอม ฉะนั้น มะฮ์รอม จึงถูกแบ่งออกเป็นสามประเภทด้วยกัน ดังนี้

1.มะฮ์รอมทางเชื้อสาย 2.มะฮ์รอมโดยสาเหตุ 3.มะฮ์รอมจากการให้นม

มารดา ยาย-ย่า พี่สาว-น้องสาว ลูกสาว หลานสาว ลูกสาวของพี่สาว ลูกสาวน้องสาว ลูกสาวของพี่ชาย อาหญิง และป้า เป็นบุคคลที่เป็นมะฮ์รอมทางเชื้อสายสำหรับผู้ชาย

บิดา ปู่-ตา ลูกชาย พี่ชาย-น้องชาย ลูกชายของพี่สาว ลูกชายของน้องสาว ลูกชายของพี่ชาย อาชายและลุง เป็นบุคคลที่เป็นมะฮ์รอมทางเชื้อสายสำหรับผู้หญิง

ภรรยา มารดาของภรรยา ยายของภรรยา ย่าของภรรยา บุตรของภรรยา ภรรยาของบิดา(ที่ไม่ใช่มารดา) ภรรยาของลูกชาย(ลูกสะไภ้) ทั้งหมดนี้ เป็นผู้ที่เป็นมะฮ์รอมโดยสาเหตุสำหรับผู้ชาย

สามี บิดาของสามี ปู่-ตาของสามี ลูกชายของสามี สามีของมารดา(ที่ไม่ใช่บิดา) ลูกเขย ทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นมะฮ์รอมโดยสาเหตุสำหรับผู้หญิง


ตามคำฟัตวาของบรรดาฟุกอฮา(นักนิติศาสตร์) ระบุว่า ผู้หญิงทั้งหมดจากเชื้อสาย ถือว่าเป็นฮะรอม(ต้องห้าม) ที่จะแต่งงานกับพวกนาง การแต่งงานกับพวกนางด้วยการให้นมก็เป็นที่ฮะรอม

ในกรณีที่เด็กที่ให้นมเป็นผู้ชาย เขากับมารดาที่ให้นม(แม่นม) มารดาของนาง ยายและย่าของนาง พี่สาวและน้องสาวของนาง ลูกสาวของนาง หลานสาวของนาง อาหญิงและป้าของนาง ทั้งหมดนี้ เป็นมะฮ์รอมจากการให้นมสำหรับเขา

และเช่นเดียวกัน ในกรณีที่เด็กที่ให้นมเป็นผู้หญิง เธอกับสามีของหญิงที่ให้นม บิดาของเขา ปู่ของเขา พี่ชายและน้องชายของเขา อาชายและน้าชายของเขา ลูกชายและหลานชายของเขา ทั้งหมดนี้ เป็นมะฮ์รอมจากการให้นมสำหรับเด็กผู้หญิง

คำนิยาม

มะฮ์รอม หมายถึง บุคคลที่ไม่สามารถ แต่งงาน กันได้ด้วยเหตุผลทางเชื้อสาย[1] อัลกุรอาน กล่าวถึงมะฮ์รอมและหลักการของมันในสองโองการ โองการที่ 23 ซูเราะฮ์อันนิซาอ์ กล่าวถึงบุคคลที่เป็นมะฮ์รอม และการแต่งงานกับพวกนางเป็นที่ต้องห้าม[2] ในโองการที่ 3 ซูเราะฮ์อันนูร กล่าวถึงผู้ที่เป็นมะฮ์รอมสำหรับผู้หญิง[3] บางแหล่งอ้างอิงทางการรายงาน เช่น วะซาอิลุชชีอะฮ์ และ มุสตัดรอกุลวะซาอิล ได้เขียนบทหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า บทการแต่งงานของมะฮ์รอมและยังริวายัตจาก บรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์ (อ.) อธิบายถึงหลักการของการแต่งงานหรือการมองยังมะฮ์รอม[4] ประเด็นมะฮ์รอมและหลักการของมัน มีกล่าวไว้ในบทต่างๆของฟิกฮ์ เช่น บทการ นิกาฮ์ (การแต่งงาน) การหย่า และหลักการปฏิบัติสำหรับผู้เสียชีวิต(มัยยิต)[5]

หลักการปฏิบัติ

หลังจากที่พิสูจน์ถึงการเป็นมะฮ์รอม การมองและการเปิดเผยเครื่องประดับเป็นที่อนุญาตสำหรับมะฮ์รอม แต่การแต่งงานกับมะฮ์รอมเป็นที่ต้องห้าม[6] ตามทัศนะของบรรดา ฟุกอฮา นอกเหนือจาก สามี และ ภรรยา การมองไปยังเอาเราะฮ์(อวัยวะพึงสงวน) ไม่เป็นทีอนุญาตและการมองไปยังอวัยวะส่วนอื่นที่ไม่ใช่อวัยวะพึงสงวน ในสภาพที่ไม่มีเจตนาทางเพศและตัณหา เป็นที่อนุญาต[7]และเช่นเดียวกัน ไม่จำเป็นที่ผู้หญิงจะปกปิดร่างกายต่อหน้าบุคคลที่เป็นมะฮ์รอม เว้นแต่บางส่วนที่ได้กล่าวไว้[8]

สาเหตุของการเป็นมะฮ์รอม

สาเหตุของการเป็นมะฮ์รอม เป็นสาเหตุที่ทำให้บุคคลสองคนเป็นมะฮ์รอมกันและต้องปฏิบัติตามกฏของมะฮ์รอมอีกด้วย[9] ในหนังสือด้านฟิกฮ์(นิติศาสตร์) กล่าวถึง สาเหตุของการเป็นมะฮ์รอมและการต้องห้ามในการ แต่งงาน มีด้วยกัน 11 ประการ[10] ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังต่อไปนี้[11]

  • เชื้อสาย กล่าวคือ เชื้อสายที่เกิดขึ้นจากการถือกำเนิดบุตรหรือบุคคลที่เกิดขึ้นจากการแต่งงานที่ถูกต้องหรือการมีเพศสัมพันธ์ที่คลุมเครือ(บันทึกที่ 1) เรียกว่า ความสัมพันธ์ทางเชื้อสาย ฉะนั้น ผู้ที่เป็นมะฮ์รอมนี้ เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ตั้งแต่เวลาการถือกำเนิด[12]
  • การให้นม กล่าวคือ การเป็นมะฮ์รอมโดยการให้นม เป็นอีกประเภทหนึ่งของความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ซึ่งเกิดขึ้นจากการให้ที่สตรีผู้หนึ่งได้ให้นม(ไม่ใช่มารดา)กับเด็กทารก[13]

แน่นอนว่า มะฮ์รอมโดยการให้นมนั้นมีเงื่อนไขต่างๆ เช่น หญิงที่ให้นมจะต้องตั้งครรภ์ตามหลักศาสนบัญญัติ การให้นมจะต้องเกิดหลายครั้งและมีความต่อเนื่อง และในระหว่างการให้นมจะต้องไม่ให้อาหารอื่นกับเด็ก และอายุของเด็กที่จะให้นมต้องน้อยกว่า 2 ปี ตามปฏิทินฮิจเราะฮ์ศักราช[14]

  • โดยสาเหตุ กล่าวคือ ด้วยการอ่าน อักด์นิกาฮ์ นอกเหนือจากสามีและภรรยาจะเป็นมะฮ์รอมกันแล้ว ญาติบางคนของผู้ชายและผู้หญิงก็เป็นมะฮ์รอมด้วยเช่นกัน จึงเรียกว่า การเป็นมะฮ์รอมโดยสาเหตุ[15]

ประเภทของผู้เป็นมะฮ์รอม

เนื่องจากสาเหตุของการเป็นมะฮ์รอม ทำให้ผู้เป็นมะฮ์รอมถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท

ผู้เป็นมะฮ์รอมทางเชื้อสาย

ตามทัศนะของบรรดาฟุกอฮา โดยการยืนยันจากโองการที่ 23 ซูเราะฮ์อันนิซาอ์[16] กล่าวว่า ผู้หญิง 7 จำพวก ซึ่งเป็นมะฮ์รอมทางเชื้อสายกับผู้ชายทั้ง7 จำพวก[17] มารดาและชั้นที่สูงขึ้นไป เช่น

  • ยาย(มารดาของมารดา)หรือย่า(มารดาของบิดา)[18]
  • ลูกสาว และชั้่นที่ต่ำลงไป เช่น หลานสาวและเหลนสาว[19]
  • พี่สาวและน้องสาวทั้งฝ่ายมารดาและบิดาหรือทั้งสองฝ่าย[20]
  • อาหญิงและชั้นที่สูงขึ้นไป[21]
  • ป้าและชั้นที่สูงขึ้นไป[22]
  • บุตรสาวของพี่ชายและน้องชาย แม้ว่าชั้นที่ต่ำลงไป[23]
  • และบุตรสาวของพี่สาวและน้องสาว แม้ว่าชั้่นที่ต่ำลงไป[24]

และเช่นเดียวกัน บิดา ปู่-ตา ลูกชาย หลานชาย พี่ชาย-น้องชาย ลูกชายของพี่สาวและน้องสาว อาและอาของบิดาและมารดา น้าชายและน้าชายของบิดาและมารดา ทั้งหมดนี้เป็นมะฮ์รอมของผู้หญิง[25]

ผู้เป็นมะฮ์รอมโดยการให้นม

บรรดาฟุกอฮา ได้ยกหลักฐานจากริวายัตจาก ศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) กล่าวว่า ไม่ว่าอย่างไรก็ตามที่ฮะรอมทางเชื้อสาย ฉะนั้นในการให้นมก็ฮะรอมเช่นกัน[26] ผู้หญิงทั้งหมดโดยผ่านเชื้อสาย ถือว่า การแต่งงานกับพวกนางเป็นสิ่งต้องห้าม และการแต่งงานกับพวกนางโดยการให้นมก็เป็นสิ่งต้องห้ามด้วยเช่นกัน [27] ในการเป็นมะฮ์รอมโดยการให้นม หากว่าเด็กที่ให้นมเป็นผู้ชาย เขากับหญิงที่ให้นม(แม่นม) เป็นมะฮ์รอกับเขา รวมทั้ง มารดาของนาง ยายหรือย่าของนาง พี่สาวและน้องสาวของนาง บุตรสาว หลานสาว อาสาว น้าสาวและป้าของนาง ก็เป็นมะฮ์รอมด้วยเช่นกัน[28] หากเด็กที่ให้นมเป็นผู้หญิง เด็กคนนี้กับสามีของหญิงที่ให้นม เป็นมะฮ์รอมกัน รวมทั้ง บิดาของเขา พี่ชายและน้องชาย บุตรชาย หลานชายและเหลนชาย ก็เป็นมะฮ์รอกับเด็กผู้หญิงนี้ด้วยเช่นกัน และพี่ชายและน้องชาย หลาน บิดาและปู่หรือตา อาชาย น้าชายของหญิงที่ให้นมก็เป็นมะฮ์รอด้วยเช่นกัน[29]

ผู้ที่เป็นมะฮ์รอมโดยสาเหตุ

ผู้หญิงที่เป็นมะฮ์รอมด้วยการสมรสกับผู้ชาย ซึ่งมีดังต่อไปนี้ ภรรยา มารดาของภรรยา ยายของภรรยาหรือย่าของภรรยา บุตรสาวของภรรยา ภรรยาของบิดา(แม่เลี้ยง) ภรรยาของลูกชาย(ลูกสะใภ้[30] และเช่นเดียวกัน สามี บิดาของสามี ปู่และตาของสามี ลูกชายของสามี สามีของมารดา (ที่ไม่ใช่บิดา) และลูกเขย ทั้งหมดด้วยสาเหตุการแต่งงาน จะเป็นมะฮ์รอมกับผู้หญิง[31] และอีกเช่นกัน การแต่งงานกับพี่สาวหรือน้องสาวของผู้หญิง(ตราบใดที่พี่สาวหรือน้องสาวของนาง ยังอยู่ในอักด์) ถือว่าไม่อนุญาต[32]ส่วนอะฮ์กาม(หลักการปฏิบัติ)เกี่ยวกับฮิญาบที่เกี่ยวกับผู้หญิง ก็จะต้องสวมฮิญาบต่อหน้าสามีของพี่สาวหรือน้องสาวด้วย[33]

เชิงอรรถ

  1. فراهیدی، العین، ذیل واژه «حرم».
  2. سوره نساء، آیه۲۳.
  3. سوره نور، آیه۲۱.
  4. حرعاملی، وسائل الشیعه، ۱۴۱۶ق، ج۲۰، ص۳۰۷؛ نوری، مستدرک الوسائل، ۱۴۰۸ق، ج۱۴، ص۳۲۷.
  5. نجفی، جواهرالکلام، ۱۳۶۲ش، ج۲۹، ص۲۳۷.
  6. مشکینی، مصطلحات الفقه، ۱۳۸۱ش، ص۲۷۲.
  7. رساله توضیح المسائل مراجع، بخش نکاح، مسئله ۲۴۳۷.
  8. مشکینی، مصطلحات الفقه، ۱۳۸۱ش، ص۴۷۹.
  9. موسسه دائرة المعارف الفقه الاسلامی، فرهنگ فقه فارسی، ۱۳۸۷ش، ج۱، ص۳۹۱.
  10. برای نمونه نگاه کنید به محقق حلی، شرایع الاسلام، ۱۴۰۸ق، ج۲، ص۲۲۴؛ نجفی، جواهرالکلام، ۱۳۶۲ش، ج۲۹، ص۲۳۷.
  11. مجتهدی تهرانی، سه رساله: گناهان کبیره، محرم و نامحرم، احکام‌الغیبة، ۱۳۸۱ش، ص۱۰.
  12. محقق حلی، شرایع الاسلام، ۱۴۰۸ق، ج۲، ص۲۲۵.
  13. نجفی، جواهرالکلام، ۱۳۶۲ش، ج۲۹، ص۲۶۴.
  14. محقق حلی، شرایع‌الاسلام، ۱۴۰۸ق، ج۲، ص۲۲۸؛ نجفی، جواهرالکلام، ۱۳۶۲ش، ج۲۹، ص۲۶۴.
  15. شهیدثانی، مسالک‌الافهام، ۱۴۱۳ق، ج۷، ص۲۸۱.
  16. شهید ثانی، مسالک الافهام، ۱۴۱۳ق، ج۷، ص۱۹۸.
  17. نجفی، جواهرالکلام، ۱۳۶۲ش، ج۲۹، ص۲۳۸.
  18. نجفی، جواهرالکلام، ۱۳۶۲ش، ج۲۹، ص۲۳۸.
  19. امام خمینی، تحریرالوسیله، ۱۴۳۴ق، ج۲، ص۲۸۲.
  20. امام خمینی، تحریرالوسیله، ۱۴۳۴ق، ج۲، ص۲۸۳.
  21. امام خمینی، تحریرالوسیله، ۱۴۳۴ق، ج۲، ص۲۸۳.
  22. امام خمینی، تحریرالوسیله، ۱۴۳۴ق، ج۲، ص۲۸۳.
  23. امام خمینی، تحریرالوسیله، ۱۴۳۴ق، ج۲، ص۲۸۳.
  24. امام خمینی، تحریرالوسیله، ۱۴۳۴ق، ج۲، ص۲۸۳.
  25. محقق حلی، شرایع الاسلام، ۱۴۰۸ق، ج۲، ص۲۲۴.
  26. مغربی، دعائم‌الاسلام، ۱۳۸۵ق، ج۲، ص۲۴۰.
  27. فاضل مقداد، کنز العرفان، منشورات المکتبة، ج۲، ص۱۸۲؛ مقدس اردبیلی، زبدةالبیان، المکتبة المرتضویة، ص۵۲۴.
  28. محقق حلی، شرایع‌الاسلام، ۱۴۰۸ق، ج۲، ص۲۲۹؛ امام خمینی، تحریرالوسیله، ۱۴۳۴ق، ج۲، ص۲۸۸.
  29. محقق حلی، شرایع‌الاسلام، ۱۴۰۸ق، ج۲، ص۲۲۸-۲۲۹؛ امام خمینی، تحریرالوسیله، ۱۴۳۴ق، ج۲، ص۲۸۸.
  30. امام خمینی، تحریرالوسیله، ۱۴۳۴ق، ج۲، ص۲۸۸-۲۸۹.
  31. امام خمینی، تحریرالوسیله، ۱۴۳۴ق، ج۲، ص۲۸۸-۲۸۹.
  32. شهید اول، اللمعة الدمشقیة، ۱۴۱۰ق، ص۱۶۴.
  33. «آیا خواهر زن محرم است؟ و آیا راهی برای محرمیت با او وجود دارد ؟»، اسلام کوئست.

บรรณานุกรม

  • «آیا خواهر زن محرم است؟ و آیا راهی برای محرمیت با او وجود دارد ؟»، اسلام کوئست، درج مطلب: ۱۳ فروردین ۱۳۹۴ش، مشاهده: ۲۹ فروردین ۱۳۹۹ش.
  • امام خمینی، سید روح‌الله، تحریرالوسیله، قم، مؤسّسة تنظیم ونشر آثار الإمام الخمینی، چاپ اول، ۱۴۳۴ق.
  • بنی‌هاشمی خمینی، سیدمحمدحسن، رساله توضیح المسائل مراجع مطابق با فتاوای سیزده نفر از مراجع معظم تقلید، قم، دفتر انتشارات اسلامی جامعه مدرسین حوزه علمیه قم، ۱۳۸۵ش.
  • حرعاملی، محمد بن حسن، وسائل الشیعه، قم، مؤسسة آل البیت علیهم‌السلام لإحیاء التراث، ۱۴۱۶ق.
  • شهید اول، محمد بن مکی، اللمعة الدمشقیة، بیروت، دارالتراث، ۱۴۱۰ق.
  • شهید ثانی، زین‎الدین بن علی، مسالک‌الافهام، قم، مؤسسة المعارف الإسلامیة، ۱۴۱۳ق.
  • فاضل مقداد، عبدالله، کنز العرفان فی فقه القرآن، قم، منشورات المکتبة المرتضویة للإحیاء الآثار الجعفریة، بی‌تا.
  • فراهیدی، خلیل بن احمد، العین، قم، نشر هجرت، تصحیح: مهدی مخزومی و ابراهیم سامرائی، ۱۴۱۰ق.
  • مؤسسه دائرة المعارف الفقه الاسلامی، «آمیزش»، در فرهنگ فقه فارسی، قم، مؤسسه دائرة المعارف الفقه الاسلامی، ۱۳۸۷ش.
  • مجتهدی تهرانی، احمد، سه رساله: گناهان کبیره، محرم و نامحرم، احکام‌الغیبة، قم، مؤسسه در راه حق، ۱۳۸۱ش.
  • محقق حلی، جعفر بن حسن، شرایع‌الاسلام، قم، مؤسسه اسماعیلیان، چاپ دوم، ۱۴۰۸ق.
  • مشکینی، علی اکبر، مصطلحات الفقه، قم، نشر الهادی، چاپ سوم، ۱۳۸۱ش.
  • مغربی، قاضی نعمان، دعائم‌الاسلام، قم، مؤسسه آل البیت علیهم‌السلام، چاپ دوم، ۱۳۸۵ق.
  • مفید، محمد بن محمد، المقنعه، قم، کنگره جهانی هزاره شیخ مفید، ۱۴۱۳ق.
  • مقدس اردبیلی، احمد بن محمد، زبدةالبیان فی آیات الاحکام، تهران، المکتبة المرتضویة لإحیاء الآثار الجعفریة، چاپ اول، بی‌تا.
  • نجفی، محمدحسن، جواهرالکلام فی شرح شرایع الاسلام، بیروت، دار احیاء التراث العربی، ۱۴۰۴ق.
  • نوری، حسین، مستدرک الوسائل، قم، مؤسسة آل البیت علیهم‌السلام لإحیاء التراث، ۱۴۰۸ق.

แม่แบบ:End