นอมะฮ์รัม
นอมะฮ์รัม (ภาษาอาหรับ: غير المحارم) ตรงกันข้ามกับ มะฮ์รัม หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของ ฮิญาบ เป็นสิ่งที่จำเป็น และการอนุญาตให้สามารถแต่งงาน ด้วยกันได้
ในทัศนะของบรรดานักนิติศาสตร์ ไม่อนุญาตให้มองยังร่างกายของนอมะฮ์รัม ยกเว้น ใบหน้าและมือทั้งสองข้าง จนถึงข้อมือ นอกจากนี้ การมองไปยังใบหน้าและมือทั้งสองข้าง และการได้ยินเสียงของผู้หญิงที่เป็นนอมะฮ์รัม หากนำไปสู่การกระทำความผิด บาป ถือว่าเป็น ฮะรอม
ตามคำฟัตวาของบรรดานักนิติศาสตร์ ระบุว่า ผู้หญิงจะต้องปกปิดร่างกายทั้งหมดของตนจากนอมะฮ์รัม แน่นอนว่า การปกปิดใบหน้าและมือทั้งสองข้างจากนิ้วไปจนถึงข้อมือ มีทัศนะที่แตกต่างกัน แต่ส่วนมากของบรรดานักนิติศาสตร์ ถือว่า การปกปิดส่วนดังกล่าวไม่ถือว่า เป็น วาญิบ นอกจากนี้ยังไม่อนุญาตให้ผู้หญิงมองยังร่างกายของชายที่เป็นนอมะฮ์รัมอีกด้วย การสัมผัสร่างกายของมะฮ์รัม และการอยู่โดยลำพังระหว่างชายและหญิงนอมะฮ์รัม หากนำไปสู่ความหวาดกลัวในการกระทำบาป ถือว่า เป็นฮะรอม ในฟิกฮ์ของอิสลาม ระบุว่า อนุญาตให้มีการแต่งงานกับนอมะฮ์รัมได้ แน่นอนว่า การแต่งงานกับบางนอมะฮ์รัม เนื่องจากเงื่อนไขอันเฉพาะ ถือว่า เป็นฮะรอม
ความหมายและสถานภาพ
บุคคลที่ไม่เป็น มะฮ์รัม ถูกเรียกว่า นอมะฮ์รัม ความหมายของมะฮ์รัม คือ ผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ จากหนึ่งในวิธีการเหล่านี้ กล่าวคือ จากเชื้อสาย การแต่งงาน และการให้นม(1) คำศัพท์ทางวิชาการนี้ ถูกใช้ในบทต่างๆของฟิกฮ์ เช่น การแต่งงาน การหย่าร้าง และ ฮุดูด (2)
ในโองการที่ 30 และ 31 ได้มีคำสั่งให้ปิดสายตาจากการมองนอมะฮ์รัม และสิ่งใดก็ตามที่อัลลอฮ์ทรงสั่งห้าม (3) มีริวายะฮ์จำนวนมากที่ได้รายงานมาจากบรรดา อิมาม ผู้บริสุทธิ์ (อ.) ว่า การมีความสัมพันธ์ระหว่างหญิงและชายที่เป็นนอมะฮ์รัมกันเป็นสิ่งที่น่าอับอายอย่างยิ่ง (4)
อิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า การพูดคุยกับนอมะฮ์รัม เป็นหนึ่งในกับดักของ ชัยฏอน (5) ริวายะฮ์ รายงานจาก อิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า การร่วมพูดคุยกับผู้หญิงทั้งหลายที่เป็นนอมะฮ์รัม เป็นสาเหตุที่จจะทำให้มีการทดสอบและหัวใจมีความหันเห (7)
ฟัยฎ์ กาชานีย์ เขียนไว้ในหนังสือ มะฮัจญะตุลบัยฎออ์ (8) และมุลลา มุฮัมมัดมะฮ์ดี นะรอกี ในหนังสือ ญามิอุซซะอาดาต (9) ว่า การมองไปยังนอมะฮ์รัม ถือเป็นการปฏิเสธความโปรดปรานของดวงตา
มุรตะฎอ มุเฏาะฮิรีย์ เขียนในหนังสือ ฮิญาบ โดยเน้นย้ำให้เห็นว่า การระมัดระวัง ฮิญาบ และการปกปอปิดอย่างเหมาะสมสำหรับผู้หญิงทั้งหลายในศาสนาอิสลาม เป็นการรักษาความปลอดภัยและสุขอนามัยทางจิตของบุคคล การทำให้สังคมมีความปลอดภัยและมีความมั่นคง การทำให้ระบบของครอบครัวมีความมั่นคง และการให้เกียรติต่อผู้หญิงเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งการออกห่างจากการผิดประเวณีและสิ่งต้องห้ามอื่นๆ (10)
หลักปฏิบัติที่เกี่ยวข้องบุคคลที่เป็น นอมะฮ์รัม
ในหลักนิติศาสตร์อิสลาม มีหลักการปฏิบัติสำหรับผู้ที่เป็น นอมะฮ์รัม:
การห้ามมิให้มองดูผู้ที่เป็นนอมะฮ์รัม
- การห้ามมิให้ผู้ชายมองดูรูปร่างของสตรีที่เป็นนอมะฮ์รัม ยกเว้นใบหน้าและมือ ตั้งแต่นิ้วจนถึงข้อมือ [11] ห้ามมิให้มองใบหน้าและมือ จนถึงข้อมือด้วย หากมีความตั้งใจ เพื่อเสวงหาความสุขทางเพศและมีความหวาดกลัวบาป ถือเป็นสิ่งที่ฮะรอม (ต้องห้าม)(12)
- การที่ผู้หญิงจะมองร่างกายของชายที่เป็นนอมะฮ์รัม ยกเว้น ส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ปกติไม่ได้มีการปิดคลุมไว้ เช่น ศีรษะ มือ และขา โดยปราศจากการเสวงหาความสุขทางเพศและความหวาดกลัวในการกระทำที่เป็นฮะรอม (13)
* ตามคำฟัตวาของบรรดานักนิติศาสตร์ของชีอะฮ์ เป็นที่อนุญาตให้มองใบหน้าของผู้หญิงที่ตั้งใจจะแต่งงานกันได้ [14] นักนิติศาสตร์บางคน ถือว่า เป็นที่อนุญาตให้มองร่างกายของผู้หญิง - ผม และส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น ลำคอและส่วนหนึ่งของหน้าอก – ด้วยความตั้งใจที่จะแต่งงานและไม่มีเจตนาเพื่อเสวงหาความสุขทางเพศ เป็นที่อนุญาตด้วยเช่นกัน (15)
- การดูภาพยนตร์และรูปถ่ายของผู้หญิงที่ไม่สวมฮิญาบ หากไม่มีกิเลสตัณหาและไม่รู้จักผู้หญิงเหล่านั้น ถือว่าไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด ในกรณีถ้าหากเขารู้จักพวกนาง การดูภาพยนตร์และรูปถ่ายของพวกนางก็เหมือนกับการมองตัวของพวกนาง[16]
- ถือเป็นการอนุญาตสำหรับแพทย์ที่จะตรวจดูร่างกายของนอมะฮ์รัม หากจำเป็นในการรักษา[17]
- การมองภาพของผู้หญิงที่ไม่ใช่มุสลิมโดยไม่สวมฮิญาบ ถือว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใด หากไม่ใช่เพื่อเสวงหาความสุขและเป็นแหล่งที่มาของความชั่วร้าย[18]
ความจำเป็นต้องคลุมร่างกายจากนอมะฮ์รัม
ถือเป็นหน้าที่ของผู้หญิงที่จะต้องปกปิดร่างกายของตนจากนอมะฮ์รัม [19] แน่นอนว่า มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความจำเป็นที่จะต้องปกปิดใบหน้าและมือ ตั้งแต่ปลายนิ้วจนถึงข้อมือ (20) ตามทัศนะของบรรดานักนิติศาสตร์ เช่น เชคฏูซีย์ (21) ผู้เขียนหนังสือ ฮะดาอิก (22) เชคอันศอรี (23) ซัยยิดมุฮัมมัดกาซิม ยัซดี (24) ซัยยิดมุฮ์ซิน ฮะกีม (25) อิมามโคมัยนี (26) และซัยยิดอะลี คาเมเนอี (27) ระบุว่า การปกปิดใบหน้าและมือ ตั้งแต่ปลายนิ้วจนถึงข้อมือ ไม่จำเป็นสำหรับผู้หญิง บรรดานักนิติศาสตร์ เช่น อัลลามะฮ์ ฮิลลีย์ ในหนังสือ ตัซกิเราะตุลฟุกอฮา(28)ฟาฏิล มิกดาด (29) และซัยยิด อับดุลอะอ์ลา ซับซะวารี (30) ถือว่า การปกปิดใบหน้าและมือ เป็นข้อบังคับ นอกจากนี้ ตามความเห็นของบรรดานักนิติศาสตร์ทั้งหมดทุกคน ระบุว่า หากมีความหวาดกลัวว่า จะตกอยู่ในการกระทำสิ่งที่เป็นฮะรอม หรือมีความตั้งใจที่จะทำให้ชายกระทำในสิ่งที่เป็นฮะรอม ฉะนั้น ผู้หญิงจะต้องปิดใบหน้าและมือของนาง (31)
เป็นที่ต้องห้าม สำหรับการสัมผัสนอมะฮ์รัม
* ตามทัศนะของบรรดานักนิติศาสตร์ ระบุว่า ไม่อนุญาตให้สัมผัสร่างกายของผู้เป็นนอมะฮ์รัม แน่นอนว่า ในกรณีฉุกเฉิน เช่น การรักษาโรค และการช่วยชีวิตของมนุษย์ เป็นที่อนุญาต (32) นอกจากนี้ การสัมผัสร่างกายของนอมะฮ์รัม ผ่านเสื้อผ้าหรือสิ่งกีดขวาง หากปราศจากกิเลสตัณหาและความตั้งใจที่จะเสวงหาความสุขทางเพศ(33) นักนิติศาสตร์บางคน ถือว่าเป็นการอนุญาตให้จับมือด้วยนอมะฮ์รัมได้ หากสัมผัสผ่านผ้าหรือถุงมือ และไม่มีเจตนาที่จะกระทำความชั่วร้าย และไม่มีการบีบมือของนอมะฮ์รัม (ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย)ก็ตาม (34)
หลักการในการฟังเสียงของผู้หญิงนอมะฮ์รัม
- ตามทัศนะของบรรดานักนิติศาสตร์ ระบุว่า เป็นที่อนุญาตให้ฟังเสียงของผู้หญิงที่เป็นนอมะฮ์รัมได้ โดยปราศเจตนาเพื่อเสวงหาความสุขทางเพศและความหวาดกลัวที่จะตกในการกระทำที่เป็นฮะรอม แต่หากมีความหวาดกลัวที่ฮะรอมจะเกิดขึ้นและด้วยความตั้งใจเพื่อเสวงหาความสุขทางเพศ ถือว่าเป็นฮะรอม (35)
* การอ่านเสียงดังของผู้หญิงในนมาซ ในสถานที่ซึ่งนอมะฮ์รัมสามารถได้ยินเสียงของนาง ตามทัศนะของบรรดานักนิติศาสตร์ เช่น ชะฮีดเอาวัล ถือเป็นฮะรอม และทำให้นมาซเป็นโมฆะ (36)ผู้เขียนตำราญะวาฮิร ยอมรับว่า การกระทำดังกล่าวถือเป็นฮะรอม แต่ไม่ได้ทำให้นมาซของนางเป็นโมฆะ (37)
กฏของการอยู่ตามลำพังกับบุคคลที่เป็นนอมะฮ์รัม
ตามทัศนะของนักนิติศาสตร์บางคน ถือว่า เป็นฮะรอมที่จะอยู่ตามลำพังกับบุคคลที่เป็นนอมะฮ์รัม(38) นักนิติศาสตร์บางคน ถือว่า ในกรณีที่เป็นฮะรอม การอยู่ตามลำพังกับบุคคลที่เป็นนอมะฮ์รัม ก็ต่อเมื่อมีความเป็นไปได้ที่จะตกไปสู่การกระทำบาปเท่านั้น (39) ด้วยคำฟัตวาของอายะตุลลอฮ์คูอีย์ (เสียชีวิต 1371 สุริยคติ) ระบุว่า การอยู่ตามลำพังกับนอมะฮ์รัม เป็นพื้นฐานของการเกิดขึ้นของฮะรอม และด้วยเหตุนี้ เมื่อถือว่าเป็นพื้นฐานในการตกไปสู่การกระทำความผิดบาป จึงถือว่า เป็นฮะรอม (40) มุฮัมมัดฮะซัน นะญะฟีย์ ผู้เขียนตำราญะวาฮิรุลกะลาม กล่าวว่า การอยู่ตามลำพังกับบุคคลที่เป็นมะฮ์รัม เป็นสิ่งที่เป็นมักรูฮ์ (41)
การพูดจา
- ตามทัศนะของบรรดานักนิติศาสตร์ ระบุว่า เป็นที่อนุญาตให้พูดคุยกับบุคคลที่เป็นนอมะฮ์รัมได้ หากปราศจากการเสวงหาความสุขทางเพศหรือความหวาดกลัวในการเกิดขึ้นของสิ่งที่เป็นฮะรอม(42)
- ทัศนะของมีรซา ญะวาด ตับรีซี ถือว่า ควรหลีกเลี่ยงจากการพูดคุยกับหญิงสาว แม้ว่าจะไม่มีความตั้งใจเพื่อเสวงหาความสุขทางเพศก็ตาม หรือความหวาดที่จะเกิดสิ่งที่เป็นฮะรอมด้วยก็ตาม (43)
- การติดต่อสื่อสารกับบุคคลที่เป็นมะฮ์รัม โดยผ่านทางข้อความสั้น การแชท และอีเมล เป็นสิ่งที่ต้องห้าม ในกรณีที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดความชั่วร้ายและการกระทำความผิดบาป (44)
การอนุญาตให้สามารถแต่งงานกับนอมะฮ์รัม
- ในนิติศาสตร์อิสลาม การแต่งงาน ถือเป็นที่อนุญาตเฉพาะกับนอร์มะฮ์รัมเพียงเท่านั้น และการแต่งงานกับมะฮ์รัม ไม่เป็นที่อนุญาตแต่อย่างใด (45)
- แน่นอนว่า พี่สาวหรือน้องสาวของภรรยา ถึงแม้ว่า จะเป็นนอมะฮ์รัมก็ตาม แต่การแต่งงานกับนาง จะไม่เป็นที่อนุญาตในขณะที่ภรรยาของเขายังมีชีวิตอยู่ หรือยังไม่มีการหย่าร้าง (46)
- การแต่งงานกับบุคคลที่เป็นมะฮ์รัมบางคน เนื่องด้วยเงื่อนไขดังต่อไปนี้ จะเป็นที่ฮะรอมตลอดไป:
- การแต่งงานของชายกับผู้หญิงที่หย่าร้าง 9 ครั้ง (47)
- การแต่งงานของชายกับผู้หญิง ซึ่งก่อนหน้านี้ เขาได้ผิดประเวณีกับแม่และลูกสาวของนาง (48)
- การแต่งงานของชายกับผู้หญิงที่มีสามีและกับผู้หญิงที่ผิดประเวณีกับนางในขณะที่มีอิดดะฮ์หย่าร้าง (49)
- การแต่งงานของชายกับผู้หญิง ที่ก่อนหน้านี้ มีการร่วมเพศสัมพันธ์กับลูกชาย พี่ชาย น้องชาย หรือพ่อของนาง (50)