การโกหก

จาก wikishia

การโกหก (ภาษาอาหรับ : الكذب) เป็นหนึ่งในความชั่วร้ายทางด้าน อัคลาก หมายถึง การพูดในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความจริง การโกหก จึงถือเป็นหนึ่ง บาปใหญ่ ซึ่งถูกสั่งห้ามใน อัลกุรอาน และ ฮะดีษ และยังได้รับการแนะนำว่า เป็นกุญแจที่นำไปสู่ความชั่วร้ายทั้งหมด ด้วยเหตุนี้เอง การโกหก ถือเป็นการกระทำที่ต้องห้าม แต่ในบางกรณีก็ได้รับการอนุญาต เช่น การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของประชาชน และการรักษาชีวิต ทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่น เป็นต้น

ในริวายะฮ์ต่างๆได้กล่าวถึงผลที่ตามมาทั้งในโลกนี้และปรโลกสำหรับการโกหก เช่น การทำให้เป็นผู้ที่ไร้เกียรติและศักดิ์ศรี และมีความตกต่ำท่ามกลางผู้คน การถูกลงโทษจากพระเจ้า การทำลายความศรัทธา การถูกสาปแช่งจากมวลเทวทูต

ความอิจฉาริษยา ความตระหนี่ถี่เหนียว ความศรัทธาที่อ่อนแอ ฯลฯ เป็นปัจจัยต่างๆและแรงจูงใจของการโกหก

การให้ความสนใจกับผลกระทบและผลที่จะตามมาของการโกหก ตลอดจน โองการอัลกุรอานและริวายะฮ์ต่างๆได้กล่าวประณามการโกหก ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการของการรักษาการโกหก

ความหมาย

การโกหก ถือเป็นความชั่วร้ายทางด้านศีลธรรม หมายถึง การพูดจาในสิ่งที่ตรงข้ามกับความจริง (1) หรือการอ้างคำพูดของผู้หนึ่งที่เขาได้พูดคำนั้น (2) การโกหก ซึ่งตรงกันข้ามกับ การพูดความจริงและความซื่อสัตย์ และผู้ที่พูดโกหก เรียกเขาว่า คนโกหก (3)

สถานภาพและความสำคัญ

การโกหก เป็นหนึ่งในความชั่วร้ายทางด้านศีลธรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุด[4] และเป็นบาปที่น่ารังเกียจที่สุด[5] และในบางริวายะฮ์ กล่าวว่า การโกหก เป็นกุญแจที่นำไปสู่ความชั่วร้ายทั้งหมด[6] จากคำกล่าวของ มุลลา อะฮ์มัด นะรอกี ระบุว่า โองการอัลกุรอานและริวายะฮ์ จำนวนมากได้กล่าวถึงโทษของการโกหกและผู้โกหก [7] นอกจากนี้ ในหนังสือฮะดีษและอัคลาก มีบทเฉพาะกับหัวข้อของการโกหก[8] ตัวอย่างเช่น ในหนังสือของอัลกาฟีย์ ในบทที่ว่าด้วยการโกหก มี 22 ฮะดีษที่กล่าวถึงโทษของการโกหก [9] ในริวายะฮ์ของอิมามศอดิก (อ.) ที่กล่าวถึงกองทัพของสติปัญญาและความโง่เขลา โดยกล่าวว่า การพูดความจริง เป็นหนึ่งในกองทัพของสติปัญญา ขณะที่การโกหก เป็นหนึ่งในกองทัพของความเขลา [10] ในอัลกุรอาน ผู้โกหกถูกแนะนำว่า สมควรที่จะได้รับการสาปแช่งและความโกรธกริ้วของพระเจ้า [11] การโกหกยังถูกกล่าวถึงในหนังสืออัคลากว่า เป็นหนึ่งในความชั่วร้ายทางศีลธรรม [12]

การโกหกยังถูกกล่าวถึงในบทของการถือศีลอด ฮัจญ์ ธุรกรรม และคำสาบาน(13) ในหนังสือฟิกฮ์( ตัวอย่างเช่น การโกหก ถือเป็นหนึ่งในข้อห้ามของการครองผ้าอิห์รอมในพิธีฮัจญ์(13) นอกจากนี้ การโกหกต่อพระเจ้าและศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ก็เป็นการกระทำประการหนึ่งที่ทำให้การถือศีลอดเป็นโมฆะ ซึ่งมีการกล่าวถึงในประเด็นหลักการปฏิบัติของการถือศีลอด(15)

การโกหก เป็นบาปใหญ่ใช่ไหม?

ในฮะดีษบางบท รายงานว่า การโกหก ถือเป็นบาปใหญ่ประการหนึ่ง (16)ด้วยเหตุนี้เอง ชะฮีด ษานี จึงถือว่า การโกหก เป็นหนึ่งในบาปใหญ่ที่ทำให้บุคคลเบี่ยงเบนออกจากความยุติธรรม (ผู้ที่มีความยุติธรรม) (17) อย่างไรก็ตาม เชคอันศอรี ยังอ้างอีกริวายะฮ์หนึ่ง(18) คาดว่า การโกหก เป็นบาปใหญ่ประการหนึ่งหากมีการทุจริต (19)

นอกจากนี้ ในบางริวายะฮ์ รายงานว่า การโกหกต่อพระเจ้าและศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล) ถือเป็นบาปใหญ่ประการหนึ่ง (20) นักวิชาการบางคนยังอ้างถึงริวายะฮ์นี้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า ความใหญ่โตของการโกหกนั้นเฉพาะเจาะจงกับกรณีนี้ หรือฮะดีษเหล่านี้ บ่งบอกถึงความรุนแรงของบาปในกรณีเหล่านี้(21)

ปัจจัยและแรงจูงใจในการโกหก

ในการโกหก มีปัจจัยต่างและแรงจูงใจหลายประการ ตามรายงานของริวายะฮ์หนึ่ง ถือว่า การโกหกมีรากฐานมาจากความต่ำต้อยของจิตวิญญาณ (22) นอกจากนี้ ในกรณีต่างๆ เช่น ความศรัทธาที่อ่อนแอและการล่อลวงและกระซิบกระซาบของชัยฏอน ความตระหนี่ถี่เหนียว และความริษยา ล้วนเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง และการได้รับความมั่งคั่งและฐานะภาพ ก็ถือเป็นแรงจูงใจในการโกหก ด้วยเช่นกัน (23)

ผลกระทบและผลที่ตามมา

ผลที่ตามมาบางประการของการโกหก คือ : การทำให้ผู้โกหกเสื่อมเสีย: มีรายงานจากอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า ควรหลีกเลี่ยงการเป็นมิตรกับคนโกหก เพราะว่า ไม่ว่าเขาจะโกหกมากเท่าไร ความจริงของเขาก็จะไม่มีความเชื่อถือด้วยซ้ำ (24)

การทำลายศรัทธาของผู้โกหก : ตามริวายะฮ์จากอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า การโกหก จะทำลายบ้านแห่งความศรัทธา (25) การลงโทษจากพระผู้เป็นเจ้า : รายงานจากศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ็อลฯ) กล่าวว่า พวกเจ้าจงออกห่างจากการโกหก การโกหก เป็นการผิดศีลธรรมและความอยุติธรรม และผู้โกหกและผู้ที่ผิดศีลธรรมจะพำนักในไฟนรก (26)

การถูกสาปแช่งโดยมลาอิกะฮ์ : รายงานจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “เมื่อผู้ศรัทธาพูดมุสาโดยไม่มีข้อแก้ตัว ทูตสวรรค์ทั้งเจ็ดหมื่นองค์จะสาปแช่งเขา และกลิ่นเหม็นก็ออกมาจากหัวใจของเขาไปถึงบัลลังก์ของพระเจ้า และด้วยเหตุนี้ พระองค์ทรงบันทึกความบาป สำหรับเขาเท่ากับการผิดประเวณีเจ็ดสิบครั้ง ซึ่งอย่างน้อยที่สุด ก็คือการผิดประเวณีกับมารดาของเขา” (27)

นอกจากนี้ ความไร้เกียรติและศักดิ์ศรี (28) ความยากจน (29) และการหลงลืม (30) เป็นผลที่ตามมาประการอื่น ๆ ของการโกหกที่ถูกกล่าวถึงในริวายะฮ์ ตามคำกล่าวของมุลลา อะฮ์หมัด นะรอกีใน หนังสือ มิราจ อัล-ซาอาดะห์ การโกหก จะทำให้บุคคลต้องไร้เกียรติและศักดิ์ศรีและทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงต่อสายตาของผู้คน และทำให้ใบหน้าของเขาเป็นสีดำทั้งในโลกนี้และโลกหน้า (31) วิธีการรักษาการโกหก

มุลลา อะฮ์หมัด นะรอกี เชื่อว่า สำหรับการรักษาคุณลักษณะของการโกหก จะต้องมีการดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ต่อไปนี้ เพื่อที่จะเข้าไปสู่สถานภาพของความสัตย์จริง :

การให้ความใส่ใจต่อโองการอัลกุรอานและริวายะฮ์ต่างๆที่กล่าวถึงการประณามการโกหก การให้ความใส่ใจต่อผลของการโกหกทั้งในโลกนี้และปรโลก เช่น การลงโทษในวันปรโลก ความอับอายขายหน้า และการเสื่อมเสียชื่อเสียงท่ามกลางผู้คนในโลกนี้ การไตร่ตรองถึงผลและประโยชน์ของการพูดความจริง การไตร่ตรองก่อนการพูดจา การออกห่างจากการคบหากับคนโกหกและผู้ที่กระทำบาป (32)

นอกจากนี้ ตามคำกล่าวของ นาศิร มะการิม ชีรอซี หนึ่งจากมัรญิอ์ ตักลีด และนักตัฟซีรอัลกุรอาน ในหนังสือ จริยธรรมในอัลกุรอาน ระบุว่า การโกหก จะต้องได้รับการรักษาด้วยการรักษารากเหง้าของมัน ตัวอย่างเช่น หากแรงจูงใจในการโกหก คือ ความศรัทธาที่อ่อนแอ ความศรัทธาก็ควรเข้มแข็งขึ้น และหากเป็นความตระหนี่ถี่เหนียวและความอิจฉาริษยา ก็ต้องกำจัดสิ่งเหล่าออกไป นอกจากนี้ เราจะต้องออกห่างจากคนที่พูดโกหกหรือการสร้างบรรยายกาศให้พวกเขาพูดโกหก (33)

การโกหกที่อนุญาต

การโกหก เป็นสิ่งต้องห้าม (34) อย่างไรก็ตาม ในกรณีเหล่านี้ซึ่งมีประโยชน์ที่สำคัญ ถือว่าได้รับอนุญาตและเป็นวาญิบ: (35)

ในกรณีที่มีความจำเป็น: หากมีความจำเป็น (สภาพที่ฝืนใจและความเร่งด่วน) ถือว่า การโกหก ก็เป็นที่อนุญาต(36) เช่น ในสถานที่ซึ่งชีวิต ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่นๆ ตกอยู่ในอันตราย(37)

การปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติ : การโกหกด้วยจุดประสงค์เพื่อการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติด้วยกัน ถือว่า เป็นสิ่งที่ได้รับการอนุญาต

ในสงครามกับศัตรู ตามริวายะฮ์ต่างๆ รายงานว่า การโกหกในสงครามสำหรับการหลอกลวงศัตรูเป็นที่อนุญาต (39)

การให้สัญญาเท็จกับภรรยาและลูก

บางริวายะฮ์ รายงานว่า เป็นที่อนุญาตให้ทำสัญญาเท็จกับภรรยาและลูกๆ ของตนได้ (40) ด้วยเหตุนี้เอง ในหนังสือทางศีลธรรม เขียนว่า การให้สัญญากับภรรยาและลูก ถูกยกเว้นออกจากการต้องห้ามจากการโกหก (41)อย่างไรก็ตาม บรรดาฟะกีฮ์ของชีอะฮ์ ไม่ถือว่า เป็นการอนุญาตให้โกหกต่อภรรยาของตนได้ (42) นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวด้วยว่าริวายะฮ์เหล่านี้ไม่สอดคล้องกับโองการที่กล่าวว่า อย่าได้ผิดสัญญา (43) และเช่นเดียวกัน ริวายะฮ์เหล่านี้ กล่าวถึงการสั่งห้ามให้สัญญาโดยไม่ได้ตั้งใจ (44) ขณะที่นักวิชาการบางคน ยังเชื่อว่าการปฏิบัติกับตัวบทของริวายะฮ์เหล่านี้ เป็นคำสอนไม่ดีและเป็นการสนับสนุนให้ลูกๆพูดโกหกและผิดสัญญาอีกด้วย (45)


เชิงอรรถ

บรรณานุกรม