เหตุการณ์ฟะดัก
เหตุการณ์ฟะดัก (ภาษาอาหรับ: حادثة فدك) หมายถึง เหตุการณ์ที่อะบูบักร์ได้ยึดสวนฟะดักของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.)ไป หลังจากการเสียชีวิต(วะฟาต)ของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)โดยอะบูบักร์ได้อ้างฮะดีษจากศาสดา(ศ็อลฯ) (ซึ่งผู้รายงานมีเพียงคนเดียวก็คือ อะบูบักร์) ว่า บรรดาศาสดา ไม่มีมรดกตกทอดให้กับผู้อื่นใด แต่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ได้ตอบว่า ก่อนที่ศาสดามฮัมมัด (ศ็อลฯ)จะเสียชีวิต ได้มอบสวนฟะดักให้แก่นาง ทั้งอิมามอะลี (อ.)และท่านหญิงอุมมุอัยมัน ก็เป็นสักขีพยานในคำกล่าวนี้ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.)
ในทัศนะของบรรดานักวิชาการของชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์บางคน ให้ความเห็นว่า เมื่อโองการที่ 26 ซูเราะฮ์อัลอิสรออ์ ถูกประทานลงมา
"และเจ้าจงให้สิทธิแก่ญาติสนิทและผู้ขัดสนและผู้ที่เดินทาง"
ได้มีคำสั่งว่า ให้ศาสดามุฮัมมัดมอบสิทธิให้กับซะวีลกุรบา(ญาติสนิท)
ในรายงานหนึ่ง ระบุว่า อะบูบักร์ได้ยืนยันถึงความเป็นเจ้าของสวนฟะดักของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ในเอกสารฉบับหนึ่ง แต่อุมัรได้ยึดเอาเอกสารนั้นและได้ฉีกมัน ตามอีกรายงานหนึ่ง กล่าวว่า อะบูบักร์ไม่ยอมรับสักขีพยานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) เมื่อบุตรีของศาสดาเห็นว่า คำร้องของตนและสามีของนาง อิมามอะลีนั้น ไม่มีผล นางจึงเดินทางไปยังมัสยิดและกล่าวเทศนาธรรม ซึ่งรู้จักกันในชื่อ "คุฏบะฮ์ฟะดะกียะฮ์" ที่กล่าวถึงการยึดครองตำแหน่งคอลีฟะฮ์ และคำพูดของอะบูบักร์ที่ว่า บรรดาศาสดานั้นจะไม่มีมรดกตกทอด ซึ่งคำพูดนี้ได้ขัดแย้งกับอัลกุรอาน และปล่อยให้เขาถูกตัดสินจากพระผู้เป็นเจ้าในวันปรโลก หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) เกิดความไม่พอใจอะบูบักร์และอุมัร เป็นอย่างมาก จนกระทั่งนางได้เสียชีวิตในสภาพที่มีความโกรธต่อบุคคลทั้งสองอีกด้วย
หลังจากการวะฟาตของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) หมู่บ้านฟะดัก ก็ตกไปอยู่ในมือของคอลีฟะฮ์และถูกแบ่งแยกกันในหมู่พวกเขา แน่นอนว่า คอลีฟะฮ์บางคน รวมทั้ง อุมัร บิน อับดุลอะซีซ จากบะนีอุมัยยะฮ์ และมะอ์มูน อับบาซี ก็ได้มอบฟะดักหรือรายได้จากมันให้กับลูกหลานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ แม้ว่า คอลีฟะห์รุ่นหลังจะยึดกลับคืนมาก็ตาม
เกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ มีผลงานประพันธ์เป็นภาษาอาหรับและเปอร์เซีย หนึ่งในนั้นคือหนังสือ ฟะดัก ฟีย์อัตตารีค เขียโดย ซัยยิดมุฮัมมัดบากิร อัศศ็อรด์ ซึ่งใช้วิธีการวิเคราะห์ ในหนังสือเล่มนี้ เขาได้วิเคราะห์ข้อเรียกร้องของฟะดักว่า เป็นจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านอธิปไตยของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ และเป็นหนึ่งในขั้นตอนของการปกป้องอิมามะฮ์ของท่านหญิง
ฟะดักและสถานภาพของมัน
ไทม์ไลน์ฟะดัก ชะอ์บาน ปี 6 ฮ.ศ. สงครามของอิมามอะลี ยังฟะดัก (1) ศอฟัร ปีที่ 7 ฮ.ศ. พิชิตค็อยบัร (2) ศอฟัรหรือรอบีอุลเอาวัล ปี 7 ฮ.ศ. ชาวยิวมอบสวนฟะดักให้ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) 14 ซุลฮิจญะฮ์ ปี 7 ฮ.ศ. ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)มอบสวนฟะดักให้ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (3) รอบีอุลเอาวัล ปี 11 อะบูบักร์สั่งให้ยึดสวนฟะดัก ประมาณ 30 ฮ.ศ. สวนฟะดักถูกส่งมอบให้มัรวาน โดยอุษมาน (4) หลังจาก 40 ฮ.ศ. ได้มีการแบ่งสวนฟะดักระหว่างมัรวานและอัมร์ บินอุษมานและยะซีด โดยมุอาวิยะฮ์ (5) ประมาณปี 100 สวนฟะดักถูกส่งคืนให้ลูกหลานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ โดยอุมัร บินอับดุลอะซีซ หลังจาก 101 ฮ.ศ.สวนฟะดักถูกแย่งชิงอีกครั้งโดยยะซีด บินอับดุลมะลิก ประมาณปี 132 จนถึง 136 ฮ.ศ. สวนฟะดักถูกส่งคืนโดยซัฟฟาฮ์ เคาะลีฟะฮ์คนแรกของบะนีอับบาส (6) ประมาณปี 140 ฮ.ศ. สวนฟะดักถูกยึดครองอีกครั้งโดย มันซูร อับบาซี (7) ประมาณปี160 ฮ.ศ. มะฮ์ดี อับบาซี ส่งคืนสวนฟะดัก (8) ประมาณปี170 ฮ.ศ. สวนฟะดักถูกยึดครองอีกครั้งโดย ฮาดี อับบาซี ประมาณปี 210 ฮ.ศ. มะอ์มูน อับบาซี ส่งคืนสวนฟะดัก (9) ประมาณปี232-247 สวนฟะดักถูกยึดครองอีกครั้งโดย มุตะวักกิล อับบาซี (10) ปี 248 มุนตะศิร อับบาซี สั่งให้คืนสวนฟะดัก (11)
ฟะดัก เป็นชื่อของหมู่บ้านที่มีความอุดมสมบูรณ์ ใกล้กับค็อยบัร[12] และ ห่าง 200 กิโลเมตรจากเมืองมะดีนะฮ์ [13] สถานที่ซึ่งชาวยิวอาศัยอยู่ในนั้น [14] บริเวณนี้ มีไร่ สวนผลไม้ และสวนอินทผลัมอย่างมากมาย [15] หลังจากการวะฟาตของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้มีการถกเถียงกันเกี่ยวกับทรัพย์สินของสวนฟะดัก โดยเหล่าเคาะลีฟะฮ์ได้ยึดมันเพื่อเป็นประโยชน์ของตนเอง ขณะที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ได้กล่าวเทศนาฟะดะกียะฮ์ เพื่อปกป้องกรรมสิทธิ์ของท่านหญิงด้วย ชาวชีอะฮ์เชื่อว่า สวนฟาดักถูกเหล่าเคาะลีฟะฮ์แย่งชิงไปและถือว่า สิ่งนี้เป็นสัญลักษณ์ของการถูกกดขี่ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.)
ฟะดักถูกมอบให้ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์
ในสมัยของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ฟะดักตกไปอยู่ในมือของชาวมุสลิมโดยไม่มีกรีธาทัพทางทหาร [16] ด้วยเหตุนี้เอง ท่านศาสดาจึงมอบฟะดักให้กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) นักวิชาการมุสลิมยกหลักฐานอ้างจากโองการฟัยอ์ [หมายเหตุ 1] ถือว่า ทรัพย์สินที่ตกไปอยู่ในมือของชาวมุสลิมโดยไม่มีสงครามหรือความขัดแย้ง)เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะของท่านศาสดาเท่านั้น(17)
ญะอ์ฟัร ซุบฮานี กล่าวว่า นักตัฟซีรของชีอะฮ์และกลุ่มนักรายงานฮะดีษของอะฮ์ลิซุนนะฮ์ รายงานว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)ได้มอบฟะดักให้กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ หลังจากการประทานของโองการ วะอาติ ซัลกุรบา ฮักเกาะฮู : และให้สิทธิของญาติสนิท (18) ฟะดักได้มอบให้กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (19)ญะลาลุดดีน ซุยูฏี หนึ่งในนักวิชาการของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ใน อัดดุรรุลมันษูร [20] มุตตะกี ฮินดี ในกันซุลอุมมาล, [21] ฮากิม ฮัซกานี ในชะวาฮิดอัตตันซีล, [22] กุนดูซี ในยะนาบีอุลมะวัดดะฮ์ [23] และบุคคลอื่นๆ [24] ได้รายงานเรื่องดังกล่าวนี้
ความสัมพันธ์ระหว่างฟะดักกับอิมามัต
ฮุเซนอะลี มุนตะซิรี มุจญ์ตะฮิดของชีอะฮ์ที่เสียชีวิตในปี 1388 (ปฏิทินอิหร่าน) เชื่อว่า ฟะดัก เป็นสัญลักษณ์ของอิมามัต และการมอบให้กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ เพื่อที่จะเป็นแหล่งรายได้ให้กับบ้านแห่งอิมามัต นอกจากนี้ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)ได้มอบให้กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ. ) ไม่ใช่อะลี (อ. ) เพื่อที่พวกเขาจะได้ไม่มีการแย่งชิงมันไปอย่างง่ายๆ (25) สำหรับการพิสูจน์ทัศนะนี้ มีริวายะฮ์อ้างอิง (26)บนพื้นฐานนี้ ฮารูน อับบาซี ต้องการให้อิมามกาซิม (อ.) กำหนดขอบเขตของฟะดักและอิมามก็ได้กำหนดขอบเขตของการปกครองของบะนีอับบาส [27] และยิ่งไปกว่านั้นอีก ฮารูนยังกล่าวด้วยว่า ไม่มีอะไรเหลือสำหรับพวกเราอีกแล้ว [28] นอกจากนี้ ในริวายะฮ์รายงานโดยท่านหญิงอุมมุอัยมัน กล่าวว่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.)ได้ขอให้ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ยกฟะดักให้กับนาง เพื่อว่าหากนางมีความต้องการใด ๆ ในอนาคต ก็จะได้รับการแก้ไขด้วยฟะดัก( 29]
การยึดสวนฟะดักและการเรียกร้องความยุติธรรมของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์
ฟะดักอยู่ในมือของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) จนกระทั่งการเสียชีวิตของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และผู้คนทำงานในสถานที่นั้น เป็นตัวแทน ผู้จ้าง และคนงาน(30) หลังจากการขึ้นดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของอะบูบักร์ เขาประกาศว่า ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของฟะดัก ด้วยเหตุนี้เอง เขาจึงยึดเป็นทรัพย์สินของเคาะลีฟะฮ์ [31] กรรมสิทธิ์ของฟะดักไม่ได้กลับคืนสู่ครอบครัวของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ในยุคของอุมัร บินค็อฏฏ็อบ [32] และอุษมาน [33]
การเรียกร้องความยุติธรรมของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์
หลังจากการยึดฟะดักแล้ว ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ได้เรียกร้องจากอะบูบักร์ โดยอะบูบักร์กล่าวว่า เขาได้ยินจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ว่า ทรัพย์สินของเขาจะตกเป็นของชาวมุสลิม หลังจากเขา และเขาจะไม่เหลือมรดกใดๆ [34] ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ตอบว่า บิดาของฉันให้ทรัพย์สินนี้แก่ฉัน อะบูบักร์จึงขอร้องให้ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(ซ.)ไปหาสักขีพยานมาเพื่อยืนยันคำกล่าวอ้างของนาง ตามบางแหล่งอ้างอิง ระบุว่า ท่านอะลีและท่านหญิงอุมมุอัยมัน เป็นสักขีพยานในกรณีดังกล่าวนี้ [35] และบางรายงานระบุว่า ท่านหญิงอุมมุอัยมันและหนึ่งในทาสของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เป็นสักขีพยาน [36] และบางรายงานระบุว่า อิมามอะลี ท่านหญิงอุมมุอัยมันและอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน เป็นสักขีพยาน [37] อะบูบักร์ได้ยอมรับและเขียนลงบนกระดาษเพื่อไม่ให้มีผู้ใดแตะต้องฟะดัก เมื่อท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ออกจากที่ประชุม อุมัร บิน ค็อฏฏอบก็เอากระดาษนั้นไปและได้ฉีกมันขาดออก (38) แน่นอนว่า ตามบางรายงานของบางแหล่งอ้างอิงของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ระบุว่า อะบูบักร์ ไม่ยอมรับสักขีพยานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์และเรียกชายสองคนมาเป็นสักขีพยาน [39] อิบนุ อะบีลฮะดิด มุอ์ตะซิลีกล่าวว่า ฉันถามอิบนุฟารกี ครูของโรงเรียนตะวันตกแห่งแบกแดดว่า ฟาฏิมะฮ์พูดความจริงหรือไม่? อิบนุ ฟารากี กล่าวว่า ใช่แล้ว ฉันถามว่า ทำไมอะบูบักร์ไม่มอบฟะดักให้นาง? เขากล่าวว่า หากเขากระทำเช่นนั้น ในวันพรุ่งนี้นางคงจะอ้างตำแหน่งคอลีฟะห์ให้กับสามีของนาง และอะบูบักร์ก็ไม่สามารถปฏิเสธที่จะไม่ยอมรับคำพูดของนางได้ เพราะว่าเขายอมรับคำพูดของนางเกี่ยวกับฟะดักโดยที่ไม่มีสักขีพยานใดๆ อิบนุ อะบีลฮะดีด เขียนเพิ่มเติมว่า แม้ว่าอิบนุ ฟาร์กี จะพูดสิ่งนี้ด้วยความตลกขบขัน แต่คำพูดของเขาก็ถูกต้อง (40)
ในหนังสืออัลอิคตศอซ กล่าวถึงริวายะฮ์จากอิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า การแท้งท่านมุฮ์ซิน เนื่องจากเหตุการณ์การประท้วงของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ในการแย่งชิงฟะดัก (41) แต่แหล่งอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ ถือว่า การแท้งท่านมุฮ์ซินนั้น เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การบุกโจมตีบ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(ซ.) (42)
ข้อโต้แย้งของอะบูบักร์ เกี่ยวกับกรณีการไม่สืบทอดมรดกของบรรดาศาสดา
มีรายงานว่า อะบูบักร์ ได้ตอบกับท่านฟาฏิมะฮ์ว่า ฉันได้ยินจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า เรา (บรรดาศาสดา) จะไม่ทิ้งมรดกและสิ่งที่เหลืออยู่ของเรา คือ การบริจาคเศาะดะเกาะฮ์ (44) ในทางตรงกันข้าม ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) กล่าวในบทเทศนาธรรมฟะดะกียะฮ์ โดยชี้ให้เห็นถึงบางโองการของอัลกุรอานที่กล่าวว่า บรรดาศาสดานั้นมีการสืบทอดมรดก [45] และถือว่า คำกล่าวของอบูบักร์นี้ขัดแย้งกับโองการของอัลกุรอาน [46] นักวิชาการชีอะฮ์ได้กล่าวว่า คำกล่าวนี้ ไม่มีเศาะฮาบะฮ์คนใด ยกเว้นอะบูบักร์ [47] มีรายงานว่า เวลาที่อุษมานดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์อยู่นั้น ท่านหญิงอาอิชะฮ์และฮัฟเศาะฮ์ได้ไปหาเขาและขอร้องให้เขามอบสิ่งที่บิดาของพวกนาง (คอลีฟะห์ที่หนึ่งและสอง) ให้พวกนางอีกครั้ง แต่อุษมาน กล่าวว่า ฉันสาบานต่อพระผู้เป็นเจ้าว่า ฉันจะไม่ให้สิ่งเหล่านี้แก่พวกท่าน พวกท่านทั้งสองคนที่เป็นพยานต่อหน้าพ่อของคุณไม่ใช่หรือ ... บรรดาศาสดาจะไม่ทิ้งมรดก วันหนึ่งพวกท่านให้การเป็นพยานเช่นนี้ และวันหนึ่งพวกท่านร้องขอมรดกของท่านศาสดา (ซ.ล.)?[48]
บทเทศนาธรรม ฟะดะกียะฮ์
หลังจากการร้องขอของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.)ต่ออะบูบักร์ไม่ประสบผลสำเร็จ ท่านหญิงจึงได้เดินทางไปยังมัสยิดของท่านศาสดาและกล่าวบทเทศนาธรรม ในหมู่บรรดาเศาะฮาบะฮ์ ในคำปราศรัยนี้ ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ บทเทศนาธรรมฟะดะกียะฮ์ [49] ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) กล่าวถึงการแย่งชิงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ และปฏิเสธคำกล่าวของอะบูบักร์ที่ว่า บรรดาศาสดาไม่มีการสืบมรดก ซึ่งมีกฏหมายใดหรือที่บอกว่า นางถูกต้องห้ามจากมรดกของบิดา? หรือโองการจากอัลกุรอานกล่าวไว้เช่นนี้หรือไม่! จากนั้นท่านหญิงก็ให้การพิพากษานี้ในศาลของพระผู้เป็นเจ้าในวันแห่งการฟื้นคืนชีพและถามบรรดาเศาะฮาบะฮ์ของท่านศาสดาว่าทำไมพวกเขาถึงเงียบต่อการเผชิญหน้ากับการกดขี่เหล่านี้ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) กล่าวว่า สิ่งที่พวกเขา (อะบูบักร์และเหล่าผู้ติดตามของเขา) ได้กระทำ คือ การผิดคำสาบาน และในตอนท้ายของการเทศนาธรรม ท่านหญิงได้กล่าวถึงความอับอายในการงานของพวกเขาชั่วนิรันดร์และในที่สุด ก็เป็นชาวนรก [50]
ความไม่พึงพอใจของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต
ตามฮะดีษในซอฮิฮ์อัลบุคอรี จากซอฮีฮ์ของอะห์ลิซซุนนะฮ์ รายงานว่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) รู้สึกไม่พึงพอใจต่ออะบูบักร์ และอุมัร และโกรธพวกเขาทั้งสอง จนกระทั่งท่านหญิงเป็นชะฮีด [51] ฮะดีษอื่นๆจากอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ก็มีเนื้อหาเช่นเดียวกัน( 52] มีการรายงานว่า อะบูบักร์และอุมัร ได้ตัดสินใจที่จะเข้าพบท่านหญิงฟาฏิมะฮ์เพื่อต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจจากท่านหญิง แต่ท่านหญิงไม่ยอมรับ จากนั้น พวกเขาจึงได้เข้าพบท่านหญิงฟาฏิมะฮ์โดยอิมามอะลี (อ.)เป็นคนกลาง ในระหว่างการพบปะนี้ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ได้กล่าวถึงฮะดีษของท่านศาสดามุฮัมมัดที่กล่าวว่า ฟาฏิมะฮ์เป็นก้อนเนื้อส่วนหนึ่ง ที่เกี่ยวกับสถานภาพของท่านหญิงและไม่พึงพอใจต่อพวกเขาอีกด้วย (53)
ปฏิกิริยาของอิมามอะลี (อ.)
มีริวายะฮ์หนึ่งรายงานในหนังสือบิฮารุลอันวาร กล่าวว่า หลังจากที่มีการยึดฟะดัก อิมามอะลี (อ.) ได้เดินทางไปยังมัสยิดและประท้วงอะบูบักร์ เพราะเขาสั่งห้ามท่านหญิงฟาฏิมะฮ์จากสิ่งที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) มอบให้นาง อะบูบักร์ ได้ร้องเรียกหาสักขีพยานที่ยุติธรรม ซึ่งอิมามอะลี (อ.) โต้แย้งว่า หากมีบางสิ่งอยู่ในมือของผู้ใดผู้หนึ่งและมีคนอื่นอ้างสิทธิ์ ผู้เรียกร้องควรนำหลักฐาน (หลักฐานและพยาน) มาด้วย ไม่ใช่ฟาฏิมะฮ์ ซึ่งมีฟะดักอยู่ในมือของเธอแล้ว (54 ] จากนั้น อิมามอะลีได้อ่านอายะฮ์อัตตัฏฮีร และขอให้อะบูบักร์ยอมรับว่าโองการนี้ถูกประทานให้กับสถานภาพของอิมามและครอบครัวของเขา หลังจากนั้น ท่านอิมามได้กล่าวถามขึ้นว่า หากมีพยานสองคนมาบอกว่า ฟาฏิมะฮ์กระทำความผิดทางประเวณี จะต้องทำอย่างไรกันหรือ? อะบูบักร์กล่าวว่า “ฉันจะลงโทษฟาฏิมะฮ์ด้วยการโยนหิน อิมามอาลีจึงกล่าวว่า เพราะฉะนั้น เจ้าถือว่าพยานของมนุษย์สูงส่งกว่าพยานของพระผู้เป็นเจ้า เจ้าก็จะกลายเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา[55] ในหนังสือ อัลอิฮ์ติญาจญ์ ของเฏาะบัรซี รายงานว่า มีจดหมายหนึ่งจากอิมามอะลีส่งถึงอะบูบักร์ ซึ่งในจดหมายนั้นได้กล่าวด้วยน้ำเสียงที่ดุดันเกี่ยวกับการแย่งชิงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์และสวนฟะดัก (56]
ฟะดัก ยังคงอยู่ในอำนาจของฝ่ายตรงกันข้าม ในช่วงการปกครองของท่านอิมามอะลี (อ.)แม้ว่า อิมามอะลีจะถือว่า การกระทำของเหล่าคอลีฟะฮ์ในอดีต เป็นการแย่งชิงก็ตาม แต่ท่านได้ให้การพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้กับพระผู้เป็นเจ้า [57] เกี่ยวกับการที่อิมามอะลีไม่พยายามที่จะยึดฟะดักกลับคืนด้วยเหตุผลใด มีริวายะฮ์ในแหล่งอ้างอิงทางฮะดีษ รายงานว่า อิมามอะลีกล่าวในการเทศนาธรรมว่า หากฉันสั่งให้คืนสวนฟะดักให้กับทายาทของฟาฏิมะฮ์ [หมายเหตุ 2] ฉันขอสาบานต่อพระผู้เป็นเจ้าว่า บรรดาประชาชนคงจะกระจัดกระจายไปจากรอบตัวฉันแล้ว[58] นอกจากนี้ ยังมีฮะดีษได้รายงานจากอิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า อิมามอะลี (อ.) ได้ปฏิบัติตามท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ในประเด็นนี้ โดยท่านศาสดา ในวันพิชิตมักกะห์ ไม่ได้ยึดบ้านที่ถูกพรากไปจากการกดขี่ข่มเหงกลับคืนมาแต่อย่างใด (59)
ในจดหมายของอิมามอะลี(อ.) ถึงอุษมาน บิน ฮานีฟ ซึ่งเกี่ยวกับฟะดักและการตัดสินที่เกี่ยวกับประเด็นนี้: ภายใต้ท้องฟ้านี้ มีเพียงฟะดักเท่านั้นที่อยู่ในมือของเรา ผู้คนต่างตระหนี่และผู้คนก็ใจดีกับเรื่องนี้ ผู้พิพากษาที่ดีที่สุด คือ พระผู้เป็นเจ้า และฉันจะกระทำอย่างไรกับฟาดัก ขณะที่ สถานภาพวันพรุ่งนี้ของมนุษย์ คือ หลุมฝังศพ![60]
แรงจูงใจจากการยึดและการเรียกร้องของฟะดัก
ซัยยิดมุฮัมมัดบากิร อัศศ็อดร์ เขียนไว้ในหนังสือ ฟะดัก ฟีย์ อัตตารีค เชื่อว่า ข้อเรียกร้องของฟะดัก ไม่ใช่เป็นประเด็นส่วนตัวหรือความขัดแย้งทางวัตถุ แต่ทว่า เป็นการประกาศต่อต้านการปกครองในยุคสมัยนั้นและความไม่ชอบธรรมด้วยกฎหมายของรากฐานของอำนาจอธิปไตย เช่น ซะกีฟะฮ์ [61] ) เขาถือว่า การเรียกร้องฟะดัก เป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการต่อสู้ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ที่มีต่ออำนาจอธิปไตยและเป็นขั้นตอนหนึ่งในการป้องกันของท่านหญิงจากอิมามัตและวิลายัต (62)
ซัยยิดญะอ์ฟัร ชะฮีดี นักวิจัยทางประวัติศาสตร์ เสียชีวิตในปี 1386 (ปฏิทินอิหร่าน) เชื่อว่า เป้าหมายของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ในการเรียกร้องฟะดัก คือ การรักษาซุนนะฮ์ (จารีตประเพณี)ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ให้คงอยู่ต่อไป และสำหรับการสร้างความยุติธรรม และรู้สึกกังวลเกี่ยวกับการกลับมาของค่านิยมแห่งความโง่เขลาและอำนาจที่เหนือกว่าของชนเผ่าที่แฝงตัวอยู่ในสังคมอิสลาม (63)
อยาตุลลอฮ์ มะการิม ชิราซี หนึ่งในมัรญิอ์ตักลีดของชีอะฮ์ กล่าวว่า เหล่าเคาะลีฟะฮ์ได้ยึดฟะดักไป เพื่อเป็นแหล่งที่มาทางเศรษฐกิจ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอำนาจสำหรับอิมามอะลีและครอบครัวของเขา (64) ถือว่า มีริวายะฮ์รายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้จากอิมามศอดิก (อ.) (65) ด้วยพื้นฐานนี้ หลังจากที่อะบูบักร์ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ อุมัรต้องการให้เขา ยึดเงินคุมส์ ฟัยอ์ และฟะดักจากท่านอะลีและครอบครัวของเขา เพราะว่า เมื่อบรรดาผู้ติดตามของเขาเห็นสิ่งนี้ พวกเขาจะออกห่างจากอาลี (ก) และเข้ามาหาอะบูบักร์ (66)
การกลับคืนของฟะดักยังลูกหลานฟาฏิมะฮ์
ฟะดักในยุคสมัยการปกครองของบะนีอุมัยยะฮ์และบะนีอับบาส ยังคงอยู่ในอำนาจของเหล่าเคาะลีฟะฮ์ แต่บางช่วงเวลาหนึ่งที่ฟะดักมอบคืนให้กับลูกหลานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ :
- ในยุคสมัยของเคาะลีฟะฮ์ อุมัร บินอับดุลอะซีซ บะนีอุมัยยะฮ์ (67)
- ยุคสมัยของซัฟฟาฮ์ อับบาซี (68)
- ในยุคสมัยของมะฮ์ดี อับบาซี (69) แน่นอนว่า บางแหล่งอ้างอิง รายงานว่า อิมามกาซิม (อ.) เป็นผู้เรียกร้องให้มะฮ์ดี อับบาซี คืนฟะดัก แต่มะฮ์ดี อับบาซี ปฏิเสธที่จะคืนกลับฟะดัก (70)
- ในยุคสมัยการเป็นเคาะลีฟะฮ์มะอ์มูน อับบาซี (71)
หลังจากมะอ์มูน มุตะวักกิล อับบาซี ได้สั่งให้ฟะดักกลับสู่สภาพเดิม ก่อนคำสั่งมะอ์มูน (72) มัจญ์ลิซี กูพออี เขียนในหนังสือ ฟะดักจากการแย่งชิงจนถึงการทำลาย ว่า ส่วนมากของหนังสือทางประวัติศาสตร์ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องราวของฟะดัก หลังจากยุคสมัยมุตะวักกิล (73) ดิอ์บิล คุซาอี (เสียชีวิต 246 ฮ.ศ.) ได้แต่งบทกวีที่เกี่ยวกับการกลับคืนของฟะดักยังลูกหลานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ โดยบรรทัดแรก ใบหน้าของกาลเวลาต่างปลึ้มปิติ ครั้นเมื่อมะอ์มูนคืนกลับฟะดักให้บะนีฮาชิม (74) และมุฮัมมัดฮุเซน คุมพอนี หนึ่งในนักวิชาการของชีอะฮ์ได้แต่งบทกวีด้วยเช่นกัน(75)
ผลงานประพันธ์
- ฟะดัก ฟีย์ อัตตารีค เขียนโดย มุฮัมมัดบากิร อัศศ็อดร์ เป็นหนังสือที่เขียนเป็นภาษาอาหรับ เกี่ยวกับการวิเคราะห์เรื่องราวของฟะดัก และมีการแปลเป็นภาษาฟารซีย์ ด้วยชื่อว่า ฟะดัก ดัร ทอรีค (ฟะดักในประวัติศาสตร์)
- ฟะดัก วัลอะวาลี เอา อัลฮะวาอิฏอัซซับอะฮ์ ฟีย์ อัลกิตาบ วัซซุนนะฮ์ วัตตารีค วัลอะดับ เขียนโดย ซัยยิดมุฮัมมัดบากิร ฮุซัยนี ญะลาลี (เกิด 1324 สุริยคติ) หนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของฟะดัก ภูมิศาสตร์ และเรื่องราวของฟะดัก อีกทั้งประเด็นทางฮะดีษและทางหลักศรัทธาที่เกี่ยวข้อง(76) โดยจัดพิมพ์ในปี 1385 ทั้งได้รับเป็นหนังสือดีเด่นประจำปีวิลายัตอีกด้วย (77)
- อัซซะกีฟะฮ์ วะฟะดัก เขียนโดย อะบูบักร์ อะฮ์มัด บิน อับดุลอะซีซ เญาฮะรี บัศรี เรียบเรียงโดย มุฮัมมัดฮาดี อะมีนี เตหะราน มักตะบะฮ์อันนัยนะวาอัลฮะดีษะฮ์ 1401 ฮ.ศ.
- ฟะดัก ดัร ฟะรอซ วะ นะชีบ ผลงานวิจัยเกี่ยวกับฟะดักในคำตอบของคำถามของนักวิชาการชาวซุนนี เขียนโดย อะลี ฮุซัยนี มีลานี กุม อัลฮะกอยิก 1386 สุริยคติ
- ฟะดัก วะ บอซทอบฮาเย ทอรีคี วะซิยอซี เขียนโดย อะลีอักบัร ฮะซะนี กุม งานสัมนาหนึ่งพันปีเชคมุฟีด 1372 สุริยคติ
เชิงอรรถ
บรรณานุกรม