เหตุการณ์ซะกีฟะฮ์ บะนี ซาอิดะฮ์
เหตุการณ์ซะกีฟะฮ์ บะนีซาอิดะฮ์ (ภาษาอาหรับ: واقعة سقيفة بني ساعدة) เป็นเหตุการณ์แรกที่เกิดขึ้น ภายหลังจากการเสียชีวิตของศาสดาของอิสลาม (ศ็อลฯ) ในปีที่ 11 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช ซึ่งในเหตุการณ์นี้ มีการแต่งตั้งอะบูบักร บิน อะบีกุฮาฟะฮ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของชาวมุสลิม หลังจากการเสียชีวิตของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) อิมามอะลี (อ.) และเหล่าศอฮาบะฮ์บางส่วน ซึ่งกำลังจัดเตรียมการฝังศพของศาสดาอยู่นั้น ในขณะเดียวกันนั้นเอง ชาวอันศอรจำนวนหนึ่งโดยการนำของซะอัด บิน อุบาดะฮ์ หัวหน้าชนเผ่าค็อซร็อจ ได้รวมตัวกัน ณ ซะกีฟะฮ์ บะนีซาอิดะฮ์ เพื่อที่จะตัดสินใจในการเลือกผู้นำ หลังจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)
ตามรายงานจากนักประวัติศาสตร์บางคน ถือว่า การรวมตัวกันของกลุ่มชาวอันศอร ครั้งนี้ เป็นเพียงเพื่อกำหนดผู้ปกครองสำหรับเมืองมะดีนะฮ์เท่านั้น แต่เมื่อชาวมุฮาญิรีนบางคนเข้ามาในการรวมตัว จึงเกิดการโต้เถียงกันโดยเปลี่ยนทิศทางไปสู่การแต่งตั้งผู้สืบทอดตำแหน่งของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)ในการเป็นผู้นำของชาวมุสลิมทั้งหมด และในที่สุด อะบูบักรก็ได้รับคำสัตยาบันให้เป็นเคาะลีฟะฮ์ (กาหลิบ) ของชาวมุสลิม ตามรายงานจากแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ นอกจาก อะบูบักรที่ขึ้นพูดในนามของชาวมุฮาญิรีน อุมัร บิน ค็อฏฏ็อบ และอะบูอุบัยดะฮ์ ญัรเราะห์ ก็เข้าร่วมอยู่ในซะกีฟะฮ์ด้วย อะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ได้อ้างหลักการฉันทามติเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการปกครองและตำแหน่งคอลีฟะฮ์ให้กับอะบูบักร ในขณะเดียวกัน ตามที่บรรดานักประวัติศาสตร์เขียนว่า การแต่งตั้งอะบูบักร ไม่ได้มีการยอมรับอย่างกว้างขวาง หลังจากเหตุการณ์นี้ บุคคลต่างๆเช่น ท่านอะลี (อ.),ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.),ฟัฎล์ และ อับดุลลอฮ์ บุตรชายของ อับบาส ลุงของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ตลอดจนเหล่าสาวกที่มีชื่อเสียงบางคนของศาสดา เช่น ซัลมาน อัลฟาร์ซี อะบูซัร ฆ็อฟฟารี มิกดาด บิน อัมร์ ซุบัยร์ บิน อะวาม และฮุซัยฟะฮ์ บิน ยะมาน ได้ต่อต้านประท้วงสภาแห่งซะกีฟะฮ์และผลลัพท์ของสภานี้ ชาวชีอะฮ์ จึงถือว่า เหตุการณ์ซะกีฟะฮ์และผลลัพธ์ของมันนั้น ตรงกันข้ามกับคำกล่าวของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) บนพื้นฐานที่ว่า อิมามอะลี คือ ผู้สืบทอดตำแหน่งของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์เฆาะดีรคุม ตามแหล่งข้อมูลอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ ได้รายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์ซะกีฟะฮ์ นอกเหนือจากนี้ ยังมีผลงานประพันธ์ต่างๆ ที่มีการตรวจสอบและการวิเคราะห์เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว และเช่นกัน นักบูรพาคดี เช่น เฮนรี แลมเมนส์ (Henri Lammens) กาเอตานิ (Caetani) และวิลเฟรด เฟอร์ดินันด์ มาเดลอง (Wilferd Ferdinand Madelung ) ได้เขียนเกี่ยวกับรายงานและการตรวจสอบสถานการณ์ที่ซะกีฟะฮ์ โดยหนังสือผู้สืบทอดตำแหน่งของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ซึ่งเขียนโดย มาเดลอง และทฤษฎีสามเหลี่ยมแห่งอำนาจ เขียนโดย เฮนรี แลมเมนส์ ถือเป็นหนึ่งในหนังสือที่มีชื่อเสียงมากที่สุดที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว
สถานที่เกิดเหตุการณ์
ซะกีฟะฮ์ เป็นชื่อของสถานที่เป็นเพิงหรือมีหลังคามุง ซึ่งชาวชนเผ่าอาหรับใช้ในการรวมตัวกัน เพื่อปรึกษาหารือในการตัดสินใจสาธารณะ[1] ซะกีฟะฮ์ เป็นสถานที่รวมตัวของกลุ่มชาวมุฮาญิรีนและชาวอันซอรบางคน หลังจากการวะฟาตของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และซะกีฟะฮ์ เป็นกรรมสิทธิ์ของเผ่าพันธ์บะนีซาอิดะฮ์ จากชนเผ่าค็อซร็อจ ที่อาศัยอยู่ในเมืองมะดีนะฮ์ ก่อนการอพยพของศาสดา ได้มีการจัดประชุมต่างๆในสถานที่แห่งนี้ สถานที่นี้ หลังจากที่ศาสดาเข้ามายังเมืองมะดีนะฮ์ แทบจะหมดประโยชน์ เป็นเวลาถึงสิบปี (จนกระทั่งถึงการวะฟาตของศาสดา) และยังเป็นสถานที่ชุมนุมรวมตัวของกลุ่มชาวมุฮาญิรีนและชาวอันซอร เพื่อกำหนดตัวของผู้สืบทอดตำแหน่งตัวแทนของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) [2]
คำอธิบายของเหตุการณ์
วิลเฟรด เฟอร์ดินันด์ มาเดลอง(เกิดในปี 1930 ค.ศ.) นักวิชาการอิสลามศึกษาชาวเยอรมัน ถือว่า ผู้รายงานหลักในเหตุการณ์การรวมตัวที่ซะกีฟะฮ์ บะนีซาอิดะฮ์ ต้องย้อนกลับไปถึงอับดุลลอฮ์ บินอับบาส รายงานจากอุมัร บินค็อฏฏ็อบ โดยริวายะฮ์อื่นๆ ทั้งหมดนั้นได้รับข้อมูลหรือมาจากแหล่งข้อมูลนี้ ขณะที่ริวายะฮ์เหล่านี้ด้วยการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเกี่ยวสายรายงานต่างๆแตกต่างกัน ซึ่ง ผู้รายงาน ดังนี้ อิบนุ ฮิชาม, มูฮัมหมัด ญะรีร ฏอบะรี, อับดุรรอซซาก บิน ฮัมมาม, มูฮัมหมัด บิน อิสมาอิล บุคอรี และอิบนุ ฮัมบัล (3)
ตามข้อมูลสาธารณะของชาวมุสลิมในมะดีนะฮ์เกี่ยวกับการเสียชีวิตของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ชาวอันศอรบางคนได้รวมตัวกันที่ซะกีฟะฮ์ บะนีซาอิดะฮ์ เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับสถานภาพของพวกเขา และเพื่อหาแนวทางเกี่ยวกับประเด็นการสืบทอดตำแหน่งของศาสนทูตของพระผู้เป็นเจ้า ตรงตามแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ในช่วงเริ่มต้นของการประชุมนี้ ซะอัด บิน อุบาดะฮ์ ผู้อาวุโสของชนเผ่าค็อซร็อจ เนื่องจากเขานั้นมีอาการป่วยอย่างรุนแรง บุตรของเขา จึงเป็นผู้ที่เจรจากับผู้คน โดยเขาอ้างถึงเหตุผลที่ว่า การสืบทอดตำแหน่งของศาสดาแห่งอิสลาม เป็นสิทธิของกลุ่มอันศอร และเชื้อเชิญให้พวกเขาให้เข้ารับหน้าที่ในการบริหารกิจการ มีผู้เข้าร่วมที่ยืนยันคำพูดของเขาและประกาศว่า พวกเขาเลือกซะอัดเป็นผู้ปกครองของพวกเขา และยังเน้นย้ำว่า พวกเขาจะไม่กระทำอะไรที่ขัดแย้งกับความคิดเห็นของเขา [4] แต่มีผู้เข้าร่วมบางคนกลับหยิบยกความเป็นไปได้ที่ชาวมุฮาญิรีน จะคัดค้านการตัดสินใจนี้และความเป็นไปได้ที่จะไม่ยอมแพ้ในการตัดสินนี้ โดยพวกเขามีความเห็นว่า ควรเลือกผู้นำคนหนึ่งมาจากกลุ่มอันศอร และผู้นำอีกคนหนึ่งจากกลุ่มมุฮาญิรีน [5]
รายงานของการรวมตัวครั้งนี้และเหตุผลในการรวมตัวได้ไปถึงอะบูบักร์ บิน อะบีกุฮาฟะฮ์ และอุมัร บินค็อฏฏอบ และทั้งสองก็ไปที่เหตุการณ์ซะกีฟะฮ์ บะนีซาอิดะฮ์พร้อมกับอะบู อุบัยดะฮ์ ญัรเราะห์ เมื่อพวกเขาเข้าร่วมกลุ่มนี้ อะบูบักร์ได้ริเริ่มโดยขัดขวางคำพูดของอุมัรและพูดถึงความเหนือกว่าของกลุ่มมุฮาญิรีนและลำดับความสำคัญของกุเรชในการสืบทอดตำแหน่งศาสดา (6) คำพูดเหล่านี้ มีทั้งผู้ต่อต้านและผู้ที่ยอมรับที่ร่วมอยู่ที่นั้น และบางคนได้ชี้ให้เห็นถึงความเหมาะสมของท่านอะลี (อ.) และจะไม่ให้คำสัตยาบันกับผู้ใด นอกจากเขาคนเดียวเท่านั้น [7] แต่ในที่สุด อะบูบักร์ อุมัร และอะบูอะบัยดะฮ์ ถูกแนะนำ ในฐานะผู้ที่คู่ควรสำหรับตำแหน่งนี้ ทั้งสองคนนี้ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของอะบูบักร์ ในระหว่างการกล่าวคำปราศรัย[8]
ตารีคฏอบะรี (เขียนไว้ในปีที่ 303 ฮ.ศ.) รายงานว่า อุมัร บินค็อฏฏ็อบ กล่าวถึงช่วงเวลาเหล่านี้ว่า ในช่วงเวลานี้ ได้มีเสียงอึกทึกและความโกลาหลดังขึ้นจากทุกด้าน และคำพูดที่ไม่สามารถเข้าใจได้ก็ได้ยินมาจากทุกมุม มากเท่าที่ฉันหวาดกลัวว่า ความแตกต่างจะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนและภารกิจของเราถูกยกเลิก นี่คือสิ่งที่ฉันได้พูดกับอบูบักร์ว่า : จงยื่นมือของท่านออกมาเพื่อที่ฉันจะได้ให้สัตยาบันกับท่าน แต่ก่อนที่มือของอุมัรจะอยู่ในมือของอะบูบักร์ บะชีร บิน ซะอัด ค็อซรอจี หนึ่งในคู่แข่งของซะอัด บิน อุบาดะฮ์ได้รุกคืบและจับมือของอะบูบักร์ และให้คำสัตยาบันกับเขา (9)
หลังจากเหตุการณ์นี้ ก็เริ่มมีการชุลมุนวุ่นวายของเหล่าผู้ที่ร่วมอยู่ในซะกีฟะฮ์ เพื่อที่จะให้สัตยาบันกับอะบูบักร์ถึงขนาดที่เนื่องจากความเร่งรีบของผู้คน มีความเป็นไปได้ที่ซาอัด บิน อุบาดะฮ์ที่ป่วยอยู่ ถูกเหยียบมือและเท้าของเขา สถานการณ์นี้ ทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างอุมัร ซะอัด และเกซ บินซะอัด ซึ่งจบลงด้วยการเข้ามาแทรกแซงของอะบูบักร์(10)
การโต้แย้งเกี่ยวกับซะกีฟะฮ์
ณ สถานที่ซะกีฟะฮ์ มีการแลกเปลี่ยนบทสนทนาอย่างมากมายระหว่างกลุ่มชาวอันศอรและกลุ่มชาวมุฮาญิรีน ซึ่งแต่ละบทสนทนาก็มีอิทธิพลตามลำดับ แต่ผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ คำพูดของอะบูบักร์และพรรคพวกของเขา บทสนทนาบางส่วนในประวัติศาสตร์วันนั้นมาจากบุคคลต่อไปนี้ :
ซะอัด บิน อุบาดะฮ์: ส่วนใหญ่ เขาพูดในช่วงเริ่มต้นของการประชุมและก่อนที่อะบูบักร์ และเหล่าสหายของเขาจะมาถึง และแน่นอนว่า เนื่องจากเขานั้นไร้ความสามารถเนื่องจากอาการป่วย ลูกชายของเขาจึงถ่ายทอดคำพูดของเขาต่อหน้าผู้คน คำพูดที่สำคัญที่สุดของเขา คือ: การกล่าวถึงคุณธรรมและประวัติศาสตร์ในอดีตของชาวอันศอร ความเหนือกว่ากลุ่มมุสลิมอื่นๆ การรับใช้ต่อศาสนาอิสลามและศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และความพึงพอใจของท่านศาสดาที่มีต่อชาวอันศอร ขณะที่ท่านเสียชีวิต ด้วยข้อโต้แย้งเหล่านี้ เขาได้ประกาศว่า ชาวอันศอรนั้นมีความเหมาะสมกว่าในการเป็นตัวแทนและผู้สืบทอดของศาสดา และเขายังได้เชื้อเชิญให้ชาวอันศอรเข้ามาดำเนินการเพื่อเป็นผู้ปกครองในการบริหารกิจการต่างๆ และเขาถือว่า ข้อเสนอที่จะเลือกผู้นำคนหนึ่งจากกลุ่มชาวอันศอรและผู้นำอีกคนหนึ่งจากกลุ่มชาวมุฮาญิรีน เป็นความล้มเหลวและการล่าถอย [11] อะบูบักร์ : คำพูดของเขา เป็นตัวกำหนดผลลัพธ์ของการรวมตัวครั้งนี้ เขาได้กล่าวคำปราศรัยหลายครั้ง โดยสรุปดังนี้ : สิทธิพิเศษของกลุ่มชาวมุฮาญิรีนที่มีต่อกลุ่มชาวอันศอร รวมถึง การบุกเบิกในการยอมรับภารกิจของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ความเหนือกว่าในด้านความศรัทธาและการเคารพพระเจ้า ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ หรือมิตรภาพของกลุ่มชาวมุฮาญิรีนกับท่านศาสดา ลำดับความสำคัญของกลุ่มชาวมุฮาญิรีนที่จะสืบทอดตำแหน่งศาสดาด้วยเหตุผลเหล่านี้ การมีคุณธรรมและประวัติศาสตร์ในอดีตของกลุ่มอันศอร และความเหมาะสมและการจัดลำดับความสำคัญของพวกเขาในการดำรงตำแหน่งในกระทรวงทบวงกรม ไม่ใช่การปกครอง การห้ามการต่อต้านการสืบทอดตำแหน่งของกลุ่มชาวมุฮาญิรีน[12]
ฮุบาบ บินมันซัร : เขาพูดสองหรือสามครั้งในซะกีฟะฮ์ และแต่ละครั้งคำพูดของเขามีการยุยงหรือข่มขู่กลุ่มชาวมุฮาญิรีน โดยเฉพาะอะบูบักร์และอุมัร[13] อีกครั้งหนึ่ง เขาได้เสนอชื่อผู้นำจากชนเผ่าใดก็ได้[14] อุมัร บิน ค็อฏฏอบ : เขาเป็นผู้ยืนยันคำพูดส่วนใหญ่ของอะบูบักร์ และเน้นย้ำด้วยเหตุผล ซึ่งเหตุผลเหล่านี้บางประการได้แก่: ความแน่นอนของชาวอาหรับที่ไม่ต่อต้านการสืบทอดตำแหน่งของครอบครัวของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ความเป็นไปไม่ได้ที่จะเลือกผู้นำทั้งสองคนจากแต่ละกลุ่ม เนื่องจากดาบสองเล่มไม่สามารถบรรจุในฝักเดียวกันได้ (15)
อะบูอุบัยดะฮ์ ญัรเราะห์ : ในคำพูดของเขาที่มีต่อชาวอันศอร โดยเขาห้ามไม่ให้พวกเขาเปลี่ยนศาสนาและให้ยึดพื้นฐานของความเป็นเอกภาพของชาวมุสลิม [16]
บะชีร บิน ซะอัด : เขามาจากชนเผ่าค็อซร็อจและเป็นชาวอันศอร เขายืนยันเหตุผลของอะบูบักร์และสหายของเขาหลายครั้ง และห้ามชาวอันศอรต่อต้านกลุ่มชาวมุฮาญิรีนด้วยคำพูด เช่น เกรงกลัวพระเจ้า และไม่ต่อต้านสิทธิของชาวมุสลิม[17]
อับดุรเราะฮ์มาน บินเอาฟ์ : เขาแนะนำสถานภาพและความประเสริฐของบุคคล เช่น ท่านอะลี (อ.) อะบูบักร์ และอุมัร และชาวอันศอรไม่มีบุคคลที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ (18)
ซัยด์ บิน อัรกัม : เขามาจากกลุ่มชาวอันศอร ณ ซะกีฟะฮ์ เขานั้นเป็นผู้ที่อยู่ตรงกันข้ามกับข้ออ้างของอะบูบักร์ และอับดุรเราะฮ์มาน บินเอาฟ์ ซะกีฟะฮ์ โดยเขาได้แนะนำท่านอะลี (อ.) ในฐานะบุคคลที่มีลักษณะพิเศษเหล่านี้ทั้งหมด และหากเขาเป็นผู้เริ่มในการให้สัตยาบัน จะไม่มีใครต่อต้านเขาเลย [19]
การเข้าร่วมของกลุ่มต่างๆ
ส่วนใหญ่ในรายงานจากแหล่งข้อมูลของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ที่เกี่ยวกับซะกีฟะฮ์ บะนีซาอิดะฮ์ มีการเข้าร่วมและมีส่วนร่วมทางการเมืองของกลุ่มชาวมุฮาญิรีนและอันศอรในเหตุการณ์นี้ [20] ในขณะที่แหล่งข้อมูลหลายแห่งได้กล่าวถึงสองขั้นตอนของการให้สัตยาบันกับอะบูบักร์ ซึ่งรวมถึงการให้สัตยาบันในวันซะกีฟะฮ์และการให้สัตยาบันผู้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์ในเมืองมะดีนะฮ์ ซึ่งเกิดขึ้นหนึ่งวัน หลังจากเหตุการณ์ซะกีฟะฮ์และถูกเรียกว่าเป็นการให้สัตยาบันโดยทั่วไป (21)
ตามคำบอกเล่าของ วิลเฟรด มาเดลอง ระบุว่า ในบรรดากลุ่มชาวมุฮาญิรีน มีเพียงอะบูบักร์ อุมัร และอะบูอุบัยดะฮ์ เท่านั้นที่เข้าร่วมการประชุมที่ซะกีฟะฮ์ และเป็นไปไม่ได้ที่จะมีผู้เข้าร่วมแบบส่วนตัว สมาชิกของครอบครัว และผู้ติดตามของทั้งสามคนนี้ ในทำนองเดียวกัน นักวิจัยบางคนกล่าวถึงการเข้าร่วมของซาลิม ทาสที่ได้รับอิสรภาพของอะบูฮุซัยฟะฮ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในคนกลุ่มแรกๆ ที่ให้คำสัตยาบันกับอะบูบักร์ที่ซะกีฟะฮ์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีแหล่งข้อมูลแรกที่กล่าวถึงการเข้าร่วมของเขา แหล่งข้อมูลยังไม่ได้กล่าวถึงการเข้าร่วมของกลุ่มชาวมุฮาญิรีนคนอื่นๆ แม้แต่บรรดาศอฮาบะฮ์ในระดับกลางหรือระดับต่ำที่ไม่ใช่คนเหล่านี้[22] นักวิจัยบางคนระบุพร้อมข้อมูลอ้างอิงว่า จำนวนกลุ่มชาวมุฮาญิรีนที่อยู่ในซะกีฟะฮ์นั้นมีน้อยอย่างมาก[23]
ชาวอันศอรที่เป็นที่รู้จักที่สุดซึ่งเข้าร่วมในเหตุการณ์ซะกีฟะฮ์ ตามแหล่งข้อมูล ได้แก่ ซะอัด บินอุบาดะฮ์ ลูกชายของเขา เกซ บะชีร บินซะอัด ลูกพี่ลูกน้องและคู่แข่งของซะอัด อะซีด บิน ฮุฎีร ษาบิต บินเกซ บะรออ์ บิน อาซิบ และฮุบาบ บินมันซัร (24)
ด้วยวลีของอิบนุกุตัยบะฮ์ ที่กล่าวว่า หากซะอัด มีมิตรสหายที่จะต่อสู้กับพวกเขา เขาก็คงจะต่อสู้กับพวกเขาอย่างที่ไม่ต้องสงสัย (25) ซึ่งแสดงให้เห็นถึง การไม่เป็นฉันทามติของกลุ่มอันศอร เนื่องจากพวกเขามีจำนวนที่น้อยอย่างมากในการรวมตัวกันที่ซะกีฟะฮ์ (26)
แรงจูงใจของชาวอันศอรในการรวมตัวกันที่ซะกีฟะฮ์
นักวิเคราะห์บางคน ถือว่า การรวมตัวของชาวอันศอรในซะกีฟะฮ์ อันเป็นผลมาจากความกลัวอนาคตและชะตากรรมของพวกเขา หลังจากการเสียชีวิตของศาสนทูตของพระเจ้า (ศ็อลฯ) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากการพิชิตนครมักกะฮ์ โดยพวกเขากังวลเกี่ยวกับการก่อตัวของแนวร่วมของพวกกุเรช ในลักษณะที่จะสร้างสมดุลต่อพวกเขาในอนาคต ผู้เสนอทฤษฎีนี้ไม่ได้คำนึงถึงความเป็นไปได้ที่ว่าชาวอันศอรรับทราบถึงแผนการที่ออกแบบโดยกลุ่มชาวมุฮาญิรีน เพื่อให้การสืบทอดต่อจากท่านศาสดาไร้ประสิทธิภาพ (27)
นักเขียนบางคนมองว่า การรวมตัวในซะกีฟะฮ์ อันเป็นผลมาจากปัญหาต่างๆเหล่านี้ :
* ชาวอันศอร ถือว่า ศาสนานี้เป็นลูกๆของพวกเขา เนื่องจากการเสียสละของพวกเขาและการบริจาคชีวิต ทรัพย์สิน และลูก ๆ ของพวกเขาตามแนวทางของศาสนาอิสลาม และพวกเขาไม่คิดว่า ใครก็ตามที่คู่ควรและเอาใจใส่มากกว่าตนเองในการปกป้องศาสนานี้
* ชาวอันศอรมีความหวาดกลัวต่อการแก้แค้นของพวกกุเรช เนื่องจากผู้นำส่วนใหญ่ของชนเผ่านี้ถูกสังหารด้วยคมดาบของชาวอันศอร ในสงครามของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) นอกจากนี้ ท่านศาสดาได้สัญญากับพวกเขาเกี่ยวกับการถูกกดขี่ และการกดขี่ของผู้ปกครองภายหลังเขา และเรียกร้องให้ชาวอันศอรมีความอดทนในสถานการณ์เช่นนี้
* ความรู้สึกของชาวอันศอรที่ว่า พวกกุเรชจะไม่หนักใจกับคำพูดของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)เกี่ยวกับท่านอะลี (อ.)[28]
ทัศนะของบางคน ระบุว่า อะบูบักร์ได้ประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการเสียชีวิตของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ในมัสยิด และการรวมตัวของผู้คนทั่วไปในเมืองมะดีนะฮ์ ล้อมรอบเขาและให้สัตยาบันกับเขา การเคลื่อนไหวนี้ทำให้เกิดความสงสัยในใจของกลุ่มชาวอันศอรซึ่งอยู่ในมะดีนะฮ์เกี่ยวกับการอนุญาตให้แต่งตั้งคอลีฟะฮ์จากชาวอันศอร และท่ามกลางแนวคิดนี้ การรวมตัวที่ซะกีฟะฮ์จึงเกิดขึ้น (29)
จุดยืนของศอฮาบะฮ์และผู้อาวุโสของกุเรช
อะลี (อ.) บรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ของศาสดา พร้อมด้วยกลุ่มชาวมุฮาญิรีนบางส่วนและชาวอันศอรคัดค้านการให้สัตยาบันกับอะบูบักร์ ตามรายงานทางประวัติศาสตร์ ระบุว่า บางส่วนของพวกเขา ได้แก่ : อับบาส บิน อับดุล มุฏฏอลิบ ฟัฎล์ บิน อับบาส, ซุบัยร์ บิน อะวาม, คอลิด บิน ซะอีด มิกดาด บิน อัมร์ ซัลมาน ฟาร์ซี, อะบูซัร ฆอฟฟารี อัมมาร ยาซีร บะรออ์ บิน อาซิบ, อุบัย บิน กะอ์บ (30)
บรรดาศอฮาบะฮ์บางคน หรือผู้อาวุโสชาวกุเรชบางคน ยังได้ชี้ให้เห็นถึงการขาดความสามารถของอะบูบักร์ ที่จะสืบทอดตำแหน่งของศาสดา ความคิดเห็นบางส่วนเหล่านี้ ดังนี้ :
ฟัฎล์ บิน อับบาส กล่าวหาชาวกุเรชว่า ประมาทเลินเล่อและปกปิด และประกาศว่า อะฮ์ลุลบัยต์ของท่านศาสดา โดยเฉพาะท่านอะลี สมควรที่จะได้รับการสืบทอดมากกว่า (31)
ซัลมาน ฟารซี กล่าวในการสนทนาของเขากับชาวมุสลิมที่ให้สัตยาบันว่า เป็นความผิดพลาดและเป็นสิทธิของอะฮ์ลุลบัยต์ของศาสดา (32)
อะบูซัร ฆ็อฟฟารี ไม่ได้อยู่ในเมืองมะดีนะฮ์ในวันที่เกิดเหตุ และหลังจากเขาเข้ามาในเมือง จึงได้รับทราบถึงการเป็นคอลีฟะฮ์ของอะบูบักร์ ตามแหล่งอ้างอิง เขาได้รับทราบถึงเหตุการณ์ดังกล่าวตั้งแต่ต้น (33)และในยุคสมัยของอุษมาน บินอัฟฟาน ก็เช่นกัน โดยเขาบอกถึงความชอบธรรมของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ที่จะสืบทอดตำแหน่งศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) (34)
มิกดาด บิน อัมร์ รู้สึกประหลาดเป็นอย่างมากในพฤติกรรมของชาวมุสลิมในการปฏิบัติตามการตัดสินใจของซะกีฟะฮ์และเขายังยืนยันความชอบธรรมของอิมามอะลี (อ.)[35]
อุมัร บินค็อฏฏอบ ในปีสุดท้ายของชีวิต กล่าวในการเทศนาต่อสาธารณะว่า: การให้สัตยาบันกับอะบูอบูบักร์เป็นความผิดพลาด ซึ่งได้กระทำผ่านไปแล้ว ขอให้ผ่านไป ใช่ มันเป็นอย่างนั้น แต่พระผู้เป็นเจ้าทรงปกป้องผู้คนจากความชั่วร้ายของความผิด ด้วยทุกคนที่ใช้วิธีการนี้ในการเลือกคอลีฟะฮ์ก็จงสังหารเขาซะ” (36)
อิบนุกุตัยบะฮ์ เขียนในหนังสืออัลอิมามะฮ์ วัซซิยาซะฮ์ ว่า :
บะนีอุมัยยะฮ์รวมตัวกับอุษมาน บะนีซุฮ์เราะฮ์รวมตัวกับซะอัด และอับดุรเราะฮ์มาน บินเอาฟ์ โดยพวกเขาทั้งหมดรวมตัวกันในมัสยิดใหญ่ เมื่ออะบูบักร์ และอบูอุบัยดะฮ์ เข้ามาหาพวกเขา และผู้คนได้ให้คำสัตยาบันกับอะบูบักร์ อุมัรได้กล่าวกับผู้คนที่มารวมตัวกันในมัสยิดว่า เกิดอะไรขึ้นที่พวกท่านรวมตัวกันเป็นกลุ่มๆ? พวกท่านจงลุกขึ้นแล้วให้สัตยาบันกับอะบูบักร์ และฉันนั้นก็ได้ให้สัตยาบันกับเขา หลังจากคำพูดของอุมัร อุษมาน บินอัฟฟาน และกลุ่มชนบะนีอุมัยยะฮ์ ได้ให้สัตยาบันกับอะบูบักร์ นอกจากนี้ ซะอัดและอับดุรเราะห์มานและบุคคลที่มีความเห็นเช่นเดียวกับสองคนนี้ด้วย[37]
อะบูซุฟยาน ซึ่งถูกส่งโดยท่านศาสดาให้ปฏิบัติภารกิจบางสิ่งนอกเมืองมะดีนะฮ์ หลังจากที่เขาเข้าสู่เมืองมะดีนะฮ์และทราบเกี่ยวกับการเสียชีวิตของศาสดาและเขาได้ถามเกี่ยวกับการให้สัตยาบันที่ซะกีฟะฮ์ อันเนื่องจากการมีปฏิกิริยาของอะลี (อ.) และอับบาส บิน อับดุลมุฏฏอลิบ หลังจากรับทราบเกี่ยวกับการอยู่โดดเดี่ยวของคนทั้งสองแล้ว เขากล่าวว่า ฉันขอสาบานต่อพระผู้เป็นเจ้า หากฉันมีชีวิตอยู่เพื่อพวกเขา ฉันจะยกเท้าของพวกเขาขึ้นสู่ที่สูง เขายังกล่าวอีกว่า: ฉันเห็นฝุ่นที่ไม่สามารถชำระได้ นอกจากฝนเลือดเท่านั้น [39]
มูอาวิยา บิน อบิส ซุฟยาน ในจดหมายถึงมูฮัมหมัด บิน อะบีบักร์ (หลายปีหลังจากเหตุการณ์ซะกีฟะฮ์) มุอาวิยะฮ์ บิน อบีซุฟยาน กล่าวว่า: "... พ่อของเจ้าและฟารุกของเขา อุมัร เป็นคนแรกที่แย่งชิงสิทธิของอะลีและต่อต้านเขา ทั้งสองได้ตกลงร่วมมือกัน จากนั้น พวกเขาก็ได้เรียกอะลี (อ.) ไปให้สัตยาบันกับพวกเขา เมื่ออะลี (อ.) ปฏิเสธและประท้วง พวกเขาก็ตัดสินใจอย่างไม่ยุติธรรมและคิดในทางที่เป็นอันตรายต่อเขา และผลที่ตามมาก็คือ อะลีได้ให้สัตยาบันกับพวกเขา (40)
นอกจากนี้ ในระหว่างการให้สัตยาบันกับอะบูบักร์ในมัสยิด พวกบะนีอุมัยยะฮ์ได้รวมตัวกันรอบๆ อุษมาน และบะนีซุฮ์เราะฮ์ จากกลุ่มชนกุเรชก็ตกลงกันที่จะเลือกอับดุรเราะฮ์มาน บิน เอาฟ์ หรือซะอัด แต่ด้วยความพยายามของอุมัร จนเป็นเหตุให้สัตยาบันกับอะบูบักร์ [41]
ปฏิกิริยาของอะลี (อ.)
ส่วนหนึ่งของบทเทศนาธรรม ชักชะกียะฮ์
พึงรู้ไว้เถิดว่า! ขอสาบานต่อพระผู้เป็นเจ้าว่า คนนั้น(อะบูบักร์ บุตรของอะบูกุฮาฟะฮ์) ได้สวมเสื้อคลุมของคอลีฟะฮ์ ในขณะที่เขาทราบดีว่า ตำแหน่งของฉันในนั้นเหมือนกับแกนของหินโม่แป้ง และเขาก็ทราบด้วยว่า ความรู้ที่เสมือนพายุนั้น มาจากการดำรงอยู่ของฉัน และไม่มีวิหคใด(ความคิด)ที่จะถวิลหาจุดสูงสุดได้ นอกจากไปยังฉัน แต่ฉันก็ยอมปิดตาต่อตำแหน่งคอลีฟะห์ และหันหลังให้กับมัน และฉันก็คิดอย่างลึกซึ้งว่า ฉันจะต่อสู้ด้วยมือที่ขาดวิ่นและไม่มีผู้ช่วย หรือจะอดทนต่อความมืดมิด ที่บางครั้งมืดบอด ในบรรยากาศที่ผู้ใหญ่กลายเป็นคนชราภาพ และเด็กกลายเป็นคนชราภาพด้วย ขณะที่ ผู้ศรัทธาอยู่คงยากเสียเหลือเกินที่จะพบกับความจริง! นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ แปลโดย ฮูเซน อันศอรียอน
ในวันซะกีฟะฮ์ อะลี (อ.) ไม่ได้ให้สัตยาบันกับอะบูบักร์ และหลังจากนั้น ก็มีความเห็นที่แตกต่างกันในหมู่นักรายงานประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการยอมรับสัตยาบันและระยะเวลาในการให้สัตยาบันของเขา ตามที่คำกล่าวของเชค มุฟีด นักวิชาการชีอะฮ์ (เสียชีวิตในปี 413 ฮ.ศ.) บรรดานักวิเคราะห์ต่างเชื่อว่า อะลี บิน อะบีฏอลิบไม่เคยให้คำสัตยาบันกับอะบูบักร์เลย [42]
อะลี (อ.) ในช่วงวันแรกๆ ซึ่งผู้บ่งการซะกีฟะฮ์พยายามที่จะบังคับให้เขาให้สัตยาบันกับอะบูบักร์ ในขณะที่อะลี (อ.) ได้ปราศรัยกับพวกเขาว่า:
ฉันนั้นเหมาะสมที่สุดในการดำรงตำแหน่งคอลีฟะห์มากกว่าท่าน ฉันจะไม่ให้สัตยาบันกับท่าน และท่านก็สมควรที่จะให้สัตยาบันต่อฉันเสียมากกว่า ท่านรับตำแหน่งคอลีฟะห์มาจากชาวอันศอร และท่านก็อ้างว่า เนื่องจากความสัมพันธ์เครือญาติใกล้ชิดกับศาสนทูตของพระเจ้าและกล่าวกับพวกเขาว่า: เพราะว่า เรานั้นใกล้ชิดกับท่านศาสดาและเราอยู่ในหมู่ญาติของเขา เราจึงสมควรที่ได้รับตำแหน่งคอลีฟะห์มากกว่าพวกท่าน และด้วยพื้นฐานนี้ พวกเขายังให้ความเป็นผู้นำและอิมามัตแก่ท่าน ฉันยังประท้วงต่อท่าน ด้วยสิทธิพิเศษและลักษณะเดียวกับที่ท่านได้ประท้วงต่อต้านชาวอันศอร (หมายถึง ความใกล้ชิดกับศาสนทูตของพระเจ้า) ดังนั้นหากท่านมีความเกรงกลัวต่อพระเจ้า ก็ปฏิบัติกับเราด้วยความยุติธรรม และสิ่งที่ชาวอันศอรยอมรับท่าน ท่านก็ต้องยอมรับเราด้วย มิฉะนั้น ท่านจะกระทำการกดขี่ข่มเหง (43)
ตามบางแหล่งอ้างอิง ระบุว่า อะลี (อ.) ได้มีการโต้เถียงอย่างอ่อนโยน แต่ตรงไปตรงมากับอะบูบักร์ ในระหว่างนั้น เขาได้ประณามอะบูบักร์ สำหรับการละเมิดของเขาในเหตุการณ์ซะกีฟะฮ์ ในการเพิกเฉยต่อสิทธิของอะฮ์ลุลบัยต์ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) อะบูบักร์ยอมรับข้อโต้แย้งของท่านอะมีรุลมุอ์มินีนและจนเกือบที่จะให้คำสัตยาบันกับอะลี (อ.) ในฐานะผู้สืบทอดตำแหน่งของศาสดา แต่หลังจากมีการปรึกษาหารือกับสหายบางคนของเขา เขาก็ไม่ยอมให้สัตยาบัน [44]
อะลี (อ.) ได้ประท้วงต่อต้านเหตุการณ์ซะกีฟะฮ์หลายครั้งและในการกล่าวปราศรัยหลายครั้ง และได้เตือนถึงสิทธิของเขาในการเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากท่านศาสดาแห่งอิสลาม บทเทศนาชักชะกียะฮ์ เป็นหนึ่งในบทเทศนาธรรมที่เขากล่าวถึงเหตุการณ์นี้ ในตอนต้นของบทเทศนานี้ เขากล่าวว่า: ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮ์ว่า บุตรของอะบูกุฮาฟะฮ์ (อะบูบักร์) ถือว่า คอลีฟะฮ์เหมือนกับเป็นเสื้อผ้าที่คลุมกาย แม้ว่าเขาจะมีความรู้ แต่ฉันนั้นก็เหมือนกับแกนหินโม่แป้งสำหรับคอลีฟะฮ์ และความรู้และความประเสริฐต่างๆหลั่งไหลมาจากตาน้ำของฉัน เสมือนดั่งพายุ และนกในอากาศก็ไม่สามารถโบยบินถึงจุดสูงสุดของสถานภาพของฉัน (45) ตามคำกล่าวของอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี มาตรวัดของอิมามอะลี (อ.) ในตลอดช่วงชีวิตของเขา รวมทั้งซะกีฟะฮ์ คือ การได้รับความพึงพอพระทัยจากพระผู้เป็นเจ้า เขาเลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับอิสลามและชาวมุสลิม [46]
ตามแหล่งอ้างอิงอื่นๆ รายงานว่า หลังจากเหตุการณ์ซะกีฟะฮ์และในช่วงการมีชีวิตของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.) ท่านอะลี (อ.) ได้พาลูกสาวของศาสดาขึ้นบนหลังม้าในยามกลางคืน และพาท่านหญิงไปที่บ้านและในหมู่ชาวอันศอร และขอความช่วยเหลือและได้ยินคำตอบ: “โอ้ ธิดาของท่านศาสดา! เราสาบานว่าให้คำสัตยาบันกับอะบูบักร์ หากอะลีออกมาข้างหน้า เราก็จะไม่หันเหไปจากเขา อะลี (อ.) คงจะตอบว่า: หากฉันไม่ฝังศพศาสดาก็คงโต้เถียงเกี่ยวกับคอลีฟะฮ์ไปแล้ว?[47]
อับดุลฮุเซน ซัรรีนคูบ :
ตำแหน่งคอลีฟะฮ์ซึ่งในวาระสุดท้ายของชีวิตของท่านศาสดาได้รับการยอมรับจากหลาย ๆ คนว่า เป็นสิทธิของอะลี บิน อะบีฏอลิบ และถูกออกจากมือของเขาและส่งต่อจากมือหนึ่งไปยังอีกมือหนึ่งท่ามกลางคนอื่นๆ และอะลี (อ.) ได้ให้สัตยาบัน หลังจากที่ฟาฏิมะฮ์เสียชีวิต ไม่ว่าเขาจะต้องการหรือไม่ก็ตาม (48)
ปฏิกิริยาของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์
หลังจากเหตุการณ์ซะกีฟะฮ์ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ได้คัดค้านเหตุการณ์นี้และผลที่เกิดขึ้นจากการคัดค้านนี้ คือ การประกาศว่า เป็นการละเมิดคำสั่งของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ในบรรดาการคัดค้านเหล่านี้ ได้แก่ คำพูดของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) เกี่ยวกับการให้สัตยาบันกับอิมามอะลี และการปิดล้อมบ้านของเขา [49] และยังมีเทศนาธรรมที่เรียกกันว่า คุฏบะฮ์ฟะดะกียะฮ์ ซึ่งบุตรีของท่านศาสดากล่าวไว้ในมัสยิดมะดีนะฮ์ (50) ตามรายงานทางประวัติศาสตร์ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ใช้ชีวิตวันสุดท้ายของท่านหญิงบนเตียงแห่งความเจ็บป่วย ในการสนทนากับเหล่าผู้หญิงของกลุ่มชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศอร ที่มาเยี่ยมท่านหญิง โดยถือว่า ซะกีฟะฮ์ นอกคำสั่งของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และเกี่ยวกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตสำหรับอิสลาม (55)
ซะกีฟะฮ์ในทัศนะของนักบูรพาคดี
- เฮนรี แลมเมนส์ และทฤษฎีสามเหลี่ยมแห่งอำนาจ: เฮนรี แลมเมนส์ (1862-1937ค.ศ.) นักทฤษฎีชาวเบลเยียม ในบทความ สามเหลี่ยมแห่งอำนาจ อะบูบักร์ อุมัร และอะบูอุบัยดะฮ์ อ้างว่า เป้าหมายร่วมกันและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดของบุคคลทั้งสามนี้ เริ่มต้นในช่วงการมีชีวิตของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และได้ให้อำนาจกับพวกเขาในการสถาปนาคอลีฟะห์ของอะบูบักร์ และอุมัร และหากอะบูอุบัยดะฮ์ไม่เสียชีวิตในช่วงสมัยการมีชีวิตของอุมัร เขาก็จะได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นคอลีฟะฮ์คนต่อไปหลังจากอุมัรอย่างแน่นอน ตามคำกล่าวอ้าง เขาเชื่อว่า อาอิชะฮ์และฮัฟเซาะฮ์ ลูกสาวของอะบูบักร์ และอุมัร ซึ่งเป็นภรรยาของศาสดา ได้แจ้งให้บิดาของพวกนางทราบทุกการเคลื่อนไหวและความคิดที่เป็นความลับเกี่ยวกับสามีของพวกนางและทั้งสองคนนี้ก็ประสบความสำเร็จในการใช้อิทธิพลอย่างมากต่อการงานต่างๆของศาสดาแห่งอิสลาม และนี่คือวิธีที่พวกนางแสวงหาอำนาจ[52]
- ทัศนะของกาเอตานิ: ลิโอน กาเอตานิ นักบูรพาคดีชาวอิตาลี กล่าวถึงความลึกของข้อพิพาทระหว่างอะบูบักร์ และบะนีฮาชิม ในการอภิปรายเบื้องต้นในหนังสือของเขาที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์อิสลาม และแสดงถึงความประหลาดใจต่อการอ้างสิทธิ์ของคอลีฟะฮ์ของอะบูบักร์ ท่ามกลางการรวมตัวของชาวอันศอรในซะกีฟะฮ์ บะนีซาอิดะฮ์ ไม่กี่ชั่วโมง หลังจากการมรณภาพของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กาเอตานิ ยืนยันโดยปริยายถึงความจริงจังที่อาจเกิดขึ้นในการอ้างสิทธิ์ของอะลี (อ. ) ที่มีต่อตำแหน่งคอลีฟะฮ์ โดยการปฏิเสธรายงานที่อะบูบักร์อ้างสิทธิ์ในการสืบทอดตำแหน่งของศาสดา ในหมู่ชาวอันศอร เพราะว่า ข้อถกเถียงนี้ บ่งบอกว่า อะลี เนื่องจากมีความใกล้ชิดศาสดามากกว่า ในความเห็นของเขา หากมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) สามารถเลือกผู้สืบทอดตำแหน่งสำหรับตนเองได้ คาดว่า เขาคงจะชอบอะบูบักร์ มากกว่าใครๆ อย่างไรก็ตาม ในหนังสือประวัติศาสตร์อิสลามเล่มหนึ่งของกาเอตานิ ถือว่า ทฤษฎีสามเหลี่ยมแห่งอำนาจ: อะบูบักร อูมัร และอะบูอุบัยดะฮ์ ของ แลมเมนส์ เป็นทฤษฎีที่เหมาะสมที่สุดเกี่ยวกับต้นกำเนิดของคอลีฟะฮ์ [53]
- วิลเฟรด มาเดลอง : เขาได้กล่าวถึงประเด็นนี้และตรวจสอบในหนังสือของเขาเรื่อง ผู้สืบทอดของศาสดาแห่งอิสลาม โดยเขาเชื่อว่า ตรงกันข้ามกับความเชื่อของนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ สภาซะกีฟะฮ์ไม่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในช่วงแรกเพื่อกำหนดคอลีฟะฮ์สำหรับชาวมุสลิม และเนื่องจากทฤษฎีคอลีฟะฮ์ในฐานะผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากศาสดาไม่มีแบบอย่างในสังคมอิสลาม จึงคาดว่า การรวมตัวชาวอันศอร เพื่อบรรลุสิ่งนี้ก็ไม่เกินการคาดหมาย [54] มาเดลอง เชื่อว่า ชาวอันศอรด้วยความคิดที่ว่า หลังจากการเสียชีวิตของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) การให้สัตยาบันได้สิ้นสุดลงแล้ว และคาดว่า สังคมการเมืองซึ่งศาสดาเป็นผู้ก่อตั้งนั้นกำลังล่มสลาย จึงต้องมีการเลือกผู้นำที่มาชาวอันศอรในการบริหารการงานต่างๆของเมืองมะดีนะฮ์ ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงรวมตัวกันโดยไม่ได้ปรึกษาหารือกับพวกมุฮาญิรีน (55) ชาวอันศอรต่างคิดว่า พวกมุฮาญิรีนไม่มีเหตุผลที่ถูกต้องในการอยู่อาศัยในเมืองมะดีนะฮ์และจะต้องกลับไปยังเมืองมักกะฮ์ของพวกเขา และบรรดาผู้ที่ประสงค์จะอยู่ต่อ พวกเขาก็คงจะต้องยอมรับการปกครองของชาวอันศอร (56)
เขาเสนอสมมติฐานที่จริงจังนี้ว่า มีเพียงอะบูบักร์ และอุมัรเท่านั้นที่เชื่อว่าผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เป็นผู้ปกครองชาวอาหรับทั้งหมด และตำแหน่งคอลีฟะฮ์ดังกล่าวจึงเหมาะสมสำหรับพวกกุเรชเท่านั้น มาเดลอง เชื่อว่า อะบูบักร์ได้ตัดสินใจเข้ารับตำแหน่งคอลีฟะฮ์ก่อนที่ศาสดา (ศ็อลฯ) จะเสียชีวิตและเพื่อให้บรรลุสู่ความฝันนี้ เขาจึงวางแผนที่จะกำจัดผู้ต่อต้านที่ทรงพลังของเขา (58) แกนหลักของผู้ต่อต้าน คือ อะฮ์ลุลบัยต์ของมุฮัมมัด ซึ่งในอัลกุรอานถือว่า พวกเขานั้นมีสถานภาพที่สูงส่งกว่าชาวมุสลิมคนอื่นๆ [59] ความคิดริเริ่มของชาวอันศอร ในการรวมตัวกันที่ซะกีฟะฮ์ ทำให้อะบูบักร์ มีโอกาสบรรลุเป้าหมาย เขาเสนออุมัรและอะบูอุบัยดะฮ์ เป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้สืบทอด ในลักษณะที่เป็นการแสดงละคร ซึ่งคาดว่า ทั้งสองคนไม่ได้รับการเลือกตั้งอย่างแน่นอน และเป็นที่ชัดเจนว่า ข้อเสนอนี้ไม่ได้มีความจริงจังและมีวัตถุประสงค์ เพื่อทำให้การโต้เถียงในหมู่ผู้คนเพียงเท่านั้น จนในที่สุด เหตุการณ์จะเป็นประโยชน์กับเขาอีกด้วย[60]
ตามคำกล่าวของมาเดลอง การโต้แย้งของนักวิชาการชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์และนักวิชาการตะวันตก ที่ว่าอะลี (อ.) เนื่องจากความเยาวชนและไม่มีประสบการณ์เมื่อเปรียบเทียบกับศอฮาบะฮ์คนอื่นๆ เช่น อบูบักร และอุมัร ทั้งยังไม่ผู้สมัครอย่างจริงจัง ล้วนตรงกันข้ามกับความเป็นจริงโดยสิ้นเชิง และเหตุผลอื่นจากฝ่ายอะบูบักร์ทำให้ไม่มีการพูดถึงท่านอะลีแต่อย่างใด[61]
เหตุการณ์ซะกีฟะห์จากมุมมองของนักวิชาการชีอะฮ์
ชาวชีอะฮ์มีความเชื่อว่า การรวมตัวกันในซะกีฟะฮ์และผลลัพธ์ของมัน ถือเป็นการละเมิดคำสั่งที่ชัดเจนของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)เกี่ยวกับอิมามอะลี (อ.)ในการผู้สืบทอดตำแหน่งของศาสดา หลังจากศาสดา ชีอะฮ์ได้ยกหลักฐานเพื่อปฏิเสธความชอบธรรมของซะกีฟะฮ์ และเพื่อพิสูจน์ถึงความชอบธรรมของท่านอะลี (อ.) ในการสืบทอดตำแหน่งของศาสดา ด้วยการอธิบายบางโองการของอัลกุรอาน เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ และริวายะฮ์ต่างๆ ซึ่งพบในแหล่งอ้างอิงของอะฮ์ลิซุนนะฮ์ และสิ่งสำคัญที่สุด คือ เหตุการณ์ของเฆาะดีร และริวายะฮ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยชาวชีอะฮ์มีความเชื่อว่า ท่านศาสดาได้ประกาศว่า ท่านอะลี (อ.) เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งในเหตุการณ์ของเฆาะดีรคุม ถือว่าเป็นการทำให้การเผยแผ่สารของพระผู้เป็นเจ้าของศาสดานั้นได้รับความสมบูรณ์ต่อชาวมุสลิม(62)
มุฮัมมัดริฎอ มุซอฟฟัร รายงานว่า มีริวายะฮ์มุตะวาติร จำนวน 17 ริวายะฮ์ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ซึ่งท่านศาสดา (ศ็อลฯ)ได้กล่าวว่า ท่านอะลีเป็นผู้สืบทอดตำแหน่ง หลังจากศาสดาอย่างชัดเจนหรือได้ชี้ถึง รวมทั้ง เหตุการณ์อินซาร อะชีเราะฮ์ เหตุการณ์เฆาะดีร สนธิสัญญาภราดรภาพ การปิดประตู ซัดดุลอับวาบ สงครามค็อนดักและค็อยบัร และฮะดีษต่างๆ เช่น คอซิฟุลนะอ์ล ฮะดีษมะดีนะตุลอิลม์ และวะศียะฮ์ และฮะดีษที่ว่า แท้จริงอะลีมาจากฉัน และฉันนั้นมาจากอะลีและเขาเป็นผู้ปกครองสำหรับผู้ศรัทธาทุกคนหลังจากฉัน [63] โองการวิลายัต โองการตัฏฮีรและโองการมุบาฮะละฮ์ ก็เป็นโองการต่างๆของอัลกุรอานที่นักเทววิทยาชาวชีอะฮ์ใช้เป็นหลักฐานเพื่อพิสูจน์ว่าอะลีเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งของท่านศาสดา (อ.) ต่อจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ)(64)
ผลกระทบที่ตามมา
นักวิจัยบางคน เชื่อว่า เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์อันมากมายหลังจากการเสียชีวิตของศาสนทูตของอัลลอฮ์ เป็นผลมาจากเหตุการณ์ซะกีฟะฮ์ ซึ่งบางส่วนของเหตุการณ์เหล่านี้ คือ :
- การบุกรุกบ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ตามรายงานระบุว่า ผู้สนับสนุนฝ่ายคอลีฟะฮ์ของอะบูบักร์ หลังจากเหตุการณ์ซะกีฟะฮ์ และการปฏิเสธของศอฮาบะฮ์บางคน รวมทั้งอิมามอะลี (อ.) จากการให้สัตยาบันกับอะบูบักร์ โดยต้องการที่จะได้รับสัตยาบันจากท่านอะลี จึงไปยังบ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) (65) บรรดาชีอะฮ์เชื่อว่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) เป็นชะฮีด เนื่องการผลของการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับท่านหญิงในเหตุการณ์นี้ [66]
- การยึดสวนฟะดัก : นักวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์บางคนเชื่อว่า การยึดสวนฟะดักจากท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ซะกีฟะฮ์ เป็นการกำหนดทิศทางเพื่อการต่อสู้ทางเศรษฐกิจกับบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ การกระทำนี้ยังถือเป็นการเสริมสร้างรากฐานของการปกครองของอะบูบักร์ให้มั่นคง และป้องกันไม่ให้ครอบครัวของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ต่อสู้และต่อต้าน[67]
- ความร่วมมือของพวกมุนาฟิกในซะกีฟะฮ์ : ตามคำกล่าวของอยาตุลลอฮ์ ญะวาดี ออโมลี ระบุว่า เมื่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เสียชีวิต การทำลายล้างของพวกมุนาฟิกในเมืองมะดีนะฮ์เป็นที่สิ้นสุดลง จากการวิเคราะห์ของเขาในเรื่องนี้ เขากล่าวว่า พวกมุนาฟิกไม่ได้หายไปไหนสักหนึ่งวันและก็ไม่ได้เป็นผู้ศรัทธา เหมือนดั่งซัลมานและอะบูซัร แต่พวกเขาได้สร้างซะกีฟะฮ์และชาวเมืองนั้น ด้วยเหตุนี้เอง หลังจากการจัดตั้งซะกีฟะฮ์จึงไม่มีพวกมุนาฟิกอีกเลย (68)
- เหตุการณ์กัรบะลา : ตามที่บางคนกล่าวไว้ว่า การเปลี่ยนแปลงในเส้นทางในการเป็นสืบทอดตำแหน่งของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ในซะกีฟะฮ์ ทำให้การเลือกคอลีฟะฮ์ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายใดๆ ดังนั้น ในวันหนึ่ง คอลีฟะฮ์ของชาวมุสลิมจึงเกิดข้อโต้แย้งกับชาวอันศอร และกับผู้คนเพียงไม่กี่คนจากกลุ่มชนกุเรช ในวันหนึ่งปฏิบัติตามคำสั่งเสียของคอลีฟะห์คนที่หนึ่ง ในวันหนึ่ง เกิดการจัดตั้งสภาหกคน และในวันหนึ่ง มุอาวิยะฮ์ต้องการสัตยาบันให้ยะซีด โดยยะซีดนั้นยังเป็นต้นเหตุของเหตุการณ์กัรบะลาอีกด้วย [69] ซัยยิด มูฮัมมัด ฮุเซน เตห์รอนี นักวิชาการชาวชีอะฮ์ (เสียชีวิตในปี 1416 ฮ.ศ.) หลังจากรายงานบทกวีของกอฎี อะบีบักร์ บิน อะบีเกาะรีอะฮ์ เกี่ยวกับท่านอะลี (อ.) กล่าวในการอธิบายบทกลอนหนึ่งที่ว่า
وَ أَرَیْتُکُمْ أَنَّ الْحُسَیْنَ أُصِیبَ فِی یَوْمِ السَّقِیفَهِ
ความว่า หากพวกเขาไม่ขโมยตำแหน่งคอลีฟะฮ์ของท่านอะลีแล้วไซร้ ธนูของฮัรมะละฮ์ก็จะไม่พุ่งเข้าใส่คอหอยของอะลีอัซฆัร หรอก (70) และเช่นเดียวกัน มุฮัมมัดฮุเซน เฆาะระวี อิสฟาฮานี นักวิชาการชาวชีอะฮ์คนหนึ่ง (1296-1361 ฮ.ศ.)ก็ได้อธิบายบทกลอนนี้อีกด้วย
فما رَماه اِذْ رَماهُ حَرمَلة و انَما رَماهُ مَن مَهَّدَ له سَهمٌ اَتی مِن جانب السقیفة و قَوسُه عَلی یدِ الخلیفة و ما أصاب سَهْمُهُ نَحرَ الصّبی بَل کَبدَ الدینِ و مُهجة النَبی[۷۱]
คำแปล: ไม่ใช่ฮัรมะละฮ์ที่ยิงธนู แต่มีผู้ปล่อยลูกธนูที่เป็นต้นเหตุ ลูกธนูนั้นมาจากซะกีฟะฮ์ ซึ่งธนูอยู่ในมือของเคาะลีฟะฮ์ และลูกธนูของเขาไม่ได้ปักที่คอของเด็กน้อย แต่ที่เป็นหัวใจของศาสนาและชีวิตของท่านศาสดา
ซะกีฟะฮ์ และหลักการฉันทามติ
แหล่งอ้างอิงของการได้รับคำวินิจฉัยประการหนึ่งในทัศนะอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ คือ หลักการฉันทามติ ซึ่งถูกอ้างถึงในเหตุการณ์ซะกีฟะฮ์ว่า เป็นหนึ่งในเหตุผลของความชอบธรรมในการเลือกอะบูบักร์ (73)
ตามความเชื่อของนักวิชาการชีอะฮ์บางคน ระบุว่า ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ อาศัยฉันทามติของประชาชาติ เพื่อทำให้การปกครองและตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของอะบูบักร์มีความชอบธรรม [74] พวกเขาได้ทำให้ข้อถกเถียงเกี่ยวกับประเด็นฉันทามติ เป็นการพิสูจน์ความถูกต้องของข้อตกลงของประชาชน ทั้งในอิมามะฮ์ อามมะฮ์และอิมามะฮ์ คอเศาะฮ์ ด้วยเป้าหมายในการเผชิญหน้ากับความเชื่อของชาวชีอะฮ์และปฏิเสธความจำเป็นในการดำรงอยู่ของอิมาม ผู้บริสุทธิ์ปราศจากมลทิน [75] ตามที่ทัศนะของนักวิจัยเหล่านี้ ถือว่า การวางแผนแนวคิดหลักฉันทามติ เป็นปฏิกิริยาที่มีต่อเหตุการณ์ซะกีฟะฮ์ และตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของอะบูบักร์และข้ออ้างของมันและการพัฒนาไปสู่คำสอนอื่นๆ เช่น อิมามะฮ์ อามมะฮ์ และประเด็นทางหลักการปฏิบัติและสาขาต่าง ๆ ก็เป็นความพยายามที่จะตรวจสอบความเชื่อนี้ [76]
ผลงานประพันธ์ที่เกี่ยวข้อง
เหตุการณ์ซะกีฟะฮ์ ได้มีการกล่าวถึงในแหล่งอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ของอิสลาม เช่น หนังสือตารีคเฏาะบะรี ตารีคยะอ์กูบี และอื่นๆ ชี้ให้เห็นถึงเหตุการณ์นี้และรายละเอียดปลีกย่อยของมัน ในขณะเดียวกัน ผลงานประพันธ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้ ซึ่งมีการตรวจสอบและการวิเคราะห์ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ :
- อัซซะกีฟะฮ์ เขียนโดย อะบีศอลิห์ อัซซะลีล บินอะฮ์มัด บินอีซา (คาดว่า เขามีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่สามแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช)
- อัซซะกีฟะฮ์ วะบัยอะตุอะบีบักร์ เขียนโดย มุฮัมมัด บินอุมัร วากิดีย์ (130-207 ฮ.ศ.)
- อัซซะกีฟะฮ์ เขียนโดย อะบีมิคนัฟ ลูฏ บินยะฮ์ยา บินซะอีด (เสียชีวิต 157 ฮ.ศ.)
- ซะกีฟะฮ์ และความแตกแยกในการกำหนดเคาะลีฟะฮ์ เขียนโดย ซะฮาบ บินมุฮัมมัด ซะมาน ตัฟริชี พิมพ์ปี 1334 สุริยคติอิหร่าน ในกรุงเตหะราน
- อัซซะกีฟะฮ์ เขียนโดย อะบีอีซา อัลวะรอก มุฮัมมัด บินฮารูน (77)
- อัซซะกีฟะฮ์ เขียนโดย มุฮัมมัด มุศอฟฟัร
- ผู้สืบทอดของมุฮัมมัด เขียนโดย วิลเฟรด มาเดลอง
- ซะกีฟะฮ์ การตรวจสอบวิธการปกครองหลังการเสียชีวิตของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เขียนโดย มุรตะฎอ อัซกะรี
- อัซซะกีฟะฮ์ วัลคิลาฟะฮ์ เขียนโดย อับดุลฟัตตาฮ์ อับดุลมักศูด
- อัซซะกีฟะฮ์ วัลฟะดัก เขียนโดย อะฮ์มัด บินอับดุลอะซีซ เญาฮะรี บัศรี (เสียชีวิต 323 ฮ.ศ.)
- มุอ์ตะมัรอัซซะกีฟะฮ์ ดิรอซะฮ์ เมาฎูอียะฮ์ ลิอัคฏ็อร ฮาดิษ ฟีย์ ตารีคอัลอิสลามอัซซิยาซี เขียนโดย บากิร ชะรีฟ กุรอชี
- มุอ์ตะมัรอัซซะกีฟะฮ์ นะซอเราะฮ์ ญะดีดะฮ์ ฟีย์ ตารีคอัลอิสลามี เขียนโดย ซัยยิดมุฮัมมัด ตีญานี ซะมาวี
- สิ่งที่ไม่เคยถูกกล่าวในซะกีฟะฮ์ (เหตุการณ์ ผลกระทบ และปฏิกิริยาต่างๆ) เขียนโดย นัจมุดดีน เฏาะบะซี
ในกระจกแห่งบทกวี
การคัดค้านการเลือกอะบูบักร์ ในฐานะผู้สืบทอดตำแหน่งของท่านศาสดาและการเพิกเฉยต่อสิทธิของอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) ในเรื่องนี้ได้กลายเป็นหัวข้อของบทกวีของกวีชาวอาหรับและชาวเปอร์เซีย [78] ในบทกวีเหล่านี้บางบท มีการกล่าวถึงเหตุการณ์ของซะกีฟาห์โดยตรง เช่น หลายบรรทัดจากบทกวีที่เขียนโดยกอฎี อบีบักร์ บินอะบีเกาะรีอะฮ์
يا من يسائل دائبا * عن كل معضلة سخيفة لا تكشفن مغطى * فلربما كشفت جيفة ولرب مستور بدا * كالطبل من تحت القطيفة إن الجواب لحاضر * لكنني أخفيه خيفة لولا اعتداء رعية * ألقى سياستها الخليفة وسيوف أعداء بها * هاماتنا أبدا نقيفة لنشرت من أسرار * آل محمد جملا طريفة تغنيكم عما رواه * مالك وأبو حنيفة وأريتكم أن الحسين * أصيب في يوم السقيفة ولأي حال لحدت * بالليل فاطمة الشريفة ولما حمت شيخيكم * عن وطئ حجرتها المنيفة أوه لبنت محمد * ماتت بغصتها أسيفة (79)
คำแปล : โอ้ผู้ที่ตั้งคำถามกับทุกปัญหาที่ยากและซับซ้อนอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่เป็นภาพลวงตาและอ่อนแอ! แน่นอน บางทีอาจเปิดซากศพ บางทีถูกซ่อนเร้น เหมือนกลองที่ถูกเปิดเผยออกมาจากใต้พรม อันที่จริงคำตอบของคุณนั้นมีให้สำหรับฉันตามที่คุณต้องการที่จะเข้าใจ แต่ฉันกลับซ่อนมันไว้ด้วยความหวาดกลัวและกลัวที่จะแสดงออก หากไม่มีการละเมิดต่อพลเรือนที่อยู่ในการบริหารของเคาะลีฟะห์ และถ้าดาบของศัตรูดึงสมองของเราออกมาและทำให้มันปรากฏขึ้น มันก็คงไม่เกิดขึ้น อันที่จริง ฉันเคยเล่าเรื่องราวที่หายากและเรื่องราวที่ไม่เคยได้ยินจากความลี้ลับของครอบครัวมุฮัมมัด ซึ่งจะทำให้คุณไม่จำเป็นจากสิ่งที่มาลิกและอะบูฮะนีฟะฮ์ได้พูดและรายงาน! และฉันได้แสดงให้คุณเห็น (แสงสว่างดั่งดวงอาทิตย์) ว่า ฮุเซนนั้นถูกฟาดฟันเป็นชิ้น ๆ ด้วยดาบในวันซะกีฟะฮ์ (80)