เหตุการณ์การสังหารอุษมาน

จาก wikishia

เหตุการณ์การสังหารอุษมาน (ภาษาอาหรับ: حادثة مقتل عثمان) คือ เหตุการณ์ที่ประชาชนก่อจลาจลต่อต้านคอลีฟะฮ์ที่สาม อุษมาน บิน อัฟฟาน ในปีที่ 35 ฮ.ศ. จนเป็นเหตุให้เขาถูกสังหารเสียชีวิต

การก่อจลาจลนี้ เกิดขึ้นโดยประชาชนชาวเมืองอียิปต์ เนื่องจากการแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ต่อการปลด อัมร์ บิน อาศ ออกจากผู้ปกครองเมืองอียิปต์ และแต่งตั้งอับดุลเลาะห์ บิน อะบีซัรฮ์ ขึ้นปกครองแทนเขา

แน่นอนว่า วิธีการปกครองของอุษมานในการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ๆสำคัญในรูปแบบเครือญาติของบะนีอุมัยยะฮ์ และการมอบทรัพย์สินจำนวนมาของกบัยตุลมาลให้กับพวกเขา จนเป็นเหตุทำให้ประชาชนรู้สึกไม่พอใจและต่อต้านพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหล่าศอฮาบะฮ์ของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)

เหล่าผู้ประท้วงชาวอียิปต์ ได้เดินทางไปยังเมืองมะดีนะฮ์ เพื่อแสดงความคัดค้านและเดินทางกลับอียิปต์ด้วยผ่านการเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยของอิมามอะลี (อ.) และได้รับคำมั่นสัญญาจากอุษมานว่า จะมีการปฏิรูปกิจการงานต่างๆ แต่ระหว่างทางกลับนั้น พวกเขาพบจดหมายของอุษมานที่เขียนถึงผู้ปกครองอียิปต์ ซึ่งสั่งให้สังหารและจับกุมพวกเขา ดังนั้นพวกเขาจึงกลับไปยังเมืองมะดีนะฮ์อีกครั้ง และเรียกร้องให้อุษมาน ลาออกจากตำแหน่งคอลีฟะฮ์ แต่อุษมานไม่ได้ยอมรับข้อเรียกร้องของพวกเขา พวกเขาจึงทำการปิดล้อมบ้านของอุษมาน และหลังจาก สี่สิบวัน ของการปิดล้อม เขาถูกสังหารและมีการปฏิเสธที่จะนำศพของเขาไปฝังยังสุสานของชาวมุสลิม

อิมามอะลี ในเหตุการณ์นี้ แม้ว่า เขาถือว่า อุษมานนั้นมีข้อผิดพลาดและความผิดก็ตาม แต่เขาไม่เห็นด้วยที่จะสังหารอุษมาน ดังนั้ง เขาสั่งให้บุคคลต่างๆ เช่น อิมามฮะซัน (อ.) และอับดุลลอฮ์ บิน ซุบัยร์ ได้ทำการปกป้องบ้านของอุษมาน

การสังหารอุษมาน เป็นสาเหตุให้เกิดความขัดแย้งและสงครามกลางเมืองในหมู่ชาวมุสลิม รวมทั้งความขัดแย้งในการปะทะกันระหว่างบะนีฮาชิมและบะนีอุมัยยะฮ์ ปะทุขึ้นอีกครั้ง และอาอิชะฮ์ ฏ็อลฮะฮ์ และซุบัยร์ ได้ก่อสงครามญะมัล ด้วยข้ออ้างในการล้างหนี้เลือดให้กับอุษมาน และเหตุการณ์นี้ จึงถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในโลกอิสลาม

ความสำคัญและจุดยืนในประวัติศาสตร์อิสลาม

การสังหารอุษมาน ถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุด หลังจากศาสดาแห่งอิสลาม ตามที่นักวิจัยบางคนกล่าวว่า หลังจากการฆาตกรรมของเขา ประวัติศาสตร์อิสลามได้เข้าสู่ระยะใหม่ [1] นอกจากนี้ การฆาตกรรมอุษมานยังส่งผลกระทบหลายอย่างและมีอิทธิพลต่อการก่อตัวของเหตุการณ์ที่ตามมาหลังจากนั้น อิบนุญะฮัร อัซกอลานี นักประวัติศาสตร์ชาวซุนนี (เสียชีวิตในปี 852 ฮ.ศ.) ถือว่า การลอบสังหารอุษมาน เป็นจุดเริ่มต้นของกการสร้างความแตกแยกในโลกอิสลาม [2] การลอบสังหารอุษมาน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งนิกายอุษมานียะฮ์ [3] และ ความขัดแย้งกับชีอะฮ์ในสามประเด็น ทางการเมือง การทหาร และทางความรู้ [4]

คำอธิบายของเหตุการณ์

ตามแหล่งข้อมูล ระบุว่า หลังจากการถอดถอน อัมร์บินอาศ ออกจากการปกครองอียิปต์และการแต่งตั้ง อับดุลลอฮ์ บินอะบีซัรฮ์ แทนเขา ชาวอียิปต์ประมาณหกร้อยคนไปประท้วงที่เมืองมะดีนะฮ์ และนี่คือจุดเริ่มต้นของการประท้วงต่อต้านอุษมาน(5)และบางคนถือว่า การมอบทรัพย์สินจากบัยตุลมาล ให้กับบุคคลหนึ่ง จึงเป็นสาเหตุของการเริ่มต้นการก่อจราจลต่อเขา [6] ผู้ประท้วง หลังจากเดินทางไปยังเมืองมะดีนะฮ์แล้ว พวกเขาได้เขียนจดหมายส่งถึงบุคคลอื่นเพื่อเรียกร้องให้มายังมะดีนะฮ์ (7)

การเข้ามาของผู้ประท้วงในเมืองมะดีนะฮ์และการกลับเนื้อกลับใจของอุษมาน

เมื่อฝ่ายตรงข้ามเดินทางมาถึงยังเมืองมะดีนะฮ์ อุษมานได้ขอร้องให้อิมามอะลี (อ.) เป็นสื่อกลางเพื่อทำให้พวกเขากลับไปยังอียิปต์ (8) ตามแหล่งข้อมูล รายงานว่า อุษมานให้ค่ำมั่นกับผู้ประท้วงว่า ผู้ที่ถูกเนรเทศจะถูกส่งตัวกลับ และจะมีการรักษาความยุติธรรมในการแจกจ่ายทรัพย์สินบัยตุลมาล และจะแต่งตั้งผู้ที่เชื่อถือได้เป็นผู้ดุแล (9) นอกเหนือจากนี้ อุษมานยังขึ้นไปบนมิมบัร และได้กล่าวขออภัยและกลับเนื้อกลับใจ และขอให้ประชาชนเป็นพยานให้เขา(10) หลังจากนั้นผู้ประท้วงได้เดินทางกลับไปยังเมืองของพวกเขา (11)

การเดินทางกลับของกลุ่มผู้ประท้วงมายังเมืองมะดีนะฮ์

เมื่อกลุ่มผู้ประท้วงเดินทางออกจากเมืองมะดีนะฮ์ ใระหว่างทาง พวกเขาได้พบกับคนรับใช้ของเคาลีฟะฮ์ ซึ่งซ่อนจดหมายเอาไว้ [12] จดหมายฉบับนี้ มีตราประทับของเคาะลีฟะฮ์ และมีคำสั่งให้ทำการสังหารและจำคุกกลุ่มผู้ก่อจราจล กลุ่มผู้ประท้วงจึงได้เดินทางกลับมายังมะดีนะฮ์อีกครั้ง หลังจากที่ได้รับจดหมายแล้ว (13) ชาวเมืองกูฟะฮ์ เมื่อได้รับทราบ ก็เดินทางกลับมายังเมืองมะดีนะฮ์ด้วยเช่นกัน (14) กลุ่มผู้ก่อจราจลได้เข้าไปหาอิมามอะลี (อ.) และเข้าพบอุษมานพร้อมกับเขา อุษมานได้สาบานว่า เขาไม่ได้เป็นผู้เขียนจดหมายและไม่ทราบเรื่องนี้เลย [15] แต่กลุ่มผู้ก่อจราจลไม่เชื่อคำพูดของเขาและบอกว่า อุษมานควรลาออกจากตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของอิสลาม [16] อุษมานก็ไม่ยอมรับคำพูดของพวกเขา อย่างไรก็ตาม เขายังบอกอีกว่า เขาพร้อมที่จะกลับใจ แต่กลุ่มผู้ก่อจราจลได้อ้างถึงการกลับใจครั้งก่อนและการทำลายมัน โดยพวกเขากล่าวว่า พวกเขาจะพอใจกับการลาออกจากตำแหน่งเคาะลีฟะห์ของอุษมานเท่านั้น และด้วยวิธีการนี้ พวกเขาจะถูกสังหารหรือจะต้องสังหารอุษมาน(17)

การปิดล้อมบ้านของอุษมาน

กลุ่มผู้ประท้วงได้ปิดล้อมบ้านของอุษมานและห้ามไม่ให้มีการส่งน้ำและอาหารเข้ามาในบ้าน [18] เหล่าผู้ปิดล้อม คือ ผู้คนจากเมืองอียิปต์ บัศเราะฮ์ กูฟะฮ์ และชาวเมืองมะดีนะฮ์บางส่วน [19] การปิดล้อมบ้านของอุษมานดำเนินไปถึงสี่สิบวัน (20) ในช่วงเวลานี้ อุษมานได้เขียนจดหมายถึงมุอาวิยะฮ์และอิบนุอามิร และขอความช่วยเหลือจากพวกเขา(21)นอกจากนี้ อิมามอะลี (อ.)ได้สั่งให้อิมามฮะซัน (อ.)พร้อมด้วยบุคคลต่างๆ เช่น อับดุลลอฮ์ บินซุบัยร์ และมัรวาน บินฮะกัม ทำการคุ้มครองบ้านของอุษมาน (22) อุษมานได้ร้องขอให้อิมามอะลี (อ.) ฏ็อลฮะฮ์ ซุบัยร์ และเหล่าภรรยาของศาสดามุฮัมมัด ช่วยนำน้ำมาให้เขา(23) อิมามอะลี (อ.) และอุมมุ ฮะบีบะฮ์ ภรรยาของศาสดา เป็นกลุ่มแรกที่พยายามนำน้ำมาให้อุษมาน แต่กลุ่มผู้ประท้วงได้ขัดขวางพวกเขา[24] อิมามอะลี (อ.) ได้ตำหนิกลุ่มผู้ประท้วง หลังจากที่ห้ามการส่งน้ำและอาหารแก่อุษมาน และกล่าวว่าการกระทำของพวกเขา ไม่ใช่การกระทำของผู้ศรัทธา หรือแม้แต่ผู้ปฏิเสธ และกล่าวว่า เหตุใดพวกเจ้า จึงถือว่าการปิดล้อมและการสังหารอุษมาน เป็นสิ่งที่ถูกต้อง [25] แน่นอนว่า มีบางกลุ่มแอบนำน้ำไปใหกับเคาะลีฟะฮ์

การสังหารและการฝังศพอุษมาน

เกี่ยวกับการสังหารอุษมาน มีทัศนะต่างๆมากมาย(27) ตามบางรายงาน ระบุว่า กลุ่มหนึ่งได้บุกเข้าโจมตียังบ้านของอุษมาน เป็นครั้งแรกและทำการขับไล่ผู้คนในบ้านให้ออกไป แลัวก็ได้มีการโจมตีอีกครั้ง ซึ่งในการโจมตีครั้งนี้ เป็นเหตุให้อุษมานถูกสังหาร (28) และนิ้วของ นะอิละฮ์ ภรรยาของเขาก็ถูกตัดออก(29)อุษมานถูกสังหาร เมื่อวันที่ 18 ซุลฮิจญะฮ์ ปีที่ 35 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช(30) วันที่อุษมานถูกสังหาร ในประวัติศาสตร์เป็นที่รู้จักว่า เหตุการณ์เยามุดดาร (31) ตามรายงานจากฏอบะรี กล่าวว่า ศพของอุษมานถูกปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลาสามวัน หลังจากนั้น ได้มีบางคนนำศพของเขาไปไว้ที่สุสานบะกีอ์ แต่ทว่า มีบางคนขัดขวางไม่ให้มีการฝังศพของเขาในสุสานนี้ ดังนั้น ศพของเขาจึงถูกนำไปฝังใน ฮุชอัลกูกับ (สุสานของชาวยิว) และต่อมา มุอาวิยะฮ์ จึงได้เพิ่มสุสานนี้เข้ากับสุสานบะกีอ์(32)

เหตุแห่งความไม่พอใจและการก่อจราจล

บางคนเชื่อว่า ความไม่พอใจและการก่อจราจลต่ออุษมานไม่ได้เกิดขึ้นอย่างกะทันหันในคราวเดียว แต่ปัจจัยต่างๆ ทำให้เกิดการต่อต้านขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป [33] ปัจจัยเหล่านี้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของเคาะลีฟะฮ์ ในหมู่พวกเขา(34) : การแต่งตั้งบะนีอุมัยยะฮ์ในตำแหน่งต่างๆ

อิมามอะลี (อ.):

إلى أن قام ثالث القوم نافجاً حضنیه، بین نثیله و معتلفه، و قام معه بنو أبیه یخضمون مال الله خضمة الإبل نبتة الربیع، إلى أن انتکث علیه فتله، و أجهز علیه عمله، وکبت به بطنته

จนกระทั่ง คนที่สาม (อุษมาน) ขึ้นสู่อำนาจ ผู้ที่ท้องป่อง เนื่องจากรับประทานอาหารจุ เขามักเดินไปมาระหว่างห้องครัวและห้องน้ำ และเชื้อสายบิดาของเขา (บะนีอุมัยยะฮ์) ลุกขึ้นพร้อมกับเขาและเหมือนกับอูฐหิวโหยพืชในฤดูใบไม้ผลิ ที่สดใหม่ พวกเขาเริ่มปล้นสดมทรัพย์สินจากบัยตุลมาลแล้วทำลายมัน เขาได้สุรุ่ยสุร่ายถึงขนาดที่เชือกที่ผูกมัดถูกแก้ออก และการกระทำของเขาถูกเปิดเผย กระเพาะของเขาสร้างความพินาศให้เขา[35] ดังที่ รอซูล ญะฟะรียอน นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย (เกิดในปี 1343 ปฏิทินอิหร่าน) ได้กล่าวไว้ว่า ผลงานอุษมาน ในการแต่งตั้งพวกบะนีอุมัยยะฮ์ในตำแหน่งสำคัญ โดยสามารถกล่าวว่า ถือเป็นการสร้างฐานอำนาจให้กับราชวงศ์อุมัยยะฮ์ (37) แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ รายงานว่า กลุ่มผู้คนและตำแหน่งที่อุษมานแต่งตั้งให้พวกเขา มีดังต่อไปนี้ :

วะลีด บินอุกบะฮ์ น้องชายต่างมารดาของอุษมาน ผู้ปกครองเมืองกูฟะฮ์ (38)

อับดุลลอฮ์ บินอามิร ลูกพี่ลูกน้องของอุษมาน (ลูกชายของลุง) ผู้ปกครองเมืองบัศเราะฮ์ (39)

อับดุลลอฮ์ บินอะบีซัรฮ์ น้องชายบุตรธรรมของอุษมาน ผู้ปกครองเมืองอียิปต์ (40)

มุอาวิยะฮ์ บิน อะบูซุฟยาน บะนีอุมัยยะฮ์ ผู้ปกครองเมืองชาม (ซีเรีย) (41)

มัรวาน บินฮะกัม ลูกพี่ลูกน้อง(ลูกชายของอา)และเป็นลูกเขยของอุษมาน ตำแหน่งอาลักษณ์ (42)

ซะอีด บิน อาศ บะนีอุมัยยะฮ์ ผู้ปกครองเมืองกูฟะฮ์ (43)

การแต่งตั้งเครือญาติของอุษมานให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ และวิธีการปกครองของพวกเขา ทำให้ชาวมุสลิมจำนวนมากเกิดการประท้วง [44] เนื่องจากอับดุลลอฮ์ บินอามิร เป็นผู้ที่มีประวัติ เป็นคนมุรตัด(ตกศาสนา) [45] วะลีด บินอุกบะฮ์ ถูกเรียกว่า เป็นผู้ประพฤติชั่ว ในอัลกุรอาน(46) มัรวาน บินฮะกัมและพ่อของเขาได้ถูกขับไล่ออกจากเมืองมะดีนะฮ์โดยศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) แต่อุษมานได้นำพวกเขากลับมายังเมืองมะดีนะฮ์ (47)

การใช้จ่ายจากบัยตุลมาล

อุษมานร่ำรวยมากขึ้น หลังจากได้รับตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ [48] ปัญหาที่สำคัญที่สุดของอุษมาน คือการใช้จ่ายบัยตุลมาล [49] เขามอบทรัพย์สินมากมายให้กับพวกบะนีอุมัยยะฮ์ [50] ยกตัวอย่างเช่น เขาได้มอบคุมส์ซึ่งได้รับมาจากแอฟริกา ให้กับมัรวาน บินฮะกัม[51] และในเวลาอื่นๆ เขามอบให้กับอับดุลลอฮ์ บิน อะบีซัรฮ์ [52] นอกจากนี้ เขายังมอบทรัพย์สินจำนวนมากมายให้กับ ฮะริษ บินฮะกัม [53] ฮะกัม บินอะบีอัลอาศ [54] อับดุลลอฮ์ บินคอลิด และ... (55) การมอบทรัพย์สินเหล่านี้ จากบัยตุลมาล ซึ่งขัดแย้งต่อผลงานของเหล่าเคาะลีฟะฮ์ก่อนหน้าอุษมาน [56] ส่งผลเชิงลบต่อสังคมและทำให้หลายคนเกิดความสงสัยขึ้นมา [57]

อับดุลลอฮ์ บิน ซะบาอ์

นักประวัติศาสตร์อะฮ์ลิซซุนนะฮ์บางคน เชื่อว่า อับดุลลอฮ์ บิน ซะบาอ์ เป็นผู้ที่มีบทบาทในการโฆษณาชวนเชื่อและก่อจราจลต่ออุษมาน (58) ในทางกลับกัน ชีอะฮ์กลุ่มหนึ่ง (59)และชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ [60] มีความสงสัยในการมีอยู่ของบุคคลที่ชื่อว่า อับดุลลอฮ์ บิน ซะบาอ์ นอกจากนี้ ตามที่รอซูล ญะอ์ฟะรียอน กล่าวไว้ว่า สังคมอิสลามไม่ได้อ่อนแอมากนัก จนต้องเกิดการประท้วงต่อต้านเคาะลีฟะฮ์ของชาวมุสลิม โดยเกิดขึ้นจากชาวยิวที่เพิ่งเข้ารับอิสลามใหม่ได้(61)

ปฏิกิริยาของศอฮาบะฮ์

ฏอฮา ฮุเซน (เสียชีวิตในปี 1973 ค.ศ.) หนึ่งในนักวิจัยชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ เชื่อว่าไม่มีกลุ่มศอฮาบะฮ์ และอันศอร คนใดที่เกี่ยวข้องกับการสังหารอุษมาน พวกเขาบางคนได้ต่อต้านการมีปฏิสัมพันธ์กับอุษมาน แต่พวกเขาจำเป็นที่จะต้องนิ่งเงียบ และบางคนก็ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยว และบางคน ก็ออกเดินทางออกจากเมืองมะดีนะฮ์ [62] นอกจากนี้ พวกเขายังเชื่อด้วยว่า สิ่งที่รายงานในแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทของศอฮาบะฮ์ในการปิดล้อมและการสังหารอุษมานนั้น มีความอ่อนแอ [63] การวิเคราะห์ประเภทนี้ ถือว่า ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์เชื่อในความยุติธรรมของศอฮาบะฮ์ทุกคน ขณะที่บทบาทของพวกเขาในการสังหารอุษมาน มีความขัดแย้งต่อความเชื่อนี้ [64] อย่างไรก็ตาม ตามแหล่งข้อมูลต่าง ๆ รายงานว่า มีศอฮาบะฮ์บางคนมีบทบาทในการก่อจราจลต่ออุษมาน ตัวอย่างเช่น ฮาชิม บินอุตบะฮ์บอกว่า เหล่าฆาตกรที่สังหารอุษมาน เป็นศอฮาบะฮ์ของศาสดามุฮัมมัด และลูกหลานของพวกเขา (65) นอกจากนี้ ภรรยาของอุษมาน ยังเขียนจดหมายถึง มุอาวิยะฮ์ หลังจากการถูกสังหารของอุษมาน และในจดหมายนั้น เขียนว่า ผู้คนในเมืองมะดีนะฮ์ เป็นกลุ่มผู้คนที่ปิดล้อมอุษมานในบ้านของเขา(66)

อิมามอะลี (อ.)

ในอีกด้านหนึ่ง อิมามอะลี (อ.) เรียกอุษมานว่า เป็นผู้กระทำความผิดบาปอย่างมากมาย [67] และเขาไม่เชื่อว่า อุษมานถูกสังหารอย่างไร้ความยุติธรรม [68] และอีกด้านหนึ่ง เขาต่อต้านการสังหารอุษมาน และเขาถือว่า เขานั้นเป็นผู้บริสุทธิ์จากการหลั่งเลือดของอุษมาน [69] นอกจากนี้ อิมาม(อ.) ยังได้ตักเตือนกลุ่มผู้ก่อการจราจลและชี้ให้เห็นถึงข้อผิดพลาดของพวกเขา [70] ในระหว่างการปิดล้อมบ้านของอุษมาน บางคนได้เสนอแนะให้อิมามอะลี(อ.) เดินทางออกจากเมืองมะดีนะฮ์ เพื่อว่า หากอุษมานถูกสังหาร เขาจะได้ไม่อยู่ในเมืองนี้ แต่ทว่า อะลี (อ.) ไม่ยอมรับข้อเสนอของพวกเขา [71] และในทำนองเดียวกัน อิมามอะลี (อ.) ก็ได้เขียนตอบจดหมายของมุอาวิยะฮ์ที่กล่าวหาว่า เขาสังหารอุษมาน เจ้า กล่าวหาฉันในสิ่งที่มือและลิ้นของฉันไม่เคยปนเปื้อนเลย (กล่าวถึง การสังหารอุษมาน) เจ้าและชาวเมืองชาม (ซีเรีย) ได้ชี้นิ้วและถือว่าเป็นการกระทำของฉันจนถึงขนาดที่เหล่านักวิชาการ ผู้โง่เขลาของเจ้าได้ยกย่องการกระทำของเจ้า [หมายเหตุ 1]

ฏ็อลฮะฮ์ บินอุบัยดิลลาฮ์

ฏอฮา ฮุเซน (เสียชีวิตในปี 1973 ค.ศ.) นักประวัติศาสตร์ชาวอียิปต์ ถือว่า ฏ็อลฮะฮ์ เป็นหนึ่งในคนที่ไม่ได้ปิดบังความปรารถนาของเขาที่มีต่อกลุ่มจราจล แน่นอนว่า เขาได้มอบทรัพย์สินจำนวนหนึ่งให้กับกลุ่มของพวกเขา [73] นอกจากนี้ ตามแหล่งบางข้อมูล รายงานว่า ตามคำแนะนำของฏ็อลฮะฮ์ คือ การสั่งห้ามไม่ให้นำอาหารและน้ำไปให้ที่บ้านของอุษมาน [74] อิบนุ อะบีลฮะดีด มุอ์ตะซิลีในหนังสือชะเราะฮ์นะฮ์ญูุบะลาเฆาะฮ์ รายงานว่า ก่อนที่จะเริ่มสงครามอูฐ (สงครามญะมัล) อิมามอะลี (อ.) ได้พบปะกับซุบัยร์ และเขากล่าวว่า เจ้าและฏ็อลฮะฮ์ จะต้องรับผิดชอบต่อการสังหารอุษมานและเจ้าจะต้องยอมจำนนด้วยมือของเจ้าและมอบตัวต่อทายาทของอุษมาน (75)

มุอาวิยะฮ์

เมื่ออุษมานถูกปิดล้อม เขาได้เขียนจดหมายถึงมุอาวิยะฮ์และขอความช่วยเหลือจากเขา มุอาวิยะฮ์ก็ส่งกองทัพหมื่นสองพันคนไปด้วย แต่พวกเขาถูกสั่งให้ประจำการอยู่ในเขตพรมแดนซีเรีย จนกว่าจะมีคำสั่งต่อไป (76) กองทัพนี้ ล้มเหลวในการเดินทางไปยังเมืองมะดีนะฮ์และให้การช่วยเหลือเคาะลีฟะฮ์ และเมื่อตัวแทนของเมืองชาม(ซีเรีย) เข้าไปหาอุษมาน เพื่อแจ้งให้เขาทราบ อุษมานก็บอกเขาว่า พวกเจ้ากำลังรออยู่การสังหารฉัน เพื่อที่ตัวเองเป็นผู้เรียกร้องเลือดของฉัน (77)

อิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวโทษมุอาวิยะฮ์ที่อุษมานถูกสังหาร ขณะที่มุอาวิยะฮ์ กลับกล่าวหาว่า อิมามอะลี (อ.) เป็นผู้สังหารอุษมาน แต่เนื่องจากความล้มเหลวของมุอาวิยะฮ์ในการช่วยเหลือต่ออุษมาน และการป้องกันตัวของเขาเอง ในระหว่างที่มีการปิดล้อม (78)

ศอฮาบะฮ์บางคน ยังได้กล่าวถึงมุอาวิยะฮ์และถือว่าเขาเป็นหนึ่งในผู้กระทำความผิดในการฆาตกรรมของอุษมาน เนื่องจากเขาไม่สนับสนุนอุษมานและกำลังรอการฆาตกรรมของอุษมานอีกด้วย(80)

อาอิชะฮ์

มุฮัมมัด บินญะรีร ฏอบะรี รายงานว่า อาอิชะฮ์ กล่าวถึงอุษมานว่า จงสังหารอุษมาน เพราะว่าแน่นอนเขาเป็นผู้ปฏิเสธ [81] [หมายเหตุ 2]

เมื่อกลุ่มผู้ก่อกจราจลอยู่ในเมืองมะดีนะฮ์ มัรวาน บินฮะกัม ได้ขอร้องให้อาอิชะฮ์ เข้ามาเป็นสื่อกลางระหว่างเคาะลีฟะฮ์และกลุ่มก่อจราจล อาอิชะฮ์อ้างว่า นางอยู่ในการเดินทางฮัจญ์และบอกว่า นางต้องการให้หั่นอุุษมาน เป็นชิ้น ๆ แล้วโยนลงทะเล [82] หลังจากการเสียชีวิตของอุษมาน อาอิชะฮ์ได้เปลี่ยนจุดยืนของนาง และอ้างว่า นางต้องการทวงหนี้เลือดให้อุษมาน [83] ในจดหมายของซะอัด บินอะบีวักกอศ ถึง อิบนุ อาศ ระบุว่า อุษมาน ถูกสังหารด้วยดาบที่อาอิชะฮ์ ชักมันออกจากฝักและ ฏ็อลฮะฮ์ เป็นผู้ขัดมันให้คม [84] ขณะเดียวกัน อาอิชะฮ์ หลังจากที่อุษมานถูกสังหาร ขณะที่ประชาชนให้คำสัตยาบันกับอะลี (อ.) นางได้ไปยังเมืองมักกะฮ์ และกล่าวปราศรัยในหมู่ประชาชน และกล่าวเสียดสีว่า อิมามอะลี (อ.) จะต้องรับผิดชอบต่อการฆาตกรรมอุษมาน (85) ด้วยการเปลี่ยนแปลงจุดยืนนี้ของอาอิชะฮ์ ท่านหญิงอุมมุซะละมะฮ์ ภรรยาของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า อาอิชะฮ์ได้ยุยงให้ประชาชนสังหารอุษมาน และบัดนี้ เจ้าก็พูดอย่างนั้นในวันนี้ (86) อาอิชะฮ์ ตอบว่า สิ่งที่ฉันพูดในตอนนี้ดีกว่าสิ่งที่ฉันพูดในขณะนั้น (87)

ผลลัพท์ที่ตามมา

การสังหารอุษมาน มีผลลัพท์ที่ตามมา บางส่วนดังนี้:

  • รากฐานเพื่อการก่อตัวของสงครามในช่วงการเป็นเคาะลีฟะฮ์ของอิมามอะลี (อ.): ตามที่บรรดานักประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่า สงครามญะมัล เริ่มต้นโดย อาอิชะฮ์ ฏ็อลฮะฮ์ และซุบัยร์ ภายใต้ข้ออ้างว่า ต้องการทวงหนี้เลือดของอุษมาน (88) แน่นอนว่า อิมามอะลี (อ.) ได้เขียนจดหมายถึงพวกเขา พร้อมทั้งกล่าวถึงการไม่มีบทบาทใดๆในการสังหารอุษมาน และความไม่ชอบธรรมของพวกเขาในการทวงหนี้เลือดให้อุษมาน (89) อิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวถึงฏ็อลฮะฮ์ และซุบัยร์ ว่า พวกเขากำลังเรียกร้องสิทธิที่พวกเขาได้ละทิ้งมัน และพวกเขาก็อ้างเพื่อการแก้แค้นจากเลือด (เลือดของอุษมาน) เป็นข้อแก้ตัว ในขณะที่พวกเขาเป็นผู้ที่หลั่งเลือดกันเอง [90]
  • ความขัดแย้งระหว่างพวกบะนีอุมัยยะฮ์กับบะนีฮาชิมได้ลุกโชน: พวกบะนีอุมัยยะฮ์ใช้การสังหารอุษมาน เป็นหนทางในการฟื้นฟูอำนาจสูงสุดและการมีอำนาจของพวกเขาในหมู่ชาวอาหรับ [91] พวกเขาแนะนำว่า ตนเองเป็นผู้ทวงหนี้เลือดของอุษมาน และอะลี (อ.)นั้น เป็นผู้กระทำผิด จากการฆาตกรรมของอุษมาน [92] ตามที่รอซูล ญะอ์ฟะรียอน กล่าวไว้ว่า การเสียชีวิตของอุษมานเป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับมุอาวิยะฮ์ [93] หลังจากที่อุษมานถูกสังหารแล้ว เขาก็ไปบนธรรมาสน์และถือว่าตัวเองเป็นผู้ทวงหนี้เลือดของอุษมาน [94] และนิ้วที่ขาดของ นาอิละฮ์ ภรรยาของอุษมาน และเสื้อของอุษมาน กลายเป็นข้ออ้างของเขาในการปลุกปั่นยุยงชาวเมืองชาม (ซีเรีย) (95)
  • การก่อตัวของลัทธินาศิบี : กล่าวกันได้ว่า ลัทธินาศิบี เริ่มต้นจากการฆาตกรรมอุษมานและเป็นทางการในช่วงการปกครองของราชวงศ์บะนีอุมัยยะฮ์ [96]

เชิงอรรถ

บรรณานุกรม