เมากิบ

จาก wikishia

เมากิบ หมายถึง สถานีการบริการ ซึ่งมีการแจกจ่าย อาหาร น้ำชา และน้ำดื่มฟรี ให้แก่บรรดาผู้แสวงบุญและประชาชนในสถานที่หรือเนื่องในโอกาสวันสำคัญทางศาสนา

ในระหว่างทางเดินเท้าวันอัรบะอีน มีเมากิบต่างๆมากมาย สำหรับการพักผ่อน การบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพ การนวดตัวและเท้า และการซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยเช่นกัน

คำศัพท์ทางวิชาการนี้ ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในวัฒนธรรมของชีอะฮ์ชาวอิรักและในต่อมาถูกนำมาใช้ในประเทศอิหร่าน ในปี 1990 ค.ศ ก่อนหน้านี้ ในประเทศอิหร่าน มีสถานีศอละวาตี ซึ่งลักษณะคล้ายกับเมากิบ

คำว่า เมากิบ ในวัฒนธรรมชีอะฮ์ชาวอาหรับ หมายถึง กลุ่มคณะที่จัดงานไว้อาลัย ด้วยเช่นกัน และในประเทศอิรัก มีการใช้คำที่เกี่ยวกับเมากิบทั้งสองคำ กล่าวคือ เมากิบอัลอะซาอ์ (เมากิบแห่งการไว้อาลัย) และเมากิบ คิดมี (เมากิบแห่งการบริการ) ขณะที่ในอินเดียและปากีสถานก็มีการจัดตั้งเมากิบ ด้วยเช่นกัน ส่วนค่าใช้จ่ายของเมากิบต่างๆ มักจะได้รับจากประชาชนและบรรดากลุ่มผู้คนที่มีใจบุญและการกุศล


ความหมายและประวัติความเป็นมา

เมากิบ เรียกว่า สถานีบริการ[1] สถานที่ให้บริการฟรีแก่ประชาชนและผู้แสวงบุญ[2] หรือเนื่องในวโรกาสทางศาสนาของมัสฮับชีอะฮ์ [3] เมากิบ จะจัดขึ้นในเต็นท์ โครงสร้างผ้า หรืออาคารต่างๆ

ความเป็นมา

คำว่า เมากิบ ถูกใช้ในวัฒนธรรมอาหรับชีอะฮ์ สำหรับการชี้ถึงฮัยอะฮ์ [5] กลุ่มของการไว้อาลัย [6] และการเคลื่อนไหวของกลุ่มอื่นๆ ที่ดำเนินการในรูปแบบของการไว้อาลัยและเดินขบวน(7) (หมายเหตุ 1) ในหนังสือ อะดับ‎อัฏฏ็อฟ ซึ่งเขียนประมาณปี 1348 สุริยคติ [8] รายงานที่เกี่ยวกับเมากิบ (ฮัยอะฮ์ไว้อาลัย) ที่มาจากพื้นที่ต่างๆ รอบเมืองกัรบะลา ในวันที่ใกล้ถึงวันอัรบะอีน โดยมีการตั้งเต็นท์และการต้อนรับผู้แสวงบุญ[9]‎

ตามหนังสือวัฒนธรรมการไว้อาลัยของชาวชีอะฮ์ ที่จัดพิมพ์ในปี 1395 สุริยคติ เขียนว่าในอิรัก เรียกเต็นท์และสถานที่ในการต้อนรับผู้แสวงบุญ ในช่วงวันอัรบาอีนว่า เป็นเมากิบ ด้วยเช่นกัน (10) ในประเทศนี้ สำหรับความแตกต่างระหว่างความหมายของเมากิบที่หมายถึง ฮัยอะฮ์และกลุ่มขบวนไว้อาลัย กับเมากิบที่ให้การบริการนั้นจะใช้คำว่า เมากิบอัลอะซาอ์(เมากิบสำหรับการไว้อาลัย) กับเมากิบคิดมีย์(เมากิบที่ให้บริการ [11]‎

วัฒนธรรมการตั้งเมากิบ ถูกถ่ายทอดจากอิรักไปยังอิหร่านในช่วงทศวรรษที่ 90 [12] แน่นอนว่า ก่อนหน้านั้นมี ‎สถานีศอละวาตี [หมายเหตุที่ 2] ซึ่งมีการใช้งานคล้ายคลึงกับเมากิบ [13] ทั้งสอง คำว่า เมากิบ และ สถานีศอละวาตีลาวาตี ใช้สลับกันในหมู่ผู้พูดภาษาเปอร์เซียในอิหร่าน(14)‎

การให้บริการ

การให้บริการที่จัดในเมากิบ ไม่มีค่าใช้จ่าย และรวมถึงการแจกจ่ายอาหาร ชา น้ำหวาน[15] และการเช็ดรองเท้า[16] ‎ในเมากิบตามเส้นทางเดินวันอัรบะอีน นอกเหนือจากการให้อาหาร ยังมีการบริการ ที่พัก บริการด้านสุขภาพและการบริการนวดตัวและเท้า และการซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆอีกด้วย

เมากิบบางแห่ง จะแจกจ่ายสิ่งของที่จำเป็น เช่น อาหาร เต็นท์ ผ้าห่ม และน้ำในเหตุการณ์ที่เกิดภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วมและแผ่นดินไหว[18] งบประมาณของเมากิบและบริการต่างๆ ที่จัดให้ในเมากิบนั้น มาจากการบริจาคของสาธารณะ[19] และในบางครั้งจาก รัฐบาล[20]‎

เวลาและสถานที่ในการจัดตั้ง

เมากิบจะจัดขึ้นเนื่องในวโรกาสสำคัญทางศาสนาของชีอะฮ์ รวมถึงเมากิบวันอัรบาอีน [21] เดือนมุฮัรรอม [22] นิศฟูชะอ์บาน [23] และวันครบรอบการเป็นชะฮีดและการประสูติของบรรดาผู้บริสุทธิ์ (อ.) [24] ในเมืองต่างๆที่มีชาวชีอะฮ์อาศัย นอกจากนี้ ยังมีการจัดเมากิบในสถานที่ทางศาสนาของชาวชีอะฮ์ เช่น ในฮะรอมของบรรดาอิมาม(อ.) ‎เพื่อให้บริการแก่ผู้แสวงบุญ(25)‎

เมากิบ ยังจัดขึ้นในการเดินเท้าวันนิศฟูชะอ์บาน ซึ่งจัดขึ้นจากเมืองนะญัฟไปยังกัรบะลาในทุกปี ในช่วงใกล้ถึงวันนิศฟูชะอ์บาน ด้วยเช่นกัน [26] นอกเหนือจากนี้ ยังมีการจัดตั้งเมากิบประมาณ 350 เมากิบในวันอีดเฆาะดีร ปี1401 ‎สุริยคติ ในงานเฉลิมฉลองที่เรียกว่า การรับแขก 10 กิโลเมตร ในกรุงเตหะรานและมีการต้อนรับประชาชน[27]‎

ในการเดินเท้าวันอัรบาอีน

เมากิบในเส้นทางการเดินเท้าวันอัรบาอีน จัดขึ้นโดยชุมชนทางศาสนาในอิรัก ชนเผ่าเร่ร่อนในท้องถิ่น และผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านรอบๆ ในแต่ละเส้นทาง[28] และฝ่ายบริหารของพวกเขาได้รับความนิยมและเป็นอิสระจากรัฐบาลอิรัก[29]‎

ตามรายงานของ การบริหาร พิธีกรรม เมากิบ และฮุซัยนียะฮ์ในอิรัก" ซึ่งทำงานภายใต้การดูแลของสำนักงานฮะรอมอิมามฮุเซนและฮะรอมท่านอับบาส ในช่วงวันอัรบาอีน ปี 1399 สุริยคติ มีเมากิบ 32,000 เมากิบทั่วประเทศอิรัก [30 ] ตามรายงานของสำนักงานฮะรอมท่านอับบาส ในช่วงอัรบาอีน ในปี ค.ศ. 1401 สุริยคติ มีการจัดเมากิบ ‎‎14,500 เมากิบในเมืองกัรบะลาและเส้นทางที่นำไปสู่เมากิบ โดยมี 300 เมากิบจากประเทศอื่น ๆรวมทั้งที่มาจากประเทศอิหร่าน [31] ‎ สำนักงานฮะรอมท่านอับบาส ได้แจกจ่ายอาหารในกัรบาลาอย่างมากมายและมีผู้เข้าร่วมมากกว่า สี่ล้านคน[32]‎

เมากิบในประเทศที่มีชีอะฮ์อาศัย

ยกเว้น อิรักและอิหร่าน ในประเทศชาวชีอะฮ์อื่นๆ บางประเทศ มีการจัดตั้งสถานที่สำหรับการจัดตั้งเมากิบ [33] ในปากีสถานและอินเดีย สถานที่เหล่านี้ เมื่อพวกเขาแจกจ่ายเครื่องดื่ม เรียกว่า ซะบีล [34] เมื่อพวกเขาแจกจ่ายอาหาร ‎เรียกว่า นิยาซฮุเซน [35] [หมายเหตุ 3] ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ในปากีสถาน มีซะบีล และนิยาซ ในช่วงเดือนมุฮัรรอมด้วยเช่นกัน [36] ฮาลีมและข้าวหมกบริยานี เป็นหนึ่งในอาหารที่แจกจ่ายในปากีสถานในช่วงวันต่างๆเหล่านี้ [37]‎