เตากีอาตของอิมามมะฮ์ดี

จาก wikishia

เตากีอาตของอิมามมะฮ์ดี (ภาษาอาหรับ: توقيعات الإمام المهدي (ع)) หมายถึง จดหมายและสารต่างๆของอิมามที่สิบสองของชีอะฮ์ ในยุคการเร้นกายในระยะสั้น (ฆ็อยบะตุล ศุฆรอ) เป็นคำตอบให้กับคำถามต่างๆของชาวชีอะฮ์

ในแหล่งข้อมูลทางฮะดีษ รายงานว่า มีเตากีอ์ของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ) ประมาณ 100 ฉบับด้วยกัน ในประเด็นต่างๆทางด้านนิติศาสตร์ ความเชื่อ ความศรัทธา และอื่นๆ

เตากีอ์ ได้เขียนด้วยลายมือของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.)หรือได้รับการรับรองโดยบรรดานาอิบทั้งสี่ของเขา

บรรดานักนิติศาสตร์ของชีอะฮ์ ได้ใช้เตากีอาต เป็นหลักฐานในการวินิจฉัยหลักอะฮ์กามชัรอีย์ ในบางกรณี

เชคฏูซีย์ ได้เก็บรวบรวมเตากีอาตของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) ไว้ในหนังสืออัลฆ็อยบะฮ์ และเชคศอดูก ก็ได้รวบรวมเตากีอาต ด้วยเช่นกันไว้ในหนังสือกะมาลุดดีน และเช่นเดียวกัน ได้มีการจดบันทึกเตากีอาตของอิมามมะฮ์ดี ไว้ในหนังสือต่างๆ อีกด้วย

ความหมาย

จดหมายและสารต่างๆของบรรดาอิมามของชีอะฮ์เรียกว่า เตากีอ์ [1] ในยุคสมัยของการเร้นกายในระยะสั้น (ฆ็อยบะฮ์ ศุฆรอ) จดหมายของชาวชีอะฮ์ได้ส่งถึงอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) และได้รับคำตอบโดยผ่านบรรดานาอิบ(ตัวแทน)ทั้งสี่ของเขา[2]

เตากีอาตของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) บางครั้งเขาได้เขียนด้วยลายมือของเขาเอง และบางครั้งเขาได้ให้การรับรองโดยบรรดานาอิบทั้งสี่คนเป็นผู้เขียน ตามรายงานต่างๆทางประวัติศาสตร์ ในเตากีอาตของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) บางกรณีมีการลงตราประทับของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.)ในจดหมายเหล่านั้น [3]และในบางกรณี เขาได้เปิดเผยในจดหมายนั้นด้วยลายมือของเขาเอง [4]

รายงานจากอับดุลลอฮ์ บิน ญะอ์ฟัร ฮิมยารีย์ กล่าวว่า เวลาที่อะบูอัมร์ (นาอิบคนแรกของอิมามมะฮ์ดี ) เสียชีวิต จดหมายต่างๆที่ส่งถึงพวกเราโดยผ่านตัว อะบูญะอ์ฟัร ตัวแทน(นาอิบคนที่สอง)ของอิมามมะฮ์ดี ก็เป็นลายมือเดียวกันกับที่ได้มีการติดต่อระหว่างกัน [5]

นอกจากนี้ เตากีอ์ของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) ยังได้เขียนด้วยลายมือของอะฮ์มัด บิน อิบรอฮีม นูบัคตีย์ และได้รับการรับรองโดย ฮุเซน บิน รูฮ์ นูบัคตีย์ (นาอิบคนที่สามของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) [6]

การใช้ประโยชน์อื่นๆ

คำว่า เตากีอ์ ยังถูกนำมาใช้กับฮะดีษที่ไม่ถูกบันทึกว่าเป็นลายลักษณ์อักษรของอิมามคนที่สิบสอง ด้วยเช่นกัน [7]ดังเช่นที่ เชคศอดูก ได้นำเอาบางคำพูดของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) มาไว้ในส่วนหนึ่งของเตากีอ์ [8]

นอกจากนี้ บางคำพูดของบรรดานาอิบทั้งสี่คน ดังเช่น การแจ้งข่าวประเด็นสิ่งที่เร้นลับ และการเปิดเผยปัญหาต่างๆของศาสนา จะถูกกล่าวถึงในเตากีอ์ [9] กล่าวได้ว่า เหตุผลของการกระทำนี้ คาดว่า คำพูดนี้มาจากฮุเซน บิน รูฮ์ นูบัคตีย์ ที่เกี่ยวกับตัวของเขาเอง [10] ในกิจการทางศาสนา เขาจะไม่พูดถึงตัวเอง แต่ทว่า เขานั้นได้ยินทั้งหมดมาจากอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) [11]

จำนวนของเตากีอาต

ในแหล่งข้อมูลทางฮะดีษ ระบุว่า มีเตากีอ์ของอิมามมะฮ์ดี อยู่ประมาณหนึ่งร้อยฉบับ [12] ส่วนใหญ่นั้นเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาของการเร้นกายในระยะสั้นและมีการรายงานไว้ในหนังสือ กะมาลุดดีน เขียนโดย เชคศอดูก และหนังสืออัลฆ็อยบะฮ์ เขียนโดย เชคฏูซี ซึ่งในหนังสือ กะมาลุดดีน ในบทที่เกี่ยวกับ เตากีอ์ มี 49 ฉบับและมี ดุอาอ์หนึ่งบท นอกจากนี้ ในหนังสือ อัลฆ็อยบะฮ์ มีเตากีอ์ 43 ฉบับ และมีริวายะฮ์กล่าวว่า 12 ริวายะฮ์นั้นรายงานมาจากหนังสือ กะมาลุดดีน ของเชคศอดูก [13] นอกจากนี้ ในหนังสือของ อัลอิฮ์ติญาจ (เขียนในศตวรรษที่หกแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช)ระบุว่า มีเตากีอ์สองฉบับจากอิมามมะฮ์ดีที่ส่งถึง เชคมุฟีด (เสียชีวิตในปี 413 ฮ.ศ.) มีรายงานที่เกี่ยวข้องกับช่วงเวลาของการเร้นกายในระยะยาว [14] อยาตุลลอฮ์ คูอี มีความสงสัยในความถูกต้องของเตากีอ์เหล่านี้ ตามคำกล่าวของเขา ระบุว่า สื่อกลางที่ผ่านเตากีอ์นี้ ไปยังเชคมุฟีด และสื่อกลางที่ผ่านเชคมุฟีดไปยังฏอบัรซีนั้น ไม่เป็นที่รู้จัก [15] อีกประเด็นหนึ่ง กล่าวคือ ในผลงานเขียนของเชคมุฟีด และหนังสืออัลฆ็อยบะฮ์ของเชคฏูซีย์ (ศิษย์ของเชคมุฟีด) ซึ่งเขียนเกี่ยวกับการเร้นกาย (ฆ็อยบะฮ์) ไม่ได้กล่าวถึงประเด็นนี้เลย นอกจากนี้ ในหนังสืออัลอิฮ์ติญาจ ซึ่งเขียนขึ้นกว่าหนึ่งศตวรรษ หลังจากการเสียชีวิตของเชคมุฟีด ก็ไม่ได้มีการกล่าวถึงหลักฐานของเตากีอ์ทั้งสองนี้[17] คาดว่า เชคมุฟีดได้เก็บเป็นความลับ ด้วยเหตุนี้เอง จึงไปไม่ถึงเชคฏูซีย์ [18]

หัวข้อเรื่องของเตากีอ์

เตากีอาตที่ได้รับมาจากอิมามมะฮ์ดีนั้น มีประเด็นต่างๆมากมาย ทางด้านหลักศรัทธา นิติศาสตร์ การประกาศปลดและแต่งตั้งตัวแทน การได้รับวุญูฮ์ ชัรอี (ทรัพย์สินที่ใช้จ่ายในศาสนา) การปฏิเสธผู้อ้างเป็นตัวแทน การตอบสนองความต้องการส่วนบุคคลของชาวชีอะฮ์ [19] ในสารานุกรมของอิมามมะฮ์ดี ได้แบ่งเตากีอาตของอิมามมะฮ์ดี ออกเป็น สี่หมวดหมู่ทั่วไป กล่าวคือ ในประเด็นด้านหลักศรัทธา หลักการปฏิบัติ กะรอมะฮ์ และบทดุอาอ์ และยังมีประเด็นอื่นๆถูกจัดเป็นหมวดหมู่ด้วยเช่นกัน [20]

หลักศรัทธา

เตากีอ์หลายฉบับที่ออกโดยอิมามมะฮ์ดี ถือเป็นการตอบคำถามที่เกี่ยวกับความเชื่อและความศรัทธา เช่น คุณลักษณะต่างๆของพระผู้เป็นเจ้า สภาวะของความเป็นศาสดา และตำแหน่งอิมามัต (ผู้นำ). อิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) ในการตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับอิมามัต โดยชี้ให้เห็นว่า โลกไม่เคยปราศจากฮุจญัต(ข้อพิสูจน์อันชัดแจ้ง) และนี่เป็นซุนนะฮ์แห่งพระผู้เป็นเจ้าที่ดำเนินต่อไปจนถึงวันกิยามัต ได้กล่าวถึงหน้าที่ของอิมามในการแต่งตั้งอิมามภายหลังจากตนเอง และชี้ให้เห็นว่า อิมามฮะซัน อัสการี (อ.)ได้แนะนำให้เขาในฐานะเป็นอิมามัต เขาได้ปกป้องหลักการของอิมามัตและการเป็นอิมามัตของเขาต่อญะอ์ฟัร กัซซาบ และห้ามไม่ให้ชาวชีอะฮ์กำหนดเวลาปรากฏกาย การแนะนำตัว สถานที่ และการค้นหาของเขา[21]

การปฏิเสธของผู้อ้างทั้งหลาย

เตากีอ์บางฉบับที่ออกโดยอิมามมะฮ์ดี มีไว้เพื่อปฏิเสธหรือสาปแช่งเหล่าผู้อ้างที่เป็นเท็จในการเป็นตัวแทนของเขา หนึ่งในนั้นคือ เตากีอ์ ซึ่งอบูมุฮัมมัด ฮาซัน ชารีอี ซึ่งเขาถูกสาปแช่งและเป็นคนแรกที่อ้างว่ามีความเกี่ยวข้องกับอิมามในยุคแห่งการฆ็อยบะตุลศุฆรอ (22)

นิติศาสตร์

เนื้อหาส่วนหนึ่งของเตากีอ์ คือ คำตอบสำหรับคำถามทางด้านนิติศาสตร์ ในเตากีอ์เหล่านี้ เป็นคำตอบสำหรับคำถามของชาวชีอะฮ์ที่เกี่ยวกับความสะอาด การนมาซ การถือศีลอด ฮัจญ์ การพลีชีพ การกอฎอ การวะกัฟ การทำธุรกรรม คุมส์ การบริจาคทานเศาะดะเกาะฮ์ การแต่งงาน สิ่งมึนเมา การเยี่ยมหลุมศพของบรรดาอิมาม (อ.) (23)

กะรอมะฮ์และบทดุอาอ์

ภาคส่วนหนึ่งของเตากีอ์ รวมทั้งภารกิจต่างๆที่แสดงให้เห็นถึงกะรอมะฮ์ (เกียรติ)ของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) ในบรรดาบทดุอาอ์ของอิมามตามคำร้องขอของชาวชีอะฮ์ รวมถึงการแจ้งข่าวให้อิมามรับทราบถึงสิทธิทางการเงินที่ซ่อนอยู่และประเด็นเรื่องลี้ลับอื่น ๆ [24] ส่วนนี้ของเตากีอาตยังใช้เพื่อพิสูจน์ความถูกต้องและสถานภาพของการเป็นอิมามัตของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) [25]

คุณค่าของเตากีอาตของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.)

บรรดานักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ ได้ใช้เตากีอาตนี้ในหลายกรณีเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันการวินิจฉัยหลักอะฮ์กามชัรอีย์ [26] ตัวอย่าง เช่น บรรดานักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ได้ใช้เตากีอ์ของอิมามมะฮ์ดี เป็นหลักฐานในการตอบคำถามของมุฮัมมัด บิน อับดุลลอฮ์ ฮิมยะรี ที่เกี่ยวกับหลักการนมาซข้างหลุมศพของบรรดาอิมาม เป็นคำฟัตวาที่เป็นการกระทำที่ฮะรอม(ต้องห้าม)หรือมักรูฮ์ (น่ารังเกียจ)ของการนมาซในสถานที่สูงกว่าหลุมศพ โดยที่ผู้ทำนมาซหันหลังให้กับหลุมศพ (27) นอกจากนี้ เตากีอ์ของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) ยังกล่าวถึงการย้อนกลับไปยังผู้รายงานฮะดีษของเรา[28] ใช้สำหรับการพิสูจน์เกี่ยวกับทัศนะของวิลายะตุลฟะกีฮ์ อิมามโคมัยนี เชื่อมั่นว่า กิจการทั้งหมดของสังคม ควรได้รับความไว้วางใจจากบรรดานักนิติศาสตร์(29]

จดหมายของอิมามที่รับรองฮุเซน บิน รูฮ์

“เรารู้จักเขา (ฮุสเซน บิน รูห์) ขอพระผู้เป็นเจ้าทรงสำแดงความดีงามและความยินดีทั้งหมดของพระองค์ให้แก่เขา และทำให้เขามีความสุขกับพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ เราทราบถึงจดหมายของเขาและเราไว้วางใจเขา เขานั้นมีฐานภาพต่อเราที่จะทำให้เขามีความสุข ขอพระผู้เป็นเจ้าทรงเพิ่มพูนความโปรดปรานของพระองค์ต่อเขาด้วยเถิด”

อัลฆ็อยบะฮ์ เชคฏูซีย์ 1411 ฮ.ศ. หน้า 372

แหล่งข้อมูล

ดังเช่นที่ระบุไว้ในหนังสือสารานุกรมของอิมามมะฮ์ดี แหล่งข้อมูลที่สำคัญที่สุดของเตากีอาตของอิมามมะฮ์ดี, กะมาลุดดีน ผลงานของเชคศอดูก และอัลฆ็อยบะฮ์ ผลงานของเชคฏูซีย์[30] ซึ่งแต่ละแหล่งข้อมูลมีหัวข้อแยกต่างหากสำหรับเตากีอาตโดยเฉพาะ (31]

แน่นอนว่า เตากีอาตเหล่านี้ยังถูกรายงานในแหล่งหะดีษอื่นๆ เช่น อัลกาฟี, อัลอิฮ์ติญาจ มะอาดินุลฮิกมะฮ์, บิฮารุลอันวาร และมะกาติบุลอะอิมมะฮ์ ในสภาพที่เป็นประเด็นแยกต่างหาก [32] นอกจากนี้ ในหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับบรรดาวะกีล(ตัวแทน)และตัวแทนทั้งสี่ เช่น อัคบารุวะกะลาอิลอัรบะอะฮ์ เขียนโดย อะฮ์มัด บิน มุฮัมมัด อัยยาช (เสียชีวิตในปี 401ฮ.ศ.) เช่นเดียวกัน ยังมีประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับพวกเขาอีกด้วย (33)

อย่างไรก็ตาม มีการเขียนผลงานที่เป็นอิสระเกี่ยวกับเตากีอาตของอิมามมะฮ์ดี ซึ่งมีการพูดคุยถึงการเก็บรวบรวมเตากีอาตต่างๆ:

  • กุรบุลอิซนาด อิลา ซอฮิบิลอัมร์ เขียนโดยอับดุลลอฮ์ บิน ญะอ์ฟัร ฮิมยะรี ผู้อาวุโสของชาวเมืองกุม ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 3 ของฮิจเราะฮ์ศักราช
  • เตากีอาต มุก็อดดะซะฮ์ โดย ญะอ์ฟัร วิจดานี
  • หนังสือรวบรวมคำพูดและเตากีอ์ รวมทั้งบทดุอาอ์ของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) โดย คอเดมี ชีรอซี [34]
  • สารานุกรมเตากีอาตอัลอิมามอัลมะฮ์ดี โดย มูฮัมหมัด ตะกี อักบัรเนญอด กุม มัสยิดญัมกะรอน ฮิจเราะห์ศักราช 1427
  • เตากีอาต นาฮิยะฮ์ มุก็อดดะซะฮ์ อัลลามะฮ์ มัจญ์ลิซีย์

เชิงอรรถ

บรรณานุกรม