เชคมุฟีด

จาก wikishia

มุฮัมมัด บินมุฮัมมัด บินนุอ์มาน รู้จักกันว่า เชคมุฟีด (ภาษาอาหรับ: الشيخ المفيد) เสียชีวิต ฮ.ศ.336 หรือ 338 - 413 มุตะกัลลิม (นักเทววิทยา)และฟะกีฮ์(นักนิติศาสตร์) ของชีอะฮ์ อิมามียะฮ์ ในศตวรรษที่สี่ และที่ห้า แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช เกี่ยวกับเชคมุฟีด กล่าวกันว่า เขาเป็นผู้ประพันธ์วิชาอุศูลุลฟิกฮ์ ด้วยวิธีการใหม่ในการอิจญ์ติฮาด(การวินิจฉัย)ทางฟิกฮ์ เขาได้ใช้วิธีการทางสายกลาง ซึ่งตรงกันข้ามกับวิธีการปัญญานิยมสุดโต่งและการยึดริวายะฮ์โดยไม่คำนึงถึงสติปัญญา

เชคศอดูก ,อิบนุญุนัยด์ อิสกาฟีย์ และอิบนุกูละวัยฮ์ ล้วนเป็นอาจารย์ที่มีชื่อเสียงของเชคมุฟีด

เชคฏูซีย์ ,ซัยยิดมุรตะฎอ ,ซัยยิดรอฎีย์, และนัจญาชีย์ ถือเป็นลูกศิษย์ของเชคมุฟีด

หนังสืออัลมุกนิอะฮ์ ในวิชาด้านฟิกฮ์ ,อะวาอิลุลมะกอลาต ในศาสตร์ด้านกะลาม(เทววิทยา)และอัลอิรชาด ในประวัติศาสตร์ของบรรดาอิมามของชีอะฮ์ เป็นผลงานการประพันธ์ของเชคมุฟีดทั้งสิ้น

ชีวประวัติ

มุฮัมมัด บินมุฮัมมัด บินนุอ์มาน(1) ถือกำเนิดในวันที่ 11 เดือนซุลเกาะดะฮ์ ปี ฮ.ศ.336 (2) หรือ 338 (3) ในอุกบะรี ใกล้กับกรุงแบกแดด (4)

บิดาของเขาประกอบอาชีพครู ด้วยเหตุนี้ เชคมุฟีด จึงได้รับฉายานาม อิบนุลมุอัลลิม (บุตรของครู) อุกบะรี หรือบักดาดีย์ ก็เป็นอีกฉายานามของเขา(5) ส่วนเชคมุฟีดได้รับฉายานามว่า มุฟีด เนื่องจากเขาได้เข้าร่วมในการเสวนาวิชาการกับอะลี บินอีซา นักวิชาการสำนักคิดมุอ์ตะซิละฮ์ ในสมัยนั้น จนเขาสามารถแสดงเหตุผลด้วยการยกหลักฐานอ้างอิง โดยทำให้ฝ่ายตรงข้ามต้องยอมจำนนต่อหลักฐาน เราจึงถูกเรียกว่า มุฟีด(ผู้ที่มีประโยชน์) (6) ในแหล่งอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ ได้บันทึกว่า เชคมุฟีด มีบุตร สองคน คือ อะบุลกอซิม อะลี และอีกคนหนึ่งเป็นบุตรสาว ซึ่งไม่มีการเอ่ยชื่อในแหล่งอ้างอิง และเธอ เป็นภรรยาของอะบูยะอ์ลา ญะอ์ฟีรี(7)

เชคมุฟีดเสียชีวิตในวันศุกร์ที่ 2 หรือ 3 เดือนรอมฎอน ปี ฮ.ศ.413 (8) เชคฏูซีย์ เป็นผู้นำนมาซมัยยิต เนื่องจากมีประชาชนจากทุกมัสฮับและสำนักคิดเข้าร่วมอย่างมากมาย และเขาเป็นผู้ที่ร้องให้กับการเสียชีวิตของเชคมุฟีดอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน(9)

ศพของเชคมุฟีด ถูกนำไปฝังที่บ้านของเขา และหลังจากนั้นเวลาผ่านไปหลายปี ก็ได้มีการขุดหลุมศพของเขาแล้วนำศพของเขาไปฝังในสุสานกุเรช ใกล้สถานที่ฝังศพของอิมามญะวาด (อ.) และปัจจุบัน สถานที่ฝังศพของเขาจึงอยู่ในฮะรอมกาซิมัยน์

การเล่าเรียน

เชคมุฟีด ได้เรียนอัลกุรอานและวิชาการเบื้องต้นกับบิดาของเขา หลังจากนั้นเขาก็เดินทางไปยังกรุงแบกแดด เพื่อทำการศึกษาต่อ จนกระทั่ง เขาสามารถใช้ประโยชน์จากบรรดานักรายงานฮะดีษ นักเทววิทยา และนักนิติศาสตร์ ผู้มีชื่อเสียงของชีอะฮ์และซุนนี (11)

เชคศอดูก (เสียชีวิต ฮ.ศ. 371) อิบนุญุนัยด์ อิสกาฟีย์ (เสียชีวิต ฮ.ศ.381) อิบนุกูลิวัยฮ์ (เสียชีวิต ฮ.ศ.369) อะบูฆอลิบ ซุรอรี (เสียชีวิต ฮ.ศ. 368) และอะบูบักร์ มุฮัมมัด บินอุมัร ญิอาบี (เสียชีวิต ฮ.ศ.355) ล้วนเป็นอาจารย์ที่มีชื่อเสียงของเขา (12)

เชคมุฟีดได้ศึกษาหาความรู้กับฮุเซน บินอะลี บัศรี รู้จักกันว่า ญุอัล เป็นหนึ่งอาจารย์ของสำนักคิดมุอ์ตะซิละฮ์ และอะบูยาซิร ศิษย์ของนักเทววิทยา ผู้มีชื่อเสียง อะบูลญัยช์ บัลคี โดยเชคมุฟีดได้เรียนวิชาเทววิทยาจากเขา และเชคมุฟีดได้รับคำแนะนำจากอะบูยาซิร ให้เข้าเรียนในห้องเรียนกับอะลี บินอีซา รุมมานี ผู้ซึ่งเป็นนักปราชญ์ชื่อดังของสำนักคิดมุอ์ตะซิละฮ์ด้วย (13)

เชคมุฟีด ดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดของชีอะฮ์ ประมาณ 40 ปี โดยที่เขามีความเชี่ยวชาญศาสตร์ด้านฟิกฮ์ กะลาม และฮะดีษ และเขาได้ปกป้องหลักศรัทธาของชีอะฮ์ด้วยการเสวนาวิชาการกับบรรดานักวิชาการมัสฮับต่างๆ (14)

จริยธรรมของเชคมุฟีด

ได้มีรายงานว่า เชคมุฟีดเป็นบุคคลที่บริจาคเศาะดะเกาะฮ์อย่างมาก เขาเป็นผู้ที่ถ่อมตัวและทำนมาซอย่างมาก เขาชอบสวมใส่เสื้อผ้าที่หยาบ จนกระทั่งเขาได้รับฉายานามว่า เชค มะชายิคุซซูฟียะฮ์ (อาจารย์ของเหล่าอาจารย์ของพวกซูฟีย์) (15) อะบูยะอ์ลา ญะอ์ฟะรีย์ ลูกเขยของเขา รายงานว่า เชคมุฟีดเป็นผู้ที่นอนน้อยมากในยามกลางคืน ส่วนมากเขานั้นใช้เวลาในการอ่านหนังสือ ทำนมาซและอ่านอัลกุรอาน หรือทำการสอน (16) ในจดหมายฉบับหนึ่งที่อิมามซะมาน(อิมามมะฮ์ดี) (อ.ญ.) เขียนให้แก่เขา เรียกเขาว่า ซะดีด(การมีความมั่นคงแน่วแน่)และวะลีรอชีด(17)

สถานภาพทางความรู้

เชคฏูซีย์ เขียนไว้ในหนังสืออัลฟิฮ์ริสต์ว่า เชคมุฟีด เป็นผู้ที่มีความเฉลียวฉลาดและเป็นผู้ที่ตอบคำถามได้ก่อนผู้ใดและมีความสันทัดในศาสตร์ต่างๆด้านเทววิทยาและฟิกฮ์(18) อิบนุนะดีม เรียก เชคมุฟีดว่า เป็นหัวหน้าของบรรดานักเทววิทยาของชีอะฮ์ และมีความล้ำหน้าผู้อื่นในวิชาเทววิทยา ซึ่งไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนเขาได้ (19)

เชคมุฟีด เป็นตัวแทนของสำนักคิดเทววิทยาของกรุงแบกแดด และเป็นบุคคลที่มีโดดเด่นในการวิเคราะห์แนวคิดของสำนักคิดเทววิทยาของเมืองกุม (20) กล่าวได้ว่า สำนักคิดของแบกแดดได้มีความรุ่งโรจน์ในยุคสมัยของเชคมุฟีด (21) รายงานว่า เชคมุฟีด ไม่ใช่เป็นปัญญานิยมแบบสุดโต่งหรือไม่ใช่ชาวอะฮ์ลุลฮะดีษแบบสุดโต่ง แต่เขาเป็นผู้นิยมทางสายกลาง (22)

เชคมุฟีด ได้อบรมสั่งสอนสานุศิษย์เป็นจำนวนมาก ซึ่งบางคนเป็นนักวิชาการที่มีชื่อเสียงของชีอะฮ์ ดังรายชื่อต่อไปนี้ (23)

  1. ซัยยิดมุรตะฎอ (เสียชีวิต ฮ.ศ.436)
  2. ซัยยิดรอฎีย์ (เสียชีวิต ฮ.ศ.406)
  3. เชคฏูซีย์ (เสียชีวิต ฮ.ศ.460)
  4. นัจญาชีย์ (เสียชีวิต ฮ.ศ.450)
  5. ซัลลาร ดัยละมีย์ (เสียชีวิต ฮ.ศ.463)
  6. อะบุลฟัตฮ์ กะราญุกี (เสียชีวิต ฮ.ศ.449)
  7. อะบูยะอ์ลา มุฮัมมัด บินฮะซัน ญะอ์ฟะรีย์ (เสียชีวิต ฮ.ศ.463)

วิธีการใหม่ทางด้านฟิกฮ์

เชคมุฟีด ได้ก่อตั้งวิธีการใหม่ทางด้านฟิกฮ์ของชีอะฮ์ ที่มีความแตกต่างกับยุคสมัยก่อนหน้าเขา ตามคำกล่าวของซุบฮานีและกุรญี วิธีการสอนวิชาฟิกฮ์ ก่อนหน้าเชคมุฟีดมีสองวิธีการด้วยกัน กล่าวคือ วิธีการแรก คือ บนพื้นฐานของการรายงานริวายะฮ์แบบสุดโต่ง โดยที่ไม่มีความสนใจในสายรายงานและตัวบทของริวายะฮ์เลย(25) ส่วนวิธีการที่สอง ไม่ให้ความสนใจในริวายะฮ์ แต่มีการเน้นย้ำบนพื้นฐานของหลักการทางสติปัญญา(ปัญญานิยม) เพียงอย่างเดียว แม้ว่าระหว่างกิยาซ(การเปรียบเทียบ)และตัวบทฮะดีษจะมีความขัดแย้งกันก็ตาม (26) โดยเชคมุฟีดได้เลือกวิธีการทางสายกลาง และก่อตั้งวิธีการใหม่ทางด้านฟิกฮ์ ด้วยการใช้สติปัญญาในการกำหนดหลักการและกฏเกณฑ์เพื่อทำการวินิจฉัยอะฮ์กาม(หลักการปฏิบัติ) และหลังจากนั้น ก็นำหลักการนี้ไปทำการวินิจฉัยอะฮ์กามที่ได้รับมาจากตัวบทของศาสนา (27) ด้วยเหตุนี้เอง นักวิชาการ จึงถือว่า เชคมุฟีด เป็นผู้ประพันธ์วิชาอุศูลุลฟิกฮ์(พื้นฐานของนิติศาสตร์) ขึ้นมา(28)

การเข้าร่วมในการเสวนาวิชาการ

ในยุคสมัยของเชคมุฟีด ได้มีการจัดเสวนาวิชาการในหมู่นักวิชาการผู้ยิ่งใหญ่ในมัสฮับต่างๆของอิสลามอย่างมากมายในกรุงแบกแดด ส่วนมากของการเสวนาวิชาการเหล่านี้เกิดขึ้นโดยเหล่าคอลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ เชคมุฟีดได้เข้าร่วมในการเสวนาเหล่านี้และเขาได้ตอบคำถามที่เกี่ยวกับการวิจารณ์มัซฮับชีอะฮ์ (30)

ครั้งหนึ่ง เชคมุฟีดได้จัดเสวนาวิชาการในบ้านของเขา โดยที่มีเหล่านักวิชาการจากมัสฮับต่างๆของอิสลาม เช่น สำนักคิดมุอ์ตะซิละฮ์ ซัยดียะฮ์และอิสมาอีลียะฮ์ เข้าร่วมด้วย (31)

การปรับปรุงข้อผิดพลาดในคำฟัตวา

จากเรื่องเล่าที่ไม่พบในแหล่งอ้างอิง ขณะที่แหล่งอ้างอิงที่เก่าที่สุดเกี่ยวข้องกับ 150 ปีที่ผ่านมา ได้อ้างว่า อิมามซะมาน (อ.ญ.) ได้ปรับปรุงข้อผิดพลาดของเชคมุฟีดในการออกคำฟัตวา (32) ความอ่อนของแหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับเตากีอ์(จดหมายของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) (33) การขัดแย้งกันระหว่างคำฟัตวากับริวายะฮ์และคำฟัตวาอื่นๆ (34) การกล่าวว่าเขาไม่รู้หนังสือหรือความรีบเร่งในการออกคำฟัตวาของเชคมุฟีด (35) ถือเป็นเหตุผลที่ไม่ถูกต้องของริวายะฮ์เหล่านี้ นอกเหนือจากนี้ เชคมุฟีดยังได้เขียนไว้ในหนังสือฟิกฮ์ อัลมุกนะอะฮ์ของเขา โดยมีการชี้แจงถึงคำฟัตวาอื่นในประเด็นนี้ และด้วยเหตุนี้ การแสดงถึงข้อผิดพลาดเช่นนี้ จึงเป็นเพียงเรื่องเล่าเท่านั้น (36)

ตามรายงานข้างต้น ได้รับจากแหล่งอ้างอิงร่วมสมัย ระบุว่า ได้มีชายชาวหมู่บ้านคนหนึ่งไปหาเชคมุฟีด และถามเขาว่า หากผู้หญิงมีครรภ์เสียชีวิตและมีทารกที่ยังมีชีวิตอยู่ในครรภ์ของนาง จะต้องนำทารกไปฝังร่วมกับผู้หญิง หรือเอาทารกออกจากครรภ์ของนาง? เชคมุฟีด ได้ตอบกับชายคนนั้นว่า ให้ฝังผู้หญิงคนนั้นโดยที่ไม่ต้องเอาทารกออกจากครรภ์ของนาง ในระหว่างทาง ได้มีชายคนหนึ่งขี่ม้ามาแล้วกล่าวกับชายชาวหมู่บ้านนั้นว่า เชคได้สั่งให้เอาเด็กทารกออกแล้วนำผู้หญิงไปฝัง หลังจากนั้นชายชาวหมู่บ้านผู้นี้ก็เล่าเรื่องราวนั้นให้เชคมุฟีดฟัง เชครู้สึกประหลาดใจอย่างมากและปฏิเสธว่าเขาไม่ได้ส่งผู้ใดไปเพื่อแก้ไขคำฟัตวาและเขาเข้าใจทันทีว่า ชายคนนั้นคือ อิมามซะมาน ด้วยเหตุนี้ ต่อมาเชคมุฟีดจึงไม่ออกคำฟัตวาอีกต่อไป จนกระทั่งอิมามซะมานเขียนจดหมายถึงเขาว่า ให้เขาออกคำฟัตวาได้ และเราก็ทำการแก้ไขและปรับปรุงให้เอง (38) (บันทึกที่ 1) ผลงานการประพันธ์

ตามรายงานของนัจญาชีย์ เขียนในหนังสืออัลฟิฮ์ริสต์ ว่า เชคมุฟีดได้ประพันธ์หนังสือและริซาละฮ์ถึง 175 เล่ม (39) รายงานว่า ผลงานครึ่งหนึ่งของเขาเกี่ยวกับประเด็นอิมามะฮ์ (40) ผลงานที่เป็นที่รู้จักของเชคมุฟีด คือ อัลมุกนิอะฮ์ ในวิชาฟิกฮ์ และวิชากะลาม คือ อะวาอิลุลมะกอลาต และ อัลอิรชาด ในการอธิบายเกี่ยวกับชีวประวัติของบรรดาอิมาม (อ.) (41)

ได้มีการรวบรวมผลงานประพันธ์ของเชคมุฟีด ด้วยกัน 14 เล่ม เรียกว่า มุศันนาฟ เชคมุฟีด และมีการจัดพิมพ์ในปี ฮ.ศ.1413ในการจัดสัมมนาระดับโลกเกี่ยวกับเชคมุฟีด(42)

การสัมมนาระดับโลกเกี่ยวกับเชคมุฟีด

การจัดสัมมนาระดับโลกแห่งสหัสวรรษของเชคมุฟีด ได้จัดขึ้นในวันที่ 24 ถึง 26 เดือนเชาวาล ปี ฮ.ศ. 1413 ในมัดดะรอซะอ์อัลอุลยา ตัรบิยะฮ์วัลกอฎออ์ในเมืองกุม โดยมีนักวิชาการจากประเทศอิสลามและไม่ใช่ประเทศอิสลาม เป็นจำนวนมากเข้าร่วมในการสัมมนาครั้งนี้ และได้มีการเขียนบทความเกี่ยวกับบุคลิกภาพและสถานภาพทางความรู้ของเชคมุฟีด (43)

ละครโทรทัศน์และภาพยนตร์

ในปีสุริยคติที่ 1373 (ปฏิทินอิหร่าน) ได้มีการสร้างละครโทรทัศน์เกี่ยวกับชีวประวัติของเชคมุฟีด และในปีที่ 1373 ได้มีการฉายละครโทรทัศน์ในชื่อ คูรชีดเดชับ(อาทิตย์แห่งราตรีกาล) ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 2 ของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน (44) โดยเป็นภาพยนตร์ 90 นาที เขียนโดย มะฮ์มูด ฮะซะนี และกำกับการแสดงโดย ซีรูซ มุกัดดัม และฟะรีบุรซ์ ซอลิห์ และในปีที่ 1381 ได้มีการนำเอาภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการเผยแพร่ในรูปแบบละครโทรทัศน์ชื่อว่า คูรชีดเดชับ ในสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน (45)

เชิงอรรถ

บรรณานุกรม