เคาะลีลุลลอฮ์ (สมญานาม)
เคาะลีลุลลอฮ์ (ภาษาอาหรับ : خَلیلالله ) หมายความว่า มิตรของพระเจ้า [๑] เป็นสมญานามของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) [๒] ตำแหน่งการเป็นเคาะลีลุลลอฮ์ ถือเป็นการเทอดเกียรติต่อศาสดาอิบรอฮีม (๓) ซึ่งมีความสูงส่งกว่าตำแหน่งศาสดาและศาสนทูต [๔] สมญานามนี้ถูกกล่าวไว้ในริวายะฮ์จากอิมามศอดิก (อ.) โดยเขากล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงเรียกศาสดาอิบรอฮีม อันดับแรกในฐานะเป็นบ่าวของพระองค์ ต่อมา เป็นศาสดา หลังจากนั้นเป็นศาสนทูต และหลังจากนั้นในฐานะเป็นมิตร(เคาะลีล) ของพระองค์ [๕]
ในซูเราะฮ์อัลนิซาอ์ โองการที่ 125 ระบุว่า : และอัลลอฮ์ทรงเลือกอิบรอฮีมเป็นมิตรของพระองค์ (๖) การตีความคำว่า อิตตะคอซ มีความหมายว่า การเลือก (๗) ในช่วงแรกของโองการได้มีคำสั่งให้ปฏิบัติตามศาสดาอิบรอฮีม (อ.) (๘) หลังจากนั้น เพื่อเป็นการเชิญชวนให้มีการปฏิบัติตามเขา โองการจึงกล่าวว่า พระเจ้าทรงเลือกเขาเป็นมิตรของพระองค์ [๙] ซะมัคชะรี นักวิชาการและนักตัฟซีรชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ ถือว่า การเป็นมิตรของพระเจ้าของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) แสดงให้เห็นว่า เป็นสัญญาณของการเลือกอันเฉพาะกับเขา ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะระหว่างการเป็นมิตรภาพของทั้งสอง [๑๐]
ในริวายะฮ์ต่างๆใช้คำว่า เคาะลีลุลลอฮ์ เฉพาะกับศาสดาอิบรอฮีม (อ.) (๑๑) ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) จึงเรียกว่า เคาะลีลุลลอฮ์ (๑๒) บรรดามุสลิมในเมืองอัลเคาะลีลแห่งแผ่นดินปาเลสไตน์ เนื่องจากเป็นสถานที่พำนักของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ตามที่โองการ ๑๒๕ ซูเราะฮ์อัลนิซาอ์ เรียกว่า อัลเคาะลีล (๑๔) สมญานามนี้ ถูกใช้เฉพาะกับศาสดาอิบรอฮีม (อ.) แต่บางริวายะฮ์และบทดุอาได้กล่าวถึงศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) [๑๕] อิมามอะลี (อ.) [๑๖] และอิมามฮุเซน (อ.) [๑๗] อีกด้วยเช่นกัน
ในวรรณคดีเปอร์เซีย เรียกอีกชื่อหนึ่งของศาสดาอิบรอฮีม ว่า เคาะลีล โดย มุลลา อะห์มัด นะรอกี เขียนในบทกวีมัษนะวี ฏอกดีส ดังนี้ :
พระเจ้า ผู้ทรงยิ่งใหญ่ (ญะลีล) ทรงเลือกเขา พระองค์ทรงเลือกเขาว่า เคาะลีล อาภรณ์แห่งมิตรมาถึงเขาโดยพระผู้อภิบาล เขาได้รับสมาญานามว่า เคาะลีลุลลอฮ์ ด้วย [๑๘]
กวีอีกคนหนึ่งยังเขียนว่า :
อาคารกะอ์บะฮ์ ถูกสร้างโดยเคาะลีลุลลอฮ์ แต่ อะลีปรากฏตัวในกะอ์บะฮ์และพบเจอกับเจ้าของบ้านนั้น [๑๙]
ในริวายะฮ์ต่างๆได้กล่าวถึงปัจจัยต่างๆ ว่า เป็นสิทธิพิเศษของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ซึ่งเป็นเหตุทำให้พระผู้เป็นเจ้าทรงมอบตำแหน่งนี้แก่เขา (๒๐) ในหนังสือ อิลัลอัชชะรอยิอ์ มีหัวข้อหนึ่งชื่อว่า ปัจจัยต่างๆที่พระเจ้าทรงเลือกอิบรอฮีมให้เป็นมิตรของพระองค์ (๒๑) ในหัวข้อนี้มีริวายะฮ์ต่างๆมากมายที่ถูกกล่าวถึง [๒๒] บนพื้นฐานของริวายะฮ์ต่างๆ รายงานว่า ตำแหน่งเคาะลีลุลลอฮ์ของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) อันเนื่องจากการสุญูดอย่างมาก การให้อาหารแก่บรรดาผู้ขัดสน การนมาซตอนกลางคืน การไม่ปฏิเสธคนยากจน การต้อนรับแขก [๒๓] และไม่ร้องขอจากผู้อื่นของเขา นอกจากพระเจ้า [๒๔] นักตัฟซีรบางคนยังกล่าวถึงการละทิ้งการบูชาเจว็ดและการนมัสการพระเจ้า (๒๕)
ความหมายของคำว่า เคาะลีล
มีการพิจารณาถึงความหมายที่เป็นไปได้สองประการสำหรับคำว่า เคาะลีล เคาะลีล จึงหมายถึง มิตร มาจากคำว่า อัลคุลละฮ์ ซึ่งแปลว่า เพื่อน (๒๖) หนังสือตัฟซีร มัจญ์มะอุลบะยาน จากตำราตัฟซีรของชีอะฮ์ ซึ่งประพันธ์ในศตวรรษที่ 6 กล่าวถึงความหมายเดียวกันของเคาะลีลุลลอฮ์ ด้วย (๒๗) มะการิม ชีรอซี นักตัฟซีรของชีอะฮ์ ก็ถือว่า ความหมายนี้ที่เกี่ยวกับศาสดาอิบรอฮีมมีความถูกต้อง เขาเชื่อว่า เมื่อพระเจ้าตรัสว่า พระองค์ทรงเลือกอิบรอฮีมให้เป็นเคาะลีล ความหมายของเคาะลีลก็เหมือนกับการเป็นมิตรภาพและไม่มีความหมายอื่นใดที่เหมาะสมเลย [๒๘] บรรดานักตัฟซีรอื่นๆ ก็ถือว่าความหมายนี้ มีความถูกต้องด้วยเช่นกัน (๒๙)
เคาะลีล หมายถึง ความยากจน เคาะลีล มาจากคำว่า อัลค็อลละฮ์ ซึ่งหมายถึง ความยากจน [๓๐] บางคนเชื่อว่า เคาะลีลของศาสดาอิบรอฮีม หมายความว่า เขายากจนและมีความขัดสน ณ พระผู้เป็นเจ้า (๓๑) อัลลามะฮ์ เฏาะบาเฏาะบาอี ถือว่า บนพื้นฐานของริวายะฮ์รายงานว่า การเป็นเคาะลีล เนื่องจากศาสดาอิบรออีมไม่ร้องขอสิ่งใดที่นอกเหนือจากพระเจ้า และเขาเชื่อว่า เคาะลีล หมายถึง ความยากจน จากทัศนะของเขา ความหมายที่ถูกต้องของเคาะลีลุลลอฮ์ คือ บุคคลที่ร้องขอความต้องการของเขาต่อพระเจ้าเท่านั้นและเฉพาะพระองค์ สำหรับการตอบรับคำร้องขอของเขา (๓๒)