ฮิซบุลลอฮ์ เลบานอน

จาก wikishia

ฮิซบุลลอฮ์ เลบานอน เป็นชื่อกลุ่มการเมืองและการทหารของชีอะฮ์ในเลบานอนที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1982 ค.ศ. เพื่อเผชิญหน้ากับอิสราเอล โดยได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน กลุ่มนี้ เริ่มต้นการเคลื่อนไหวในการต่อต้านอิสราเอล ด้วยการปฏิบัติการพลีชีพ จากนั้นก็เพิ่มอำนาจทางทหารและมีการเผชิญหน้ากับอิสราเอลด้วยเครื่องยิงจรวดคัตยูชาและการทำสงครามแบบกองโจร

จนถึงขณะนี้ (2024) มีการปะทะกันทางทหารหลายครั้งระหว่างฮิซบุลลอฮ์และอิสราเอล รวมถึงสงคราม 33 วันด้วย อิสราเอลเริ่มต้นสงครามครั้งนี้โดยมีเป้าหมายที่จะปลดอาวุธฮิซบุลลอฮ์และปล่อยทหารสองคนที่ถูกจับตัวในการปฏิบัติการของฮิซบุลลอฮ์ ภายใต้ชื่อ อัลวะอ์ดุศศอดิก (คำสัญญาที่เป็นจริง) นอกจากนี้ หลังจากการปฏิบัติการของพายุอัลอักซอ เนื่องจากการสนับสนุนของกลุ่มฮามาสและประชาชนในฉนวนกาซา การปะทะกันระหว่างกองทัพของระบอบรัฐเถื่อนไซออนิสต์และกองกำลังฮิซบุลลอฮ์เลบานอนก็ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ในความตึงเครียดเหล่านี้ กลุ่มฮิซบุลลอฮ์มุ่งเป้าไปยังเป้าหมายทางทหารทางตอนเหนือของดินแดนที่ถูกยึดครอง ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อหยุดการเข่นฆ่าประชาชนชาวฉนวนกาซาโดยอิสราเอล อิสราเอลยังลอบสังหารสมาชิกและผู้บัญชาการของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์จำนวนหนึ่ง รวมถึงซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ เลขาธิการกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ ก่อนหน้าซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ ซัยยิด อับบาส มูซาวี รับหน้าที่เป็นเลขาธิการของกลุ่มนี้ โดยเขาถูกลอบสังหารโดยระบอบรัฐเถื่อนไซออนิสต์อีกด้วยเช่นกัน

กลุ่มฮิซบุลลอฮ์ในซีเรียยังได้ต่อสู้กับกองกำลังตักฟีรีย์ เพื่อสนับสนุนรัฐบาลของประเทศนี้ กลุ่มนี้ยังมีการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม สังคม และการเมืองอีกด้วย สถานีโทรทัศน์ช่องอัลมะนารก็เป็นของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์

ประวัติความเป็นมาและรากฐานของการก่อตั้ง

กลุ่มฮิซบุลลอฮ์เลบานอน ก่อตั้งขึ้นในปี 1982 ค.ศ.โดยได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน [1] อันดับแรก กลุ่มฮิซบุลลอฮ์เลบานอนปฏิบัติการอย่างลับๆ เป็นเวลาหลายปี เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 1984 ค.ศ. อะฮ์มัด ญะอ์ฟัร กอศีร ปฏิบัติการสังหารทหารอิสราเอลทางตอนใต้ของเลบานอน ซึ่งทหารจำนวนหนึ่งถูกสังหาร เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 1985 ในเวลาเดียวกันกับที่อิสราเอลถอนตัวออกจากเมืองไซดอน (ศ็อยดา) กลุ่มฮิซบุลลอฮ์รับผิดชอบในการปฏิบัติการพลีชีพของอะฮ์มัด ญะอ์ฟัร กอศีร และได้ประกาศอุดมการณ์และยุทธศาสตร์ในการเผชิญหน้ากับอิสราเอลอย่างเป็นทางการ [2]

ตามคำกล่าวของฮูเซน เดห์กอน จากผู้บัญชาการกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม หลังจากการปฏิบัติการในกรุงเยรูซาเล็มในปี 1982 สงครามระหว่างอิหร่านและอิรัก อิสราเอลก็บุกโจมตีเลบานอน ผู้บัญชาการของกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามกลุ่มหนึ่งจึงถูกส่งไปยังเลบานอน เพื่อฝึกกองกำลังเลบานอนในการเผชิญหน้ากับอิสราเอล นอกเหนือจากการฝึกทหารแล้ว พวกเขายังทำงานเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพในหมู่กลุ่มต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอิหร่าน ซึ่งในที่สุด ก็นำไปสู่การก่อตั้งกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ [3] ตามคำบอกเล่าของ นะอีม กอซิม รองเลขาธิการกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ อิหม่ามโคมัยนีได้ส่งกลุ่มเหล่านี้ไปยังเลบานอน สำหรับการฝึกทหาร แน่นอนว่า ก่อนหน้านี้ ขบวนการอะมัล พรรคอัลดะอ์วะห์ สมาพันธ์นักวิชาการบิกออ์ และคณะกรรมการอิสลาม ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันในการจัดตั้งพรรคการเมืองเดียว เพื่อต่อต้านการยึดครองของอิสราเอล และแบบแผนนั้นก็ได้รับการอนุมัติจากอิหม่ามโคไมนีอีกด้วย (4)

ผู้นำ

ผู้นำคนแรกของฮิซบุลลอฮ์ คือ ศุบฮี ฏุฟัยลีย์ ซึ่งได้รับการเลือกให้ดำรงตำแหน่งนี้เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 1989 ค.ศ. ก่อนหน้านั้น เขาเป็นผู้นำกลุ่มนี้ในรูปแบบสภา เป็นเวลาเจ็ดปี [5] ซัยยิด มุฮัมมัดฮุเซน ฟัฎลุลลอฮ์ ศุบฮี ฏุฟัยลีย์ ซัยยิด อับบาส มูซาวี ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ นะอีม กอซิม ฮุเซน กูรอนี ฮุเซน คอลีล มุฮัมมัด เราะอ์ด มุฮัมมัด ฟะนีช มุฮัมมัด ยัซบิก และอิบรอฮีม อะมีน เป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ [6] ในเดือนพฤษภาคม 1991เนื่องจากความคิดเห็นที่แตกต่างและการวิพากษ์วิจารณ์ของศุบฮี ฏุฟัยลีย์ ซัยยิด อับบาส มูซาวี จึงได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการคนใหม่ของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ [7] เขาถูกอิสราเอลสังหารเสียชีวิต เมื่อ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 1992 และสภาฮิซบุลลอฮ์ได้เลือกซัยยิดฮะซัน นัศรุลลอฮ์ ขึ้นเป็นเลขาธิการของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์[8]

บุคคลที่โดดเด่น

บุคคลที่โดดเด่นบางส่วนของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ อาทิเช่น

ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ (ชะฮาดะฮ์: 2024) เป็นเลขาธิการคนที่สามของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์เลบานอน และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ในปี 1982 ในยุคสมัยของเขา ฮิซบุลลอฮ์ กลายเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคและสามารถสั่งให้อิสราเอลถอนกองกำลังออกจากเลบานอนและปล่อยตัวนักโทษชาวเลบานอนในปี 2000 ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์เสียชีวิตในเหตุการณ์ทิ้งระเบิดใส่กองกำลังอิสราเอลเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2024 (9)

ซัยยิด อับบาส มูซาวี ซัยยิด อับบาส มูซาวีเป็นเลขาธิการคนที่สองของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ ซึ่งเขาถูกลอบสังหารเสียชีวิต ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 1992 โดยรัฐเถื่อนไซออนิสต์

ซัยยิด อับบาส มูซาวี เป็นสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นเลขาธิการคนที่สองของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ เขากลายเป็นเลขาธิการของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ในปี 1991 หลังจากการลาออกของ ศุบฮี ฏุฟัยลีย์ก่อนหน้านี้ (10) เขาเคยต่อสู้เคียงข้างกองกำลังปาเลสไตน์เพื่อต่อต้านอิสราเอล เขาดำรงตำแหน่งเลขาธิการของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ เป็นเวลาไม่ถึงเก้าเดือน และเขาถูกอิสราเอลลอบสังหารเสียชีวิต [11]

ศุบฮี ฏุฟัยลีย์ เชค ศุบฮี ฏุฟัยลีย์ (เกิดในปี 1948) เป็นเลขาธิการคนแรกของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์เลบานอน และดำรงตำแหน่งนี้ ตั้งแต่ปี 1989 ถึง 1991 [12] ในปี 1998 เขาได้ก่อตั้งขบวนการ เษาเราะตุลญิยาอ์ (การปฏิวัติแห่งผู้หิวโหย) ผู้สนับสนุนของเขาได้โจมตีหน่วยงานรัฐบาลบางแห่ง ซึ่งนำไปสู่การปะทะและคร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนมาก [13] เขาเป็นผู้วิพากษ์วิจารณ์กลุ่มฮิซบุลลอฮ์เลบานอนและสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน (14)

อิมาด มุฆนียะห์ อิมาด มุฆนียะห์ หนึ่งในผู้บัญชาการของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ ซึ่งเขาถูกอิสราเอลลอบสังหารเสียชีวิต อิมาด มุฆนียะห์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ฮัจญ์ ริฎวาน เป็นหนึ่งในผู้บัญชาการที่โดดเด่นของฮิซบุลลอฮ์ เขามีหน้าที่รับผิดชอบในการบังคับบัญชาหน่วยคุ้มกันที่คอยปกป้องเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ และยังรับผิดชอบในการดูแลปฏิบัติการพิเศษที่ดำเนินการโดยกลุ่มฮิซบุลลอฮ์อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขามีบทบาทที่สำคัญในการวางแผนและผู้นำปฏิบัติการอัลวะอ์ดุศศอดิก (คำสัญญาที่แท้จริง) และทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการภาคสนามของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ในสงคราม 33 วันกับอิสราเอล (15) เขาถูกลอบสังหารโดยระบอบอิสราเอลในกรุงดามัสกัส เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2008 (16)

การต่อสู้กับอิสราเอล

ในปี 1985 ฮิซบุลลอฮ์ ได้ประกาศอุดมการณ์และยุทธศาสตร์อย่างเป็นทางการต่อสาธารณะ บนพื้นฐานของการต่อสู้กับอิสราเอล (17) ในช่วงปีแรกๆ กลุ่มฮิซบุลลอฮ์ได้เคลื่อนไหวในการปฏิบัติการพลีชีพต่อต้านกองกำลังอิสราเอล แต่หลังจากนั้น วิธีการนี้ก็ค่อยๆเปลี่ยนไป กองกำลังของกลุ่มนี้ ได้แสดงปฏิกิริยาตอบโต้ในการลอบสังหารซัยยิด อับบาส มูซาวี เลขาธิการของฮิซบุลลอฮ์ในขณะนั้น ด้วยการยิงขีปนาวุธคัตยูชาใส่นิคมไซออนิสต์ในตอนเหนือของปาเลสไตน์เป็นครั้งแรก (18)

เหตุการณ์สำคัญบางประการระหว่างฮิซบุลลอฮ์และอิสราเอล ได้แก่:

ปฏิบัติการอัลวะอ์ดุศศอดิก ในปี 2006 สงครามได้เกิดขึ้นระหว่างฮิซบุลลอฮ์และอิสราเอล ซึ่งรู้จักกันในชื่อ สงครามทตะมูซหรือสงคราม 33 วัน อิสราเอลต่อต้านข้อตกลงกับฮิซบุลลอฮ์ และไม่ได้ปล่อยตัวนักโทษชาวเลบานอนทั้งสามคน สำหรับการปล่อยตัวพวกเขา ฮิซบุลลอฮ์ได้ปฏิบัติการอัลวะอ์ดุศศอดิก โดยการจับตัวทหารอิสราเอลสองคนในเดือนกรกฎาคม 2006 อิสราเอลได้โจมตีเลบานอน เพื่อปลดปล่อยเชลยทั้งสองคนและปลดอาวุธของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ และเกิดสงครามระหว่างฮิซบุลลอฮ์และอิสราเอล ซึ่งใช้เวลานาน 33 วัน (19)

การปะทะกันเดือนกรกฎาคม 1993 เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 1993 อิสราเอลโจมตีเลบานอนโดยมีเป้าหมายที่จะปลดอาวุธกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ และการสร้างช่องว่างในความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มฮิซบุลลอฮ์กับประชาชน พร้อมทั้งยังสร้างแรงกดดันต่อรัฐบาลเลบานอน เพื่อป้องกันขบวนการต่อสู้ การโจมตีครั้งนี้ได้มีปฏิกิริยาตอบโต้ของฮิซบุลลอฮ์ และทั้งสองฝ่ายต่างยอมรับบันทึกความเข้าใจในวันที่ 31 กรกฎาคม 1993 ตามข้อตกลงนี้ กลุ่มฮิซบุลลอฮ์ยอมรับที่จะหยุดจากการยิงจรวดคัตยูชาเข้าไปในพื้นที่ยึดครองของอิสราเอล เพื่อแลกกับการรุกรานของอิสราเอล (20)

การปะทะกันเดือนเมษายน 1996 เมื่อวันที่ 11 เมษายน 1996 อิสราเอลเริ่มปฏิบัติการแห่ง ช่อองุ่นแห่งความโกรธ ต่อต้านเลบานอน ปฏิบัติการนี้ ซึ่งเป็นที่รู้จักด้วยการสังหารหมู่ทั้งสี่ครั้ง ครั้งแรกเขตซุฮ์มุรในวันที่สอง ครั้งที่สองโจมตีรถพยาบาลมันซูรี ในวันที่สาม ครั้งที่สามโจมตีเมืองอันนับฏียะฮ์ และครั้งที่สี่ สังหารหมู่ประชาชนในหมู่บ้าน กอนา Qana ในวันที่เจ็ด ในการโจมตีครั้งนี้ มีผู้เสียชีวิต 25 ราย รวมถึงสมาชิกกองกำลังฮิซบุลลอฮ์ 14 ราย ปฏิบัติการนี้ดำเนินไปเป็นเวลาสิบหกวัน และในที่สุด อิสราเอลและฮิซบุลลอฮ์ก็บรรลุข้อตกลงในเดือนเมษายน ในข้อตกลงนี้ อิสราเอลยอมรับที่จะไม่โจมตีพลเรือนและในการเผชิญหน้ากับทหาร เฉพาะกับกองกำลังต่อสู้เพียงเท่านั้น[21]

ปฏิบัติการอันศอรียะห์ ฮิซบุลลอฮ์ได้ปฏิบัติการอันศอรียะห์ในวันที่ 5 กันยายน 1992 เพื่อตอบโต้การรุกรานทางเรือของหน่วยคอมมานโดอิสราเอล ซึ่งส่งผลให้มีการสังหารและการบาดเจ็บของชาวไซออนิสต์ 17 คน (22)

การได้รับอิสรภาพของนักโทษ หลังจากการถอนกำลังอิสราเอลออกจากภาคใต้ของเลบานอน กองกำลังฮิซบุลลอฮ์บางส่วน เช่น มุศฏอฟา ดีรอนี และเชค อับดุลกะรีม อูบัยด์ อยู่ในเรือนจำของอิสราเอล ฮิซบุลลอฮ์จับกุมทหารอิสราเอลสามคนเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2000 โดยปฏิบัติการในชีบาฟามส์ภาคใต้ของเลบานอน และจับกุมพันเอกชาวอิสราเอลในกรุงเบรุต อิสราเอลปล่อยตัวชาวเลบานอนจำนวนหนึ่งและชาวปาเลสไตน์ 400 คน และส่งมอบศพของผู้พลีชีพ 59 คน นอกจากนี้ ยังเปิดเผยชะตากรรมของผู้สูญหาย 24 ราย พร้อมมอบแผนที่กับระเบิดที่วางไว้บริเวณเขตชายแดนเลบานอน การปฏิบัติการแลกเปลี่ยน ดำเนินการในวันที่ 29 และ 30 มกราคม 2004 [23]

ในปี 2008 กลุ่มฮิซบุลลอฮ์ได้ดำเนินการเจรจากับอิสราเอลในช่วงสงคราม 33 วัน โดยผ่านเยอรมนีเป็นตัวกลาง จนมีการปล่อยตัวนักโทษชาวเลบานอนที่เหลืออยู่ นอกจากนี้ ยังมอบศพของผู้พลีชีพกลุ่มต่อสู้ในการสู้รบ 33 วัน และผู้พลีชีพกลุ่มต่อสู้ชาวเลบานอนและปาเลสไตน์ที่เหลือ รวมถึงศพของดะลาล มัฆริบี และกลุ่มผู้คน 12 คน จากอิสราเอล[24]

การสนับสนุนกลุ่มฮามาสและประชาชนในฉนวนกาซา หลังปฏิบัติการพายุอัลอักซอ ภายหลังปฏิบัติการพายุอัลอักซอ การสังหารหมู่และการทิ้งระเบิดประชาชนในฉนวนกาซาโดยอิสราเอลในปี 2023 และ 2024 กลุ่มฮิซบุลลอฮ์มุ่งเป้าไปที่ตำแหน่งทางทหารของอิสราเอลทางตอนเหนือของดินแดนที่ถูกยึดครองเพื่อสนับสนุนชาวปาเลสไตน์ การสนับสนุนฮามาสและประชาชนชาวปาเลสไตน์ของฮิซบุลลอฮ์ ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างฮิซบุลลอฮ์และอิสราเอลรุนแรงมากขึ้น ตามรายงานของสถานีโทรทัศน์อัล-อาลัม ในช่วง 133 วัน หลังพายุอัลอักซอ กลุ่มฮิซบุลลอฮ์ได้ปฏิบัติการมากกว่า 1,038 ครั้งในการปกป้องปาเลสไตน์และฮามาสจากอิสราเอล [25] ในทางตรงกันข้าม กองทัพอิสราเอลได้ลอบสังหารสมาชิกฮิซบุลลอฮ์จำนวนหนึ่ง และผู้บัญชาการของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ ตามรายงานของสำนักข่าวตัสนีม กลุ่มฮิซบุลลอฮ์เลบานอนได้ประกาศการพลีชีพของนักรบ 316 คนเพื่อปกป้องปาเลสไตน์ (26) นับตั้งแต่ปฏิบัติการพายุอัล-อักซอ จนถึงเดือนมิถุนายน 2024 (ประมาณ 9 เดือน) นอกจากนี้ ด้วยการระเบิดของเพจเจอร์ของฮิซบุลลอฮ์ สมาชิกเกือบสามพันคนของฮิซบุลลอฮ์และประชาชนชาวเลบานอนถูกสังหารเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้ อิสราเอลยังได้สังหารซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ เจ้าหน้าที่ระดับสูงที่สุดของฮิซบุลเลาะห์ด้วยการโจมตีสำนักงานใหญ่ของฮิซบุลลอฮ์ในกรุงเบรุตเมื่อวันที่ อิสราเอลยังสังหารซัยยิด ฮัสซัน นัศรุลลอฮ์ เจ้าหน้าที่ระดับสูงที่สุดทางการของฮิซบุลลอฮ์ ด้วยการโจมตีสำนักงานใหญ่ของฮิซบุลลอฮ์ในเบรุตเมื่อวันที่ 27 กันยายน (27)

การเข้าร่วมในซีเรียเพื่อต่อสู้กับกลุ่มไอซิส

ฮิซบุลลอฮ์ร่วมมือกับรัฐบาลซีเรียในการต่อสู้กับกลุ่มไอซิส หลังจากการเริ่มต้นของเหตุการณ์ความไม่สงบในซีเรีย กลุ่มฮิซบุลลอฮ์ได้ร่วมกับกองทัพซีเรียในการต่อสู้กับกลุ่มตักฟีรีย์ [28] การปลดปล่อยอัลกอศีร ถือเป็นหนึ่งในชัยชนะที่สำคัญที่สุดของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ในซีเรีย (29)

การเคลื่อนไหวทางการเมือง

ฮิซบุลลอฮ์ เข้าร่วมการเลือกตั้งในเลบานอน เป็นครั้งแรกในปี 1992 และได้ที่นั่งถึง 12 ที่นั่ง ในรัฐสภา ในปี1996 ได้รับที่นั่ง 10 ที่นั่ง และในปี 2000 ได้ที่นั่ง 12 ที่นั่งจากทั้งหมด 128 ที่นั่งในรัฐสภาเลบานอน (30) ในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2005 ระดับประเทศ ได้รับที่นั่ง 14 ที่นั่ง จากทั้งหมด 23 ที่นั่งในภาคใต้เลบานอน โดยร่วมเป็นพันธมิตรกับขบวนการอะมัล และส่งมุฮัมมัด ฟะนีช ในคณะรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงน้ำและพลังงาน (31)

หลังจากปี 2005 ฮิซบุลลอฮ์อยู่ในกลุ่ม 8 มีนาคม ปี 2005 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับการลอบสังหารฮะรีรี ได้มีการจัดตั้งหมวดหมู่ใหม่ๆ ขึ้นในเวทีการเมืองของเลบานอน กลุ่ม 8 มีนาคมก่อตั้งขึ้น หลังจากการรวมตัวของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ในกรุงเบรุตในปี 2005 และเพื่อต่อต้านการปลดอาวุธของกลุ่มนี้ การสนับสนุนซีเรีย และการต่อต้านอิสราเอล แนวร่วมเอกภาพ ซึ่งได้รับจากฮิซบุลลอฮ์ พรรคอะมัล และพรรคคริสเตียนอิสระ และหลังจากกระแสอื่นๆ ในเวลาต่อมา เช่น ญะมาอะฮ์ อิสลามี เลบานอน ขบวนการเตาฮีดอิสลามี (อะฮ์ลิซซุนนะฮ์) และพรรคประชาธิปไตยเลบานอน (ดรูซ) ถูกเพิ่มเข้ามาอีกด้วย [32]

ในเวลาเดียวกัน ด้วยการสนับสนุนจากประเทศต่างๆ เช่น อเมริกา ฝรั่งเศส ซาอุดีอาระเบีย และอียิปต์ ขบวนการ 14 มีนาคม ได้ก่อตั้งขึ้นในเลบานอน ซึ่งเรียกร้องให้ถอนซีเรียออกจากเลบานอนและการปลดอาวุธของกลุ่มต่อสู้ ขบวนการอัลมุซตักบัล (ซุนนี) พรรคอัล-กะตาอิบ และกองกำลังเลบานอน (คริสเตียน) และขบวนการสังคมนิยมก้าวหน้าของเลบานอน (ดรูซ) เป็นกลุ่มหลักที่สนับสนุนขบวนการนี้ (33)

การเคลื่อนไหวทางสังคม

ฮิซบุลลอฮ์ได้มุ่งเน้นการต่อสู้ในการเผชิญหน้ากับการรุกรานของอิสราเอล อย่างไรก็ตาม กลุ่มนี้ก็ยังมีการเคลื่อนไหวทางสังคมอีกด้วย อาทิเช่น

การจัดตั้งสถาบันการญิฮาดสร้างสรร เพื่อฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดจากการรุกรานของอิสราเอลและภัยพิบัติทางธรรมชาติ

การเก็บขยะในเมืองในเขตชานเมืองทางตอนใต้ของกรุงเบรุตระหว่างปี 1988 ถึง 1991

การจัดหาน้ำดื่มในเขตชานเมืองทางตอนใต้ของกรุงเบรุต

การเคลื่อนไหวทางการเกษตร

การก่อสร้างชุมชนสุขภาพอิสลามและศูนย์การแพทย์และโรงพยาบาลหลายแห่ง

การให้บริการการศึกษาและอุปกรณ์การศึกษาแก่นักศึกษา

การก่อตั้งมูลนิธิชะฮีด เพื่อให้บริการแก่ครอบครัวของผู้พลีชีพ

การจัดตั้งคณะกรรมการบรรเทาทุกข์ เพื่อการกุศลอิสลามในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส[34]

สื่อต่างๆ

สถานีโทรทัศน์ช่องอัลมะนาร : ก่อตั้งในปี 1991

สถานีวิทยุอันนูร (ก่อตั้งในปี 1988)

หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์อัลอะฮ์ด[35]

เว็บไซต์เลบานอนตอนใต้

เว็บไซต์หน่วยสื่อสารมวลชนของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์

นอกจากนี้ ฮิซบุลลอฮ์ยังได้เปลี่ยนฐานทัพแห่งหนึ่งในเขตมะลีตา ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ (36)

ผู้สนับสนุนและผู้ต่อต้าน

ฮิซบุลลอฮ์ มีผู้สนับสนุนในโลก ผู้สนับสนุนที่สำคัญที่สุดของฮิซบุลลอฮ์ คือ อิหร่านและซีเรีย รัสเซียยังถือว่า ฮิซบุลลอฮ์เป็นองค์กรทางสังคมและการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมาย [37] อิหร่านมีบทบาทในการก่อตั้งฮิซบุลลอฮ์และการฝึกทหารสำหรับกองกำลังของตน [38] นอกจากนี้ อิหร่านยังได้จัดตั้งสำนักงานใหญ่ในการฟื้นฟูเลบานอนขึ้นใหม่เพื่อบูรณะซากปรักหักพังที่เกิดจากการโจมตีของอิสราเอลในเลบานอน [39]

อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกา สันนิบาตอาหรับ สภาความร่วมมืออ่าวเปอร์เซีย และ... ได้ประกาศให้กลุ่มฮิซบุลลอฮ์หรือกองกำลังทหารของฮิซบุลลอฮ์ เป็นกลุ่มก่อการร้าย (40) การต่อสู้ในการเผชิญหน้าการยึดครองและภัยคุกคามของอิสราเอล รวมถึงการไร้ความสามารถทางทหารของกองทัพเลบานอนในการเผชิญหน้ากับอิสราเอล เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีผู้ที่เชื่อว่า ฮิซบุลลอฮ์ไม่ใช่องค์กรก่อการร้ายและควรจะยังคงมีอาวุธยุทโธปกรณ์ต่อไป (41)

บรรณานุกรม

มีการเขียนหนังสือเกี่ยวกับฮิซบุลลอฮ์ ในหนังสือเหล่านี้ หนังสือ ฮิซบุลลอฮ์ อัล-มันฮัจ อ้ัลตัจริบะฮ์ อัลมุซตักบัล ลุบนาน วะมุกอวะมะตุฮู ฟีลวาญิฮะห์ เขียนโดย นะอีม กอซิม หนึ่งในผู้นำของ ฮิซบุลลอฮ์ เลบานอน ในหนังสือเล่มนี้ สะท้อนถึงประวัติศาสตร์ เป้าหมาย และการเคลื่อนไหวต่างๆ ของฮิซบุลลอฮ์ หนังสือเล่มนี้ยังได้รับการแปลเป็นภาษาฟาร์ซีในชื่อว่า ฮิซบุลลอฮ์ ลุบนอน คัฏ มะชีย์ กุซัชเต วะออยันเดเยออน (43)