ฮับลุลลอฮ์

จาก wikishia

ฮับลุลลอฮ์ (ภาษาอาหรับ : حَبْل‌ُالله ) หมายถึง สายเชือกของพระเจ้า ซึ่งเป็นการตีความจาก อัลกุรอาน โดยพระเจ้าทรงบัญชาต่อชาวมุสลิมในโองการ อิอ์ติศอม ให้ยึดสายเชือกของพระองค์ให้แน่น และไม่แยกออกกันและเป็นกลุ่มๆ [๑]

ในตัฟซีร อัยยาชี (อัยยาชี เขาเสียชีวิต: ฮ.ศ. ๓๒๐) เขียนว่า มีริวายะฮ์ต่างๆรายงานว่า อาลิมุฮัมมัดหรืออิมามอะลี ถูกแนะนำว่า เป็นตัวอย่างของฮับลุลลอฮ์ (๒) อัลลามะฮ์ เฎาะบาเฏาะบาอี ยังเชื่อด้วยว่า จุดประสงค์ของฮับลุลลอฮ์ ในโองการ จงยึดสายเชือกทั้งหมดของอัลลอฮ์ หมายถึง อัลกุรอานและศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) นอกจากนี้ เขายังถือว่า ความหมายของวลี และผู้ใดที่ยึดสายเชือกของอัลลอฮ์ ในโองการที่ ๑๐๑ ของซูเราะห์อาลิอิมรอน นั้นคือ การยึดถือโองการต่างๆของพระเจ้าและศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ( อัลกุรอานและซุนนะฮฺ ) [๓] ในหนังสือตัฟซีร อัดดุรรุลมันษูร ผลงานประพันธ์ของซุยูฏี (เสียชีวิต: ฮ.ศ. ๙๑๑) หนึ่งในบรรดานักวิชาการชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ เขียนว่า มีริวายะฮ์ที่รายงานว่า อัลกุรอานและบรรดาลูกหลานของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) พันธสัญญาและการปฏิบัติตามพระเจ้า เป็นตัวอย่างของฮับลุลลอฮ์ [๔] ตัฟซีรอัลมะนาร จากหนังสือตัฟซีรของชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ ได้อธิบายว่า ฮับลุลลอฮ์ คือ การกำชับในการกระทำความดีและการละทิ้งการกระทำความชั่ว (๕)

ตามคำกล่าวของฟัฎล์ บิน ฮะซัน เฏาะบัรซี (เสียชีวิต ฮ.ศ. ๕๔๘) ระบุว่า บรรดาผู้ตัฟซีรมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับฮับลุลลอฮ์ บางคนถือว่า เป็นอัลกุรอาน บางคนถือว่า เป็นศาสนาอิสลาม และบางส่วนจากริวายะฮ์ หมายถึงบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ เฏาะบัรซี ถือว่า อะฮ์ลุลบัยต์ คือ ฮับลุลลอฮ์ เหนือทุกกรณี จะเป็นการดีกว่า เขาได้อ้างอิงจากฮะดีษ ษะเกาะลัยน์ สำหรับการยืนยันความคิดเห็นนี้ ซึ่งในฮะดีษดังกล่าวได้รายงานว่า อัลกุรอานและอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) ในฐานะเป็นสายเชือกทั้งสองเส้น ในริวายะฮ์ แทนที่จะใช้คำว่า ษะเกาะลัยน์ แต่จะใช้คำว่า ฮับลัยน์ [หมายเหตุ 1] [๖]

ตามคำกล่าวของอยาตุลลอฮ์ มะการิม ชิราซี ระบุว่า มีความเป็นไปได้ว่าความหมายของฮับลุลลอฮ์ที่นำเสนอมานั้นไม่ได้มีความแตกต่างกัน เนื่องจากความหมายของสายเชือกของพระเจ้า คือ ทุกวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารกับพระองค์ ความสัมพันธ์นี้อาจเกิดขึ้นได้ ด้วยอัลกุรอาน ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) อะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) และสิ่งอื่นๆ เป็นต้น [๗] นอกจากนี้ เขายังเชื่อด้วยว่า ฮับลุลลอฮ์ ชี้ถึงประเด็นที่มนุษย์ต้องการผู้ชี้นำหรือสายเชือก เพื่อทำให้เขารอดพ้นจากความมืดของความไม่รู้ ซึ่งด้วยการยึดถือมัน จะนำเขาออกจากบ่อแห่งความเพิกเฉย (๘)