ฮะดีษบิฏอะตุน มินนี
ฮะดีษบิฏอะตุน มินนี (ภาษาอาหรับ: حديث البضعة) (ฟาฎิมะฮ์ เป็นก้อนเนื้อส่วนหนึ่งของฉัน) ฮะดีษนี้ ได้รับรายงานมาจากศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) เกี่ยวกับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ซึ่งกล่าวว่า "ฟาฏิมะฮ์ เป็นก้อนเนื้อส่วนหนึ่งของฉัน ผู้ใดที่ทำให้นางพึงพอใจเท่ากับเขาได้ทำให้ฉันพึงพอใจ และผู้ใดก็ตามที่ได้ทำให้นางโกรธเท่ากับเขานั้นได้ทำให้ฉันโกรธ"
ฮะดีษนี้ ยังมีการรายงานจากแหล่งอ้างอิงของชีอะฮ์และซุนนี
ฮะดีษนี้ ยังถูกนำมาใช้ในการพิสูจน์ถึงความบริสุทธิ์(อิศมัต)ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(ซ.) ความชอบธรรมของท่านหญิงในเหตุการฟะดักและความจำเป็นในการรำลึกถึงอะฮ์ลุลบัยต์(อ.)อีกด้วย
ตามรายงานจากแหล่งอ้างอิงของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ระบุว่า ฮะดีษนี้ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่อิมามอะลี (อ.)ไปสู่ของลูกสาวของอะบูญะฮ์ล์ โดยผ่านศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ)
แต่ตามทัศนะของบรรดานักวิชาการของชีอะฮ์ ถือว่า รายงานนี้ถูกกุขึ้นมาเอง และผู้รายงานเป็นผู้ที่สร้างเรื่องนี้ขึ้นมาเอง เนื่องจากความเป็นศัตรูกับอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.)
ตัวบทและสถานภาพ
ศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) กล่าวถึงฟาฏิมะฮ์บุตรีของเขาว่า
"ฟาฏิมะฮ์ เป็นก้อนเนื้อส่วนหนึ่งของฉัน ผู้ใดก็ตามที่ได้รังแกนาง เท่ากับเขาได้รังแกฉัน และผู้ใดก็ตามที่ได้ทำให้นางพึงพอใจเท่ากับเขานั้นทำให้ฉันพึงพอใจ"(1)
ตัวบทฮะดีษนี้ได้มีรายงานจากแหล่งอ้างอิงของชีอะฮ์และซุนนีอย่างมาก(2)อิมามอะลี(อ.)(3) อิบนุ อับบาส(4)อะบูซัร ฆิฟารีย์(5)และท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ เป็นผู้รายงานฮะดีษนี้ ญะลาลุดดีน ซุยูฏีย์ นักตัฟซีรชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ถือว่า ฮะดีษนี้เป็นที่ยอมรับทั้งซุนนีและชีอะฮ์(7)ฟัคร์ รอซี นักตัฟซีรชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ได้ใช้ประโยชน์จากฮะดีษนี้ในการอธิบายบางโองการอัลกุรอาน(8)
คำว่า บัฎอะฮ์หรือบิฎอะฮ์ หมายถึง ก้อนเนื้อส่วนหนึ่งของร่างกาย(9) ฉะนั้นขณะเมื่อมีผู้หนึ่งกล่าวว่า คนนั้นเป็นก้อนเนื้อส่วนหนึ่งของฉัน เนื่องจากความใกล้ชิดในการเป็นญาติสนิทกับผู้พูด ราวกับว่า ผู้นั้นเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายของเขา(10)
ประโยคที่ว่า ก้อนเนื้อส่วนหนึ่งของฉัน เป็นคำกล่าวที่ศาสดามุฮัมมัด(ศ็อล)กล่าวถึงอิมามอะลี(11)และอิมามริฎอ(12)ด้วยเช่นกัน
ฮะดีษบิฎอะฮ์ในหลักศรัทธาและหลักการปฏิบัติ
ฮะดีษนี้ ยังถูกนำมาใช้ในการพิสูจน์บางประเด็นทางด้านหลักศรัทธา เช่น:
- ความบริสุทธิ์(ปราศจากบาป)ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(ซ.) บรรดานักเทววิทยา ได้ใช้ฮะดีษในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ปราศจากบาปของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) (13) อยาตุลลอฮ์ เชคญะอ์ฟัร ซุบฮานี หนึ่งในมัรญิอ์ตักลีดของชีอะฮ์ กล่าวว่า ฮะดีษบิฎอะฮ์ แสดงให้เห็นว่า ความพึงพอใจของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ คือ มาตรวัดความพึงพอใจของอัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์ เพราะว่าอัลลอฮ์ทรงพึงพอพระทัยในการกระทำที่ดีงามและไม่พึงพอพระทัยต่อการละเมิดพระบัญชาของพระองค์
หากว่าฟาฏิมะฮ์ กระทำความผิดบาป ในสภาพเช่นนี้ ท่านหญิงจะไม่ได้รับความพึงพระทัยจากอัลลอฮ์ ในขณะที่ฮะดีษบิฎอะฮ์ รายงานว่า ความพึงพอพระทัยของพระองค์ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของฟาฏิมะฮ์(14)
- ความสูงส่งของฟาฏิมะฮ์เหนือสตรีทั้งหลายในโลก ชะฮาบุดดีน อาลูซี นักตัฟซีรชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ (เสียชีวิต ฮ.ศ.1270)ได้อธิบายโองการอัลกุรอานข้างล่างนี้ ด้วยการอ้างอิงจากฮะดีษนี้้เกี่ยวกับความสูงส่งของฟาฏิมะฮ์ (ซ.) เหนือบรรดาสตรีทั้งโลก โดยเฉพาะท่านหญิงมัรยัม(16)
وَإِذْ قَالَتِ الْمَلَائِكَةُ يَا مَرْيَمُ إِنَّ اللَهَ اصْطَفَاكِ وَطَهَّرَكِ وَاصْطَفَاكِ عَلَىٰ نِسَاءِ الْعَالَمِينَ
- ในการพิสูจน์ความชอบธรรมของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ในเหตุการณ์ฟะดัก(17)หลังจากการวะฟาตของศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ)ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ในขณะที่กำลังเจ็บป่วย ได้ร้องขอสวนฟะดักคืนจากคอลีฟะฮ์ทั้งสอง(18)
- และเช่นเดียวกัน สำหรับความจำเป็นในการจัดงานรำลึกถึงอะฮ์ลุลบัยต์(19) การไม่ยอมรับบุตรเป็นพยานสำหรับบิดา หรือตรงกันข้าม(20) การสมรสกับมารดาและบุตรสาว เป็นที่ต้องห้าม(21) ความจำเป็นในการให้เกียรติและเคารพต่อบิดาและมารดา(22)การอนุญาตให้สตรีเยี่ยมสถานที่ฝังศพ(23)ประเด็นทั้งหมดเหล่านี้อ้างอิงจากฮะดีษนี้
nการใช้ประโยชน์จากฮะดีษบิฎอะฮ์ในการต่อต้านอิมามอะลี(อ.)
บางรายงานกล่าวว่า ฮะดีษบิฎอะฮ์ กล่าวถึงเหตุการณ์ที่อิมามอะลีได้ไปสู่ขอลูกสาวของอะบูญะฮ์ล์ โดยรายงานจากอิบนุ ฮัมบัล (เสียชีวิต ฮ.ศ.241) รายงานจากอับดุลลอฮ์ บินซุบัยร์ กล่าวว่า ขณะที่ประเด็นการแต่งงานระหว่างอิมามอะลี(อ.) กับลูกสาวของอะบูญะฮ์ล์ ได้ไปถึงหูของศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) โดยศาสดา กล่าวว่า อันที่จริง ฟาฏิมะฮ์นั้นเป็นก้อนเนื้อส่วนหนึ่งของฉัน เขารังแกฉันในสิ่งที่รังแกนาง(24) เหตุการณ์ยังมีการรายงานในแหล่งอ้างอิงอื่นๆ(25)
ซัยยิดมุรตะฎอ นักเทววิทยาชีอะฮ์(355-436ฮ.ศ.)รายงานว่า ฮะดีษข้างบนนี้ เป็นฮะดีษทีกุขึ้น(26) ตามรายงานจากอิมามศอดิก(อ.) กล่าวว่า เหตุการณ์เป็นเหตุการณ์ที่สร้างขึ้นมา(27) อะบูฮุร็อยเราะฮ์ เป็นผู้รายงานฮะดีษที่ถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้กุฮะดีษ(28) และสายรายงานอื่น เช่น ฮุเซน กะรอบีซีและมิซวัร อิบนุ มะฮ์รอมะฮ์ ซุฮ์รี เป็นผู้รายงานฮะดีษ ตามอิลมุลริญาล ระบุว่า เป็นสายงานที่อ่อนแอและไม่สามารถยึดถือได้ ด้วยเหตุนี้เอง ฮะดีษจึงไม่ถูกยอมรับ(29) ซัยยิดมุรตะฎอ กล่าวว่า กะราบีซี เป็นผู้ต่อต้านอะฮ์ลุลบัยต์และเป็นศัตรูกับพวกเขา(30) หากว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง แล้วทำไมเหล่าศัตรูของอิมามอะลี จากบะนีอุมัยยะฮ์และเหล่าผู้สนับสนุนพวกเหล่านี้จึงไม่ใช้เป็นข้ออ้างในการทำลายภาพลักษณ์ของอิมามอะลีและบรรลุเป้าหมายของตนด้วย(31)
ญะอ์ฟัร มุรตะฎอ อามิลี (เสียชีวิต ฮ.ศ. 1441) นักวิเคราะห์ประวัติศาสตร์อิสลาม กล่าวว่า เหตุการณ์ที่อิมามอะลี(อ.)ทำการสู่ขอลูกสาวของอะบูญะฮ์ล์ เป็นประเด็นที่มีความขัดแย้งกันและเขาได้ยกเหตุผลสิบสามประการในการปฏิเสธเหตุการณ์นี้(32)