อิมามมูซา กาซิม (อ.)

จาก wikishia

มูซา บิน ญะอ์ฟัร (127 หรือ 128-183 ฮ.ศ.) รู้จักกันในนาม อิมามมูซา กาซิม (อ.) มีสมญานามว่า กาซิม และบาบุลฮะวาอิจญ์ เป็นอิมามคนที่เจ็ดของชีอะฮ์อิมามียะฮ์

เขาถือกำเนิดในปี ฮ.ศ. 128 ในเวลาเดียวกับการเริ่มต้นการลุกขึ้นต่อสู้ของอบู มุสลิม โคราซานี ผู้สนับสนุนบะนี อับบาส เพื่อต่อต้านพวกอุมัยยะฮ์ และในปี ฮ.ศ. 148 หลังจากการเป็นชะฮีดของบิดาของเขา อิมาม ศอดิก (อ.) เขาได้ดำรงตำแหน่งอิมามัตในตลอดช่วง 35 ปีของการเป็นอิมามัตของเขา อยู่ร่วมสมัยกับเหล่าคอลีฟะฮ์ มันซูร ฮาดี มะฮ์ดี และฮารูน อัรรอชีด อับบาซี

เขาถูกคุมขังหลายครั้งโดยมะฮ์ดีและฮารูน อับบาซี และถูกทรมานในคุกซินดี บิน ชาฮัก ในปี 183 ฮ.ศ.จนได้รับการเป็นชะฮีด หลังจากเขา อิมามัตก็ส่งต่อไปยัง อะลี บิน มูซา บุตรชายของเขา

ยุคสมัยการเป็นอิมามัตของอิมามกาซิม (อ.) เป็นช่วงการมีอำนาจสูงสุของคอลีฟะฮ์อับบาซี และเขาได้ทำการตะกียะฮ์ในการเผชิญหน้ากับระบอบการปกครอง และเขายังสั่งให้บรรดาชาวชีอะฮ์ปฏิบัติเช่นนี้อีกด้วย ด้วยเหตุนี้เอง จึงไม่มีรายงานจุดยืนที่ชัดเจนของอิมามคนที่เจ็ดของชาวชีอะฮ์ในการเผชิญหน้ากับเหล่าคอลีฟะฮ์อับบาซีและการลุกขึ้นต่อสู้ของพวกอะละวี เช่น การลุกขึ้นต่อสู้ของชะฮีดฟัค เป็นต้น

อย่างไรก็ตามในประเด็นนี้ เขาพยายามที่ต่อต้านความไม่ชอบธรรมของเหล่าคอลีฟะฮ์อับบาซี จากการเสวนาวิชาการและการสนทนากับพวกเขาและคนอื่นๆ การเสวนาวิชาการและการสนทนาของ มูซา บิน ญะอ์ฟัร กับนักวิชาการชาวยิวและชาวคริสต์บางคน มีรายงานจากแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์และสายฮะดีษ ซึ่งเป็นคำตอบในคำถามของพวกเขา มีการรวบรวมฮะดีษของเขามากกว่าสามพันบทในมุสนัด อัล-อิมาม อัล-กาซิม ซึ่งฮะดีษจำนวนได้ถูกรายงานโดยอัศฮาบอิจญ์มาอ์ อิมามกาซิม (อ.) ได้ขยายองค์กรวิกาลัต (ตัวแทน)และแต่งตั้งบุคคลเป็นตัวแทนของเขาในพื้นที่ต่างๆ เพื่อสื่อสารกับบรรดาชาวชีอะฮ์ อีกนัยหนึ่ง การดำเนินชีวิตอิมามกาซิม (อ.) เกิดขึ้นพร้อมกับการเกิดขึ้นของการแตกแยกในสำนักคิดต่างๆชีอะฮ์ และการเกิดขึ้นของสำนักคิดอิสมาอีลียะฮ์ ฟะฏอฮียะฮ์ นาวูซียะฮ์ พร้อมกับการเริ่มต้นของการเป็นอิมามัตของเขาและสำนักคิดวากิฟียะฮ์ เกิดขึ้นหลังจากการเป็นชะฮีดของเขา แหล่งข้อมูลของชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ต่างยกย่องในความรอบรู้ การอิบาดะฮ์ ความอดทน และความเอื้ออาทรของเขา และเขาได้รับสมญานามว่า กาซิม และอัลอับดุศศอลิฮ์

บรรดานักวิชาการของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ให้เกียรติกับอิมามคนที่เจ็ดของชาวชีอะฮ์ในฐานะที่เป็นผู้รู้ทางศาสนาผู้หนึ่ง และนอกเหนือจากนี้ บรรดาชาวชีอะฮ์ ยังเดินทางไปซิยาเราะฮ์หลุมศพของเขา

ฮะรอมของอิมามกาซิม (อ.)และฮะรอมของอิมามญะวาด (อ.) หลานชายของเขา อยู่ในเขตพื้นที่เมืองกาซิมัยน์ ทางทิศเหนือของกรุงแบกแดด และเป็นที่รู้จักกันว่า ฮะรอมกาซิมัยน์ และเป็นสถานที่ซิยาเราะฮ์ของชาวมุสลิม โดยเฉพาะบรรดาชาวชีอะฮ์