อิมามมูซา กาซิม (อ.)

มูซา บิน ญะอ์ฟัร (ภาษาอาหรับ: الإمام موسى الكاظم عليه السلام) (127 หรือ 128-183 ฮ.ศ.) รู้จักกันในนาม อิมามมูซา กาซิม (อ.) มีสมญานามว่า กาซิม และบาบุลฮะวาอิจญ์ เป็นอิมามคนที่เจ็ดของชีอะฮ์อิมามียะฮ์
เขาถือกำเนิดในปี ฮ.ศ. 128 ในเวลาเดียวกับช่วงการเริ่มต้นการลุกขึ้นต่อสู้ของอบู มุสลิม คุรอซานี ผู้สนับสนุนบะนี อับบาซ เพื่อต่อต้านพวกอุมัยยะห์ และในปี ฮ.ศ. 148 หลังจากการเป็นชะฮีดของบิดาของเขา อิมาม ศอดิก (อ.) เขาได้ดำรงตำแหน่งอิมามัตในตลอดช่วง 35 ปีของการเป็นอิมามัตของเขา อยู่ร่วมสมัยกับเหล่าคอลีฟะฮ์ มันซูร, ฮาดี ,มะฮ์ดี และฮารูน อัรรอชีด อับบาซี
เขาถูกกุมขังหลายครั้งโดยมะฮ์ดีและฮารูน อับบาซี และถูกทรมานในคุกซินดี บิน ชาฮัก ในปี 183 ฮ.ศ.จนได้รับการเป็นชะฮีด หลังจากเขา ตำแหน่งอิมามัตก็ส่งต่อไปยัง อะลี บิน มูซา บุตรชายของเขา
ยุคสมัยการเป็นอิมามัตของอิมามกาซิม (อ.) เป็นช่วงการมีอำนาจสูงสุดของคอลีฟะฮ์อับบาซี และเขาได้ตะกียะฮ์ในการเผชิญหน้ากับระบอบการปกครอง และเขายังสั่งให้บรรดาชาวชีอะฮ์ปฏิบัติเช่นนี้อีกด้วย ด้วยเหตุนี้เอง จึงไม่มีรายงานจุดยืนที่ชัดเจนของอิมามคนที่เจ็ดของชาวชีอะฮ์ในการเผชิญหน้ากับเหล่าคอลีฟะฮ์อับบาซีและการลุกขึ้นต่อสู้ของพวกอะละวี เช่น การลุกขึ้นต่อสู้ของชะฮีดฟัค เป็นต้น
อย่างไรก็ตามในประเด็นนี้ เขาพยายามที่ต่อต้านความไม่ชอบธรรมของเหล่าคอลีฟะฮ์อับบาซี จากการเสวนาวิชาการและการสนทนากับพวกเขาและคนอื่นๆ การเสวนาวิชาการและการสนทนาของ มูซา บิน ญะอ์ฟัร กับนักวิชาการชาวยิวและชาวคริสต์บางคน มีรายงานจากแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์และสายฮะดีษ ซึ่งเป็นคำตอบในคำถามของพวกเขา มีการรวบรวมฮะดีษของเขามากกว่าสามพันบทในมุสนัด อัล-อิมาม อัล-กาซิม ซึ่งฮะดีษจำนวนได้ถูกรายงานโดยอัศฮาบอิจญ์มาอ์ อิมามกาซิม (อ.) ได้ขยายองค์กรวิกาลัต (ตัวแทน)และแต่งตั้งบุคคลเป็นตัวแทนของเขาในพื้นที่ต่างๆ เพื่อสื่อสารกับบรรดาชาวชีอะฮ์ อีกนัยหนึ่ง การดำเนินชีวิตอิมามกาซิม (อ.) เกิดขึ้นพร้อมกับการเกิดขึ้นของการแตกแยกในสำนักคิดต่างๆชีอะฮ์ และการเกิดขึ้นของสำนักคิดอิสมาอีลียะฮ์ ฟะฏอฮียะฮ์ นาวูซียะฮ์ พร้อมกับการเริ่มต้นของการเป็นอิมามัตของเขาและสำนักคิดวากิฟียะฮ์ เกิดขึ้นหลังจากการเป็นชะฮีดของเขา แหล่งข้อมูลของชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ต่างยกย่องในความรอบรู้ การอิบาดะฮ์ ความอดทน และความเอื้ออาทรของเขา และเขาได้รับสมญานามว่า กาซิม และอัลอับดุศศอลิฮ์
บรรดานักวิชาการของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ให้เกียรติกับอิมามคนที่เจ็ดของชาวชีอะฮ์ในฐานะที่เป็นผู้รู้ทางศาสนาผู้หนึ่ง และนอกเหนือจากนี้ บรรดาชาวชีอะฮ์ ยังเดินทางไปซิยาเราะฮ์หลุมศพของเขา
ฮะรอมของอิมามกาซิม (อ.)และฮะรอมของอิมามญะวาด (อ.) หลานชายของเขา อยู่ในเขตพื้นที่เมืองกาซิมัยน์ ทางทิศเหนือของกรุงแบกแดด และเป็นที่รู้จักกันว่า ฮะรอมกาซิมัยน์ และเป็นสถานที่ซิยาเราะฮ์ของชาวมุสลิม โดยเฉพาะบรรดาชาวชีอะฮ์
ชีวประวัติ
มูซา บินญะอ์ฟัร ถือกำเนิดในเดือนซุลฮิจญะฮ์ ปีที่ 127 ฮ.ศ. [1] หรือ วันที่ 7 ศอฟัร ปีที่ 128 ฮ.ศ [2] เวลาที่อิมามศอดิก (อ) และท่านหญิงฮามีดะฮ์ ภรรยาของเขา เดินทางกลับจากฮัจญ์ อิมามกาซิม (อ.) ถือกำเนิด ณ เขตพื้นที่อับวาอ์ (3)บางคนกล่าวว่า เขาถือกำเนิดในปี 129 ฮ.ศ. และในเมืองมะดีนะฮ์ [4] ในปฏิทินของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน บันทึกไว้ว่า วันถือกำเนิดของอิมามคนที่ 7 คือ วันที่ 20 ซุลฮิจญะฮ์ [5] แหล่งข้อมูลบางแห่ง รายงานว่า อิมามศอดิก (อ.) ให้ความสนใจอย่างมากในตัวของเขา [6] ดังริวายะฮ์จากอะห์มัด บัรกี รายงานว่า ภายหลังการถือกำเนิดของมูซา บุตรชายของเขา อิมามศอดิก(อ.) ได้แจกจ่ายอาหารให้แก่ประชาชนเป็นเวลาถึงสามวัน (7)
เชื้อสายของมูซา บินญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด บินอะลี บินฮุเซน บินอะลี บินอะบีฏอลิบ เชื้อสายของเขาถึงอิมามอะลี (อ.) โดยสี่ระดับชั้น บิดาของเขา คือ อิมามศอดิก (อ.) อิมามคนที่หกของบรรดาชีอะฮ์ และมารดาของเขาคือ ท่านหญิงฮะมีดะฮ์ บัรบะรียะฮ์ [8] ฉายานามของเขา คือ อะบูอิบรอฮีม, อะบุลฮะซันเอาวัล อบุล ฮะซัน มาฎีย์ และอบูอะลี เนื่องจากที่เขามีความสามารถในการระงับความโกรธแค้นต่อพฤติกรรมที่ไม่ดีของผู้อื่น เขาจึงได้รับฉายานามว่า กาซิม [9] และด้วยการทำอะมั้ลอิบาดะฮ์อย่างมาก เขาจึงได้รับสมญานามว่า อัลอับดุศศอลิฮ์ [10] บาบุลฮะวาอิจญ์ ก็เป็นหนึ่งในสมญานามของเขา [11] และประชาชนเมืองมะดีนะฮ์เรียกเขาว่า ซัยนุลมุจญ์ตะฮิดีน (เครื่องประดับของบรรดาผู้ขวนขวาย) (12)
มูซา บินญะอ์ฟัร (อ.) ถือกำเนิดในช่วงการเปลี่ยนผ่านอำนาจจากบะนีอุมัยยะฮ์ไปยังบะนีอับบาซียะฮ์ เมื่อเขาอายุได้สี่ขวบ เคาะลีฟะฮ์คนแรกของบะนีอับบาสก็ขึ้นสู่อำนาจ ในการดำเนินชีวิตของอิมามกาซิม (อ.)ไม่มีข้อมูลมากนัก ก่อนดำรงตำแหน่งอิมามะฮ์ของเขา ยกเว้นจากการสนทนาทางวิชาการบางอย่างในช่วงวัยเด็กของเขา รวมถึงการสนทนากับอะบูฮะนีฟะฮ์[13] และนักวิชาการของศาสนาอื่นๆ[14] เชื่อว่า เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นในเมืองมะดีนะฮ์
มีริวายะฮ์ในหนังสือมะนากิบ รายงานว่า อิมามกาซิม (อ.) ได้เข้าไปในหมู่บ้านแห่งหนึ่งของซีเรียโดยไม่เปิดเผยชื่อและได้สนทนากับนักบวชที่นั่น ซึ่งทำให้นักบวชผู้นั้นและบรรดาสหายของเขา เข้ารับมุสลิม [15] นอกจากนี้ ยังมีรายงานการเดินทางของอิมามกาซิม (อ.)ไปยังเมืองมักกะฮ์เพื่อประกอบพิธีฮัจญ์หรือทำอุมเราะฮ์ [16] อิมามกาซิม (อ.)ถูกเรียกตัวไปยังกรุงแบกแดดหลายครั้งโดยเคาะลีฟะฮ์อับบาซีย์ ยกเว้นกรณีเหล่านี้ ชีวิตส่วนมากของอิมามกาซิมนั้นอยู่ในเมืองมะดีนะฮ์
ภรรยาและบุตร

จำนวนภรรยาของอิมามกาซิม ไม่เป็นที่ชัดเจนนัก ภรรยาคนแรก คือ ท่านหญิงนัจญ์มะฮ์ มารดาของอิมามริฎอ [29] มีรายงานที่แตกต่างกันเกี่ยวกับจำนวนบุตร ของเขา ในแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ จากรายงานของเชคมุฟีด ระบุว่า เขามีบุตรทั้งหมด 37 คน (บุตรชาย 18 คน และบุตรสาว 19 คน) อิมามริฎอ (อ.), อิบรอฮิม, ชาห์เชรอฆ, ฮัมซะฮ์, อิสฮัก อยู่ในหมู่บุตรชายของเขา และฟาฏิมะฮ์ มะอ์ศูมะฮ์ และฮะกีมะฮ์ ก็อยู่ในหมู่บุตรสาวของเขา[30] เชื้อสายของอิมามกาซิม (อ.) เป็นที่รู้จักในชื่อว่า บรรดาซาดัต มูซาวี (31)
สมัยการเป็นอิมามัต
บรรดาเคาะลีฟะฮ์ในสมัยอิมามกาซิม เคาะลีฟะฮ์ก่อนยุคอิมามัต (ฮ.ศ.128-148) ปี เคาะลีฟะฮ์ 128-132 ฮ.ศ. มัรวาน บิน มูฮัมหมัด 132-136 ฮ.ศ. ซัฟฟาฮ์ 136-148 ฮ.ศ.มันศูร ดะวานีกี เคาะลีฟะฮ์ก่อนยุคอิมามัต (ฮ.ศ.128-148) ปี เคาะลีฟะฮ์ 148-158 ฮ.ศ. มันศูร ดะวานีกี 158-169 ฮ.ศ. มะห์ดี อับบาซี 170-169 ฮ.ศ. ฮาดี อับบาซี 170-183 ฮ.ศ. ฮารูนอับบาซี
ช่วงยุคสมัยของการเป็นอิมามัต
มูซา บินญะอ์ฟัร หลังจากการเป็นชะฮีดของอิมามศอดิก (อ.) ในปี ฮ.ศ. 148 เขาจึงดำรงตำแหน่งอิมามัต เมื่ออายุได้ 20 ปี [32] ช่วงเวลาของอิมามัตของเขา ตรงกับช่วงเวลาของเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ทั้งสี่คน (33) ประมาณ 10 ปี จากอิมามัตของเขา อยู่ในช่วงการเป็นเคาลีฟะฮ์ของมันศูร (ปกครองระหว่างปี 136-158 ฮ.ศ.) 11ปี อยู่ในช่วงการเป็นเคาลีฟะฮ์ของฮาดี อับบาซี (ปกครองระหว่างปี 169-170 ฮ.ศ.) และ 13 ปี ในช่วงการเป็นเคาะลีฟะฮ์ของฮารูน (ปกครอง 170-193 ฮ.ศ.) (34) ช่วงเวลาการเป็นอิมามัตของมูซา บินญะอ์ฟัร คือ 35 ปี และด้วยการเป็นชะฮีดของเขาในปี 183 จึงทำให้ตำแหน่งอิมามัต ไปถึงยังบุตรของเขา คือ อิมามริฎอ (อ.) (35)
นัศเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งอิมามะฮ์
จากทัศนะของชีอะฮ์ ระบุว่า อิมามจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้า และหนึ่งในวิธีการรับรู้ถึงอิมาม คือ โดยผ่าน นัศ (คำประกาศชัดเจนจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ.) หรืออิมามคนก่อนหน้าถึงการเป็นอิมามของอิมามคนต่อไป) [๔๓] อิมามญะอ์ฟัร อัศศอดิก (อ.) ได้ประกาศการเป็นอิมามของมูซา บิน ญะอ์ฟัร (อ.) แก่สหายใกล้ชิดของเขาหลายครั้ง ในหนังสือต่างๆ เช่น อัลกาฟี [๔๔] อัล-อิรชาด [๔๕] อัลอิอ์ลามุลวะรอ [๔๖] และ บิฮารุลอันวาร [๔๗] มีบทที่เกี่ยวกับคำประกาศการเป็นอิมามของมูซา บิน ญะอ์ฟัร (อ.) ซึ่งมีรายงานฮะดีษ ๑๒, ๑๔ ,๑๖ และ ๔๖ บทตามลำดับ [๔๘] ตัวอย่างเช่น :
ในฮะดีษหนึ่ง ซุลัยมาน บิน คอลิด ได้รายงานว่า อิมามญะอ์ฟัร อัศศอดิก (อ.) ได้แนะนำบุตรชายของเขา คือ อิมามมูซา อัลกาซิม (อ.) ว่า เป็น ผู้ดูแลกิจการ หลังจากท่าน [๔๙]
ศ็อฟวาน อัลญัมมาล ได้รายงานจากมันซูร บิน ฮาซิม กล่าวว่า อิมามญะอ์ฟัร อัศศอดิก (อ.) ได้วางมือบนไหล่ของมูซา บิน ญะอ์ฟัร (อ.) ซึ่งขณะนั้นอายุเพียง ๕ ขวบ และประกาศว่า เขาจะเป็นอิมามหลังจากตนเอง [๕๐]
อะลี บิน ญะอ์ฟัร ได้รายงานว่า อิมามญะอ์ฟัร อัศศอดิก (อ.) กล่าวเกี่ยวกับมูซา บิน ญะอ์ฟัร (อ.) ว่า: เขาเป็นบุตรชายที่ดีที่สุดของฉัน และเป็นผู้สืบทอดหลังจากฉัน เขาจะยืนอยู่ในตำแหน่งของฉัน และจะเป็นฮุจญะฮ์ (ข้อพิสูจน์) ของอัลลอฮ์เหนือบรรดามนุษย์หลังจากฉัน [๕๑]
นอกจากนี้ ในหนังสือ อัยยูน อัคบาร อัร-ริฎอ ยังมีรายงานว่า ฮารูน อัรรอชีด ได้กล่าวกับบุตรชายของเขา คือ มะอ์มูน ว่า มูซา บิน ญะอ์ฟัร (อ.) เป็นอิมามที่ถูกต้องและเป็นผู้ที่เหมาะสมที่สุดในการเป็นผู้สืบทอดของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ.) ในขณะที่การเป็นผู้นำของเขานั้น เป็นเพียงภายนอกและใช้กำลังบังคับ [๕๒]
พินัยกรรมของอิมามญะอ์ฟัร อัศ-ศอดิก (อ.) และความสับสนของชีอะฮ์บางกลุ่ม
ในแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ระบุว่า อิมามญะอ์ฟัร อัศศอดิก (อ.) ได้แต่งตั้งบุคคล ๕ คน รวมถึงเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ เป็นผู้ดูแลพินัยกรรมของเขา เพื่อปกป้องชีวิตของอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) จากความโหดร้ายของราชวงศ์อับบาซียะฮ์ [๕๓] แม้ว่า อิมามญะอ์ฟัร อัศ-ศอดิก (อ.) จะได้ประกาศการเป็นอิมามของอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) แก่สหายใกล้ชิดหลายครั้ง แต่การกระทำนี้ก็ทำให้สถานการณ์ของชีอะฮ์บางกลุ่มคลุมเครือ ในช่วงเวลานี้ สหายบางคนของท่านอิมามญะอ์ฟัร อัศ-ศอดิก (อ.) เช่น มุอ์มิน อัฏ-ฏ็อก และฮิชาม บิน ซาลิม เกิดความสงสัย พวกเขาได้ไปหาอับดุลลอฮ์ อัล-อัฟเฏาะฮ์ ซึ่งอ้างว่า เป็นอิมาม และถามเขาเกี่ยวกับซะกาต แต่คำตอบของเขาทำให้พวกเขาไม่พอใจ จากนั้นพวกเขาได้พบกับมูซา บิน ญะอ์ฟัร (อ.) และได้รับคำตอบที่ทำให้พวกเขาพึงพอใจและยอมรับการเป็นอิมามของท่าน [๕๔]
การแยกสาขาในหมู่ชีอะฮ์
ในช่วงยุคสมัยการเป็นอิมามของมูซา บิน ญะอ์ฟัร (อ.) ได้เกิดกลุ่มต่าง ๆ ขึ้น เช่น อิสมาอีลียะฮ์ ฟัฏฮียะฮ์ และนาวูซียะฮ์ แม้ว่า ในช่วงชีวิตของอิมามญะอ์ฟัร อัศศอดิก (อ.) จะมีเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการแยกสาขาในหมู่ชีอะฮ์ แต่การแบ่งแยกก็ยังไม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม หลังจากอิมามญะอ์ฟัร อัศ-ศอดิก (อ.) ถูกลอบสังหาร และการเป็นอิมามของมูซา บิน ญะอ์ฟัร (อ.) ก็เริ่มขึ้น ชีอะฮ์ก็แบ่งแยกออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ บางกลุ่มปฏิเสธการเสียชีวิตของอิสมาอีล บุตรชายของอิมามญะอ์ฟัร อัศศอดิก (อ.) และยังคงเชื่อว่า เขาเป็นอิมาม กลุ่มนี้เรียกว่า อิสมาอีลียะฮ์ บางกลุ่มเชื่อว่า อับดุลลอฮ์ อัล-อัฟเฏาะฮ์ เป็นอิมาม และเรียกว่า ฟัฏฮียะฮ์ แต่หลังจากที่อับดุลลอฮ์เสียชีวิต พวกเขาก็หันมาเชื่อในการเป็นอิมามของมูซา บิน ญะอ์ฟัร (อ.) บางกลุ่มหยุดอยู่ที่การเป็นอิมามของอิมามญะอ์ฟัร อัศ-ศอดิก (อ.) และบางกลุ่มเชื่อในการเป็นอิมามของมุฮัมมัด อัด-ดีบาจญ์ [๕๕]
การเคลื่อนไหวของกลุ่มฆุลาต
ในช่วงยุคสมัยการเป็นอิมามของมูซา บิน ญะอ์ฟัร (อ.) กลุ่มฆุลาตก็มีบทบาทด้วยเช่นกัน ในช่วงนี้ กลุ่มบะชีรียะฮ์ ได้ก่อตัวขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับมุฮัมมัด บิน บะชีร จากสหายของมูซา บิน ญะอ์ฟัร (อ.) เขาได้พูดเท็จเกี่ยวกับอิมามในช่วงที่เขายังมีชีวิตอยู่ [๕๖] มุฮัมมัด บิน บะชีร อ้างว่าบุคคลที่ผู้คนรู้จักในนามมูซา บิน ญะอ์ฟัร นั้นไม่ใช่มูซา บิน ญะอ์ฟัร ที่เป็นอิมามและฮุจญะฮ์ของอัลลอฮ์ [๕๗] และเขาอ้างว่า มูซา บิน ญะอ์ฟัร ที่แท้จริงอยู่กับเขา และเขาสามารถแสดงตัวอิมามให้ผู้คนเห็นได้ [๕๘] เขามีความสามารถในการเล่นมายากลและได้สร้างใบหน้าที่คล้ายคลึงกับอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) เพื่อแสดงให้ผู้คนเห็น และบางคนก็ถูกเขาหลอก [๕๙] มุฮัมมัด บิน บะชีร และผู้ติดตามของเขาได้แพร่ข่าวลือในสังคมว่า อิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) ไม่ได้ถูกจับเข้าคุกและยังมีชีวิตอยู่ และเขาจะไม่เสียชีวิต [๖๐] อิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) ถือว่า มุฮัมมัด บิน บะชีร เป็นผู้ไม่บริสุทธิ์และสาปแช่งเขา และอนุญาตให้สังหารเขาได้ [๖๑]
การเคลื่อนไหวทางวิชาการ
มีรายงานเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางวิชาการต่างๆ ของอิมามมูซา อัลกาซิม (อ.) ซึ่งรวมถึงฮะดีษ การเสวนา และการสนทนาทางวิชาการในหนังสือฮะดีษของชีอะฮ์ [๖๒]
ริวายะฮ์ต่างๆ
อิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) กล่าวว่า: ผู้ใดที่รักโลก ความกลัวต่อปรโลกจะหายไปจากหัวใจของเขา หากความรู้ถูกมอบให้แก่บ่าวคนหนึ่งและความรักของเขาต่อโลกเพิ่มขึ้น เขาจะห่างไกลจากอัลลอฮ์มากขึ้น และความโกรธของอัลลอฮ์ที่มีต่อเขาจะเพิ่มขึ้น
มีฮะดีษจำนวนมากจากอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) ในแหล่งข้อมูลด้านฮะดีษของชีอะฮ์ ฮะดีษเหล่านี้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับหัวข้อทางเทววิทยา เช่น เตาฮีด (ความเป็นเอกะของอัลลอฮ์) [๖๓] บะดาอ์ [๖๔] อีมาน (ความศรัทธา) [๖๕] และหัวข้อทางจริยธรรม [๖๖] นอกจากนี้ ยังมีบทวิงวอนต่างๆ ที่ถ่ายทอดมาจากเขา รวมถึงดุอาอ์เญาชัน เศาะฆีร ในสายรายงานของริวายะฮ์เหล่านี้ เขาถูกกล่าวถึงด้วยถ้อยคำ เช่น อัลกาซิม, อะบิลฮะซัน, อะบิลฮะซัน อัลเอาวัล, อะบิลฮะซัน อัลมาฎี, อัลอาลิม [๖๗] และอัล อับดุศศอลิห์ อะซีซุลลอฮ์ อัฏฏอรดี ได้รวบรวมฮะดีษ ๓,๑๓๔ บทจากเขาในหนังสือ มุสนัด อัล-อิมามอัล-กาซิม [๖๘] อะบูอิมรอน อัล-มัรวะซี อัล-บัฆดาดี (เสียชีวิต ๒๙๙ ฮ.ศ.) จากนักวิชาการอะฮ์ลุสซุนนะฮ์ ก็ได้รวบรวมฮะดีษบางส่วนของอิมามที่เจ็ดของชีอะฮ์ไว้ในหนังสือมุสนัด อัล-อิมาม มูซา บิน ญะอ์ฟัร [๖๙]
นอกจากนี้ ยังมีผลงานอื่น ๆ ที่รายงานมาจากมูซา บิน ญะอ์ฟัร (อ.) :
อะลี บิน ญะอ์ฟัร น้องชายของอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) ได้เขียนหนังสือชื่อ อัล-มะซาอิล ซึ่งบันทึกคำถามที่เขาถามอิมามและคำตอบที่ได้รับ [๗๐] หัวข้อของหนังสือนี้ เป็นเรื่องฟิกฮ์ [๗๑] หนังสือนี้ได้รับการจัดพิมพ์ภายใต้ชื่อ มะซาอิล อะลี บิน ญะอ์ฟัร โดยสถาบันอาลุลบัยต์
ริซาละฮ์เกี่ยวกับสติปัญญาที่เขียนถึงฮิชาม บิน อัล-ฮะกัม [๗๒]
ริซาละฮ์เกี่ยวกับเตาฮีดที่เขียนตอบคำถามของฟัตห์ บิน อับดุลลอฮ์ [๗๓]
อะลี บิน ยักฏีน ได้รวบรวมคำถามที่เขาถามมูซา บิน ญะอ์ฟัร (อ.) และคำตอบที่ได้รับในหนังสือชื่อ มะซาอิล อัน อะบี อัล-ฮะซัน มูซา บิน ญะอ์ฟัร [๗๔]
การเสวนาและการสนทนาทางวิชาการ
มีการรายงานเกี่ยวกับการเสวนาและการสนทนาทางวิชาการของอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) กับเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์บางคน [๗๕], นักวิชาการชาวยิว [๗๖] และชาวคริสเตียน [๗๗], อะบูฮะนีฟะฮ์ [๗๘] และบุคคลอื่นๆ บากิร ชะรีฟ อัล-กุเราะชี ได้รวบรวมการสนทนา ๘ ครั้งของอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) ภายใต้หัวข้อ อัลมุนาซิรอต [๗๙] อิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) ได้เสวนาวิชาการกับอัล-มะฮ์ดี อัล-อับบาซี เกี่ยวกับฟะดัก และการห้ามดื่มสุราในอัลกุรอาน [๘๐] เขายังได้เสวนาวิชาการกับฮารูน อัร-รอชีด ด้วย เนื่องจากฮารูนต้องการแสดงว่า ตัวเองมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ.) มากกว่า มูซา บิน ญะอ์ฟัร (อ.) อิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) จึงยืนยันในที่ประชุมว่า ตัวเองมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศาสดา (ศ.) มากกว่า [๘๑] การสนทนาของมูซา บิน ญะอ์ฟัร (อ.) กับนักวิชาการศาสนาอื่น ๆ มักเกิดขึ้นเพื่อตอบคำถามของพวกเขา และมักจบลงด้วยการที่พวกเขาหันมานับถืออิสลาม [๘๒]
วิถีปฏิบัติ
วิถีปฏิบัติในการปฏิบัติศาสนกิจ
ตามแหล่งข้อมูลของชีอะฮ์และอะฮ์ลุสซุนนะฮ์ รายงานว่า อิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) เป็นผู้ที่เคร่งครัดในการปฏิบัติศาสนกิจอย่างมาก ดังนั้น จึงมีการให้ฉายานามว่า อับดุศศอลิห์ กับเขา [๘๓] มีบางรายงานว่า อิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) ปฏิบัติศาสนกิจอย่างมาก จนเหล่าผู้คุมในคุกของเขาก็ได้รับอิทธิพลจากเขา [๘๔] เชค มุฟีด กล่าวว่า มูซา บิน ญะอ์ฟัร (อ.) เป็นผู้ที่เคร่งครัดที่สุดในยุคสมัยของเขา และรายงานว่า เขาร้องไห้ด้วยความหวาดกลัวอัลลอฮ์ จนหนวดเคราของเขาเปียก เขามักจะท่องดุอาอ์ว่า
عَظُمَ الذَّنْبُ مِنْ عَبْدِكَ فَلْيَحْسُنِ الْعَفْوُ مِنْ عِنْدِكَ
(ความผิดของข้าพระองค์นั้นใหญ่หลวงยิ่งนัก ดังนั้น ขอให้การอภัยจากพระองค์นั้นงดงาม) และดุอาอ์ว่า
اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ الرَّاحَةَ عِنْدَ الْمَوْتِ وَ الْعَفْوَ عِنْدَ الْحِسَابِ
(โอ้อัลลอฮ์ ข้าพระองค์ ขอความสบายในยามตายและการอภัยในวันแห่งการตัดสิน)
ในขณะซูญูด [๘๕] แม้เมื่อเขาถูกส่งไปยังคุกตามคำสั่งของฮารูน เขาก็ขอบคุณอัลลอฮ์ที่ได้มีโอกาสปฏิบัติศาสนกิจ: โอ้อัลลอฮ์ ข้าพระองค์มักขอเวลาว่างเพื่อปฏิบัติศาสนกิจต่อพระองค์ และพระองค์ได้ประทานโอกาสนั้นแก่ข้าพระองค์ ดังนั้น ข้าพระองค์จึงขอบคุณพระองค์ [๘๖] แหวนของอิมามกาซิม (อ.) มีคำจารึกว่า
حَسْبِيَ اللهُ حَافِظِي
พระเจ้าทรงพอเพียงสำหรับการปกป้องคุ้มครองฉัน [๘๗] และ الْمُلْكُ لِله وَحْدَهُ อำนาจการปกครองเป็นของอัลลอฮ์เพียงผู้เดียว [๘๘]
วิธีปฏิบัติทางจริยธรรม
ในแหล่งข้อมูลของชีอะฮ์และอะฮ์ลุสซุนนะฮ์ มีรายงานมากมายที่บ่งบอกถึงความอดทน [๘๙] [๙๐] และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) [๙๑] [๙๒] เชคมุฟีดกล่าวว่า ท่านเป็นบุคคลที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มากที่สุดในยุคสมัยของท่าน โดยเฉพาะการช่วยเหลือคนยากจนในเมืองมะดีนะฮ์ยามค่ำคืน ซึ่งท่านมักจะนำอาหารไปแจกจ่ายอย่างเงียบๆ [๙๓]
อิบนุ อิลบะฮ์ ได้กล่าวถึงความเอื้อเฟื้อของมูซา บิน ญะอ์ฟัร (อ.) ว่า ท่านมักจะออกจากบ้านในเวลากลางคืน พร้อมถุงเงินในมือ เพื่อแจกจ่ายให้กับทุกคนที่ท่านพบหรือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือจนคำว่า ถุงเงินของมูซา กลายเป็นคำพูดที่ติดปากของผู้คน [๙๔]
มีรายงานเพิ่มเติมว่า อิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) มักให้ของขวัญแก่ผู้ที่เคยพยายามทำร้ายท่าน โดยเมื่อทราบว่า มีผู้ไม่หวังดีต่อท่าน ท่านจะส่งของขวัญหรือความช่วยเหลือไปให้แทนที่จะตอบโต้ด้วยความรุนแรง [๙๕] เชคมุฟีดยังกล่าวอีกว่า อิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) ทุ่มเทอย่างมากในการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัวและญาติพี่น้อง [๙๖] เขาไม่เพียงแสดงความเมตตาต่อผู้ใกล้ชิด แต่ยังรวมถึงคนในสังคมทั่วไป โดยท่านถือว่า ความช่วยเหลือและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นหน้าที่สำคัญที่ต้องปฏิบัติ
ฉายา อัล-กาซิม ของอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) อิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) ซึ่งเป็นอิมามลำดับที่เจ็ดของชีอะฮ์ ได้รับฉายาว่า อัล-กาซิม ซึ่งหมายถึง ผู้ควบคุมความโกรธ [๙๗] เนื่องจากความสามารถในการระงับความโกรธและแสดงออกด้วยความเมตตา แม้จะเผชิญหน้ากับศัตรูหรือผู้ที่พยายามทำร้ายเขาก็ตาม [๙๘] แหล่งข้อมูลมากมาย ระบุว่า ท่านมักตอบโต้การกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ด้วยความสุภาพและการให้อภัย แทนที่จะใช้ความรุนแรงหรือโกรธเคือง พฤติกรรมนี้เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของจริยธรรมอิสลามที่เน้นการให้อภัยและความเมตตา
ตัวอย่างหนึ่งของผลกระทบจากจริยธรรมของเขา คือ เรื่องราวของ บุชร์ อัล-ฮาฟี บุคคลผู้มีชื่อเสียงในเวลาต่อมา ในฐานะผู้นำทางจิตวิญญาณของนักซูฟี บุชร์กลับใจและเปลี่ยนแปลงชีวิตของตนเองอย่างสิ้นเชิง หลังจากได้ยินคำพูดและสัมผัสถึงจริยธรรมที่งดงามของอิมามกาซิม (อ.) [๙๙] [๑๐๐]
ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และแสดงออกถึงความเมตตานี้ ได้กลายเป็นแบบอย่างที่สำคัญสำหรับผู้ศรัทธา และเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ท่านได้รับการยกย่องและเป็นที่รักในหมู่ผู้คนในยุคนั้น
วิถีทางการเมือง
บางแหล่งข้อมูล ระบุว่า อิมามกาซิม (อ.) ใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การอภิปรายและการไม่ร่วมมือ เพื่อเน้นย้ำถึงความไม่ชอบธรรมของเคาะลีฟะฮ์แห่งราชวงศ์อับบาซียะฮ์ และพยายามทำให้ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อพวกเขาอ่อนแอลง [๑๐๑] ตัวอย่างต่อไปนี้ สามารถนับเป็นความพยายามของเขาในการทำให้ราชวงศ์อับบาซียะฮ์เสียชื่อเสียง :
อิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) ใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การโต้วาทีและการไม่ร่วมมือ เพื่อเน้นย้ำถึงความไม่ชอบธรรมของเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ และพยายามทำให้ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อพวกเขาอ่อนแอลง [101] ตัวอย่างของความพยายามเหล่านี้ ดังนี้ :
การปฏิสัมพันธ์ของอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) กับราชวงศ์อับบาซียะฮ์
อิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) มักเน้นย้ำถึงความใกล้ชิดของเขากับศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ.) ผ่านทางสายสัมพันธ์ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) เพื่อแสดงถึงสิทธิและตำแหน่งอันสูงส่งของเขาเหนือเหล่าเคาะลีฟะฮ์แห่งราชวงศ์อับบาซียะฮ์ ในการสนทนากับ ฮารูน อัร-รอชีด อิมามได้อ้างถึง อายะฮ์มุบาฮะละฮ์ (อัลกุรอาน ๓: ๖๑) เพื่อพิสูจน์ความใกล้ชิดของเขากับศาสดา (ศ็อลฯ.) โดยเปรียบเทียบกับฮารูน [๑๐๒] [๑๐๓]
ในยุคที่ อัล-มะฮ์ดี อัล-อับบาซี ประกาศคืนทรัพย์สินให้ประชาชน อิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) ได้เรียกร้องให้คืนฟะดัก [๑๐๔] ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เคยเป็นของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) อิมามได้กำหนดขอบเขตของฟะดักซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางเทียบเท่ากับอาณาเขตของราชวงศ์อับบาซียะฮ์ [๑๐๕] การเรียกร้องนี้แสดงให้เห็นถึงการท้าทายต่ออำนาจของราชวงศ์อับบาซียะฮ์ โดยบางรายงานระบุว่า การเรียกร้องดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัย ฮารูน อัร-รอชีด [๑๐๖]
อิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) แนะนำให้สหายของท่านหลีกเลี่ยงการร่วมมือกับราชวงศ์อับบาซียะฮ์ ตัวอย่างเช่น เขาสั่งให้ ศ็อฟวาน อัล-ญัมมาล ไม่ให้เช่าอูฐให้กับ ฮารูน อัร-รอชีด เนื่องจากถือเป็นการสนับสนุนระบอบการปกครอง [๑๐๗] อย่างไรก็ตาม เขาอนุญาตให้ อะลี บิน ยักฏีน ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในการปกครองของฮารูนต่อไป [๑๐๘] เพื่อช่วยเหลือชีอะฮ์ และยังให้คำรับรองกับอะลี บิน ยักฏีน ว่า เขาจะไม่ถูกสังหารหรือจองจำ [๑๐๙]
อิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) ปฏิบัติตามหลักการ ตะกียะฮ์ (การปกปิดความเชื่อในสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตราย) เขาหลีกเลี่ยงการต่อต้านราชวงศ์อับบาซียะฮ์อย่างเปิดเผย และแนะนำให้ชีอะฮ์ปฏิบัติเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น เขาส่งจดหมายแสดงความเสียใจถึง คีซรอน มารดาของ อัลฮาดี อัลอับบาซี หลังจากการเสียชีวิตของนาง [๑๑๐]
นอกจากนี้ เขายังรับของขวัญจากฮารูน อัร-รอชีด เพื่อใช้ในการจัดงานแต่งงานวงศ์วานของอะบีฏอลิบ เพื่อป้องกันไม่ให้วงศ์วานของเขาต้องสิ้นสุดลง [๑๑๑]อิมามยังสั่งให้อะลี บิน ยักฏีน ทำ วุฎูอ์ ตามแบบอะฮ์ลุสซุนนะฮ์ในระยะเวลาหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงอันตราย [๑๑๒]
อิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) กับการลุกขึ้นต่อสู้ของกลุ่มอะลาวีย์
ในช่วงชีวิตของ อิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) ราชวงศ์อับบาซียะฮ์ได้ขึ้นครองอำนาจ และเกิดการลุกขึ้นต่อสู้หลายครั้งโดย กลุ่มอะลาวีย์ (ผู้สืบเชื้อสายจากอิมามอะลี (อ.)) เพื่อต่อต้านการปกครองที่กดขี่ แม้ว่า ราชวงศ์อับบาซียะฮ์จะขึ้นสู่อำนาจโดยให้คำมั่นว่า จะสนับสนุนอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) แต่ในไม่ช้าพวกเขาก็กลายเป็นศัตรูกับกลุ่มอะลาวีย์ และดำเนินการปราบปรามอย่างรุนแรง รวมถึงการสังหารและจับกุมผู้นำและผู้สนับสนุน [๑๑๓]
การลุกขึ้นต่อสู้ของฟัค (ชะฮีด ฟัค)
หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างยุคสมัยของอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) คือ การลุกขึ้นต่อสู้ของฟัคค์ ซึ่งเกิดขึ้นในปี ๑๖๙ ฮ.ศ. ระหว่างการปกครองของ อัลฮาดี อัลอับบาซี การลุกขึ้นต่อสู้นี้เป็นความพยายามของกลุ่มอะลาวีย์ที่ต้องการต่อสู้กับการปกครองที่ไร้ความยุติธรรมของราชวงศ์อับบาซียะฮ์ [๑๑๔]
จุดยืนของอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.)
ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า อิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) ได้สนับสนุนหรือคัดค้านการลุกขึ้นต่อสู้เหล่านี้ เขาไม่ได้เข้าร่วมการต่อสู้ใดๆ โดยตรง ซึ่งอาจจะสะท้อนให้เห็นถึงความรอบคอบและการยึดมั่นในหลักการ ตะกียะฮ์ เพื่อปกป้องชีวิตของท่านและชุมชนชาวชีอะฮ์
มีรายงานว่า ยะห์ยา บิน อับดุลลอฮ์ หนึ่งในผู้นำการลุกขึ้นต่อสู้ ได้ส่งจดหมายถึงอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) เพื่อแสดงความไม่พอใจที่เขาไม่ได้เข้าร่วมการลุกขึ้นต่อสู้ [๑๑๕]
ความสำคัญของแนวทางอิมาม
แม้จะไม่ได้มีบทบาทในทางการทหารหรือการลุกขึ้นต่อสู้อย่างเปิดเผย แต่แนวทางของอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) ในการยึดมั่นในจริยธรรม ความอดทน และการสนับสนุนชุมชนชาวชีอะฮ์ผ่านวิธีการอันสงบสุข ถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในยุคที่ชีอะฮ์เผชิญกับแรงกดดันอย่างรุนแรงจากอำนาจการปกครอง
รายงานจากแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เช่น อะห์มัด บิน อิบรอฮีม อัลฮะซะนีย์ และ อะห์มัด บิน ซะฮ์ล ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์ชีอะฮ์สายซัยดีย์ในศตวรรษที่ ๔ ฮ.ศ. กล่าวว่า ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ การลุกขึ้นต่อสู้ของฟัค อิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) อยู่ที่เมืองมักกะฮ์เพื่อประกอบพิธีฮัจญ์ [๑๑๖]
ในระหว่างเหตุการณ์ดังกล่าว มูซา บิน อีซา ซึ่งเป็นตัวแทนของราชวงศ์อับบาซียะฮ์ ได้เรียกตัวอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) มาอยู่กับเขา อิมามจึงอยู่ภายใต้การดูแลของมูซา บิน อีซา จนกระทั่งการลุกขึ้นต่อสู้สิ้นสุดลง [๑๑๗]
หลังจากการลุกขึ้นต่อสู้สิ้นสุดลง ราชวงศ์อับบาซียะฮ์ได้นำศีรษะของผู้นำการปฏิวัติ มาแสดงต่ออิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) [๑๑๘] ตามรายงานของ อะบุลฟะร็อจญ์ อัลอิศฟะฮานี อิมามได้อ่าน อายะฮ์ อิสติรญาอ์ (إنا لله وإنا إليه راجعون) ซึ่งหมายถึง แท้จริง เราเป็นของอัลลอฮ์ และแท้จริงเราจะกลับไปหาพระองค์ เขายังกล่าวชมเชยผู้นำการปฏิวัติว่า เป็นคนดีและมีคุณธรรม [๑๑๙]
ตามรายงานของอัล-บัยฮะกี ในหนังสือ ลุบาบ อัล-อันซาบ หลังจากศอฮิบฟัค เสียชีวิต อิมามกาซิม (อ.) ได้ทำการนมาซมัยยิตให้กับศพของเขา [๑๒๐]
อัลฮาดี อัลอับบาซี อ้างว่า การลุกขึ้นต่อสู้ของฟัคเกิดขึ้นตามคำสั่งของ อิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) ตามรายงานของ ซัยยิด อิบนุ เฏาะวูส นักวิชาการชีอะฮ์ในศตวรรษที่ ๗ ฮ.ศ. [๑๒๑] ในหนังสือ อัล-กาฟี ของ อัลกุลัยนี เขียนว่า เมื่อศอฮิบฟัคเรียกร้องให้อิมามให้สัตยาบัน เขาได้ปฏิเสธคำร้องขอนี้ พร้อมขอร้องไม่ให้ศอฮิบบังคับเขา [๑๒๒]
อับดุลลอฮ์ มามะกอนี เชื่อว่า การเรียกร้องให้อิมามให้สัตยาบัน เป็นเพียงการกระทำภายนอก เพื่อให้ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ตกอยู่ในมือของเขา หากการลุกขึ้นต่อสู้สำเร็จ ดังนั้น อิมามจึงได้ปฏิเสธการสนับสนุนอย่างเปิดเผย แต่ในใจของเขารู้สึกพอใจกับเป้าหมายของการลุกขึ้นต่อสู้นี้ ซึ่งสะท้อนผ่านคำขอความเมตตาที่เขากล่าวถึงหลังจากศอฮิบฟัคถูกสังหาร [๑๒๓]
ในทางตรงกันข้าม นักค้นคว้าวิจัยบางคนเห็นว่า แม้รายงานบางฉบับจะชมเชยศอฮิบฟัค แต่ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า อิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) สนับสนุนการลุกขึ้นต่อสู้ครั้งนี้ [๑๒๔]
เราะซูล ญะอ์ฟะรียอน นักประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ ๑๕ ฮ.ศ. ระบุว่า แม้การลุกขึ้นต่อสู้ของฟัค จะเป็นหนึ่งในความพยายามต่อต้านราชวงศ์อับบาซียะฮ์ ที่บริสุทธิ์ที่สุดของกลุ่มอะลาวีย์ แต่ก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่า มีคำสั่งจากอิมามให้สนับสนุนการลุกขึ้นต่อสู้นี้ นอกจากนี้ ยังมีความขัดแย้งระหว่างชีอะฮ์อิมามียะฮ์และกลุ่มอะลาวีย์ที่อาจเป็นเหตุให้ชีอะฮ์ไม่เห็นด้วยกับการลุกขึ้นต่อสู้ดังกล่าว [๑๒๕]
การถูกจองจำ
ตลอดช่วงการดำรงตำแหน่งอิมามะฮ์ของอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) เขาถูกจับกุมและคุมขังหลายครั้งโดยราชวงศ์อับบาซียะฮ์ การจับกุมครั้งแรกเกิดขึ้นในรัชสมัยของ อัลมะฮ์ดี อัลอับบาซี ซึ่งเขาถูกนำตัวจากเมืองมะดีนะฮ์ไปยังกรุงแบกแดด [๑๒๖]
ในรัชสมัยของ ฮารูน อัร-รอชีด อิมามถูกจับกุมสองครั้ง ครั้งแรกไม่มีการระบุวันที่แน่ชัด ส่วนครั้งที่สองเกิดขึ้นในวันที่ ๒๐ เชาวาล ปี ๑๗๙ ฮ.ศ. ณ เมืองมะดีนะฮ์ [๑๒๗] และถูกนำตัวไปคุมขังในบ้านของอีซา บิน ญะอ์ฟัร ที่เมืองบัศเราะฮ์ในวันที่ ๗ ซุลฮิจญะฮ์ [๑๒๘]
ตามรายงานของ เชค มุฟีด ระบุว่า ฮารูน อัร-รอชีดได้ส่งจดหมายถึงอีซา บิน ญะอ์ฟัร ในปี ๑๘๐ ฮ.ศ. เพื่อสั่งให้เขาสังหารอิมาม แต่เขาปฏิเสธคำสั่งดังกล่าว [๑๒๙] หลังจากนั้น อิมากาซิมจึงถูกย้ายไปคุมขังในคุกของ ฟัฎล์ บิน เราะบีอ์ ที่กรุงแบกแดด ต่อมา เขาถูกส่งไปยังคุกของ ฟัฎล์ บิน ยะฮ์ยา และในที่สุด เขาใช้ช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตในคุกของ ซินดี บิน ชาฮัก [๑๓๐]
ในบทซิยาเราะฮ์ของอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) ได้กล่าวถึงเขาว่า الْمُعَذَّبِ فِي قَعْرِ السُّجُون
(ผู้ถูกทรมานในคุกใต้ดิน) [๑๓๑] และคำว่า ظُلَمالمطامير
ซึ่งหมายถึงคุกที่มืดมิดและแคบ จนไม่สามารถเหยียดขาหรือนอนได้
นอกจากนี้ คุกใต้ดินในกรุงแบกแดดยังมีความชื้นสูง เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำไทกริส ทำให้สภาพความเป็นอยู่เลวร้ายมากยิ่งขึ้น [๑๓๒]
สาเหตุการถูกจองจำ
มีรายงานหลายแหล่งที่กล่าวถึงสาเหตุที่ อิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) ถูกจับกุมและคุมขัง บางรายงานระบุว่า การจับกุมเขาเกิดจาก ยะฮ์ยา อัล-บัรมะกี ซึ่งอิจฉาเขา และการพูดใส่ร้ายของ อะลี บิน อิสมาอีล บิน ญะอ์ฟัร หลานชายของเขา ที่นำเรื่องไปแจ้งต่อ ฮารูน อัร-รอชีด [๑๓๓]
นอกจากนี้ ฮารูนยังมีความกังวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างอิมามกับชีอะฮ์ เพราะเขาเกรงว่า ความเชื่อมั่นของชีอะฮ์ในตัวอิมามจะทำให้อำนาจของเขาสั่นคลอน [๑๓๔]
อีกสาเหตุหนึ่งที่ถูกกล่าวถึงคือ ชีอะฮ์บางคน เช่น ฮิชาม บิน อัล-ฮะกัม ไม่ปฏิบัติตามหลัก ตะกียะฮ์ แม้ว่า อิมามจะกำชับให้พวกเขาปฏิบัติก็ตาม [๑๓๕] การเสวนาวิชาการของฮิชาม บิน อัล-ฮะกัม ยังถูกระบุว่า เป็นหนึ่งในเหตุผลที่นำไปสู่การจับกุมและคุมขังอิมาม [๑๓๖]
การเป็นชะฮีด
ช่วงสุดท้ายของชีวิต อิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) ถูกคุมขังในคุกของ ซินดี บิน ชาฮัก ตามรายงานของเชคมุฟีด ซินดีได้วางยาพิษอิมามตามคำสั่งของ ฮารูน อัร-รอชีด และอิมามได้เป็นชะฮีด หลังจากนั้นสามวัน [๑๓๗]
ตามคำกล่าวที่ถูกรู้จัก [๑๓๘] ระบุว่า อิมามเป็นชะฮีดในวันศุกร์ที่ ๒๕ เราะญับ ปี ๑๘๓ฮ.ศ. ในกรุงแบกแดด [๑๓๙] ขณะเดียวกัน เชคมุฟีดกล่าวว่า วันที่การเป็นชะฮีดของอิมาม คือ วันที่ ๒๔ เราะญับ [๑๔๐] ยังมีรายงานอื่น ๆ ที่กล่าวถึงปีการเป็นชะฮีด เป็นปี ๑๘๑ ฮ.ศ. และ ๑๘๖ ฮ.ศ. [๑๔๑] [๑๔๒]
ในหนังสือ มะนากิบ รายงานจาก อัคบารุลคุละฟา มีรายงานว่า หลังจากที่อิมามกำหนดขอบเขตของฟะดัก ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เทียบเท่ากับอาณาเขตของราชวงศ์อับบาซียะฮ์ ฮารูน อัร-รอชีดมีความโกรธอย่างมากและตัดสินใจที่จะสังหารอิมาม [๑๔๓]
หลังจากอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) เป็นชะฮีด ซินดี บิน ชาฮัก ได้นำนักนิติศาสตร์และบุคคลสำคัญของกรุงแบกแดดมาดูศพของอิมาม เพื่อพิสูจน์ว่าอิมามเสียชีวิตโดยธรรมชาติและไม่มีร่องรอยการถูกทำร้าย จากนั้นจึงได้นำศพของเขามาวางบนสะพานในกรุงแบกแดด พร้อมประกาศว่า เขาเสียชีวิตโดยธรรมชาติ [๑๔๔] นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า อิมามถูกวางยาพิษโดย ยะห์ยา บิน คอลิด และซินดี บิน ชาฮัก [๑๔๕ ] [๑๔๖] ขณะที่บางรายงานกล่าวว่า เขาถูกสังหารโดยการพันในพรม [๑๔๗]
การนำศพของเขามาแสดงต่อสาธารณชนมีเหตุผลสองประการ ดังนี้ ประการแรก : เพื่อพิสูจน์ว่า เขาเสียชีวิตโดยธรรมชาติ และอีกประการหนึ่ง เพื่อหักล้างความเชื่อของบางคนที่มองว่า เขาคือ อิมามมะฮ์ดี (อ.) [๑๔๘]
สุสาน
ศพของอิมามถูกนำมาฝังในสุสานครอบครัวของ มันซูร อัด-ดะวานีกี ซึ่งรู้จักกันในชื่อ มะกอบีร กุร็อยช์ [๑๔๙] ตามรายงานในหนังสือ อิษบาต อัล-วะศียะฮ์ อิมามได้ซื้อที่ดินนี้ก่อนที่จะเสียชีวิต [๑๕๐]
สถานที่ฝังศพของอิมามกาซิม (อ.) เป็นที่รู้จักในชื่อ ฮะร็อม กาซิมัยน์ มีการกล่าวว่า สาเหตุที่ราชวงศ์อับบาซียะฮ์เลือกฝังศพของอิมามในที่แห่งนี้ เนื่องจากพวกเขากลัวว่า หากศพของอิมามถูกฝังไว้ที่อื่น สถานที่นั้นอาจกลายเป็นจุดรวมตัวและศูนย์รวมของชีอะฮ์ [๑๕๑]
ปัจจุบัน สถานที่ฝังศพของอิมามกาซิม (อ.) และอิมามญะวาด (อ.) ตั้งอยู่ในพื้นที่กาซิมัยน์ในกรุงแบกแดด ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ฮะร็อม กาซิมัยน์ และเป็นสถานที่การซิยาเราะฮ์ของบรรดามุสลิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับชาวชีอะฮ์ ตามรายงานจาก อิมามริฎอ (อ.) การซิยาเราะฮ์ที่สุสานของอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) มีความสำคัญเทียบเท่ากับการซิยาเราะฮ์ที่สุสานของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ.) อิมามอะลี (อ.) และอิมามฮุเซน (อ.) [๑๕๒]
สหายและบรรดาตัวแทน
ไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดเกี่ยวกับจำนวนสหายของอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) และมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับจำนวนนี้ : เชค ฏูซีย์ รายงานว่า มีสหาย ๒๗๒ คน [๑๕๓]
อัล-บัรกี รายงานว่า มีสหาย ๑๖๐ คน [๑๕๔]
บากิร ชะรีฟ อัลกุเราะชี ผู้เขียนหนังสือ ฮะยาต อัลอิมาม มูซา บิน ญะอ์ฟัร ปฏิเสธคำกล่าวของอัลบัรกี และรายงานว่า มีสหาย ๓๒๑ คน [๑๕๕]
สหายบางคนของอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) มีดังนี้ :
อะลี บิน ยักฏีน ฮิชาม บิน อัลฮะกัม ฮิชาม บิน ซาลิม มุฮัมมัด บิน อะบีอุมัยร์ ฮัมมาด บิน อีซา ยูนุส บิน อับดุรเราะห์มาน ศ็อฟวาน บิน ยะห์ยา ศ็อฟวาน อัล-ญัมมาล [๑๕๖]
บางคน เช่น ศ็อฟวาน บิน ยะห์ยา [๑๕๗] และ มุฮัมมัด บิน อะบีอุมัยร์ [๑๕๘] ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสหายที่ได้รับการยอมรับ (อัศฮาบ อิจญ์มาอ์ ) หลังจากที่อิมามเป็นชะฮีด สหายบางคนของเขา เช่น อะลี บิน อะบีฮัมซะฮ์ อัลบะฏาอินี ซิยาด บิน มัรวาน และ อุษมาน บิน อีซา ไม่ยอมรับการเป็นอิมามของอะลี บิน มูซา อัร-ริฎอ (อ.) และหยุดอยู่ที่การเป็นอิมามของมูซา บิน ญะอ์ฟัร (อ.) [๑๕๙] กลุ่มนี้รู้จักกันในชื่อ วากิฟียะฮ์ ต่อมาบางคนในกลุ่มนี้ได้ยอมรับการเป็นอิมามของอิมามริฎอ (อ.) [๑๖๐]
องค์กรตัวแทน(วะกาละฮ์)
อิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) ได้ขยายองค์กรตัวแทน ซึ่งเริ่มต้นในยุคสมัยของอิมามญะอ์ฟัร อัศ-ศอดิก (อ.) เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับชีอะฮ์และเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ เขาได้ส่งสหายบางคนไปเป็นตัวแทนในภูมิภาคต่าง ๆ มีรายงานว่า มีตัวแทน ๑๓ คนที่ถูกกล่าวถึงในแหล่งข้อมูล [๑๖๑] ตัวแทนในภูมิภาคต่าง ๆ :
อะลี บิน ยักฏีน และ มุฟัฎฎ็อล บิน อุมัร เป็นตัวแทนในเมืองกูฟะฮ์ อับดุรเราะห์มาน บิน ฮัจญาจ ในกรุงแบกแดด ซิยาด บิน มัรวาน ในเมืองกันดาฮาร์ อุษมาน บิน อีซา ในอียิปต์ อิบรอฮีม บิน ซะลาม ในเมืองนีชาบูร อับดุลลอฮ์ บิน ญุนดับ ในเมืองอะห์วาซ [๑๖๒]
มีรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับการที่บรรดาชีอะฮ์ส่งคุมุส (ภาษีหนึ่งในห้า) ของพวกเขาให้อิมามหรือตัวแทนของเขา เชค ฏูซีย์ รายงานว่า สาเหตุที่ตัวแทนบางคนเข้าร่วมกลุ่มวากิฟียะฮ์ คือ การถูกหลอกโดยทรัพย์สินที่พวกเขารวบรวมไว้ [๑๖๓] ในรายงานของอะลี บิน อิสมาอีล บิน ญะอ์ฟัร ถึงฮารูน ซึ่งนำไปสู่การจับกุมอิมาม ระบุว่า : มีทรัพย์สินจำนวนมากถูกส่งมาจากตะวันออกและตะวันตกให้อิมาม และอิมามมีคลังสมบัติที่มีเหรียญต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก [๑๖๔]
การติดต่อผ่านจดหมาย
อิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) ยังใช้การเขียนจดหมายเพื่อติดต่อกับบรรดาชีอะฮ์ในเรื่องต่างๆ เช่น ประเด็นนิติศาสตร์ ความศรัทธา คำตักเตือน บทดุอาอ์ และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับตัวแทนทั้งหลาย มีรายงานว่า อิมามได้เขียนจดหมายจากภายในคุก [๑๖๕] เพื่อตอบคำถามของบรรดาสหายของเขา [๑๖๖] [๑๖๗]
สถานภาพของอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) ในสายตาของอะฮ์ลุสซุนนะฮ์
อะฮ์ลุสซุนนะฮ์ ให้ความเคารพต่อ อิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) ในฐานะนักวิชาการศาสนาและผู้มีความรู้เชิงลึกในด้านศาสนา บุคคลสำคัญบางคนในหมู่อะฮ์ลุสซุนนะฮ์ได้สรรเสริญความรู้ ความอดทน ความเอื้อเฟื้อ การกระทำอะมั้ลอิบาดะฮ์อย่างมากมาย รวมถึงคุณลักษณะทางจริยธรรมที่โดดเด่นของเขา [๑๖๘] [๑๖๙] นอกจากนี้ ยังมีรายงานในแหล่งข้อมูลของอะฮ์ลุสซุนนะฮ์ที่ยืนยันถึงความเคร่งครัดในการกระทำอิบาดะฮ์และความอดทนของเขา [๑๗๐]
การให้ความเคารพและการขอความช่วยเหลือ
ซัมอานี นักประวัติศาสตร์ นักรายงานฮะดีษ และนักนิติศาสตร์ของมัซฮับชาฟิอีในศตวรรษที่ 6 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช เคยไปเยี่ยมหลุมฝังศพของอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) และขอความช่วยเหลือจากเขา [๑๗๑] อบูอะลี ค็อลลาล นักวิชาการของอะฮ์ลุสซุนนะฮ์ในศตวรรษที่ 3 ฮิจเราะฮ์ กล่าวว่า :
ทุกครั้งที่ฉันประสบปัญหา ฉันจะไปเยี่ยมหลุมฝังศพของมูซา บิน ญะอ์ฟัร (อ.) และขอความช่วยเหลือจากท่าน ปัญหาของฉันก็จะได้รับการแก้ไข [๑๗๒]
อิมามชาฟิอี หนึ่งในนักนิติศาสตร์ของทั้งสี่มัซฮับของอะฮ์ลุสซุนนะฮ์ กล่าวถึงหลุมฝังศพของอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) ว่า :
หลุมฝังศพของมูซา บิน ญะอ์ฟัร (อ.) เป็นยารักษาโรค [๑๗๓]
แหล่งอ้างอิง
มีผลงานจำนวนมากเกี่ยวกับ อิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) ซึ่งได้รับการจัดพิมพ์ในรูปแบบของหนังสือ วิทยานิพนธ์ และบทความในภาษาต่าง ๆ รวมถึงกว่า ๗๗๐ ชิ้น [๑๗๔] ผลงานเหล่านี้มีความหลากหลายและครอบคลุมหลายด้าน โดยเฉพาะเรื่อง ชีวิตและบุคลิกภาพของอิมาม เช่น หนังสือ บรรณานุกรมของอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) [๑๗๕] และ บรรณานุกรมของกาซิมัยน์ [๑๗๖] รวมถึงบทความ บรรณานุกรมของอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.) [๑๗๗] ซึ่งได้แนะนำผลงานเกี่ยวกับอิมามกาซิม (อ.) นอกจากนี้ ยังมีการจัดสัมมนาเรื่อง ชีวประวัติและยุคสมัยของอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.)) ในเดือนบะฮ์มาน ปี ๑๓๙๒ (ปฏิทินอิหร่าน ในอิหร่าน ซึ่งมีบทความต่างๆจากการสัมมนานี้ได้รับการจัดพิมพ์ในชื่อ รวมบทความจากการสัมมนาเกี่ยวกับชีวประวัติของอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.)) [๑๗๘]
ตัวอย่างผลงานเกี่ยวกับอิมามมูซา อัล-กาซิม (อ.)
มุซนัดอัลอิมามอัลกาซิม ประพันธ์โดย อะซีซุลลอฮ์ อัฏฏอรดี
บาบุลฮะวาอิจญ์ อัลอิมาม มูซา อัลกาซิม ประพันธ์โดย ฮุเซน ฮัจญ์ ฮะซัน
ฮะยาตุลอิมาม มูซา บิน ญะอ์ฟัร ประพันธ์โดย มุฮัมมัดบากิร ชะรีฟ อัลกุเราะชี
อิมามอัลกาซิม อินดะ อะฮ์ลิสซุนนะฮ์ ประพันธ์โดย ฟาริส อัลฮัสซูน
ซีเราะตุลอิมาม มูซา อัลกาซิม (อ.) ประพันธ์โดย อับดุลลอฮ์ อะห์มัด ยูซุฟ