อิมามนำนมาซญุมอะฮ์

จาก wikishia

อิมามนำนมาซญุมอะฮ์ คือ ผู้ที่นำนมาซในวันศุกร์(ญุมอะฮ์) ตามคำฟัตวาของบรรดาฟะกีฮ์ ถือว่า ผู้ที่จะปฏิบัตินมาซญุมอะฮ์ เขาต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ เป็นผู้ที่มีความยุติธรรม มีการถือกำเนิดอย่างถูกต้องตามหลักการศาสนา มีความศรัทธาในอิมามทั้งสิบสอง เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ และเป็นผู้ชาย

ตามรายงานจากประวัติศาสตร์ ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และอิมามอะลี (อ.) ได้ทำนมาซญุมอะฮ์ หรือพวกเขาได้แต่งตั้งผู้อื่นให้ทำนมาซญุมอะฮ์ ในการปกครองของรัฐอิสลาม อิมามนำนมาซญูมอะฮ์ ถือเป็นตำแหน่งของรัฐฯ ด้วยเหตุนี้เอง บรรดาผู้ปกครองจึงทำนมาซญุมอะฮ์ ด้วยตัวของพวกเขาเอง หรือพวกเขาได้แต่งตั้งอิมามประจำวันศุกร์ ตัวอย่างเช่น ในสมัยการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ อับบาซียะฮ์ อุษมานียะฮ์ และราชวงศ์ศอฟาวียะฮ์ บรรดาผู้ปกครองได้แต่งตั้งอิมามญุมอะฮ์

และในสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน มีสภาสูงสูดในการแต่งตั้งบรรดาอิมามญุมอะฮ์ ซึ่งบรรดาสมาชิกของสภานี้ ได้รับการแต่งตั้งมาจากผู้นำสูงสุด โดยที่พวกเขาเหล่านั้นมีหน้าที่ในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการนมาซญุมอะฮ์ในเมืองต่างๆ

นมาซญุมอะฮ์

อิมามนำนมาซญุมอะฮ์ คือ ผู้ที่นำนมาซในวันศุกร์ (1) การนมาซวันศุกร์ เป็นการนมาซที่มีสองรอกะอัต ในช่วงเที่ยงของวันศุกร์แทนการนมาซซุฮ์ริ และเป็นการนมาซแบบรวมเป็นหมู่คณะ

ตามคำฟัตวาของบรรดาฟะกีฮ์ของชีอะฮ์ กล่าวว่า การนมาซนี้หากอยู่ในสมัยของการปรากฏของอิมามประจำยุคสมัยหรือได้รับอนุญาตให้กระทำหรือตัวแทนของเขา ถือเป็นการนมาซที่เป็นวาญิบ (ข้อบังคับ) (2) บรรดาฟะกีฮ์ มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในหลักการนมาซญุมอะฮ์ในยุคฆ็อยบะฮ์ (การเร้นหาย)ของอิมามแห่งยุคสมัย

ชะฮีดเอาวัล กล่าวว่า ส่วนมากของบรรดาฟะกีฮื มีความคิดเห็นว่า เป็นที่อนุญาตให้กระทำนมาซญุมอะฮ์ในยุคแห่งการฆ็อยบะฮ์ ขณะเดียว นักนิติศาสตร์ ดั่งเช่น ซัลลาร ดัยละมี ซัยยิดมุรตะฎอ และซัยยิดอิบนุอิดรีซ ฮิลลี เหล่าฟะกีฮ์ของชีอะฮ์ในศตวรรษที่ห้าและที่หกแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช ไม่ถือว่า การนมาซญุมอะฮ์ เป็นที่อนุญาตแต่อย่างใด (3)

อิมามนำนมาซญุมอะฮ์ เป็นตำแหน่งของรัฐฯ

ตามคำกล่าวของ รอซูล ญะอ์ฟะรียอน นักประวัติศาสตร์ชาวชีอะฮ์ ตำแหน่งอิมามนำนมาซญุมอะฮ์ เป็นตำแหน่งของรัฐฯมาโดยตลอด(4)ในช่วงเริ่มต้นของอิสลาม การนำนมาซวันศุกร์โดยท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) )5) อิมามอะลี (อ.) หรือบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากพวกเขา(6) นอกจากนี้ ในระบอบการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ อับบาซียะฮ์ และอุษมานียะฮ์ ตัวของคอลีฟะฮ์ เอง หรือตัวแทนของพวกเขาได้ทำพิธีการนมาซในวันศุกร์ และบรรดาคอลีฟะฮ์(กาหลิบ) ได้แต่งตั้งอิมามญุมอะฮ์ ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางของการปกครอง และการเลือกบรรดาอิมามญุมอะฮ์ของเมืองอื่น ๆ เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ว่าการและผู้ปกครองเมืองต่างๆ

ในอิหร่าน ในช่วงยุคสมัยของราชวงศ์ศอฟาวี (907-1135 ฮ.ศ.) เหล่ากษัตริย์ได้แต่งตั้งอิมามญุมอะฮ์(8) ในช่วงสมัยนี้ โดยปกติแล้ว ชัยคุลอิสลามของแต่ละเมือง จะดำรงตำแหน่งนี้ แต่บางครั้งบรรดานักการศาสนาที่ไม่ใช่ชัยคุลอิสลาม เช่น มุลลามุฮ์ซิน เฟฎ กาชานี เข้ารับตำแหน่งอิมามญุมอะฮ์ตามคำร้องขอของชาห์ (9) มุฮักกิก กะรากี เชคบะฮาอี มิรดามาด มุฮัมมัดตะกี มัจญ์ลิซี อัลลามะฮ์ มัจญ์ลิซี มุฮัมมัด บากิร ซับซ์วารี และลุฏฟุลลอฮ์ อิสฟาฮานี ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนดำรงตำแหน่งอิมามญุมอะฮ์ในยุคสมัยนี้ทั้งสิ้น (10)ในยุคสมัยราชวงศ์กาญาร (1210-1344 ฮ.ศ.) ตำแหน่งอิมามญุมอะฮ์ กลายเป็นตำแหน่งที่สืบทอดตามเชื้อสายและครอบครัว คอตูน ออบอดี และ มัจญ์ลิซี เป็นอิมามญุมอะฮ์ในกรุงเตหะรานและอิสฟาฮาน (11)

เงื่อนไขและหลักปฏิบัติ

เงื่อนไขของอิมามวันศุกร์ เหมือนกับเงื่อนไขของอิมามญะมาอะฮ์ [12] ในแหล่งข้อมูลทางนิติศาสตร์ ระบุว่า การมีสติปัญญา [13] บรรลุนิติภาวะ [14] อีหม่าน [15] ความยุติธรรม [16] [หมายเหตุที่ 1] และการถือกำเนิดโดยฮะลาล ‎‎[17] อยู่ในเงื่อนไขต่างๆของอิมามญะมาอะฮ์ [18] การเป็นผู้ชาย ก็เป็นหนึ่งในเงื่อนไขอื่น ๆ สำหรับอิมามวันศุกร์ ‎และอิมามวันศุกร์ที่เป็นผู้หญิงถือว่า ไม่ถูกต้อง แม้แต่กับผู้หญิงกันเองก็ตาม

ตามฟัตวาของบรรดานักนิติศาสตร์ ระบุว่า อิมามวันศุกร์ควรพูดจาอย่างไพเราะและชัดเจน มีความใส่ใจกับเวลาของนมาซ โดยการปฏิบัติตามคำพูดของเขา (20) สวมผ้าโพกหัวในระหว่างการเทศนา การพิงไม้เท้าหรืออาวุธ และการยืนผินหน้าไปยังผู้นมาซ (21)‎

อิมามโคมัยนี (ร.ฮ.) กล่าวว่า การดำรงตำแหน่งอิมามวันศุกร์ในการปกครองของอิสลาม จะต้องได้รับอนุญาตจากวะลียุลฟะกีฮ์ [22] ในสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน สภากำหนดนโยบายของอิมามวันศุกร์ ซึ่งบรรดาสมาชิกได้รับการแต่งตั้งจากวะลียุลฟะกีฮ์ มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการนมาซในวันศุกร์ [23]‎

ซัยยิดมะฮ์มูด ตอลิกอนี เป็นอิมามวันศุกร์คนแรกของกรุงเตหะราน หลังจากการปฏิวัติอิสลาม [24] เขาเป็นผู้นำการนมาซวันศุกร์ครั้งแรกในกรุงเตหะรานในสาธารณรัฐอิสลาม เมื่อวันที่ 5 มุรดอด 1358 (สุริยคติ) [25] อิมามวันศุกร์ครั้งที่สองของกรุงเตหะราน คือ อายะตุลลอฮ์ ฮุเซนอะลี มุนตะซะรี และหลังจากนั้นเขา อายะตุลลอฮ์ ซัยยิดอะลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอิมามวันศุกร์แห่งประจำกรุงเตหะราน ‎โดยอิมามโคมัยนี เมื่อวันที่ 24 เดือนเดย์ 1358 สุริยคติ (26)‎

ในอิหร่าน นอกจากมีอิมามวันศุกร์แบบถาวร ยังมีการแต่งตั้งอิมามวันศุกร์แบบชั่วคราวสำหรับนมาซวันศุกร์ ในกรณีที่อิมามวันศุกร์แบบถาวรติดภารกิจ หรือมีอุปสรรคในการเข้าร่วม อายะตุลลอฮ์ อะฮ์มัด ญันนะตี อายะตุลลอฮ์ ‎มุฮัมมัด อิมามี กาชานี อายะตุลลอฮ์ อักบัร ฮาชิมี รัฟซันญานี และซัยยิด ฮะซัน ฏอฮิรี โครรัมออบอดี เหล่านี้คืออิมามวันศุกร์ชั่วคราวในประจำกรุงเตหะราน ในช่วงของการเป็นอิมามวันศุกร์ของอายะตุลลอฮ์ คาเมเนอี [27]‎ อิมามวันศุกร์ที่เป็นชะฮีด

ในยุคสมัยสาธารณรัฐอิสลาม อิมามวันศุกร์บางคนเป็นชะฮีดในระหว่างการนมาซวันศุกร์ และเป็นที่รู้จักในนามชะฮีดมิฮ์รอบ พวกเขา คือ ซัยยิดมุฮัมมัดอะลี กอฎี ฏอบาฏอบาอี, ซัยยิดอะซะดุลลอฮ์ มะดะนี, ซัยยิดอับดุลฮุเซน ‎ดัสฆีบ, มุฮัมมัด ศอดูกี และอะฎออุลลอฮ์ อัชราฟี อิสฟาฮานี (28)‎