อิคฟาต

จาก wikishia

อิคฟาต (ภาษาอาหรับ: الإخفات) หมายถึง การอ่านด้วยเสียงเบาๆในคำอ่านของนมาซ เช่น การอ่านตัสบีฮาตอัรบะอะฮ์ ซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์และซูเราะฮ์อื่นๆในนมาซซุฮ์ริ และอัศริ จำเป็นที่จะต้องอ่านด้วยเสียงเบา อิคฟาตในนมาซนาฟิละฮ์ นมาซมุสตะฮับ และในหลายกรณี เช่น นมาซอายาต ถือว่าเป็นที่อนุญาตให้กระทำได้

ความหมาย

อิคฟาต ซึ่งตรงกันข้ามกับคำว่า ญะฮ์ร์ (การอ่านด้วยเสียงดัง)หมายถึง การอ่านด้วยเสียงเบา (1) ในหนังสือฟิกฮ์ ใช้คำนี้ในประเด็นของการอ่านในนมาซ (2) ส่วนมากของบรรดานักนิติศาสตร์ ถือว่า มาตรฐานของอิคฟาต คือ การไม่เปร่งเสียงออกมา(3)และการแยกแยะขึ้นอยู่กับบรรทัดฐานทางสังคม (อุรฟ์)

กรณีต่างๆที่เป็นวาญิบต้องอิคฟาต

ในกรณีต่างๆที่จำเป็นจะต้องอ่านด้วยเสียงเบา:

  1. ซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์ และซูเราะฮ์อื่นๆ ในนมาซซุฮ์ริ และอัศริ ยกเว้น นมาซซุฮ์ริของวันศุกร์ (5.)
  2. ตัสบีฮาตอัรบะอะฮ์ในนมาซซุฮ์ริ อัศริ มัฆริบและอิชาอ์ (6.)
  3. การอ่านนมาซของมะอ์มูมในนมาซญะมาอะฮ์ (7.)
  4. การนมาซของผู้หญิงที่เป็นนอมะฮ์รัม เมื่อได้ยินเสียงของนางและความหวาดกลัวที่จะเกิดการกระทำที่ชั่วร้าย (8.)
  5. ซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์ในนมาซอิฮ์ติยาฏ (9.)

ตามคำฟัตวาของส่วนมากของบรรดามัรญิอ์ตักลีด ระบุว่า การไม่ระมัดระวังในอิคฟาตอย่างตั้งใจ เป็นสาเหตุทำให้นมาซเป็นโมฆะ แน่นอนว่า หากกระทำด้วยการหลงลืมหรือละเลย จะไม่เป็นสาเหตุทำให้นมาซเป็นโมฆะแต่อย่างใด (10.)

กรณีต่างๆที่เป็นมุสตะฮับและอนุญาตให้อิคฟาต

กรณีต่างๆต่อไปนี้ ถือเป็นมุสตะฮับที่สามารถอิคฟาตได้:

  1. ในนมาซมุสตะฮับที่จะต้องกระทำในช่วงกลางวัน(11.)
  2. การกล่าวอะอูซุ บิลลาฮิ มินัชชัยฏอนิร เราะญีม ก่อนอ่านซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์ (12.)

นอกจากนี้ ในหลายกรณีด้วยกันที่อนุญาตให้อิคฟาตได้และผู้ทำการนมาซ สามารถที่จะอ่านด้วยเสียงเบาหรือด้วยเสียงดัง:

  1. ซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์และซูเราะฮ์อื่นๆในนมาซศุบฮ์ มัฆริบและอิชาอ์ สำหรับผู้หญิง หากว่านอมะฮ์รัมไม่ได้ยินเสียงของนาง (13.)
  2. การกล่าวคำอ่านในนมาซที่มิใช่ซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์และซูเราะฮ์และตัสบีฮาตอัรบะอะฮ์ (14.)
  3. การทำนมาซอายาตและนมาซเฏาะวาฟ (15.)

ปรัชญาของญะฮ์ร์และอิคฟาต

ตามรายงานฮะดีษจากหนังสืออิลาลุชชะรออิอ์ ได้กล่าวถึงเหตุผลของการอ่านญะฮ์ร์และอิคฟาต ในนมาซ เนื่องจากนมาซศุบฮ์ และมัฆริบและอิชาอ์ ในช่วงเวลาที่อยู่ในความมืด ดังนั้นจึงทำนมาซเหล่านี้ด้วยการอ่านเสียงดัง เพื่อที่จะทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า มีการนมาซญะมาอะฮ์ อยู่ แต่ทว่า ในนมาซซุฮ์ริและอัศริ เนื่องจากเป็นการนมาซในช่วงกลางวัน และการนมาซนี้สามารถที่จะมองเห็นได้จึงไม่จำเป็นที่จะต้องอ่านเสียงดัง (16) การกระทำนี้ หลังจากนั้น เมื่อมัสญิดได้มีการติดตั้งแสงสว่างก็ดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง[17]

เชิงอรรถ

บรรณานุกรม