อับดุลมะลิก อัลฮูษีย์

จาก wikishia

อับดุลมะลิก อัลฮูษีย์ (ภาษาอาหรับ  : عبد الملك الحوثي) เป็นผู้นำคนที่สามของขบวนการอันศอรุลลอฮ์ของเยเมน เขาเป็นผู้สนับสนุนเอกภาพอิสลามและเป็นผู้พิทักษ์ปาเลสไตน์ ในระหว่างที่เขาเป็นผู้นำขบวนการอันศอรุลลอฮ์ของเยเมนต้องเผชิญกับการรุกรานทางทหารโดยกลุ่มพันธมิตรชาติอาหรับที่ประกอบด้วยประเทศอาหรับหลายประเทศ รวมถึงซาอุดีอาระเบีย ขบวนการอันศอรุลลอฮ์ของเยเมน ที่นำโดย อับดุลมะลิก สามารถโจมตีเป้าหมายในซาอุดีอาระเบียได้

หนึ่งในการปฏิบัติการของขบวนการอันศอรุลลอฮ์ ในช่วงการเป็นผู้นำของอับดุลมะลิก คือ การโจมตีด้วยขีปนาวุธต่ออิสราเอล และการกำหนดเป้าหมายทางเรือที่เกี่ยวข้องกับระบอบรัฐเถื่อนนี้ในทะเลแดงและท่าเรือบาบุลมันดับ เพื่อสนับสนุนประชาชนชาวกาซ่า ปฏิบัติการทางทหารของอับดุลมะลิก อัลฮูษีย์ นำไปสู่การคว่ำบาตรของเขา โดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและรัฐบาลสหรัฐอเมริกา

ชีวประวัติ

อับดุลมะลิก อัลฮูษีย์ ผู้นำคนที่สามของขบวนการอันศอรุลลอฮ์ เยเมน ต่อจากฮุเซน พี่ชายของเขา และบัดรุดดีน บิดาของเขา (1) ตามรายงาน ระบุว่า เขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนี้ โดยบิดาของเขา บัดรุดดิน (2) บางคนบอกว่า การเริ่มเป็นผู้นำของเขาในขบวนการอันศอรุลลอฮ์ ปี 2010 (ปีแห่งการเสียชีวิตของบาดรุดดิน) [3] และบางคนบอกว่า ปี 2004 (ปีที่ ฮุเซน อัลฮูษีย์ ถูกสังหาร) [4] และบางคนบอกว่า ปี 2006 [5]

อับดุลมะลิก ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญทางการเมืองมากที่สุดในโลก (6) ด้วยความเฉลียวฉลาดและความแข็งแกร่งของเขา [7] หนึ่งในคุณลักษณะต่างๆที่พิเศษของเขา กล่าวได้ว่า เขาขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ที่ยาวนาน โดยไม่มีการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร และยังกล่าวถึงประเด็นของปาเลสไตน์อีกด้วย (8)

อับดุลมะลิก เกิดที่จังหวัดเศาะดา บิดาของเขา คือ บัดรุดดีน เป็นหนึ่งในผู้นำสูงสุดทางศาสนาของซัยดียะห์ และปู่ของเขา คือ อะมีรุดดีน เป็นหนึ่งในนักวิชาการที่มีชื่อเสียงของภูมิภาคนี้ [9] วันที่ถือกำเนิดของเขา คือ ปี 1979 แต่มีการประกาศว่า ปี 1982 [10 ] เขาได้รับฉายาว่า อบู ญิบรีล [11] เนื่องจากเขามีเชื้อสายจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เขาจึงได้รับฉายาว่า ซัยยิด [12] อับดุลมะลิก ศึกษาวิชาการทางศาสนา [13] และวรรณคดีอาหรับจากบิดาของเขา เขาไม่ได้ศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (14)

คุณลักษณะพิเศษและมุมมองต่างๆ

ตามความเชื่อของผู้เชี่ยวชาญ ระบุว่า หลังจากการถูกสังหารเสียชีวิตของฮุเซน ผู้เป็นพี่ชาย อับดุลมะลิก อัลฮูษีย์ ในฐานะที่เป็นผู้บัญชาการ สามารถป้องกันการรุกคืบของกองกำลังทหารของรัฐบาลเยเมนได้ [15] ความเป็นผู้นำของอับดุลมะลิก ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในความสำเร็จของขบวนการอันศอรุลลอฮ์ เยเมน ในการต่อต้านซาอุดีอาระเบีย [16] ความแข็งแกร่งของอับดุลมะลิก อันเป็นผลมาจากความนิยมอย่างกว้างขวางของเขา [17] กล่าวได้ว่า เขาสามารถดึงดูดชาวเยเมนได้หลายแสนคนโดยได้รับแรงบันดาลใจจากซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ ผู้นำกลุ่มฮิซบุลลอฮ์แห่งเลบานอน[18]

หลังจากการโจมตีด้วยขีปนาวุธของอันศอรุลลอฮ์ เยเมน เข้าใส่เมืองหลวงของซาอุดีอาระเบีย เพื่อตอบสนองต่อการโจมตีของกลุ่มพันธมิตรชาติอาหรับ ในปี 2017 ประเทศนี้ได้รับเงิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อรับข้อมูลจากอับดุลมะลิก อัลฮูษีย์ ซึ่งนำไปสู่การจับกุมของเขา(19)

อับดุลมะลิก อัลฮูษีย์ เป็นผู้สนับสนุนความเป็นเอกภาพของอิสลามและต่อต้านการปะทะกันทางศาสนา (20) เขาเป็นผู้ปกป้องสิทธิของปาเลสไตน์และผู้สนับสนุนกองกำลังปาเลสไตน์ในการเผชิญหน้ากับอิสราเอล เขาถือว่า ปฏบัติการพายุอัลอักศอ เป็นชัยชนะทางประวัติศาสตร์และยิ่งใหญ่สำหรับปาเลสไตน์และประชาชาติอิสลาม [21]

ความสัมพันธ์กับอิหร่าน

จุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ของอับดุลมะลิก อัลฮูษีย์กับอิหร่านถือเป็นจุดเริ่มต้นของทศวรรษที่ 1980 ซึ่งก่อตั้งโดยบิดาของเขา บัดรุดดีน อัลฮูษีีย์[22] บางคนเชื่อว่า บุคลิกภาพทางปัญญาและความศรัทธาของเขาก่อตัวขึ้นในอิหร่าน (23)

เหล่าผู้เชี่ยวชาญมองว่า การเข้าควบคุมส่วนหนึ่งของชายฝั่งตะวันตกของเยเมน ในทะเลแดงของอันศอรุลลอฮ์ ถือเป็นความสำเร็จเชิงกลยุทธ์สำหรับอิหร่าน (24)

การดำเนินการและการเคลื่อนไหว

อับดุลมะลิก อัลฮูษีย์ ในสมัยของ ฮุเซน พี่ชายของเขา ณ กรุงซานา เขาอยู่ในฐานะเป็นสมาชิกรัฐสภาเยเมน มีหน้าที่ในการปกป้องพี่ชายของเขา (25) อับดุลมะลิก ได้รับอิทธิพลจากฮุเซน พี่ชายของเขา จนได้รับการยกย่องว่า เป็นบิดาทางจิตวิญญาณและแม่แบบของอับดุลมะลิก (26)

การดำเนินการบางประการของเขาในระหว่างการเป็นผู้นำของอันศอรุลลอฮ์:

การแนะนำขบวนการอันศอรุลลอฮ์ ผ่านการจัดตั้งเว็บไซต์ อัลมิบัร (2007) และการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์อัลมะซีเราะห์ (2012) ซึ่งเป็นเหตุให้เพิ่มจำนวนผู้สนับสนุนของขบวนการนี้ (27) การจัดตั้งขบวนการมุ่งเป้าไปที่การโค่นล้มรัฐบาลที่ทุจริต ปฏิรูปเศรษฐกิจและดำเนินการตัดสินใจในการเจราจาของชาติ (2014) [28] การต่อสู้กับกลุ่มพันธมิตรทางทหารของซาอุดีอาระเบียในการต่อต้านขบวนการอันศอรุลลอฮ์ของเยเมน (29) การต่อสู้กับการทุจริตทางเศรษฐกิจ [30] การโจมตีอิสราเอลและเรือที่เกี่ยวข้องกับอิสราเอล เพื่อสนับสนุนฉนวนกาซาในปฏิบัติการพายุอัลอักศอ (2023-2024) [31] การคว่ำบาตร คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประกาศคว่ำบาตร อับดุลมะลิก อัลฮูษีย์ ในฐานะก่อกบฏต่อรัฐบาลที่ถูกต้องทางกฎหมาย ในปี 2015(32) ในช่วงปลายปี 2020 รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศคว่ำบาตร อับดุลมะลิก อัลฮูษีย์ เวลาเดียวกันกับประกาศขึ้นบัญชี อันศอรุลลอฮ์ อยู่รายชื่อกลุ่มก่อการร้าย รัฐบาลใหม่ของประเทศนี้ได้ยกเลิกการตัดสินใจดังกล่าวในปี 2021 (33)

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงการเป็นผู้นำของอับดุลมะลิกเหนืออันศอรุลลอฮ์

ในระหว่างการเป็นผู้นำของ อับดุลมะลิก อัลฮูษีย์ เหนือขบวนการอันศอรุลลอฮ์ มีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบางส่วนจะกล่าวถึงดังนี้:

การเกิดสงครามหลายครั้งกับรัฐบาลเยเมน ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นการเป็นผู้นำ จนถึง ปี 2010

การปะทะกับกองทัพซาอุดีอาระเบียในดินแดนของประเทศนี้ (2010)

จุดเริ่มต้นของการปฏิวัติ อินติฟาเฎาะห์ และการปฏิวัติ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ในการต่อต้านรัฐบาล อาลี อับดุลเลาะห์ ศอลิห์

การเจรจาของชาติและประณามการโจมตีของรัฐบาลต่อกลุ่มฮูษีย์(2013) [34]

การยึดกรุงซานาและการล่มสลายของรัฐบาล อาลี อับดุลเลาะห์ ศอลิห์ (2014) [35]

การโจมตีของกลุ่มพันธมิตรชาติอาหรับโดยการนำของซาอุดีอาระเบีย (2015) [36]

การฆาตกรรม อาลี อับดุลเลาะห์ ศอลิห์ โดยกองกำลังอันศอรุลลอฮ์ (2017) [37]

การโจมตีของสหรัฐฯ -อังกฤษเข้าใส่ฐานที่มั่นทางทหารของอันศอรุลลอฮ์ เยเมนในการตอบสนองต่อการโจมตีของขบวนการนี้เข้าใส่เรือของอิสราเอล (2024) [38]