อะฮ์ลุลกิบละฮ์

จาก wikishia

อะฮ์ลุลกิบละฮ์ (ภาษาอาหรับ: أهل القبلة) หมายถึง บรรดามุสลิมที่หันหน้าไปยังวิหารกะอ์บะฮ์ โดยถือเป็นทิศกิบละฮ์ในขณะนมาซ การใช้คำนี้เพื่อป้องกันการตักฟีรชาวมุสลิม ขณะที่ชีวิต ทรัพย์สิน เกียรติและศักด์ศรีของอะฮ์ลุลกิบละฮ์ ถือว่า เป็นสิ่งที่จะต้องให้ความเคารพ ตามทัศนะของบรรดานักวิชาการชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ และบนพื้นฐานนี้ การตักฟีรและการสังหารเหล่าเชลยศึกของพวกเขา จึงไม่ได้รับการอนุญาต และการนมาซให้กับผู้ตายของพวกเขา ถือเป็นข้อบังคับ

คำนิยาม

อะฮ์ลุลกิบละฮ์ คือ บุคคลที่นับถือศาสนาอิสลาม(1) ดังนั้น นิกายอิสลามทั้งหมดที่ถือว่า กะอ์บะฮ์ เป็นกิบละฮ์ของพวกเขา คือ อะฮ์ลุลกิบละฮ์ (2) ตามคำกล่าวของมุฮัมมัดญะวาด มุฆนิยะฮ์ นักตัฟซีรชาวชีอะฮ์ของศตวรรษที่ 14 ได้ใช้คำว่า อะฮ์ลุลกิบละฮ์ กับ อะฮ์ลุลกุรอาน อะฮ์ลุชชะฮาดะตัยน์ และบรรดามุสลิม และความหมายของมันก็คือ บรรดาผู้ที่มีความเชื่อในพระเจ้า ศาสดา และจริยวัตรของเขา ทั้งในยามทำนมาซก็หันหน้าไปทางกิบละฮ์ (กะอ์บะฮ์) (3)นอกจากนี้ มุลลา อะลี กอรี หนึ่งในนักวิชาการของมัสฮับฮะนะฟีย์ของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ถือว่า อะฮ์ลุลกิบละฮ์ เป็นบุคคลไม่ปฏิเสธความจำเป็นของศาสนาแม้แต่ประการเดียว ดังนั้น ตามคำกล่าวของเขา ตามทัศนะของบรรดานักวิชาการอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ เห็นว่า ผู้ที่ปฏิเสธหนึ่งในความจำเป็นของศาสนา เช่น การมีมาแต่เดิมของโลกและการฟื้นคืนชีพ จะไม่ถือว่า เขานั้นเป็นอะฮ์ลุลกิบละฮ์ แม้ว่าเขาจะกระทำอิบาดะฮ์ในตลอดช่วงอายุขัยของเขาก็ตาม (4)

หลักอะฮ์กาม

ชีวิต ทรัพย์สิน การมีเกียรติและศักดิ์ศรีของอะฮ์ลุลกิบละฮ์ ถือเป็นสิ่งที่จะต้องให้ความเคารพ ตามทัศนะของบรรดานักวิชาการชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ส่วนมาก (5) นอกจากนี้ การตักฟีรและการสังหารบรรดาเชลยศึกนั้นไม่เป็นที่อนุญาต (7) และการนมาซให้กับเหล่าผู้ตายของพวกเขา ถือเป็นข้อบังคับ (8) ตามคำกล่าวของมุลลา อะลี กอรี และอะบูฮะนีฟะฮ์และมุฮัมมัด บิน อิดรีส ชาฟิอีย์ จะไม่มีการตักฟีร์อะฮ์ลุลกิบละฮ์ (9) เขากล่าวเช่นกันว่า ส่วนมากของบรรดานักวิชาการชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ไม่ได้ตักฟีรอะฮ์ลุลกิบละฮ์ (10) อย่างไรก็ตาม บางกระแสของอิสลาม ได้ตักฟีรบรรดาผู้ที่ปฏิบัติสำนักคิดอื่นๆและถือว่า การสังหารพวกเขาเป็นที่อนุญาต(11) มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ ผู้ก่อตั้งลัทธิวะฮาบี ถือว่า การสังหารเหล่าผู้ที่ยึดถือว่ามลาอิกะฮ์และบรรดาเอาลิยาอ์ของพระเจ้า เป็นสื่อกลางและเป็นวิธีการที่จะใกล้ชิดต่อพระองค์ เป็นข้อบังคับ แม้ว่าพวกเขา จะมีความเชื่อพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวก็ตาม (12) ในกรณีนะวาศิบ คอวาริจญ์ และชาวมุสลิมที่ปฏิเสธความจำเป็นของศาสนา แม้ว่าพวกเขาจะถือว่า กะอ์บะฮ์ เป็นกิบละฮ์ของพวกเขาก็ตาม(13 ) ถือว่า พวกเขานั้นเป็นนะญิส(14)

การใช้คำนี้ทางหลักนิติศาสตร์

คำว่า อะฮ์ลุลกิบละฮ์ ถูกนำมาใช้ในหลักปฏิบัติที่เกี่ยวกับผู้ตายและหลักการญิฮาด (16) กล่าวได้ว่า บรรดามุสลิมได้รู้จักอะฮ์กามที่เกี่ยวกับสงคราม ก่อนสงครามญะมัล และพวกเขาได้เรียนรู้จากอิมามอะลีในสงครามนี้ (17)

เชิงอรรถ

บรรณานุกรม