อะฮ์กาม ชัรอีย์

จาก wikishia

อะฮ์กาม ชัรอีย์ หมายถึง กฎเกณฑ์ทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของมนุษย์ ขณะที่อะฮ์กาม ชัรอีย์ ถูกแบ่งออกเป็นสองประเภทด้วยกัน ดังนี้ : อะฮ์กาม ตักลีฟีย์และอะฮ์กาม วัฎอีย์

อะฮ์กาม ตักลีฟีย์ หมายถึง กฏเกณฑ์ต่างๆเกี่ยวข้องกับหน้าที่ของมนุษย์โดยตรง เช่น กฏที่ว่าด้วยนมาซและการไม่ดื่มสุรา ส่วนอะฮ์กาม วัฎอีย์ หมายถึง หน้าที่ต่างๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของมนุษย์โดยตรง เช่น ผู้ทำนมาซได้สวมเสื้อผ้าที่เป็นนะญิส จะทำให้นมาซเป็นโมฆะ(เสีย)

อะฮ์กาม ชัรอีย์ ได้รับมาจากหลักฐานทางชัรอีย์ กล่าวคือ อัลกุรอาน ซุนนะฮ์ สติปัญญา และอิจมาอ์ (ฉันทามติ)

บุคคลที่มีความสามารถในการวินิจฉัยจากหลักฐานเหล่านี้ เรียกกันว่า เป็นมุจญ์ตะฮิด ปัจจุบันนี้ อะฮ์กาม ชัรอี ถูกนำเสนอไว้ในหนังสือ เตาฎีฮุลมะซาอิล ซึ่งรวมถึงทัศนะต่างๆของบรรดามัรญิอ์ตักลีด ตามคำฟัตวาของบรรดามัรญิอ์ตักลีด ถือว่าเป็นวาญิบ(จำเป็น) ที่จะต้องเรียนรู้อะฮ์กามที่บุคคลมักต้องประสบอยู่เสมอ

นิยามทางฟิกฮ์และประเภทของมัน

กฏหมายทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของมนุษย์เรียกว่า อะฮ์กาม ชัรอีย์(1) เช่น เป็นวาญิบ(จำเป็น)ที่ต้องทำนมาซ เป็นวาญิบที่ต้องถือศีลอด เป็นฮะรอมในการดื่มสุราและเงื่อนไขต่างๆที่ได้ระบุเพื่อความถูกต้องของปัญหาต่างๆ เช่น การแต่งงานและการซื้อและการขาย (2)

ประเภทของฮุกุ่ม ชัรอีย์

บรรดานักวิชาการด้านนิติศาสตร์ (ฟะกีฮ์) ได้แบ่งอะฮ์กาม ชัรอีย์ เป็นหลายกลุ่มด้วยกัน ดังนี้ ฮุกุ่ม ตักลีฟีย์และวัฎอีย์ ฮุกุ่ม เอาวะลีย์และษานะวีย์ ฮุกุ่ม วากิอีย์และซอฮิรีย์ ฮุกุ่ม เมาละวีย์และอิรชาดีย์ ฮุกุ่ม ตะอ์ซีซีและอิมฎออีย์ (3)

ฮุกุ่ม ตักลีฟีย์และวัฎอีย์

ฮุกุ่ม ตักลีฟีย์ หมายถึง กฏต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของมนุษย์โดยตรง เช่น บอกว่า จงทำนมาซ และอย่าได้ดื่มสุรา (4) ฮุกุ่ม ตักลีฟีย์ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ด้วยกัน ดังนี้ วุญูบ อิสติฮ์บาบ ฮุรมัต กะรอฮัต และอิบาฮะห์ (5) ซึ่งเรียกทั้งหมดเหล่านี้ว่า อะฮ์กามคอมซะฮ์ (6)

ฮุกุ่ม วัฎอีย์ หมายถึง กฏต่างๆที่ไม่ได้แสดงคำสั่งโดยตรง ยกตัวอย่างเช่น การอธิบายเงื่อนไขของความถูกต้องของการกระทำหนึ่ง (7) เช่น กฏที่ว่าผู้ทำนมาซได้สวมเสื้อผ้าที่เป็นนะญิส จะทำให้นมาซของเขาเป็นโมฆะ (8)

อะฮ์กาม วัฎอีย์ จึงไม่ได้เกี่ยวกับกับหน้าที่ของมนุษย์โดยตรง ยกตัวอย่างเช่น อะฮ์กามที่เกี่ยวกับการแต่งงาน เป็นอะฮ์กาม วัฎอีย์ และเพียงอธิบายถึงเงื่อนไขที่ถูกต้องของมัน แต่หลังจากการแต่งงาน ไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชาย จะมีหน้าที่ของแต่ละคนซึ่งกันและกัน ซึ่งหน้าที่เหล่านี้ เป็นอะฮ์กาม ตักลีฟีย์(9)

ฮุกุ่ม เอาวะลีย์และษานะวีย์

ฮุกุ่ม เอาวะลีย์ หมายถึง ฮุกุ่มที่เป็นเงื่อนไขปกติในหน้าที่ของมนุษย์ เช่น ความจำเป็นในการทำนมาซศุบฮ์ และการเป็นที่ต้องห้ามในการดื่มสุรา

ฮุกุ่ม ษานะวีย์ หมายถึง ฮุกุ่มที่อย่ในภาวะฉุกเฉินหรือสถานการณ์บังคับ เช่น การอนุญาตให้ละศีลอดสำหรับผู้ที่ถือศีลอดเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือถูกบังคับให้ทำเช่นนั้น(10)

ฮุกุ่ม ตะอ์ซีซีและอิมฎออีย์

ฮุกุ่ม ตะอ์ซีซี กล่าวถึง กฏที่สร้างขึ้นในศาสนบัญญัติของอิสลามเป็นครั้งแรก(11) ฮุกุ่ม อิมฎออีย์ กล่าวถึง กฏที่มีมาก่อนอิสลามและอิสลามก็ได้ให้การยืนยันด้วยเช่นกัน (12)

หลักฐานของอะฮ์กาม ชัรอีย์

อะฮ์กาม ชัรอีย์ได้มารับการช่วยเหลือจากวิชาการต่างๆเช่น ดิรอยะฮ์ ริญาล อุศูลุลฟิกฮ์ และฟิกฮ์ (13) บรรดาฟะกีฮ์ ย้อนกลับไปยังแหล่งที่มาทั้งสี่สำหรับการวินิจฉัยอะฮ์กาม ชัรอีย์ ได้แก่ อัลกุรอาน ซุนนะฮ์ สติปัญญาและอิจญ์มาอ์ (ฉันทามติ) ซึ่งเรียกว่า หลักฐานทั้งสี่ (14) ความหมายของซุนนะฮ์ หมายถึง ริวายัตที่รายงานคำพูดและการกระทำของบรรดามะอ์ศูม (15) ในฟิกฮ์ของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ อ้างถึงเพียงซุนนะฮ์ของศาสดามุฮัมมัดเท่านั้น แต่ในฟิกฮ์ของชีอะฮ์ นอกเหนือจากซุนนะฮ์ ของศาสดามุฮัมมัด แล้วยังมีการอ้างถึงซุนนะฮ์ของบรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์ (16) ในฟิกฮ์ของชีอะฮ์ อิมามียะฮ์ อัลกุรอานและซุนนะฮ์ของศาสดาและบรรดาอิมามทั้งสิบสองคน เป็นสองแหล่งที่มาหลักของหลักปฏิบัติทางศาสนา (17)

การวินิจฉัยอะฮ์กาม ชัรอีย์ จากแหล่งที่มาเหล่านี้ เป็นหน้าที่ของมุจญ์ตะฮิด มุจญ์ตะฮิด คือ บุคคลที่เข้าถึงระดับอิจญ์ติฮาดแล้ว กล่าวคือ เขามีความสามารถในการวินิจฉัยอะฮ์กาม ชัรอีย์จากหลักฐานต่างๆได้ (18)

ความจำเป็นในการรู้จักอะฮ์กาม ชัรอีย์

ตามคำฟัตวาของบรรดาฟะกีฮ์ จำเป็นที่ต้องเรียนรู้บางส่วนของอะฮ์กาม ชัรอีย์ ซึ่งส่วนมากมักประสบอยู่เสมอ (19) นอกเหนือจากนี้ มนุษย์จะต้องเป็นมุจญ์ตะฮิด หรือตนเองสามารถนำหลักฐานมาวินิจฉัยอะฮ์กามหรือเป็นผู้ปฏิบัติตามมัรญิอ์ตักลีด หรือเชื่อมั่นจากแนวทางอิฮ์ติยาฏในการปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนบัญญัติ เช่น การกระทำที่มุจญ์ตะฮิดบางคนกล่าวว่า เป็นที่ต้องห้าม แต่บางคนบอกว่าอนุญาต เขาไม่ควรกระทำ หรือมุจญ์ตะฮิดบางคนบอกว่า เป็นวาญิบ แต่บางคนบอกว่า อนุญาต เขาควรกระทำ(20)

หนังสือที่เกี่ยวกับอะฮ์กามโดยเฉพาะ

ปัจจุบันนี้ อะฮ์กาม ชัรอีย์ ถูกนำเสนอให้หนังสือ เตาฎีฮุลมะซาอิล เขียนโดย บรรดามัรญิอ์ตักลีด (21) มัรญิอ์ ตักลีด คือ บุคคลที่ผู้อื่นจะต้องตักลีด (ปฏิบัติตาม) เขา หมายถึง เขาปฏิบัติศาสนกิจตามทัศนะฟิกฮ์ (คำฟัตวา)ของมัรญิอ์ตักลีด และเขาจ่ายเงินทางชัรอีย์ให้มัรญิอ์หรือตัวแทนของเขา (22)