อวัยวะทั้งเจ็ดส่วนสำหรับการซุญูด

จาก wikishia

อวัยวะทั้งเจ็ดส่วนสำหรับการซุญูด (ภาษาอาหรับ: أعضاء السجدة) หรือ สถานที่ซุญูดทั้งเจ็ดส่วนของร่างกาย ที่จะต้องถูกวางลงบนพื้นระหว่างการซูญูด ตามทัศนะของชีอะฮ์ เมื่อทำการซุญูด จำเป็นที่จะต้องวางหน้าผาก ฝ่ามือทั้งสองข้าง หัวเข่าทั้งสอง และปลายนิ้วหัวแม่เท้าทั้งสอง ลงบนพื้น ขณะที่การวางจมูกลงบนพื้น เป็นการกระทำที่เป็นมุสตะฮับ

บรรดานักนิติศาสตร์ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า ในการซุญูดไม่จำเป็นที่จะต้องวางอวัยวะทั้งหมดลงบนพื้น แต่อย่างน้อยที่สุดจะต้องมีการสัมผัสพื้นก็ถือว่าเพียงพอแล้ว แน่นอนว่า หน้าผากไม่ถูกรวมอยู่ในหลักการนี้ และนักนิติศาสตร์บางคนถือว่า จำเป็นที่จะต้องวางหน้าผากให้เท่ากับหนึ่งดิรฮัม

สิ่งที่ผู้ทำนมาซจะต้องวางหน้าผากลงบนมัน จะต้องเป็นสิ่งที่ทำมาจากดินและสิ่งที่เติบโตจากดิน โดยที่มีเงื่อนไขว่า ไม่สามารถรับประทานและสวมใส่มันได้

ความหมาย

อวัยวะที่สำคัญสำหรับการซุญูด หรืออวัยวะทั้งเจ็ดส่วน หรือสถานที่ซุญูดทั้งเจ็ดส่วน หมายถึง อวัยวะทั้งเจ็ดส่วนของร่างกายที่จะต้องวางลงบนพื้นระหว่างการซุญูด (1) อวัยวะเหล่านี้ ได้แก่ หน้าผาก ฝ่ามือทั้งสองข้าง หัวเข่าทั้งสอง และปลายนิ้วหัวแม่มือของเท้าทั้งสอง (2.)ประเด็นอวัยวะที่สำคัญสำหรับการซุญูดได้กล่าวไว้ในบทเกี่ยวกับการนมาซในหนังสือหลักนิติศาสตร์ (3)

หลักปฏิบัติ

หลักปฏิบัติบางประการที่เกี่ยวกับอวัยวะส่วนที่สำคัญสำหรับการซุญูด:

  • ยูซุฟ บะฮ์รอนี นักนิติศาสตร์ของชีอะฮ์ (เสียชีวิต 1186 ฮ.ศ.) กล่าวว่า ในทัศนะที่เป็นที่รู้จักของบรรดานักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ได้ให้ความคิดเห็นว่า การวางอวัยวะทั้งเจ็ดส่วนในการซุญูดลงบนพื้นดิน ถือเป็นวาญิบ (4)
  • อย่างน้อยที่มีการสัมผัสอวัยวะทั้งเจ็ดส่วนบนพื้นดิน ถือว่า เป็นสิ่งที่พอเพียงแล้ว ยกเว้น หน้าผาก (5.) ขณะที่นักนิติศาสตร์บางคนได้ให้ความคิดเห็นว่า อย่างที่น้อยที่สุดให้เอาหน้าผากสัมผัสกับพื้นดิน ก็เป็นการเพียงพอแล้ว (6) ในทางตรงกันข้าม นักนิติศาสตร์จำนวนหนึ่ง ถือว่า การวางหน้าผาก จะต้องเท่ากับหนึ่งดิรฮัม (7)
  • ในขณะที่กำลังกล่าวคำซุญูด หากผู้นมาซได้ยกอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งขึ้นจากพื้นดิน ถือว่า นมาซของเขา เป็นโมฆะ (8) ตามคำฟัตวาของอายะตุลลอฮ์ ซิซตานีย์ ระบุว่า หากผู้นมาซได้ยกอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งขึ้นจากพื้นดิน จะทำให้นมาซของเขานั้นเป็นโมฆะ แม้ว่า เขาจะยังไม่อ่านคำกล่าวสำหรับการซุญูดก็ตาม (9)

สิ่งที่เป็นมุสตะฮับ

  • การวางจมูกลงบนพื้นดิน บรรดานักนิติศาสตร์ ถือว่า การวางจมูกลงบนพื้นดินในระหว่างการสุญูด เป็นมุสตะฮับ ‎‎[10] หลักฐานอ้างอิงของหลักการนี้ คือ ริวายะฮ์ต่างๆที่รายงานจากอิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า การวางจมูกบนพื้นดิน ‎เป็นซุนนะฮ์ (11)ของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) (12) ตามทัศนะของอัลลามะฮ์ ฮิลลีย์ ระบุว่า การวางจมูกลงบนพื้นดิน ถือเป็นสิ่งที่เป็นมุสตะฮับ มุอักกัด (13)‎
  • ตะเคาวียะฮ์: การกางแขนออกและไม่วางข้อศอกลงบนพื้นดินในขณะที่กำลังสซุญูดสำหรับผู้ชาย (14) แต่สำหรับผู้หญิงให้วางข้อศอกลงบนพื้นดิน แล้วประสานส่วนต่างๆ ของร่างกายให้เข้าด้วยกันขณะที่กำลังซุญูด (15)‎

หลักปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ในการซุญูดของอวัยวะทั้งเจ็ดส่วน

ตามทัศนะของบรรดานักนิติศาสตร์ที่เป็นที่รู้จัก ระบุว่า ในจุดส่วนต่างๆของการซุญูด เฉพาะส่วนหน้าผาก (สถานที่หรือสิ่งของที่วางบนหน้าผาก) จะต้องมีความสะอาด ซึ่งถือเป็นวาญิบ (ข้อบังคับ)(16) แต่ทว่า อะบูศอลาฮ์ ฮะละบีย์ หนึ่งในนักนิติศาสตร์ของชีอะฮ์ในศตวรรษที่สี่และที่ห้าแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช ถือว่า การขจัดสิ่งที่เป็น นะญิส ออกไปจากสถานที่อวัยวะที่ใช้ในการซุญูด เป็นวาญิบ (17)‎

สถานที่ในการซุญูด - สถานที่หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ผู้นมาซวางหน้าผากของเขาบนสิ่งนั้น - จะต้องถูกทำจากดินหรือสิ่งที่งอกเงยออกมาจากมัน โดยมีเงื่อนไขที่ว่า ไม่ควรเป็นสิ่งที่สามารถรับประทานหรือสวมใส่ได้ (18) หลักฐานอ้างอิงของหลักปฏิบัตินี้ คือ ฮะดีษต่างๆและฉันทามติ (อิจญ์มาอ์) ของบรรดานักนิติศาสตร์ (19) ดังนั้น การวางหน้าผากลงบนสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับดินหรือสิ่งที่ไม่ได้เติบโตจากที่ดิน ถือว่า ไม่ถูกต้อง เช่น ทองคำ เงิน อะกีก(หินโมรา) และเทอร์ควอยซ์ ‎ที่เป็นแร่ธาตุ เป็นต้น(20)‎

เชิงอรรถ

บรรณานุกรม