หนังสือฮะดีษทั้งสี่

จาก wikishia

หนังสือฮะดีษทั้งสี่ (กุตุบอัรบะอะฮ์)หรือ อุศูลอัรบะอะฮ์ เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับฮะดีษของชีอะฮ์ ถือว่า เป็นแหล่งอ้างอิงสายฮะดีษที่เชื่อถือได้มากที่สุด

หนังสือฮะดีษทั้งสี่ ประกอบด้วย อัลกาฟีย์ มันลายะฮ์ฎุรุฮุลฟะกีฮ์ ตะฮ์ซีบุลอะฮ์กาม และอัลอิสติบศอร

หนังสืออัลกาฟีย์ เขียนโดย กุลัยนี

มันลายะฮ์ฎุรุฮุลฟะกีฮ์ เขียนโดย เชคศอดูก

ตะฮ์ซีบุลอะฮ์กาม และอัลอิสติบศอร หนังสือทั้งสองเล่มเขียนโดย เชคฏูซีย์

ชะฮีดษานีย์ คือ บุคคลแรกที่ใช้คำศัพท์นี้ เรียกหนังสือฮะดีษทั้งสี่ หลังจากนั้นก็ได้มีการนำมาใช้ในตำราทางฟิกฮ์เรื่อยๆมา

นักวิชาการชีอะฮ์บางคน ถือว่า ฮะดีษทั้งหมดในหนังสือทั้งสี่เล่ม เป็นฮะดีษที่น่าเชื่อถือได้ แต่ส่วนมากของพวกเขาถือว่า ฮะดีษที่เชื่อถือได้นั้น จะต้องอยู่ในระดับขั้นมุตะวาติรหรือสายรายงานของมันถูกต้องทั้งหมด

สถานภาพ

ชีอะฮ์ ถือว่า หนังสือฮะดีษทั้งสี่เล่ม กล่าวคือ อัลกาฟีย์ อัตตะฮ์ซีบ มันลายะฎุรุฮุลฟะกีฮ์ และอัลอิสติบศอร เป็นแหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับฮะดีษที่เชื่อถือได้มากที่สุด และพวกเขาจึงเรียกหนังสือเหล่านี้ว่า หนังสือฮะดีษทั้งสี่ (1)แน่นอนว่า ส่วนมากของนักวิชาการชีอะฮ์ ไม่ถือว่า มีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามริวายะฮ์ทั้งหมดในหนังสือเหล่านี้ แต่สำหรับการปฏิบัติตามมัน จำเป็นที่จะต้องมีการตรวจสอบถึงสายรายงานและดะลาละฮ์ (คำบ่งชี้)ของมัน(2)

ประวัติความเป็นมา

ชะฮีดษานีย์ คือ บุคคลแรกที่นำเอาคำศัพท์นี้ มาใช้เรียกหนังสือทั้งสี่เกี่ยวกับฮะดีษ โดยเขาได้ใช้คำว่า หนังสือฮะดีษทั้งสี่เล่ม(กุตุบอัรบะอะฮ์) ขณะที่เขาได้ประกาศการอนุญาตให้มีการรายงานฮะดีษ(อิญาซะฮ์) ในปี ฮ.ศ.ที่ 950 หลังจากนั้น ก็มีการใช้คำศัพท์นี้ ต่อมาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน(3)

30 ปี หลังจากนั้น มุฮักกิก อัรดะบีลี ได้ใช้คำศัพท์นี้ในหนังสือฟิกฮ์ของเขา ที่ชื่อว่า มัจมะอุลฟาอิดะฮ์วัลบุรฮาน ซึ่งประพันธ์ขึ้นในปี ฮ.ศ.977 และสิ้นสุดลงในปี ฮ.ศ.985 ด้วยเหตุนี้เอง จึงพบว่ามีการใช้คำศัพท์นี้ในหนังสือฟิกฮ์ตลอดมา และหลังจากนั้น ในหนังสือ ซุบดะตุลบะยาน เขียนในปี ฮ.ศ.989 ,มุนตะกอนญุมาน เขียนปี ฮ.ศ.1006 และวัลวาฟิยะฮ์ เขียน ฮ.ศ.1059(4)

ความน่าเชื่อถือของหนังสือฮะดีษทั้งสี่

บรรดาฟุอกอฮา(นิติศาสตร์)ของชีอะฮ์ ยอมรับว่า หนังสือฮะดีษทั้งสี่เล่ม เป็นหนังสือที่น่าเชื่อถือได้ แต่เชคอันศอรี ถือว่า ความน่าเชื่อถือของหนังสือเหล่านี้ เป็นความจำเป็นสำหรับมัสฮับชีอะฮ์(5) อย่างไรก็ตาม ในหมู่นักวิชาการของชีอะฮ์ มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความแน่นอนและความไม่แน่นอนในสายรายงานและหลังจากนั้นเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือและความถูกต้องทั้งหมดของริวายะฮ์ ซึ่งสามารถกล่าวได้ด้วยกัน 3 ทัศนะ ดังต่อไปนี้

1.ความแน่นอนของการรายงานจากบรรดามะฮ์ศูมและความน่าเชื่อถือของริวายะฮ์ทั้งหมด นี่เป็นทัศนะของอัคบารียูน ซึ่งเชื่อว่า ริวายะฮ์ทั้งหมดที่มาจากหนังสือฮะดีษทั้งสี่เล่ม เป็นฮะดีษที่น่าเชื่อถือได้และริวายะฮ์นั้นได้รับรายงานมาจากบรรดามะอ์ศูมทั้งสิ้น (6) ทัศนะของซัยยิด มุรตะฎอ ก็มีความใกล้ชิดกับทัศนะของพวกอัคบารียูนมากที่สุด โดยเขาถือว่า ส่วนมากของริวายะฮ์ที่รายงานจากหนังสือเหล่านี้ อยู่ในระดับขั้นมุตะวาติรหรือมีความแน่นอนที่ได้รับจากบรรดามะอ์ศูม(อ.) (7)

2.ความถูกต้องทั้งหมดของริวายะฮ์และความไม่แน่นอน นักนิติศาสตร์ (ฟุกอฮา) บางคน เช่น ฟาฎิล ตูนี ,มุลลา อะฮ์หมัด นะรอกี และมีรซา มุฮัมมัดฮุเซน นาอีนี (10) โดยพวกเขาไม่เชื่อว่า ริวายะฮ์ทั้งหมดจากหนังสือฮะดีษทั้งสี่เล่ม มีความแน่นอน แต่ทว่าพวกเขาได้ให้ความเห็นว่า ริวายะฮ์ในหนังสือเหล่านี้ น่าเชื่อถือได้

ความสงสัยของเสียงส่วนมากและความถูกต้องของสายรายงาน(สะนัด)ที่เชื่อถือได้ ทัศนะนี้ ที่เป็นที่รู้จักกันของบรรดาฟุกอฮาสายอุศูลของชีอะฮ์ นอกเหนือจากที่มีริวายะฮ์อยู่ในระดับขั้นมุตะวาติรในหนังสือเหล่านี้แล้ว ยังถือว่า ริวายะฮ์ในหนังสืออัลกาฟีย์นั้นมีความคลุมเครือและริวายะฮ์ที่มีสายรายงานถูกต้องต่างหาก จึงสามารถที่จะเชื่อถือได้ แม้ว่าจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในเงื่อนไขของความน่าเชื่อถือก็ตาม(11)

อัลกาฟีย์

อัลกาฟีย์ เขียนโดย เชคอะบูญะอ์ฟัร มุฮัมมัด บินยะอ์กูบ กุลัยนี (เสียชีวิต ฮ.ศ.329) ในสมัยฆ็อยบะฮ์ ซุกรอ(การเร้นหายระยะสั้น)(12)

หนังสืออัลกาฟีย์ รวบรวม 16,000 ฮะดีษ และแบ่งออกเป็น 3 ภาคส่วน ประกอบด้วย อุศูล ฟุรูอ์ และเราเฎาะฮ์ (13)

อุศุลอัลกาฟีย์ รวมฮะดีษที่เกี่ยวกับหลักศรัทธา ส่วนฟุรูอุลกาฟีย์ รวมฮะดีษที่เกี่ยวกับหลักการปฏิบัติและเราเฎาะฮ์ รวมฮะดีษทั่วไปในประเด็นต่างๆทั่วไป(14)


มันลายะฮ์ฎุรุฮุลฟะกีฮ์

หนังสือนี้ เขียนโดย เชคศอดูก (เสียชีวิต ฮ.ศ.371) ได้รวบรวม 6,000 ฮะดีษ ที่เกี่ยวกับประเด็นทางหลักการปฏิบัติ โดยเชคศอดูก เชื่อว่า ฮะดีษที่เขานำมารวบรวมเป็นฮะดีษศอฮิฮ์(ถูกต้อง) และเขาได้ให้คำฟัตวาตามฮะดีษเหล่านี้(15)

ตะฮ์ซีบุลอะฮ์กาม

ตะฮ์ซีบุลอะฮ์กาม เขียนโดย เชคฏูซีย์ (เสียชีวิต ฮ.ศ.460) หนังสือนี้ แบ่งออกเป็น 393 ภาคส่วน และมี 13,590 ฮะดีษ ที่เกี่ยวกับประเด็นหลักการปฏิบัติ โดยเชคฏูซีย์ ได้เขียนหนังสือเล่มนี้ เพื่อทำการอธิบายหนังสือ อัลมุกนะอะฮ์ ของเชคมุฟีด และเป็นคำสั่งของเชคมุฟีดที่ให้เชคฏูซีย์เขียนหนังสือนี้ขึ้นมา(16)

อัลอิสติบศอร ฟีย์ อิคตะลาฟะ มินัลอัคบาร

หนังสือนี้ เชคฏูซีย์ก็เป็นผู้เขียน หลังจากที่เขาได้เขียนหนังสือตะฮ์ซีบุลอะฮ์กาม เนื่องจากความต้องการของเหล่าสานุศิษย์ของเขา โดยเขาได้รวบรวมฮะดีษที่มีสายรายงานที่ขัดแย้งกันในประเด็นต่างๆทางด้านฟิกฮ์ แต่หนังสือนี้ไม่ได้กล่าวถึงประเด็นทั้งหมดทางด้านฟิกฮ์(17)