วุฎูอ์ อิรติมาซี

จาก wikishia

วุฎูอ์ อิรติมาซี (ภาษาอาหรับ: الوضوء الارتماسي) เป็นอีกรูปแบบหนึ่งในการทำ วุฎูอ์ หลังจากที่เนียต(การตั้งเจตนา) [1] ให้เอาใบหน้าและมือทั้งสองจุ่มลงไปในน้ำด้วยความตั้งใจในการทำวุฎูอ์ (2) เช่นเดียวกัน เป็นที่อนุญาตให้ผู้ที่ทำวุฎูอ์ เอาอวัยวะในส่วนที่ทำวุฎูอ์จุ่มลงไปในน้ำด้วยการเนียตทำวุฎูอ์ แล้วเอาอวัยวะส่วนนั้นขึ้นจากน้ำ(3) ในการทำวุฎูอ์แบบอิรติมาซี หลังจากที่เอาใบหน้าและมือทั้งสองจุ่มลงในน้ำ จะต้องทำการเช็ดศีรษะและเท้าทั้งสองอีกด้วย(4)

อิรติมาซี เป็นศัพท์วิชาการทางนิติศาสตร์อิสลาม หมายถึง การจุ่มศีรษะหรืออวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดลงไปในน้ำ(5) ในการทำวุฏูอ์แบบอิรติมาซี จะต้องมีการเรียงลำดับเหมือนการทำวุฎูอ์แบบทั่วไป โดยเริ่มต้นด้วยการล้างใบหน้า หลังจากนั้นล้างมือข้างขวาและมือข้างซ้าย(1)

ในกรณีการทำวุฎูอ์แบบอิรติมาซี จะต้องล้างใบหน้าและมือทั้งสอง จากข้างบนลงข้างล่าง โดยใบหน้า เริ่มต้นด้วยการเอาหน้าผาก ส่วนมือทั้งสองเริ่มจากการเอาข้อศอกจุ่มลงไปในน้ำ ซึ่งแน่นอนว่า ในกรณีที่เอาใบหน้าและมือออกจากน้ำ โดยตั้งใจในการทำวุฎูอ์ จะเริ่มต้นจากหน้าผากและมือทั้งสองด้วยการเอาข้อศอกออกจากน้ำ(6)

ตามคำ ฟัตวา ของอิมามโคมัยนี สามารถทำวุฎูอ์แบบอิรติมาซีได้สองครั้ง ด้วยกัน โดยการเอาใบหน้าและมือจุ่มลงไปในน้ำ ครั้งแรก เป็น วาญิบ ส่วนครั้งที่สอง เป็นที่อนุญาต และมากกว่านั้นไม่เป็นที่อนุญาตเป็นอันขาด(7) การล้างอวัยวะบางส่วนในสภาพที่ทำวุฎูอ์แบบอิรติมาซีและบางส่วนในสภาพที่ทำวุฎูแบบตัรตีบี(การเรียงลำดับ) เป็นที่อนุญาตให้กระทำได้(8)

ฟะกีฮ์ (นักนิติศาสตร์)บางคนได้ตั้งเงื่อนไขว่า ให้เช็ดศีรษะและเท้าทั้งสองในแบบอิรติมาซีด้วยน้ำวุฎูอ์ หากไม่เป็นเช่นนี้ ถือว่า การทำวุฎูอ์แบบอิรติมาซีไม่ถูกต้อง

  • อิมามโคมัยนี เชื่อว่า ในกรณีที่เช็ดศีรษะและเท้าทั้งสองด้วยน้ำวุฎูอ์ แบบอิรติมาซี มือทั้งสองต้องอยู่ในน้ำ และหลังจากทำการเนียตแล้วจากนั้นให้เอามือขึ้นจากน้ำ(9)
  • ซัยยิดอะบุลกอซิม คูอีย์ และ มิรซา ญะวาด ตับรีซี จากนักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ เชื่อว่า มือข้างซ้ายไม่สามารถล้างในแบบอิรติมาซีได้(10)
  • ซัยยิดอะลี ซิสตานี หนึ่งในมัรญิอ์ตักลีด กล่าวว่า การเช็ดด้วยมือที่เปียกชื้นหลังจากที่ล้างแบบอิรติมาซี ถือว่า ไม่เป็นปัญหาใดๆ แต่ทว่ามันขัดแย้งกับหลัก อิฮ์ติยาฏ (11)
  • มะการิม ชีรอซี หนึ่งในมัรญิอ์ตักลีด เชื่อว่า ผู้ทำวุฎูอ์ หลังจากที่เอามือทั้งสองออกจากน้ำ จะต้องมีความตั้งใจว่า ขณะที่น้ำยังอยู่บนมือนั้น เป็นส่วนหนึ่งวุฎูอ์(12)

เชิงอรรถ

  1. มิรซา กุมมี ญามิอุชชะตาต เล่ม 1 หน้า 32 ปี 1413 ฮ.ศ.

บรรณานุกรม