วิกิชีอะฮ์

จาก wikishia

วิกิชีอะฮ์ เป็นสารานุกรมฉบับออนไลน์ ซึ่งมีหน้าที่ในการอธิบายถึงความหมายต่างๆทางด้านแนวคิดสำหรับการรู้จักมัสฮับชีอะฮ์และมัสฮับอื่นๆที่ปฏิบัติตามอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) แนวคิดเหล่านี้ รวมถึง หลักความศรัทธา บุคคล ในศาสตร์ต่างๆ(เช่น เทววิทยา นิติศาสตร์และหลักนิติศาสตร์) หนังสือ สถานที่ เหตุการณ์ พิธีกรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี และสำนักคิดที่เกี่ยวข้องกับอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) ประวัติศาสตร์ของชีอะฮ์ และทุกๆแนวคิดที่เชื่อมโยงกับอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) และบรรดาผู้ที่ปฏิบัติตาม คำศัพท์และนามต่างๆที่จำเป็นต่อการอธิบาย จะมีการอธิบายในสารานุกรมนี้

ในวิกิชีอะฮ์ จะหลีกเลี่ยงจากการนำเสนอการวิเคราะห์และความคิดเห็นส่วนบุคคล ตลอดจนทฤษฎีใหม่ๆที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ ทั้งนี้ การตัดสินใจที่เกี่ยวกับความแตกต่างทางวิชาการและประวัติศาสตร์นั้นขึ้นอยู่กับท่านผู้อ่าน และวิกิชีอะฮ์ จะขอเป็นทางสายกลางโดยที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในกรณีเหล่านี้ แต่เมื่อพิจารณาถึงความแตกต่างทางมัสฮับ บรรดานักเขียนวิกินี้ จะใช้ประโยชน์จากการอ้างอิงแหล่งข้อมูลโดยตรงและเป็นที่ยอมรับจากทั้งสองมัสฮับหลักของอิสลาม (ชีอะฮ์และซุนนี)

วิกิชีอะฮ์เกี่ยวข้องกับสมัชชาอะฮ์ลุลบัยต์โลก สารานุกรมนี้ ในปัจจุบันนี้ มีการใช้งานได้ทั้งหมด 22 ภาษา ได้แก่ ภาษาอาหรับ เปอร์เซีย อังกฤษ อูรดู ตุรกี สเปน ฝรั่งเศส อินโดนีเซีย เยอรมัน รัสเซีย จีน ฮินดี สวาฮีลี เบงกาลี ทาจิก ปัชโต อาเซอรี โปรตุเกส อิตาลี ฮัวซา พม่า และล่าสุด ภาษาไทย

แรงบันดาลใจและวัตถุประสงค์ในการใช้งาน

ในสารานุกรมต่างๆที่เกี่ยวกับอิสลาม มีข้อมูลอย่างกว้างขวาง แต่ทว่า เหล่าผู้ประพันธ์สารานุกรมต่างๆเหล่านี้ ไม่มีความเข้าใจอย่างถูกต้องในคำศัพท์ต่างๆของอิสลามหรืออาจจะมีความเชื่อต่อศาสนาอิสลาม แต่พวกเขาไม่ได้เป็นชีอะฮ์ และจะเห็นได้ว่า ในบทความต่างๆที่เกี่ยวกับแนวคิดของอิสลามและสำนักคิดชีอะฮ์นั้นมีเนื้อหาที่ผิดพลาด เนื่องจากเกิดปัญหาต่างๆในเว็บไซต์ทางอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวกับความเชื่อของชีอะฮ๋ และเช่นเดียวกัน บรรดาชีอะฮ์โลกและผู้ค้นหาอื่นๆ ต่างต้องการที่จะเข้าถึงความเชื่อหลักของชีอะฮ์และอิสลามได้อย่างง่ายดาย ด้วยเหตุนี้เอง ฝ่ายวัฒนธรรมสมัชชาอะฮ์ลุลบัยต์สากล จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญนี้ ด้วยการเปิดใช้งานสารานุกรม วิกิชีอะฮ์ โดยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการแนะนำและการปกป้องสำนักคิดอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.)

ประวัติความเป็นมา

ในวันที่ 1โครดอด ปี 1392 (ปฏิทินอิหร่าน) ได้มีการจัดประชุมความร่วมมือครั้งแรกของนักเขียนวิกิชีอะฮ์ และหลังจากที่ได้ผ่านการอบรมหลายครั้ง ในวันที่ 28 โครดอดจึงได้มีการเผยแพร่บทความของวิกิชีอะฮ์บนหน้าเว็บไซต์ และในเดือนทีร จึงมีการเปิดตัวเว็บไซต์ต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการ

วิกิชีอะฮ์ ได้เปิดตัวเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 เดือนทีร ปี 1393 (ปฏิทินอิหร่าน) ซึ่งตรงกับปี 2013 ค.ศ. ในงานสัมมนานานาชาติเกี่ยวกับอิมามฮะซัน อัลมุจญ์ตะบา (อ.) โดยนายฮะซัน โรฮานี ประธานาธิบดีอิหร่านในเวลานั้น เป็นประธานเปิดงานดังกล่าว

คุณลักษณะต่างๆ

คุณลักษณะบางประการของวิกิชีอะฮ์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ :

เนื้อหาที่ครอบคลุม

เนื้อหาของวิกิชีอะฮ์ ซึ่งมีดังต่อไปนี้

หลักการด้านความศรัทธา ศาสตร์ต่างๆ (อาทิเช่น เทววิทยา นิติศาสตร์ และหลักนิติศาสตร์ )หนังสือ สถานที่ เหตุการณ์ พิธีกรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี สำนักคิดที่เกี่ยวข้องกับอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) ประวัติศาสตร์ของชีอะฮ์ และในทุกหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับอะฮ์ลุลบัยต์และบรรดาผู้ที่ปฏิบัติตามพวกเขา

แนวคิดทั่วไป ซึ่งชาวมุสลิมทั้งหมดนั้น มีความเชื่อเช่นนั้นหรือมีความเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์

ขณะที่แนวคิดของสำนักคิดต่างๆของอิสลาม จะมีการนำเสนอก็ต่อเมื่อมีความเกี่ยวข้องกับสำนักคิดอะฮ์ลุลบัยต์หรือมีการใช้ประโยชน์จากมันในบทความต่างๆของวิกิชีอะฮ์อีกด้วย

การตรวจสอบเนื้อหา

เนื้อหาของวิกิชีอะฮ์ จะได้รับการตรวจสอบ โดยในการบริหารจัดการนี้ ได้มีการออกแบบ แบบจำลองที่แสดงถึงคุณภาพของบทความ

เกณฑ์การจัดลำดับความสำคัญ

บทความของวิกิชีอะฮ์ ถูกเขียนและแก้ไขเรียงตามลำดับความสำคัญ การจัดลำดับความสำคัญของการแก้ไขและการเขียน ตามเกณฑ์ของผลกระทบของรายชื่อเรื่องในการรู้จักสำนักคิดอะฮ์ลุลบัยต์ ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ยิ่งรายชื่อเรื่องมีผลกระทบต่อการรู้จักของชีอะฮ์มากเท่าใด การเขียนและการเรียบเรียงก็มีความสำคัญมากขึ้นเท่านั้น

วิสัยทัศน์สมานฉันท์ระหว่างมัสฮับต่างๆของอิสลาม

บทความที่เขียนในวิกิชีอะฮ์ จะมีวิสัยทัศน์ในความสมานฉันท์ ระหว่างมัสฮับต่างๆของอิสลาม

นโยบายของความเป็นกลาง

นโยบายของความเป็นกลาง พบได้ในการอภิปรายทางปัญญาภายในมัสฮับชีอะฮ์และผู้ปฏิบัติตามของบรรดาอะฮ์ลุลอัลบัยต์ (อ.) แต่เป็นที่ชัดเจนว่า วิกิชีอะฮ์ เป็นผู้เผยแพร่สำนักคิดของชีอะฮ์ และมีบทความต่างๆ ซึ่งเขียนขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายและการปกป้องคำสอนเหล่านี้

‎ บทความต่างๆของวิกิชีอะฮ์ ไม่ใช่เป็นบทความวิจัย ในแง่ที่ว่า ไม่ใช่การวิจัยอันดับหนึ่งและไม่ได้มีการจัดพิมพ์ ‎และไม่ได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาทางความรู้ พื้นฐานของวิกิชีอะฮ์ คือ การนำเสนอข้อมูลตามแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ ‎ดังนั้น ผู้เขียนจึงไม่ควรเผยแพร่ความคิดเห็นของตน

‎ ส่วนการตัดสินที่มีความแตกต่างทางความรู้และทางประวัติศาสตร์ วิกิชีอะฮ์ ถือว่ามีความเป็นกลางในกรณีเหล่านี้

เมื่อพิจารณาถึงความแตกต่างทางมัสฮับ ผู้เขียนจึงใช้แหล่งข้อมูลโดยตรงและเป็นที่ยอมรับของสำนักคิดของอิสลามหลักทั้งสองนิกาย (ชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์) ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ‎ในการเขียนบทความ ไม่ใช้คำศัพท์ที่แสดงถึงคุณค่าและความเคารพ

การเชื่อมความสัมพันธ์กับสำนักคิดอะฮ์ลุลบัยต์

นโยบายที่สำคัญที่สุดของวิกิชีอะฮ์ คือ การเขียนหัวข้อจากมุมมองของการเชื่อมความสัมพันธ์กับสำนักคิดอะฮ์‎ลุลบัยต์ ดังนั้น ในการเขียนหัวข้อที่มีมิติที่แตกต่างกัน ให้เน้นย้ำและมีความสนใจไปยังฝ่ายชีอะฮ์ของพวกเขา ‎ตัวอย่างเช่น การเขียนหัวข้อต่างๆ เช่น ประเทศที่มีมุมมองที่แตกต่างกัน เช่น เศรษฐกิจ ภูมิศาสตร์ และการเมือง ‎มุ่งเน้นไปยังประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องกับสำนักคิดอะฮ์ลุลบัยต์ เช่น ประวัติศาสตร์การเข้ามาของชีอะฮ์ สถานที่และบุคลิกภาพของชาวชีอะฮ์ และจรรยามารยาทและขนบประเพณีของชาวชีอะฮ์ นอกจากนี้ ในการเขียนประเด็นด้านนิติศาสตร์และบุคลิกภาพที่ไม่ใช่ชีอะฮ์ จะมุ่งเน้นไปยังประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีอะฮ์และอะฮ์ลุลบัยต์เท่านั้น

สถานภาพขององค์กร

วิกิชีอะฮ์ มีส่วนเกี่ยวข้องในองค์กรที่เชื่อมกับสมัชชาอะฮ์ลุลบัยต์โลก (อ.) และอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของฝ่ายวิชาการและวัฒนธรรมขององค์กรนี้ มีการจัดตั้งสภาซึ่งประกอบไปด้วยผู้ดูแลภาคส่วนภาษาต่างๆ ผู้รับผิดชอบทางความรู้ และผู้เชี่ยวชาญของวิกิชีอะฮ์ ต่างมีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดนโยบายและการวางแบบแผนในส่วนต่างๆ ของวิกิชีอะฮ์

คุณสมบัติของวิกิ

มีความสามารถในการแก้ไขบทความอย่างถาวร

‎มีความสามารถในการอัปเดตและเพิ่มข้อมูลบทความ

‎การมีอยู่ของหน้าประวัติความเป็นมาของบทความ ในหน้าประวัติย่อ คุณสามารถดูการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างที่เกิดขึ้นในบทความได้ ผู้เยี่ยมชมสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและผู้เขียนของเนื้อหาต่างๆ ‎หน้าการเปลี่ยนแปลงล่าสุด หน้านี้ จะแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงล่าสุดที่มีการดำเนินการบนหน้าวิกิทั้งหมด

‎มีความสามารถในการกู้คืนเนื้อหาและการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในอดีต

‎การเชื่อมโยงหัวข้อต่างๆระหว่างกัน ด้วยวิธีการนี้ ผู้อ่านบทความจึงสามารถเปิดและอ่านหน้าที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดนั้นเพื่อทำความเข้าใจแต่ละสำนวนที่ใช้ในข้อความโดยไม่ต้องค้นหาและในขณะเดียวกัน คุณลักษณะนี้ช่วยให้ผู้อ้างอิงเข้าใจแนวคิดทั้งหมดที่ใช้ในบทความนั้นได้อย่างง่ายดาย และรับข้อมูลที่สมบูรณ์เกี่ยวกับหัวข้อที่กำลังศึกษา

‎ความสัมพันธ์ของแต่ละบทความกับหัวข้อเดียวกันในภาษาวิกิอื่นๆ

‎การใช้หมวดหมู่ท้ายบทความ หมวดหมู่ คือ ชื่อทั่วไปของบทความที่เป็นส่วนย่อยของหมวดหมู่นั้น หมวดหมู่คือ ‎สารบัญหัวข้อของวิกิ

เทมเพลต Navigation (เนวิเกชั่น) คือ ระบบนำทางในเว็บไซต์ ที่เป็นรูปแบบการนำทาง โดยมีการรวบรวมแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับบทความในกล่องแนวนอนที่ด้านล่างของบทความ บางครั้ง การนำทางจะใช้เป็นกล่องแนวตั้งที่ด้านบนของบทความ ความสัมพันธ์ระหว่างชื่อของหัวข้อรวมอยู่ในตารางเหล่านี้เป็นแบบขวาง หมายความว่า ‎รายชื่อทั้งหมดอยู่ภายใต้ชื่อที่ครอบคลุมเพียงชื่อเดียว

‎กล่องข้อมูล (Infobox) กล่องที่อยู่ด้านบนของบทความและมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลสำคัญของบทความในรูปแบบที่กระชับ เมื่ออ้างอิงถึงกล่องข้อมูล คุณสามารถทราบถึงข้อมูลหลักที่มีอยู่ในข้อความของบทความได้โดยไม่ต้องอ่านบทความ

‎ หน้าอภิปราย ทุกหน้าและบทความในวิกิมีหน้าพูดคุย ในหน้าอภิปราย ผู้ใช้สามารถแบ่งปันความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความกับผู้เขียนหรือผู้เขียนและบรรณาธิการของบทความได้ หน้าอภิปรายในความเป็นจริงเป็นสถานที่สำหรับผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่สนใจหัวข้อของบทความเพื่อพูดคุยและช่วยเพิ่มรูปแบบและเนื้อหาของบทความที่เขียน

โลโก้

วิกิชีอะฮ์ เปิดตัวโลโก้พิเศษเฉพาะในเดือนโครดอด 1402 โลโก้นี้มีตัวอักษร วาวและ ตัววี (w) ซึ่งบ่งบอกถึงอักษรตัวแรกของวิกิชีอะฮ์ ในภาษาเปอร์เซียและละติน ในโลโก้นี้ มีรูปโดมและมิฮ์รอบ ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ชีอะฮ์และอิสลาม

ก่อนหน้านี้ วิกิชีอะฮ์ ใช้โลโก้ของสมัชชาอะฮ์ลุลบัยต์ (องค์กรที่เป็นเจ้าของวิกิชีอะฮ์) โดยมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย

ภาษาของวิกีชีอะฮ์

วิกีชีอะฮ์ ภาษาฟาร์ซี

วิกีชีอะฮ์ ภาษาอาหรับ

วิกีชีอะฮ์ ภาษาอังกฤษ

วิกีชีอะฮ์ ภาษาอูรดู

วิกีชีอะฮ์ ภาษาตุรกี

วิกีชีอะฮ์ ภาษาอินโดนีเซีย

วิกีชีอะฮ์ ภาษาฝรั่งเศส

วิกีชีอะฮ์ ภาษาเยอรมัน

วิกีชีอะฮ์ ภาษารัสเซีย

วิกีชีอะฮ์ ภาษาจีน

วิกีชีอะฮ์ ภาษาสวาฮิลี

วิกีชีอะฮ์ ภาษาอินเดีย

วิกีชีอะฮ์ ภาษาบังคลาเทศ

วิกีชีอะฮ์ ภาษาทาจิก

วิกีชีอะฮ์ ภาษาปัชโต

วิกีชีอะฮ์ ภาษาอาเซอรี

วิกีชีอะฮ์ ภาษาพม่า

วิกีชีอะฮ์ ภาษาโปรตุเกส

วิกีชีอะฮ์ ภาษาอิตาลี

วิกีชีอะฮ์ ภาษาฮัวซา

วิกีชีอะฮ์ ภาษาไทย