วาญิบกิฟาอีย์
วาญิบกิฟาอีย์ (ภาษาอาหรับ : الواجب الكفائي) เป็นประเภทหนึ่งของสิ่งที่เป็นวาญิบ(ข้อบังคับ) ทางศาสนา ถึงแม้ว่า ถือเป็นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ (มุกัลลัฟ) ทุกคนจำเป็นที่จะต้องกระทำก็ตาม แต่หากบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้กระทำหน้าที่นั้น สำหรับผู้อื่น ถือเป็นอันตกไป วาญิบกิฟาอีย์ตรงกันข้ามกับวาญิบอัยนีย์ วาญิบอัยนีย์ ถือเป็นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติแต่ละคนและหากบุคคลหนึ่งบุคคลใดได้กระทำมัน สำหรับบุคคลอื่นไม่ถือว่าเป็นอันตกไป เช่น การจัดเตรียมฝังศพมัยยิต (ผู้ตาย) การทำญิฮาด การกำชับให้กระทำความดีและการห้ามปรามความชั่วร้าย ถือเป็นวาญิบกิฟาอีย์ ขณะที่ การทำนมาซประจำวัน และการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ถือเป็นวาญิบอัยนีย์
วาญิบกิฟาอีย์ ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับกรณีต่างๆของผลประโยชน์ส่วนรวมของสังคม ด้วยเหตุผลนี้ วาญิบกิฟาอีย์ จึงถูกนำมาใช้เป็นวิธีการแก้ปัญหาของอิสลาม ในการปกป้องผลประโยชน์ของสังคม ในบางกรณี วาญิบกิฟาอีย์ อาจกลายเป็นวาญิบอัยนีย์ได้ ดั่งเช่น หากว่ามีผู้พิพากษาเพียงคนเดียว การตัดสินคดีความ ก็กลายเป็นวาญิบอัยนีย์สำหรับเขา ตามคำกล่าวของนักวิชาการหลักนิติศาสตร์ ระบุว่า เมื่อมีข้อสงสัยว่าเป็นวาญิบกิฟาอีย์หรือวาญิบอัยนีย์ ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นอัยนีย์
คำนิยามทางนิติศาสตร์
วาญิบกิฟาอีย์ เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่เป็นวาญิบทางศาสนา ซึ่งวัตถุประสงค์ของศาสนา คือ เพื่อการกระทำเพียงเท่านั้น และไม่แตกต่างว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำ[1]ในวาญิบนี้ มุกัลลัฟทุกคนจะต้องกระทำอย่างเท่าเทียมกัน แต่ถ้าหากบางคนกระทำแล้ว หน้าที่นี้สำหรับบุคคลอื่น ถือเป็นอันตกไป [2] ในหมู่การกระทำต่างๆที่เป็นวาญิบกิฟาอีย์ เราสามารถกล่าวได้ว่าเป็นการกระทำที่เป็นข้อบังคับ เช่น การทำความสะอาดมัสยิดที่สกปรก การกำชับให้กระทำความดีและการห้ามปรามความชั่วร้าย การจัดเตรียมฝังศพมัยยิต (คนตา) การทำญิฮาด และการเรียนรู้และการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของประชาชน(3) วาญิบกิฟาอีย์ โดยส่วนใหญ่นั้นเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ส่วนรวมของสังคม ด้วยเหตุนี้เอง วาญิบกิฟาอีย์ จึงถือเป็นวิธีการแก้ปัญหาของอิสลามในการสนับสนุนการให้บริการทางสังคมและการปกป้องผลประโยชน์ของสังคม เป็นต้น[4]
ในอธิบายทางความรู้ของปัญหานี้ ซึ่งเป็นวาญิบกิฟาอีย์ว่า เป็นวาญิบสำหรับผู้ใด มีทัศนะที่แตกต่างกัน[5]แต่ละบุคคล (ทัศนะของ มุลลาอาคูนด์ คุรอซานี [6] ) บุคคลที่ไม่เจาะจง (ทัศนะของอิหม่ามโคมัยนี[7] ) หนึ่งในผู้ปฏิบัติที่เป็นตัวแทน (ทัศนะของซัยยิด มุฮัมมัด บากิร อัศศอดร์ [8] ) ผู้ปฏิบัติทั่วไป ( ทัศนะที่เกี่ยวข้องกับกุฏบุดดีน ชีรอซี [9] ) เหล่านี้ล้วนเป็นหนึ่งในทัศนะต่างๆที่กล่าวถึงในปัญหาพื้นฐานนี้
ความแตกต่างระหว่างวาญิบกิฟาอีย์และวาญิบอัยนีย์
วาญิบกิฟาอีย์ นั้นตรงกันข้ามกับวาญิบอัยนีย์ เป็นวาญิบที่แต่ละบุคคลจะต้องกระทำ แต่หากว่ามีผู้หนึ่งผู้ใดได้กระทำมันแล้ว สำหรับผู้อื่นถือเป็นอันตกไป เช่น การนมาซประจำวันและการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน[10]ในวาญิบกิฟาอีย์ เฉพาะผู้ที่กระทำเพียงเท่านั้นที่จะได้รับผลรางวัล แต่หากว่าไม่มีมุกัลลัฟใดกระทำวาญิบกิฟาอีย์ ทั้งหมดทุกคนถือว่าเป็นผู้กระทำความผิด[11]การเรียนรู้บางวิชาการ ถือเป็นวาญิบอัยนีย์ และการเรียนรู้บางศาสตร์ ถือเป็นวาญิบกิฟาอีย์ ความรู้ซึ่งการเรียนรู้มัน เป็นจุดเริ่มต้นของการตอบสนองความต้องการทางสังคม (เช่น การเรียนรู้วิทยาศาสตร์การแพทย์) เป็นวาญิบกิฟาอีย์ แต่ทว่า การเรียนรู้หลักการปฏิบัติ และหลักศรัทธา ซึ่งการเรียนรู้เป็นอรัมภบทของการสร้างตัวตน ถือเป็นวาญิบอัยนีย์ (12]
การเปลี่ยนจากวาญิบกิฟาอีย์ เป็นวาญิบอัยนีย์
ในกรณีที่ระหว่างบุคคลมุกัลลัฟ มีบุคคลเพียงคนเดียวเท่านั้นที่สามารถกระทำวาญิบกิฟาอีย์ได้ การกระทำนั้นย่อมเป็นวาญิบแก่บุคคลนั้นเหมือนกับการกระทำวาญิบอัยนีย์อื่นๆ ตัวอย่างเช่น แม้ว่า การให้การเป็นพยานในศาล แม้ว่าเป็นวาญิบกิฟาอีย์ แต่หากมีบุคคลเพียงคนเดียวที่เป็นพยานในเหตุการณ์ บุคคลนั้นจะต้องให้การเป็นพยาน เช่นเดียวกับวาญิบอัยนีย์อื่น ๆ[13]
วาญิบกิฟาอีย์ ไม่ได้หมายความว่า ทุกคนสามารถกระทำวาญิบนั้นได้ แต่ทว่าสำหรับการกระทำ เขาจะต้องมีคุณสมบัติเสียก่อน [14] ตัวอย่างเช่น แม้ว่า การเป็นผู้พิพากษา เป็นวาญิบกิฟาอีย์ แต่วาญิบกิฟาอีย์นี้สำหรับบุคคลผู้นี้ กลายเป็นวาญิบอัยนีย์ [15]
ประเภทต่างๆ
วาญิบกิฟาอีย์ มีหลายประเภทด้วยกัน :
วาญิบที่ไม่สามารถกระทำได้สองครั้ง เช่น วาญิบในการสังหารผู้ที่ด่าทอศาสดามุฮัมมัด (เพราะเขาไม่สามารถสังหารคนหนึ่งได้สองครั้ง)
วาญิบที่แม้ว่าจะเป็นไปได้ที่จะกระทำอีกครั้ง แต่การทำอีกครั้งนั้นเป็นสิ่งต้องห้ามจากทัศนะหลักศาสนบัญญัติ เช่น วาญิบในการฝังศพผู้ตาย (แม้ว่า เป็นไปได้ที่จะขุดและฝังผู้ตายอีกครั้ง แต่การขุดหลุมศพ ถือเป็นสิ่งต้องห้าม )
วาญิบที่ไม่พึงปรารถนาหรือต้องห้ามกระทำซ้ำ เช่น การห่อผ้ากะฝั่นผู้ตาย (การห่อผ้ากะฝั่นผู้ตายด้วยกันหลายครั้ง ไม่ได้เป็นมุซตะฮับและไม่เป็นฮะรอม)
วาญิบที่เป็นการดีให้กระทำอีกครั้ง เช่น การนมาซมัยยิต ซึ่งถือเป็นมุซตะฮับที่กระทำอีกครั้ง[16]
การสงสัยในความเป็นอัยนีย์หรือกิฟาอีย์ของวาญิบ
ตามคำกล่าวของบรรดานักวิชาการหลักนิติศาสตร์ ระบุว่า ในกรณีที่ไม่ชัดเจนว่า คำสั่งของพระเจ้า อยู่ในรูปแบบที่วาญิบกิฟาอีย์หรือวาญิบอัยนีย์ ให้ตั้งอยู่บนหลักการที่ว่า เป็นวาญิบอัยนีย์ [17] เพราะว่าในกรณีที่ไม่ชัดเจนว่า การกระทำที่เป็นวาญิบของบุคคลหนึ่ง จะทำให้บุคคลอื่นเป็นอันตกไปหรือไม่ ตรงตามหลักสติปัญญา จะต้องกระทำการงานนั้นอีกครั้ง[18]