มิกดาด บินอัมร์

จาก wikishia

มิกดาด บินอัมร์ (ภาษาอาหรับ: المقداد بن عمرو) รู้จักว่า มิกดาด บินอัสวัด (เสียชีวิต ฮ.ศ.33) ถือเป็นอัครสาวกของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และเป็นหนึ่งในชีอะฮ์ของอิมามอะลี (อ.) มิกดาด เข้ารับอิสลามในช่วงเริ่มต้นการบิอ์ษัตและเขาเป็นหนึ่งในบุคคลที่เปิดเผยอิสลามของเขาอย่างชัดเจน เขาเข้าร่วมในทุกสมรภูมิในช่วงแรกของอิสลาม

มิกดาด ซัลมาน อัลฟารซีย์ อัมมาร บินยาซิร และอะบูซัร ถือเป็นหนึ่งในชีอะฮ์ของอิมามอะลี ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อเหล่านี้ในช่วงเวลาของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)

หลังการวะฟาตของศาสดา ผู้ทรงเกียรติ (ศ็อลฯ) มิกดาด ได้ให้การสนับสนุนอิมามอะลี เป็นตัวแทนของศาสดา และเขาไม่ให้คำสัตยาบันกับอะบูบักร และเขายังเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่เข้าร่วมในการตัชยิอ์(การแห่ศพ) ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) มิกดาด เป็นผู้ต่อต้านการปกครองของอุษมาน

ในริวายะฮ์ต่างๆของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ ได้กล่าวถึงความดีของมิกดาด และเขาจะกลับมายังโลกนี้อีกครั้ง(ร็อจญะฮ์) ในยุคสมัยการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) และมิกดาด เป็นหนึ่งในรอวี(ผู้รายงาน) ฮะดีษจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)

ชีวประวัติ

การถือกำเนิดและเชื้อสาย

มิกดาด บินอัมร์ บิน ษะอ์ละบะฮ์ อัลบะฮ์รานี อัลฮัฎเราะมี เป็นที่รู้จักกันว่า มิกดาด บินอัสวัด ไม่ทราบวัน เดือน ปีเกิด ของเขา แต่เมื่อพิจารณา จะเห็นว่า บรรดนักประวัติศาสตร์ ถือว่า ปี ฮ.ศ. 33 ในขณะที่เขามีอายุ 70 ปี ได้จากโลกนี้ไป(1) คาดว่า เขาถือกำเนิด ประมาณ 24 ปีก่อนการบิอ์ษัต (37 ปีก่อนฮิจญ์เราะฮ์ )บรรดาผู้บันทึกประวัติศาสตร์และนักรายงานประวัติศาสตร์ ได้กล่าวถึง เชื้อสายวงศ์ตระกูลของเขา ถึงบรรพบุรุษที่ยี่สิบ (2)

มิกดาด อาศัยอยู่ในพื้นที่ ฮัฎรอเมาต์ ในช่วงก่อนยุคอิสลาม และเกิดการทะเลาะกันระหว่างเขากับชายที่ชื่อว่า อะบูชัมมัรบิน ฮะญัร อัล-คินดี คิซอม มิกดาดได้ใช้ดาบฟันขาของเขาและหลบหนีไปยังมักกะฮ์ และชายคนหนึ่งที่ชื่อว่า อัลอัสวัด บินอับด์ ยะฆูษ อัซซุฮ์รี ได้รับเลี้ยงดูเขา ดังนั้นเขาจึงเป็นที่รู้จักกันในชื่อ มิกดาด บินอัสวัด หรือ มิกดาด อัซซุฮ์รี จนกระทั่งมีโองการหนึ่งถูกประทานลงมา พวกเจ้าจงเรียกพวกเขาโดยบิดาของพวกเขา (3) และได้เรียกมิกดาดว่า มิกดาด บินอัมร์(4)

สมญานามและฉายานาม

มิกดาด ได้รับสมญานามว่า บะฮ์รออี หรือบะฮ์รอวี (5)อัล-คินดี ฮัฎรอมี และเขาได้รับฉายานามว่า อะบูมุอับบัด อะบูซะอีด และอะบุลอัสวัด(6)

ครอบครัว

  • ภรรยา มิกดาด ได้แต่งงานกับ ฎอบาอะฮ์ บินติ อัซซุบัยร์ บินอับดุลมุฏฏอลิบ (7) ได้มีรายงานเกี่ยวกับการแต่งงานของมิกดาดว่า เขาได้นั่งร่วมอยู่กับอับดุรเราะฮ์มาน บินเอาฟ์ แล้วอับดุรเราะฮ์มานได้พูดกับเขาว่า ทำไมเจ้าถึงไม่แต่งงาน มิกดาดตอบว่า ขอให้ฉันได้แต่งงานกับลูกสาวของท่าน ดังนั้น อับดุรเราะฮ์มาน รู้สึกโกรธเป็นอย่างมากแล้วมีการฟ้องต่อศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และศาสดา กล่าวว่า ฉันจะให้เขาแต่งงานกับฎอบาอะฮ์ บินอัซซุบัยร์ บิน อับดุลมุฏฏอลิบ ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องของฉัน เพื่อที่จะทำให้เรื่องการแต่งงานเป็นเรื่องง่าย และการแต่งงานจะไม่ต้องคำนึงถึงเชื้อสายและวงศ์ตระกูลในการแต่งงานอีกต่อไป (8)
  • บุตร

มิกดาด มีบุตรสองคน คือ อับดุลลอฮ์และกะรีมะฮ์ ซึ่งอับดุลลอฮ์ เขาถูกสังหารในสงครามญะมัล และเขาเป็นผู้ที่ร่วมกับอาอิชะฮ์ ในการต่อสู้กับอิมามอะลี (อ.) เมื่ออิมามอะลี (อ.)มองเห็นศพของเขา หลังจากสิ้นสุดสงครามญะมัล อิมามอะลีได้กล่าวว่า เจ้าช่างเป็นลูกชายที่แย่มากจริงๆ (9) บางคนไม่เรียกลูกชายมิกดาดว่า อับดุลลอฮ์ แต่เรียกเขาว่า มุอับบัด(10)

การเสียชีวิตและสถานที่ฝังศพ

ในบั้นปลายชีวิตของมิกดาด เขาอาศัยอยู่ใน ญูรุฟ (พื้นที่หนึ่งที่ห่างจากเมืองมะดีนะฮ์ไปทางซีเรีย ประมาณ 1 ฟัรซัค) และขณะที่เขามีอายุ 70 ปี เขาได้เสียชีวิต และชาวมุสลิมได้นำร่างของเขาไปยังเมืองมะดีนะฮ์และอุษมาน บินอัฟฟานได้นมาซให้เขาและนำไปฝังในสุสานอัลบะกีอ์ (11) ในเมืองวานของตุรกี ได้มีหลุมฝังศพหนึ่งที่อ้างว่าเป็นหลุมฝังศพของมิกดาด ซึ่งนักวิชาการบางคน เชื่อว่า หลุมฝังศพดังกล่าว เป็นหลุมฝังศพของฟาฎิล มิกดาด หนึ่งในนักวิชาการที่มีชื่อเสียงชาวอาหรับ (12)มีรายงานว่า มิกดาดเป็นผู้ร่ำรวยและเขาได้เขียนในคำสั่งเสียว่า ให้มอบทรัพย์สิน จำนวน 36000 ดิรฮัม ให้กับอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน (อ.) (13)

ในสมัยศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)

การเข้ารับอิสลาม

มิกดาด เข้ารับอิสลามในช่วงเริ่มต้นของบิอ์ษัตและเขาได้อดทนต่อการรังแกของพวกมุชริกกุเรช บรรดานักประวัติศาสตร์ บันทึกว่า เขาเป็นคนกลุ่มแรกที่เข้ารับอิสลาม แต่ไม่มีการพูดถึงรายละเอียดว่า เขาเข้ารับอิสลามได้อย่างไร มีรายงานจากอิบนุ มัสอูด กล่าวว่า บุคคลกลุ่มแรกที่เข้ารับอิสลาม มีทั้งหมด 7 คน หนึ่งในนั้น ก็คือ มิกดาด (14)

การอพยพ

มิกดาด ได้อพยพสองครั้ง ครั้งแรกไปยังเอธิโอเปีย ซึ่งเขาอยู่ในกลุ่มที่สามของชาวมุสลิม และครั้งที่สองไปยังเมืองมะดีนะฮ์ ซึ่งไม่มีการระบุเวลาที่แน่นอนในการอพยพของเขาไปยังมะดีนะฮ์ แต่ตามหลักฐานที่มีอยู่อย่างมากมาย การอพยพเกิดขึ้นในปีแรกของฮิจญ์เราะฮ์ ในเดือนเชาวาล เขาร่วมกับคาราวานของอะบูอะบัยดะฮ์และอพยพไปยังมะดีนะฮ์พร้อมกับพวกเขา (15)

การเข้าร่วมในสมรภูมิ

มิกดาด เข้าร่วมในทุกสงครามทั้งหมดของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และเขาเป็นหนึ่งในอัศฮาบและเป็นวีรบุรุษจากสงครามต่างๆ(16) เขาเป็นส่วนหนึ่งของกองทหารม้าในสงครามบะดัร ม้าของเขามีชื่อว่า ซับฮะฮ์ หมายถึง การลอยตัว บางทีอาจจะเป็นเพราะมิกดาดา ได้ต่อสู้กับความกล้าหาญชาญชัย จึงเรียกม้าของเขาว่า ซับฮะฮ์ (17) มิกดาดก็มีบทบาทที่สำคัญในสงครามอุฮุด ดังรายงานที่ว่า ในช่วงท้ายของสงคราม ทั้งหมดได้หนีออกจากสงคราม ซึ่งจากแหล่งอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ กล่าวว่า ไม่มีผู้ใดที่อยู่ร่วมกับศาสดา นอกจาก อะลี ฏ็อลฮะฮ์ ซุบัยร์ อะบูดะญานะฮ์ อับดุลลอฮ์ บินมัสอูดและมิกดาด (18) บางรายงานกล่าวว่า ในสงครามนี้ มิกดาดเป็นหนึ่งในพลซุ่มยิงของกองทัพอิสลาม (19) และบางรายงานกล่าวว่า เขาเป็นผู้บัญชากองทหารม้าร่วมกับซุบัยร์ (20) มิกดาด ซัลมาน อัมมารและอะบูซัร เป็นหนึ่งในชีอะฮ์กลุ่มแรกที่รู้จักกันในชื่อนี้ในสมัยของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) (21)

การสนับสนุนอิมามอะลีในฐานะตัวแทนศาสดา

หลังจากการวะฟาตของศาสดาของอิสลาม (ศ็อลฯ) และอะบูบักรได้รับเลือกเป็นคอลีฟะฮ์และตัวแทนศาสดา แต่มีชาวมุสลิมจำนวนหนึ่งที่มีความจงรักภักดีต่อะลี (อ.) และไม่ยอมให้คำสัตยาบันกับอะบูบักร เช่น ซัลมาน อะบูซัร และมิกดาด

มิกดาดไม่ได้เข้าร่วมในเหตุการณ์ซะกีฟะฮ์ และเขาอยู่กับอิมามอะลี และเหล่าศอฮาบะฮ์หลายคนในการอาบน้ำฆุซุลให้ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และทำนมาซให้เขา (22) มีรายงานกล่าวว่า เขาเป็นบุคคลที่ร่วมอยู่ในนมาซมัยยิตให้ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) (23)และบางแหล่งอ้างอิง รายงานว่า มิกดาด เป็นหนึ่งในสมาชิกชุรฏอตุลค็อมซีน(24) (บันทึกที่ 1)

มิกดาดได้ใช้สถานการณ์ต่างๆในการตักเตือนอะบูบักรและพรรคพวก เกี่ยวกับตำแหน่งตัวแทนศาสดาของอิมามอะลี และมีการดำเนินการเพื่อให้ความกระจ่างแก่ประชาชน จะขอกล่าวถึงบางตัวอย่างของการดำเนินการและการเคลื่อนไหวของมิกดาด:

  1. หลังจากที่ประชาชนได้ให้คำสัตยาบันกับอะบูบักร กลุ่มหนึ่งจากชาวมุฮาญิรีนและอันศอร ได้ปฏิเสธที่จะให้คำสัตยาบัน จึงเข้าร่วมกับอะลี บินอะบีฏอลิบ หนึ่งในนั้นคือ มิกดาด.(25)
  2. เวลาที่ชายจำนวนสี่สิบคนได้มาหาอิมามอะลี (อ.) และบอกว่า พวกเราพร้อมแล้วที่จะปกป้องและสนับสนุนต่อท่าน อิมามอะลีได้กล่าวกับพวกเขาว่า ถ้าพวกคุณรักษาคำพูดของพวกคุณ วันพรุ่งนี้ พวกคุณไปโกนศีรษะแล้วมาหาฉันใหม่ และในวันรุ่งขึ้น มีเพียงซัลมาน มิกดาด และอะบูซัรที่โกนศีรษะมาหาอิมามอะลี (อ.) (26)
  3. ในเหตุการณ์การประชุม 6 คน เพื่อกำหนดคอลีฟะฮ์คนต่อไป เมื่ออับดุรเราะฮ์มาน บินเอาว์ กล่าวกับอะลี (อ.) ว่า ฉันจะให้สัตยาบันกับท่าน หากท่านปฏิบัติตามคัมภีร์ของพระเจ้า และซุนนะฮ์ของศาสดา และแนวทางของอะบูบักร ขณะที่อะลี ยอมรับในสองกรณีแรก มิกดาดจึงหันไปหาอับดุรเราะฮ์มาน และบอกว่า ฉันขอสาบานต่อพระเจ้า คุณได้ละทิ้งอะลี บุคคลผู้ที่ตัดสินคดีความด้วยความยุติธรรมและความชอบธรรม หลังจากนั้นเขาก็กล่าวต่อว่า ฉันไม่เคยเห็นผู้ใดหรือครอบครัวที่ถูกกดขี่ข่มเหงเหมือนอะฮ์ลุลบัยต์ หลังจากศาสดาของพวกเขา. (27)

มิกดาด ยังต่อต้านการเป็นคอลีฟะฮ์ของอุษมาน และเขาได้ประกาศการต่อต้านในมัสญิดเมืองมะดีนะฮ์ (28)

ยะอ์กูบี ได้รายงานว่า มีบางรายงานกล่าวว่า อุษมาน ได้ออกไปทำนมาซอิชาอ์ ในคืนที่มีการบัยอะฮ์กับเขา ขณะที่มีการจุดเทียนต่อหน้าเขา มิกดาดได้เห็นจึงพูดกับเขาว่า นี่เป็นอุตริกรรมอะไรหรือ? (29) ตามรายงานจากยะอ์กูบี ระบุว่า มิกดาดเป็นผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์อุษมานและยอมรับอะลี บินอะบีฎอลิบ(30)

ในริวายะฮ์ต่างๆของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.)

มีฮะดีษมากมายที่รายงานจากบรรดาผู้บริสุทธิ์ (อ.)ได้กล่าวถึงมิกดาด โดยส่วนใหญ่กล่าวถึงความสูงส่งและลักษณะพิเศษทางศีลธรรมและจริยธรรม ตลอดจนความศรัทธาของเขา บางส่วนของริวายะฮ์เหล่านี้ มีดังนี้:

  1. ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) มีความรักพิเศษต่อมิกดาด โดยศาสดากล่าวว่า พระเจ้าทรงกำหนดให้ฉันเป็นมิตรกับบุคคลทั้งสี่คน ได้มีผู้ถามว่า ขอให้ท่านช่วยแนะนำหน่อย และศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า พวกเขาเหล่านั้น คือ อะลี ซัลมาน มิกดาดและอะบูซัร
[31] 
  1. ความเป็นชาวสวรรค์ของมิกดาด รายงานจากอะนัส บินมาลิก กล่าวว่า ในวันหนึ่ง ศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ได้กล่าวว่า สวรรค์มีความปรารถนาบุคคลทั้งสี่จากประชาชาติของฉัน และเมื่ออิมามอะลี ได้ถามศาสดาเกี่ยวกับพวกเขา ศาสดากล่าวว่า ขอสาบานต่อพระเจ้า เจ้าคือคนแรกในหมู่พวกเขา และอีกสามคน คือมิกดาด ซัลมาน และอบูซัร นอกจากนี้ อิมามศอดิก (อ.) ในการอธิบายถึงโองการ

إِنَّ الَّذِینَ آمَنُوا وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ کانَتْ لَهُمْ جَنَّاتُ الْفِرْدَوْسِ نُزُلًا [32] กล่าวว่า โองการนี้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับอะบูซัร มิกดาด ซัลมานและอัมมาร [33]

  1. ความศรัทธาของเขา รายงานจากอิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า ความศรัทธา มีอยู่สิบระดับขั้นด้วยกัน มิกดาดอยู่ในระดับที่แปด อบูซัรอยู่ในระดับที่เก้า และซัลมานอยู่ในระดับที่สิบ (34)

การปฏิบัติตามโองการมะวัดดะฮ์ อิมามศอดิก (อ.) ได้กล่าวเกี่ยวกับโองการมะวัดดะฮ์ (قُل لا أَسئَلُکم عَلَیهِ أَجراً إِلاَّ المَوَدَّةَ فِی القُربی)[35] กล่าวว่า ขอสาบานต่อพระเจ้าว่าไม่มีผู้ใดปฏิบัติตามโองการนี้ ยกเว้นแต่เจ็ดบุคคล และมิกดาด ก็เป็นหนึ่งในนั้น มิกดาด มาจากอะฮ์ลุลบัยต์ วันหนึ่ง ญาบิร บิน อับดุลลอฮ์ อันซอรี ได้ถามศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เกี่ยวกับ ซัลมาน มิกดาด และอะบูซัร ศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวถึงพวกเขาแต่ละคน จนกระทั่ง ศาสดากล่าวถึงมิกดาดว่า มิกดาดมาจากเรา พระเจ้าทรงเป็นศัตรูกับผู้ที่เป็นศัตรูกับเขา และทรงเป็นมิตรกับผู้ที่เป็นมิตรกับเขา โอ้ญาบิร! เมื่อใดก็ตามที่เจ้าต้องการขอวิงวอนและได้รับคำตอบ จงเรียกพระเจ้าด้วยชื่อของเขา เพราะชื่อเหล่านี้ดีที่สุด ณ พระองค์ (37) การจงรักภักดีต่อิมามอะลี (อ.) อิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า หลังจากศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ วิถีและแนวทางของศาสดาจะถูกย้อนกลับ ยกเว้นทั้งสามคน กล่าวคือ ซัลมาน, อบูซัร และ มิกดาด[38] บางริวายะฮ์ ถือว่า มิกดาด เป็นมิตรที่เชื่อฟังที่สุดของอะมีรุลมุอ์มินีน อะลี (อ.) (39) การย้อนกลับมิกดาด ตามริวายะฮ์ต่างๆรายงานว่า มิกดาด คือ บุคคลที่จะฟื้นคืนชีพมีชีวิตใหม่อีกครั้ง ในช่วงเวลาของการปรากฏตัวของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) และเขาจะเป็นสหายและผู้ปกครองคนหนึ่งในรัฐบาลของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.)[40] ความจำเป็นในการแสดงรักต่อมิกดาด อิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า การให้ความรักต่อบุคคลที่หลังจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) แล้ว เขาไม่หันเห ถือเป็นข้อบังคับของบรรดามุสลิม จากนั้น ศาสดาได้ระบุรายชื่อของบางคนในจำนวนเหล่านี้ ได้แก่ ซัลมาน อบูซัร และมิกดาด[41]

รายงานฮะดีษ

มิกดาด เป็นผู้รายงานฮะดีษจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และจำนวนรอวีย์ (ผู้รายงาน) ฮะดีษจากเขา ทั้งผู้ที่ได้ยินและรายงานคำพูดจากเขา เช่น ซะลีม บิน ก็อยส์ อะนัส บิน มาลิก อับดุลลอฮ์ บิน อับบาส อับดุลลอฮ์ บิน มัสอูด อับดุรเราะฮ์มาน บิน อะบีลัยลา อะบูอัยยูบ อันซอรี เฎาะบาอะฮ์ บินติ ซุบัยร์ บิน อับดุลมุฏฏอลิบ (ภรรยาของเขา)และ กะรีมะฮ์ ลูกสาวของเขา (42)

การรายงานฮะดีษ

มิกดาด เป็นผู้รายงานฮะดีษจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) . จำนวนผู้รายงานที่ได้ยินและรายงานจากเขา เช่น ซะลีม บินกอยซ์ อะนัส บินมาลิก อับดุลลอฮ์ บินอับบาส อับดุลลอฮ์ บินมัสอูด อับดุรเราะฮ์มาน บินอะบีลัยลา อะบูอัยยูบ อันซอรี ฎุบาอะฮ์ บินติ ซุบัยร์ บิน อับดุลมุฏฏอลิบ (ภรรยาของเขา) และบุตรสาวของเขา คือ กะรีมะฮ์ (43)

ผลงานประพันธ์

  • หนังสือ ซิมอเยเมกดอด ปลายปากกาโดยมุฮัมมัด มุฮัมมะดี เอชติฮอรี ซึ่งพิมพ์โดย สำนักพิมพ์พะยอมอิสลาม
  • หนังสือ เมกดอด เขียนโดย มุฮัมมัด คอเมรอนี จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ฮะดีเซนัยนะวอ
  • หนังสือ ซอลฮอเยซัคตี ซึ่งอธิบายชีวประวัติของมิกดาด เป็นเรื่องสั้นพร้อมภาพประกอบ หนังสือเล่มนี้ได้รับการเรียบเรียงโดย ศูนย์ออฟะรีนเนชฮาเยอะดะบี และจัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ซูเรเยเมฮ์ร
  • หนังสือ อัลมิกดาด อิบนุ อัลอัสวาด อัลกินดี เอาวุลฟาร์ซ ฟีลอิสลาม เขียนโดย มุฮัมมัดญะวาด อัลฟะกีฮ์ ซึ่งจัดพิมพ์โดยมุอัซซะซะฮ์ อัลอะลามี เลบานอน
  • หนังสือ ซิลซิละตุลอัรกานอัลอัรบะอะฮ์ มีทั้งหมด 4 เล่ม ซึ่งเล่มที่ 3 อธิบายชีวประวัติของมิกดาด หนังสือเล่มนี้เขียนเป็นภาษาอาหรับโดย มุฮัมมัดญะวาด อัลฟะกีฮ์ และได้รับการตีพิมพ์ในประเทศเลบานอน
  • หนังสือ มะอัศศอฮาบะฮ์ วัตตาบิอีน เขียนโดย กะมาล ซัยยิด มีทั้งหมด 14 เล่ม ซึ่งเล่มที่ 6 เกี่ยวกับมิกดาด หนังสือนี้เขียนเป็นภาษาอาหรับ และสำนักพิมพ์อันซอรียอน เป็นผู้ดำเนินการจัดพิมพ์.


เชิงอรรถ

บรรณานุกรม